ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 5-70000 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนกันยายน 2548 - ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่
นักศึกษา สมาชิกและผู้สนใจ หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

The Midnight University

รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ ปี ๒๕๔๘
คำกล่าวตอบรับรางวัล
จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ

อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์
วุฒิสมาชิก - นักวิชาการและนักกิจกรรมสังคม

คำกล่าวตอบรับรางวัล ฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษ
โดย จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ ปี ๒๕๔๘
วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศฟิลิปปินส์ เมืองมะนิลา



บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 655
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 6 หน้ากระดาษ A4)

 


คำกล่าวตอบรับรางวัล (ฉบับภาษาไทย)
ท่านประธานศาลฏีกา คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลรามอนแมกไซไซ เพื่อนผู้รับรางวัล และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน

ย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ในคำกล่าวตอบรับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คุณพ่อของผม ได้เอ่ยถึง "ใจ" น้องชายคนเล็กของผมซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๒ ปี และเป็นนักสะสมแสตมป์ คุณพ่อเล่าว่า ใจได้หยิบยกเอาคำพูดหนึ่งของประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซ ที่ปรากฏในแสตมป์ที่ระลึกมาบอกให้คุณพ่อได้รับทราบ คำพูดนั้นกล่าวไว้ว่า

"ข้าพเจ้าเชื่อว่า คนที่ได้โอกาสน้อยในชีวิต ควรได้รับโอกาสพิเศษในทางกฎหมาย"

ในวันนี้ ผมก็มีอีกเรื่องที่อยากจะเล่าเกี่ยวกับ "ใจ" ซึ่งผมเพิ่งทราบเมื่อไม่นานมานี้ นั่นคือ หลังจากที่ใจได้รับการแจ้งว่า ชื่อของผมอยู่ในกระบวนการพิจารณารางวัลนี้ ใจได้เสนอว่า มันน่าจะดีกว่าถ้าไม่ใช่ผม แต่เป็นทนายสมชาย นีละไพจิตร ที่ได้รับการเสนอชื่อแทน ในประเด็นนี้ผมเห็นด้วยกับน้องผมอย่างยิ่ง

สมชาย นีละไพจิตร เป็นประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และเป็นทนายซึ่งสละตัวเองเพื่อช่วยเหลือชาวมุสลิมทั้งหลายที่ต้องตกเป็นจำเลย ซึ่งมักเป็นคนที่"ได้โอกาสน้อยในชีวิต" เหมือนอย่างที่รามอน แมกไซไซกล่าวถึง และในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เป็นวันที่ทนายสมชายต้องเสียสละอย่างถึงที่สุด เขาถูกลักพาตัวออกไปจากรถยนต์ของเขาในพื้นที่กรุงเทพฯ และหายสาบสูญไป

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่นาน หลังจากที่เขาได้เริ่มรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอให้ยกเลิกการใช้กฎอัยการศึก ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพิ่งร้องเรียนต่อกรรมาธิการหนึ่งของวุฒิสภา เพื่อขอให้สอบสวนกรณีที่ตำรวจถูกกล่าวหาว่า ข่มเหงและทรมานผู้ต้องสงสัยห้าคน ซึ่งเป็นลูกความของเขาเพื่อให้สารภาพตามข้อกล่าวหา แม้ล่าสุดจะมีการจับกุมและดำเนินคดีกับตำรวจห้านายในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชายโดยคดีนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล แต่ก็คงจะเป็นไปได้ยากที่ผู้บงการที่อยู่เบื้องหลังการหายตัวไปของทนายสมชาย จะถูกเผยตัวออกมาในอนาคตอันใกล้นี้

น่าเสียดาย ที่มูลนิธิรามอน แมกไซไซ ไม่อนุญาตให้เสนอชื่อผู้ที่คาดว่าเสียชีวิตแล้ว เพื่อเข้ารับการพิจารณารางวัล และด้วยเหตุดังกล่าว ผมจึงอยู่ที่นี่ และได้รับเกียรติอย่างสูงยิ่งในวันนี้ ดังนั้น ในประการแรกผมจึงขออุทิศรางวัลนี้ให้แก่ทนายสมชายและครอบครัวของเขา

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศไทย ได้ให้การรับรองในเรื่องสิทธิ และเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยของบุคคลและชุมชน ไม่แพ้มาตรฐานของประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ทั่วโลก แต่แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะใช้มาแล้วเป็นเวลาแปดปี ดูเหมือนประเทศไทยยังเกิดกรณีที่เลวร้ายในด้านสิทธิมนุษยชน และสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งกรณีการสูญหายไปของทนายสมชายเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง

รัฐธรรมนูญของเรารับรองสิทธิของชุมชน ที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเขา และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาความเห็นอย่างยุติธรรมในกรณีที่ชุมชนอาจได้รับผลกระทบจากโครงการใดๆ ทว่า ไม่เพียงแต่สิทธิชุมชนเหล่านี้จะถูกเพิกเฉยมาตลอด แต่ทรัพยากรทางธรรมชาติไม่ว่าที่ดิน ผืนป่า และลุ่มน้ำ ยังถูกแย่งไปจากชุมชนอีกด้วย

ยิ่งกว่านั้น ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๔ มีผู้นำชุมชนอย่างน้อย ๑๕ คนจากทุกภาคของประเทศถูกลอบฆ่าตาย เพียงเพราะพวกเขาต้องการที่จะปกป้องชุมชน และต่อต้านบุคคลภายนอกที่พยายามเข้ามาแสวงผลประโยชน์แล้วทำลายสิ่งแวดล้อม ผู้นำชุมชนเหล่านี้ไม่เคยได้รับการคุ้มครองหรือแม้แต่การยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่ผลงานของเขาเป็นประโยชน์ทั้งต่อชุมชนและต่อสังคมโดยรวม และในแทบทุกกรณี ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารไม่เคยได้รับการลงโทษ ฉะนั้นจึงมีความสำคัญยิ่งที่ผมควรจะต้องอุทิศรางวัลนี้ให้แก่ผู้นำชุมชนที่กล้าหาญและเสียสละเหล่านั้น

นับแต่ปี ๒๕๔๗ ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น มีเหตุการณ์ฆ่ารายวันโดยผู้ก่อการร้ายกลุ่มหนึ่งที่เป็นคนในพื้นที่ แต่ในขณะเดียวกัน มีรายงานมากมายที่ชี้ว่ามีตำรวจและทหารบางส่วน ที่ปฏิบัติต่อชาวมุสลิมในพื้นในลักษณะที่ขัดต่อหลักนิติธรรม โดยมีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการอุ้ม การฆ่า และการทรมาน ข่าวเหล่านี้ทำให้ประชาชนในพื้นที่จำนวนมากเกิดความไม่พอใจและไม่ไว้วางใจต่อหน่วยงานด้านความมั่นคง

ยังมีเหตุการณ์ที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการตายหมู่ของสมาชิกทีมฟุตบอล ๑๙ คนที่อำเภอสะบ้าย้อยในเดือนเมษายน ๒๕๔๗ และอีกหกเดือนต่อมายังมีกรณีของประชาชนอีก ๗๘ ชีวิต ที่อยู่ในฝูงชนที่ชุมนุมที่อำเภอตากใบ และต้องเสียชีวิตไปในระหว่างที่อยู่ในการควบคุมตัวของทหาร ก็เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนขวัญอย่างยิ่ง สร้างความไม่สบายใจแก่ทุกคนที่เคารพในคุณค่าต่างๆ ที่เป็นรากฐานแห่งรัฐธรรมนูญของประเทศของเรา

ผมจึงขออุทิศรางวัลนี้ให้แก่ทุกๆ คนที่ทำงานเพื่อความสงบสุขและความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงสมาชิกทุกคนของคณะกรรมการสมาฉันท์แห่งชาติ ซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน เจ้าของรางวัลแมกไซไซเป็นประธาน

ผมยังต้องการอุทิศรางวัลนี้ให้แก่นักเคลื่อนไหวด้านประชาสังคมทุกคน ไม่ว่าจะสังกัดเอ็นจีโอหรือองค์กรภาคประชาชน ที่ยังยืนหยัดทำงานภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก เพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคมและสิทธิมนุษยชน เพื่อเสริมสร้างพลังและความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ไร้อำนาจในสังคม และเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้รวมถึงเพื่อนๆ ในเครือข่ายของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์

นอกจากนี้ผมขออุทิศรางวัลนี้ให้กับทุกคนที่ร่วมผลักดันให้เกิดเสรีภาพของสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๙ และ ๔๑ รวมถึงนักหนังสือพิมพ์และสื่อทั้งหลาย ที่ดำรงตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพสื่อ โดยการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและไม่หวั่นไหวจากการถูกคุกคามในทุกรูปแบบ รวมถึงอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวของไอทีวี ผู้จัดรายการวิเคราะห์ข่าวทางวิทยุบางคน และนักหนังสือพิมพ์ส่วนหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบจากการทำหน้าที่อย่างสุจริต และรวมถึงนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ จากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อที่ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย สูงกว่ารายได้ทั้งปีของเธอถึงพันเท่า ร่วมกับหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

สุดท้าย แต่สำคัญไปไม่ยิ่งหย่อนเลย ผมอยากจะอุทิศรางวัลนี้ให้กับเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาทุกคน ที่ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัดตามคำปฏิญาณของตน ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวม และโดยยึดมั่นในหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ท้ายนี้ ผมขอแสดงความรู้สึกซาบซึ้งใจอย่างยิ่ง ที่มูลนิธิรามอน แมกไซไซ ได้ให้โอกาสผมรับรางวัลอันมีเกียรตินี้ แทนเพื่อนคนไทยจำนวนมากมาย ที่ได้ยืนหยัดร่วมกันเพื่อพยายามทำให้ประเทศไทยของเราเป็นสังคมที่มีความน่าอยู่มากขึ้น สำหรับประชาชนทุกๆ ส่วน


คำกล่าวตอบรับรางวัล (ฉบับภาษาอังกฤษ)
Response
JON UNGPHAKORN
2005 Ramon Magsaysay Awardee for Government Service
31 August 2005, Cultural Center of the Philippines, Manila.

The Honorable Chief Justice Davide, trustees of the Ramon Magsaysay Award Foundation, distinguished guests, fellow awardees, ladies and gentlemen.

Forty years ago today, in his response to receiving the Ramon Magsaysay Award for Government Service, My father, Dr. Puey Ungphakorn, referred to my youngest brother Giles, then aged 12 and a stamp collector. Giles had quoted to my father a part of Ramon Magsaysay's Credo, which he had learned from a commemorative postage stamp: the part which translates into English as "I believe that he who has less in life should have more in law".

Today, I also have a story to tell about Giles. I learned very recently that when Giles was approached for information about me during the nomination process, he asked whether it would be possible not to nominate me, but to nominate Somchai Nilapaijit instead. I could not agree with him more.

Somchai was President of the Thai Muslim Lawyers Association and a civil rights lawyer who made great sacrifices to provide the best legal services for Muslim defendants, often people whom Ramon Magsaysay would have described as having less in life. He paid the ultimate sacrifice on March 12, 2004 when he was abducted from his car in Bangkok, never to be seen or heard of again. This occurred soon after he had started a signature campaign calling for martial law to be lifted from three southern provinces, and just after he had petitioned a Senate committee to investigate allegations that police had tortured five people whom he was defending in order to obtain false confessions. Five policemen were later arrested on charges relating to his abduction and are presently on trial, but it is unlikely that those who gave the orders for his demise will be uncovered in the near future.

Unfortunately, the regulations of the Ramon Magsaysay Award Foundation do not allow for posthumous nominations, and so here I am now, receiving this great honour, which I dedicate first and foremost to lawyer Somchai and his family.

The present Constitution of my Country, Thailand, guarantees the civil rights and democratic freedoms of individuals and communities on a par with the most democratic countries of the world. Yet since its promulgation eight years ago, Thailand has seen some of the worst human rights and civil rights abuses in recent history. The disappearance of Lawyer Somchai is just one example.

Our Constitution guarantees the rights of communities to participate in the management and conservation of their own natural resources and environment, and to receive a fair hearing regarding any development projects which might adversely affect them. Yet not only have these rights been widely ignored and natural resources such as land, forest, and water been grabbed away from communities, but at least 15 community leaders from all regions of the Country have been assassinated since 2001 for trying to protect their communities against environmental destruction by outsiders with vested interests. They received little protection or recognition from the state for serving the interests of their communities and of society as a whole, and in most cases the perpetrators of their deaths have remained unpunished. It is therefore important that I should dedicate my award to all of them for their courage and sacrifice.

Since January 2004, violence in the southernmost provinces of Thailand has escalated out of control. Brutal killings of innocent people by a group of local terrorists have become an everyday occurrence. At the same time, however, numerous reports of unlawful practices by police and military units against Muslims in these provinces with allegations of abductions, torture, and killings, have caused widespread resentment and distrust of security forces among the local population. The unclear circumstances surrounding the deaths of 19 members of the Sabayoi youth football team in April 2004 and the deaths, while in military custody, of 78 demonstrators arrested at Tak Bai six months later are extremely disturbing events to all who respect the values that form the foundations of our Constitution.

I would therefore like to additionally dedicate my award to all those who are working for peace and justice in the southern provinces, including members of the National Reconciliation Commission headed by Magsaysay Awardee, Anand Panyarachun.

I also dedicate my award to all civil society activists, whether from NGOs or peoples organisations, who are working under difficult circumstances for social justice, respect for human rights, empowerment of the powerless, and equitable management of natural resources; including all my friends and colleagues in the Thai Volunteer Service network, the Thai NGO Coalition on AIDS and the networks of people living with HIV/AIDS.

Furthermore, I would like to dedicate this award to all those struggling for media and press freedom in Thailand in accordance with Articles 39 and 41 of our Constitution. This includes those journalists and media people who have managed to maintain the ethical standards of their profession by reporting news in a straightforward manner and not giving in to various forms of intimidation. It also includes those, such as the ITV news staff, several radio news commentators, and some newspaper journalists who have been victimised for their integrity, as well as Supinya Klangnarong of the Campaign for Media Reform who is being sued for damages of well over 1,000 times her annual income together with the Thai Post.

Last, but certainly not least, I would like to dedicate my award to all fellow members of the Thai Senate who have performed their duties in strict accordance with their oath of office; that is to say with honesty, for the benefit of the people, and by adhering to the principles of our Constitution.

Finally, it only remains for me to express my gratitude to the Ramon Magsaysay Award Foundation for giving me the opportunity to accept this award on behalf of so many people striving to make Thailand a better place to live for all.

 



บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8400 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

R
relate topic
020948
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้

เที่ยงวันคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความมืด เที่ยงคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง
H
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft]

ย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ในคำกล่าวตอบรับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คุณพ่อของผม ได้เอ่ยถึง "ใจ" น้องชายคนเล็กของผมซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๒ ปี และเป็นนักสะสมแสตมป์ คุณพ่อเล่าว่า ใจได้หยิบยกเอาคำพูดหนึ่งของประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซ ที่ปรากฏในแสตมป์ที่ระลึกมาบอกให้คุณพ่อได้รับทราบ คำพูดนั้นกล่าวไว้ว่า

"ข้าพเจ้าเชื่อว่า คนที่ได้โอกาสน้อยในชีวิต ควรได้รับโอกาสพิเศษในทางกฎหมาย"
(จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้รับรางวัลแมกไซไซ)

 

................
........