H

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 349 หัวเรื่อง
Reading Images - การอ่านภาพ
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

(บทความนี้ยาวประมาณ 14 หน้า)
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com

060247
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements

การอ่านภาพจากสื่อด้วยวิธี semiotic analysis
วิธีการถอดระหัสภาพจากสื่อ

สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความนี้ยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4
เผยแพร่ครั้งแรกบทเว็ปมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547

Reading Images : การอ่านภาพ
บทความชิ้นนี้มาจากหนังสือเรื่อง Media and Society ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Michael O' Shaughessy และ Jane Stadler สำนักพิมพ์ Oxford University Press ปีที่พิมพ์ 2002 (ในส่วนของ Part 2 เรื่อง Picture, หัวข้อที่ 8. Reading Images หน้า 86)

ตัวอย่างต่อไปนี้ได้นำเอาภาพถ่ายมาใช้เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพถ่ายในงานโฆษณาต่างๆ. ภาพโฆษณาต่างๆเป็นแหล่งที่ใช้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ในเชิงสัญศาสตร์ (semiotic analysis) ที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์: ปกติแล้ว ภาพเหล่านี้จะเป็นการรวมตัวกันของภาพและข้อมูล; พวกมันจะถูกประกอบเข้าด้วยกันอย่างค่อนข้างระมัดระวัง เพื่อที่จะได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อผู้ดู ภาพเหล่านี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อ แต่มันจะได้ผลก็ต่อเมื่อ พวกมันได้ทำให้ผู้ดูทั้งหลายเกิดความพึงพอใจขึ้นมาบางอย่างเท่านั้น

ภาพโฆษณาเหล่านี้ เป็นสิ่งที่แพร่หลายดาษดื่นอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตก; บ่อยครั้ง ภาพเหล่านี้ได้เผยให้เห็นถึงท่าทีหรือทัศนคติต่างๆทางความคิดที่สำคัญ; และเพราะว่าพวกมันถูกทำให้เป็นภาพนิ่ง บ่อยทีเดียว มันจึงง่ายที่จะวิเคราะห์มากกว่าภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

แต่อย่างไรก็ตาม อย่าได้ทึกทักว่าบรรดาผู้ทำโฆษณาทั้งหลายรู้หรือกังวลใจเกี่ยวกับสัญศาสตร์ แม้ว่าบางคนอาจเป็นเช่นนั้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาผู้ทำโฆษณาซึ่งที่ได้ร่ำเรียนมาทางด้าน"การสื่อสาร"(communication) หรือผู้ที่ร่ำเรียนมาทางด้าน"สื่อ" [media studies]) แต่คนพวกนี้ไม่ได้ต้องการที่จะรู้ถึงทฤษฎีเกี่ยวกับสัญศาสตร์ เพื่อที่จะออกแบบงานโฆษณาต่างๆ. อันที่จริง สัญศาสตร์เป็นเครื่องมืออันหนี่งของการวิเคราะห์ ไม่ได้เกี่ยวกับการสร้างสื่อ

สิ่งที่จะตามมาในบทนี้คือ "การวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์"เกี่ยวกับภาพที่แตกต่างกันจำนวนหนึ่ง. การวิเคราะห์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาและสนทนากันไปแล้วในบทก่อน(ขอให้ดูบทความเกี่ยวกับเรื่องสัญศาสตร์") ในเรื่องเกี่ยวกับ ภาพต่างๆมันได้ผลิตความหมายขึ้นมาได้อย่างไร และเราเข้าใจพวกมันได้อย่างไร

การวิเคราะห์แต่ละอย่าง ได้ปลุกคำถามมากมายขึ้นมาให้เราพยายามแสวงหาคำตอบ และตามมาด้วยข้อคิดเห็นหรือคำวิจารณ์ในรายละเอียดต่างๆที่มีต่อภาพที่เรากำลังพูดถึง. ข้อคิดเห็นที่หลายหลากเหล่านี้ได้ดึงความสนใจไปสู่ประเด็นที่มีความสำคัญต่างๆในการวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ขอให้ดูภาพประกอบที่ 1.)

ภาพประกอบที่ 1. เด็กร้องไห้ (นำมาจาก: Werner Bischof)
หลังจากที่ดูภาพนี้แล้วให้เราลองกระทำดังต่อไปนี้

1. เขียนลงไปโดยเร็วเกี่ยวกับสิ่งที่คุณคิด ในเรื่องเชื้อชาติของเด็กคนนี้
2. เขียนลงไปโดยพลันเกี่ยวกับว่า ทำไมเด็กคนนี้จึงร้องไห้
(ข้อแนะนำคือ อย่าใช้เวลาเกินกว่า 30 วินาที ต่อคำถามทั้ง 2 ข้อข้างต้น ให้เขียนสิ่งที่คุณรู้สึกโต้ตอบต่อภาพนี้โดยตรงทันที)

แบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องต่อคำถาม 2 ข้อข้างต้น. ภาพประกอบที่ 1. ได้ดึงความสนใจของเราทันทีไปสู่ธรรมชาติของภาพที่มีความเป็นไปได้หลายหลากในเรื่องของความหมาย. ในที่นี้ใช้คำว่า "polysemic" ซึ่งมาจากคำในภาษากรีกคือ poly (หมายถึง many) และคำว่า seme (ซึ่งหมายถึง meaning). ดังนั้นคำว่า Polysemic จึงแปลว่า many meaning (ความหมายหลากหลาย)

มันมีความเป็นไปได้ สำหรับภาพๆหนึ่งที่จะมีลักษณะ"หลากหลายความหมาย" หรือ polysemic: ด้วยเหตุดังนั้น ภาพเด็กคนนี้ อาจจะเป็นเด็กชาวอินเดียน, ออสเตรเลียน, อิตาเลียน, อังกฤษ, อเมริกาใต้, หรือเชื้อชาติอื่นๆได้อีกมาก. และเด็กซึ่งกำลังร้องไห้อยู่นี้ ก็มาจากสาเหตุต่างๆได้มากมายเช่นกัน เช่น เพราะเขาหรือเธอหกล้ม, หรือทำไอศครีมตก, หรือหลงจากพ่อแม่, หรือทำตุ๊กตาหาย หรือเพราะว่าเธอหรือเขากำลังหิว และอื่นๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถของภาพต่างๆในการนำพาความหมายที่เป็นไปได้จำนวนหนึ่งติดมากับพวกมันด้วยนั้น มิได้หมายความว่าภาพต่างๆสามารถที่จะหมายถึงอะไรก็ได้. ภาพและข้อมูลต่างๆที่ประกอบกันจะเปิดไปสู่การตีความที่เป็นไปได้ต่างๆอย่างไม่มีขีดจำกัด แต่ในเวลาเดียวกัน พวกมันก็มีขีดจำกัดในการตีความที่เป็นไปได้จำนวนหนึ่งด้วยเช่นกัน

ภาพที่เราเห็นในโฆษณาชิ้นนี้ แน่นอน เป็นภาพของเด็กคนหนึ่ง ไม่ใช่ผู้ใหญ่ และชัดเจนว่าเด็กคนนี้ไม่มีความสุขเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง. สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ถูกบ่งชี้ไปในหนทางนั้น. ด้วยเหตุนี้ มันจึงมีข้อจำกัดต่างๆในความหมายอันหลากหลายด้วย

แม้ว่าภาพแต่ละภาพจะมีศักยภาพในแง่ของความหมายที่หลากหลายก็ตาม แต่ผู้คนจำนวนมากก็ได้ให้คำตอบต่อคำถามสองข้อข้างต้นในทำนองเดียวกัน. ส่วนใหญ่พวกเขาจะตอบว่าเด็กคนนี้มาจากครอบครัวที่ยากจน จากโลกของคนส่วนใหญ่(ประเทศโลกที่สาม) และที่เขากำลังร้องไห้ เนื่องมาจากการสูญเสียหรือการทำลายล้างที่สำคัญบางอย่าง เช่น สงคราม, แผ่นดินไหว, ทุพภิกขภัย หรือการสูญเสียพ่อแม่ของตนไป. อะไรคือระหัสในเชิงสัญศาสตร์และความเคยชินที่น้อมนำไปสู่การอ่านภาพออกมาเช่นนั้น? ความรู้ทางวัฒนธรรมใดเล่า ซึ่งเป็นที่ต้องการในการอ่านภาพดังกล่าวออกมาแบบนี้?

1. เราอ่านภาพนี้ในความสัมพันธ์กับภาพอื่นๆซึ่งเราคุ้นเคย มันอาศัยหรือใช้ความเคยชินของภาพโปสเตอร์และภาพโฆษณาต่างๆสำหรับการบริจาคหรือการสงเคราะห์ ซึ่งเรียกร้องการช่วยเหลือในความสัมพันธ์กับภัยพิบัติต่างๆในโลกส่วนใหญ่ อย่างเช่น ทุพภิกขภัยและแผ่นดินไหว เป็นต้น. ภาพต่างๆเหล่านี้เป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้รับสื่อในตะวันตก ซึ่งได้มองเห็นภาพของสิ่งเหล่านี้บนป้ายโฆษณา ในหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร และบนจอโทรทัศน์. ด้วยเหตุนี้ การอ่านภาพของพวกเราจึงขึ้นอยู่กับความรู้ทางวัฒนธรรม และมันได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างสัมพันธ์กับข้อมูลต่างๆ (ในการร่วมกันกับความหมายต่างๆที่สร้างขึ้นโดยข้อมูลทั้งหลายที่โยงใยกัน). ภาพเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานะตำแหน่งของเราในฐานะผู้รับสาร(message)คนหนึ่ง และขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยของเรากับระหัสอันนั้นในเชิงขนบจารีตของภาพสื่อ

2. เราอ่านภาพนี้โดยผ่านเครื่องหมายต่างๆของมันและการบ่งชี้อื่นๆ(signifiers). มันมีรายละเอียดอยู่ด้วยกัน 3 ประเด็นที่พึงระลึกถึงในความสัมพันธ์กับเรื่องนี้

2.1 The sign / signifier of the child (เครื่องหมาย / ตัวบ่งชี้ที่เป็นภาพของเด็ก). เด็กในภาพนี้มีความหมายแฝง, ท่ามกลางคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะอื่นๆ, เช่น ความไร้เดียงสา, ความเจ็บปวด, การต้องการความดูแลเอาใจใส่, การไร้อำนาจ, และความรัก. เด็กเป็นตัวบ่งชี้อันหนึ่งซึ่งถูกนำมาใช้ทั่วๆไปในความสัมพันธ์กับหายนะภัยต่างๆ อย่างเช่น ภาวะข้าวยากหมากแพง, ดังที่พวกเขาได้ใช้ภาพที่เร้าอารมณ์ของเหยื่อที่ไร้เดียงสาต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้ผู้ใหญ่มาร่วมกันดูแลและสงเคราะห์ช่วยเหลือ

2.2 The sign / signifier of tears (เครื่องหมาย / ตัวบ่งชี้ซึ่งเป็นภาพของน้ำตา). ภาพน้ำตา แน่นอน บ่งชี้ถึงความเจ็บปวด การไม่มีความสุข และความสับสนวุ่นวาย แต่ภาพน้ำตายังมีนัยสำคัญในกรณีของภาพถ่ายด้วย. เราอาจถามว่า ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของครอบครัว ในลักษณะที่เป็นการบันทึกภาพแบบฉับพลัน(snapshot)ใช่หรือไม่. อันนี้เป็นไปได้ แต่ไม่เหมือนกัน: ภาพๆนี้ไม่ได้คล้อยตามกับความคุ้นเคยเกี่ยวกับภาพถ่ายแบบฉับพลันทันทีที่ธรรมดา. ภาพถ่ายครอบครัวที่ถ่ายแบบฉับพลัน(snapshot)นั้น ปกติแล้วจะถูกถ่ายเพื่อบันทึกเรื่องราวของความสุข, ความน่ายินดี, ช่วงที่แสดงอะไรออกมาในลักษณะที่ขบขันของชีวิตครอบครัว. โดยเหตุนี้ ภาพเด็กในช่วงขณะเหล่านี้ ปกติแล้วจะแสดงออกมาเป็นภาพที่กำลังเล่นหรือกำลังยิ้มแย้มแจ่มใส. อันที่จริง ถ้าหากว่าเด็กคนหนึ่งกำลังร้องไห้, ตามธรรมดาแล้ว สมาชิกในครอบครัวจะเข้ามาให้การช่วยเหลือเด็กๆมากกว่าจะถ่ายภาพเก็บเอาไว้. ดังนั้น ตามความเข้าใจของเราเกี่ยวกับระหัสหรือเครื่องหมายต่างๆเกี่ยวกับการบันทึกภาพแบบฉับพลันของครอบครัวที่เสนอนั้น, เนื่องจากเครื่องหมายของน้ำตา, อันนี้จึงเป็นภาพถ่ายที่แตกต่างออกไปอีกประเภทหนึ่ง

2.3 The use of the photographic code of black and white (การใช้ภาพถ่ายประเภทขาวดำ) อันนี้สามารถบ่งชี้ถึงความเป็นจริง หรือมันสามารถบ่งชี้ถึงยุคก่อนที่จะมีภาพสีเกิดขึ้น. เราสัมพันธ์กับภาพขาวดำในฐานะที่เป็นหลักฐานหรือข้อเท็จจริง เพราะหนังสือพิมพ์มีการบรรจุภาพขาวดำลงบนหน้ากระดาษเป็นธรรมเนียมปฏิบัติปกติ และเพราะว่าพวกมันถูกนำมาใช้ในงานสารคดีต่างๆอยู่เสมอ (เพื่อแสดงให้เห็นถึงหลักฐานเกี่ยวกับยุคอดีต). แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่กระบวนการผลิตภาพสี ปัจจุบันได้กลายมาเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากว่ามันมีราคาไม่ค่อยแพงนัก และแพร่หลายในหน้าหนังสือพิมพ์ ภาพถ่ายขาวดำจึงถูกเข้าใจอยู่บ่อยๆในฐานะภาพถ่ายทางศิลปะที่จริงจัง หรือเป็นทางเลือกสำหรับงบประมาณในการผลิตที่มีอยู่น้อย เมื่อมันปรากฎอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์, นิตยสาร, และสิ่งพิมพ์ต่างๆ

สรุป: ความรู้เกี่ยวกับระหัสของภาพถ่ายและวัฒนธรรมที่หลากหลาย และการแฝงความหมายครอบคลุมในเชิงวัฒนธรรม โดยเหตุผลข้างต้น ได้น้อมนำผู้คนให้ตามได้ไล่ทันการอ่านภาพอันนี้ออกมาในทำนองเดียวกัน. (ภาพถ่ายซึ่งเป็นภาพประกอบที่ 1. อันที่จริงแล้ว คือภาพเด็กชาวยุโรปตะวันออก ซึ่งบันทึกเอาไว้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940s โดย Werner Bischof)

ภาพประกอบที่ 2.
ขอให้เราดูภาพประกอบที่สอง และลองทำสิ่งต่อไปนี้

1. ให้ลองเขียนถึงปฏิกริยาโต้ตอบของคุณทันทีที่มีต่อภาพซึ่งกำลังเห็นอยู่ ภาพนี้ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร?
2. ลองเขียนความคิดของคุณลงไปว่า ภาพที่กำลังจ้องมองอยู่นี้มาจากที่ใด?

แบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
ภาพประกอบที่ 2. เป็นภาพมีศักยภาพที่จะให้ความหมายที่หลายหลาก แต่ตามธรรมดาแล้ว คำตอบที่ได้, ผู้คนรู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกถูกคุกคามหรือรบกวนโดยภาพดังกล่าว. ผู้คนทั้งหลายยังมีแนวโน้มที่จะคิดว่าภาพนี้อาจเป็นภาพใหม่ หรือภาพนิ่งซึ่งมาจากภาพยนตร์สยองขวัญที่มีงบประมาณการสร้างไม่มากนัก หรือเป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์

การวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์(semiological analysis) สามารถอธิบายคำตอบเหล่านี้ได้. การแฝงความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาของภาพกำลังถูกรบกวน. เราจดจำได้ถึงเครื่องแต่งกายซึ่งได้แสดงถึงเรื่องเกี่ยวกับศัลยแพทย์ / หมอ

ในฐานะเครื่องหมายอันหนึ่ง โรงพยาบาลหรือห้องผ่าตัดเป็นสถานที่หนึ่งซึ่งมีความหมายแฝงถึงความป่วยไข้ และอันตราย - ซึ่งจะเป็นผลที่ตามมา มันคือสถานที่ของความกังวลใจ ความห่วงใย. ยิ่งไปกว่านั้น แสงไฟยังไม่น่าดูด้วย และมันได้แสดงให้เห็นถึงส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลในเงามืด; มันไม่ใช่สถานที่ของแสงไฟ

อันนี้ได้แสดงออกมาในหนทางที่ "ความมืด"ได้ไปมีความสัมพันธ์กับเรื่องของความกลัว สิ่งที่ไม่รู้ และการมีความหมายแฝงในเชิงลบอื่นๆ. สิ่งบ่งชี้ต่างๆ อย่างเช่น หน้ากากปิดปากปิดจมูกอันนั้นของหมอ และถุงมือยาง ได้นำพาความหมายต่างๆมาด้วยอีกจำนวนหนึ่ง. บางส่วนของสิ่งบ่งชี้เหล่านี้อาจกำลังรบกวน เช่น หน้ากากปิดปากปิดจมูก, เช่นเดียวกับมันไม่ระบุถึงหมอคนนี้ว่าเป็นใคร, ถูกปิดบัง, และไม่เป็นส่วนตัว (และโดยเหตุนี้จึงให้ความรู้สึกคุกคามมากขึ้น) มันให้ความหมายในเชิงที่เกี่ยวกับอันตรายและการสงคราม หน้ากากปิดปากปิดจมูกบ่งนัยถึงภาวะสงคราม โดยผ่านหน้ากากที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับหน้ากากกันแก๊สพิษและเกราะป้องกัน

หมายเหตุ : ความคล้ายคลึงกับหน้ากากดังกล่าวได้รับการสวมใส่โดย Darth Vader ในภาพยนตร์เรื่อง Star War, ซึ่งได้อาศัยสิ่งเดียวกันนี้เหมือนกันเพื่อแฝงความหมายในเชิงที่รบกวนและบ่งถึงว่าสภาพแวดล้อมนั้นไม่ปลอดภัย และผู้สวมใส่ต้องการที่จะปิดบังซ่อนเร้น หรือได้รับการปกป้อง. ถุงมือพลาสติก แฝงนัยถึงความต้องการที่จะป้องกันอันตรายจากเชื้อจุลลินทรีย์หรือเชื้อโรคต่างๆ และพวกเขายังทำให้หมอคนดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นส่วนตัวเพิ่มขึ้นด้วย. บรรดาหมอทั้งหลายสวมใส่ถุงมือ เมื่อพวกเขาต้องเกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างกับร่างกายของคนไข้ ดังนั้นในเวลาเดียวกัน ถุงมือยังบ่งชี้ถึงการคุกคามหรือรุกล้ำต่อร่างกายด้วย

เครื่องหมายหรือสิ่งบ่งชี้ต่างๆเหล่านี้ สามารถถูกคิดไปถึงความหมายเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นคุณได้ด้วย - ว่ากันที่จริง โรงพยาบาลคือสถานที่หนึ่งที่ช่วยเหลือทางด้านสุขภาพและการป้องกันรักษาอย่างมีศักยภาพ. แต่ในความสัมพันธ์กับภาพนี้ที่ปรากฏตรงหน้า เรามีแนวโน้มไปในทางความรู้สึกถึงความหมายเกี่ยวกับความไม่มั่นคงต่างๆมากกว่า เนื่องมาจากระหัสต่างๆของภาพถ่าย เช่น วิธีการที่ภาพๆนี้ได้ถูกถ่าย

เงื่อนไขต่างๆซึ่งสำคัญที่สุดในที่นี้คือ มุมกล้องและเลนส์ของกล้องถ่ายรูป. มุมกล้องดังกล่าวได้กระทำหน้าที่ของมันสองสิ่ง; นั่นคือ มันได้วางเราในฐานะผู้ดูลงในตำแหน่งที่เป็นรอง เพราะเรากำลังจ้องมองไปที่หมอคนนี้ ซึ่งมีอำนาจเหนือเรา และด้วยเหตุนี้จึงสามารถที่จะคุกคามเราได้ และมันได้วางเราลงในตำแหน่งมุมมองของคนไข้ และโดยเหตุนี้ เราจึงถูกเชื้อเชิญให้ไปสวมบทบาทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับคนไข้

หมอคนดังกล่าวกำลังมองดูตรงๆลงมาที่เรา - มือของเขากำลังกระทำบางสิ่งบางอย่างกับเรา. เลนส์ของกล้องเป็นเลนส์มุมกว้าง. มันจึงมีผลต่อการบิดเบือนภาพที่ปรากฏต่อสายตาเรา กล่าวคือ มือนั้นได้ถูกทำให้ใหญ่ขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมชาติในความสัมพันธ์กับส่วนที่เหลือของร่างกาย. ขนาดอันนี้ของภาพบ่งชี้ และเน้นถึงการคุกคามของมันที่มีต่อผู้ดู

ภาพดังกล่าวยังมีลักษณะความหมายแฝงในเชิงรบกวนมากยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก โดยผ่านขนบจารีตทางด้านภาพยนตร์. กล่าวคือ มันมีความคล้ายคลึงกับภาพต่างๆที่เราเคยเห็นในภาพถ่ายประเภทขาวดำที่น่ากลัว และภาพยนตร์ซึ่งเกี่ยวกับนวนิยายวิทยาศาสตร์. ภาพคน หรือเครื่องหมายที่เคยชินซึ่งเกิดขึ้นบ่อยๆในลักษณะเหล่านี้ มักเป็นภาพของนักวิทยาศาสตร์หรือหมอที่สติเฟื่อง(บ้าๆบอๆ)

ภาพคนในลักษณะเช่นนี้ เราสามารถพบเห็นได้ในภาพยนตร์ และวรรณกรรมยอดนิยมมานับตั้งแต่วันเวลาของเรื่อง Frankenstein ซึ่งเขียนโดย Mary Shelley และยุคหลังต่อมาอย่างเช่นเรื่อง Event Horizon และ Dead Ringers. ระหัสต่างๆของภาพถ่ายในลักษณะดังกล่าว ส่งเสริมความรู้สึกสยองขวัญ และบรรดาภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ได้ใช้ขนบจารีตในทำนองเดียวกันนี้เกี่ยวกับแสงเงาซึ่งดูเคร่งขรึม, มุมกล้องที่บิดเบือนเพื่อสร้างความรู้สึกในเชิงที่รบกวน และสร้างความไม่สบายใจขึ้นมา

อีกคำรบหนึ่ง ความหมายของภาพสามารถถูกทำความเข้าใจได้ในความสัมพันธ์กับเครื่องหมาย, นัยะแฝง, ความคุ้นชิน, ขนบจารีตที่มาประกอบเสริมของมัน และรวมถึงความรู้ทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ด้วย. มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่ว่า อันที่จริง ภาพถ่ายดังกล่าวคือภาพของ Dr. Christian Barnard ซึ่งเป็นผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ(heart-transplant)เป็นคนแรกของโลก, และคำบรรยายภาพดั้งเดิมเขียนเอาไว้ว่า"Hands that save"(มือที่มาช่วยชีวิต). อันนี้ได้ดึงความสนใจของเราไปสู่การที่คำอธิบายใต้ภาพและบริบทต่างๆของมัน ซึ่งสามารถที่จะให้ความหมายเป็นการเฉพาะต่อภาพๆนี้ได้ แต่มันยังดึงเราไปสู่หนทางที่ ภาพถ่ายภาพหนึ่งสามารถที่จะถ่ายทอดท่าทีหรือทัศนคติอันหนึ่งซึ่งมีต่อเนื้อหาเรื่องราวของมันได้ด้วย

ในกรณีนี้ ในทางที่ตรงข้ามกับคำอธิบายใต้ภาพดังกล่าวเกี่ยวกับความหวัง ภาพถ่ายดูเหมือนว่าจะสะท้อนถึงความไม่สบายใจของคนบางคน เกี่ยวกับการเปลี่ยนหัวใจในช่วงเวลานั้น(1969). การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นเรื่องซึ่งใหม่มากและยังไม่ปลอดภัยเท่าใดนัก และมีคนบางคนได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องของศีลธรรมในการกระทำดังกล่าว. ด้วยเหตุที่เราสามารถเห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างภาพๆนี้ กับ ภาพคนในนวนิยายเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง ซึ่งถูกเข้าใจว่าบ้าๆบอๆเพราะเขาหรือเธอได้ช่วงชิงอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าและธรรมชาติมานั่นเอง

คำอธิบายภาพได้ทำงานในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของสิ่งที่ Barthes เรียกว่า "anchorage"[การทอดสมอ - การยึดเหนี่ยว] (Barthes 1977; O'Sullivan et al.1994, p.13): มันเป็นการทอดสมอความหมายให้กับเรา ลดทอนความหมายอันหลากหลายที่เป็นไปได้ต่างๆลง และแสดงให้เราเห็นว่า เราจะมองภาพนี้กันอย่างไร

ภาพประกอบที่ 3.

1. ลองมองภาพนี้สัก 30 วินาที จากนั้นให้คุณลองเขียนลงไปถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งคุณสามารถจดจำได้เมื่อมองไปที่ภาพดังกล่าว
2. ให้พิจารณาดูว่า ภาพใบหน้าซึ่งคุณกำลังจ้องมองอยู่นี้เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ให้เขียนลงไปถึงสิ่งซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ในภาพที่มาให้การสนับสนุนคำตอบของคุณว่า ทำไม

แบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
ในการตอบคำถามแรก จะดึงความสนใจของคุณไปสู่วิธีการที่ภาพได้ถูกสร้างขึ้นด้วยปัจจัยสำคัญต่างๆจำนวนหนึ่ง. ปัจจัยสำคัญเหล่านี้แต่ละอย่าง, หรือ เครื่องหมาย / ตัวบ่งชี้, ได้นำพาความหมายแฝงที่หลากหลาย ซึ่งได้ช่วยสนับสนุนความหมายที่เราสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับภาพนี้

ในการอธิบายภาพประกอบที่ 3. คุณอาจจะเขียนถึง"ใบหน้าและผนังกำแพง" แต่ใบหน้าในตัวของมันเองนั้น ตามที่ปรากฏ ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากปัจจัยต่างๆมากมาย - ผมดำ, หูข้างหนึ่งซึ่งค้องตุ้มหู, ปากที่ปิดสนิท, รูปทรงของผม, ตาที่จ้องมอง, และอื่นๆ

การรับรู้เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญต่างๆเหล่านี้ ยินยอมให้เราเริ่มต้นตอบคำถามที่สองได้: ภาพใบหน้านี้เป็นภาพของผู้หญิงหรือผู้ชาย? มันไม่ใช่คำตอบง่ายๆสำหรับคำถามนี้; ภาพดังกล่าวค่อนข้างคลุมเครืออย่างน่าตรึกตรอง. บันทึกสิ่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่างๆที่ชี้บ่งลักษณะของเพศสภาพเอาไว้ อันนี้คือปฏิบัติการที่ลึกลงไปในรายละเอียดเชิงวิเคราะห์

การใช้ระบบของความต่าง สามารถทำให้เรากล่าวได้ว่า ตุ้มหูที่ปรากฏในภาพถ่ายนี้บ่งชี้ถึงเพศสภาพที่เจาะจงลงไปได้ ใช่ไหม? ตุ้มหูต่างๆ ตามขนบจารีตแล้ว ส่วนมากจะได้รับการสวมใส่โดยผู้หญิง ด้วยเหตุนี้ ตุ้มหูจึงเป็นตัวบ่งชี้อันหนึ่งของความเป็นผู้หญิง (ซึ่งในตัวอย่างนี้ มันคือตัวบอก). แต่ ปัจจุบันในหลายๆประเทศ มันเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ชายที่จะสวมใส่ตุ้มหูกัน ดังนั้น การเจาะหูจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตัวบ่งถึงความเป็นหญิงอีกต่อไป

ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะใส่ตุ้มหูเพียงแค่ข้างเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราสามารถเห็นตุ้มหูทั้งสองข้าง เราก็จะมีร่องรอยมากขึ้นเกี่ยวกับเพศสภาพ. ตุ้มหูของผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่และประณีตกว่าของพวกผู้ชาย แต่ก็อีกนั่นแหละ ผู้หญิงจะสวมใส่ตุ้มหูซึ่งมีขนาดเล็กกว่าด้วย

ลักษณะของสองแง่สองนัยที่กล่าวถึงข้างต้น ทำให้ตุ้มหูเป็นเครื่องหมายที่ออกจะคลุมเครือเกี่ยวกับเพศสภาพ. เราสามารถที่จะมองมันในฐานะที่เป็นการบ่งชี้ถึงชายหรือหญิงก็ได้. ถ้าเราสามารถระบุวันเวลาเกี่ยวกับภาพถ่ายนี้ได้ มันอาจจะให้ร่องรอยอะไรบางอย่างแก่เราได้มากขึ้น และเราสามารถที่จะกำหนดได้ว่า ตุ้มหูเป็นสิ่งบ่งชี้ ณ เวลานั้นซึ่งภาพๆนี้ได้ถูกบันทึกเอาไว้

แล้วปากในภาพถ่ายนี้สามารถบอกอะไรหรือบ่งชี้ถึงอะไรได้บ้าง? ปากปิดสนิท แต่ริมฝีปากเต็ม ซึ่งดูราวกับว่ามันได้รับการเสริมแต่งขึ้นมา. เครื่องหมายอันนี้สามารถที่จะชี้บ่งถึงอะไรได้บ้างไหมเกี่ยวกับเพศสภาพ?

ผู้หญิงในภาพถ่ายที่บันทึกรูปหน้าเต็ม โดยจารีตแล้วจะเปิดยิ้ม. อันนี้เกี่ยวพันถึงขนบจารีตของภาพถ่าย และขนบจารีตของพฤติกรรมจริงๆ. ในฐานะส่วนหนึ่งของการอบรมเลี้ยงดูมาตั้งแต่วัยเยาว์ทางเพศสภาพของบรรดาผู้หญิง, ผู้หญิงได้รับการสนับสนุนให้ยิ้มให้กับผู้คนทั้งหลายมากกว่าผู้ชาย. อันนี้ได้รับการนำไปสัมพันธ์กับ วิธีการที่ผู้หญิงได้รับการกระตุ้นส่งเสริมให้แสดงตัวของพวกเธอ ในฐานะผู้ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูและในฐานะคนที่ทำให้คนอื่นรู้สึกดีๆ

โดยลำดับ บางส่วนอันนี้ได้อธิบายข้อเท็จจริงที่ว่า ภาพตัวแทนต่างๆในภาพถ่ายเกี่ยวกับผู้หญิง ได้ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นภาพทางสายตาที่ให้ความพึงพอใจ. มันอาจจะไปเชื่อมโยงกันกับวิธีการที่ผู้หญิงได้ถูกกระตุ้นส่งเสริมในทางสังคมให้แสดงความรู้สึกต่างๆของพวกเธอออกมามากกว่าผู้ชายด้วย

โดยการปิดปากสนิท ผู้ชายได้เก็บความรู้สึกของพวกเขาเอาไว้กับตัวเอง และอันนี้อาจจะเหมาะสมกันอย่างดีกับภาพเพศสภาพของผู้ชาย ในฐานะการมีพลังอำนาจมากกว่า: เราไม่รู้ว่าพวกเขากำลังรู้สึกอะไร และโดยเหตุนี้ เราจึงไม่สามารถคาดเดาพฤติกรรมของพวกเขาได้

ผู้หญิงจำนวนมากมีการแต่งหน้าทาปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการใช้ลิปสติกค์ทั้งสีแดงและชมพูอย่างหลากหลาย แต่เด็กหนุ่มบางคนในปัจจุบันก็แต่งหน้าทาปากด้วยเช่นกัน บ่อยครั้งจะเป็นลิปสติกค์สีดำหรือน้ำเงิน. การทาริมฝีปาก โดยจารีตแล้ว เป็นเครื่องหมายที่บ่งถึงการดึงดูดทางเพศ ดังนั้น ภาพถ่ายต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิงซึ่งมีการแต่งหน้าทาปากจึงเป็นเครื่องหมายของตัวเองในฐานะที่เกี่ยวกับความงามและเรื่องเพศ

ข้อคิดเห็นเหล่านี้ชี้ถึงระหัสที่คลุมเครือเกี่ยวกับปากในฐานะเครื่องหมาย. เราสามารถอ่านมันในฐานะที่เป็นสิ่งบ่งชี้ของความเป็นผู้หญิง(ทาปาก, การปรุงแต่ง) หรือความเป็นผู้ชาย(ไม่เผยยิ้ม, ปากที่ปิด, คนที่ช่ำชองบนถนน [street-wise men หมายถึง คนที่มีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการเกี่ยวข้องกับชีวิตในเมืองสมัยใหม่] ซึ่งแต่งแต้มริมฝีปากด้วยสีดำ)

เราอาจจะมองแบบวิเคราะห์มากยิ่งขึ้นถึงการแสดงออกบนใบหน้าทั้งหมด และบันทึกถึงร่องระหว่างคิ้ว และสายตาที่จ้องมองตรงๆมายังกล้องถ่ายรูป. คิ้ว, ดวงตา, และปาก ทั้งหมดที่มารวมกันเพื่อบ่งชี้ถึงการท้าทายต่อผู้ดู

ตามขนบประเพณีแล้ว การมองในลักษณะท้าทายอันนี้ถูกทำให้สัมพันธ์กับการมองของผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงได้รับการคาดหวังที่จะดูเชื้อเชิญและไม่มีลักษณะของการคุกคาม. เราไม่ได้กล่าวว่านี่คือสิ่งที่ผู้หญิงและผู้ชายควรประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นจริงๆ และมิได้พูดว่า มันเป็นจริงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่ว่า นี่คือสิ่งซึ่งพวกเขาต้องประพฤติปฏิบัติ มากยิ่งไปกว่านั้น เรากำลังชี้ไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่า โดยจารีตหรือธรรมเนียมในการเป็นตัวแทนภาพถ่าย อันนี้คือรูปของผู้ชายและผู้หญิงในความนึกคิดที่ถูกทำเป็นเครื่องหมายของการปฏิบัติตัว

นับจากทศวรรษที่ 1990s เป็นต้นมา ภาพโฆษณาจำนวนมากและเพิ่มขึ้น ได้แสดงภาพของผู้หญิงในลักษณะที่ก้าวร้าว เป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจของพวกเธอ. แต่อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้ง ภาพเหล่านี้เป็นเพียงการนำเสนอภาพในลักษณะแฟนตาซีหรือเพ้อฝัน หรือที่เรียกว่า sado-masochistic fantasies (ลักษณะผสมกันของ sadism และ masochism): กล่าวคือ ผู้หญิงถูกใส่ระหัสหรือเครื่องหมาย ในฐานะที่เป็นเรื่องทางเพศและเรื่องความก้าวร้าวในเวลาเดียวกัน. และระหัสหรือเครื่องหมายลักษณะผสมของ sado-masochistic นี้หมายถึงนัยะแฝงทางเพศสภาพ อันเกี่ยวเนื่องกับคุณสมบัติที่แตกต่างอันหนึ่ง

เราอาจวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งคล้ายๆกันเกี่ยวกับความคลุมเครือของเรื่องผม(hair) รวมถึงเรื่องของทรงผม มองดูเครื่องหมายต่างๆอันนี้ของทั้งผู้หญิงและผู้ชาย. แต่มันมีเงื่อนไขที่สำคัญ 3 ประการในการพิจารณา เมื่อการอ่านภาพว่าภาพอันนี้ได้บ่งถึงเพศสภาพอย่างไร

1. กำเนิดของเชื้อสายเผ่าพันธุ์ของบุคคลที่แสดงออกให้เห็น. ถ้าหากว่าเรากำลังอ่านภาพของบุคคลคนนี้ว่าเป็นคนเอเชีย ความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรมและระหัสหรือเครื่องหมายต่างๆจำนวนหนึ่ง จะมาช่วยทำให้ความคลุมเครือของเพศสภาพสำหรับภาพนี้มีการแสดงออกมากขึ้น

เราใคร่จะแสดงให้เห็นว่า สำหรับคนผิวขาว และโดยสายตาของชาวยุโรป ผู้ชายชาวเอเชียบางคนปรากฏรูปออกมาในลักษณะที่คล้ายคลึงกับผู้หญิง บางส่วนเป็นเพราะว่า พวกเขามีขนบนใบหน้าและขนตามร่างกายน้อยกว่าผู้ชายผิวขาว และโดยผ่านการที่โครงสร้างของกล้ามเนื้อและกระดูกของพวกเขาที่ไม่ชัดเจนนักเป็นตัวบ่งด้วย

นอกจากนี้ มันยังมีการถอดระหัสหรือการแปลเครื่องหมายทั่วๆไปอันหนึ่งเกี่ยวกับคนเอเชียโดยชาวตะวันตก ในฐานะที่มีลักษณะของความเป็นหญิงด้วย. ดังนั้น การอ่านเหล่านี้ต่อภาพถ่ายข้างต้นในฐานะที่เป็นภาพของคนเอเชีย อาจมีความโน้มเอียงในเชิงประติทรรศน์(ขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป) ที่จะมองสิ่งบ่งชี้ต่างๆของความเป็นผู้หญิง ในฐานะเครื่องหมายชี้บ่งบอกว่า ภาพใบหน้าดังกล่าวคือภาพใบหน้าของผู้ชาย

แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่อ่านภาพนี้ว่าเป็นคนเอเชีย อาจมองในเชิงสรุปไปในทิศทางตรงข้ามก็ได้ โดยการใช้ข้อสมมุติฐานทางวัฒนธรรมและการถอดระหัสชุดหนึ่งที่ต่างไป

ผู้หญิงซึ่งไม่ใช่คนผิวขาว บ่อยทีเดียว จะไม่ลงรอยสอดคล้องไปตามความนึกคิดเกี่ยวกับความเป็นหญิงแบบวัฒนธรรมของคนขาว ซึ่งมีลักษณะผมสีบลอนด์, มีความนุ่มนวล, และรูปร่างผอมบาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกคิดว่าเป็นคุณลักษณะของผู้หญิง. ผลที่ตามมา สำหรับการอ่านต่างๆเหล่านั้นที่ว่าภาพถ่ายนี้เป็นคนเอเชีย คนที่เห็นอาจอ่านภาพนี้ว่าเป็นภาพของผู้หญิงก็ได้ ทั้งๆที่ หรืออันที่จริงแล้ว มันมีสิ่งบ่งชี้ต่างๆของความเป็นชายที่ภาพถ่ายนี้บรรจุอยู่

อันนี้อาจดูเหมือนว่าจะสับสนโดยเจตนา แต่จุดประสงค์ต้องการที่จะดึงความสนใจไปสู่ความกำกวมคลุมเครือของเครื่องหมายต่างๆ และความต้องการที่จะเข้าใจว่า เราอ่านระหัสต่างๆอันนั้นเกี่ยวกับตัวแทนภาพทางสายตากันอย่างไร และอ่านมันผ่านขนบจารีตทางวัฒนธรรมกันอย่างไร

แบบฝึกหัดเหล่านี้ ยังมีจุดประสงค์ที่จะสาธิตหรือแสดงให้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาว่า ใครคือผู้ดูด้วย. การอ่านเหล่านี้เกี่ยวกับเพศสภาพและเชื้อชาติ จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งเผ่าพันธุ์ของผู้อ่าน(the ethnic position of the readers). กลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างจะอ่านต่างกัน. เราได้โฟกัสส่วนใหญ่ลงไปที่การอ่านของชาวตะวันตก

2. ฉากหรือสิ่งแวดล้อม. อันนี้เป็นฉากกลางแจ้งบนท้องถนน ถึงแม้ว่าเราจะมองไม่ค่อยชัดว่าเป็นภาพบนท้องถนนก็ตาม แต่สิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยอิฐที่หยาบๆ มันแสดงถึงเครื่องหมาย / สิ่งบ่งชี้อันหนึ่ง ที่แฝงนัยะเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในเมืองย่านคนจนแห่งหนึ่ง

โดยธรรมเนียมแล้ว ฉากหรือสภาพแวดล้อมนี้บ่งชี้ถึงความเป็นชาย(musculinity) เพราะมันเป็นชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชนชั้นคนงานชายที่ยังหนุ่มแน่น ซึ่งถูกเข้าใจว่าสามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนในเมือง. อีกครั้ง เราไม่ได้กำลังบอกว่าอันนี้คือความจริง. มากยิ่งไปกว่านั้น เรากำลังชี้ให้เห็นว่า สมมุติฐานต่างๆเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของระหัสและความคุ้นชินต่างๆของตัวแทนเกี่ยวกับเพศสภาพ. ผลที่ตามมาในภาพถ่ายนี้ ฉากของถนนกลางแจ้งคือสิ่งบ่งชี้อันหนึ่งของความเป็นผู้ชาย มันกระตุ้นสนับสนุนการอ่านภาพที่ปรากฏนี้ในฐานะที่เป็นผู้ชาย

3. แบบฉบับของภาพถ่าย. ภาพถ่ายอันนี้คือเครื่องหมายของภาพถ่ายแบบฉับพลันของครอบครัว(family snapshot)ใช่ไหม, หรือว่ามันเป็นภาพถ่ายตัวบุคคลในเชิงศิลปะภาพหนึ่ง, ภาพข่าวภาพหนึ่ง, หรือมันเป็นภาพถ่ายแบบไหนกันแน่? ข้อเท็จจริงคือว่า ภาพๆนี้เป็นภาพถ่ายขาวดำ และใช้แสงแบบเคร่งขรึม, แฝงนัยของภาพสัจนิยมหรือความจริงแบบสารคดี แต่การกรอบภาพ, การวางท่า, และการแสดงออกบนใบหน้านำเสนอในลักษณะที่เป็นทางการ(mug shot - คำนี้หมายถึงภาพถ่ายใบหน้าบุคคลที่เป็นทางการ โดยเฉพาะภาพที่ตำรวจบันทึกภาพ - police record), มันเป็นภาพถ่ายเกี่ยวกับการตรวจสอบและควบคุม ซึ่งถูกใช้โดยตำรวจและตัวแทนรักษาความปลอดภัยต่างๆ ดังเช่น การระบุถึงตัวบุคคล. ในกรณีของเพศสภาพ อันนี้บ่งถึงความเป็นชายเพราะ อีกคำรบหนึ่ง ผู้ชายโดยความเคยชินแล้ว มักเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมและการกระทำผิดกฎหมายมากกว่าผู้หญิง

อันนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง ต่อคำถามที่ว่า"ภาพใบหน้าคนที่เรากำลังพิจารณาอยู่ เป็นภาพของผู้หญิงหรือผู้ชาย?" วัตถุซึ่งนำมาวิเคราะห์นี้ ต้องการที่จะทำให้คุณรู้ถึงความหมายที่เป็นไปได้ต่างๆ ซึ่งสามารถถูกผลิตขึ้นมาได้โดยผ่านการวิเคราะห์เครื่องหมาย / ตัวบ่งชี้ต่างๆ, ระหัสของภาพถ่าย และ ความหมายทางวัฒนธรรมของความเข้าใจ. อันนี้จะทำให้คุณมีเครื่องมือเกี่ยวกับทักษะที่จะถอดระหัสสิ่งที่ได้รับการบอกใบ้โดยสิ่งบ่งชี้ต่างๆ และทำให้คุณสามารถที่จะให้เหตุผลในรายละเอียดเพื่อสนับสนุนการค้นพบต่างๆของคุณ. ในการกระทำเช่นนั้น คุณกำลังพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ในเชิงสัญศาสตร์ของตัวเองขึ้นมา

แต่อย่างไรก็ตาม เราหวังว่าคุณยังคงสงสัยอยู่ว่า ภาพประกอบซึ่งนำมาเป็นตัวอย่างนี้ เป็นภาพใบหน้าของผู้หญิงหรือผู้ชาย. ทำไมคุณต้องการที่จะรู้? มันเป็นเรื่องซึ่งน่าสนใจที่จะครุ่นคิด ไตร่ตรองถึงคำถามดังกล่าวชั่วขณะหนึ่ง. อันนี้ชวนนึกเพราะ เราทราบว่ามันมีคำตอบหนึ่งที่ถูกต้องต่อคำถามอันนี้ เราต้องการจะรู้ว่าเราตอบผิดหรือถูก

แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น เราคิดว่าผู้คนจำนวนมาก ไม่ต้องการเผชิญหน้ากับภาพต่างๆซึ่งมีความคลุมเครือกเกี่ยวกับเพศสภาพ. พวกเขารู้สึกไม่สบายใจเท่าใดนัก กับการที่ไม่สามารถที่จะแบ่งแยกคนๆนี้ได้ว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย. ทำไมอันนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญขึ้นมา และคุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
(สำหรับข้อมูลที่คุณต้องการ ภาพนี้คือภาพถ่ายของผู้หญิงแองโกล-อินเดียนในลอนดอน ในช่วงทศวรรษ 1980s สำหรับใช้ในการวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์ อย่างที่เรากำลังทำกันอยู่)

ภาพประกอบที่ 4.

บนพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ต่างๆ ให้มาลองดูภาพประกอบที่ 4. และลองเขียนลงไปว่า คุณคิดว่าภาพที่กำลังดูอยู่นี้มีเพศอะไร และทำไมถึงเป็นเพศนั้น

การฝึกแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
ภาพแรก (ภาพประกอบที่ 4.)เป็นภาพที่กรอบมาจากภาพใหญ่ภาพหนึ่ง(เฉพาะส่วนอก). มันได้บรรจุปัจจัยหรือองค์ประกอบหลายหลาก - หัวนม, หน้าอก, ผิวขาว, เสื้อสีดำ - แต่มันก็ให้ข้อมูลที่จำกัดแก่เราด้วย. คนบางคนเห็นว่าภาพนี้เป็นภาพของผู้ชายในที่นี้; ส่วนคนอื่นอาจเห็นว่าเป็นผู้หญิง สิ่งบ่งชี้ที่สำคัญหรือเป็นกุญแจคือเต้านม และธรรมชาติที่พัฒนาครึ่งๆกลางๆของเต้านม

พัฒนาการดังกล่าวสามารถชวนคิดว่าเป็นผู้หญิง ร่วมกับเสื้อผ้าที่ทอดลงมา(เครื่องหมายความเป็นหญิง). แต่เต้านมหรือหน้าอกยังไม่ได้พัฒนาไปมากนัก ดังนั้น มันจึงไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า อันนี้คือผู้ชาย

ภาพประกอบที่ 5. ได้ให้ข้อมูลมากขึ้นแก่เรา, เครื่องหมายและลักษณะบ่งชี้เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างการอ่านในท้ายที่สุดแก่เรา. โดยภาพทั้งหมด(ภาพประกอบที่ 5.) เราอาจแยกแยะได้ง่ายขึ้นว่านี้คือภาพของผู้ชาย โดยการประกอบกันของเครื่องหมายต่างๆจำนวนหนึ่ง - การเกงขาสั้น, กรามที่แข็งแรง, แบบฉบับของร่างกาย

ถึงแม้ว่าหน้าอกหรือเต้านมอาจบ่งชี้ถึงความเป็นหญิง แต่ตำแหน่งของมือและเท้า, กล้ามเนื้อหน้าท้องที่ดูตึง, คาง, แก้ม, สไตล์ทรงผม, และการแสดงออกของใบหน้า ต่างก็เป็นตัวบ่งชี้ทั้งหมดถึงความเป็นชายมากกว่าหญิง. มันคล้ายคลึงกับดาราภาพยนตร์ Leonardo di Caprio (ภาพโฆษณานี้ได้รับการถ่ายและปรากฏขึ้นมาในปี ค.ศ. 1997) ซึ่งได้เสนอภาพของผู้ชายและความปรารถนาไปพร้อมกัน

การที่เลือกภาพประกอบที่ 4. มาสาธิต ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ภาพต่างๆได้ถูกสร้างขึ้นมาจากการรวมตัวกันของสิ่งบ่งชี้ซึ่งมีนัยสำคัญต่างๆอย่างไร. คุณสามารถที่จะทดลองกระบวนการในทำนองเดียวกันนี้ได้ โดยการค้นหาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญในภาพๆหนึ่ง และแสดงมันต่อหน้าผู้คนทั้งหลาย เพื่อดูว่าพวกเขาเหล่านั้นอ่านมันอย่างไร. ถัดจากนั้น ดูว่าพวกเขาอ่านภาพทั้งหมดที่เห็นกันอย่างไร

ภาพประกอบที่ 5.

ภาพถ่ายยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ภาพต่างๆเกี่ยวกับเพศสภาพและความเป็นเพศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรนับจากทศวรรษที่ 1990s เป็นต้นมา

ก่อนที่ผมจะพบภาพนี้เข้าโดยบังเอิญ เพื่อนคนหนึ่งได้บอกกับผมว่า เขาชอบผู้ชายคนหนึ่ง "นมของเขา ผมสามารถจับได้". ผมถูกตีและกระหน่ำโดยการเปลี่ยนย้ายตำแหน่งอันนี้ของการแสดงออกของเพศชาย ซึ่งมีต่อเพศตรงข้ามในลักษณะที่มีทัศนคติแบบตายตัวเกี่ยวกับความเป็นหญิงที่น่าปรารถนา - เต้านมใหญ่ - ไปสู่การรักร่วมเพศซึ่งปรารถนาผู้ชายด้วยกันเอง. ถัดจากนั้นก็ได้มาพบภาพๆนี้ ซึ่งดูเหมือนจะให้ภาพแบบฉบับของร่างกาย ซึ่งเพื่อนของผมจะพบว่ามันน่าสนใจมาก

ภาพดังกล่าวนำมาจาก Perth magazine, Xpress, ซึ่งนำเสนอสู่ตลาดของคนหนุ่มสาวอย่างแข็งขัน. มันคือนิตยสารรายสัปดาห์ที่แนะนำเกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ที่ป๊อปปิวล่าร์ต่างๆ, เช่น แนะนำเรื่องของภาพยนตร์, ดนตรี, แฟชั่น, และอื่นๆซึ่งเป็นเรื่องของวัยรุ่น และบรรดาผู้บริโภคของมัน ซึ่งเป็นคนที่มีความต้องการทางเพศกับเพศตรงข้ามที่มีอิทธิพลมากกว่า. ผมเสนอแนะว่า ขณะที่ภาพนี้สร้างความดึงดูดใจสำหรับผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้หญิงที่มีความรักต่างเพศ โดยเฉพาะบรรดาแฟนๆของ di Caprio, มันก็ได้ให้ความพึงพอใจกับคนที่รักร่วมเพศด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะผู้บริโภคชาวเกย์

อันนี้ได้แสดงให้เห็นว่าภาพต่างๆที่มีลักษณะตอบสนองบรรดาคนที่นิยมการรักร่วมเพศ สามารถที่จะหมุนเวียนหรือแพร่หลายอย่างง่ายดายเพียงใดในสื่อซึ่งเป็นที่นิยม ซึ่งอันนี้ควบคู่กันไปกับลูกค้าที่พวกรักต่างเพศทั่วๆไป. ในเวลาเดียวกัน ความกำกวมคลุมเครือ ซึ่งผมได้ชี้ไปยังกรณีต่างๆเกี่ยวกับภาพของหน้าอกของนายแบบผู้นี้ ได้แสดงให้เห็นว่า อัตลักษณ์ของเพศสภาพมันกำลังกลายเป็นอะไรที่เบลอๆเพิ่มขึ้น

ภาพประกอบที่ 6.

ลองเขียนคำบรรยายที่แสดงนัยะสำหรับภาพการ์ตูนนี้ (ดูภาพประกอบที่ 8.) ซึ่งอธิบายว่า ทำไมผู้หญิงคนนี้จึงถูกรูดซิบปาก. อีกทางเลือกหนึ่ง เขียนคำอธิบายหนึ่งบรรทัดสำหรับภาพการ์ตูนนี้. เพศสภาพคือจุดโฟกัสของแบบฝึกหัดนี้

แบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
นอกจากคำอธิบายต่างๆ อย่างเช่น "รูดซิบปากคุณเสีย" หรือ"ริมฝีปากฉันถูกปิด" ชนิดของคำอธิบายซึ่งผู้คนได้เขียนลงไปสำหรับภาพประกอบที่ 8. มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในสองประเภทด้วยกันคือ, ประเภทที่แสดงการต่อต้านผู้หญิง และประเภทที่ให้การสนับสนุนผู้หญิง(anti-women and pro-women).

คำอธิบายซึ่งเป็นไปในทำนองต่อต้านผู้หญิงจะผันแปรไปบนแนวทางเกี่ยวกับว่า "ผู้หญิงไม่เคยหยุดพูด, และสิ่งที่เธอพูดนั้นแทบจะไม่มีอะไรซึ่งมีค่าควรแก่การฟังเลย", "ผู้หญิงต้องถูกทำให้เงียบ", และอื่นๆ. ส่วนคำอธิบายซึ่งแสดงการสนับสนุนผู้หญิงนั้น จะผันแปรไปบนแนวทางเกี่ยวกับว่า "ผู้หญิงไม่เคยได้รับอนุญาตให้พูด", "เสียงต่างๆของผู้หญิงได้รับการปฏิเสธ". ตัวอย่างต่างๆเกี่ยวกับคำอธิบายภาพนี้ ล้วนเหมาะสมกับภาพการ์ตูนทั้งสิ้น

เราได้นำเสนอมาตั้งแต่ต้นแล้วถึงไอเดียเกี่ยวกับการอ่านแบบครอบงำหรือการอ่านแบบชื่มชอบ (prefered or dominant reading). การอ่านแบบครอบงำเป็นการอ่านที่คำนึงถึงข้อมูลในตัวมันเอง - มันถูกใส่ระหัสอย่างไร - บริบททางวัฒนธรรมของมัน และค่านิยมทางสังคมส่วนใหญ่ของผู้อ่าน. ในภาพการ์ตูนนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำอธิบายทั้งสองประเภท, "ต่อต้านผู้หญิง"และ"สนับสนุนผู้หญิง", คุณจะบอกว่ามันเป็นการอ่านแบบชื่นชอบ / ครอบงำใช่ไหม? เราเสนอว่าคำตอบต่อคำถามนี้ เป็นการอ่านแบบต่อต้านผู้หญิง ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ

1. ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับเครื่องหมายและขนบจารีตของการ์ตูนในตัวมันเอง: ภาพวาดของผู้หญิงคล้ายๆกับภาพเหล่านั้นในการ์ตูนบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่ป๊อปปิวล่าร์ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย, ภาพการ์ตูนทั้งหลายจะแสดงหรือนำเสนอผู้หญิงในฐานะภรรยาที่บ่นอุบบ่นอิบไร้สาระ(คล้ายๆไก่ที่มันร้องกุ๊กๆอยู่ตลอดเวลา), เป็นคุณแม่ที่จู้จี้ขี้บ่น, ชอบพูดจาถากถาง ค่อนแคะและหาเรื่องจับผิด, เป็นแม่บ้านที่ชอบนินทาว่าร้าย, หรือน้องสาวที่ชอบบงการ (ดังเช่นในการ์ตูน Peanuts)

ภาพลักษณ์ต่างๆนั้น ดึงมาจากทัศนคติที่ตายตัวเกี่ยวกับผู้หญิงของคนที่ชอบแบ่งแยกทางเพศที่คุ้นเคยกัน. การแสดงออกในลักษณะที่ไม่มีความสุขของเธอเป็นเรื่องเชิงลบด้วย ซึ่งตรงข้ามกับภาพสื่อส่วนใหญ่เกี่ยวกับผู้หญิง ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นคนที่ดึงดูดจิตใจ, มีความสุข, และชอบยิ้ม. สิ่งสำคัญในที่นี้คือว่า อันนี้ไปสัมพันธ์กับระหัสและขนบจารีตต่างๆที่นิยมกัน ซึ่งทำให้ทัศนะเชิงลบอันหนึ่งเกี่ยวกับผู้หญิงปรากฏขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง

2. การอ่านในเชิงวัฒนธรรมในลักษณะที่ครอบงำ / ชื่นชอบ เป็นการอ่านที่ต่อต้านผู้หญิง แม้ว่าภาพนั้นอาจมารับใช้เพื่อนำเสนอภาพผู้หญิงว่าเป็นผู้ที่ถูกทำให้เงียบก็ตาม. อันนี้เป็นเพราะการอ่านแบบชื่มชอบ เข้ากันได้หรือเหมาะสมกับไอเดียหรือความคิดที่นิยมกันเกี่ยวกับเพศสภาพ และ"สามัญสำนึก"ที่โดดเด่นของวัฒนธรรมซึ่งมีการแบ่งแยกทางเพศ, วัฒนธรรมแบบปิตาธิปไตยที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ที่ว่า ผู้หญิงไม่เคยหยุดพูดเลย. เพียงถ้าหากว่าภาพนี้ถูกวางอยู่ในบริบทของพวกเรียกร้องสิทธิสตรี(feminist), บริบทซึ่งให้การสนับสนุนผู้หญิง - ยกตัวอย่างเช่น นิตยสารของกลุ่มสิทธิสตรี - ซึ่งการอ่านแบบครอบงำจะเสนอว่า ผู้หญิงถูกปฏิเสธการมีสิทธิ์มีเสียงของเธอไป

เราไม่ได้กำลังให้การสนับสนุนการอ่านแบบพวกที่ชอบกีดกันทางเพศ หรือชอบแบ่งแยกทางเพศ. อันที่จริงเรากำลังชี้แจงว่า สมมุติฐานต่างๆเกี่ยวกับเพศสภาพ ซึ่งการอ่านในลักษณะหนึ่งที่ได้รับการวางพื้นฐาน มันเป็นลักษณะที่โดดเด่นในวัฒนธรรมของเรา ณ ช่วงขณะหนึ่ง เราใช้ภาพการ์ตูนนี้เพื่อเน้นถึงความแตกต่างระหว่างการอ่านแบบชื่นชอบหรือการอ่านแบบครอบงำ กับการอ่านในแบบอื่นๆ และเพื่อเน้นว่าบริบททางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการอ่านแบบครอบงำ / นิยมชมชอบเกี่ยวกับภาพๆหนึ่งอย่างแน่นอน

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

บทความชิ้นนี้ เป็นการฝึกฝนการอ่านภาพจากสื่อ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์ หรือ semiotic analysis
H

ภาพคนในลักษณะเช่นนี้ เราทั้งหลายสามารถพบเห็นได้ในภาพยนตร์ และวรรณกรรมยอดนิยมมานับตั้งแต่วันเวลาของเรื่อง Frankenstein ซึ่งเขียนโดย Mary Shelley และยุคหลังต่อมาอย่างเช่นเรื่อง Event Horizon และ Dead Ringers. ระหัสต่างๆของภาพถ่ายในลักษณะดังกล่าว ส่งเสริมความรู้สึกสยองขวัญ และส่วนใหญ่ของ ภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ได้ใช้ขนบจารีตในทำนองเดียวกันนี้เกี่ยวกับแสงเงาซึ่งดูเคร่งขรึม, มุมกล้องที่บิดเบือนเพื่อสร้างความรู้สึกในเชิงที่รบกวน และสร้างความไม่สบายใจขึ้น

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ถ้าหากว่าเรากำลังอ่านภาพของบุคคลคนนี้ว่าเป็นคนเอเชีย ความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรมและระหัสหรือเครื่องหมายต่างๆจำนวนหนึ่ง จะมาช่วยทำให้ความคลุมเครือของเพศสภาพสำหรับภาพนี้มีการแสดงออกมากขึ้น เราใคร่จะแสดงให้เห็นว่า สำหรับคนผิวขาว และโดยสายตาของชาวยุโรป ผู้ชายชาวเอเชียบางคนปรากฏรูปออกมาในลักษณะที่คล้ายคลึงกับผู้หญิง บางส่วนเป็นเพราะว่า พวกเขามีขนบนใบหน้าและขนตามร่างกายน้อยกว่าผู้ชายผิวขาว

ภาพต่างๆเหล่านี้เป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้รับสื่อในตะวันตก ซึ่งได้มองเห็นภาพของสิ่งเหล่านี้บนป้ายโฆษณา ในหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร และบนจอโทรทัศน์. ด้วยเหตุนี้ การอ่านภาพของพวกเราจึงขึ้นอยู่กับความรู้ทางวัฒนธรรม และมันได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างสัมพันธ์กับข้อมูลต่างๆ (ในการร่วมกันกับความหมายที่สร้างขึ้น)