Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.

หากนักศึกษา และสมาชิกประสงค์ติดต่อ
หรือส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กรุณาส่ง email ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com

กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง
ภารกิจมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนคือค้นหาความจริง อธิบายความจริง ตีความความจริง และสืบค้นสิ่งที่ซ่อนอยู่ข้างหลังความจริง
The Midnightuniv website 2006
ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 10th SARASATR SYMPOSIUM on SITUATIONIST SPACES
การประชุมทางวิชาการระดับชาติ การออกแบบทุกสาขารวมทั้งสถาปัตยกรรม และศาสตร์เกี่ยวเนื่อง ๒๖-๒๗ ตุลาคม ๔๙

สาระศาสตร์ ๑๐ : สถานการณ์สานสาระ
การประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยการออกแบบทุกสาขา
รวมทั้งสถาปัตยกรรม และศาสตร์เกี่ยวเนื่อง
๒๖-๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานการณ์สานสาระ
The 10th SARASATR SYMPOSIUM
on SITUATIONIST SPACES

พื้นที่ทางความคิดของศาสตร์ทางการออกแบบ และสถาปัตยกรรมจะเป็นอย่างไร
เมื่อปรากฏการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในปัจจุบันนั้นซับซ้อน
มีเงื่อนไข และเกิดเป็นสถานการณ์เฉพาะที่ เฉพาะเวลา เฉพาะกลุ่ม
อย่างหลากหลายมากขึ้น


ขอเชิญชวนสถาปนิก นักออกแบบ นักผังเมือง ศิลปิน อาจารย์ นิสิตนักศึกษา รวมทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศวัย ร่วมส่งบทความ เสนอผลงาน และเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการที่ขยายพื้นที่ทางความคิดแบบสถานการณ์นิยมตามมุมมองของท่านอย่างอิสระและสร้างสรรค์

สถานการณ์สานสาระ
The 10th SARASATR SYMPOSIUM
on SITUATIONIST SPACES

พื้นที่ทางความคิดของศาสตร์ทางการออกแบบ
และสถาปัตยกรรมจะเป็นอย่างไร
เมื่อปรากฏการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ในปัจจุบันนั้นซับซ้อน มีเงื่อนไข และเกิดเป็นสถานการณ์
เฉพาะที่ เฉพาะเวลา เฉพาะกลุ่ม อย่างหลากหลายมากขึ้น

พื้นที่แบบสถานการณ์นิยม (Situationist Space) เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการต่อรองและสร้างข้อตกลงระหว่าง เหตุผลและจินตนาการอย่างเฉพาะที่เฉพาะทางตามสถานการณ์กำหนดโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่อาจไม่ได้สอดคล้องกับทฤษฎีการออกแบบ หรือวิถีทางตามกระแสหลักใดๆ เช่น เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของคนธรรมดา พื้นที่ชุมชนที่รัฐไม่ได้จัดตั้ง พื้นที่ยึดครองของคนกลุ่มน้อย สถาปัตยกรรมที่อาจไม่ได้เกิดจากสถาปนิก ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่เขียนจากมุมมองของสามัญชน งานศิลปะที่ไม่มีศิลปิน งานออกแบบของชาวบ้านที่ไม่ได้เรียนออกแบบ โฆษณา นิตยสาร ความต้องการที่สวนกระแสแฟชั่น วัฒนธรรมป๊อป สตรีนิยม มนุษย์นิยม ฯลฯ

สาระศาสตร์ครั้งที่ ๑๐ ขอเชิญชวนสถาปนิก นักออกแบบ นักผังเมือง ศิลปิน อาจารย์ นิสิตนักศึกษา รวมทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศวัย ร่วมส่งบทความ เสนอผลงาน และเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ ที่ขยายพื้นที่ทางความคิดแบบสถานการณ์นิยมตามมุมมอง ของท่านอย่างอิสระและสร้างสรรค์ เพื่อแสดงจุดยืนและสร้างวัฒนธรรมทางวิชาการที่เข้มแข็ง และสมบูรณ์ด้วยการร่วมสร้างสถานการณ์ที่สานสาระทางความคิดสำหรับทุกคน โดยทุกคน และเพื่อทุกคนอย่างแท้จริง

๏ คืออะไรกันแน่ - สมัยใหม่นิยมหรือหลังสมัยใหม่นิยม ประเพณีนิยมหรือร่วมสมัย เมืองหรือชนบท ชุมชนหรือไม่ใช่ สวนสาธารณะหรือโรงละคอน ถนนหรือห้องนั่งเล่น สนามหลวงหรือที่รวมม็อบ ธนาคารหรือร้านกาแฟ ป้ายโฆษณาหรืออาคาร หน้าบ้านหรือหลังบ้าน เก้าอี้หรือเตียงหรือโคมไฟ สำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ ด้านในหรือด้านนอก ของเล่นหรือของกินหรือไม่ใช่ ฯลฯ เมื่อถึงเวลาที่การแยกแยะประเภท และกำหนดขอบเขตเนื้อหางานออกแบบต่างๆ ด้วยกรอบ "มาตรฐาน" ตามแนวที่ "คุ้นเคย" หรือเข้าทฤษฎี "ดั้งเดิม"
ที่มีอยู่ แบบที่มิเชล ฟูโก เรียกว่าเป็น "การทำให้เป็นปรกติ"

"เผด็จการของการสร้างความเป็นปรกติ" (Foucauldian Regime of Normalization) นั้น อาจใช้ไม่ได้ผลเสมอไปในยุคสมัยปัจจุบัน เนื่องจากบรรทัดฐานอย่างหนึ่งอย่างใดไม่สามารถอธิบายหรือตอบสนองต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ครอบคลุมเพียงพอ

๏ ที่สำคัญ บรรทัดฐานดังกล่าวที่วางไว้ให้ใช้กับทุกคน ทุกกรณี ทุกสถานที่ อาจสร้างให้เกิดสถาปัตยกรรมที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ เกิดพื้นที่เมืองที่หันหลังให้กับผู้คน เกิดผลิตภัณฑ์งานออกแบบที่แปลกแยกจากความต้องการ ความรัก ความหวัง ความฝัน ความปรารถนา ของคนกลุ่มน้อยใหญ่หลากหลายที่เรียกรวมกันว่า "สังคม" ยิ่งไปกว่านั้น งานศิลปะแบบผลิตซ้ำอำพรางเช่นนี้อาจทำให้สถาปนิก-นักออกแบบกลายเป็นเพียงบรรณารักษ์ที่แยกแยะจัดกลุ่มคนเข้าลิ้นชักต่างๆ ตามเกณฑ์ที่เคยมีเคยทำมาก่อน เพราะโลกทัศน์ของนักออกแบบถูกจำกัดด้วยการอ่านหนังสือเฉพาะเท่าที่ถูกตีพิมพ์ การผ่านหลักสูตรเฉพาะที่ถูกเปิดสอน และการรับรู้ความจริงเฉพาะที่ถูกรับรองว่าจริง

๏ กระนั้นก็ตาม ในปัจจุบัน ปรากฏการณ์การขัดจังหวะของความเป็น "ปรกติ" เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง การสร้างสรรค์ทั้งที่ผ่านงานออกแบบและงานเขียนที่ต่อต้านกระแสหลักมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คนเริ่มมองหาบรรทัดฐานอย่างหลากหลายและเหมาะสมกับอัตลักษณ์ของคนหรือกลุ่มคน ตามสถานการณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ยุคของการออกแบบก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะ "ค้นพบ" และ "เปลี่ยนแปลง" กลับไปเหมือนในช่วงเวลาของนักบุกเบิกแห่งยุคสมัยใหม่นิยมตอนต้น (Early Modernism) เกิดพื้นที่ทางความคิดและงานออกแบบทั้งแบบถาวรและแบบชั่วครั้งชั่วคราวตามแต่สถานการณ์ อาจไม่ได้อิงอยู่กับร่องรอยของทฤษฎีเดิมใดๆ ทั้งทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ผังเมือง แต่มีจุดเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามกลับไปที่คนหนึ่ง กลุ่มหนึ่ง ณ สถานที่หนึ่ง ในเวลาหนึ่ง และสถานการณ์อย่างหนึ่ง เพื่อสร้างพื้นที่ (space) ต่างๆ กันขึ้น

บรรณานุกรม
ไชยรัตน์ เจริญศิลป์โอฬาร (2545) วาทกรรมการพัฒนา อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น, กรุงเทพฯ: วิภาษา.
Foucault, M. (1980). Power / Knowledge: Selected Interviews and Other Writings, 1972-1977, New York: Pantheon.
Sadler, S. (1998), The Situationist City, Cambridge: MIT Press.

H
R
สาระศาสตร์ ๑๐ : สถานการณ์สานสาระ
การประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยการออกแบบทุกสาขา
เวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการและวิจัยในศาสตร์การออกแบบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรม และศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง สำหรับนักออกแบบทุกสาขา นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ สถาปนิก นิสิต นักศึกษา

The Midnight University

The Message from Midnightuniv's information
and be free to explore the full content

 

สถานการณ์สานสาระ
โ ค ร ง ก า ร ป ร ะ ชุ ม วิ ช า ก า ร ป ร ะ จำ ปี ๒ ๕ ๔ ๙
สาระศาสตร์: การประชุมวิชาการว่าด้วยการออกแบบ, สถาปัตยกรรม และศาสตร์เกี่ยวเนื่อง ครั้งที่ ๑๐
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ - วันศุกร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙
ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑. หลักการและเหตุผล
๏ นอกเหนือจากหน้าที่หลักในการผลิตนักออกแบบหลากหลายสาขาให้ออกไปรับใช้ประเทศชาติได้อย่างมีคุณภาพแล้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังทำหน้าที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง ในการส่งเสริมงานวิจัยและวิชาการในศาสตร์เหล่านี้

๏ ในปี ๒๕๔๙ คณะกรรมการดำเนินงานฯ กำหนดให้จัดการประชุม "สาระศาสตร์: การประชุมวิชาการว่าด้วยการออกแบบ สถาปัตยกรรมและศาสตร์เกี่ยวเนื่อง ครั้งที่ ๑๐" ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ถึง วันศุกร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙

๏ สาระศาสตร์เป็นการประชุมเพื่อเสนอผลงานการศึกษาวิจัย หรือ ผลงานวิชาการ ว่าด้วยออกแบบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรม ตลอดจนสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้จากศาสตร์เหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่วงวิชาการ วิชาชีพ และเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาประเทศ ในอนาคต

๏ ประเด็นประจำปีนี้ คือ สถานการณ์สานสาระ (situationist spaces) ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในหมู่นักออกแบบ สถาปนิก และผู้ที่ทำงานด้านสังคม/วัฒนธรรม ในระดับนานาชาติ

๒. วัตถุประสงค์
๏ เปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาอื่นๆในสาขาที่เกี่บวข้อง ได้นำเสนอผลงานวิชาการและวิจัยสู่ประชาคมวิชาการ

๏ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการและวิจัยในศาสตร์การออกแบบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรม และศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง สำหรับนักออกแบบทุกสาขา นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ สถาปนิก นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัยในศาสตร์เหล่านี้

๓. กิจกรรมของโครงการ
๏ การบรรยายนำโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
๏ การเสนอผลงานวิชาการและวิจัย โดยการบรรยายหรือโปสเตอร์
๏ การแสดงนิทรรศการผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และรวมถึงการเสนอผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ

๔. กำหนดการ
วันศุกร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙
วันสุดท้ายของการส่ง ใบสมัคร บทคัดย่อ และเอกสารต้นฉบับ
เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านประเมินคุณภาพและเสนอแนวทางปรับปรุง

วันศุกร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๙
วันสุดท้ายของการส่งเอกสารต้นฉบับที่แก้ไขแล้วความยาวไม่เกิน ๑๕ หน้า(A4) พร้อมแผ่นดิสก์บันทึกข้อมูล

วันพฤหัสบดีที่ ๒๖-วันศุกร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙
พบกันที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพื่อร่วมประชุม สาระศาสตร์ ครั้งที่ ๑๐
"สถานการณ์สานสาระ"

๕. วิธีการนำเสนอผลงานวิชาการและวิจัย
เลือกนำเสนอได้สองวิธีคือ

๑. บรรยายและเผยแพร่บทความใน www.sarasatr.info
ใช้เวลาบรรยายและตอบข้อซักถาม เรื่องละไม่เกิน ๓๐ นาที

๒. โปสเตอร์และเผยแพร่โปสเตอร์ใน www.sarasatr.info

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการบรรยาย/บทความ
บทคัดย่อ ผู้เสนอผลงานจะต้องส่งบทคัดย่อซึ่งประกอบด้วย
ชื่อเรื่องภาษาไทย และ/หรือ ภาษาอังกฤษ

ชื่อของผู้นำเสนอผลงาน
พร้อมยศ และ/หรือ ตำแหน่งทางวิชาการ ฯลฯ

บทคัดย่อภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หรือทั้งสองภาษา ความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A4

บทความ
เนื้อหา จำนวนไม่เกิน ๑๕ หน้า ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย และ/หรือ ภาษาอังกฤษ

ชื่อของผู้นำเสนอผลงาน (ระบุ ชื่อ ยศ ตำแหน่ง สถาบันที่สำเร็จการศึกษา และสถานที่ทำงานปัจจุบัน)

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
วิธีการดำเนินการ
ผลการศึกษา
สรุปและข้อเสนอแนะ ฯลฯ

รายละเอียดการพิมพ์ต้นฉบับ
พิมพ์บทคัดย่อและเอกสารต้นฉบับ ด้วยโปรแกรม Microsoft Word
Font FreesiaUPC normal ขนาด 14 นิ้ว, กั้นหน้า ๑.๕ นิ้ว กั้นหลัง ๑ นิ้ว
เว้นขอบบน ๑.๕ นิ้ว เว้นขอบล่าง ๑ นิ้ว
แยกไฟล์รูปภาพ ออกจากไฟล์บทความ

ส่งต้นฉบับ (hard copy) พร้อมดิสก์บันทึกข้อมูล ภายในเวลาที่กำหนดที่ฝ่ายวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อกำหนดเกี่ยวกับโปสเตอร์
โปสเตอร์ขนาด ๖๐ x ๘๐ เซนติเมตร (สำหรับติดบนบอร์ดขนาด ๑.๒๐ x ๒.๔๐ เมตร)
ออกแบบโปสเตอร์สำหรับติดตามแนวตั้ง

โปสเตอร์ทุกแผ่นจะต้องผนึกบนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
ขนาดตัวอักษร ๒๐ ตัวนิ้วขึ้นไป รูปแบบตัวอักษรใดก็ได้
กำหนดส่งโปสเตอร์ เรื่องละ ไม่เกิน ๓ แผ่น

ผู้นำเสนอต้องรับผิดชอบในการจัดหน้ากระดาษ จัดพิมพ์โปสเตอร์ ผนึกโปสเตอร์บนฟิวเจอร์บอร์ด และนำส่งโปสเตอร์ให้คณะกรรมการจัดการประชุม ภายในเวลาที่กำหนด

๖. คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ
สถาปนิก นักวิชาการทุกท่านที่มีผลงานการศึกษาวิจัย ทดลอง ออกแบบ และวางผัง ทั้งจากการปฏิบัติวิชาชีพโดยตรงหรืองานด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการออกแบบทุกสาขา รวมทั้งนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต

๗. ค่าลงทะเบียน
- เสนอผลงาน ๕๐๐ บาท / เรื่อง
- ร่วมประชุมโดยไม่เสนอผลงาน (บุคคลทั่วไป / ข้าราชการ ) ๑,๐๐๐ บาท / คน
- ส่วนลด (เฉพาะบุคคลทั่วไป/ ข้าราชการ)หากชำระค่าลงทะเบียนภายในวันศุกร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๙ ๘๐๐ บาท/คน
- ร่วมประชุมโดยไม่เสนอผลงาน (นิสิต/นักศึกษา - แสดงบัตร) ๕๐๐ บาท / คน

* สำหรับนิสิตนักศึกษาช่วยงานและสื่อมวลชนรับเชิญไม่เก็บค่าลงทะเบียน
*ผู้ลงทะเบียนจะได้รับชุดเอกสารของการประชุม อาหารกลางวัน ของว่างและเครื่องดื่มทั้ง ๒ วัน
* คณะกรรมการดำเนินงานฯจะเผยแพร่ผลงานที่นำเสนอ (full paper) และโปสเตอร์ ในเวบไซต์ www.sarasatr.info
ส่วนหนังสือรวมบทความ (conference proceeding) จะจัดพิมพ์เท่าที่มีผู้สั่งซื้อเท่านั้น

๘. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
โทรศัพท์ ๐๒-๒๑๘-๔๓๒๗ , ๐๒-๒๑๘-๒๓๓๖-๗
โทรสาร ๐๒-๒๑๘-๔๓๓๗

URL: http://www.sarasatr.info
E-mails: [email protected]

ศิลปะสถานการณ์นิยม (คลิก)




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม


มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 900 เรื่อง หนากว่า 13000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com