เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยิน สมดุล และเป็นธรรม : ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 (ครบรอบ 3 ปี)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

การคุ้มครองก็หมายถึงว่าประเทศหรือผู้ที่เป็นเจ้าของสินค้าที่มีชื่อเป็น GI จะสามารถใช้ชื่อ GI กับสินค้าของตนได้เป็นการเฉพาะแต่เพียงผู้เดียว ส่วนผู้ที่มิได้เป็นเจ้าของสินค้า GI จะไม่สามารถใช้ชื่อสินค้านั้นซ้ำได้ ซึ่งในทางการตลาดก็จะทำให้สินค้า GI นั้นมีค่าทางพาณิชย์สูงขึ้นคือราคาจะสูงขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น แชมเปญ ทุกคนทราบดีว่าเป็นชื่อเรียกเหล้าองุ่นที่มีราคาแพงมีชื่อเสียง แต่ดั่งเดิมนั้นก็มีการผลิตแชมเปญในฝรั่งเศสเท่านั้น คือผลิตในเขตท้องที่ที่ชื่อว่าแชมเปญ จึงตั้งชื่อเหล้าองุ่นนี้ว่าแชมเปญ ต่อมามีผู้ผลิตที่อื่นนอกประเทศฝรั่งเศสโดยใช้พันธุ์องุ่นชนิดเดียวกันและใช้ชื่อว่าแชมเปญเหมือนกัน และก็ขายได้ดีมานาน

ปัญหาคงไม่เกิดขึ้นหากไม่มี GI ในส่วนของผู้บริโภคนั้นรู้ว่า ของแท้ต้องแชมเปญที่มาจากฝรั่งเศสซึ่งมีราคาแพง แชมเปญประเทศอื่นๆ ก็อาจจะดีและมีราคาแพงเหมือนกัน แต่เมื่อมีคำว่า GI (ซึ่งชื่อแชมเปญถือว่าเป็น GI ) ดังนั้นเหล้าองุ่นที่ผลิตที่อื่นๆ จะไม่สามารถใช้ชื่อว่าแชมเปญได้อีกแล้วเพราะผิดความตกลง TRIPs

ในเรื่อง GI แม้ผู้ผลิตนอกประเทศดังกล่าวจะแย้งว่าถ้าเช่นนั้นจะใช้ชื่อที่ระบุว่าแชมเปญทำในประเทศอื่น เช่นแชมเปญทำในไทยได้ไหม คำตอบก็คือไม่ได้ ตามความหมายของชื่อ GI แชมเปญต้องมาจากถิ่นกำเนิดที่ชื่อแชมเปญเท่านั้น นั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วทำให้แชมเปญสหรัฐฯ ต้องเปลี่ยนไปใช้คำว่าไวน์ที่มี(ฟอง)ประกาย Sparkling wine แทนแชมเปญ

จากตัวอย่างที่ยกให้เห็นข้างต้นนี้ทำให้ตระหนักว่า GI เป็นเรื่องสำคัญที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในทางการค้าอย่างมหาศาล ทำให้ประเทศที่มีสินค้าที่มีชื่อเป็น GI มากๆ (และไม่มาก) ต่างพยายามผลักดันที่จะให้มีการแก้ไขความตกลง TRIPs ขององค์การการค้าโลก และให้ทุกประเทศสมาชิกยอมรับในเรื่อง GI และการคุ้มครอง GI ในขณะเดียวกันประเทศที่มีสินค้าที่ลอกเลียนชื่อมา แต่ไม่ใช่ GI อย่างแท้จริง เช่น ออสเตรเลียผลิตเนยแข็งและให้ชื่อว่า กูร์แยร์ซึ่งอันที่จริงกูร์แยร์เป็นเมืองในสวิสที่ผลิตเนยแข็งที่มีชื่อเสียง ก็จะถูกกระทบทำให้ไม่สามารถใช้ชื่อที่เป็น GI (ในตัวอย่างนี้คือกูร์แยร์)ได้อีกต่อไป หากมีการแก้ไขความตกลงนี้สำเร็จ ประเทศเหล่านี้จึงต้องคัดค้านอย่างเต็มที่ไม่ให้มีการยอมรับเรื่องนี้

เรื่องเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในระดับระหว่างประเทศนี้ เกี่ยวข้องกับองค์กรระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทรัพย์สินทางปัญญา World Intellectual Property Organization-WIPO หรือองค์การการค้าโลก ทั้งนี้ใน WTO การเจรจาที่ดำเนินอยู่มีประเทศสมาชิกสองกลุ่มสำคัญที่ต่อสู้กันได้แก่กลุ่มสนับสนุน มีสหภาพยุโรปเป็นหัวเรือใหญ่ โดยมีสวิสเซอร์แลนด์ อินเดีย ศรีลังกาและไทยสนับสนุนให้ขยายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้ครอบคลุมสินค้าอื่นๆ นอกเหนือไปจากไวน์และสุราที่เป็นความตกลงเดิม

การที่ไทยอยู่ในกลุ่มนี้เพราะเห็นว่าจะได้ประโยชน์ต่อสินค้า เช่นข้าวและไหมไทยด้วย ส่วนกลุ่มต่อต้านนำโดยออสเตรเลีย โดยมีสหรัฐฯ นิวซีแลนด์ แคนาดา บราซิล ชิลี อาร์เจนตินาและแอฟริกาใต้ ร่วมคัดค้านเต็มที่เนื่องจากเกรงผลกระทบต่อชื่อสินค้าของตนที่มีอยู่มากมายหลายชนิดซึ่งลอกเลียนชื่อมาจากสหภาพยุโรป

การเจรจาในองค์การการค้าโลกจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้เนื่องจากสมาชิกมีความเห็นแตกต่างกันมากและดูเหมือนจะยังไม่มีความคืบหน้าเท่าใดนัก

ในส่วนของประเทศไทย เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ก็เป็นปัญหาที่โด่งดังไม่แพ้ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะตั้งแต่เรื่อง"ข้าวหอมมะลิ"หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า"จัสมินไรส์"ที่ถูกบริษัทอเมริกันไรส์เทคจดทะเบียนข้าวโดยใช้ชื่อ"จัสมาติก" โดยต้องการทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่ามาจาก"จัสมินไรส์"ของไทยผสมกับข้าวบัสมาติกของอินเดีย มีผลทำให้ชาวนาไทยต้องออกมาประท้วงรัฐบาลให้ฟ้องร้องเพื่อปกป้องข้าวไทย

หรืออีกเรื่องหนึ่งคือร่างกฏหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เกือบผ่านสภาแล้วแต่ก็ต้องถูกถอนออกมาอย่างกระทันหันเมื่อนักวิชาการอิสระ ชาวนาและประชาชนทักท้วงกันอย่างมากว่าจะทำให้ไม่สามารถคุ้มครองข้าวและพันธ์พืชไทยได้ ซึ่งจนถึงบัดนี้ก็ยังไม่ทราบว่ากฎหมายดังกล่าวจะสามารถออกมาใช้ได้เมื่อใด

ในขณะเดียวกัน ในระดับระหว่างประเทศ ไทยโดยคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกก็พยายามร่วมกับประเทศต่างๆ ผลักดันการเจรจาให้มีการขยายการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในการประชุมรอบโดฮานี้

ท่ามกลางสถานการณ์ของเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวมาแล้วและเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดวันที่เรียกว่า GI Days ขึ้นมา

วันแห่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นี้ สหภาพยุโรปและสวิสซึ่งมีผลประโยชน์ในสินค้า GIs มากมายหลายพันชนิด ต้องการที่จะเสริมการเจรจาของตนในองค์การการค้าโลก ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ห้าที่แคนคูน ประเทศเม็กซิโก ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ จึงได้ร่วมกันเชิญ producers สินค้า GI หรือที่น่าจะเป็น GI จากทั่วโลกจำนวน 24 ประเทศมาร่วมประชุมและจัดแสดงสินค้าที่เจนีวา ทั้งนี้เพื่อที่จะบอกให้โลกรู้ว่า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นี้มิใช่เรื่องของยุโรปหรือประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับประเทศต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และได้ถือโอกาสให้มีการจัดทำ Declaration ของกลุ่ม GI producers เพื่อยื่นต่อผู้อำนวยการองค์การการค้าโลกด้วย

นอกจากนั้นเพื่อให้การต่อสู้นี้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ก็ได้จัดตั้งเครือข่ายระหว่างประเทศขึ้นมาชื่อว่าOrganization for an International Geographical Indications Network -OriGIn และได้กำหนดจะจัดการประชุมกลุ่มครั้งที่สองในเดือนธันวาคม 2546 ที่สเปญ ในช่วงท้ายของงานได้มีการแถลงข่าว Press Conference เผยแพร่วัตถุประสงค์ของงานครั้งนี้ต่อสื่อมวลชนทั่วโลกด้วย

ในส่วนของประเทศไทย ในฐานะประเทศหนึ่งที่ร่วมกลุ่ม Friend of GIs คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ได้ประสานงานกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้ผู้ผลิตไทยเข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันจุดยืนที่ชัดเจนของไทยในเรื่องนี้ ซึ่งก็มีผู้ผลิตของไทย 2 รายได้แก่นางโสพรรณ มานะธัญญา ตัวแทนจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยและนายบันฑูร วงศ์สีลโชติ ตัวแทนจากสมาคมไหมไทยมาร่วมงาน โดยผู้แทนทั้งสองได้นำสินค้าข้าวไทยและไหมไทยมาร่วมแสดงในงานครั้งนี้ รวมทั้งได้เข้าร่วมการประชุมและหารือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น ในเรื่องความคุ้มครองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกลุ่ม GI producers จากทั่วโลก ทำให้ผู้แทนจากภาคเอกชนของไทยได้เรียนรู้และรับทราบข้อมูลในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาปรับปรุงมาตรฐานการส่งออกของสินค้าไทย และปรับกลยุทธการส่งออกให้สามารถเรียกร้องสิทธิการคุ้มครองสินค้าของไทยในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

การจัดงานครั้งนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพราะนอกจากจะประกาศตัวต่อสื่อมวลชนและต่อสมาชิกองค์การการค้าโลก ซึ่งได้รับเชิญให้มาเป็นสักขีพยานอย่างเป็นทางการแล้ว ยังสามารถจัดตั้งเครือข่ายระหว่างประเทศ OriGIn ดำเนินงานต่อไปด้วย

ทางออกของประเทศไทย
ดังที่กล่าวแล้วว่าไทยเข้าร่วมกับกลุ่มประเทศที่สนับสนุนให้มีการขยายขอบเขตความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ก็เพราะ เรามีข้าวหอมมะลิไทยและไหมไทยที่คิดว่าอยู่ในข่ายที่จะได้รับการคุ้มครองภายใต้ GI ได้ และหากมีการขยายการคุ้มครอง GI ได้สำเร็จ ข้าวไทยและไหมไทยรวมทั้งสินค้าอื่นๆ อีก ก็จะได้รับการคุ้มครองจากประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกด้วย การดำเนินการในส่วนของไทยจึงน่าจะมี 2 ระดับ คือ

1. ระดับระหว่างประเทศโดยคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกก็ต้องสู้ ผลักดันร่วมกับกลุ่มประเทศอื่นในเรื่องนี้ต่อไป และ
2. ในระดับภายในประเทศซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร นักวิชาการทั้งหลายจะต้องร่วมกันทำความเข้าใจให้ดีและตรงกันว่า GI คืออะไร สินค้าไทยมีอะไรที่เข้าข่ายเป็น GI บ้าง และในบรรดาสินค้าที่เข้าข่าย GI นี้ มีสินค้าใดใช้ชื่อที่เป็น GI แล้วบ้างและที่สำคัญก็คือสินค้าใดที่เป็น GI แต่ยังใช้ชื่อไม่ตรงกับ GI ประเด็นนี้สำคัญมาก ตัวอย่างเช่น ชื่อข้าวหอมมะลิ เป็น GI หรือไม่ ไหมไทยเป็น GI หรือไม่ ไข่เค็มไชยาเป็น GI หรือไม่ ชมพู่เมืองเพชร เป็น GI หรือไม่ และหากจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อ GI จะทำได้อย่างไร

ทางออกในระยะยาวที่น่าจะพิจารณาและทำได้เลยก็คือ เกษตรกรไทยควรจะต้องรู้จักการตั้งชื่อสินค้าในท้องถิ่นให้เป็น GI เสียตั้งแต่บัดนี้ ทุกอย่างที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย เป็นสมบัติของคนไทยควรที่จะปกป้องโดยการตั้งชื่อให้เป็น GI ให้หมด แต่ไม่ได้หมายความว่าการตั้งชื่อเข้ากับท้องถิ่นแล้วจะต้องได้เป็น GI คุณสมบัติที่สำคัญว่าจะเป็น GI หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้าที่ผลิต ณ แหล่งนั้น มีคุณสมบัติไม่เหมือนที่อื่นใดในประเทศไทยและในโลก เช่น

ไข่เค็มไชยา ไม่สามารถไปดองที่อื่นและได้รสชาติความอร่อยเท่า เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะเช่นน้ำเกลือ ฯลฯ ที่ไชยาเท่านั้นจึงได้ไข่เค็มรสนี้ และถ้าจะให้เฉพาะมากขึ้น เช่นเป็ดที่นำไข่มาใช้ดอง ก็กินหอยที่ไชยาเท่านั้นจึงจะได้ไข่แดงสวย หากเป็ดกินหอยที่อื่น เช่นชุมพรก็จะไม่ได้ไข่แดงสีนี้ เป็นต้น หรือไม่เช่นนั้นไข่เค็มไชยาต้องมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับทั่วโลกมานานพอสมควร

ในระหว่างที่เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาในองค์การการค้าโลก และยังไม่ผ่านออกมาเป็นความตกลงก็หมายความว่าไทยยังมีเวลาที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ซึ่งก็ควรจะรีบทำเสียตั้งแต่ตอนนี้ เพราะมีความละเอียดและซับซ้อนในทางปฏิบัติมากเช่นกัน

อย่างไรก็ดีสาระสำคัญของเรื่อง GI นั้นเกี่ยวกับชื่อของสินค้าและการคุ้มครองเท่านั้น ถ้าไม่ใช้ชื่อที่เป็น GI และยังสามารถขายได้ในราคาที่ดีในตลาดโลก ไม่มีคู่แข่ง เรื่อง GI ก็อาจจะไม่มีความหมายนัก แต่หากในระยะยาว เมื่อมี GI ขึ้นมาและมีการคุ้มครองไปทั่วโลก ก็จะกระทบสินค้าที่ไม่ใช่ GI อย่างแน่นอน ส่วนจะกระทบมากเพียงใดหรือไม่ นั้น ก็สมควรที่ผู้ผลิตหรือเกษตรกรจะหาคำตอบให้ได้เสียแต่ตอนนี้ น่าจะดีที่สุด

(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 5 หน้ากระดาษ A4)
(คลิกไปอ่านบทความที่เกี่ยวข้อง)

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

 

แชมเปญ ทุกคนทราบดีว่าเป็นชื่อเรียกเหล้าองุ่นที่มีราคาแพงมีชื่อเสียง แต่ดั่งเดิมนั้นก็มีการผลิตแชมเปญในฝรั่งเศสเท่านั้น คือผลิตในเขตท้องที่ที่ชื่อว่าแชมเปญ จึงตั้งชื่อเหล้าองุ่นนี้ว่าแชมเปญ ต่อมามีผู้ผลิตที่อื่นนอกประเทศฝรั่งเศสโดยใช้พันธุ์องุ่นชนิดเดียวกันและใช้ชื่อว่าแชมเปญเหมือนกัน และก็ขายได้ดีมานาน
ปัญหาคงไม่เกิดขึ้นหากไม่มี GI ในส่วนของผู้บริโภคนั้นรู้ว่า ของแท้ต้องแชมเปญที่มาจากฝรั่งเศสซึ่งมีราคาแพง แชมเปญประเทศอื่นๆ ก็อาจจะดีและมีราคาแพงเหมือนกัน แต่เมื่อมีคำว่า GI (ซึ่งชื่อแชมเปญถือว่าเป็น GI ) ดังนั้นเหล้าองุ่นที่ผลิตที่อื่นๆ จะไม่สามารถใช้ชื่อว่าแชมเปญได้อีกแล้วเพราะผิดความตกลง TRIPs (ตัดมาบางส่วนจากบทความ)
ในเรื่อง GI แม้ผู้ผลิตนอกประเทศดังกล่าวจะแย้งว่าถ้าเช่นนั้นจะใช้ชื่อที่ระบุว่าแชมเปญทำในประเทศอื่น เช่นแชมเปญทำในไทยได้ไหม คำตอบก็คือไม่ได้ ตามความหมายของชื่อ GI แชมเปญต้องมาจากถิ่นกำเนิดที่ชื่อแชมเปญเท่านั้น นั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วทำให้แชมเปญสหรัฐฯ ต้องเปลี่ยนไปใช้คำว่าไวน์ที่มี(ฟอง)ประกาย Sparkling wine แทนแชมเปญ
release date
210646
บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประเทศไทยกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และงาน GI Days เขียนโดย พอล เลอมัง

ประเทศไทยกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
และงาน GI Days

พอล เลอมัง

เมื่อวันที่ 10-11 มิถุนายน 2546 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปและสวิสได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงาน GI Days ขึ้นเป็นครั้งแรกที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเรียกร้องความสนใจจากสมาชิก WTO สื่อมวลชนและสาธารณชนเพื่อให้รับทราบถึงการผลักดันในเรื่องการคุ้มครองสินค้า หรือสิ่งที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละประเทศทั่วโลก

แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่อง GI Days จำเป็นที่จะต้องรู้ว่า GI คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร และสำคัญกับประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร? สำหรับงาน GI Days นั้นจะได้กล่าวถึงในตอนท้าย

ตามมาตรา 22 ของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า TRIPsขององค์การการค้าโลกระบุว่า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI หมายถึง สิ่งที่บ่งชี้(ชื่อ)ของสินค้าหนึ่ง ( good ) ที่มีแหล่งกำเนิดในพื้นที่ ภูมิภาคหรือท้องถิ่นที่อยู่ในดินแดนของประเทศสมาชิก ซึ่งทั้งคุณภาพที่ได้ และชื่อเสียงที่มีมานาน(ของสินค้า)หรือลักษณะอื่นๆ เป็นผลเนื่องมาจากแหล่งกำเนิดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์นั้นๆ

จากคำจำกัดความนี้เองทำให้เกิดการตีความมากมายทั้งอย่างกว้างและแคบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้าที่มีอยู่แล้วของประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างมาก เพราะหากสินค้าใดเข้าข่ายหรือเป็นสินค้าที่มีชื่อเป็น GI ตามความหมายของมาตราดังกล่าว ประเทศสมาชิก WTO 146 ประเทศจะต้องให้ความคุ้มครองชื่อสินค้านั้น

จะเห็นได้ว่าความได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้นทันที กล่าวคือประเทศหนึ่งอาจมีสินค้าที่มีชื่อเป็น GI หลายร้อยและหลายพันชนิด ในขณะที่อีกประเทศหนึ่งมีสินค้าเข้าข่าย GI เพียง 2-3 รายการหรือเป็นหลักสิบรายการเท่านั้น

Home
R
relate