ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
150748
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 612 หัวเรื่อง
รัฐศาสตร์ทวนกระแส - ก่อการร้าย
ดร. เกษียร เตชะพีนะ, เขียน
อาจารย์ประจำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The Midnight 's free article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 30,779 สูงสุด 51,792 สำรวจเมื่อเดือน มิ.ย. 48
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความรู้รัฐศาสตร์ทวนกระแส
สงครามทรัพยากร : การก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชน
ดร.เกษียร เตชะพีระ : เขียน

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หมายเหตุ : บทความเหล่าน้เคยตีพิมพ์แล้วบนหน้าหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ประกอบด้วย
ขั้นใหม่ของสงครามทรัพยากร: ใช้การก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชน(1),
ขั้นใหม่ของสงครามทรัพยากร: ใช้การก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชน(2)
ขั้นใหม่ของสงครามทรัพยากร: ใช้การก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชน(3)

เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 7.5 หน้ากระดาษ A4)


 


1. ขั้นใหม่ของสงครามทรัพยากร: ใช้การก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชน

(เรียบเรียงจากคำวิจารณ์สรุปของผู้เขียนในการสัมมนา "สงครามทรัพยากร:อีกกี่ศพ? อีกกี่เจริญ?" เนื่องในวาระครบรอบ 1 ปีการเสียชีวิตของเจริญ วัดอักษร ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก จัดโดยกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอกกับกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูดและพันธมิตร
ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารสมาคมนิสิตเก่า คณะรัฐมนตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 19 มิ.ย.2548)

ข้อเสนอหลัก
การฆ่าเจริญ วัดอักษร และผู้นำชุมชนอื่นๆ รวมทั้งสิ้นอย่างน้อย 15+1 รายที่นำชาวบ้านต่อสู้กับกลุ่มทุนและหน่วยราชการ เพื่อปกป้องทรัพยากรชุมชนและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นจากโครงการพัฒนาและ/หรือลงทุนทางธุรกิจในรอบ 4 ปีเศษที่ผ่านมา นับเป็นขั้นตอนใหม่ของสงครามแย่งชิงทรัพยากร เป็นขั้นตอนที่ใช้การก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชน

มุมมองรัฐศาสตร์
ในทางรัฐศาสตร์ คำนิยาม "การก่อการร้าย" (TERRORISM) ที่ใช้กันทั่วไปมีอาทิ

- "the use of terror for the furthering of political ends" หรือ การใช้ภัยสยองมาส่งเสริมเป้าหมายทางการเมือง" (The Oxford Companion to Politics of the World, 1993)

- "The use of violent and intimidating act, especially for political ends" หรือ "การใช้การกระทำอันรุนแรงและข่มขวัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป้าหมายทางการเมือง" (Oxford Paperback Encyclopedia, 1998)

- "Ensemble d"actes de violence commis par une organization pour creer un climat d"insecurite ou renverser le gouvernement etabli." หรือ "บรรดาการกระทำอันรุนแรงโดยองค์การจัดตั้งหนึ่งๆ เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความไม่มั่นคง หรือเพื่อโค่นรัฐบาลที่ครองอำนาจ" (Le Petit Larousse Dictionnaire Encyclopedique, 1993)

- "the intentional use of, or threat to use violence against civilians or against civilian targets, in order to attain political aims" หรือ "การจงใจใช้หรือคุกคามว่าจะใช้ความรุนแรงต่อพลเรือน หรือเป้าหมายพลเรือนเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมือง"

Boaz Ganor
"Defining Terrorism: Is One Man"s Terrorist Another Man"s Freedom Fighter?
The International Policy Institute for Counter-Terrorism
23 September 1998 (http://www.ict.org.il/)

จะเห็นได้ว่ามีเชื้อมูลสำคัญ 4 ประการที่ปรากฏอยู่ในคำนิยามเหล่านี้อย่างคงเส้นคงวา:-

1) จงใจใช้ความรุนแรงหรือคุกคามจะใช้ความรุนแรง (VIOLENCE)
2) ต่อพลเรือนหรือเป้าหมายพลเรือน (CIVILIANS)
3) สร้างบรรยากาศความกลัวและความไม่มั่นคงทั่วไป (FEAR)
4) เพื่อเป้าหมายทางการเมือง (POLITICAL ENDS)

เพราะฉะนั้น เราอาจสรุปเป็นสูตรย่นย่อเพื่อความเข้าใจได้ว่า:-

TERRORISM = VIOLENCE + CIVILIANS + FEAR + POLITICS หรือ
T = V + C + F + P

จากสูตรนิยามข้างต้น หากเราลองนำมาประยุกต์วิเคราะห์ดูก็จะพบว่าการสังหารเจริญ วัดอักษร และผู้นำชุมชนคนอื่นๆ เข้าประเด็นเหล่านี้ คือ

1) มีการใช้ ความรุนแรง
2) ทำร้ายฆ่าฟัน พลเรือน
3) เพื่อข่มขู่ให้ชาวบ้าน หวาดกลัว
4) จะได้เลิกรณรงค์ต่อสู้ปกป้องทรัพยากรชุมชนและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นอันเป็นสมบัติสาธารณะส่วนรวมของชุมชนและของประเทศชาติ, ทั้งที่นี่เป็นการใช้สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญเพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนหรือนัยหนึ่ง "การเมืองภาคประชาชน" (มาตรา 46 และมาตรา 56 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540), ซึ่งถ้าหากประชาชนเลิกต่อสู้เคลื่อนไหว ก็ย่อมจะส่งผลต่อนโยบายของรัฐบาลในโครงการนั้นๆ ตามระบอบประชาธิปไตย อันเป็นการสะท้อนว่าการสังหารดังกล่าวมีเป้าหมายทางการเมืองอีกนั่นแหละ

เพราะฉะนั้น กล่าวในแง่หลักวิชา รัฐศาสตร์ แล้ว การสังหารคุณเจริญ วัดอักษร และผู้นำชุมชนคนอื่นๆ ที่นำประชาชนปกป้องทรัพยากรชุมชนและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นจึงเป็น การก่อการร้าย หรือถ้าจะให้แม่นยำเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้นก็คือ การก่อการร้ายภาคเอกชนเพื่อการพัฒนา อย่างแน่ชัด

(โปรดดูตารางกรณีสังหารผู้นำชุมชน 15 + 1 ราย ประกอบ ซึ่งประมวลเรียบเรียงข้อมูลจากรายงานพิเศษเรื่อง "ประดับไว้ในโลกา" ของกองบรรณาธิการนิตยสารฟ้าเดียวกันปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ.2547 หน้า 42-87 และรายงานข่าวของสำนักข่าวประชาไท)

2. ขั้นใหม่ของสงครามทรัพยากร ใช่การก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้นำเสนอมุมมองทางรัฐศาสตร์ต่อกรณีการสังหารคุณเจริญ วัดอักษร และผู้นำชุมชนอื่นๆ รวมทั้งสิ้นอย่างน้อย 16 รายที่นำชาวบ้านต่อสู้กับกลุ่มทุนและหน่วยราชการเพื่อปกป้องทรัพยากรชุมชน และสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นจากโครงการพัฒนาและ/หรือลงทุนทางธุรกิจในรอบ 4 ปีเศษที่ผ่านมา เพื่อชี้ว่ามันเป็นขั้นตอนใหม่ของสงครามแย่งชิงทรัพยากรในสังคมไทยปัจจุบัน ที่ใช้การก่อการร้ายภาคเอกชนเพื่อการพัฒนามาทำลายการเมืองภาคประชาชน

มาตอนนี้ ผมขอนำเสนอมุมมองทางนิติศาสตร์และประวัติศาสตร์ต่อปัญหาเดียวกันต่อไป

มุมมองนิติศาสตร์
รัฐบาลทักษิณได้ออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2546 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2546 ในประเด็นความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย มาตรา 135/1 โดยนิยามความผิดฐานก่อการร้ายตามมาตรา 135/1 ของประมวลกฎหมายอาญาไว้ว่า:

"มาตรา 135/1 ผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดอาญาดังต่อไปนี้
(1) ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ

(2) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ

(3) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ

ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ผู้นั้นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท...."
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 76 ก, 11 ส.ค. 2546, หน้า2)

แม้ผมจะไม่ได้เรียนมาทางนิติศาสตร์ แต่เนื้อความข้างต้นในมาตรา 135/1 ของประมวลกฎหมายอาญาฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะข้อความในวรรค 1) "ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต..." และเงื่อนไขประการที่สองที่ว่า "หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน..." นั้น ชวนให้คิดว่ามันน่าจะประยุกต์ใช้ได้กับคดีฆาตกรรมคุณเจริญวัดอักษร และผู้นำชุมชนรายอื่นๆ ที่ผ่านมาว่าเป็นการ กระทำความผิดฐานก่อการร้าย เช่นกันทั้งโดยอรรถและโดยนัยที่การสังหารเหล่านี้มีลักษณะเป็นฆาตกรรมทางการเมือง เพื่อทำลายการเมืองภาคประชาชนในพื้นที่ขัดแย้งอย่างเด่นชัด

ความเห็นอันเป็นที่สุดของประเด็นข้างต้นรวมทั้งผลทางปฏิบัติของมันควรเป็นเช่นไร ผมขอฝากไว้แก่วิจารณญาณของวงการกฎหมายและยุติธรรมไทยต่อไปด้วยความเคารพ

มุมมองประวัติศาสตร์สู่ปัจจุบัน
หากดูประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งสงครามแย่งชิงทรัพยากรรอบที่แล้ว รุนแรงแหลมคม ก็เคยมีการใช้การก่อการร้ายเป็นเครื่องมือทางการเมืองมาก่อนเหมือนกัน

ช่วงสามปีภายหลังเหตุการณ์ประชาชนลุกขึ้นสู้ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ได้เกิดสงครามแย่งชิงทรัพยากรอย่างดุเดือด โดยสมัยนั้นจะแสดงออกในเชิงความขัดแย้งทางอุดมการณ์และชนชั้น, รวมศูนย์ที่ประเด็นที่ดิน แรงงาน แร่ธาตุทรัพยากร, มีผู้นำกรรมกร ชาวนา นักศึกษา ปัญญาชน นักการเมืองถูกลอบทำร้ายและสังหารหลายสิบคน

รูปแบบเป็น การก่อการร้ายภาคเอกชน (นายทุนเจ้าที่ดินอิทธิพลในพื้นที่ต่างๆ ฆ่าผู้นำชาวนา-กรรมกรต่อเนื่องนับสิบๆ คน (ประสานกับ การก่อการร้ายภาครัฐ (มือสังหารอาชีพ ฆ่าผู้นำนักศึกษา ปัญญาชน นักการเมืองบนถนนกลางเมืองหลวงอย่างอุกอาจ เช่น แสง รุ่งนิรันดรกุล แกนนำนักศึกษารามคำแหง, บุญสนอง บุญโยทยาน เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย เป็นต้น)

และ การก่อการร้ายผ่านตัวแทนภาครัฐ (กลุ่มอันธพาลการเมืองขวาจัดต่างๆ เช่น กระทิงแดง ยิงปืนขว้างระเบิดก่อกวนสังหารการชุมนุมประท้วงของนักศึกษาประชาชนเป็นประจำ)

จนเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่และรัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ อันเข้าข่ายเป็น การก่อการร้ายภาครัฐ โดยตรงและเปิดเผยโจ่งแจ้งด้วยปฏิบัติการของกองกำลังตำรวจกับม็อบขวาจัด ต่อผู้ชุมนุมนักศึกษาประชาชนซึ่งเสียชีวิตไป 41 คน

นั่นเป็นการสรุปประมวลภาพการก่อการร้ายทางการเมืองในอดีต ทว่าที่สังคมไทยกำลังเผชิญปัจจุบันนั้น จากข้อมูลขั้นต้นพอสรุปได้ว่า:-

- ส่วนใหญ่เป็น การก่อการร้ายภาคเอกชนเพื่อการพัฒนา
- ของ กลุ่มทุน-ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่น
-ที่เข้าสู่และประสานกับ อำนาจการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
- ผ่าน ระบอบเลือกตั้ง
-และสมคบกับ กลไกรัฐท้องถิ่นใต้การอุปถัมภ์
-เพื่อ ทำลายการเมืองภาคประชาชนลง

ทำไมกลุ่มทุน-ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่นจึงต้องหันมาใช้การก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชนด้วยเล่า?

สาเหตุก็เพราะการเมืองภาคประชาชนเติบใหญ่ขึ้นมากในรอบทศวรรษ หลังเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม พ.ศ.2535 และการปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ทั้งในแง่การเคลื่อนไหวจัดตั้งและยุทธศาสตร์ยุทธวิธี กล่าวคือมีการประสานหนุนช่วยกันจากแต่ละจุดที่ค่อนข้างโดดเดี่ยวเป็นเครือข่ายกว้างขวางขึ้น


- มีการขยายประเด็นเรียกร้องและคำขวัญต่อสู้จากสิทธิชุมชน-สิทธิมนุษยชนไปสู่เรื่องสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม และเศรษฐกิจชุมชน-เศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมาแสวงหาแนวร่วม

- มีการทำพันธมิตรกับเอ็นจีโอ สื่อมวลชน นักวิชาการ ปัญญาชนคนชั้นกลาง นักธุรกิจและชนชั้นสูงผู้รักความเป็นธรรมและสิ่งแวดล้อมในเมือง

- ช่วงชิงนักการเมืองและองค์การปกครองท้องถิ่น สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการและหน่วยราชการบางคนบางหน่วย ไปจนถึงองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษชนระหว่างประเทศ

- พัฒนารูปแบบและวาทกรรมการต่อสู้ที่ยืดหยุ่นพลิกแพลง กล้าหาญอดทน ยืนหยัดยาวนาน มีรุก-รับ-ถอย-ตรึง-สะสมกำลังประสบการณ์บทเรียนรอเวลา ฯลฯ

จนการเคลื่อนไหวลุกลามออกไปท้าทายบั่นทอนอำนาจนำ และโครงการพัฒนาทางธุรกิจของกลุ่มทุน-ธุรกิจต่างๆ ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศลง ดังปรากฏข้อมูลว่าจำนวนครั้งในการชุมชนประท้วงของประชาชนในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ (ดูตาราง)

ปี พ.ศ. 2537 การชุมนุมประท้วงของประชาชนในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ 739 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2538 การชุมนุมประท้วงของประชาชนในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ 754 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2540 การชุมนุมประท้วงของประชาชนในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ 1200 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2545 การชุมนุมประท้วงของประชาชนในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
1219 ครั้ง

(ประมวลจากข้อมูลของอาจารย์ ดร.ประภาส ปิ่นตกแต่ง แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือ การเมืองบนท้องถนน : 99 วันสมัชชาคนจนและประวัติศาสตร์การเดินขบวนชุมนุมประท้วงในสังคมไทย (พ.ศ.2541) และนิตยสารฟ้าเดียวกัน, 2 : 1
(ม.ค.-มี.ค.2547), หน้า 134

ในสภาพสูญเสียอำนาจนำ กลุ่มทุน-ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่นจึงหันไปใช้ความรุนแรงก่อการร้ายแทนเพื่อข่มขู่ เชือดไก่ให้ลิงดูต่อประชาชนที่ไม่ยอมสยบจำนน!

3. ขั้นใหม่ของสงครามทรัพยากร: ใช้การก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชน
เงื่อนไขใหม่ภายใต้รัฐบาลทักษิณ
การที่ [กลุ่มทุน-ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่น เข้าสู่อำนาจการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติผ่านการเลือกตั้ง และสมคบกับกลไกรัฐท้องถิ่นใต้การอุปถัมภ์] มาเผชิญหน้าต่อสู้ขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อแย่งใช้ทรัพยากรชุมชนและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติไม่ใช่เรื่องใหม่ สภาพเงื่อนไขอันนี้เป็นมาตั้งแต่อยู่ภายใต้ระบอบเลือกตั้งธิปไตยก่อนปฏิรูปการเมือง พ.ศ.2540 แล้ว

ทว่าส่วนที่เป็นสภาพเงื่อนไขใหม่ ของกระแสก่อการร้ายทำลายการเมืองภาคประชาชนปัจจุบันเกี่ยวพันกับลักษณะการใช้อำนาจรัฐภายใต้รัฐบาลทักษิณ ซึ่งเอื้อให้เกิดการสมคบกันระหว่าง[อิทธิพล+อำนาจการเมือง+อำนาจรัฐ] ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเจตนาโดยตรงและเป็นไปเองโดยอ้อม กล่าวคือ:-

1) รัฐบาลทักษิณในฐานะ CEO ทางการเมืองของกลุ่มทุน-ธุรกิจใหญ่ได้เข้ายึดกุมอำนาจรัฐโดยตรง และแทรกแซง ครอบงำ เปลี่ยนแปรรัฐให้เป็นแบบ CEO หรือรัฐเถ้าแก่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

การบูรณาการระหว่าง [อำนาจทุนใหญ่+อำนาจการเมืองระดับชาติ+อำนาจรัฐ] มีส่วนลดทอนและจำกัดความเป็นอิสระโดยสัมพันธ์ของรัฐราชการไทยลงไปตามสมควร อันอาจเป็นอุปสรรคในการที่กลไกรัฐจะจับกุมผู้ก่อการร้าย สังหารผู้นำการเมืองภาคประชาชนมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมของรัฐอย่างถึงที่สุด

ในกรณีกลุ่มทุน-ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่นนั้นๆ มีสายโยงใยสัมพันธ์ขึ้นไปถึงกลุ่มทุน-ธุรกิจใหญ่ที่กุมอำนาจรัฐบาล

2) อย่างไรก็ตาม แม้ในกรณีกลุ่มทุน-ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่นนั้นๆ เป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของรัฐบาล แต่ ขีดจำกัดด้านสมรรถภาพ และความไม่เป็นเอกภาพของกลไกรัฐไทยเอง ก็ทำให้เจตจำนงมุ่งมั่นที่นายกฯทักษิณประกาศว่าจะกำจัดกวาดล้าง "อิทธิพล" ลงไปไม่อาจทำให้เกิดผลเต็มร้อยได้ ความใกล้ชิดกว่าและสายสัมพันธ์อุปถัมภ์ต่อเนื่องยาวนานลึกซึ้งที่กลุ่มทุน-ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่นสอดแทรกเข้ามาในกลไกราชการท้องถิ่น รวมทั้ง ความขัดแย้งแก่งแย่งระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของราชการ ทำให้บ่อยครั้งนโยบายปราบอิทธิพลของรัฐบาลกลายเป็นหมัน หรือเร่าร้อนวูบวาบแบบไฟไหม้ฟาง ตามกระแสขึ้นลงของแรงกดดันตรวจสอบจากสื่อมวลชนและการเมืองภาคประชาชนเท่านั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เจริญ วัดอักษร เคยให้สัมภาษณ์จากประสบการณ์โดยตรงในการต่อสู้โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก-บ้านกรูด ไว้ก่อนเสียชีวิตตอนหนึ่งว่า:-

"โดยภาพรวมในจังหวัด ก็จะมีแรงต้านจากบริษัทที่เข้าไปคุมส่วนต่างๆ ตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอที่เขาไปกินข้าวด้วยกัน ตีกอล์ฟกัน ก็เป็นเรื่องธรรมดาผมเคยถามตรงๆ ว่าทำไมถึงไม่มายืนเคียงข้างประชาชนที่เป็นเจ้านายของคุณอย่างแท้จริง เขาบอกว่ามาอยู่ข้างประชาชนไม่เห็นมีอะไรกินเลย อยู่ข้างบริษัทกินดีกว่าเขาต่อต้านพวกเรามาตรงๆ เลย ทิ่มเรา..."
นิตยสารฟ้าเดียวกัน,2:3 (ก.ค.-ก.ย.2547), น.212

3) ท่าทีของรัฐบาล โดยเฉพาะผู้นำที่มองการเมืองภาคประชาชนด้วยความหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจ และแสดงวาทกรรมเผ็ดร้อน แบ่งแยกตีตราผู้นำและการเคลื่อนไหวของประชาชนว่าเป็น "ศัตรู" ของการพัฒนาเศรษฐกิจและของชาติไทยอยู่เนืองๆ ได้สร้างสิ่งที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เรียกว่า "ความรุนแรงทางวัฒนธรรม"(cultural violence) หรือนัยหนึ่ง "เงื่อนไขทางความคิด-ความเชื่อที่ให้ความชอบธรรมกับความรุนแรง" หรือเอื้อต่อความรุนแรงในลักษณะกลายเป็นการให้ท้ายแก่กลุ่มทุน - ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่น กับสมุนบริวาร จนได้ใจกล้าก่อการร้ายต่อผู้นำการเมืองภาคประชาชน และในทางกลับกันก็ทำให้สาธารณชนและสื่อมวลชนไม่เข้าใจ และไม่เห็นอกเห็นใจกระทั่งระแวงสงสัยผู้ตกเป็นเหยื่อของการก่อการร้ายภาคเอกชนไปด้วย

4) คงเป็นเรื่องยากที่รัฐบาลทักษิณจะสามารถดำเนินการเด็ดขาดใดๆ ลงไปกับ การก่อการร้ายภาคเอกชนเพื่อการพัฒนา โดยกลุ่มทุน-ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่นในสภาพที่เกิดการก่อการร้ายภาครัฐเพื่อความมั่นคงอย่างกว้างขวางไปพร้อมกัน ทั้งในสงครามต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดรอบแรก ปี พ.ศ.2546 ที่มีผู้ถูกฆ่าตัดตอนอย่างน่าสงสัย 2,598 คดี และบัดนี้ก็ปรากฏว่าทางตำรวจยุติการสอบสวนไปดื้อๆ อย่างนั้นเอง 1,639 คดี(หรือ 63%) โดยอ้างว่าขาดพยานหลักฐาน(ดู-Anucha Charoenpo, "Bang! You"re dead; case closed", Bangkok post, 10 June 2005)

หรือในการปราบปรามการก่อความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ นับแต่ต้นปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ซึ่งมีการอุ้มผู้ต้องสงสัย, การซ้อมทรมานรีดเค้นผู้ต้องหาให้รับสารภาพ, การสังหารทิ้ง, การใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุและกระทำทารุณอย่างไม่รับผิดชอบ และปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจนับร้อยราย อาทิ กรณีสะบ้าย้อย, กรณีมัสยิด กรือเซะ, กรณีตากใบ, คดีทนายสมชาย นีละไพจิตร, คดีหมอแวกับพวก, คดีปล้นปืน, คดีซ้อมกำนันตำบลโต๊ะเด็งให้เป็นพยานซัดทอด ฯลฯ เป็นต้น


ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้รักษากฎหมายเองก็มีพฤติกรรมเช่นนี้, จะสามารถคาดหวังให้ปราบปรามพฤติกรรมทำนองเดียวกันของผู้มีอิทธิพลภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพจริงจังได้แค่ไหนเพียงใด?

ระบบแห่งความไม่รับผิดชอบทางการเมือง(system of political irresponsibility) และวัฒนธรรมแห่งการไม่ต้องรับผิด(culture of impunity) จึงแพร่หลายครอบคลุมบ้านเมือง คอยปกป้องคุ้มครองทั้งผู้ก่อการร้ายภาคเอกชนเพื่อการพัฒนา และผู้ก่อการร้ายภาครัฐเพื่อความมั่นคงไปด้วยกัน


 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 590 เรื่อง หนากว่า 7800 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

ท่าทีของรัฐบาล โดยเฉพาะผู้นำที่มองการเมืองภาคประชาชนด้วยความหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจ และแสดงวาทกรรมเผ็ดร้อน แบ่งแยกตีตราผู้นำและการเคลื่อนไหวของประชาชนว่าเป็น "ศัตรู" ของการพัฒนาเศรษฐกิจและของชาติไทยอยู่เนืองๆ ได้สร้างสิ่งที่ รศ. ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เรียกว่า "ความรุนแรงทางวัฒนธรรม"(cultural violence) ...ความคิด ความเชื่อที่ให้ความชอบธรรมกับความรุนแรง

คงเป็นเรื่องยากที่รัฐบาลทักษิณจะสามารถดำเนินการเด็ดขาดใดๆ ลงไปกับ การก่อการร้ายภาคเอกชนเพื่อการพัฒนา โดยกลุ่มทุน-ธุรกิจอิทธิพลท้องถิ่นในสภาพที่เกิด การก่อการร้ายภาครัฐเพื่อความมั่นคงอย่างกว้างขวางไปพร้อมกัน ทั้งในสงครามต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดรอบแรก ปี พ.ศ.2546 ที่มีผู้ถูกฆ่าตัดตอนอย่างน่าสงสัย 2,598 คดี และบัดนี้ก็ปรากฏว่าทางตำรวจยุติการสอบสวนไปดื้อๆ อย่างนั้นเอง 1,639 คดี(หรือ 63%) โดยอ้างว่าขาดพยานหลักฐาน(ดู-Anucha Charoenpo, "Bang! You"re dead; case closed", Bangkok post, 10 June 2005)
(คัดลอกมาจากบทความ : เขียนโดย ดร.เกษียร เตชะพีระ)

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : บทความทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด
H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 600 เรื่อง หนากว่า 8000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้อ้างอิง