นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
R
related topic
110948
release date
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

ทำความเข้าใจโลกผ่านภาษา
วิจัยคำศัพท์ภาษาอังกฤษร่วมสมัย
รวบรวมโดยกองบรรณาธิการและสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
โครงการความรู้เที่ยงคืน

หน้าเว็ปนี้ เป็นการรวบรวมคำศัพท์(วลี)ร่วมสมัย เพื่อเป็นฐานความคิด ความรู้ และความเข้าใจโลกร่วมสมัย
ผ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่พบเห็นบนหน้าสิ่งพิมพ์สาธารณะ
หรือบนเว็ปไซต์ทั่วไป
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน สามารถร่วมส่งผลงานมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
เพื่อรวบรวมเป็นรูปเล่มพจนานุกรมต่างภาษาของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนต่อไป
หมายเหตุ : จะมีการปรับเพิ่มข้อมูลทุกสัปดาห์
การจัดลำดับคำศัพท์ จะใช้วิธีเรียงลำดับคำศัพท์ตามเวลาล่าสุด


(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 666
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 1000 หน้ากระดาษ A4)

 


วิจัยคำศัพท์ภาษาอังกฤษร่วมสมัย
กองบรรณาธิการและสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

การลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร A-Z (การค้นหาความหมาย ให้คลิกที่คำศัพท์)
(หมายเหตุ: วงเล็บท้ายคำศัพท์ที่เป็นตัวเลข คือลำดับที่ได้รับการ post เช่น world system theory(13) หมายถึงเป็นคำศัพท์ลำดับที่ 13)
หากค้นไม่พบคำศัพท์ที่ต้องการ คลิกไปหน้าเว็ปเพจถัดไปจากที่นี่

Affective politics
Annales School (14)

Black Friday (also called Blitz Day)
(3)

Black World Wide Web protest (4)
Business magnate (18)
Business Oligarch
Buy Nothing Day (2)

Critical Race Theory
(12)
Critical theory (1)
Communications Decency Act (5)
Critique of Pure Reason (15)


Frankfurt School
(16)

Hermeneutics
(6)


Labor theory of value
(23)

Neo-Marxism
(8)


Phenomenology
(7)

Politica Afectiva (21)
Poll Tax (19)
Prefigurative politics (20)

Queer theory
(11)

Sleeper cell (24)
Social ecology (10)
Structuration theory (9)

Taipan
(17)
Tycoon (18)

World Social Forum (22)
World Systems Theory (13)

 

คำศัพท์ลำดับที่ 24
sleeper cell
sleeper cell - สายลับหรือผู้ก่อการร้ายที่แฝงตัวอยู่ในประเทศเป้าหมายในฐานะพลเมืองที่เคารพกฎหมาย จนกระทั่วถูกกระตุ้นโดยสัญญานที่เตรียมไว้

คำศัพท์ลำดับที่ 23
Labor theory of value - ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน
เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า มูลค่าของสินค้ากำหนดจากจำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงงานโดยตรงในการผลิตสินค้านั้น หรือการใช้แรงงานโดยอ้อมในการปรับปรุงที่ดินหรือสร้างเครื่องจักรขึ้นมาใช้ผลิตร่วมในสินค้านั้น เป็นทฤษฎีที่พัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคในปลายคริสตศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสตศตวรรษที่ 19 ในทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทฤษฎีต้นทุนสัมพัทธ์(Comparative Cost Theory) มีการนำแนวคิดมูลค่าแรงงานมาใช้ในการกำหนดต้นทุนสินค้า

กล่าวคือต้นทุนสินค้ามีค่าเท่ากับจำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิต และ คาร์ล มาร์กซ์ ได้นำทฤษฎีนี้มาอธิบายว่า การที่นายทุนขายสินค้าในราคาสูงกว่าต้นทุนค่าจ้าง เป็นการขูดรีดแรงงาน(Labour Theory of Surplus Value)

มีข้อสังเกตว่า การยึดแนวทางดังกล่าว ทำให้ผู้วางแผนในสหภาพโซเวียตประเมินต้นทุนของปัจจัยทุนต่ำเกินไป ทำให้การใช้ปัจจัยทุนขาดประสิทธิภาพ จุดอ่อนของทฤษฎีนี้ได้แก่ การประเมินต้นทุนรวมต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะไม่รวมค่าตอบแทนปัจจัยทุน และการจัดประเภทของแรงงาน และการจ่ายค่าจ้างไม่ได้สะท้อนความสามารถที่หลากหลาย แรงงานขาดแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งเป็นการสูญเสียปัจจัยแรงงานในทางอ้อม

คำศัพท์ลำดับที่ 22
World Social Forum; WSF - เวทีสมัชชาสังคมโลก
การเคลื่อนไหวหนึ่งที่เริ่มเป็นที่รู้จัก และเป็นที่รับรู้กันในสังคมมากขึ้นเกี่ยวกับการต่อสู้เรียกร้องเพื่อต่อต้านกับกระแสโลกาภิวัตน์นั่นก็คือ "เวทีสมัชชาสังคมโลก" (World Social Forum; WSF) ที่จัดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 4 ปีแล้ว.
WSF ถือกำเนิดขึ้นอันเนื่องมาจาก การรวมตัวกันของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมหลายๆฝ่าย ที่ได้รับความเดือดร้อน/ได้รับผลกระทบจาก กระแสโลกาภิวัตน์/ทุนนิยมเสรี/เสรีนิยมใหม่ร่วมกัน ทั้งนี้เพราะโลกาภิวัตน์/เสรีนิยมใหม่ ได้ก่อให้เกิดปัญหาในประเทศโลกที่สาม/ประเทศโลกใต้ ที่มีลักษณะร่วมกันทั่วโลก คือต้องเผชิญกับอำนาจรวมศูนย์ที่เข้มแข็งของรัฐ และทุนจากบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ที่เข้าไปกอบโกยทรัพยากร/ผลประโยชน์จากประเทศเหล่านั้น

ทั้งนี้ต้นเหตุมาจากนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม/ทุนนิยม ที่พยายามสร้างให้ระบบเศรษฐกิจเสรี การค้า การลงทุน ที่เสรี ภายใต้การช่วยเหลือ/เอื้อประโยชน์ประเทศโลกที่หนึ่ง จากองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น WTO, IMF, WORLD BANK, ADB เป็นต้น

ดังนั้น ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน/ได้รับผลกระทบจาก กระแสโลกาภิวัตน์/ทุนนิยมเสรี/เสรีนิยมใหม่ จึงได้มีการพยายามแสวงหาหนทางร่วมกัน เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้าน โลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ ในการสร้างเวทีสมัชชาสังคมโลกขึ้นมา เพื่อร่วมกันต้านโลกาภิวัตน์กระแสหลัก และเป็นพื้นที่ที่ไม่ใช่แค่การประท้วงเท่านั้น แต่ WSF จะเป็นที่เปิดซึ่งหลายๆฝ่ายได้ร่วมกันคิดถึงการสร้าง โลกอีกใบ (Another World) ที่เอื้อประโยชน์ต่อคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันได้อีกด้วย

WSF ใน 3 ครั้งแรก ได้จัดขึ้นที่เมืองปอร์โต อัลเลเกร (Porto Alegre) เมืองหลวงของรัฐ ริโอ แกรนเด โด ซูล (Rio Grande do Sul) ในปี ค.ศ. 2001-2003 ที่ผ่านมา ขณะที่ WSF ครั้งล่าสุด จัดขึ้นที่เมืองมุมไบ (Mumbai) ประเทศอินเดีย. WSF ได้รับความสนใจจากกลุ่มเคลื่อนไหว / ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมจากทั่วโลกมากขึ้นทุกปี จากปีแรกที่มีผู้เข้าร่วมประมาณ 30,000 คน ขณะที่ในครั้งล่าสุดที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมมากถึงกว่าหนึ่งแสนคน และกิจกรรมของ WSF ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นจากครั้งแรกที่มีลักษณะของการชูประเด็นเพื่อต่อต้านโลกาภิวัตน์เป็นหลัก มากกว่าที่จะมีการสำรวจแนวทาง หรือค้นหา โลกาภิวัตน์ทางเลือกอย่างเป็นรูปธรรม

ดังนั้น WSF ครั้งที่สอง จึงมีกิจกรรมที่ครอบคลุมการออกแบบยุทธศาสตร์ต่อต้านโลกาภิวัตน์ และนอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนกันในรายละเอียดของกระบวนทัศน์ทางเลือกด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ, นิเวศวิทยา, และสังคมด้วย จนกระทั่ง WSF ครั้งล่าสุดที่อินเดีย เป็นการขยายขบวนการสากลจากส่วนอื่นๆของโลกทั้งละตินอเมริกา และยุโรป มาสู่เอเชีย ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในเอเชีย จะได้มีความสมานฉันท์ร่วมกัน

WSF ได้ก่อให้เกิดการขยายตัวขึ้นอย่างมากของเวทีสังคม/สมัชชาต่างๆ (Social Forum) ในภูมิภาคต่างๆทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นเวทีสังคมของทวีปยุโรป, เอเชีย, Pan-Amazon และเวทีสังคมในระดับประเทศต่างๆ เช่น อาร์เจนตินา, ปาเลสไตน์, อุรุกวัย, โคลัมเบีย, แคนาดา, โปรตุเกส, สวิตเซอร์แลนด์, เวเนซุเอลา เป็นต้น

การขยายตัวของเวทีสังคมดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงกระแสการต่อต้านคัดค้านโลกาภิวัตน์กระแสหลัก เพื่อแสวงหาหนทางใหม่ๆ เช่น การแสวงหาโลกาภิวัตน์ทางเลือก ระบบเศรษฐกิจ/การปกครองที่เป็นธรรมกับคนทุกคนในสังคม

คำศัพท์ลำดับที่ 21
Politica Afectiva หรือ affective politics
Politica Afectiva หรือ affective politics เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในละตินอเมริกา เป็นความพยายามที่จะสร้างสรรค์การเมืองแนวใหม่ที่ตั้งอยู่บนความรัก การเกื้อกูลกัน และความสัมพันธ์ทางสังคม การเมืองในแนวใหม่นี้เน้นย้ำในการเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน สร้างสรรค์พื้นที่เพื่อการรับฟังและรับรู้ อาจแปลได้ว่า "การเมืองเพื่อความสมานฉันท์" (ภัควดี วีระภาสพงษ์)

คำศัพท์ลำดับที่ 20
Prefigurative politics - การเมืองที่ใฝ่ฝันถึงอนาคต
Prefigurative politics เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า การสร้าง "สังคมในอนาคต" ขึ้นอยู่กับวิธีปฏิบัติของเราในปัจจุบัน ไม่ว่าในการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์กับผู้อื่น การจัดตั้งองค์กร ฯลฯ แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเฟมินิสต์ด้วยคำขวัญที่ว่า "การเมืองคือเรื่องส่วนตัว" นักเคลื่อนไหวทางสังคมที่รับแนวคิดนี้ยืนยันว่า รูปแบบการทำงานทางการเมืองไปจนถึงการใช้ชีวิตจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย เช่น ต้องพยายามใช้ชีวิตอย่างไม่ทำลายธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีจริยธรรม มีการจัดตั้งที่ไม่มีโครงสร้างลำดับชั้น และแสวงหาความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยวิธีการที่ใช้ความรุนแรงน้อยที่สุดและมีความสุขมากที่สุด เป็นต้น

"การเมืองที่ใฝ่ฝันถึงอนาคต" นี้ แตกต่างจากการเล่นการเมืองแบบ "ยุทธศาสตร์" องค์กรของนักกิจกรรมตามแนวทางนี้มักไม่มีโครงสร้างตายตัว ไม่รวมศูนย์ ไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและต่อต้านระบบแบบราชการ (ภัควดี วีระภาสพงษ์)

คำศัพท์ลำดับที่ 19
Poll Tax - ภาษีรายหัว, ภาษีรัชชูปการ
Poll Tax (หรือในชื่ออื่นคือ Head Tax และ Capitation) คือภาษีรายหัวหรือภาษีรัชชูปการ ซึ่งเรียกเก็บจากพลเมืองทุกคนในอัตราตายตัวเท่ากันทุกคน ตรงข้ามกับในปัจจุบันที่คิดภาษีตามอัตราส่วนของรายได้ การเก็บภาษีรัชชูปการนี้เป็นรายได้หลักของรัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศมาจนถึงศตวรรษที่ 19 ในขณะเดียวกันก็เป็นชนวนให้เกิดการจลาจลประท้วงหลายต่อหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพราะความไม่ยุติธรรมที่คนจนต้องเสียภาษีในอัตราเท่ากับคนรวย

ในประเทศอังกฤษ สมัยรัฐบาลนางมาร์กาเร็ต แธทเชอร์ มีการพยายามรื้อฟื้นภาษีในลักษณะคล้าย ๆ ภาษีรัชชูปการนี้ โดยใช้ชื่อว่า Community Charge เพื่อมาแทนที่ภาษีบำรุงท้องที่หรือภาษีโรงเรือนแบบเก่า ภาษีในระบบเก่านั้นจะคิดภาษีจากราคาประเมินของเคหสถาน ในขณะที่ระบบใหม่จะเก็บภาษีในอัตราตายตัวตามรายหัวของผู้อยู่อาศัยที่เป็นผู้ใหญ่ โดยถือว่าเป็นการคิดค่าธรรมเนียมจากพลเมืองที่ใช้สาธารณูปโภคของท้องถิ่น แม้ว่าจะมีการลดหย่อนภาษีให้คนจนก็ตาม แต่การเก็บภาษีในระบบใหม่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการผลักภาระภาษีของคนรวยมาให้คนจนอยู่ดี

ระบบภาษีท้องถิ่นแบบใหม่นี้ถูกนำมาใช้ในสกอตแลนด์เป็นแห่งแรกในปีงบประมาณ ค.ศ. 1989/90 และเริ่มใช้ในอังกฤษและเวลส์ในปีถัดไป มันสร้างความไม่พอใจให้ประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะทำให้คะแนนนิยมของพรรคคอนเซอร์เวทีฟตกต่ำอย่างหนักในหมู่ชาวสกอตมาจนถึงปัจจุบัน ความไม่พอใจลุกลามจนกลายเป็นการประท้วงถึงขั้นจลาจล ประชาชนรวมตัวกันเป็นขบวนการทั้งในสกอตแลนด์ อังกฤษและเวลส์ มีประชาชนถึง 18 ล้านคนไม่ยอมเสียภาษีนี้ แม้ว่าการไม่เสียภาษีจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ประชาชนก็ยังใช้วิธีดื้อแพ่ง ความปั่นป่วนนี้มาปะทุถึงจุดสูงสุดในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1990 ในการประท้วงที่จัตุรัสทราฟัลการ์ในกรุงลอนดอน มีประชาชนร่วมการประท้วงกว่า 200,000 คน รวมทั้งนายเทอร์รี่ ฟีลดส์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคแรงงาน ถูกจับขังคุกเป็นเวลา 60 วัน เนื่องจากไม่ยอมจ่ายภาษี

นักการเมืองของพรรคคอนเซอร์เวทีฟเริ่มตระหนักว่า พรรคของตนต้องแพ้การเลือกตั้งครั้งหน้าแน่นอน ถ้ายังไม่ยกเลิกภาษีนี้ แต่ตราบเท่าที่ผู้นำพรรคยังคงเป็นนางแธตเชอร์ผู้มีแนวทางแข็งกร้าว การยกเลิกนโยบายย่อมไม่มีทางทำได้ พวกเขาจึงกดดันจนนางแธตเชอร์ต้องยอมลาออกจากตำแหน่งผู้นำพรรคในเดือนพฤศจิกายน 1990 และภาษี Community Charge จึงถูกยกเลิกไปในที่สุด (ภัควดี วีระภาสพงษ์)

คำศัพท์ลำดับที่ 18
Tycoon - ไทคูน
Business magnate - ผู้มีอิทธิพลทางด้านธุรกิจ
"ไทคูน" คำนี้หมายถึงผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจ ซึ่งบางครั้งหมายถึงในฐานะโมกุล(mogul - moghul - สำหรับคำว่า"โมกุล" หมายถึงสมาชิกของราชวงศ์มุสลิม, รากเดิมมองโกล, ที่ปกครองอินเดียส่วนใหญ่ในราวคริสตศตวรรษที่ 16-19 ข้อมูลจากจาก Concise Oxford Dictionary)

ไทคูน คือบุคคลที่ควบคุมอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีสัดส่วนขนาดใหญ่ และความมั่งคั่งร่ำรวยของเขาสืบทอดมาจากธุรกิจที่เขาเป็นผู้ประกอบการ ยกตัวอย่างเช่น ผู้มีอิทธิพลทางธุรกิจด้านหนังสือพิมพ์ อย่างเช่น William Randolph Hearst ที่เป็นเข้าของบริษัท Hearst Corporation หรือผู้ทรงอิทธิพลทางด้านธุรกิจน้ำมัน John D. Rockefeller แห่ง Standard Oil หรือ ผู้ทรงอิทธิพลทางด้านอุตสาหกรรมเหล็กกล้า อย่าง Andrew Carnegie แห่ง US Steel เป็นต้น

ในประเทศรัสเซีย และประเทศต่างๆที่เกิดใหม่หลังสหภาพโซเวียด ศัพท์คำว่า "business oligarch" จะเป็นที่นิยมใช้กันมากกว่า

สำหรับคำว่า"ไทคูน" เป็นคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่นคำว่า Taikun, คำนี้มีรากกำเนิดมาจากภาษาจีน. ความหมายตามตัวอักษรหมายถึง "ขุนนางที่ยิ่งใหญ่"(great lord). ในประวัติศาสตร์คำนี้ถูกนำมาใช้ให้มีนัยะถึงบรรดาชาวต่างประเทศที่เข้ามาในญี่ปุ่น ที่โชกุนคือผู้ปกครองสูงสุดของประเทศ. ศัพท์คำนี้เข้ามาอยู่ในภาษาอังกฤษราวคริสตศตวรรษที่ 19 พร้อมกับการกลับมาจากญี่ปุ่นของ พลเรือจัตวา Perry ซึ่งเป็นผู้บังคับการกองเรือพาณิชย์สหรัฐฯ

ประธานาธิบดี Abraham Lincoln ได้รับการอ้างถึงแบบขบขันว่าเป็น Taikun โดยบรรดาสมาชิกคณะรัฐมนตรีของเขา ต่อมาศัพท์คำนี้ได้แพร่กระจายไปสู่วงการธุรกิจ และตัวสะกดพร้อมนิยามความหมายได้ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่ภาษาอังกฤษธรรมดาอย่างที่เราพบเห็นในทุกวันนี้

ศัพท์คำว่า"โมกุล"(mogul) เดิมทีหมายถึง "มองโกล"(Mongol) หรือคนที่สืบเชื้อสายมาจากมองโกเลียน. ในบริบทนี้ เป็นการอ้างอิงถึง the Mughal Empire (mughal เป็นตัวสะกดของภาษาอินโด-อารยันของคำว่า mogul)ของอินเดีย ที่ดำรงอยู่ในดินแดนแห่งนั้นระหว่าง ค.ศ.1526-1857. บรรดาจักรพรรดิ์ในช่วงต้นของ Mughal อ้างว่าพวกของพระองค์ เป็นผู้สืบทอดเชื้อสายมาจากผู้ปกครองชางมองโกล นามว่า เจงกิส ข่าน(Genghis Khan) และได้รับเอาเอกลักษณ์ของมองโกเลียนมา. ความหมายในยุคใหม่ของศัพท์คำนี้ถือว่าสืบทอดมาจาก ความร่ำรวยอย่างล้นเหลือของจักรพรรดิ์โมกุลทั้งหลาย ดังตัวอย่างที่ได้มีการสร้าง"ทัจ มาฮาล"(Taj Mahal)ขึ้นมา เป็นต้น
(From Wikipedia, the free encyclopedia - 230948)

คำศัพท์ลำดับที่ 17
taipan - ไทปัน
เป็นคำนาม ส่วนใหญ่จะเรียกทับศัพท์ว่า "ไทปัน" หมายถึง ชาวต่างประเทศคนหนึ่งซึ่งไปทำธุรกิจในประเทศจีน หรือชาวต่างประเทศที่เป็นหัวหน้าหรือเจ้าของธุรกิจในประเทศจีน คำนี้มีกำเนิดมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 จากประเทศจีน
(จาก : Concise Oxford Dictionary - ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 - 230948)

คำศัพท์ลำดับที่ 16
The Frankfurt School
The Frankfurt School (แฟรงค์เฟริทสคูล) เป็นสกุลความคิดหนึ่งของทฤษฎีสังคมและปรัชญานีโอ-มาร์กซิสท์ กลุ่มดังกล่าวพัฒนาขึ้นมาที่สถาบันวิจัยสังคม(Institute for Social Research) ของมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริทในเยอรมันนี ในสมัยที่ Max Horkheimer เป็นผู้อำนวยการสถาบันในปี ค.ศ.1930

สำหรับศัพท์คำว่า"แฟรงค์เฟริทสคูล"เป็นคำศัพท์อย่างไม่เป็นทางการที่ถูกนำมาใช้ระบุถึง บรรดานักคิดที่เป็นสมาชิกของสถาบันวิจัยสังคมดังกล่าว สำหรับบรรดานักคิดคนสำคัญของแฟรงค์เฟริทสคูลไม่ได้ใช้ศัพท์คำนี้ในการอธิบายถึงตัวของพวกเขาเอง

บรรดานักคิดแฟรงค์เฟริทสคูล ได้รับอิทธิพลมาจากความล้มเหลวของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปตะวันตกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และโดยการถือกำเนิดขึ้นมาของลัทธินาซีในชาติที่ก้าวหน้า(เยอรมันนี)ทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี, พวกเขาเลือกหยิบเอาความคิดของมาร์กซ์บางส่วนมาใช้เพื่ออธิบายถึงสภาพเงื่อนไขทางสังคมให้กระจ่างชัดมากขึ้น นอกจากนี้ พวกเขายังดึงเอาสกุลความคิดอื่นมาเติมเต็มความรู้ที่ถูกละเลยไปของมาร์กซ์ด้วย เช่นวิธีการทางจิตวิเคราะห์

คำศัพท์ลำดับที่ 15
Critique of Pure Reason
Critique of Pure Reason (Kritik der reinen Vernunft), ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1781 และพิมพ์ครั้งที่สองในปี ค.ศ.1787 ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็นบทอ่านที่ทรงอิทธิพลมากและกว้างขวางที่สุดของนักปรัชญาเยอรมัน Immanuel Kant และเป็นหนึ่งในงานประวัติศาสตร์ปรัชญาตะวันตกที่สำคัญและมีอิทธิพลมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากนี้งานชิ้นนี้ยังได้รับการอ้างว่าเป็น"การวิพากษ์ชิ้นแรก"ของ Kant และตามมาด้วยเรื่อง Critique of Practical Reason และเรื่อง Critique of Judgment.

Critique of Pure Reason ถูกถือว่าเป็นผลงานบุกเบิกในปรัชญาตะวันตก, Kant เห็นว่า การวิพากษ์นี้เป็นความพยายามที่จะเชื่อมต่อช่องว่างระหว่าง"ลัทธิเหตุผลนิยม"กับ"ลัทธิประสบการณ์นิยม"(rationalism and empiricism) และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันตรงข้ามกับลัทธิประสบการณ์นิยมมูลฐานของ David Hume

คำศัพท์ลำดับที่ 14
Annales School
Annales School เป็นสกุลงานเขียนทางประวัติศาสตร์ ตั้งชื่อขึ้นมาตามหลังนิตยสารทางวิชาการของฝรั่งเศส Annales d'histoire Economique et sociale (ซึ่งต่อมาเรียกว่า Annales. Economies, societies, civilisations, และมาเปลี่ยนใหม่เป็น Annales. Histoire, Sciences Sociales ในปี ค.ศ.1994). ประวัติศาสตร์ Annales school เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการรวมเอาวิธีการทางสังคมศาสตร์ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์
งานศึกษาของสกุลนี้ เป็นการบุกเบิกนำเอาวิธีการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างประวัติศาสตร์ระยะยาวมาศึกษาในเหตุการณ์ต่างๆ (พวกเขาปฏิเสธวิธีการที่เน้นเรื่องของการเมือง, การทูต และสงคราม อย่างที่บรรดานักประวัติศาสตร์ในคริสตศตวรรษที่ 19 จำนวนมากใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา). ภูมิศาสตร์, เนื้อหาทางวัฒนธรรม, และสิ่งที่กลุ่มนี้เรียกว่า mentality หรือจิตวิทยาของยุคสมัย(the psychology of the epoch) คือพื้นที่ศึกษาที่เป็นอัตลักษณ์ต่างๆ ของสกุลประวัติศาสตร์นี้]

คำศัพท์ลำดับที่ 13
World Systems Theory
World Systems Theory (ทฤษฎีระบบโลก) ไม่เหมือนกับทฤษฎีทางสังคมวิทยาต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว นำเสนอแบบจำลองทั้งหลายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยการโฟกัสลงไปที่ระดับสังคม, ทฤษฎีระบบโลก จะสำรวจถึงบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างสังคมต่างๆ(และการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่ตามมา)
แรกเริ่มเดิมที ทฤษฎีระบบโลกนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย Immanuel Wallerstein และเพื่อนร่วมงานของเขาในการขานรับต่อกิจกรรมใหม่ๆจำนวนมากในเศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยม ช่วงระหว่างกลางทศวรรษที่ 1970s, ทฤษฎีระบบโลกสืบทอดตัวของมันเองมาจากแหล่งต้นตอทางสติปัญญาที่สำคัญอยู่ 2 แหล่ง นั่นคือ วรรณกรรมนีโอ-มาร์กซิสท์เกี่ยวกับการพัฒนา และสกุลความคิด French Annales School.

การตีพิมพ์เรื่อง World-System Analysis ในปี 1987 ของ Wallerstein, เขาเสนอว่า ทฤษฎีระบบโลกคือ "การประท้วงต่อการค้นคว้าทางด้านสังคมศาสตร์ ที่ได้รับการวางโครงสำหรับเราทุกคนโดยเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่กลางคริสตศตวรรษที่ 19". เขาได้ทำการวิจาณ์ต่อไปถึงแนวความคิดที่แพร่หลายเกี่ยวกับทฤษฎีพึ่งพา(Dependency Theory), และถกว่า โลกของเรานี้ถูกทำให้สลับซับซ้อนมาก และถูกแยกแยะหมวดหมู่ในฐานะที่เป็นระบบทวิลักษณ์(bimodal system), ระบบที่แบ่งเป็น"แกนกลาง"กับ"ชายขอบ"(cores and peripheries). ในแง่คิดดังกล่าวนั้น หนึ่งในหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีระบบโลกได้ปรากฏตัวขึ้นนั่นคือ ความคิดในเรื่อง"กึ่งชายขอบ"(semi-periphery) ซึ่งได้สร้าง"ระบบไตรลักษณ์"(tri-modal system)ขึ้นมาที่ประกอบด้วย แกนกลาง, กึ่งชายขอบ, และชายขอบ

มีวิธีการมากมายที่จะอ้างเหตุผลให้ประเทศหนึ่งใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะเป็นแกนกลาง, กึ่งชายขอบ, หรือชายขอบ. การใช้การนิยามนี้วางอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์เชิงประจักษ์ เกี่ยวกับ"การครอบงำ" ในความสัมพันธ์ของสองประเทศ กล่าวคือ "แกนกลาง"คือ"ประเทศอิสระต่างๆ ซึ่งครอบงำประเทศอื่นๆ โดยไม่ถูกครอบงำ, "ประเทศชายขอบ"คือประเทศต่างๆ ซึ่งถูกครอบงำ, และ"ประเทศกึ่งชายขอบ"คือประเทศทั้งหลายที่ถูกครอบงำ ขณะเดียวกันประเทศเหล่านี้ก็ครอบงำประเทศอื่นด้วย (ซึ่งตามปกติคือ ครอบงำประเทศชายขอบ)

คำศัพท์ลำดับที่ 12
Critical Race Theory
Critical Race Theory (ทฤษฎีวิพากษ์เชื้อชาติ) เป็นสกุลหนึ่งทางความคิด ที่มองเห็นถึงความเหลวไหลในเรื่องเชื้อชาติ ที่วางอยู่บนความเชื่อมโยงกับชีวิตอเมริกัน. ทฤษฎีดังกล่าวเป็นกระบวนวิชาหนึ่งที่ท้าทายผู้อ่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนหรือผู้คัดค้าน เพื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ระหว่างเชื้อชาติ, ระบบความยุติธรรม, และสังคม

Paul Gilroy, ในเรื่อง Against Race, (p. 42) กล่าวว่า… "ความเหลวไหลที่สร้างขึ้นเกี่ยวกับเรื่อง"เชื้อชาติ"ในฐานะหลักการอันหนึ่งของพลังอำนาจ, ความแตกต่าง, และการแบ่งแยก มาถึงปัจจุบันมันยังคงยืนหยัดและดื้อรั้นต่อไป"

ทฤษฎีวิพากษ์เชื้อชาติ มีรากเหง้าต่างๆบนขอบเขตความรู้ที่มั่นคงแล้วของมานุษยวิทยา, สังคมวิทยา, ประวัติศาสตร์, รัฐศาสตร์ และปรัชญา. ความคิดต่างๆเกี่ยวกับการประกอบสร้างและความจริงเกี่ยวกับเชื้อชาติและการแบ่งแยก ยังคงมีอยู่เสมอในงานเขียนต่างๆ ของบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์เชื้อชาติร่วมสมัยที่รู้จักกันดี อย่างเช่น Derrick Bell, Mari Matsuda, Richard Delgado, Kimberlie Crenshaw, และ William Tate, เช่นเดียวกับนักบุกเบิกในความรู้ด้านนี้ ซึ่งรวมถึง W.E.B. DuBois และ Max Weber

คำศัพท์ลำดับที่ 11
Queer theory
Queer theory (ทฤษฎีเพศที่สาม) เป็นทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับเพศและเพศสภาพภายในขอบเขตความรู้ที่กว้างใหญ่ของเพศที่สามศึกษา(Queer studies). โดยเสนอว่า อัตลักษณ์ทางเพศ และอัตลักษณ์ของเพศสภาพของคนๆหนึ่ง คือบางส่วนหรือทั้งหมดของการประกอบสร้างทางสังคม และด้วยเหตุดังนั้น ปัจเจกชนทั้งหลาย จริงๆแล้วไม่สามารถที่จะถูกอธิบายโดยการใช้ศัพท์ต่างๆ อย่างเช่นคำว่า "homosexual,"(พวกรักร่วมเพศ) "heterosexual,"(พวกรักต่างเพศ) "man,"(ผู้ชาย) หรือ "woman"(ผู้หญิง) ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีนี้ได้ตั้งคำถามและสงสัยต่อประโยชน์ของการจัดแยกหมวดหมู่ทางสังคม อันมีพื้นฐานอยู่บนการแบ่งแยกระหว่างคนเหล่านั้น ซึ่งมีส่วนร่วมบางอย่างทางด้านอุปนิสัย หรือการดำเนินชีวิตในสังคม. บรรดานักทฤษฎีเพศที่สามเสนอถึงการจัดแยกหมวดหมู่ และกลุ่มอัตลักษณ์ทั้งหมดที่มีความสลับซับซ้อน

สำหรับผู้มีอิทธิพลต่างๆในทางประวัติศาสตร์ต่อทฤษฎีเพศที่สาม มีเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น Gloria Anzaldua, Audre Lorde, Monique Wittig, Jonathan D. Katz, Ester Newton, Andy Warhol, Roland Barthes, Jacques Lacan, Louis Althusser, และ Jacques Derrida, แต่สุ้มเสียงแรกในการพัฒนาเกี่ยวกับทฤษฎีเพศที่สามก็คือ Gayle Rubin, Kaja Silverman, D.A. Miller, Sue-Ellen Case, Douglas Crimp, John D'Emilio, Lee Edelman, Michel Foucault, Joan Scott, Simon Watney, Judith Butler, Eve Kosofsky Sedgwick, Leo Bersani, David Halperin, Michael Moon, Michael Warner, Shari Thurer และคนอื่นๆ อีก

Judith Butler เป็นนักทฤษฎีเพศที่สามคนสำคัญ ที่ได้อธิบายแนวคิดที่เป็นแกนหลักของทฤษฎีนี้ในหนังสือปี 1990 ของเธอเรื่อง Gender Trouble. แต่อย่างไรก็ตาม ในการให้สัมภาษณ์ต่อมา Butler กล่าวว่า เธอประหลาดใจที่ได้ยินว่า เธอได้คิดประดิษฐ์คำว่า"queer theory" (ทฤษฎีเพศที่สาม)ขึ้นมา

คำศัพท์ลำดับที่ 10
Social ecology
Social ecology (นิเวศวิทยาสังคม) ในตัวมันเอง เป็นคำที่น้อมนำไปในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับแนวโน้มสังคมทั่วไป รวมถึงการเมือง เช่นเดียวกับโน้มนำไปสู่ความคิดทางจริยธรรม ความเป็นชุมชน นิเวศวิทยา และการประกอบสร้างสังคมใหม่. นิเวศวิทยาสังคมเป็นทัศนะที่สุดขั้วอันหนึ่งเกี่ยวกับนิเวศวิทยาและเกี่ยวกับระบบสังคม/การเมือง ยกตัวอย่างเช่น ปฏิบัติการของพรรคเขียวต่างๆ(green parties)

นักนิเวศวิทยาสังคมทั้งหลายเชื่อว่า วิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยาปัจจุบันเป็นผลิตผลมาจากลัทธิทุนนิยม พวกเขาเชื่อว่ามันไม่ใช่เนื่องมาจากจำนวนประชากร แต่เป็นวิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวพันกับอีกคนหนึ่ง ที่ได้ช่วยเติมเชื้อให้กับวิกฤตทางเศรษฐกิจที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป อย่างเช่น การบริโภคมากจนเกินไป, ลัทธิการผลิต และลิทธิบริโภคนิยมคืออาการของโรคร้ายนั้น

Murray Bookchin กล่าวเอาไว้ว่า:
"ความนึกคิดที่ว่า มนุษย์ต้องครอบงำธรรมชาติ เกิดขึ้นมาโดยตรงจากการครอบงำของมนุษย์ต่อมนุษย์… แต่มันไม่เป็นเช่นนั้นจนกระทั่งความสัมพันธ์ของชุมชนแบบธรรมชาติ(organic)… ละลายเข้าสู่ความสัมพันธ์แบบตลาด ที่ซึ่งดาวเคราะห์ในตัวมันเองได้ถูกลดทอนลงเหลือเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการตักตวงผลประโยชน์. แนวโน้มที่เป็นมาหลายศตวรรษนี้ ได้ค้นพบการพัฒนาที่รุนแรงขึ้นในที่สุดในลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่. เนื่องมาจากธรรมชาติของการแข่งขันที่มีอยู่แต่กำเนิดของมัน, สังคมของชนชั้นกลางไม่เพียงทำให้มนุษย์ต่อสู้กันเองเท่านั้น มันยังทำให้มวลมนุษย์ต่อสู้กับโลกธรรมชาติด้วย. เทียบกับการที่มนุษย์ถูกเปลี่ยนไปสู่การเป็นสินค้า ดังนั้นแง่มุมทั้งมวลเกี่ยวกับธรรมชาติจึงถูกเปลี่ยนไปสู่ความเป็นสินค้าด้วย ธรรมชาติกลายเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง ที่ถูกผลิตและนำไปขายและใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย" (Op. Cit., p. 63)

คำศัพท์ลำดับที่ 9
Structuration theory
Structuration theory (ทฤษฎีโครงสร้าง)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า The Theory of Structuration, นำเสนอโดย Anthony Giddens (1984) ในเรื่อง The Constitution of Society, เป็นความพยายามอันหนึ่งที่จะประนีประนอมความเป็นคู่ตรงข้ามเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับระบบสังคม อย่างเช่น ทัศนียภาพแบบ ตัวแทน/โครงสร้าง, อัตวิสัย/ภววิสัย, ขนาดเล็ก/ขนาดใหญ่, (agency/structure, subjective/objective, and micro/macro perspectives), ซึ่งถือว่าปัจเจกชนแต่ละคนต่างกระทำต่อกัน(ในฐานะปัจจัยภายในบริบทโครงสร้าง) หรือในฐานะตัวแทนที่เป็นอิสระต่างๆ

วิธีการดังกล่าวไม่ได้โฟกัสลงไปที่ผู้กระทำที่เป็นปัจเจกหรือสังคม "แต่ปฏิบัติการต่างๆทางสังคมได้สร้างระเบียบข้ามพื้นที่และเวลา". ผู้ให้การสนับสนุนมันรับเอาตำแหน่งที่สมดุลนี้มาใช้ พยายามที่จะปฏิบัติการกับอิทธิพลของโครงสร้าง(ซึ่งรวมถึงวัฒนธรรมที่มีอยู่นั้นด้วย)และตัวแทน อย่างเท่าเทียมกัน

คำศัพท์ลำดับที่ 8
Neo-Marxism
Neo-Marxism (นีโอ-มาร์กซิสม์) เป็นสกุลความคิดในคริสตศตวรรษที่ 20 ที่หวนกลับมาพูดถึงงานเขียนในช่วงต้นๆของมาร์กซ์ก่อนการมีอิทธิพลของ Engels ซึ่งได้โฟกัสลงไปที่จิตนิยมวิภาษวิธี (dialectical idealism) มากกว่าวัตถุนิยมวิภาษวิธี (dialectical materialism), และปฏิเสธเรื่องของนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจของมาร์กซ์ในช่วงต้นๆ โดยได้โฟกัสไปที่การปฏิวัติในทางจิตวิทยา ไม่ใช่เรื่องกายภาพหรือวัตถุ

แนวคิดนี้ค่อนข้างมีลักษณะของนักเสรีนิยม และสัมพันธ์กับสายพันธุ์ทั้งหลายของลัทธิอนาธิปไตยมาก. มันยังเสนอเกี่ยวกับการเน้นที่ความชั่วร้ายต่างๆของลัทธิทุนนิยมโลก. บรรดานักนีโอ-มาร์กซิสท์ที่โดดเด่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น Marcuse คนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นนักสังคมวิทยาและนักจิตวิเคราะห์ นอกจากนี้มันยังได้ไปผูกมัดอย่างเหนียวแน่นกับขบวนการนักศึกษาของช่วงปีทศวรรษที่ 60s. นีโอ-มาร์กซิสม์เป็นที่รู้จักภายใต้ป้ายฉลากกว้างๆว่า ความคิดซ้ายใหม่(New Left thinking)

ในด้านสังคมวิทยา, นีโอมาร์กซิสม์ได้ผนวกความเข้าใจกว้างๆของ Max Weber เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมของสังคมเข้ามาด้วย อย่างเช่น สถานภาพและอำนาจ สู่ปรัชญามาร์กซิสท์. สายพันธุ์ต่างๆของนีโอ-มาร์กซิสท์รวมถึง Hegelian-Marxism, Critical Theory, Analytical Marxism, and French-Structural Marxism (or structuralism)

คำศัพท์ลำดับที่ 7
Phenomenology
Phenomenology (ปรากฏการณ์วิทยา) เป็นเรื่องที่แพร่หลายอยู่ในปรัชญา ที่นำเอาประสบการณ์หยั่งรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ(intuitive experience of phenomena)(สิ่งที่นำเสนอตัวของมันเองกับเราในประสบการณ์ระดับสำนึก) มาเป็นจุดเริ่มต้นของมัน และพยายามที่จะถอดความลักษณะเฉพาะที่สำคัญของประสบการณ์ และแก่นสาร(essence)ของสิ่งที่เรามีประสบการณ์ออกมา

ปรากฏการณ์วิทยา เกิดขึ้นมาจากสกุลความคิดของ the School of Brentano และได้รับการวางรากฐานส่วนใหญ่ในงานของนักปรัชญาคริสตศตวรรษที่ 20 Edmund Husserl, และได้รับการพัฒนาต่อมาโดย Maurice Merleau-Ponty, Martin Heidegger และ Michel Henry. ความคิดในเชิงปรากฏการณ์วิทยามีอิทธิพลต่อพัฒนาการของ existential phenomenology และ existentialism ในฝรั่งเศส France, ดังเห็นได้ชัดเจนจากงานของ Jean-Paul Sartre, และ Munich phenomenology (Johannes Daubert, Adolf Reinach) ในเยอรมันนี

คำศัพท์ลำดับที่ 6
Hermeneutics
Hermeneutics (อรรถปริวรรตศาสตร์) หมายถึง การตีความ เป็นศัพท์คำหนึ่งที่ได้รับมาจากภาษากรีก เป็นคำกริยาหมายถึง"ตีความ(to interpret) และอาจได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการตีความ(the theory of interpretation - แปลความหมาย). ดังนั้นมันจึงเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจของมนุษย์ และการตีความเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ(texts)

คำว่า hermeneutics สืบทอดมาจากสองแหล่ง อันแรกมาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า Hermes ในบทบาทของพระองค์ที่ทรงทำหน้าที่ช่วยแปลการสื่อสาร และช่วยความเข้าใจของมนุษย์ ขณะเดียวกันก็เป็นคำที่สืบทอดมาจากการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกของเทพเจ้า Hermes Trismegistus (ของ Ptolemaic) ซึ่งมีบทบาทในฐานะที่แสดงถึง"ความรู้ที่ซ่อนเร้น" หรือ"ความรู้ที่ลึกลับ"ออกมา

คำศัพท์ลำดับที่ 5
Communications Decency Act
The Communications Decency Act (CDA) พรบ. การสื่อสารแบบผู้ดี, เป็น Title V ของ Telecommunications Act of 1996 หรือพระราชบัญญัติการสื่อสารทางไกล ปี1996 ซึ่งถูกเสนอโดยคณะกรรมการพาณิชย์ วิทยาศาสตร์และการขนส่งของวุฒิสภา โดยวุฒิสมาชิก James Exon (D-NE) และ Slade Gorton (R-WA) ในปี 1995 ซึ่งเป็นการขานรับต่อความกลัวที่ว่า ภาพโป๊บนอินเตอร์เน็ตจะผุดขึ้นมามากมาย

ความหยาบคาย ความอนาจาร และความไม่เหมาะสมทางโทรทัศน์และวิทยุได้ถูกวางกฎข้อบังคับโดยคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ(Federal Communications Commission) - โดยหมายถึงการกระจายคลื่นสัญญานเกี่ยวกับคำพูดที่น่ารังเกียจ ซึ่งถูกห้ามในบางชั่วโมงของแต่ละวัน ผู้ละเมิดหรือฝ่าฝืนอาจถูกปรับ และเป็นไปได้ที่จะถูกยึดใบอนุญาต

แต่อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ตเพิ่งจะเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ไม่นานมานี้ โดยในปี 1992 ได้มีการปรับปรุงแก้ไข National Science Foundation Act ซึ่งกฎหมายก่อนหน้านั้นหลายฉบับไม่ได้พิจารณากันถึงเรื่องดังกล่าวนี้. The Communications Decency Act (CDA) นับว่ามีผลกระทบต่ออินเตอร์เน็ต และเคเบิลทีวเป็นอันมากี อันนี้ถือเป็นความพยายามครั้งแรกที่จะขยายกฎข้อบังคับต่างๆไปควบคุมถึงพื้นที่ใหม่ๆ อันนี้
(จาก: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. 110948 - From Wikipedia, the free encyclopedia.)

คำศัพท์ลำดับที่ 4
Black World Wide Web protest
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1996, เว็ปไซต์จำนวนมากได้เปลี่ยนหน้าจอเป็นสีดำเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อเป็นการประท้วงต่อการผ่านกฎหมาย Communications Decency Act (ดูคำศัพท์ลำดับที่ 5)ในสหรัฐอเมริกา. การประท้วงโดยการเปลี่ยนหน้าจอเป็นสีดำ เรียกว่า Black Thursday (พฤหัสทมิฬ) ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นความพยายามร่วมกันโดยกลุ่มคนที่รักเสรีภาพ รวมไปถึงเว็ปไซต์นับเป็นพันๆเว็ป ที่ได้ร่วมกันประท้วงกฎหมายฉบับนี้. การรณรงค์ดังกล่าวได้ถูกบันทึกโดยสื่อที่สำคัญต่างๆ อย่างเช่น CNN, TIME magazine และ The New York Times.
(จาก: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. 110948 - From Wikipedia, the free encyclopedia.)

คำศัพท์ลำดับที่ 3
Black Friday (also called Blitz Day) - วันศุกร์ทมิฬ
เป็นวันหลังจากวันขอบคุณพระเจ้า(Thanksgiving)ในอเมริกา ในประวัติศาสตร์ถือเป็นวันหนึ่งซึ่งมีการค้าการขายที่วุ่นวายมากสุดของปี เนื่องมาจากเป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของฤดูกาลช็อปปิ้งในเทศกาลคริสต์มาส

สำหรับคำว่า"black"(ดำ - ทมิฬ)คำนี้มาจาก หมึกที่พิมพ์ในบัญชีเงินฝากธนาคารนั่นเอง กล่าวคือ ตัวเลขแดงหมายถึงบัญชีเงินฝากติดลบ ส่วนตัวเลขดำหมายถึงบัญชีเงินฝากเป็นบวก. วันศุกร์ทมิฬคือวันที่บรรดาร้านค้าต่างๆกลับมามีตัวเลขในบัญชีเงินฝากเป็นสีดำ(ขายของได้มาก) หลังจากที่ติดตัวเลขแดงมาตลอดทั้งเดือนก่อนหน้านั้น

ศัพท์คำนี้อาจถูกใช้โดยบรรดาลูกจ้างในร้านขายสินค้าด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงถึงความไม่พอใจของพวกเขาที่ต้องทำงานหนักและวุ่นวายตลอดทั้งวัน วันดังกล่าวคล้ายๆกับวัน"พฤหัสทมิฬ"( Black Thursday) ซึ่งถือเป็นวันที่ค่อนข้างสับสนอลหม่านมาก
แม้ว่า"วันศุกร์ทมิฬ" จะเป็นวันที่มีการช็อปปิ้งวุ่นวายที่สุดของปี แต่มันก็ไม่ใช่วันที่ขายได้ดีที่สุด เพราะปกติแล้ววันที่ขายดีที่สุดก็คือ วันเสาร์สุดท้ายก่อนวันคริสต์มาส หรือวันที่ 23 ธันวาคมของทุกปีนั่นเอง

นักกิจกรรมสังคมบางคนถือว่า วันดังกล่าวเป็นวันที่ถูกเลือกอย่างตั้งใจให้เป็นวัน Buy Nothing Day (วันงดซื้อสิ่งของ) เพื่อเป็นการประท้วงต่อลัทธิบริโภคนิยมอย่างรุนแรง
(จาก: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. 110948 - From Wikipedia, the free encyclopedia.)

คำศัพท์ลำดับที่ 2
Buy Nothing Day - วันไม่ซื้อสิ่งของใดๆ
เป็นวันหนึ่งในรอบปีอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อประท้วงต่อลัทธิบริโภคนิยม กระทำการโดยนักกิจกรรมสังคม ถือเป็นวันหนึ่งซึ่งจะไม่ซื้อสิ่งของใดๆเลยตลอดทั้งวัน วันดังกล่าวได้รับการก่อตั้งขึ้นมาโดยนิตยสารของคานาเดียนฉบับหนึ่งชื่อว่า Adbusters.

ความคิดที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ก็คือ การโฟกัสลงไปที่สภาพการณ์เกี่ยวกับความยากจนของโลก และการตระหนักถึงอุปนิสัยการบริโภคที่สิ้นเปลืองของโลกที่หนึ่ง(First World). การเฉลิมฉลองสำหรับวันดังกล่าวนี้ ไม่เพียงไม่ซื้อสิ่งของต่างๆเท่านั้น แต่ยังมีปฏิบัติการทางวัฒนธรรมอื่นๆที่แสดงออกอย่างรุนแรงด้วย

ในสหรัฐอเมริกาและคานาดา วันไม่ซื้อของใดๆ(Buy Nothing Day) จะจัดขึ้นมาหลังจากวัน Thanksgiving Day ของอเมริกัน. วันดังกล่าวมักจะถูกเรียกว่า Black Friday, หนึ่งในวันที่มีการช็อปปิ้งที่ยุ่งเหยิงมากที่สุดของปีเลยทีเดียว ส่วนในประเทศอื่นๆที่สนับสนุนความคิดนี้ จะถือเอาวันต่อมาคือ วันเสาร์ (จาก: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. 110948 - From Wikipedia, the free encyclopedia.)

คำศัพท์ลำดับที่ 1
Critical theory - ทฤษฎีวิพากษ์

เกี่ยวกับศัพท์คำว่า "ทฤษฎีวิพากษ์" ได้รับการให้นิยามความหมายโดย Max Horkheimer ซึ่งเป็นนักสังคมศาสตร์ Frankfurt School ในความเรียงของเขาปี 1937 เรื่อง Traditional and Critical Theory (ขนบประเพณีและทฤษฎีวิพากษ์) และได้ถูกนำมาสนทนาอย่างละเอียดภายใต้หัวข้อ critical theory (Frankfurt School): นั่นคือ ทฤษฎีวิพากษ์(critical theory) เป็นทฤษฎีทางสังคมที่ปรับไปสู่การวิจารณ์และการเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งเป็นในทางตรงข้ามกับทฤษฎีแบบจารีต(traditional theory) ที่มุ่งเพียงทำความเข้าใจและอธิบายสังคมเท่านั้น

ทฤษฎีวิพากษ์นี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นความสนใจของนักสังคมศาสตร์ที่นำเอาทฤษฎีดังกล่าวนี้มาใช้ เรียกว่า critical social Theory,
ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นความสนใจของนักมนุษยศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านวรรณคดีวิจารณ์ เรียกว่า critical theory in literary studies ทั้ง 2 กลุ่มนี้ เดิมทีไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย แต่ภายหลังได้เข้ามาเกี่ยวพันกันเพราะความสนใจในเรื่องของสังคมวัฒนธรรมที่ทับซ้อนกันอยู่
(จาก: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. 110948 - From Wikipedia, the free encyclopedia.)



 


 

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 650 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

คำโปรย คัดลอกมาจากบทความ เพื่อให้มองเห็นเนื้อความที่น่าสนใจบางส่วน
H
เชิญชวนผู้สนใจภาษาอังกฤษ นำเสนอคำศัพท์ใหม่ๆ พร้อมคำอธิบายเพื่อทำความเข้าใจโลก และความคิดร่วมสมัย ทั้งในมิติด้านการมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
................................
inner voice
The Sick man of Asia - ภายหลังสงครามฝิ่น ซึ่งจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างยับเยิน จีนได้รับสมญานามว่า”คนป่วยแห่งเอเชีย”(The Sick man of Asia) ทั้งนี้เพราะใครก็ตามก็สามารถที่จะเอาชนะประเทศจีนได้

คำชี้แจง การวิจัยคำศัพท์ภาษาอังกฤษร่วมสมัย

หน้าเว็ปนี้ เป็นการรวบรวมคำศัพท์(วลี)ร่วมสมัย เพื่อเป็นฐานความคิด ความรู้ และความเข้าใจโลกร่วมสมัย ผ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่พบเห็นบนหน้าสิ่งพิมพ์สาธารณะ
หรือบนเว็ปไซต์ทั่วไป

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน สามารถร่วมส่งผลงานมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
เพื่อรวบรวมเป็นรูปเล่มพจนานุกรมต่างภาษาของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนต่อไป

หมายเหตุ : จะมีการปรับเพิ่มข้อมูลทุกสัปดาห์
ส่วนวิธีการจัดลำดับคำศัพท์ จะใช้วิธีเรียงลำดับ
คำศัพท์ตามเวลาล่าสุด

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85