บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๐๙๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙
10-12-2549

 

 

 

 

 

 

H
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น



Constitution - Politics
The Midnight University

รัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตยกินได้
แถลงการณ์หลัก ๖ ประการ: รัฐธรรมนูญฉบับลงขันปัญญา
กอง บก.มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: รวบรวม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับองค์กรพันธมิตร
สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความวิชาการบนหน้าเว็บเพจนี้
เป็นการรวบรวมกิจกรรมในวันรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ โดยมีหัวข้อสำคัญดังนี้
๑. หลักการ-เหตุผล และกิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
๒. รายงานของสื่อมวลชนจาก The Nation, ประชาไทออนไลน์, สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๓. แถลงการณ์หลัก ๖ ประการ รัฐธรรมนูญฉบับลงขันปัญญา เพื่อประชาธิปไตยกินได้
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1097
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4)



รัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตยกินได้
แถลงการณ์หลัก ๖ ประการ: รัฐธรรมนูญฉบับลงขันปัญญา

กอง บก.มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับองค์กรพันธมิตร
สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1. กำหนดการกิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญฉบับลงขัน เพื่อประชาธิปไตยกินได้
เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จัดโดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประเทศไทยกำลังอยู่ในห้วงการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ โดยมีการเลือกตั้งเป็นหมุดกหมายดังที่เคยเป็นมา
ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการเลือกตั้งที่จะมาถึง เรายังคงได้เห็นนักการเมืองและกลุ่มอำนาจทั้งเก่าและใหม่เป็นผู้มีบทบาทนำ หากแต่ขณะเดียวกัน กลุ่มพลังต่างๆ ในภาคประชาชน ซึ่งได้เรียนรู้สิทธิพลเมืองและการเป็นประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ก็ได้สร้างปฏิบัติการทางการเมืองอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยเจตนารมณ์ของประชาธิปไตยทางตรง

กลุ่มพลังประชาชนเหล่านี้ได้ร่วมกันกำหนดทางเลือกใหม่ของตน โดยการเสนอนโยบายสาธารณะที่สอดคล้องกับฐานชีวิต ฐานการผลิต และทรัพยากร ตลอดจนวัฒนธรรม - ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นประชาธิปไตยกินได้และเป็นการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง สมควรที่สังคมไทยจะได้เปิดกว้าง เรียนร ู้และร่วมผลักดันให้การเมืองใหม่ในยุคแห่งการปฏิรูป ได้มีศักดิ์ศรี มีพื้นที่ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไป

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและพันธมิตร เห็นว่า ในวาระ"วันรัฐธรรมนูญ" ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ซึ่งเวียนมาบรรจบทุกปี ถือเป็นโอกาสอันดีในการนำเสนอหลักแห่งนิติธรรมและนโยบายสาธารณะที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการเมืองภาคพลเมืองตามเจตนารมณ์ที่แท้แห่งรัฐธรรมนูญไทย จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ ในชื่อหัวข้อ "รัฐธรรมนูญฉบับลงขันปัญญา เพื่อประชาธิปไตยกินได้" ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

กำหนดการวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๙
๙.๐๐ -- ๑๑.๐๐ เวทีเสวนา "รัฐธรรมนูญฉบับลงขันปัญญา เพื่อประชาธิปไตยกินได้"
โดยแกนนำกลุ่มแรงงาน / กลุ่มสลัม / กลุ่มเกษตรกร / กลุ่มสมัชชาคนจน และกลุ่มชาติพันธุ์ (มุสลิมมลายู)

1. นายสมเกียรติ พ้นพภัย (ตัวแทนกลุ่มสมัชชาคนจน)
2. อนัน พลยิ่ง (ตัวแทนกลุ่มแรงงาน)
3. ดือราแม ดาราแม (ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ - มลายูมุสลิม)
4. จินดา เจริญสุข (ตัวแทนกลุ่มสลัม)
5. บุญ แซ่จูง (ตัวแทนกลุ่มเกษตรกร)

๑๑.๓๐ -- ๑๑.๔๕ แถลงการณ์หลัก 6 ประการรัฐธรรมนูญฉบับลงขัน โดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

๑๑.๔๕ -- ๑๒.๑๕ กล่าวสุนทรกถาโดย อ. สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เรื่อง สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ (คลิกไปอ่าน)

๑๒.๑๕ -- ๑๒.๓๐ ร่วมวางพวงมาลาคารวะอนุสาวรีย์ท่านปรีดี พนมยงค์

2. รายงานของสื่อมวลชนจาก The Nation และ ประชาไทออนไลน์

2.1 (The Nation)
Academics declare charter principles
A Midnight University group yesterday marked Constitution Day in Bangkok by declaring six principles necessary for any constitution such as free basic and quality education for all, land reform and community rights.

The group, comprising academics and intellectuals based in Chiang Mai, made the declaration at Thammasat University amid growing concerns about how the new military-directed constitution will look.

"In the past, all constitutions were drafted by the elite and addressed only certain classes in society rather than society as a whole," university rector Somkiat Tangnamo said. "Though it's easy to tear up a constitution in Thailand through extra-legal means, we can't live without one for long."

Somkiat warned that without genuine public participation in the drafting, the charter was doomed to fail. "It can be predicted now that the new constitution will only end up being temporary."

The declaration was read on the Pridi Banomyong Lawn of Thammasat University, a symbolic place as Pridi led a revolt which ended absolute monarchy and introduced the first Thai constitution some seven decades ago. The three other principles are the right to belong to a union, the right of citizens to promulgate law and the right to local self-administration.

"All six principles must be enshrined in the [18th] constitution in order to bring about equality and security amongst citizens," the group said.

It said the constitution cannot just be about setting rules for politicians.

Subhatra Bhumiprabhas
The Nation

http://www.nationmultimedia.com/2006/12/11/national/national_30021248.php

2.2 ประชาไทออนไลน์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนแถลงหลัก 6 ประการ
เชิญชวนร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงขันปัญญา เพื่อประชาธิปไตยกินได้

ประชาไท: 10 ธ.ค. 2549 ที่ลานปรีดี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายสมเกียรติ ตั้งนโม ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนประกาศหลัก 6 ประการของรัฐธรรมนูญฉบับลงขันทางปัญญาเพื่อประชาธิปไตยกินได้ โดยนายสมเกียรติกล่าวว่า

ผลของสิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 กันยายนนั้น มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมีความประสงค์ที่จะสร้าง 2 สิ่งคือ

1. ธนาคารนโยบายประชาชน โดยประชาชนเป็นผู้กำหนดนโยบาย แทนที่จะให้เป็นพรรคการเมืองเร่ขายนโยบายให้ประชาชนไปซื้อโดยการหย่อนบัตร แล้วก็หมดสิทธินับจากนั้น ธนาคารประชาชนมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนร่างนโยบายขึ้นมาเอง และประชาชนเป็นผู้ดูแลนโยบายที่ตนเองเสนอว่ามีการปฏิบัติตามหรือไม่
และ

2. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะไม่ยินยอมให้คนเพียงไม่กี่คนร่างรัฐธรรมนูญฉบับห้องนอน เขียนโดยคนไม่กี่คน และจะไม่ยินยอมให้มีการร่างรัฐธรรมนูญโดยคน 35 คนเพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยคนที่ไม่ได้มาจากตัวแทนประชาชนที่แท้จริง และประชาชนต้องไม่หลงเสน่ห์กับตัวเลขงงๆ ทางคณิตศาสตร์ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งทำให้ดูเหมือนคนที่จะร่างรัฐธรรมนูญมาจากประชาชน

"เราจะไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 เรากำลังจะเขียนรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปเลยโดยเรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับลงขัน"

ทั้งนี้ นายสมเกียรติระบุว่า ผู้ที่ต้องการลงขันทางปัญญา เพื่อร่วมร่างรัฐธรรมนูญสามารถเข้าไปเสนอความเห็นได้ที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน http://midnightuniv.tumrai.com/ นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป

(สำหรับผู้สนใจร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญ คลิกไปร่างได้จากที่นี่)
หรือหากต้องการเขียนข้อความที่เป็นความลับ และวิพากษ์วิจารณ์สถาบันต่างๆ
เพื่อการปรับปรุงในกรอบประชาธิปไตย สามารถส่งมาได้ที่ตู้
ปณ.196 ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2.3 ภาคประชาสังคมร่วมลงขันปัญญา รัฐธรรมนุญใหม่ เพื่อประชาธิปไตยกินได้
ชลัญฏา วสุเมธาวศิน : สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

กระแสแห่งการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร้อนแรงในสังคมไทยขณะนี้ ส่งผลให้ภาคประชาชนหลายส่วนมีความตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญในการเข้าไปมีส่วนร่วมเสนอแนวความคิดในการร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง หนึ่งในความพยายามนี้ที่ปรากฏขึ้นในวันรัฐธรรมนูญ คือเวทีการเสวนาหัวข้อ "รัฐธรรมนูญฉบับลงขันปัญญา เพื่อประชาธิปไตยกินได้" ซึ่งเปิดโอกาสให้ตัวแทนกลุ่มภาคประชาชนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งร่วมจัดโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 10 ธ.ค. 2549

"รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่มีจิต มีวิญญาณ จับต้องได้ ถึงจะเป็นประชาธิปไตย ก็เป็นประชาธิปไตยที่กินได้ ใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ไม่ใช่เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน แบบจอมปลอม แบบคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทำขึ้นมา โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไม่มีส่วนร่วม" นายสมเกียรติ พ้นภัย คณะกรรมการชาวบ้านเพื่อการฟื้นฟูชีวิตลุ่มแม่น้ำมูล กล่าว และว่า ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะต้องตื่นตัวในการมีรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อให้เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ที่พอเพียง ภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่

เขากล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีประชาธิปไตยระบบตัวแทน แต่ก็ไม่เคยเห็นตัวแทนที่จะเอื้อประโยชน์ในการร่างกฎหมาย เขียนกฎหมาย หรือสนับสนุน ส่งเสริมสิทธิชุมชน หรือภูมิปัญญาของท้องถิ่นอย่างแท้จริงเลย ในส่วนเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรท้องถิ่นของชาวบ้านนั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านๆ มา ได้จำแนกแยกคนในชุมชนที่อยู่กับทรัพยากรมาเป็นเวลานาน ไม่ให้พึ่งพาและพึ่งพิงทรัพยากรได้ ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน ต้องรับรองวิถีชีวิตของชุมชนนั้นๆ เช่นนี้จึงจะเป็นประชาธิปไตยที่กินได้ อีกทั้งชาวบ้านจะต้องเป็นผู้กำหนดการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นด้วยตนเอง

นายอนัน พลยิ่ง รองประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานย่านรังสิต กล่าวเสนอถึงบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ข้อหนึ่ง การเลือกวุฒิสมาชิกต้องมาจากการเลือกตั้งที่หลากหลายสาขาอาชีพที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง โดยให้คำนวณจากเปอร์เซ็นต์ของประชากรในแต่ละอาชีพ ไม่ใช่ปฏิบัติอย่างที่ผ่านมา คือมาจากผู้มีอำนาจที่กระทำการแต่งตั้งพวกพ้องตนเองเข้ามา

เขากล่าวต่อถึงข้อเสนอที่สองว่า การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี จะให้เป็นอำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ได้ รัฐธรรมนูญต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า นายกต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

และข้อเสนอที่สาม ขอให้ยกเลิกคุณสมบัติทางการศึกษาของนักการเมือง และการต้องสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครลงเลือกตั้ง เพราะถือเป็นการจำกัดสิทธิประชาชนที่มีความรู้ความสามารถ แต่ขาดคุณสมบัติดังกล่าว

นายอนัน กล่าวต่อไปถึงสิทธิในการรวมตัวของผู้ใช้แรงงานว่า ในการชุมนุมต่างๆ รัฐต้องเข้ามาดูแล ไม่ใช่เข้ามาทำลาย เข้ามาปิดกั้น หรือพยายามเข้ามาแทรกแซง เพื่อไม่ให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชนโดยทั่วไป มีสิทธิ์แสดงสิทธิเรียกร้องความชอบธรรมต่างๆ ได้ อีกทั้งในเรื่องการกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำก็ควรจะให้มีความเป็นธรรมและเหมือนกันทั้งประเทศด้วย โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีความชัดเจน ต้องคุ้มครอง และรับรองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงาน

เขากล่าวทิ้งท้ายว่า รัฐธรรมนูญที่จะกินได้ และให้ความสุขแก่ประชาชน จะต้องมาจากจารีตประเพณีและความเป็นจริง โดยผู้มีอำนาจจะต้องลงไปศึกษาในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งต้องทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ประเทศพัฒนาต่อไป

ในส่วนของ นายจินดา เจริญสุข ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ผ่านมาถือว่าดีอยู่แล้ว แต่โดยส่วนของการปฏิบัติกลับไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้อย่างเต็มใบ อย่างเช่นในหมวดของสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่ถูกบัญญัติเอาไว้เกือบจะครอบคลุม. นายจินดา กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่อยากจะให้เพิ่มเข้ามาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือ สิทธิในเรื่องของที่อยู่อาศัย และสิทธิชุมชน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านๆ มาไม่ได้บัญญัติเรื่องนี้เอาไว้

อีกทั้ง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หากจะมีประชาธิปไตยที่กินได้นั้น จะต้องกำหนดไว้เลยว่า จะต้องมีพื้นที่ให้กับคนจน 10-15 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพื่อให้คนจนสามารถอยู่คู่กับเมือง หากินกับเมืองได้. เขากล่าวด้วยว่า เมื่อกำหนดพื้นที่ได้แล้ว ก็ต้องประกาศเป็นผังเมืองอย่างชัดเจน และต้องมีกฎหมายรองรับด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คนจนถูกไล่รื้ออย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

"ในหนึ่งปี รัฐบาลต้องยุติเรื่องการไล่เรื้อ และงบประมาณที่จะลงมาให้กับคนจนจะต้องคงเดิม รวมทั้งสุดท้ายหากจะออกกฎหมายต่อไป ต้องออกเรื่องอัตราภาษีก้าวหน้า ให้คนที่มีดินเยอะๆ ต้องเสียภาษีเยอะตามไปด้วย เท่านี้เราก็จะมีประชาธิปไตยที่กินได้แล้ว" นายจินดา กล่าว

ด้าน นายบุญ แซ่จูง เครือข่ายป่าชุมชนภาคใต้ กล่าวเสนอเกี่ยวกับประชาธิปไตยกินได้ว่า เราจะยึดประชาธิปไตยแบบทางตรง และเน้นการเมืองภาคประชาชน โดยจะต้องมีขบวนการภาคประชาชนที่เข้มแข็ง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประชาธิปไตยทางตรง "ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องเข้ามาถามท้องถิ่นในพื้นที่ต่างๆ ว่ามีนโยบายจัดการกับท้องถิ่นตนเองอย่างไร แทนที่จะเข้ามากำหนดกฎหมายต่างๆ แทนท้องถิ่น อีกทั้งก็ไม่ควรที่จะเข้ามาทำลายองค์ความรู้ต่างๆ ของท้องถิ่นด้วยการมาจำกัด และกำหนดมาตรฐานต่างๆ" นายบุญ กล่าว

ในส่วนของ นายดือราแม ดาราแม สมาชิกสภาผู้นำชุมชน จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ตนเคยรู้สึกดีใจที่มีรัฐธรรมนูญปี 40 ที่ประชาชนเป็นผู้ร่วมกันร่างขึ้นมา แต่ที่ไหนได้ ผู้ใช้กลับไม่ได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้น กลับทำตามใจของตัวเอง. "ถึงแม้เราจะยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้สวยหรูเท่าไหร่ก็ตาม แต่ผู้ที่มีอำนาจในการบังคับใช้ไม่ปฏิบัติตาม ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย เสียแรงไปเปล่าๆ เสียเวลา อีกทั้งสังเกตได้ว่าตอนนี้ผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายนั้นไร้คุณธรรมจริงๆ" นายดือราแม กล่าวและว่า

"ขอวิงวอนในครั้งสุดท้ายว่า ผู้ใดก็ตามที่ได้รับหน้าที่ให้เข้าไปบริหารบ้านเมืองแทนประชาชน กรุณาคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศชาติด้วย"

3. แถลงการณ์ หลัก 6 ประการ รัฐธรรมนูญฉบับลงขันปัญญา เพื่อประชาธิปไตยกินได้
นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 รัฐธรรมนูญถูกยกให้เป็นกติกาสูงสูดในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล องค์กร และสถาบันต่างๆ แทนอำนาจของกษัตริย์

แม้รัฐธรรมนูญในสังคมไทยจะถูกฉีกได้ง่ายจากอำนาจนอกระบบ ดังที่จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 17 ฉบับ แต่ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจขาดหายไปได้อย่างยาวนานเช่นกัน ดังเมื่อมีการฉีกเกิดขึ้นก็จะต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นบังคับใช้สืบเนื่องไป แม้บางครั้งอาจเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นโดยคณะรัฐประหารหรือบุคคลเพียงหยิบมือร่างขึ้น แต่รัฐธรรมนูญในลักษณะนี้ก็มีความชอบธรรมน้อยลงทุกทีในสังคมไทย แม้รัฐธรรมนูญที่มาจากกระบวนการร่างที่คับแคบและขาดการมีส่วนร่วมยากที่จะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการในขณะนี้ ก็สามารถคาดเดาได้ว่าคงเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับได้เพียงชั่วคราวอีกฉบับหนึ่ง

มหาวิทยาลับเที่ยงคืนมีความเห็นว่าต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้เพื่อเป็นหลักการพื้นฐานสำหรับการจัดทำรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งต้องดำเนินไปภายใต้บรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งบุคคล กลุ่มและองค์กรต่างๆ สามารถผลักดันแนวความคิดของตนได้อย่างเป็นเสรีมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งนี้รัฐธรรมนูญที่ถูกร่างขึ้นต้องมิใช่มีเป้าหมายเพียงการกำหนดกฎเกณฑ์ในส่วนที่เป็นการเมืองของนักการเมืองเท่านั้น หากต้องหมายถึงการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรและสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรด้านต่างๆ และเพิ่มอำนาจของประชาชนในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง ท้องถิ่น และสังคมให้มากขึ้น

เพื่อให้บรรลุถึงความใฝ่ฝันดังกล่าว มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่ามีหลัก 6 ประการ ที่มีความสำคัญและต้องได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ ดังนี้

1. การศึกษา ต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพและทั่วถึงสำหรับประชาชน การศึกษาต้องเป็นการบริการของรัฐที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอย่างแท้จริง มิใช่เปิดช่องให้มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในรูปแบบอื่นเกิดขึ้น

2. การปฏิรูปที่ดิน ต้องจัดให้มีการปฏิรูปที่ดินที่ทำให้เกิดการกระจายการถือครองของประชาชนในสังคมอย่างเท่าเทียม ไม่ปล่อยให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินระหว่างคนรวยและคนจน เพราะที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อย รวมถึงการสร้างความมั่นคงในการถือครองที่ดินของเกษตรกรให้มากขึ้น ซึ่งสามารถจะทำได้โดยมาตรการทางภาษีและการจำกัดการถือครองที่ดินของเอกชน

3. สิทธิชุมชน ต้องรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการ บำรุงรักษา ดูแลและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ในกรณีที่มีการใช้ประโยชน์โดยหน่วยงานของรัฐในทรัพยากรของท้องถิ่น ต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบด้านวิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสังคมเกิดขึ้นก่อนดำเนินโครงการ และประชาชนต้องมีอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติโครงการดังกล่าวโดยตรง

4. สิทธิในการรวมตัวของผู้ใช้แรงงาน ต้องรับรองสิทธิในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน สหพันธ์ สหกรณ์ หรือองค์กรอื่นใด เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจต่อรองที่เท่าเทียมกับรัฐและธุรกิจเอกชน ในการสร้างความปลอดภัยและความมั่นคงในการทำงานของผู้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม

5. สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ประชาชนต้องสามารถรวมตัวกันเพื่อเสนอกฎหมายได้อย่างสะดวก รัฐไม่ต้องออกกฎเกณฑ์หรือการกระทำใดๆ ที่เป็นการขัดขวางการใช้สิทธิของประชาชน ในเรื่องนี้และหากมีการเสนอกฎหมายของประชาชนเกิดขึ้นต้องให้ความสำคัญกับการเสนอกฎหมายของประชาชนเป็นลำดับที่สำคัญกว่า การเสนอกฎหมายของ ส.ส.

6. สิทธิของประชาชนในการควบคุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนต้องมีกลไกและกระบวนการในการตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่มีการตัดสินใจในโครงการหรือนโยบายใดๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชนหรือท้องถิ่น ประชาชนต้องเป็นตัดสินใจด้วยการลงประชามติว่าจะเห็นชอบกับโครงการหรือนโยบายนั้นๆ หรือไม่

หลักทั้ง 6 ประการนี้ ต้องได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอันเป็นหลักการเพื่อสร้างความเท่าเทียมและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน ทั้งนี้การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นการบัญญัติที่ทำให้สามารถเกิดการบังคับใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องให้มีการบัญญัติกฎหมายอื่นใดมารับรองสิทธิเหล่านี้อีก การทำให้รัฐธรรมนูญมีผลบังตับใช้เช่นนี้จะทำให้เกิดการนับถือรัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดเหนือกว่ากฎหมายอื่นใดทั้งปวง และทำให้การฉีกรัฐธรรมนูญในอนาคตไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายเช่นที่ผ่านมา

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
10 ธันวาคม 2549

 

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

 

แม้รัฐธรรมนูญในสังคมไทยจะถูกฉีกได้ง่ายจากอำนาจนอกระบบ ดังที่จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น ๑๗ ฉบับ แต่ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจขาดหายไปได้อย่างยาวนานเช่นกัน ดังเมื่อมีการฉีกเกิดขึ้นก็จะต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นบังคับใช้สืบเนื่องไป แม้บางครั้งอาจเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นโดยคณะรัฐประหารหรือบุคคลเพียงหยิบมือร่างขึ้น แต่รัฐธรรมนูญในลักษณะนี้ก็มีความชอบธรรมน้อยลงทุกทีในสังคมไทย แม้รัฐธรรมนูญที่มาจากกระบวนการร่างที่คับแคบและขาดการมีส่วนร่วมยากที่จะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๘ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการในขณะนี้ ก็สามารถคาดเดาได้ว่าคงเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับได้เพียงชั่วคราวอีกฉบับหนึ่ง มหาวิทยาลับเที่ยงคืนมีความเห็นว่า ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้เพื่อเป็นหลักการพื้นฐานสำหรับการจัดทำรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งต้องดำเนินไปภายใต้บรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งบุคคล กลุ่มและองค์กรต่างๆ สามารถผลักดันแนวความคิดของตนได้อย่างเป็นเสรีมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน