เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยิน สมดุล และเป็นธรรม : ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 (ครบรอบ 3 ปี)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

การสร้างแบรนด์ในหมู่นักการเมือง พรรคการเมืองนี้ จะเป็นประเด็นถกเถียงกันต่อไป

ส่วนภาคธุรกิจในบ้านเรากิจการเครื่องดื่มชูกำลังกลายเป็นประเด็นร้อน มีคอนเซปท์ใหม่ๆในการสร้างฮีโร่กับอุดมการณ์เสียสละเพื่อส่วนรวมออกมาจนน่าประทับใจ กรณี "ลูกผู้ชายตัวจริงของกระทิงแดง" ซึ่งทุ่มโฆษณาทำเป็นซีรี่ส์ และจับเอาฮีโร่ตัวจริงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ แต่มีคำถามว่า ฮีโร่ที่เป็นกรรมาชีพ คนยากคนจนเหล่านี้ ควรเป็นเครื่องมือสร้างแบรนด์ของนายทุนที่ทำกำไรบนสันหลังของกรรมาชีพหรือไม่ ?

ขณะที่อุดมการณ์ฝ่ายซ้าย ที่ยืนเคียงข้างคนจน ปัจจุบันก็ถูกทำให้เป็นสินค้า นี่คือบางทัศนะที่น่าสนใจต่อประเด็นนี้

โคคาโคล่า อุดมการณ์ปฏิวัติที่คุณดื่มได้…
กระแสค้าเสรีอุดมการณ์เช่นนี้กำลังสยายปีกไปทั่วโลกแม้สังคมไทยก็ไม่เว้น การค้าขายยี่ห้อหรือโลโก้ในระบบการค้าเสรีทำกำไรมหาศาล ดูอย่างสินค้าชุดชั้นในไทรอัมพ์ที่คนงานต้องตรากตรำทำการผลิต เมื่อคำนวณที่มาของป้ายราคาจะเป็นต้นทุนค่าโลโก้ถึง 60-70 % ขณะที่เป็นค่าแรงไม่ถึง 5 % ที่เหลือเป็นค่าขนส่ง ค่าการจัดการ และค่าการตลาด การค้าขายโลโก้ของฝ่ายซ้ายที่เราเห็นๆก็ได้แก่ รูปภาพ เช กูวารา มาร์คซ์ เลนิน และเหมา โลโก้เหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแฟชั่นเสื้อผ้า หมวก ถ้วย แก้วน้ำ กระทั่งผ้าเช็ดตัว

ดูจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพั้งค์ในอังกฤษระหว่างทศวรรษปี1970 กลุ่มนี้มีต้นกำเนิดมาจากวัยรุ่นที่ต้องการต่อต้านสังคม ต่อต้านระบบและจารีตประเพณี โดยเขาจะไว้ผมเผ้า รุงรัง หลากสี หลายทรง ใส่เสื้อผ้าสีสันแปลกตาจากการนำเศษวัสดุต่างๆมาประดับประดาแทนที่เครื่องประดับหรูหรา พวกนี้เกลียดนักการเมือง ชิงชังความเจริญของทุนนิยมที่เหินห่างจากความทุกข์ของคนจน โดยสร้างพฤติกรรมที่แตกต่างออกไป พวกเขาถามหาคุณค่าของชีวิตสามัญชน คนเล็กๆ ซึ่งสังคมมักจะเรียกว่า "พวกแหกคอก" แต่พ่อค้าหัวใสก็กลับนำเอารูปแบบการแสดงออกของพวกพั้งค์ไปผลิตซ้ำทำเป็นสินค้า มีการใส่ดนตรีและนำดารา ผู้มีชื่อเสียงมาสวมใส่ผลิตภัณฑ์แหกคอกเหล่านี้ เช่นเดียวกับการโปรโมทยี่ห้อโคคาโคล่า ไนกี้ และแรงเลอร์ ที่ให้ดาราฟุตบอลค่าตัวแพงระยับ ทั้งกิน ดื่ม สวมใส่ และใช้มัน ทำให้กลายเป็นอุปกรณ์ประกอบแฟชั่น เป็นกระแสสำคัญในหมู่แฟนๆวัยรุ่น

บริษัทแฟชั่นยักษ์ใหญ่ใช้ระบบทุนอันทรงประสิทธิภาพ ทำให้ร้านค้าเล็กๆต้องว่าจ้างคนวัยหนุ่มสาวมาสวมใส่ชุดพั้งค์เพื่อทำให้พวกเขาดูเหมือนตัวจริง และสร้างความน่าเชื่อถือในตัวสินค้า เช่นเดียวกับการเห่อ กางเกงยีนส์จาก สหภาพโซเวียต หรือเสื้อยืดที่มีตราค้อนและเคียว โดยไม่ต้องสนใจอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ ใส่หมวกเช (Che) โดยไม่รู้ว่าชายหน้าเข้มคนนี้คือใคร เกิดเป็นวัฒนธรรมสวมใส่โลโก้ ซึ่งอดีตนักต่อสู้และฝ่ายซ้ายของไทยที่กำลังผันตัวเป็นนายทุนก็กำลังใช้การตลาดแนวนี้มาเปิดร้าน ทำกันเป็นธุรกิจทั้งขายตรง เปิดบู้ธ และปักหลักกลางตลาดจัตุจักร มีทั้งเสื้อผ้า ชุดทหารป่า เปลผ้าร่ม และตราสัญลักษณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย รูปปั้นเลนิน ภาพวาดสีน้ำมันของเหมาเจ๋อตง ทั้งๆที่คนขายเกลียดชังและหันหลังให้กับแนวคิดมาร์คซิสต์

วงจรอุบาทว์ตลาดเสรี ทำหน้าที่แสวงหากำไรรูปแบบใหม่ๆบนอุดมการณ์ ด้วยการผลิตสินค้าตราสัญลักษณ์ของฝ่ายซ้าย และ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมป้อนสู่ตลาด สร้างสถานะผู้ประกอบการทั้งรายย่อยและรายใหญ่ได้เป็นกอบเป็นกำ ขณะที่ลดคุณค่าและความหมายของกระบวนการเคลื่อนไหว แนวคิด อุดมการณ์ การต่อสู้ปฏิวัติ ให้เป็นสินค้าแฟชั่น " ไม่ต้องการความเข้าใจ เพียงแต่สวมใส่หรือพกพาก็เพียงพอ" กลายเป็นนวัตกรรมผลิตซ้ำที่ไม่เพียงแต่มวลชนกรรมาชีพจะตกหลุมพรางและซื้อหามา ในช่วง กว่า 13 ปีของการพังทลายกำแพงเบอร์ลิน และการล่มสลายของแนวสตาลิน คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการสิ้นสุดของแนวสังคมนิยม อุดมการณ์จึงถูกแปรสภาพ โดยการสร้างตราสัญลักษณ์ฝ่ายซ้ายเพื่อการค้าขายเอากำไร เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจแฟชั่น และการสร้างภาพลักษณ์ภายนอกต้องตกเป็นเหยื่อเพื่อการบริโภคสินค้าเหล่านื้ พวกเขาไม่ต้องออกแรงต่อสู้เพื่อเสรีภาพ สันติภาพ สิ่งแวดล้อม หรือสู้เพื่อสังคมนิยมอีกต่อไป หากแต่แลกมาได้ด้วยกำลังซื้อ

แต่กระนั้นทุกวันนี้ ก็เริ่มมีขบวนการคนหนุ่มสาวยุคใหม่ รวมตัวกันต่อต้านโดยเริ่มต้นในประเทศตะวันตกพวกเขาเรียกตัวเองว่าขบวนการ "ไม่เอาโลโก้" NO LOGO แล้วพวกเราล่ะ…

(บทความนี้ยาวประมาณ 2 หน้ากระดาษ A4)

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

 

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 281 เดือนมิถุนายน 2546 หัวเรื่อง "Brand Image Building" โดย วิภา ดาวมณี - กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน
เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ครั้งแรก วันที่ 21 มิถุนายน 2546
R
release date
210646
QUOTATION
ขณะที่วงการเอเจนซี่พยายามเสนอกลยุทธการสร้างแบรนค์เนม ให้กับลูกค้า เนื่องจากโลกพัฒนามาถึงจุดที่สินค้า หรือบริการต่างๆสามารถพัฒนาให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน การดึงดูดผู้บริโภคจึงกลายเป็นเรื่องของการสร้าง value added ในรูปแบบต่างๆ ความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือ กระทั่งความเอื้ออาทร… ภายใต้ชื่อ หรือยี่ห้อ ซึ่งอาจเรียกได้ว่า LOGO

ในวงการการเมือง พรรคบางพรรคสามารถสร้างแบรนด์ผ่านผู้นำพรรค จนแบรนด์หรือโลโก้นี้ไปแปะไว้บนผลิตภัณฑ์ใด ก็ได้รับการไว้วางใจ เช่น กรณีการเลือกตั้งในจังหวัดภาคอีสานเมื่อเร็วๆนี้
บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน "Brand Image Building เครื่องมือการตลาดที่ไม่เคยตกยุค" โดย วิภา ดาวมณี
H
home

สร้างชื่อ สร้างภาพ Brand Image Building
เครื่องมือทางการตลาดที่ไม่เคยตกยุค ???
โดย วิภา ดาวมณี (กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน)

ขณะที่วงการเอเจนซี่พยายามเสนอกลยุทธการสร้างแบรนค์เนม ให้กับลูกค้า เนื่องจากโลกพัฒนามาถึงจุดที่สินค้า หรือบริการต่างๆสามารถพัฒนาให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน การดึงดูดผู้บริโภคจึงกลายเป็นเรื่องของการสร้าง value added ในรูปแบบต่างๆ ความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือ กระทั่งความเอื้ออาทร… ภายใต้ชื่อ หรือยี่ห้อ ซึ่งอาจเรียกได้ว่า LOGO

ในวงการการเมือง พรรคบางพรรคสามารถสร้างแบรนด์ผ่านผู้นำพรรค จนแบรนด์หรือโลโก้นี้ไปแปะไว้บนผลิตภัณฑ์ใด ก็ได้รับการไว้วางใจ เช่น กรณีการเลือกตั้งในจังหวัดภาคอีสานเมื่อเร็วๆนี้ ทั้งๆที่พรรคนายทุนทุกพรรคโดยหลักการมีแนวนโยบายไม่แตกต่างกัน เพราะยืนบนจุดยืนผลประโยชน์ที่เหมือนกัน จึงเป็นการท้าทายที่พรรคคู่แข่ง หรือพรรครองลงมาจะพยายามออกแบบหีบห่อ แพคเกจจิ้งใหม่ๆ ขณะที่ไม่ได้พัฒนาตัวโพรดักท์ หรือผลิตภัณฑ์ หรือไม่สามารถเอาสมาชิกที่มีคุณภาพของตนมาเป็นจุดขายได้