บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ








Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๐๐๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙
16-08-2547

Midnight's People Politics

ชาวพุทธและมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำประกาศดุสิต : ความร่วมมือเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม
ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี : แปล
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่

เมื่อปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๔๙ ที่ผ่านมามีการประชุมชาวพุทธและมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในหัวข้อความร่วมมือเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม
ณ โรงแรมสวนดุสิต เพลส มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพ

หลังการประชุมได้มีการร่างคำประกาศดุสิตร่วมกัน
โดยบนหน้าเว็บเพจนี้ได้เสนอคำแปลฉบับภาษาไทย และต้นฉบับภาษาอังกฤษต่อท้าย
midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1007
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4)

 

คำประกาศดุสิต
ชาวพุทธและมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความร่วมมือเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม

ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี : แปล

การประชุมเสวนาระหว่างชาวพุทธและมุสลิม ในหัวข้อ "ชาวพุทธและมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ความร่วมมือเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม ได้จัดขึ้น ณ โรงแรมสวนดุสิต เพลส มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพ ในระหว่างวันที่ 26 - 28 มิถุนายน 2549 โดยความร่วมมือขององค์กรต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันสันติประชาธรรม (SPD), International Network of Engaged Buddhists (INEB) และ International Movement for a Just World (JUST)

การประชุมเสวนาในครั้งนี้ได้มีผู้เข้าร่วมจาก 8 ประเทศ จำนวน 35 คน ซึ่งประกอบด้วยทั้งนักวิชาการ นักกิจกรรม และชาวพุทธและมุสลิมในระดับรากหญ้า การประชุมเสวนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของศาสนิกทั้งสอง ที่มีกระบวนการต่อเนื่องยาวนานมาเป็นระยะเวลากว่าสิบปี ในการที่จะเรียนรู้และทำงานร่วมกันในการสร้างความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันอันจะนำสู่สันติภาพ ความสมานฉันท์ และความยุติธรรมให้สังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยส่วนรวม ซึ่งเป็นที่อาศัยของชาวพุทธและมุสลิมถึงกว่า 500 ล้านคน การประชุมเสวนาดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบและความรุนแรง ที่กำลังเกิดขึ้นและครุกกรุ่นอยู่ในภาคใต้ของไทยปัจจุบัน

การประชุมเสวนาครั้งนี้ได้ครอบคลุมถึงมิติทางประวัติศาสตร์ของการดำรงอยู่ด้วยความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาทั้งสองที่ให้ความเคารพ และยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน บทเรียนจากอดีตดังกล่าวควรที่จะช่ายเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนของทั้งสองศาสนา เพื่อให้ก้าวพ้นจากปัญหาอุปสรรคต่างๆ โดยที่ประชุมได้สรุปเป็นข้อเสนอเพื่อนำสู่การปฏิบัติต่อไปในอนาคตดังนี้

1. กลุ่ม หรือองค์กรภาคประชาชนทุกหมู่เหล่าควรที่จะระดมข้อมูล เนื้อหาต่างๆ รวมทั้งช่องทางการสื่อสารต่างๆ อย่างเต็มสรรพกำลัง ในการที่จะช่วนเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิม บนพื้นฐานของการเคารพในความเชื่อและหลักการของแต่ละศาสนา ในการนี้ องค์ร่วมจัดการประชุมเสวนาดังกล่าว ได้แก่ SPDI, INEB and JUST จะช่วยกันตีพิมพ์หนังสือเอกสารทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าความหมาย และหลักการพื้นฐานของทั้งสองศาสนาที่มีต่อสันติภาพและความยุติธรรม และจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ผ่านช่องทางการสื่อสารอันหลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงชีวิตความเป็นจริงของผู้คนในระดับท้องถิ่นของทั้งสองศาสนา รวมทั้งการเผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ ได้แก่ เว็บไซด์ หรือการออกอากาศทางวิทยุหรือโทรทัศน์

2. สื่อกระแสหลักทั้งหลายทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ ควรที่จะให้ความสำคัญกับคุณค่าเชิงศีลธรรม และมาตรฐานทางจริยธรรมที่มีอยู่ร่วมกันของศาสนาพุทธและอิสลาม ในขณะเดียวกัน อธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างของพิธีกรรม ความเชื่อด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้โดยถือเป็นภาระร่วมกันในการที่จะขจัดอคติที่มีต่อศาสนาทั้งสอง

สื่อต่างๆ ไม่ควรที่จะสร้างช่องว่างให้ศาสนิกของทั้งสองห่างเหินหันมากขึ้น โดยการบิดเบือนต่อเหตุการณ์ที่มีความหวั่นไหวต่อการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกัน ในการนี้ สื่อต่างๆ จึงไม่ควรที่จะถูกครอบงำโดยนักการเมืองที่ชอบฉวยโอกาสในการบิดเบือนศาสนา และสร้างความรู้สึกชาตินิยมเพื่อเป้าประสงค์บางประการของตนเอง ดังนั้น กลุ่ม และองค์กรภาคประชาชนทั้งหลาย ควรที่จะร่วมกันเพื่อติดตามและเฝ้ามองการรายงานของสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา

3. เนื่องจากศาสนาให้ความสำคัญเรื่องสันติภาพและความยุติธรรมของสังคม ดังนั้น สถาบันการศึกษาในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน และมหาวิทยาลัย ควรช่วยกันพัฒนาหลักสูตรด้านสันติศึกษาซึ่งเน้นการไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา หรือควรช่วยกันสร้างหรือสอดแทรกเนื้อหาที่จะเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างศาสนา เข้าไปในหลักสูตรและการเรียนการสอน

หลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา ไม่ควรที่จะบรรจุเนื้อหาที่สร้างอคติระหว่างศาสนาหรือชาติพันธุ์ กลุ่มหรือองค์กรประชาชนต่างๆ อาจมีส่วนช่วยในการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว รวมทั้งช่วยติดตามการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาเพื่อประกันได้ว่า ไม่มีการสร้างภาพลบหรือบิดเบือนความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา

4. ผู้นำศาสนาทั้งชาวพุทธและมุสลิม จะต้องช่วยกันย้ำเน้นให้ศาสนิกของตนเห็นถึงคุณค่าในการดำรงอยู่ร่วมกันกับศาสนิกอื่นๆ อย่างสมานฉันท์ และการให้ความเคารพในความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมีอยู่ร่วมกัน ผู้นำทั้งหลายควรช่วยกันย้ำเน้นถึงจุดที่ศาสนาต่างๆ มีอยู่ร่วมกันโดยหลีกเลี่ยงมุมมองแบบแบ่งแยกเขา-เรา เพียงความแตกต่างระหว่างศาสนานั้นจึงไม่ควรที่จะเป็นตัวสร้างความห่างเหิน และหมางเมินระหว่างศาสนิก พระสงฆ์ในศาสนาพุทธ และครูผู้สอนศาสนาอิสลาม ควรทำงานร่วมกันในการที่จะขจัดอคติ ความเกลียด และความเข้าใจอันไม่ถูกต้องต่างๆ อันอาจสร้างความแตกแยกระหว่างศาสนา

ผู้นำทั้งสองศาสนาควรให้ความสำคัญกับหลักการที่ต่อต้านการใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์และการทำลายศาสนสถาน โดยไม่สนใจว่าใครก็ตามเป็นผู้กระทำ หรือทำเพื่อเป้าประสงค์อันใดก็ตาม ในความเชื่อมโยงกันนี้ กลุ่มและองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ควรที่จะเข้าสังสรรค์เสวนากับเหล่าผู้นำศาสนาทั้งหลาย เพื่อสนับสนุนมุมมองของการอยู่ร่วมกันแบบไม่แบ่งแยก และมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ในด้านสันติภาพและความยุติธรรมในสังคม

5. ผู้นำรัฐบาลและนักการเมืองทั้งหลาย ควรที่จะช่วยกันสร้างสำนึกของการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ของทั้งสองศาสนิก รวมทั้งศาสนิกที่นับถือศาสนาอื่นๆ โดยการผลักดันด้านนโยบายต่างๆ นักการเมืองและผู้นำรัฐบาลจะต้องไม่ทำการฉกฉวยโดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองของตน หากแต่ช่วยกันริเริ่มที่จะนำสู่การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มีความหมายต่อโครงสร้างทางการเมืองในอันที่จะช่วยป้องกัน และเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านสิทธิและความมีเกียรติศักดิ์ศรีของคนที่นับถือศาสนาต่างๆ กัน

ในการที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้นั้น รัฐบาลและนักการเมืองจำเป็นที่จะต้องยึดถือในหลักศีลธรรม ได้แก่ มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ภาคประชาสังคมและสื่อต่างๆ จะต้องไม่มีการรีรอใดๆ ที่จะเปิดเผยและต่อสู้กับนักการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบ ซึ่งพยายามสร้างความแบ่งแยกทางศาสนาเพื่อเป้าหมายทางการเมืองของตน

นอกจากนี้ การประชุมเสวนาได้มองถึงประเด็นท้าทายต่างๆ โดยภาพรวมที่ชาวพุทธและมุสลิมในเอเชียตะวันนออกเฉียงใต้กำลังเผชิญอยู่ การประชุมเสวนายังได้หยิบยกประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของไทยมาพิจารณา คือ

1. ในกรณีของประเทศพม่า ได้มีความห่วงใยเกี่ยวกับการควบคุมกิจกรรมทางศาสนาโดยรัฐบาลทหารพม่า รัฐบาลยังคงมีอคติต่อบางศาสนา. ในประเทศอินโดนีเชีย สถานการณ์ในแง่ลบทางด้านทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ได้ส่งผลลบต่อความสัมพัรธ์ระหว่างศาสนา มีศาสนิกบางกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ ได้ใช้วิธีการที่ไร้จริยธรรมในการทำลายความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนกลุ่มใหญ่กับชนส่วนน้อยของประเทศ. สำหรับประเทศมาเลเซีย ยังคงมีความต้องการให้รัฐบาลมีความรู้สึกอ่อนไหวต่อความต้องการของชาวศาสนิกอื่นที่ไม่ใช่มุสลิม

2. การประชุมเสวนาครั้งนี้เห็นว่า ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ซึ่งได้บทสรุปจากการศึกษาเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้นั้น สมควรได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของประเทศ นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่ กอส. ได้สรุปว่าศาสนานั้นไม่ใช่สาเหตุสำคัญของความรุนแรงในภาคใต้ หากสาเหตุสำคัญนั้นเกิดจากความอยุติธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการทางกฎหมาย และระบบการบริหารของรัฐ รวมถึงความยากจนและความขาดแคลนทรัพยากรพื้นฐานต่างๆ

นอกจากนั้น เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมนับเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้กลุ่มก่อการใช้ความรุนแรงและการถูกปราบปรามด้วยความรุนแรงจากรัฐเช่นกัน กอส. ได้ให้ข้อเสนอแนะมากมายที่จะเอาชนะความรุนแรงเพื่อความสมานฉันท์ในสังคม และหนึ่งในข้อเสนอแนะที่สำคัญได้แก่การจัดตั้งหน่วยสันติภาพที่ปราศจากอาวุธ เพื่อแสวงหาความเข้าใจต่อสถานการณ์และวิธีการในการแก้ไขปัญหาโดยหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่มีต่อประชาชนไทย รวมทั้งในระดับนานาชาติ

นอกจากนั้นยังได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลมีการสานเสวนากับกลุ่มผู้ก่อการ และลงโทษอย่างจริงจังกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล และยังมีข้อเสนอให้มีการแก้ไขปัญหาการว่างงาน การสร้างความมั่นใจต่อกระบวนการทางกฎหมายและการพัฒนายกระดับด้านการศึกษา เป็นต้น

3. การประชุมเสวนายังได้เสนอว่า ในภาคประชาสังคมควรให้การสนับสนุนความรู้สึกของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกี่ยวกับรูปแบบขององค์กรท้องถิ่นอันเป็นที่พึงปรารถนาสำหรับพวกเขา โดยการรวบรวมรายชื่อ 50,000 ชื่อตามช่องทางของกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อยื่นต่อรัฐสภา จึงอาจนับเป็นการสะท้อนถึงเจตจำนงค์แบบประชาธิปไตยของคนในสามจังหวัด

4. พระสงฆ์ ครูสอนศาสนาอิสลาม และผู้นำของทั้งสองศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มกำลังเพื่อเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ที่ถ่างถางช่องว่างระหว่างศาสนาให้เพิ่มมากขึ้น แทนที่จะเป็นสะพานเชื่อมเพื่อเสริมสร้างความเข้าอกเข้าใจระหว่างกัน กระบวนการดังกล่าวต้องการความซื่อสัตย์และความจริงใจต่อกันของผู้นำศาสนาทั้งสอง ในกรณีที่มีความเข้าใจผิดต่อศาสนาอื่นหรือการมองเห็นจุดอ่อนของตนเอง การประชุมเสวนาระหว่างศาสนาในสามจังหวัดภาคใต้ควรกระทำควบคู่ไปกับการวิเคราะห์เพื่อสำรวจตรวจสอบตัวเอง

5. INEB และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ ควรที่จะเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้ง "กลุ่มติดตามเฝ้ามอง" ซึ่งประกอบด้วยทั้งชาวพุทธและมุสลิมจากหลายๆ ภาคส่วนของสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การปกป้องศาสนสถาน สถานศึกษา และสถานพยาบาล รวมถึงสถานที่ราชการต่างๆ. "กลุ่มติดตามเฝ้ามอง" นี้ไม่เพียงแต่คอยให้การปกป้องอาคารสถานที่ต่างๆ เท่านั้น ที่สำคัญยิ่งกว่าได้แก่การคอยสานจิตวิญาณของการอยู่ร่วมกันในหมู่ศาสนิกของศาสนาทั้งสองด้วย

6. ทั้งชาวพุทธและมุสลิมจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญทางศาสนา การเมือง และสื่อต่างๆ ควรช่วยกันแสวงหาแนวทางให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้เกิดกระบวนการประชุมเสวนา และสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยเพาะอย่างยิ่ง ความพยายามใดๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งเกี่ยวกับมุมมองเรื่องความเป็นหนึ่งและความเป็นสากลของทั้งสองศาสนา ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ความเมตตาธรรม และการให้อภัยซึ่งกันและกัน

การเสริมสร้างความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันระหว่างศาสนานั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในโลกทุนนิยมปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจรุกรานอย่างน่ากลัว ดังจะเห็นได้จากการครอบงำของระบบทุนนิยมได้กลายเป็นศาสนาใหม่ไปแล้ว และได้คุกคามต่อคุณค่าของความเป็นสากล คุณค่าทางศีลธรรมและจิตวิญญาณซึ่งมีอยู่ในทุกศาสนา ดังนั้น ชาวพุทธ มุสลิม และศาสนิกในศาสนาอื่นๆ ทั้งหลายจะต้องร่วมมือกันอย่างแข็งขัน ในการที่จะเสนอทางเลือกอื่นที่มีตั้งอยู่บนวิสัยทัศน์ของความยุติธรรม ความเมตตาธรรม และรักษาไว้ซึ่งอารยธรรมสากลที่มนุษย์ต่างเคารพในเกียรติศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน


Dusit Declaration

A Buddhist-Muslim Dialogue on the theme 'Buddhists and Muslims in Southeast Asia working towards justice and peace' was held at the Suan Dusit Place of Suan Dusit Rajabhat University, Bangkok from June 26-28, 2006. It was organised jointly by the Santi Pracha Dhamma Institute (SPDI), International Network of Engaged Buddhists (INEB) and International Movement for a Just World (JUST).

A total of 35 participants from eight countries attended the three-day Dialogue. Most of the participants were Buddhists and Muslims from Southeast Asia. A number of them were socially-engaged scholars and grassroots activists.

The Dialogue was part of a continuous process of interaction and engagement among individuals from the two communities that had begun ten years ago. Since Buddhists and Muslims constitute the overwhelming majority of Southeast Asia's 550 million people, dialogue aimed at enhancing understanding and empathy between the two communities is vital for peace and harmony in the region. In view of the critical situation in Southern Thailand, the Dialogue on this occasion assumed special significance. Apart from Southern Thailand, the Dialogue also reflected upon issues of concern pertaining to the two communities in a number of other Southeast Asian countries.

The Dialogue observed that for most of history relations between Buddhists and Muslims have been relatively harmonious. This has been due largely to a certain degree of mutual respect and a willingness to accommodate differences. This historical backdrop should provide the two communities with the strength and resilience to overcome the challenges that confront them today.

In order to overcome these challenges, the Dialogue made the following proposals:

- Civil society groups should utilise to the fullest various information and communication channels with the aim of increasing knowledge and understanding among Buddhists and Muslims of the principal teachings of their respective religions. Towards this end, SPDI, INEB and JUST undertake to produce a series of monographs in all the Southeast Asian languages which will emphasise the fundamental values and principles in Buddhism and Islam that give meaning to justice and peace. An attempt will also be made to disseminate documentaries on inter-religious harmony that embody real life episodes through various local communication channels as well as via webcasting, podcasting and broadcasting.

- The mainstream print and electronic media should highlight those moral values and ethical standards that Buddhism and Islam share in common, and at the same time explain differences in doctrines and rituals with sensitivity. It should also regard it as a duty to eradicate stereotypes and prejudices about the two religions. The media should not aggravate inter-religious ties by distorting and sensationalising events that have implications for religious harmony. In this regard, the media should not allow itself to be manipulated by opportunistic politicians and public personalities who abuse religion and nationalism for their own agendas. Civil society groups should establish 'media watches' to monitor media reporting on matters pertaining to inter-religious ties.

- Schools and universities should introduce and expand courses that seek to promote better understanding between Buddhists and Muslims. Since both religions are committed to justice and peace, it would be worthwhile to increase peace studies programmes at all levels of formal education which focus on non-violence in conflict resolution. School and university curricula should not contain materials which create animosity and perpetuate prejudice between religious and ethnic communities. Civil society groups can help to initiate the development of curricula that reflect Buddhism's and Islam's concern for justice and peace. At the same time, they should monitor school and university curricula to ensure that they do not have a negative impact on inter-religious ties.

- Buddhist and Muslim religious leaders should within the context of their respective faiths emphasise those ideas and values which conduce towards inter-religious harmony and the celebration of our common humanity. They should discard the tendency to be exclusive in their outlook and consciously cultivate a more inclusive and universal orientation towards religion. Differences between the two religions should not be allowed to create cleavages between their followers. Buddhist monks and the ulama should work together to eliminate prejudices, hatreds and misconceptions that sometimes tend to separate the two communities. Both should adopt a principled position against violence, especially the killing of civilians, and the destruction of places of worship regardless of who or what the target is. In this connection, civil society groups should engage with religious leaders in order to encourage them to become more inclusive and universal in outlook and more positively orientated towards justice and peace.

- Government leaders and politicians should consciously nurture harmonious relations between Buddhists and Muslims and among people of other faiths through both their public pronouncements and policies. It would be utterly irresponsible of government leaders and politicians to exploit religious sentiments for narrow political gain. They should instead initiate meaningful reforms to existing political structures which would protect and strengthen the rights and dignity of the different religious communities. In certain situations it may even be necessary to devolve political authority through the empowerment of disenfranchised religious communities. To endow substance to the empowerment of the community, government and political leaders should adhere to moral principles such as transparency and accountability. Civil society and the media should not hesitate to expose irresponsible leaders who divide the followers of different religions in pursuit of their self-serving political agendas.

Apart from looking at the challenges facing Buddhists and Muslims in Southeast Asia as a whole, the Dialogue also addressed immediate and urgent issues obtaining in specific country situations. The focus was of course on Southern Thailand.

- In the case of Myanmar, there was concern over attempts by the government to control religious activities to the detriment of the communities in question. The state itself appears to be a purveyor of prejudice against certain religious communities. In Indonesia, the adverse socio-economic and socio-political situation has had a negative impact upon inter-religious relations. Unethical methods of proselytisation by groups within a particular religious community allegedly supported by foreign elements have led to a further deterioration in majority-minority ties. There is also a need for the Malaysian state to be more sensitive to some of the legitimate interests of its non-Muslim minorities. -

- The Dialogue was of the view that the recommendations of the National Reconciliation Commission (NRC) established to study the situation in Southern Thailand deserve the wholehearted support of the nation. It is significant that the NRC declared in unambiguous terms that religion is not the cause of the violence in the South. Injustices arising from the existing judicial process and administrative system and poverty and deprivation are more important contributory factors. Historical and cultural conditions have also played a role in prodding militants to resort to violence which has been met with excessive force by the state. The NRC recommends a whole gamut of measures to overcome the violence. Among them is the establishment of a Peaceful Strategic Administrative Center for Southern Border Provinces (PSAC) which inter alia would seek to promote understanding of the situation and methods to solve the problem in all government agencies among people in the region in Thai society at large and in the international community. There is also a proposal for the state to engage in dialogue with the militants and to act decisively against state officials who abuse their power. There are also other recommendations for solving the unemployment problem, building confidence in the judicial process and improving the education system.

- The Dialogue also proposed that civil society undertake to ascertain the sentiments of the people in the three troubled provinces of Pattani, Narathiwat and Yala about the form of local governance that they prefer. A petition with at least 50,000 signatures on the form of governance they opt for should then be presented to Parliament for deliberation. This would be in accordance with the Thai Constitution and would reflect the democratic will of the people of the three provinces.

- Monks and the ulama and Buddhist and Muslim religious leaders in general in the three provinces should make a concerted effort to break down barriers that have created a wide chasm between Buddhists and Muslims and instead build bridges of understanding between the two communities. This process would require honest and sincere introspection on the part of the religious leaders and others about their own flaws and foibles. Critical self analysis should go hand-in-hand with Buddhist-Muslim dialogue in the three Southern provinces.

- INEB and other NGOs should initiate efforts to form a "People's Watch" comprising both Buddhists and Muslims drawn from various sectors of society whose primary purpose would be to protect and safeguard places of worship, institutions of learning and hospitals among other public institutions. A "People's Watch" would not only ensure the safety and security of these institutions but more significantly, it would also help foster a spirit of togetherness among Buddhists and Muslims.

- Both Buddhists and Muslims from neighbouring countries especially those representing the influential strata in religion, politics and the media should assist in whatever way possible in the process of dialogue and reconciliation in southern Thailand. More specifically they should try to strengthen a more inclusive and universal approach to both religions informed by values of justice, compassion and forgiveness.

Enhancing understanding and empathy between Buddhists and Muslims in Southeast Asia has become imperative in view of the overwhelming power and influence of contemporary global capitalism rooted in global hegemony. The hegemonic power of global capitalism is the new 'religion' which threatens to undermine the universal, spiritual and moral values and world views embodied in Buddhism, Islam and other religions. This is why Buddhists, Muslims and others should forge a more profound unity and solidarity which will be able to offer another vision of a just, compassionate and humane universal civilization.

It is with this mission in mind that we hereby announce the launch of a permanent Buddhist-Muslim Citizens' Commission for Southeast Asia.



 

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

H
R
การประชุมเสวนาครั้งนี้เห็นว่า ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ซึ่งได้บทสรุปจากการศึกษาเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้นั้น สมควรได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของประเทศ นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่ กอส. ได้สรุปว่าศาสนานั้นไม่ใช่สาเหตุสำคัญของความรุนแรงในภาคใต้ หากสาเหตุสำคัญนั้นเกิดจากความอยุติธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการทางกฎหมาย และระบบการบริหารของรัฐ รวมถึงความยากจนและความขาดแคลนทรัพยากรพื้นฐานต่างๆ
related topic

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55