เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม : ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 (ครบรอบ 3 ปี)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ความหมาย คือ การนำผลประโยชน์ของตนเอง (ธุรกิจไวน์และสุรา) ในสหภาพยุโรป ไปบัญญัติเป็นกฎกติกาทางการค้าระหว่างประเทศ ให้ประเทศทั่วโลกที่เป็นภาคีต้องปฏิบัติตาม ความน่าสนใจอยู่ที่การเกิดขึ้นของหลักเกณฑ์ และกติกา จากผลประโยชน์ของชุมชนผู้ผลิตไวน์และสุราเล็กๆ กระจายทั่วไปในกลุ่มประเทศยุโรป จนกลับกลายเป็นกติกาการค้าของโลก และเป็นตัวสร้างภาระผูกพันต่อทั้งรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ต้องก้มหน้าก้มตาตรากฎหมายขึ้นมารองรับ

นี่เป็นตัวอย่างอันดี ของพลังขับเคลื่อนในกระแสโลกาภิวัตน์ ผลจากการที่กฎหมายลักษณะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ถูกนำไปบังคับใช้ในสหภาพยุโรป ทำให้เงินไหลเวียนเข้าสู่ยุโรปมากถึง 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี หรือ 2 ล้านล้านบาท/ปี ที่เกือบเท่าหนี้สาธารณะของไทย

เพราะเหตุเช่นนี้กระมังที่รัฐบาลนายกฯ ทักษิณ และนักคิดที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจอย่างคุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์ กำลังค้นหาประตูแห่งโอกาสที่ให้ความสนใจกับการทำ collateral capital หรือแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน และการดำเนินนโยบาย 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ควบคู่กับการส่งเสริมอุตสาหกรรม SMEs

ทั้งได้สะท้อนแนวความคิดออกมาหลายครั้งหลายหนว่า ประเทศไทยมีโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจจริง (real economy) มากมายหลายสาขา โดยเฉพาะจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย หากรู้จักการจัดการที่ดี

แต่แล้วความหวังของอีกหลายๆ คนต้องหมดไป หาก ร่าง พ.ร.บ. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ... ที่ถูกหมกเม็ดซ่อนเงื่อนปมจากฝีมือของฝ่ายข้าราชการประจำ ที่กำลังตบหน้ารัฐบาล และเป็นการสวนทางกับแนวนโยบายของรัฐบาล ยังขัดแย้งกับ รมว.พาณิชย์ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในฐานะที่กำกับดูแลกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้เป็นเจ้าของเรื่องจัดทำร่างกฎหมาย และทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้โดยตรง

แนวคิดหลักในทางกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือการสร้างกฎหมายของรัฐ ให้เข้าไปคุ้มครองชุมชนที่ได้สั่งสมบ่มเพาะความรู้วิทยาการที่ผสมผสานกับลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ ทำการผลิตสินค้าที่มีคุณลักษณะพิเศษต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันจากที่อื่นๆ เช่น ไข่เข็มไชยา ส้มโอนครชัยศรี ข้าวหอมมะลิ

แนวคิดทางกฎหมายลักษณะนี้ หาได้ไปก่อตั้งสิทธิให้แก่ปัจเจกบุคคล บุคคลหนึ่งคนใดไม่ หากแต่สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งนั้นเป็นของชุมชนทั้งชุมชน ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับแนวคิดสิทธิชุมชน (community rights) ที่มีการกล่าวถึงก่อนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

แต่ในที่สุด สภาร่างรัฐธรรมนูญในสมัยนั้น ยังไม่ค่อยให้การยอมรับหรือเข้าใจ จึงไม่มีคำๆ นี้ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งในลักษณะนี้ ไม่มีอายุการคุ้มครองอย่างสิทธิบัตร แต่จะมีตลอดไป สิ่งที่กฎหมายให้การคุ้มครองยอมรับที่ถือว่า เป็นสิทธิที่กฎหมายให้การรับรองคุ้มครองคือสิทธิในการใช้เรียกชื่อสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้า มีคุณลักษณะพิเศษตามแหล่งภูมิศาสตร์

เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ผลักดันร่างกฎหมายนี้ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) แทนที่จะได้ใช้โอกาสนี้จัดทำกฎหมายให้ความคุ้มครองสิทธิชุมชนท้องถิ่น เปิดช่องทางให้ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสู่ตลาดโลก แต่กลับละเลยเพิกเฉย

การร่างกฎหมายในลักษณะที่ไม่รับรองสิทธิของชุมชน ปิดกั้นทำลายโอกาสเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนมิให้เกิด ด้วยการกำหนดเป็นข้อห้ามมิให้นำชื่อสามัญของสินค้า มาขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ในขณะเดียวกัน จากผลอันนี้ก็เท่ากับเป็นการหยิบยื่นผลประโยชน์ให้สหรัฐ และประเทศต่างๆ เอาข้าวที่ตนผลิตได้ใส่ถุงหลอกลวงผู้บริโภคในต่างประเทศว่า เป็นข้าวหอมมะลิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้ เพราะถูกกำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ในความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่ว่า ประเทศสมาชิกของ WTO ไม่มีพันธกรณีที่จะต้องคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งมิได้รับความคุ้มครองในประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด..

ร่าง พ.ร.บ.นี้ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอยู่ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภา ยังมีความบกพร่องอีกหลายจุด เช่น การก่อตั้งสิทธิมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเด่นชัดในร่างกฎหมาย แต่ให้อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของนายทะเบียน (อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา) ซึ่งถือเป็นความบกพร่อง มีช่องโหว่ที่นำความเสียหายและโอกาสของคนไทยทั้งชาติ ที่ไม่อาจยินยอมหรือต่อรองได้

ทำไมกรมทรัพย์สินทางปัญญาถึงได้กระทำการอันเป็นการสวนทางกับนโยบายรัฐ ขัดแย้งอย่างชัดแจ้งต่อ รมว.พาณิชย์ ที่ประกาศให้สัญญากับประชาชนทั้งประเทศ โดยได้ไปผลักดันให้ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในเวที WTO ให้ครอบคลุมถึงสาขาด้านเกษตรกรรม ไม่ใช่เฉพาะไวน์และสุราเท่านั้น

ไม่ทราบว่า รัฐบาลและคณะรัฐมนตรีเห็นด้วยอย่างที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาแก้ไขในภายหลัง ตามร่างกฎหมายที่เป็นปัญหานี้หรือไม่ ในที่นี้ไม่อยากกล่าวว่า เป็นความบกพร่องโดยไม่สุจริตของผู้ผลักดันร่างกฎหมายนี้แต่ฝ่ายเดียว หาก ร่าง พ.ร.บ. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ... มีอันต้องผ่านการให้ความเห็นชอบจากวุฒิสภาไป ทั้งๆ ที่มีปัญหาอยู่อย่างนี้ ใครบ้างที่ควรออกมารับผิดชอบ

น่าจะถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องหันมาให้ความสนใจกับปัญหาการนิติบัญญัติเสียที

ความบกพร่องในร่างกฎหมายฉบับนี้ แท้ที่จริงคือ ผลสะท้อนของกลไก และกระบวนการออกกฎหมายของไทยที่มีปัญหา ทำอย่างไรจะให้กระบวนการตรากฎหมายเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงควบคู่กันไปกับการอาศัยความรู้ เป็นตัวนำมากกว่าการบริหารทางการเมือง
โดย เจริญ คัมภีรภาพ เมื่อ : [ 4 พ.ค. 46, 12:31 น.]

 

การคุ้มครองชื่อสายพันธุ์พืชและสายพันธุ์สัตว์
เป็นหัวใจสำคัญของการออกกฎหมายคุ้มครอง
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

1. ผลประโยชน์ของประเทศไทย
การอนุวัติการกฎหมายภายในให้เป็นไปตามข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก และสามารถปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไปพร้อมๆกันด้วยนั้น จำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายให้คุ้มครองชื่อของสายพันธุ์พืชและสายพันธุ์สัตว์ ทั้งนี้เนื่องจากชื่อของ"ข้าวหอมมะลิ" หรือ "จัสมินไรซ์" ถือได้ว่าเป็นผลประโยชน์ของประเทศไทยที่เห็นได้ชัดเจน ปัจจุบันตลาดข้าวหอมมะลิของไทยมีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ไม่นับมูลค่าตลาดที่ต่างชาตินำข้าวอื่นๆไปขายในนามข้าวหอมมะลิ เช่น บริษัทไรซ์เทคจดเครื่องหมายการค้า "จัสมาติ" และอ้างว่าเป็นข้าวหอมมะลิ, การส่งออกข้าวของประเทศอื่นๆนอกจากประเทศไทยไปขายในนาม "จัสมินไรซ์" รวมทั้งการที่ต่างประเทศหลายประเทศพยายามนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปวิจัยปลูกในต่างประเทศแล้วผลิตขายในนามข้าวหอมมะลิ การปกป้องชื่อของข้าวหอมมะลิจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำพร้อมๆกับการให้การคุ้มครอง "เชื้อพันธุ์(germplasm)" ซึ่งมีกฎหมายและข้อตกลงอื่นๆกำกับอยู่

การคุ้มครองชื่อสายพันธุ์พืชและสัตว์ นอกเหนือจากคุ้มครองประโยชน์กรณีข้าวหอมมะลิแล้ว ยังเป็นการคุ้มครองชื่อเสียงของสายพันธุ์พืชและสัตว์อีกเป็นจำนวนมากที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาโดยชุมชนท้องถิ่นต่างๆมาเป็นช้านาน จนมีชื่อเสียง และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น ทุเรียนหมอนทอง แมวสีสวาท สุนัขพันธุ์บางแก้ว เป็นต้น

2. ร่างพ.ร.บ.ที่ผ่านการพิจารณาของสภา ขัดแย้งกับนโยบายและจุดยืนของรัฐบาลไทย
ที่ผ่านมารัฐบาลไทย โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้แสดงบทบาทร่วมกับประเทศอื่นๆในการต่อสู้เพื่อให้มีการขยายการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้ครอบคลุมถึงสินค้าเกษตรจนเป็นผลสำเร็จขั้นต้นมาแล้ว หลังการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ที่โดฮา ประเทศการ์ตาร์ นับตั้งแต่ปลายปี 2544 เป็นต้นมา ดังที่ปรากฎในสื่อต่างๆหลายครั้ง

"องค์การค้าโลกเห็นชอบเมื่อวานนี้ที่จะขยายการคุ้มครองให้กับสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์จำเพาะ" นายอดิศัย โพธารามิก กล่าวเมื่อวานนี้ที่โดฮา ประเทศการ์ตา " ..ความสำเร็จนี้เป็นก้าวแรกสำหรับประเทศไทยที่ผลักดันให้ข้าวหอมมะลิได้รับการคุ้มครองภายใต้ข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญา(ทริปส์)..."

"...นี่เป็นชัยชนะสำหรับประเทศไทย ที่จะป้องกันข้าวหอมมะลิ มิให้ประเทศอื่นใดผลิตข้าวพันธุ์นี้ในเชิงพาณิชย์..." (บางกอกโพสต์ ฉบับวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2544)

ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก(WTO) ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ยังได้มีการผลักดันให้มีการเจรจาปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้มีการปรับปรุงความตกลง TRIPS ให้มีการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indications) ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง กำหนดมาตรการเยียวยา (Remedy) กรณีที่มีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างไม่ถูกต้องและบิดเบือน เช่น การใช้คำว่า ข้าวไทย หรือ Jasmine Rice หรือไหมไทยกับสินค้าที่ไม่ได้ผลิตในประเทศไทย เป็นต้น (เว็บไซท์กระทรวงพาณิชย์)

" นายสุวรรณ วลัยเสถียร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้หารือ แนวทางการแก้ไขปัญหาและปกป้องพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย ได้ข้อสรุป 7 มาตรการเร่งด่วน "….ผลักดันการเจรจาในองค์การการค้าโลก (WTO) โดยเสนอ ปรับปรุงความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIPs) ให้คุ้มครอง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง และกำหนด มาตรการเยียวยากรณีใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างไม่ถูกต้องหรือบิดเบือน เช่น คำว่าข้าวไทย หรือ "Jamine Rice" …." (ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544)

3. การสนับสนุนจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆในการคุ้มครองชื่อข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตร
นอกเหนือจากประเทศกำลังพัฒนาและประเทศยุโรปตะวันออก เช่น ปากีสถาน ศรีลังกา มอริเชียส ไนจีเรีย เคนยา คิวบา บุลกาเรีย โรมาเนีย สโลเวเนีย สโลวาเกีย ฯลฯ กลุ่มสหภาพยุโรปก็แสดงการสนับสนุนการขยายการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้วย ดังคำแถลงของนายปาสคาล ลามี่ (Pascal Lamy) ตัวแทนเจรจาการค้าของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU Comissioner) เมื่อเดือนมิถุนายน 2545 ที่ผ่านมา โดยยกตัวอย่างสนับสนุนให้มีการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ครอบคลุมถึง ข้าวบัสมาติของอินเดีย และข้าวหอมมะลิของไทย ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2543 นายสตีเฟ่น โรเบิร์ต (Stephane Robert) ตัวแทนพิเศษภาคพื้นเอเชียกลางและตะวันออกไกล กระทรวงเกษตรและประมงของฝรั่งเศส ก็ได้แถลงสนับสนุนให้มีการคุ้มครองชื่อข้าวหอมมะลิภายใต้กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับที่ฝรั่งเศสต้องการให้ต่างประเทศให้การคุ้มครองชื่อ "แชมเปญ" ของตน

4. กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อคุ้มครองชื่อสายพันธุ์พืชพันธุ์สัตว ์เป็นมาตรการที่จำเป็นต้องทำควบคู่กับการคุ้มครองพร้อมๆกับการให้การคุ้มครอง"เชื้อพันธุ์(germplasm)" ของข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีกฎหมายอื่นควบคุมอยู่ เช่น กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ทั้งนี้เนื่องจากในหลายกรณีบริษัทต่างชาติได้นำข้าวสายพันธุ์อื่นมาขายในนามข้าวหอมมะลิ(กรณีจัสมาติ) หรือใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรเทาความเสียหายในกรณีที่ต่างประเทศนำเอาเชื้อพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปปลูกนอกประเทศไทย เพราะอย่างน้อยข้าวที่ผลิตได้จากประเทศดังกล่าวก็จะไม่สามารถขายในนาม "ข้าวหอมมะลิ" ได้

กฏหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังที่ตัวแทนของรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้แถลงในการประชุมสภาทรัพย์สินทางปัญญา(Council for TRIPs) เมื่อเดือนมีนาคม 2545 ที่ผ่านมาว่า " ขณะนี้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีความเป็นไปได้สำหรับ และเพื่อปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรพันธุกรรม ไม่ว่าจะเป็นชื่อ "kava", "Rooibos tea", "neem", "Mexican enola beans", "Peruvian yacon" และ "Andean nuna beans"

คำอภิปรายของสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่งระหว่างการพิจารณาร่างพ.ร.บ.สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2545 ที่ผ่านมา ที่กล่าวว่า "หลักกฎหมายต้องเป็นหลักกฎหมาย ว่าอย่าเอาของสับสนมาปนอยู่ในตะกร้าเดียวกัน ชื่อสามัญกับสายพันธุ์นี่ออกไป กฎหมายเขาเคลียร์อยู่แล้ว แล้วไปเอาเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพเข้ามาทำไม เกี่ยวอะไรครับ อันนั้นเรื่องการคุ้มครองสายพันธุ์ อันนี้คุ้มครองที่มาสินค้า" นั้น เป็นการแสดงความเห็นโดยมิได้มีจุดยืน

ในการวิเคราะห์ผลประโยชน์ของประเทศ ความเข้าใจถึงการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ แต่ยึดถือเอาตัวบทกฎหมายที่มีผู้ร่างเอาไว้แล้วมาเป็นตัวตั้ง โดยหาตระหนักไม่ว่าร่างกฎหมายนั้นมีที่มาจากฐานคิดและผลประโยชน์ของบางประเทศที่ได้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรพันธุกรรมจากประเทศของเรา คำแถลงของตัวแทนกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพ.ร.บ.สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวว่า ว่า "ชื่อของสายพันธุ์พืชหรือสายพันธุ์สัตว์ ในกรณีทั่วไปจะเป็นชื่อสามัญ" ที่แท้แล้วเป็นการยึดเอาหลักการและกฎหมายของประเทศที่ได้ประโยชน์จากนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นและมรดก ทางพันธุกรรมของประเทศอื่นไปใช้นั่นเอง

การแต่งตั้งให้ผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลเช่นนี้เอง ที่ทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ของเรา กลายเป็นกฎหมายซึ่งรับรองความชอบธรรมของประเทศที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากชื่อเสียงมรดกภูมิปัญญาของคนในประเทศไปในท้ายที่สุดนั่นเอง
ฝ่ายข้อมูล ไบโฮไทย เมื่อ : [ 4 พ.ค. 46, 12:40 น. ]

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

 

แชมเปญ ทุกคนทราบดีว่าเป็นชื่อเรียกเหล้าองุ่นที่มีราคาแพงมีชื่อเสียง แต่ดั่งเดิมนั้นก็มีการผลิตแชมเปญในฝรั่งเศสเท่านั้น คือผลิตในเขตท้องที่ที่ชื่อว่าแชมเปญ จึงตั้งชื่อเหล้าองุ่นนี้ว่าแชมเปญ ต่อมามีผู้ผลิตที่อื่นนอกประเทศฝรั่งเศสโดยใช้พันธุ์องุ่นชนิดเดียวกันและใช้ชื่อว่าแชมเปญเหมือนกัน และก็ขายได้ดีมานาน
ปัญหาคงไม่เกิดขึ้นหากไม่มี GI ในส่วนของผู้บริโภคนั้นรู้ว่า ของแท้ต้องแชมเปญที่มาจากฝรั่งเศสซึ่งมีราคาแพง แชมเปญประเทศอื่นๆ ก็อาจจะดีและมีราคาแพงเหมือนกัน แต่เมื่อมีคำว่า GI (ซึ่งชื่อแชมเปญถือว่าเป็น GI ) ดังนั้นเหล้าองุ่นที่ผลิตที่อื่นๆ จะไม่สามารถใช้ชื่อว่าแชมเปญได้อีกแล้วเพราะผิดความตกลง TRIPs (ตัดมาบางส่วนจากบทความ)
ในเรื่อง GI แม้ผู้ผลิตนอกประเทศดังกล่าวจะแย้งว่าถ้าเช่นนั้นจะใช้ชื่อที่ระบุว่าแชมเปญทำในประเทศอื่น เช่นแชมเปญทำในไทยได้ไหม คำตอบก็คือไม่ได้ ตามความหมายของชื่อ GI แชมเปญต้องมาจากถิ่นกำเนิดที่ชื่อแชมเปญเท่านั้น นั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วทำให้แชมเปญสหรัฐฯ ต้องเปลี่ยนไปใช้คำว่าไวน์ที่มี(ฟอง)ประกาย Sparkling wine แทนแชมเปญ
release date
020746
บทความจาก Biothai ประเทศไทยกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ต้องจับตา (งานวิชาการประกอบ)

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ปัญหาอยู่ที่ไหน
เจริญ คัมภีรภาพ และฝ่ายข้อมูล ไบโอไทย
(บทความนี้ยาวประมาณ 6 หน้ากระดาษ A4)


(หมายเหตุ) บทความที่จะอ่านต่อไปนี้ นำมาใช้เสริมบทความวิชาการของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 280 เรื่อง ประเทศไทยกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และ GI days (เขียนโดย พอล เลอมัง) ทั้งนี้เพื่อความสมบูรณ์รอบด้านของปัญหาสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่กำลังจะตราเป็นกฎหมาย
- ข้อมูลจาก Biothai โดย เจริญ คัมภีรภาพ เมื่อ : [ 4 พ.ค. 46, 12:31 น. ] และ ฝ่ายข้อมูล ไบโอไทย เมื่อ : [ 4 พ.ค. 46, 12:40 น. ]

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ปัญหาอยู่ที่ไหน
หาก ร่าง พ.ร.บ. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ... ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาไปทั้งๆ ที่มีปัญหาอยู่ ใครบ้างที่ควรออกมารับผิดชอบ น่าจะถึงเวลาแล้วที่ไทย ต้องหันมาให้ความสนใจ กับปัญหานิติบัญญัติเสียที

กฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาในการเจรจารอบอุรุกวัย ของภาคี GATT (ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นองค์การการค้าโลก WTO) แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้น และพัฒนาจนเป็นข้อตกลงหลายฝ่ายภายใต้ WTO ได้ ก็เพราะการผลักดันจากกลุ่มผลประโยชน์ในสหภาพยุโรป

โดยเฉพาะผู้ประกอบการทำธุรกิจค้าขายไวน์ และสุรา ที่ผลักดันตัวแทนของตนเองในการเจรจาทางการค้าในเวทีเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย ให้การรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indication) เป็นกฎกติกาทางการค้าแบบหลายฝ่ายในข้อตกลงว่า ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา หรือ TRIPs ของ WTO

Home
N
next
next