ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 5-70000 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนกันยายน 2548 - ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่
นักศึกษา สมาชิกและผู้สนใจ หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

The Midnight University

จดหมายเปิดผนึกจาก ดร.วัน กาเดร์ เจ๊ะมาน (1)
ปัญหาของปาตานีและไทย :
เมื่อเราไม่อาจอยู่ร่วมและแบ่งแยกจากกันได้
(2)
ปริญญา นวลเปียน : แปล
อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดกาญจนบุรี

หมายเหตุ : บทความเรื่องนี้เป็นข้อเสนอของกลู่มเบอร์ซาตู
ในความพยายามเพื่อหยุดยั้งปัญหา หรืออย่างน้อยก็เพื่อลดทอนปัญหาการก่อความรุนแรง
ที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในปัจจุบันนี้

บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 656
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 5.5 หน้ากระดาษ A4)

 


ความหมายของคำว่า "ปาตานี" ที่ใช้แตกต่างกันระหว่าง "ปาตานี" (Patani) และ "ปัตตานี" (Pattani) ก็คือ ในกรณีที่ใช้ว่า "ปาตานี" ก็เพื่อแสดงถึงพื้นที่ 5 จังหวัดของราชอาณาจักรมาเลย์แห่งปาตานีอันเก่าแก่(3) ส่วนการใช้คำว่า "ปัตตานี" จะมีหมายความเฉพาะแต่เพียงปัตตานีในฐานะที่เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น

ปาตานีเคยเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรมาเลย์แห่งลังกาสุกะในอดีต เมื่อช่วงศตวรรษแรกของคริสตกาล จนกระทั่งลังกาสุกะเสื่อมอำนาจลงประมาณช่วงสหัสวรรษต่อมา และได้ปรากฏอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นมาแทนที่คือราชอาณาจักรปาตานี ที่มีความรุ่งเรืองและทรงอำนาจแห่งหนึ่งในเอเชีย แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายสหัสวรรษต่อมา ปาตานีก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐไทย เมื่อมีการบรรลุข้อตกลงระหว่างอังกฤษและสยามในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1902 ถึง ค.ศ.1909

ผลจากสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวมีผลให้ปาตานีถูกผนวกรวมเข้ากับรัฐไทย ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าปาตานีต้องตกเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย ด้วยอุบัติการณ์ของประวัติศาสตร์การเมืองในสมัยอาณานิคม โดยปราศจากความตกลงใดๆ จากประชาชาติปาตานี

กระบวนการผสมกลมกลืน (assimilation) ที่ดำเนินมาจนปัจจุบันเป็นเวลา 102 ปี นับตั้งแต่มีการผนวกเอาปาตานีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย แต่ปรากฏว่าประชาชาติปาตานียังคงไม่ยอมรับต่อกระบวนการดังกล่าว กระบวนการผสมกลมกลืนของรัฐไทยต่อชาวปาตานีต้องล้มเหลวลง ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังต่อไปนี้

ประการแรก ชาวมาเลย์มีประวัติศาสตร์แห่งชนชาติของตนมาอย่างสืบเนื่องยาวนานในนามของราชอาณาจักรปาตานี ซึ่งเก่าแก่เสียยิ่งกว่าราชอาณาจักรสุโขทัยของชาวไทยที่เพิ่งปรากฏขึ้นเมื่อช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12

ประการที่สอง เชื้อชาติที่แตกต่างกันระหว่างชาวมาเลย์และชาวไทย

ประการที่สาม ชาวมาเลย์คือคนมุสลิมในขณะที่ชาวไทยนับถือศาสนาพุทธ

ประการสุดท้าย คือ ชาวมาเลย์ใช้ภาษามาเลย์ ส่วนชาวไทยใช้ภาษาไทย ประชาชาติสองกลุ่มนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในอย่างน้อย 4 ประเด็นหลัก คือ ประวัติศาสตร์, เชื้อชาติ, ศาสนา, และภาษา,

การที่ชาวมาเลย์ไม่ถูกผสมกลมกลืนนั้น เมื่อมองจากเหตุผลทางการเมืองแล้ว ก็จะพบว่าเกิดจากการที่รัฐบาลไทยไม่เคยแสดงให้เห็นว่า ปาตานีเป็นส่วนหนึ่งของรัฐประชาติไทย เพียงแต่ถือเอาเป็นดินแดนอาณานิคมเท่านั้น รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ ยังคงหวาดระแวงต่อชาวมาเลย์ในพื้นที่ และไม่สนับสนุนให้ชาวมาเลย์มุสลิมเป็นผู้ปกครองหรืออยู่ในตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ ในพื้นที่ของสี่จังหวัด แต่จัดให้ชาวไทยพุทธเข้ามาปกครองจังหวัดมุสลิมเหล่านี้ เช่นเดียวกับที่อังกฤษได้จัดส่งข้าหลวงมาเป็นผู้ปกครองดินแดนมลายูในช่วงสมัยอาณานิคมนั่นเอง

ทุกวันนี้เยาวชนมุสลิมโดยส่วนใหญ่ต่างตระหนักดีว่า พวกเขาถูกแบ่งแยกอย่างหยามเหยียดและถูกจัดอยู่ในฐานะของผู้ถูกยึดครอง โดยผู้ปกครองได้ปล้นชิงเอาทรัพยากรที่มีค่าทั้งป่าไม้และทองคำออกไป แล้วทิ้งให้ปาตานีกลายเป็นพื้นที่ยากจนที่สุดของประเทศ

นอกจากนั้น รัฐบาลที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลชุดที่กำลังบริหารประเทศอยู่ในปัจจุบัน มักใช้ยุทธวิธีการปราบปราม และมาตรการความรุนแรง รวมทั้งการฆ่าตัดตอน (extra-judicial killings) ในหลายเหตุการณ์ เช่น วันที่ 28 เมษายน ค.ศ.2004 มีชนมาเลย์มุสลิมถูกสังหารโดยกองกำลังทหารและตำรวจไทยถึง 117 ราย รวมทั้งการยิงทิ้งผู้คน 34 รายภายในมัสยิดกรือเซะ

ก่อนหน้านั้น นโยบายการปราบปรามยาเสพติดทำให้มีการลอบสังหารผู้ต้องสงสัยมากกว่า 2,000 ราย และเหตุการณ์ล่าสุดก็คือเหตุการณ์ที่ตากใบในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ.2004 เจ้าหน้าที่ของรัฐจับกุมผู้ประท้วงอย่างสันติมากกว่า 1,300 ราย และมีรายงานในภายหลังว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 84 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากอาการขาดอากาศหายใจ ซึ่งยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดว่าทั้งหมดเสียชีวิตลงบนรถบรรทุกที่อัดแน่นขณะมีการขนย้ายไปยังค่ายทหาร หรือเสียชีวิตเมื่อไปถึงค่ายทหารแล้ว

กล่าวได้ว่าในช่วงระยะสามปีที่ผ่านมาเยาวชนมุสลิมจำนวนมากได้หายตัวไปโดยไม่ปรากฏหลักฐาน บัดนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าพวกเขาถูกลักพาตัวและสังหาร… นอกเหนือจากนี้ เหตุการณ์สังหารหมู่และการฆ่าตัดตอน ยังแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยไม่ได้ให้ความสนใจต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

กล่าวคือ มาตราที่ 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติว่า "การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"

เหตุการณ์การชุมนุมประท้วงอย่างสงบและปราศจากอาวุธที่ตากใบเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 สะท้อนให้เห็นว่าในขณะที่ชาวมาเลย์มุสลิม ได้ตระหนักถึงสิทธิของตนตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลไทยกลับละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ด้วยการจับกุมและสังหารพวกเขาเหล่านั้น

ในความเห็นของข้าพเจ้า ความเจ็บปวด ความอับอาย และความสิ้นหวังของชาวมาเลย์มุสลิมในพื้นที่ได้มาถึงจุดแตกหักแล้ว ถ้าหากว่านโยบายที่แข็งกร้าวเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไป ย่อมจะโหมไฟแห่งความขัดแย้งในพื้นที่ให้ลุกโชน จนไม่อาจจะคาดเดาผลลัพธ์ของมันได้ ถึงที่สุดแล้วอาจต้องให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาควบคุม และความขัดแย้งอาจลุกลามไปสู่รูปแบบของสงครามเพื่อปลดปล่อยตนเอง หรือแม้กระทั่งการกระทำญีฮาด (jihad)(4) อย่างเต็มรูปแบบก็ได้

อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ของการแบ่งแยกดินแดนปาตานีออกจากประเทศไทย นับเป็นเรื่องยากลำบากมาก เนื่องจากเหตุผลของระบบรัฐประชาชาติ (nation-state) ในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับเรื่องพรมแดนระหว่างรัฐ ซึ่งไม่เห็นพ้องและมักต่อต้านความพยายามในการแบ่งแยกดินแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีไร้พรมแดน ได้ส่งผลให้แนวคิดเรื่องพรมแดนและการแบ่งแยกดินแดนลดทอนความหมายลง นั่นหมายความว่าการก่อสงครามเป็นเรื่องไม่คุ้มค่าอีกต่อไป

ทุกวันนี้ชีวิตของพลเมืองสำคัญกว่าเรื่องของดินแดน การแบ่งแยกดินแดนในปัจจุบันจะมีความเป็นไปได้เฉพาะเมื่อมีชาติมหาอำนาจหนุนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งพวกเขาก็จะไม่ให้ความสนใจกับดินแดนที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมเช่นนี้

แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งที่แท้จริงควรร่วมจากการเจรจากัน โดยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีตัวแทนจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหลักๆ ที่อยู่ภายใต้องค์กรร่วมในนามของกลุ่มเบอร์ซาตู (BERSATU : แนวร่วมเพื่อเอกราชแห่งปาตานี) เช่น บีไอพีพี (BIPP) บีอาร์เอ็น (BRN) จีเอ็มพี (GMP) จีเอ็มไอพี (GMIP) จียูพี (GUP) และพูโล (PULO)(5) เข้าร่วมโต๊ะเจรจาด้วย. ส่วนตัวแทนฝ่ายไทยจะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ไม่ใช่เป็นเพียงตัวแทนจากกองทัพหรือตำรวจในพื้นที่ เพื่อเจรจาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวย้ำถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาวมาเลย์ในปาตานีว่าจะต้องอาศัยความเข้าใจและการประนีประนอม โดยทางกลุ่มเบอร์ซาตูในฐานะองค์กรร่วมของขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้พยายามต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธีเสมอมา ข้าพเจ้าเองโดยส่วนตัวแล้วขอประณามต่อกลุ่มต่างๆ ที่เป็นผู้ก่อความรุนแรงและกระทำการต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งเป้าหมายสาธารณะทั้งหลาย

ข้าพเจ้าหวั่นเกรงเป็นอย่างยิ่งว่า สถานการณ์ความรุนแรงที่ดำรงอยู่ในปาตานีจะไม่อาจสงบลงได้ ถ้าหากว่าไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง นั่นคือต้องอาศัยการช่วยเหลือจากกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนและผู้นำทางศาสนาในพื้นที่เท่านั้น

ในกรณีของขบวนการแบ่งแยกดินแดนนั้น กลุ่มเบอร์ซาตูมีศักยภาพเพียงพอที่จะชักจูงกลุ่มต่างๆ ให้หันเข้าหาแนวทางสันติวิธีได้ เพื่อการนี้กลุ่มเบอร์ซาตูจะต้องพบปะกับผู้นำของกลุ่มและฝ่ายต่างๆ เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางการต่อสู้อย่างสันติ โดยผู้นำของกลุ่มเบอร์ซาตูจะได้สร้างความเชื่อมั่น ให้พวกเขาได้ตระหนักในความชอบธรรมของการต่อสู้ด้วยวิธีที่ไม่ใช้ความรุนแรง ข้าพเจ้ามั่นใจอย่างยิ่งว่าบรรดาผู้นำของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ได้จับอาวุธต่อสู้มานับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ต่างก็เหนื่อยล้าต่อผลลัพธ์ของการต่อสู้อันยาวนาน ในทัศนะของข้าพเจ้าแล้วนี่คือช่วงเวลาเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวทางใหม่ๆ อย่างแท้จริง

ด้วยความเคารพต่อบรรดาผู้นำทางศาสนา ข้าพเจ้าเห็นว่าการแสวงหาความช่วยเหลือจากประเทศมาเลเซียเป็นสิ่งจำเป็น ในฐานะของประเทศเพื่อนบ้านที่ดี รัฐบาลมาเลย์เซียสามารถเชื้อเชิญผู้นำทางศาสนาในจังหวัดมุสลิม ให้เดินทางเข้าร่วมรับฟังการอบรมระยะสั้น เพื่อเผยแพร่แนวทางการต่อสู้แบบสันติวิธีในประเทศมาเลย์เซีย ซึ่งที่สุดแล้วกลุ่มแบ่งแยกดินแดนและผู้นำศาสนาก็จะยุติแนวทางการต่อสู้โดยใช้กำลังอาวุธลง รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่กรุงเทพฯ และเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องมีให้กับความเข้าใจต่อสถานการณ์ในพื้นที่ และจะต้องไม่ก่อเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาอีก เมื่อนั้นความสมานฉันท์และความสันติสุขก็จะบังเกิดขึ้น

มีหลักเกณฑ์อยู่อย่างน้อย 3 ประการ ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อลดความขัดแย้งและส่งเสริมให้เกิดความสงบขึ้นในพื้นที่ นั่นคือการสถาปนาหลักนิติรัฐ (rule of law), ความเสมอภาคทางการศึกษา, เสรีภาพในการนับถือศาสนาและการปฏิบัติทางวัฒนธรรม

ทางการไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับท้องถิ่นจะต้องยึดถือกฎหมายโดยเคร่งครัด ผู้ต้องสงสัยในการกระทำผิดใดๆ จะต้องได้รับการสอบสวนอย่างโปร่งใส และจะต้องได้รับการลงโทษโดยกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายเท่านั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่สร้างความขัดแย้งกับคนในท้องถิ่น จะต้องถูกโยกย้ายออกไปจากพื้นที่ของชาวมุสลิม

ผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมาจะต้องได้รับการชดเชยอย่างเต็มที่ ผู้ที่ถูกทางการไทยระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้าย จะต้องได้รับการปฏิบัติในฐานะเป็นเพื่อนร่วมชาติ และมีแนวทางที่จะนำพวกเขากลับคืนสู่สังคมให้ได้ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข

จะต้องเกิดความเสมอภาคทางการศึกษาในทุกระดับ มีระบบการศึกษาที่ให้ความรู้เพื่อสร้างศักยภาพในการทำงานและยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งการส่งเสริมและยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจำชาติไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องได้รับการพัฒนาโดยยึดถือเอาวัฒนธรรมอิสลามและมาเลย์เป็นศูนย์กลาง เช่นที่เคยเป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมของเอเชียมาแล้วในอดีต

สุดท้ายนี้ คาดหวังว่ากลุ่มเบอร์ซาตูจะได้รับโอกาสให้มีบทบาทในความพยายามเพื่อหยุดยั้งปัญหา หรืออย่างน้อยก็เพื่อลดทอนปัญหาการก่อความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในปัจจุบันนี้

ขอขอบคุณ

เชิงอรรถโดยผู้แปล

(1) ดร.วัน กาเดร์ เจ๊ะมาน หรือ ดร.ฟาเธร์ เจ๊ะมาน (Dr.Fathir Cheman) เป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มเบอร์ซาตู (BERSATU) ซึ่งเป็นองค์กรร่วม (Umbrella organization) ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนหลายกลุ่ม เขาเกิดที่จังหวัดนราธิวาส เคยทำงานอยู่ในสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) สังกัดกระทรวงมหาดไทย ภายหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนเปลี่ยนสัญชาติเป็นมาเลย์เซียด้วยเหตุผลทางการเมือง ศึกษาจบปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์จากประเทศออสเตรเลีย เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศมาเลย์เซีย ปัจจุบันพำนักอยู่ในประเทศสวีเดน

(2) แปลจาก The Problem of Patani Malays in Southern Thailand : Neither Assimilation Nor Separation เขียนโดย Wan Kadir Che Man เผยแพร่อยู่ในเวบไซต์เสียงปาตานี (Voice of Patani) เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษได้จาก http://www.voiceofpatani.com/WanKadirChemanReport.html

(3) อาจใช้คำว่า "มลายู" ในการสื่อความหมายแทนคำว่ามาเลย์ก็ได้เช่นกัน ในที่นี้ผู้แปลเลือกที่จะใช้คำว่ามาเลย์ (Malay) ตามต้นฉบับของผู้เขียน

(4) ญีฮาด หรือจีฮัด เป็นภาษาอาหรับ เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่อศาสนา (holly war) อย่างไรก็ตาม แท้จริงแล้วคำนี้มีความหมายกว้างกว่านี้มาก เนื่องจากไม่เพียงแต่หมายถึงการต่อสู้ทางทหารเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการต่อสู้ในทางการเมืองและการปฏิบัติทางกายและจิตวิญญาณเพื่อศาสนาในลักษณะอื่นๆ อีกด้วย

(5) สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนกลุ่มต่างๆ โปรดดูบทความของผู้เขียนคนเดียวกัน ใน "ปัญหาการต่อสู้ของขบวนการปลดปล่อยปาตานี" (บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 556)


บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8400 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

R
relate topic
030948
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้

เที่ยงวันคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความมืด เที่ยงคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง
H
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft]

การที่ชาวมาเลย์ไม่ถูกผสมกลมกลืนนั้น เมื่อมองจากเหตุผลทางการเมืองแล้ว ก็จะพบว่าเกิดจากการที่รัฐบาลไทยไม่เคยแสดงให้เห็นว่า ปาตานีเป็นส่วนหนึ่งของรัฐประชาติไทย เพียงแต่ถือเอาเป็นดินแดนอาณานิคมเท่านั้น รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ ยังคงหวาดระแวงต่อชาวมาเลย์ในพื้นที่ และไม่สนับสนุนให้ชาวมาเลย์มุสลิมเป็นผู้ปกครองหรืออยู่ในตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ ในพื้นที่ของสี่จังหวัด แต่จัดให้ชาวไทยพุทธเข้ามาปกครองจังหวัดมุสลิมเหล่านี้ เช่นเดียวกับที่อังกฤษได้จัดส่งข้าหลวงมาเป็นผู้ปกครองดินแดนมลายูในช่วงสมัยอาณานิคมนั่นเอง

.............................
Progress