บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๐๖๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙
09-11-2549



Postmodernity - Postmodern Art
The Midnight University

ศิลปะหลังสมัยใหม่สำหรับนักศึกษาศิลปะ
๑๐ ชั่วโมงกับศิลปะหลังสมัยใหม่และบริบทเกี่ยวเนื่อง
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้รับมาจากผู้เขียนเพื่อเผยแพร่สำหรับการศึกษา
เป็นเรื่องเกี่ยวกับหัวข้อและรายละเอียดคำบรรยายเรื่อง
ศิลปะหลังสมัยใหม่โดยสังเขป
สำหรับนักศึกษาศิลปะ โดยได้วางโครงเรื่องระหว่างตัวบทกับบริบทให้เห็นถึงความสัมพันธ์กัน
แนวทางการบรรยายได้ยึดถือเอาวิธีการทางปรัชญาวิภาษวิธีมาใช้
เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงเปรียบเทียบ

midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1064
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)

 

๑๐ ชั่วโมงกับศิลปะหลังสมัยใหม่และบริบทเกี่ยวเนื่อง
Modern - anti Modern และ Postmodern
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความนำ
10 ชั่วโมงกับศิลปะหลังสมัยใหม่และบริบทเกี่ยวเนื่อง เดิมทีเป็นการเตรียมเนื้อหาขึ้นมาสำหรับเป็นแนวทางการบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะหลังสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาศิลปะ โดยให้ภาพรวมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และบริบทเกี่ยวเนื่องกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมสมัยใหม่ เปรียบเทียบกับพัฒนาการและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยุคหลังสมัยใหม่ เพื่อให้เห็นภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมโดยรวม มากกว่าที่จะทำความรู้จักศิลปะสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่แบบเดิม โดยตัดแยกหรือฉีกขาดออกจากความสัมพันธ์กับโครงสร้างหลักที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นสังคม

แนวทางการบรรยายได้ใช้แนวคิดคำอธิบายเชิงปรัชญาวิภาษวิธี เพื่อสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น และปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับสิ่งที่มีมาแต่เดิม และนำมาสู่การสังเคราะห์เพื่อก่อตัวเป็นข้อสรุปใหม่ ซึ่งการเลือกใช้วิธีการอธิบายทำนองนี้ ผู้บรรยายเชื่อว่าจะทำให้นักศึกษาเข้าใจภาพที่ปรากฏการณ์ได้ชัดเจนมากขึ้น

วิธีการนำเสนอสำหรับการทำความเข้าใจศิลปะและบริบทสังคมหลังสมัยใหม่ในที่นี้ จะเตรียมขึ้นเพื่อนำเสนอผ่านโปรแกรม power point โดยกำหนดเป็นหัวข้อบรรยายในลักษณะคร่าวๆ เพื่อให้เห็นกรอบและโครงร่างที่ไล่เลียงไปตามลำดับในเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในลักษณะสังเขป โดยจะมีการเพิ่มประเด็น และรายละเอียดในระหว่างการบรรยายในแต่ละชั่วโมง พร้อมเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ บนกระดานระหว่างชั่วโมงสอนประกอบ เพื่อให้เห็นปรากฏการณ์ต่างๆได้ชัดเจนขึ้น

นอกจากนี้จะได้มีการฉายภาพสไลด์ผลงานทางด้านศิลปะในแขนงต่างๆ สถาปัตยกรรม และภาพเคลื่อนไหวประกอบ อีกทั้งยังมีการนำเสนอตัวอย่างภาพยนตร์เชิงเปรียบเทียบ และสื่อและวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น วรรณกรรม ดนตรี วีดิทัศน์ โฆษณาทางโทรทัศน์ และนิตยสารต่างๆ ซึ่งสัมพันธ์กับคำอธิบายเพื่อมาช่วยในการสร้างภาพความเข้าใจเกี่ยวกับยุคสมัยและศิลปวัฒนธรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพโครงสร้างใหญ่ ทั้งนี้โดยตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและบริบทที่ต้องทำความเข้าใจไปพร้อมกัน

ข้างล่างต่อไปนี้คือหัวข้อและรายละเอียดคร่าวๆ เกี่ยวกับการบรรยาย ที่เสนอผ่าน power point และเอกสารที่แจกให้กับนักศึกษาศิลปะ เพื่อใช้เป็นกรอบและโครงร่างเพื่อติดตามการบรรยายและการดำเนินเรื่องโดยภาพรวม ๑๐ ชั่วโมง ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องศิลปะหลังสมัยใหม่

แนวคิดคำอธิบายแบบวิภาษวิธี Dialectic (Hegel, Georg Wilhelm Friedrich. 1770-1831)
thesis, antithesis, synthesis.
Modern, postmodern, ???

POSTMODERN
Aftermodern / Against modernism (Robert Atkins)

ผู้นำคำว่า Postmodern นี้มาใช้ครั้งแรกคือ Daniel Bell ในเรื่อง End of Ideology (อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)
อีกหนึ่งทศวรรษต่อมา Charles Jencks ได้นำคำนี้มาใช้ และใช้กันทั่วไปในทศวรรษที่ 1970

- Charles Jencks อธิบายคำนี้ว่าคือ a half way house
- Post - avant-garde ศัพท์คำนี้ Peter Burger นำมาใช้ (บ่งถึงความล้มเหลวของ surrealists)
- Post-Photography (ยุคหลังภาพถ่าย) (ภาพดิจิตอล, ภาพเอนิเมชั่น)

POSTMODERNISM
- เป็นยุคของแนวคิดการตีกลับ และ/หรือ การขยายหลักการของ modernism

1. MODERN - MODERNITY - MODERNISM
- อธิบายคำทั้ง ๓ คำนี้ที่มีความหมายแตกต่างกัน (บรรยาย)
- กระบวนการ the Enlightenment ก่อให้เกิดยุคสมัยใหม่ เป็นยุคแห่งเหตุผล(the Age of Reason)ขึ้นมาแทนที่ศาสนาซึ่งตรึงอยู่กับศรัทธา(faith) ยุคที่เชื่อในความก้าวหน้า(progression) ซึ่งเป็นฐานให้เกิดการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นฐานให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม และต่อมาทำให้เกิดยุคการแผ่ขยายทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม

ด้านเศรษฐกิจ ในยุค Modern
- มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม / ยุคเครื่องจักรพัฒนา
- ส่วนซีกโลกตะวันตกยึดถือเศรษฐกิจแบบทุนนิยม(Capitalism) - production, distribution, consumption.
- แนวคิดกำไรขาดทุนเป็นหลัก ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความเป็นมนุษย์ (ตลาดเป็นทรราช เข้ามากำหนดและครอบงำสังคมและวิถีชีวิตเกือบทั้งหมด)

- เกิดชนชั้นกลางในเมืองขึ้นมากมายในภาคบริการ เกิดชนชั้นแรงงานภาคอุตสาหกรรม
- แนวเศรษฐกิจทุนนิยมได้กระจายตัวไปทั่วโลก ผ่านยุคอาณานิคม, ยุคพัฒนา, และยุคโลกาภิวัตน์ตามลำดับ
- ยุคสมัยใหม่ (Modern Age) มีการประนีประนอมกับยุคอุตสาหกรรม และการเปิดพื้นที่การผลิตขนานใหญ่ทั้งทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมต่างๆ

- เศรษฐกิจแบบทุนนิยมตะวันตก เป็นกลไกของการสร้างวิถีชีวิตแบบสุขนิยมขึ้นมา โดยผ่านการมอมเมาของภาพลักษณ์ที่กระตุ้นเรื่องทางเพศ และหีบห่ออันแวววาว สด ใหม่ อันแสดงถึงความเป็นหนุ่มสาวหรืออุดมคติต่างๆ
- สังคมชนชั้นกลางได้รับผลกระทบของแนวคิดเศรษฐกจแบบทุนนิยม และแยกตัวออกมาจากมาตรการทางศีลธรรม ทั้งนี้เพื่อให้ปัจเจกบุคคลวิ่งไล่ตามความต้องการต่างๆ ของตัวตนได้อย่างเต็มที่

ด้านการเมือง ในยุค Modern Age
- มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ระหว่าง"ศาสนาจักร"กับ"อาณาจักร"(religious life - secular life)
- ยุค the Enlightenment ถือเป็นจุดหักเหที่ชัดเจนจากอิทธิพลทางศาสนา และยุคศรัทธามาสู่ยุคเหตุผล(the Age of Reason) ในทางการเมืองเกิดคำที่มีความหมายแบบ "เสรีภาพ" - "อิสรภาพ" และ "ปัจเจกภาพ"ขึ้นมา (คำนี้มีนัยะที่เป็นการต่อต้านการควบคุม และต้องการหลุดพ้นจากการควบคุมจากโครงสร้างความคิดเก่าทางศาสนา)

- เกิดการปฏิวัติทางการเมือง เกิดขบวนการประชาธิปไตย (เสรีภาพ, อิสรภาพ, และประชาชน)
- เกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ และสังคมนิยม (ต่อมาได้ล่มสลายลงในปลายคริสตศตวรรษที่ ๒๐)
- เกิดการเมืองของชนชั้นนำในนามประชาธิปไตย เกิดธนาธิปไตย / ธนกิจการเมือง - ธุรกิจการเมือง (money politics)

ด้านสังคมวัฒนธรรม ในยุค Modern Age
- คริสตศตวรรษที่ 18 วิจิตรศิลป์(Fine Arts)เป็นสถาบันขึ้นมา และเป็นอิสระจากเรื่องราวชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาและราชสำนัก อาณาจักร

- คริสตศตวรรษที่ 19 เกิดแนวคิดสุนทรียภาพ ศิลปะเพื่อศิลปะ เกิดแนวคิดศิลปะแบบ individualism ขึ้นมา โดยศิลปะเองไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสังคมและชีวิตประจำวัน (ตย. การเขียนภาพทิวทัศน์ที่ไม่มีภาพคน เริ่มเกิดขึ้นมา ก่อนหน้านี้ภาพทิวทัศน์ทำหน้าที่เป็นเพียงฉากหลังของภาพเท่านั้น [ยกเว้นในสมัยโรมัน ที่มีบทกวีและภาพเขียนทำนองชื่นชมธรรมชาติ])

- สังคมวัฒนธรรมเกือบทั่วโลกได้ถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็น hegemonic culture (การมีอำนาจนำทางวัฒนธรรม ความเป็นประมุขทางวัฒนธรรม) ทั้งนี้โดยผ่านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่ต้องการให้มีวัฒนธรรมที่เป็นแบบเดียวกันในการแพร่กระจายผลผลิต(distribute product). (สรุปและเพิ่มเติมจากคำอธิบายของ Antonio Gramsci) / (hegemonic culture - Globalization, คำตรงข้าม Localization) - (อธิบาย Development) (อธิบาย fundamentalism).

- life-world ได้รับเชื้อจากลัทธิ modernism เช่น เรื่องการแสดงความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่, การเรียกร้องประสบการณ์ส่วนตัวที่แท้จริง, และลัทธิปัจเจกชนนิยม

- ทางด้านเชื้อชาติ คนผิวขาว(white man)เป็นใหญ่ ค่อนข้างมีอิทธิพลครอบงำ และอ้างความมีวัฒนธรรมที่สูงกว่าชนชาติอื่นๆ
- ผู้ชายเป็นใหญ่ (masculine) ขาดความเสมอภาคระหว่างหญิง/ชาย
- เชิดชูความเป็นผู้เชี่ยวชาญ และกระบวนการ specialization
- เกิดแนวคิดปัจเจกนิยมขึ้นมา แทนที่แนวคิดเรื่องชุมชนในยุคเกษตร
- ทางด้านศิลปะ ได้มีการแบ่งแยกระหว่าง high art ออกมาจาก low art และ popular art

สุนทรียศาสตร์ ในยุค Modern
เรียกร้องความสดและความใหม่, สไตล์ไม่เหมือนใคร,
- Novelty, Invention, Creation (ความแปลก, การประดิษฐ์คิดค้น, การสร้างสรรค์) งานศิลปะในยุคสมัยใหม่เน้นคำที่เป็นกริยาพวกนี้เป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของเป้าหมาย(objective)เท่าที่ควร

- เรียกร้องให้สุนทรียภาพมีความเป็นอิสระจากเรื่องศีลธรรม (autonomy of the aesthetic from moral norms). (Daniel Bell)
- ให้คุณค่าอย่างสูงมากต่อสิ่งใหม่ๆ และการทดลอง (by valuing more highly the new and experimental). (Daniel Bell) และ
- นำเรื่องของตัวตน(ความคิดริเริ่มและเอกลักษณ์) มาเป็นมาตรฐานตัดสินทางวัฒนธรรม (originality - identity)

- มีปฏิกริยาต่อศิลปะแบบ academic, eclecticism(เลือกสรรแต่สิ่งที่ดีที่สุด เช่น ในสมัยวิคตอเรียน) ปฏิเสธความงามที่ปราศจากประโยชน์ใช้สอย ซึ่งเนื่องมาจากยุคพัฒนาทางด้านเครื่องจักร - ทางด้านสถาปัตยกรรม เกิดแนวคิดแบบ form follow function, ทางศิลปะเกิดสถาบันอย่าง เบาว์เฮาส์ ขึ้นมา
- ปฏิเสธลวดลายและสิ่งประดับ(ornament) หันมาชื่นชอบกับรูปทรงเรขาคณิต(แบบเครื่องจักร) และความเรียบง่าย simplicity, clarity, uniformity, purity, order and rationality.

- ปฏิเสธสไตล์ท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมประจำชาติ ให้การเชิดชูความเป็นสากล หรือ international styles.
- ยุคนี้ถือว่าเป็น the tradition of the new (Harold Rosenberg)
- ให้การยกย่อง Originality อย่างสูง experiment, innovation, novelty.

สรุป : ศิลปกรรมในยุคโมเดิร์น

- จากปรากฏการณ์ทางด้านศิลปะต่างๆข้างต้นนี้ เราต้องใช้ต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเช่นนี้โดย การสูญเสียความเชื่อมโยงและความสอดคล้องทางวัฒนธรรม และความเป็นท้องถิ่น โดยเฉพาะการขยายตัวของท่าทีที่ขัดแย้งกับมาตรการทางศีลธรรม

- รสนิยมทางศิลปะที่มีมาก่อนหน้านั้น เคยเป็นของผู้อุปถัมภ์ เช่น ศาสนาจักร และอาณาจักร ชนชั้นสูง ขุนนาง คหบดี กลายมาเป็นรสนิยมของชนชั้นกลาง ตลาดศิลปะ และตัวตนของศิลปินที่ถูกครอบงำโดยแนวคิดวัฒนธรรมกระแสหลักของ modernism

- ในทางการเมือง ก่อให้เกิดศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะในแนวทางสังคมนิยมในโลกคอมมิวนิสต์ ทั้งทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม และภาพยนตร์ ฯลฯ

- Modernism ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแนวคิดที่โจมตีต่อความคิดความเชื่อเก่า(orthodox) พอมาถึงทศวรรษที่ 1960 แนวทางทั้งหลายแบบ modernism ได้กลายเป็นความคิด orthodox (คร่ำครึ) เสียเอง

2. POSTMODERN - POSTMODERNITY - POSTMODERNISM
อธิบายคำ ๓ คำนี้ที่มีความหมายแตกต่างกัน (บรรยาย)

ลักษณะทางสังคมของยุค POSTMODERN AGE
multi - media, multi - racial, multi - culture

ช่วงปี 1960 - 1970 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และการเมืองขนานใหญ่
- มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบทางเศรษฐกิจ อันเป็นที่มาของแนวคิด Neo-liberalism ในเวลาต่อมา (deregulation, capital flow, privatization เป็นต้น) เงินทุน เศรษฐกิจการเงิน ไหลเวียนอย่างอิสระ มีการแปรรูปและแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคของการลงทุนไปทั่วโลก มีการจัดตั้งองค์การค้าโลก มีการทำสัญญาการค้าในลักษณะทวิภาคี (FTA) จีนและอินเดียมีการเปลี่ยนแปลง และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

- บริษัทยักษ์ใหญ่มีสาขาไปทั่วโลก พร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร ทำให้อาณาเขตของประชาชาติพ้นสมัย ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและการสนับสนุนของเทคโนโลยีสานสนเทศ (ในเวลาเดียวกันกับที่เป็นความได้ประโยชน์ของตัวมัน ก็เป็นผลเสียของตัวมันเองด้วย)

- ผู้คนเริ่มมองเห็นแล้วถึงพิษภัยของทุนนิยม ธนาธิปไตย ธนกิจการเมือง และวัฒนธรรมนำ ของโลกในยุค Modern / กล่าวคือ การตักตวงทรัพยกรอย่างไม่มีขีดจำกัด นายทุนเข้าสู่ระบบการเมืองทำให้การจัดสรรทรัพยากรไม่เป็นธรรม วัฒนธรรมนำของตะวันตกทำลายวัฒนธรรมท้องถิ่นและครอบงำวิถีชีวิต ตลาด(ทรราช)ได้เข้ามากำหนดคุณภาพของชีวิต

- neo-conservatism กล่าวว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมก่อให้เกิดแนวคิด สุขนิยมขึ้นมา, การขาดเสียซึ่งการแยกแยะเอกลักษณ์ทางสังคม, ขาดเสียซึ่งการเชื่อฟัง(แต่ถูกมอมเมา), ลัทธิการรักตัวเอง(narcissism), มุ่งการแข่งขัน(competition) (Jurgen Habermas)

- จากความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ผู้คนเริ่มหมดศรัทธาต่อยุคสมัยใหม่ และแนวคิด Modernism. ในเวลาเดียวกันก็เห็นถึงความแห้งผากของของชีวิตแบบ Communist. สิ่งเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ปิดตัวลงของยุค modern อย่างช้าๆ

- มีการปฏิวัติทางด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (เนื่องมาจากผลกรรมของการแผ่ขยายลัทธิทุนนิยมและการบริโภคที่เกินความจำเป็น โดยละเลยเรื่องของธรรมชาติและสภาพแวดล้อม) (อันนี้เป็นสัญญานของการสิ้นศรัทธาต่อยุค modern ซึ่งได้ก่อให้เกิดกับสิ่งแวดล้อม)

- เกิดกระบวนการ Green ขึ้นมา และผลักดันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อต่อต้านการทำลายล้างทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
- มีการเติบโตเรื่องแนวคิดสิทธิมนุษยชน ขบวนการสิทธิสตรี เพื่อลดช่องว่างความไม่เสมอภาค การครอบงำ และการละเมิดสิทธิต่างๆ

- ยุค modern มีการประนีประนอมกับยุคอุตสาหกรรม และการเปิดพื้นที่การผลิตขนานใหญ่ทั้งทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมต่างๆ แต่ยุค postmodern ปรองดองกับยุคอิเล็คทรอนิค

- ทางด้านการเมือง เกิดการเมืองภาคประชาชนขึ้นมาทั่วโลก การต่อสู้กับธนาธิปไตย โลกาภิวัตน์ (Structure without subject) อาทิเช่นกลุ่มประเทศละตินอเมริกา (แนวคิดการปฏิวัติโบลิวาร์ ของเวเนซุเอรา, โบลิเวีย, คิวบา ฯลฯ) การต่อต้านจักรวรรดินิยม จักรวรรดิวัฒนธรรม เกิดขบวนการก่อการร้ายสากล (International Terrorism)(subject without Structure)

- ทางด้านวัฒนธรรม เกิด opposition to hegemonic culture

- เกิดขบวนการ neo-populist (ภาคประชาชนใหม่) คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม, เตือนเรื่องที่ modernism กำลังทำลายวิถีชีวิตของการชอบอยู่กันเป็นสังคมของมนุษย์ลงไป. ต้องการให้มีการดำเนินการต่อไปเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม, การรวมตัวกันเป็นสังคม(social integration) และการทำให้เป็นสังคม(socialization)

- เกิดขบวนการ feminist ขึ้นมาต่อสู้กับ masculine มีการเรียกร้องเรื่องสิทธิสตรี
- เกิดขบวนการ minority / การเรียกร้องของคนผิวสี การเรียกร้องของผู้หญิงและเด็ก ชนกลุ่มน้อย คนชายขอบ คนด้อยโอกาส

ความเปลี่ยนแปลงในทางศิลปะยุค Postmodern
พัฒนาการทางศิลปะในยุค modern ได้พัฒนามาจนกระทั่งถึงงาน minimal art ซึ่งถือว่าได้มาถึงจุดศูนย์แล้ว(reach ground zero) และลูกตุ้มนาฬิกากำลังตีกลับ

สุนทรียศาสตร์และรูปลักษณ์อันเด่นชัดของศิลปะในยุค Postmodern Art
- Pastiche (การเลียนแบบ), (Fredric Jameson)
- Hybrid art form (รูปแบบศิลปะที่ผสมปนเป) อย่างเช่น furniture-sculpture. (no border)
- Discontinuity (ไม่มีความต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน) (Fredric Jameson)

- Unoriginality (Jean Baudrillard)
- Eclecticism (คัดสรรสิ่งที่ดีเลิศมาใช้ นำมาประกอบกันเป็นหัวมงกุฎท้ายมังกร)
- Retro-style / Recycling old style / trans-historical styles
- Ornament / Decorative

- Complexity, contradiction, ambiguity (พวกนี้เข้ามาแทนที่ความเรียบง่าย simplicity, purity, rationality).
- High art ผสมกันกับ Low art, Popular art และ Commercial art (หลังปี 1970 ศิลปะไม่ได้ถูกจำแนกแบบในอดีต และไม่ต้องอยู่ใน museum, หรือ art gallery และไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญ)
- Appropriated image (ภาพหยิบยืม อันนี้ต่อต้าน originality) และเป็นการต่อต้าน avant-garde

ทางด้านวรรณกรรม
- เกิดสไตล์ intertextuality ลักษณะสัมพัทธบท หมายถึงวรรณกรรมที่คัด หรือตัดตอนมาจากงานอักษรศาสตร์ทางด้านอื่นๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา ปรัชญา ภาษาศาสตร์ ฯลฯ อาจนำมาประกอบเข้าด้วยกัน จนไม่อาจแยกแยะให้ชัดเจนได้อีกต่อไปว่าเป็น วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ข่าว หรือสารคดี

ทางด้านสถาปัตยกรรม
- เรื่องของ form, space, function ในยุค modern ได้ถูกลดความสำคัญลง
- สถาปัตยกรรมมีลักษณะ playfulness, humor, colour and ornament
- ปฏิเสธ International style แล้วสร้างขึ้นมาในลักษณะ eclectic mix

สรุป : สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในปัจจุบัน (โดยสังเขป)
สถานการณ์ทางการเมือง
- สงครามเย็นสิ้นสุดลง (กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย)
- ประเทศสังคมนิยมและคอมมิวนิสมเสื่อมความนิยม สหภาพโซเวียตล่มสลาย
- จีน ปรับตัวสู่กระแสโลกาภิวัตน์ ปรับเปลี่ยนตนเองสู่โลกทุนนิยม
- เกิดองค์กรภาคประชาชน และ NGOs ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อรองอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมทั่วโลก
- เศรษฐศาสตร์การเมือง (Capitalism, Globalization, Neo-liberalism)(Anti-Capitalism, Localization, Fundamentalism, International-Terrorism)

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
- มีการการปรับตัวของโลกทุนนิยมอย่างขนานใหญ่ ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์อันหลากหลาย (การนำทุกสิ่งทุกอย่างมาทำเป็นสินค้า - commoditization - ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ฯลฯ รวมไปถึงสิ่งที่ต่อต้านทุนนิยมเองก็ถูกแปลงมาเป็นสินค้า)
- เกิดการรวมตัวของทุนขนาดใหญ่ในรูปต่างๆ (merging) บริษัทร่วมทุน และ joint adventure ต่างๆ
- เพื่อผูกขาดทางการค้า (monopoly) ต่อไป
- ปกป้องผลประโยชน์ทางการค้า เช่น WTO, G8, FTA, EURO เป็นต้น

- จากแรงกดดันขององค์กรภาคประชาชนในเรื่องสิ่งแวดล้อมและมนุษยธรรม
- มีการรวมกันเพื่อลดปัญหาและต้นทุนสิ่งแวดล้อม เช่น เขตนิคมอุตสาหกรรม เขตเศรษฐกิจพิเศษ
- มีการถอนอุตสาหกรรมที่เป็นพิษไปไว้ในประเทศโลกที่สาม และการลดต้นทุนการผลิตไปยังประเทศที่ค่าแรงต่ำ การใช้แรงงานเด็ก และแรงงานข้ามชาติ แรงงานคนคุก เป็นต้น

- เกิดมาตรฐาน ISO ขึ้นมา (International Standards Organization)
- เกิดบริษัทดอทคอม ต่างๆขึ้นมากมาย รวมไปถึง e-commerce
- มาตรการเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก, สตรี, การค้ามนุษย์ (human cargo, trafficking) และการป้องกันการเอาเปรียบแรงงาน

สถานการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
- จากพัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ internet ทำให้สังคมก้าวมาถึงยุค Information society, Knowledge base society, Space-time ที่เคยเป็นอุปสรรค ได้หดตัวลงและสั้นเข้าอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน มีการสื่อสารสองทางมากขึ้นและมีประสิทธิภาพ ทำให้การสื่อสารเชื่อมกันได้อย่างรวดเร็ว
- คนแก่และเด็กยังคงถูกทอดทิ้ง อันเนื่องมาจากแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโลก
- ปัญหาคนจนที่เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากยังไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาคนชายขอบที่เข้าไม่ถึงทรัพยากรยังเป็นปัญหามาก การบริโภคที่ไม่เป็นธรรมยังคงมีอยู่และได้ถ้างกว้างมากขึ้นตามวันเวลาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนความไม่เสมอภาคอย่างชัดเจน

- การขยายตัวของจำนวนประชากร อันเนื่องมาจากภาวะการตายน้อยลง ก่อให้เกิดผลต่อปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง จากคนส่วนน้อยไปสู่คนส่วนใหญ่ (จะใช้วิธีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเดิมไม่ได้)
- มีการเคลื่อนย้ายของประชากรอันเนื่องมาจาก ปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาทางการศึกษา ความต้องการผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ (เป็นที่มาของสังคมปัจจุบันที่เป็นแบบ multi-racial, multi-culture)
- การศึกษามีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงต่อการเผชิญหน้าใหม่ของสถานการณ์โลก เกิดการศึกษาทางเลือกขึ้นมากมาย และชุมชนวิชาการนอกกระแสที่มีต่อต้านกับการศึกษากระแสหลัก ฯลฯ

 


 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

H

ปัจจุบันสังคมวัฒนธรรมเกือบทั่วโลกได้ถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็น hegemonic culture (การมีอำนาจนำทางวัฒนธรรม ความเป็นประมุขทางวัฒนธรรม) ทั้งนี้โดยผ่านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่ต้องการให้มีวัฒนธรรมที่เป็นแบบเดียวกันในการแพร่กระจายผลผลิต(distribute product). (สรุปและเพิ่มเติมจากคำอธิบายของ Antonio Gramsci) / (hegemonic culture - Globalization, คำตรงข้าม Localization) - (อธิบาย Development) (อธิบาย fundamentalism). - life-world ได้รับเชื้อจากลัทธิ modernism เช่น เรื่องการแสดงความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่, การเรียกร้องประสบการณ์ส่วนตัวที่แท้จริง, และลัทธิปัจเจกชนนิยม

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น