ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 3-50000 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 - ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่
นักศึกษา สมาชิกและผู้สนใจ หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

การประชุมเวทีสังคมโลก 2006
ความเป็นไปได้ที่จะจัดประชุมเวทีสังคมเอเชียตะวันออกในไทย
กองบรรณาธิการ
และ สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ทางกองบรรณาธิการได้รับมาจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบางส่วน
เพื่อความสมบูรณ์จึงได้มีการนำเสนอถึง ที่มาของการประชุมเวทีสังคมโลก
เพื่อช่วยนักศึกษาและผู้สนใจเข้าใจประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการประชุมเชิงปฏิบัติการภาคประชาชน
บทความชิ้นนี้ประกอบด้วย ๒ ส่วน
๑. การทำความเข้าใจความเป็นมาเวทีสังคมโลก
๒. ความเป็นไปได้ที่จะจัดประชุมเวทีสังคมเอเชียตะวันออกในไทย


บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 647
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 6 หน้ากระดาษ A4)


     
1. การทำความเข้าใจความเป็นมาเวทีสังคมโลก
การประชุมเวทีสังคมโลก (The World Social Forum - WSF) เป็นการประชุมที่จัดขึ้นทุกปีรายการหนึ่ง โดยบรรดาสมาชิกฝ่ายซ้ายของขบวนการที่เรียกว่า the alternative globalization movement หรือ ขบวนการโลกาภิวัตน์ทางเลือก เพื่อรณรงค์และร่วมกันแบ่งปัน รวมถึงการกลั่นกรองยุทธศาสตร์ต่างๆขององค์กรภาคประชาชนที่ประสานกันทั่วโลก

นอกจากนี้ยังเป็นการให้ข้อมูลขบวนการต่างๆ และนำเสนอประเด็นปัญหาของประชาชนจากทั่วโลกแก่กันและกัน. การประชุมดังกล่าวได้มีการจัดขึ้นในเดือนมกราคม เพื่อเทียบชั้นเสมอกับคู่แข่งที่ยิ่งใหญ่ขององค์กรประชาชน นั่นคือการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก(the World Economic Forum) ซึ่งได้มีการประชุมกันที่เมือง Davos ประเทศ Switzerland

การประชุมเวทีสังคมโลกครั้งแรกได้รับการจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม ถึง 30 มกราคม 2001 ในเมือง Porto Alegre ประเทศบราซิล, ถูกจัดขึ้นมาโดยกลุ่มต่างๆอย่างหลากหลาย ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการโลกกาภิวัตน์ทางเลือก รวมถึงสมาคมฝรั่งเศสเพื่อการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินเพื่อการช่วยเหลือพลเมือง หรือ the French Association for the Taxation of Financial Transactions for the Aid of Citizens (ATTAC)

การประชุมเวทีสังคมโลก(WSF)ได้รับสปอนเซอร์หรือการสนับสนุน ส่วนหนึ่งโดยรัฐบาล Porto Alegre, นำโดยพรรคแรงงานของบราซิล(Brazilian Worker's Party (PT). เมืองดังกล่าวกำลังทำการทดลองเกี่ยวกับแบบจำลองซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับรัฐบาลท้องถิ่น ที่ได้รวมเอาสถาบันตัวแทนตามจารีต กับ การมีส่วนร่วมของเวทีประชุมที่เปิดกว้างสำหรับผู้คนเข้ามาไว้ด้วยกัน. ผู้คนประมาณ 12,000 คนได้ให้ความสนใจเข้าร่วมจากทั่วโลก. ณ เวลานั้น ในบราซิลเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านอันหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้นำไปสู่ชัยชนะการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรค PT คือ Luiz Inacio Lula da Silva

การประชุมเวทีสังคมโลกครั้งที่ 2 ยังคงจัดที่ Porto Alegre จากวันที่ 31 มกราคม จนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2002 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 12,000 คน ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนอย่างเป็นทางการจาก 123 ประเทศ, ส่วนอีก 60,000 คนเป็นผู้เข้าร่วม, มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ(workshop) 652 ห้อง, และ 27 เวทีอภิปราย. หนึ่งในนักพูดซึ่งมีชื่อเสียงรู้จักกันดีที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้คือ นักเขียนอเมริกันและผู้ประกาศตัวในเป็นผู้มีความเห็นทวนกระแสกับนโยบายหลัก คือ Noam Chomsky

การประชุมเวทีสังคมโลกครั้งที่ 3 นับเป็นอีกครั้งหนึ่งซึ่งได้จัดขึ้นที่เมือง Porto Alegre ในเดือนมกราคม 2003. ครั้งนี้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการคู่ขนานมากมาย รวมถึงอย่างเช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ"ชีวิตหลังลัทธิทุนนิยม"(life After Capitalism workshop), ซึ่งเสนอให้โฟกัสการพูดคุยลงไปที่การไม่เป็นคอมมิวนิสท์, ไม่เป็นทุนนิยม, และเน้นความเป็นไปได้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมสำหรับหลากหลายแง่มุมของโครงสร้างทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และชุมชน

สำหรับการประชุมเวทีสังคมโลกครั้งที่ 4 ได้รับการจัดขึ้นที่เมือง Mumbai ประเทศอินเดีย นับจากวันที่ 16-21 มกราคม 2004. การเข้าร่วมครั้งนี้ได้รับการคาดหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 75,000 คน. ความหลากหลายทางวัฒนธรรมถือเป็นแง่มุมหนึ่งซึ่งโดดเด่นของการประชุมครั้งนี้. ญัตติที่น่าสนใจอื่นๆที่ได้ถูกนำมาพูดคุยก็คือ เรื่องการยืนหยัดเกี่ยวกับฟรีซอฟต์แวร์. หนึ่งในนักพูดที่สำคัญของการประชุมเวทีสังคมโลกคราวนี้คือ Joseph Stiglitz.

ครั้งที่ 5 ของการประชุมเวทีสังคมโลก ในปี ค.ศ.2005 ได้รับการจัดขึ้นที่ Porto Alegre ประเทศบราซิลอีกครั้งในระหว่างวันที่ 26 มกราคม ถึง 31 มกราคม 2005. จำนวนมากของผู้เข้าร่วมในเวทีนี้ได้มีการออกแถลงการณ์ของปอร์โต เอลีเกร์ (Porto Alegre Manifesto)

ครั้งที่ 6 ในปี 2006 การประชุมจะได้รับการจัดขึ้นในเมืองต่างๆพร้อมกันทั่วโลก

การประชุมเวทีสังคมโลก ได้กระตุ้นและสนับสนุนให้มีการประชุมทางสังคมในภูมิภาคต่างๆมากมาย รวมถึงการประชุมเวทีทางสังคมยุโรป(the European Social Forum), การประชุมเวทีสังคมเอเชีย(the Asian Social Forum) และการประชุมเวทีสังคมบอสตัน(the Boston Social Forum). การประชุมเวทีทางสังคมทั้งหมดเกาะติดหรือยึดมั่นอยู่กับกับกฎบัตรเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญต่างๆ ซึ่งได้รับการร่างขึ้นมาโดยการประชุมเวทีสังคมโลก

คำวิจารณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมเวทีสังคมโลก

การประชุมเวทีสังคมโลกได้ถูกวิจารณ์เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยพรรคฝ่ายซ้ายสังคมนิยมและคอมมิวนิสท์ต่างๆ สำหรับการผลิตความคิดในเชิงปฏิบัติการที่เป็นจริงขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ยังให้ความใส่ใจวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องทั่วไปและคลุมเครือ เกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่และลัทธิจักรวรรดิ์นิยมแทน

ในอีกด้านหนึ่งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดานักอนาธิปไตยทั้งหลายยังวิจารณ์การประชุมเวทีสังคมโลก สำหรับความพยายามที่จะปฏิบัติการ ประหนึ่งว่าเป็นแกนกลางความคิดและการตัดสินใจ เพื่อสร้างที่ทางสำหรับกลุ่มที่มีความเห็นแย้งกับแนวคิดกระแสหลักต่างๆขึ้น ดังที่ the Communist Internationals เคยกระทำมาแล้ว

การประชุมเวทีสังคมโลกยังตกอยู่ในท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทำนองเดียวกัน ในฐานะขบวนการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการต่อต้านโลกาภิวัตน์ด้วย กล่าวคือ โลกาภิวัตน์และลัทธิทุนนิยมที่พวกเขาชูธงในฐานะที่เป็นฝ่ายตรงข้ามเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ผู้มีส่วนร่วมกับการประชุมเวทีสังคมโลกตอบโต้ประเด็นนี้ว่า ความคิดเกี่ยวกับ"การไม่อาจหลีกเลี่ยงในเรื่องโลกาภิวัตน์" เป็นมายาคติเชิงอุดมการณ์อันหนึ่ง ด้วยเหตุดังนั้นประชาชนทั้งหลายจึงอ้าแขนรับสโลแกนที่ว่า "โลกใบใหม่ที่เป็นไปได้" (Another World is Possible)

คู่ปรปักษ์ฝ่ายขวาเกี่ยวกับระเบียบโลกที่แพร่หลายในปัจจุบัน ได้วิพากษ์วิจารณ์แนวคิดพหุนิยมที่ถูกทึกทักกันขึ้นมาของการประชุมเวทีสังคมโลก ในฐานะที่เป็นเพียงการรวมเอาขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆของพวกฝ่ายซ้ายมาไว้ด้วยกันเท่านั้น (จากพวกสังคมประชาธิปไตย ไปจนกระทั่งถึงพวกอนาธิปไตย และรวมถึงพวกซ้ายสุดขั้ว [ ultra-leftists])

นักกิจกรรมบางคน โดยบรรดานักกิจกรรมที่เข้าร่วมประชุมเวทีสังคมโลกก็ถูกวิจารณ์เช่นกัน อย่างเช่นในการประชุมเวทีสังคมโลกปี ค.ศ.2001, ที่ซึ่งนักกิจกรรมทั้งหลายได้บุกรุกและเข้าไปทำลายสถานที่เพาะปลูกเพื่อการทดลองเกี่ยวกับยีนส์(experimental transgenics)ของบริษัทมอนซานโต เป็นต้น

ข้อมูลจาก : World Social Forum (From Wikipedia, the free encyclopedia)
http://en.wikipedia.org/wiki/World_Social_Forum

2. ความเป็นไปได้ที่จะจัดประชุมสมัชชาสังคมเอเชียตะวันออกในไทย
หลังจากที่มีการจัดการกระชุมเวทีสังคมโลกหรือสมัชชาสังคมโลก (World Social Forum - W.S.F.) ที่ประเทศบราซิล ถึงสี่ครั้ง และที่อินเดียหนึ่งครั้ง คณะกรรมการ WSF มีการตกลงกันว่าในปี 2006 จะจัด WSF ในรูปแบบหลายศูนย์กลางตามทวีปต่างๆ แล้วหลังจากนั้นในปี 2007 จะกลับมาจัดที่เดียวอีกครั้งในอัฟริกาที่ประเทศ Kenya

ในปี 2006 ในเอเซียจะจัด WSF เอเซียใต้ที่ปากีสถานในเดือนมกราคม และนอกจากนี้ในการประชุม Asian Consultation on the WSF ที่ศรีลังการะหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายนที่ผ่านมา มีการเสนอว่าปี 2006 ควรจัด WSF เอเซียตะวันออกราวๆ เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม

ประเทศที่มีการพิจารณาคือ อินโดนีเซีย, ไทย, เกาหลีใต้, และฟิลิปปินส์, แต่ในกรณีฟิลิปปินส์มีการสรุปกันว่าความแตกแยกในฝ่ายซ้ายรุนแรงเกินไปที่จะจัดงานได้ ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับคนภายนอกจะสูงมากถ้าจัดที่เกาหลีใต้ พูดง่ายๆ ขณะนี้คณะกรรมการสากลของ WSF เอเชีย กำลังพิจารณาระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย
และมีการจัดประชุมหารือครั้งที่สองหลังการประชุมครั้งแรกที่ศรีลังกา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่กรุงเทพฯ

เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ไม่กระจายข่าวเรื่องนี้ไปสู่กลุ่มและองค์กรต่างๆ ในไทยอย่างกว้างขวาง ในระยะ 2 เดือนครึ่งหลังการประชุมที่ศรีลังกา อย่างไรก็ตามปัญหานี้ไม่ควรถูกใช้เป็นข้ออ้างหรือกลายเป็นอุปสรรค์ในการพิจารณาว่าเราในเมืองไทยต้องการจะจัดงาน WSF หรือไม่ ดังนั้นขอเสนอแง่คิด ทั้งในเชิงบวกและลบ เกี่ยวกับการจัด WSF ที่ไทยดังต่อไปนี้

ข้อดีของการจัดงาน WSF ในไทย
ประเทศไทยมีภาคประชาชนที่มีประวัติการต่อสู้มายาวนาน มีขบวนการทางสังคมที่เข้มแข็งและหลากหลาย
แต่การเมืองของภาคประชาชนไทยมีจุดอ่อนในเรื่องการแยกส่วนเคลื่อนไหว และการพึ่งพิงฝ่ายรัฐมากเกินไป
ดังนั้นถ้าเรามีโอกาสที่จะจัดงานประชุมนานาชาติ WSF ที่ไทย ก็คงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับขบวนการภาคประชาชนไทยในการพัฒนาการเมืองอิสระ และการเคลื่อนไหวที่เข้มแข็งให้ดียิ่งขึ้น ผ่านการแลกเปลี่ยนกันภายในขบวนการไทยและการแลกเปลี่ยนกับขบวนการสากล

นอกจากนี้การจัดประชุมจะเป็นโอกาสในการร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม ระหว่างองค์กรต่างๆ ในภาคประชาชนไทยที่หลากหลาย เพื่อลดความขัดแย้งและทัศนะเล่นพรรคเล่นพวกที่ยังมีอยู่

เงื่อนไขหลักในการจัดการประชุม WSF ที่จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จ - บทเรียนจากการประชุมที่อื่นในอดีต
การประชุม WSF เป็นโอกาสในการร่วมกันสร้างกระบวนการไปสู่ "โลกใบใหม่" ผ่านการเปิดพื้นที่กว้างเพื่อการแลกเปลี่ยนในภาคประชาชน

WSF เป็นพื้นที่กว้างที่ยอมรับหลากหลายความคิดของภาคประชาชน แต่มีจุดยืนที่ชัดเจนในการต้านกลไกตลาดของแนวเสรีนิยมใหม่ และต้านการทำสงครามและความรุนแรงของจักรวรรดินิยมและรัฐทุกรูปแบบ. ในอดีตผู้ที่มีส่วนร่วมในการประชุมสากลแบบนี้ส่วนใหญ่ (90% ในกรณีที่จัดที่เอเซีย) มาจากคนภายในประเทศ ดังนั้นเราต้องมองว่าเราจัด WSF ในไทย เพื่อพัฒนาขบวนการของไทยให้เดินหน้าพร้อมกับขบวนการสากล

เงื่อนไขที่จะไปสู่ความสำเร็จในการจัดงาน:
การเตรียมตัวจัดงานต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ในภาคประชาชนที่หลากหลาย โดยไม่มีการกีดกันเล่นพรรคเล่นพวก และต้องเปิดกว้าง องค์กรใดองค์กรหนึ่งไม่มีทางที่จะสามารถจัดงานนี้ได้ ต้องเป็นกรรมการที่ประกอบไปด้วยหลายฝ่าย และกระบวนการจัดงานต้องทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป้าหมายในการจัดงาน WSF ที่ไทยคือให้มีผู้เข้าประชุมและมีส่วนร่วมประมาณ 5000-8,000 คน ไม่ใช่เกณฑ์คนมาฟัง

เกือบทุกส่วนของภาคประชาชน โดยเฉพาะระดับรากหญ้า ซึ่งรวมถึง NGO ขบวนการทางสังคม สมัชชาคนจน กลุ่มเกษตรกร สหภาพแรงงานภาครัฐและเอกชน ขบวนการนักศึกษา ขบวนการเคลื่อนไหวการเมืองเพศ กลุ่มศาสนา กลุ่มการเมืองฝ่ายซ้าย กลุ่มชาติพันธ์ และกลุ่มคนงานข้ามชาติ ต้องตกลงร่วมกันว่าพร้อมและต้องการจะจัดงานโดยทำงานร่วมกัน เพราะงานนี้ต้องประกอบไปด้วยผู้มีส่วนร่วมเป็นพันๆ

การจัดงานต้องทำภายใต้อุดมการณ์ที่ยอมรับความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นทางความคิด หรือวิถีชีวิตและทางเลือกทางเพศ การจัดงานควรเริ่มจากความพยายามที่จะหาทาง "สร้างโลกใบใหม่" ซึ่งเป็นคำขวัญที่สะท้อนจุดยืนขบวนการ WSF ในทางปฏิบัติมันแปลว่า งานประชุมไม่ควรเป็นการบ่นถึงปัญหาอย่างแยกส่วน หรือขอร้องให้รัฐบาลนายทุนช่วยเรา แต่ควรเน้นการแก้ปัญหาโดยภาคประชาชนสากลเอง โดยเลือกทางออกที่ไม่ใช่เสรีนิยมกลไกตลาด และที่ไม่สนับสนุนความรุนแรงและชาตินิยมของรัฐ

เราต้องพร้อมจะอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนกันอย่างเต็มที่ ซึ่งหมายความว่าต้องมีระบบแปลเป็นหลายภาษาผ่านองค์กรอาสาสมัคร Babels ของ WSF

เงินทุนในการจัดงาน
การจัดงาน WSF จัดโดยที่ภาคประชาชนในประเทศเจ้าภาพเป็นผู้หาทุนเอง 90% เพื่อใช้ในการบริหารจัดงาน การเช่าสถานที่และอุปกรณ์ และในการประชาสัมพันธ์ ส่วนค่าเดินทางและที่พักของผู้เข้าร่วม ผู้เข้าร่วมต้องรับผิดชอบเอง

WSF มีกฎเกณฑ์ชัดเจนเรื่องการหาทุน
ในประการแรก ส่วนหนึ่งมาจากการขายบัตรเข้าร่วมประชุมในอัตราก้าวหน้า
ในประการที่สอง มีการตกลงกันว่าจะไม่รับเงินจากกลุ่มทุนและองค์กรที่สนับสนุนเสรีนิยม

ในกรณีไทย หมายความว่าเราต้องไม่ไปขอเงินจากนักการเมือง กลุ่มทุน โดยเฉพาะคนที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล
ทั้งนี้เพื่อรักษาอิสรภาพของภาคประชาชนในการถกเถียงประเด็นทางการเมืองทุกเรื่อง ไม่ว่ารัฐจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นเราต้องคิดหาทางรณรงค์หาเงินทุนในภาคประชาชนเอง เช่น จากขบวนการทางสังคม สหภาพแรงงาน และกลุ่มอื่นๆ ของภาคประชาชน

เราจัดที่ไทยได้หรือไม่?
คนเดียว กลุ่มเดียวตอบไม่ได้ แต่ที่ชัดเจนคือถ้าเราอยากจัด และพร้อมจะทำงานร่วมกันเราจัดได้

การตัดสินใจว่าจะขอจัดหรือไม่ที่เมืองไทย
ต้องมาจากการแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง แต่ในที่สุดเราต้องให้คำตอบกับกรรมการสากล WSF ต้นเดือนตุลาคม ดังนั้น…

ขอเชิญชวน ผู้แทนของกลุ่มและองค์กรต่างๆ ในภาคประชาชนทุกส่วน มาร่วมประชุมเพื่อหารือว่าอยากจะจัดงาน WSF ที่เมืองไทยหรือไม่ วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม เวลา 13.00 น คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ตึก 3

ถ้าองค์กรของท่านส่งผู้แทนมาไม่ได้ แต่อยากร่วมจัดงาน WSF หรืออยากแสดงความเห็นกรุณาติดต่อมาทางไปรษณีย์ที่ ใจ อึ๊งภากรณ์ หรือ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 หรือ โทรศัพท์ 01-3469481



บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8400 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

R
relate topic
230848
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้

เที่ยงวันคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความมืด เที่ยงคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้... โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com

ในอีกด้านหนึ่งนั้น บรรดานักอนาธิปไตยทั้งหลายได้วิจารณ์การประชุมเวทีสังคมโลก สำหรับความพยายามที่จะปฏิบัติการ ประหนึ่งว่าเป็นแกนกลางความคิดและการตัดสินใจ เพื่อสร้างที่ทางสำหรับกลุ่มที่มีความเห็นแย้งกับแนวคิดกระแสหลักต่างๆขึ้น ดังที่บรรดา the Communist Internationals เคยกระทำมาแล้ว
การประชุมเวทีสังคมโลกยังถูกวิจารณ์ในฐานะขบวนการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการต่อต้านโลกาภิวัตน์ด้วย กล่าวคือ โลกาภิวัตน์และลัทธิทุนนิยมที่พวกเขาชูธงในฐานะที่เป็นฝ่ายตรงข้ามเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ผู้มีส่วนร่วมกับการประชุมเวทีสังคมโลกตอบโต้ประเด็นนี้ว่า ความคิดเกี่ยวกับ"การไม่อาจหลีกเลี่ยงในเรื่องโลกาภิวัตน์" เป็นมายาคติเชิงอุดมการณ์อันหนึ่ง ด้วยเหตุดังนั้นประชาชนทั้งหลายจึงอ้าแขนรับสโลแกนที่ว่า "โลกใบใหม่ที่เป็นไปได้"
(Another World is Possible)

H