เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม : ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 (ครบรอบ 3 ปี)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

สัญญศาสตร์ - Semiology
การศึกษาเรื่องเครื่องหมาย - The Study of of Signs

จากต้นฉบับของ Michael O'Shaughnessy and Jane Stadler, Media and Society:
An Introduction. Oxford University Press, 2002.
(translated and edited by Somkait Tangnamo)

แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
(บทความนี้ยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)

คำว่า Semiology ถูกรู้จักในชื่อของ Semiotics ด้วย มันเริ่มต้นในฐานะที่เป็นวิธีการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์เรื่องภาษา แต่ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์เรื่อง"ระบบเครื่องหมายต่างๆว่ามันทำงานอย่างไร"(how all sign systems work).

มันจะสำรวจถึงหลักตรรกะและระเบียบวิธีที่อยู่เบื้องหลังการสื่อสาร และแสดงให้เราเห็นว่าจะสามารถทำความเข้าใจอย่างเป็นระบบได้อย่างไร โดยผ่านวิธีการทางสัญญศาสตร์(semiotic method) รวมไปถึงสิ่งที่การสื่อสารต่างๆหมายความถึง. มันเป็นศาสตร์ที่สนใจในเรื่องของความหมาย และเอาใจใส่ในเรื่องของวิธีการต่างๆที่ความหมายได้รับการผลิตขึ้นมาและถูกส่งต่อหรือถ่ายทอด

Semiology (สัญญศาสตร์) ได้รับการนิยามในฐานะที่เป็นศาสตร์ของเรื่องเครื่องหมาย(The Science of Signs) หรือการศึกษาเรื่องเครื่องหมาย(The Study of Signs) หรือระบบเครื่องหมาย(Sign Systems). สัญญศาสตร์(Semiology)เสนอว่า การสื่อสารทั้งมวลได้วางอยู่บนรากฐานของระบบเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งทำงานโดยผ่านกฎเกณฑ์และโครงสร้างบางอย่าง

ภาษา(คำ)[language - word]เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นระบบเครื่องหมายที่มีอิทธิพลมากสุดสำหรับมนุษย์ แต่โลกของเรานี้มันเต็มไปด้วยระบบเครื่องหมายอื่นๆ - เช่น สัญญานไฟจราจร, เครื่องหมายบนท้องถนน, แถบป้ายที่คลิกไปยังที่ต่างๆบนเว็ปไซค์(navigation bars), การเรียบเรียง การตัดต่อ และแบบแผนการใช้ภาพในงานภาพยนตร์และโทรทัศน์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์, เสื้อผ้า, สไตล์ของทรงผม, สัญญานมือ, ระหัสมอซ(morse codes)ที่ใช้กับโทรเลข, และอื่นๆอีกมากมาย. รูปแบบทั้งหมดของสื่อคือระบบของเครื่องหมาย. ระบบทั้งหมดสามารถถูกนำมาวิเคราะห์ได้โดยใช้หลักการทางสัญญศาสตร์

สัญญศาสตร์(Semiology)ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงปลายของคริสตศตวรรษที่ 19 ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา. ผู้ที่สร้างมันขึ้นมาคือ Ferdinand de Saussure(Saussure 1974; Culler 1976; Gordon 1996). นับจากทศวรรษที่ 1930s เป็นต้นมา มันได้รับการพัฒนาโดย C.S.Peirce และคนอื่นๆ, โดยเฉพาะ Peirce พยายามแสวงหาเพื่อทำความเข้าใจระบบเครื่องหมายที่ไม่ใช่ภาษา(non-language sign systems)[Peirce 1958]

ระเบียบวิธีของ Saussure, Peirce และคนอื่นๆได้นำมาใช้นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960s ในฐานะที่เป็นเครื่องมือเกี่ยวกับวิเคราะห์ผลผลิตทางด้านสื่อ(media peoducts)[Fiske 1990; Hall 1997; Hawkes 1977 และ 1996]. ในหนังสือของ Roland Barthes ที่ชื่อว่า Mythologies (Barthes 1973) ถือว่าเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ "สัญญศาสตร์(Semiology)" ในช่วงต้นๆในการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสื่อ(media studies) และแม้แต่ในยุคของมันเอง ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ยังคงอ่านเข้าใจได้และเป็นตำราที่สอดคล้องกับเรื่องนี้อยู่

แบบจำลองของการสื่อสารเกี่ยวกับเครื่องหมาย สามารถทำความเข้าใจได้ตามตัวอย่างข้างล่างนี้
Sender ---------- Message / sign System --------- Receiver

สารใดๆ(message), ความหมายใดๆ(meaning), สามารถสื่อสารได้โดยผ่านเครื่องหมายต่างๆและระบบของเครื่องหมาย. เครื่องหมายถือเป็นรูปลักษณ์กลางหรือสิ่งสำคัญของสัญญศาสตร์(Semiology). เครื่องหมายอันหนึ่ง มันคือสัญญะ(signal)ที่สื่อสารบางสิ่งบางอย่างกับเรา ธรรมชาติของเครื่องหมายสามารถทำความเข้าใจได้ใน 2 ทางที่คล้ายๆกัน:

1. เครื่องหมายต่างๆทำงานบนพื้นฐานที่ว่า เครื่องหมายทำหน้าที่เป็นตัวแทนหรือยืนยันถึงบางสิ่งบางอย่าง - เช่น ความหมาย(meaning), แนวความคิด(concept), หรือไอเดีย(idea) ในสิ่งซึ่งมันอ้างอิงถึง

2. ทุกๆเครื่องหมายมันจะประกอบด้วย Signifier และ Signified (ดังภาพประกอบต่อไป) สำหรับ Signifier มันคือรูปแบบอะไรก็ตามที่ถูกนำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความหมาย(material form is used as to convey meaning): เช่น ตัวหนังสือ, ภาพ, เสียง, และอื่นๆ. ส่วน Signified คือแนวความคิด(concept)ที่ภาพ เสียง หรือตัวหนังสือสื่อออกมา

การใช้หนทางแรกในการทำความเข้าใจธรรมชาติของเครื่องหมาย เราสามารถเห็นได้ว่าตัวอักษร d-o-g ได้สร้างคำว่า dog ขึ้นมา. การสร้างตัวอักษรหรือคำๆนี้ขึ้นมา มันได้บัญญัติเครื่องหมายที่ทำหน้าที่หรือเป็นตัวแทนไอเดียเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทเคไน(canine - คล้ายสุนัข)ที่มีสี่ขา. ไอเดียหรือแนวคิดมโนคติเกี่ยวกับ"หมา"(dog) คือสิ่งที่ Peirce เรียกว่า the referent มันคือสิ่งซึ่งเครื่องหมายดังกล่าวกล่าวกำลังอ้างถึง

Sign ------------ Signifier + Signified

การใช้วิธีการที่สองในการทำความเข้าใจเครื่องหมายต่างๆ เราสามารถแสดงภาพที่แตกต่างกันระหว่าง Signifier และ Signified ได้โดย การคิดเรื่องของเครื่องหมาย"dog"กันอีกครั้ง. Signifier คือตัวอักษร d-o-g จัดมาเรียงกันเป็นคำว่า dog (หรืออันนี้เรียกว่า signifier ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวหนังสือแล้ว อาจจะเป็นภาพก็ได้ เช่นเป็นภาพของสุนัขบางสายพันธุ์). สำหรับ Signified ก็คือไอเดียหรือมโนคติ รวมไปถึงแนวความคิดเกี่ยวกับสุนัข

Sign = dog ------------ Signifier - letter d-o-g + Signified - the concept of a dog

ตัวอย่างอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นความต่างระหว่าง Signifier และ Signified คือ สถานการณ์ที่ชายคนหนึ่งได้มอบดอกกุหลาบให้กับหญิงสาวคนหนึ่ง การแสดงอาการเช่นนั้นสามารถถูกทำความเข้าใจได้ในฐานะที่เป็นเครื่องหมาย

ดอกกุหลาบในที่นี้คือ Signifier และสิ่งที่เป็น Signified คือ ความรักของผู้ชายคนนั้นหรือความดึงดูดใจหรือสนใจต่อหญิงสาว. ดอกกุหลาบไม่จำเป็นต้องแสดงออกถึงเรื่องความรักเสมอไป สิ่งซึ่งหมายถึงคือ อากัปกริยาดังกล่าว. เครื่องหมาย(sign)วางอยู่บนพื้นฐาน ระหัส หรือหลักเกณฑ์(code)ที่มีร่วมกัน หรือจารีต ซึ่งดอกกุหลาบสามารถแสดงถึง หรือ เป็นตัวแทน"ความรัก"

ดูเหมือนว่า อันนี้อาจจะเป็นหนทางที่ค่อยๆสลับซับซ้อนมากขึ้นของการทำความเข้าใจสาร(message) แต่มันเป็นประโยชน์มากสำหรับการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสื่อ เพราะมันได้ดึงความสนใจของเราไปสู่กระบวนการเกี่ยวกับ การทำหน้าที่เป็นตัวแทน(re-presentation - การนำเสนอใหม่อีกครั้ง)หรือ signification (การบ่งชี้ - การทำหน้าที่เครื่องหมาย)เกี่ยวกับการกระทำต่างๆของสื่อ: สารต่างๆที่สื่อ, เครื่องหมายของมัน, ที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของบางสิ่งบางอย่างซึ่งแสดงออกถึงบางสิ่งบางอย่าง; เครื่องหมายทั้งหมดมันรวมเอาทั้ง Signifier และ Signified เอาไว้ด้วยกัน

อันนี้ช่วยให้เราเห็นถึงโครงสร้างที่เกี่ยวพันในการส่งสารของสื่อ และเตือนเราว่าสิ่งที่เรากำลังเห็นนั้น มันไม่ใช่"ความจริง"(แม้ว่ามันจะมองดูคล้ายความจริงมากก็ตาม) แต่เครื่องหมาย(sign)และ Signifier นั้นมีเป้าหมายที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนโลกของความเป็นจริง

มันมีแง่มุมหรือรูปลักษณ์มากมายเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงสัญญศาสตร์. ในการสำรวจว่า เครื่องหมายต่างๆสื่อสารกันอย่างไร สัญญศาสตร์ทำงานอย่างไร เราจะต้องโฟกัสลงไปที่ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ ซึ่งจะถูกตรวจตราลงไปในรายละเอียดเป็นข้อๆ คือ

- เครื่องหมายต่างๆ มันสื่อสารโดยผ่าน"รหัส"(กฎเกณฑ์) และ"ขนบธรรมเนียม"(codes and conventions)
- เครื่องหมายและขนบจารีตเหล่านี้ถูกปันส่วนร่วมกันในทางวัฒนธรรม
- พวกมันขึ้นอยู่กับความรู้เชิงวัฒนธรรม
- เครื่องหมายต่างๆ มันสื่อสารโดยผ่านระบบของความแตกต่าง
- เครื่องหมายต่างๆ สื่อสารโดยผ่านตัวเครื่องหมาย(denotation) และการสื่อความหมาย(connotations)

เครื่องหมาย สื่อสารโดยผ่านระหัส(กฎเกณฑ์) และขนบธรรมเนียมต่างๆ
ระบบเครื่องหมายทั้งมวลมีชุดของแก่นแกนหรือรากฐานชุดหนึ่ง ที่ได้รับการรวมกันขึ้นมาภายใต้กฎเกณฑ์, รหัส, และขนบจารีตบางอย่าง. อย่างเช่น ภาษาอังกฤษวางอยู่บนพื้นฐานตัวอักษร 26 ตัว, ซึ่งสามารถนำมารวมกันเป็น"คำๆ"และแบบแผนทางไวยากรณ์ได้. เราต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจระหัสหรือหลักเกณท์ที่ถูกต้องดังกล่าวเพื่อที่จะสื่อสาร: ยกตัวอย่างเช่น ตัวอักษร d-o-g คือรหัสเพื่อใช้ในการอธิบายถึงสัตว์สี่ขาประเภทหนึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขน เลี้ยงลูกด้วยนม. ส่วนประโยคต่างๆได้มาประกอบกันตามขนบธรรมเนียมของไวยากรณ์

คำว่า"รหัส"(code-หลักเกณฑ์))และ"ขนบธรรมเนียม"(convention)คือคำกุญแจที่สำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับสื่อ. สารของสื่อทั้งหมดได้ใช้"รหัส"และสื่อสารโดยผ่านขนบธรรมเนียมต่างๆ

รหัสและขนบธรรมเนียมเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรามีส่วนร่วมกันในทางวัฒนธรรม - พวกมันขึ้นอยู่กับความรู้เชิงวัฒนธรรม อันนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะระบบเครื่องหมายต่างๆจะทำงานประสบความสำเร็จได้ก็แต่เพียง การที่ผู้คนทั้งหลายต่างรู้และมีส่วนร่วมปันในความรู้เกี่ยวกับรหัสในอย่างเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษารัสเซียเป็นระบบเครื่องหมายหนึ่งที่มีรหัส หรือหลักเกณฑ์และขนบจารีตของตัวมันเอง แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเรามันเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย ถ้าหากว่าเราไม่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่น หรือภาษารัสเซียได้

กฎเกณฑ์เกี่ยวกับฟุตบอลของออสเตรเลีย, สมาพันธ์กีฬารักบี้, และกีฬาฟุตบอลอังกฤษ(soccer)สามารถเป็นที่เข้าใจของพวกเราได้; ในทำนองเดียวกับกับจังหวะเต้นรำแบบแทงโก้, จังหวะวอลทซ์ และชา-ชา(cha-cha) คือจังหวะเต้นรำที่จะต้องเรียนก่อนที่พวกเราจะสนุกเพลิดเพลินไปกับมัน. กิจกรรมต่างๆเหล่านี้จะเป็นที่เข้าใจก็ต่อเมื่อเราได้เรียนรู้รหัสหรือหลักเกณฑ์ของมันแล้วเท่านั้น

ภาษาที่ต่างออกไปคือตัวอย่างหนึ่งที่ดีเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือขนบธรรมเนียมที่แตกต่าง ที่นำมาใช้เป็นตัวแทนหรือแสดงออกสำหรับโลกเรา. ตัวอักษร d-o-g คือเครื่องหมายในรหัสภาษาอังกฤษ. ฝรั่งเศสใช้ตัวอักษร c-h-i-e-n. ทุกๆภาษามีคำที่ต่างกันไป. เพื่อที่จะเข้าใจเครื่องหมายที่แตกต่างกันเหล่านี้คุณจะต้องร่ำเรียนรหัสหรือภาษานั้นๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางวัฒนธรรมคือบางสิ่งบางอย่างที่มากไปกว่าความรู้ง่ายๆธรรมดาของสิ่งที่รหัสอันนั้นหมายถึง. มันคือการรู้สึกรู้ทราบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆทั้งหมดที่อาจได้รับการเสนอแนะโดยรหัส. ประเด็นต่อมาเราจะลงลึกไปในรายละเอียดที่ประณีตซับซ้อนเกี่ยวกับเรื่องนี้

เครื่องหมายต่างๆสื่อสารโดยผ่าน"ระบบของความแตกต่าง"
สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของ Saussure ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาษาก็คือ ความเข้าใจที่ว่า คำต่างๆมันไม่ได้หมายถึงสิ่งใดเลยในตัวของมันเอง. ความหมายต่างๆของมันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า คำต่างๆคือส่วนหนึ่งของระบบของความต่างๆ(part of a system of difference): พวกมันทำหน้าที่ในเรื่องความหมายที่มีความสัมพันธ์กับคำอื่นๆ

ยกตัวอย่างเช่น "up" ไม่ได้หมายถึงอะไรเลย เว้นแต่ว่าเราสามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์ของมันกับคำและแนวคิดคำว่า "down". เราเพียงสามารถเข้าใจสิ่งที่"หมา"เป็น ในความสัมพันธ์กับความรู้ของเราเกี่ยวกับสัตว์ชนิดอื่นๆ - เช่น แมว, หมาป่า, ม้า, และอื่นๆ. จากสิ่งซึ่งเรารู้ พวกมันมีความแตกต่าง

สัญญานไฟจราจรสีแดงมันไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงในตัวมันเอง; มันจะมีความหมายก็ต่อเมื่อมันอยู่ในบริบทและรหัสของสีแดง ในฐานะที่ตรงข้ามกับไฟสีเขียวและไฟสีเหลือง เหล่านี้เราเริ่มที่จะเข้าใจหรือรู้เรื่องเกี่ยวกับมันโดยผ่านระบบหนึ่งของความแตกต่าง

เครื่องหมายต่างๆสื่อสารโดยผ่านการบ่งชี้และการสื่อความหมาย(denotations and connotations)
เครื่องหมายต่างๆนั้น มันทำงานอยู่ด้วยกัน 2 ระดับของความหมาย: นั่นคือ ระดับแรกเป็นเรื่องของความหมายบ่งชี้ และระดับที่สองคือการสื่อความหมาย

Denotation(การบ่งชี้)
ในการพิจารณาถึงสิ่งที่ตัวหนังสือมันบ่งชี้ถึงอะไร เราจะต้องวิเคราะห์มันในระดับของการอธิบายหรือพรรณา(descriptive level)โดยเฉพาะ โดยไม่ต้องค้นลงไปถึงสิ่งที่มันอาจแสดงนัยะ. มันง่ายที่จะถามคำถามขึ้นมาว่า"อะไรอยู่ที่นั่น?" อันนี้เป็นการพยายามที่จะอธิบายโดยปราศจากความคิดเห็น, การประเมินคุณค่า, หรือการตัดสินใดๆ, มันเป็นเรื่องของภาพๆหนึ่ง

ณ ระดับนี้ เครื่องหมายต่างๆใกล้เคียงกับความเป็นอิสระจากเรื่องของคุณค่าเท่าที่จะเป็นไปได้. ยกตัวอย่างเช่น ในระดับของการบ่งชี้(denotative level) "ธงชาติอเมริกันมีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยเส้นแนวนอนสีแดง สลับกับสีขาว และมีสี่เหลี่ยมที่เล็กลงมา พื้นสีเป็นสีน้ำเงินที่อยู่บนมุมซ้ายของผืนธง ภายในกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินบรรจุรูปดาวสีขาวเอาไว้ ซึ่งได้เรียงตัวกันเป็นแถวคล้ายตารางหมากรุก

Connotation(การสื่อความหมาย)
สัญญศาสตร์(semiology)เสนอว่า เครื่องหมายทั้งหมดมันจะพ่วงเอาการสื่อความหมายหรือความสัมพันธ์มากับมันด้วยชุดหนึ่ง นั่นคือ มันจะเตือนผู้ดูถึงความรู้สึก, ความเชื่อ, หรือไอเดียบางอย่าง ที่มันติดมากับ signifier. มันเป็นภารกิจของเราเมื่อต้องการวิเคราะห์ภาพต่างๆโดยวิถีทางของสัญญศาสตร์ เพื่อถามถึงความเป็นไปได้ทั้งหมดของการสื่อความหมาย(connotatuion)อันนั้นว่าเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเครื่องหมายที่เฉพาะเจาะจง หรือแก่นแกนในภาพนั้นๆ

วัตถุต่างๆ, สีสรร, เสื้อผ้า, คำพูด, สไตล์การพิมพ์, แสง, มุมกล้อง, ภาษาท่าทาง, และอื่นๆสามารถที่จะพ่วงความหมายทั้งหมดไปได้

ขอให้กลับไปยังตัวอย่างเกี่ยวกับธงชาติอเมริกันที่กล่าวไว้ข้างต้น เราสามารถหมายเหตุได้ว่า ธงชาติได้ถูกทำให้เกี่ยวข้องกับ(มีการสื่อความหมายเกี่ยวกับ) เสรีภาพ และความยุติธรรม(อย่างน้อยที่สุดสำหรับคนอเมริกันส่วนใหญ่). เราอาจหมายเหตุได้ด้วยว่า รูปดาวได้ถูกนำไปสัมพันธ์กับความดีเลิศ, ชื่อเสียง, ความโด่งดัง, สวรรค์, ความฝัน, และอื่นๆ. พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินเป็นตัวแทนของท้องฟ้า ดวงดาวแต่ละดวงเป็นสิ่งแทนรัฐแต่ละรัฐในอเมริกา และดวงดาวเหล่านี้ได้ถูกรวมเข้าด้วยกัน แทนที่มันจะกระจัดกระจายในลักษณะส่งๆไปทั่วพื้นที่บนผืนธง

วิธีการที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับการอรรถาธิบายลักษณะของการวิเคราะห์อันนี้ และวิธีการอันหนึ่ง คุณอาจพบโดยบังเอิญในที่อื่นๆที่เป็นเรื่องของสัญลักษณ์: อันนี้เสนอว่า วัตถุหรือภาพที่มีลักษณะเฉพาะต่างๆสามารถพ่วงความหมายเชิงสัญลักษณ์ไปกับมันได้. อย่างเช่น สีแดง เป็นสัญลักษณ์ของอารมณ์รุนแรง โทสะ อันตราย และเรื่องทางเพศในวัฒนธรรมตะวันตก (หมายเหตุในที่นี้ว่า สัญลักษณ์เป็นเรื่องเฉพาะทางวัฒนธรรม: ในประเทศจีน สีแดงสื่อความหมายถึงความโชคดีและความเจริญรุ่งเรือง รวมไปถึงความเป็นคอมมิวนิสม์)

ข้อสังเกตในที่นี้คือว่า อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์มีแนวโน้มที่จะเสนอแนะถึงบางสิ่งบางอย่างที่มีเจตนาโดยตั้งใจของผู้สร้างภาพนั้นๆขึ้นมา การสื่อความหมายจะดึงความสนใจของเราไปสู่การอ่าน ที่ทำขึ้นมาโดยผู้ดูทั้งหลาย และการสื่อความหมายเหล่านี้อาจได้รับการนำไปรวมเข้าด้วยกันกับผู้สร้างภาพนั้นๆขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว. Peirce ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับคำว่า"สัญลักษณ์"(symbolic) เป็นการเฉพาะมาก

การสื่อความหมาย(connotation)คือบางสิ่งบางอย่างที่ผู้ดูหรือผู้ชมรับรู้อยู่กับภาพๆหนึ่ง การสื่อความหมายนั้นมันทำงานใน 2 ระดับด้วยกัน: นั่นคือ

1. ระดับของปัจเจก และ
2. ระดับของวัฒนธรรม

สำหรับเป้าประสงค์ของเรา เราเพียงสนใจในระดับวัฒนธรรม และวิถีทางที่การสื่อความหมายช่วยให้เรามองเห็นปฏิกริยาระหว่างเครื่องหมายและคุณค่าต่างๆของวัฒนธรมหนึ่ง แต่เราต้องการที่จะทำความเข้าใจทั้งสองระดับนี้

1. การสื่อความหมายในระดับของปัจเจก (individual connotations) ประสบการณ์ต่างๆที่เรามีในชีวิต เป็นเรื่องของปัจเจกที่ได้ก่อรูปก่อร่างสร้างวิธีการมองโลกและการตอบโต้กับโลกของเราขึ้นมา อันนี้มันทำงานในแง่มุมหรือรูปการณ์ทั้งหมดเกี่ยวกับการเป็นอยู่ของเรา รวมไปถึงการโต้ตอบของเราต่อภาพด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าเด็กผู้หญิงคนหนึ่งได้ดมกลิ่นกุหลาบเป็นครั้งแรก และมันเป็นเวลาเดียวกันกับการที่เธอมีประสบการณ์ที่น่ากลัว ในกาลต่อมา กลิ่นหรือการมองเห็นภาพกุหลาบอาจจะเป็นการเตือนความทรงจำ หรือทำให้เธอรู้สึกหวาดกลัวขึ้นมาได้. การมองเห็นดอกกุหลาบอาจนำพาการสื่อความหมายส่วนตัวอันนี้ต่อเนื่องไปสำหรับเด้กผู้หญิงคนดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ การให้ดอกกุหลาบกับเด็กผู้หญิงคนนี้จึงอาจสร้างความกลัวขึ้นมามากกว่าความรู้สึกหนึ่งเกี่ยวกับความซาบซึ้งในความรัก

ขณะเดียวกัน มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของการสื่อความหมายส่วนตัว(individual connotations)อันนี้ และระมัดระวังเกี่ยวกับสิ่งข้างต้น เมื่อเราทำการวิเคราะห์เรื่องของความหมาย พวกมันจะไม่เป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในเชิงสัญญศาสตร์(semiotic analysis) เพราะว่าพวกมันไม่ได้สื่อความหมายไปตามปกติ ดังที่คนอื่นๆมีส่วนร่วม(ในความหมายนั้น)

2. การสื่อความหมายเชิงวัฒนธรรม (cultural connotations) ในระดับที่สองของการสื่อความหมาย ชี้ถึงวิธีการซึ่งวัตถุที่แตกต่างกันได้พ่วงเอาความสัมพันธ์และการสื่อความหมายไปพร้อมกันกับมันด้วย ซึ่งมันได้รับการมีส่วนร่วมกันในด้านความหมายกับผู้คนจำนวนมากในวัฒนธรรมหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ของขวัญที่เป็น"ดอกกุหลาบ"ได้รับการยอมรับในเชิงวัฒนธรรมในฐานะที่ได้นำพาการสื่อความหมายที่โรแมนติคมาด้วย

การวิเคราะห์ของ John Fisk เกี่ยวกับความหมายที่ผูกติดมากับประเด็นเรื่องของยีนส์(ผ้ายีนส์หรือการเกงยีนส์)ว่า มันมีการสื่อความหมายที่แตกต่างกัน อย่างเช่น เสรีภาพ อิสรภาพ ความเป็นหนุ่มสาว และความเท่าเทียม ซึ่งถูกนำไปสัมพันธ์เชื่อมโยงโดยกลุ่มต่างๆของผู้คนกับยีนส์(Fiske 1989, pp.1-21)

การรู้สึกรู้ทราบเกี่ยวกับการสื่อความหมายเหล่านี้จะทำให้เรารู้ถึงความหมายเชิงวัฒนธรรมในเรื่องของภาพ. การสื่อความหมายนั้นจะไม่เหมือนกันสำหรับวัฒนธรรมทั้งหมด ซึ่งอันนี้เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมมันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเราเสมอ ในการคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับบริบทของภาพๆหนึ่ง และความรู้ทางวัฒนธรรมที่ผู้ดูหรือผู้พบเห็นจะเข้าใจแตกต่างกันไป. และนอกจากนี้ การสื่อความหมายมักจะไม่ถูกรับรู้หรือมีส่วนร่วมโดยคนทุกคนในวัฒนธรรมหนึ่งด้วย แต่เท่าที่เรามองเห็น พวกมันต่างถูกปันความหมายโดยผู้คนจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญ และพวกมันจะเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์ถึงความหมายที่เป็นไปได้ของใจความทั้งหมด

เครื่องหมาย ไอคอน, อินเดคซ์, และซิมบอลลิค (Iconic, indexical, and symbolic signs)
การวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องของเครื่องหมายของ C.S. Peirce ได้นำเสนอการจัดหมวดหมู่เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยการแบ่งเครื่องหมายออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ Iconic, indexical, symbolic.

เครื่องหมายไอคอน(Iconic signs) คือเครื่องหมายที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งถึง. ภาพถ่ายหรือภาพยนตร์ทั้งหมด จัดอยู่ในจำพวก iconic เพราะว่า ภาพดังกล่าวแท้จริงแล้วมันดูเหมือนกับสิ่งที่มันอ้างอิงถึงนั่นเอง. ในทำนองเดียวกัน ภาพงานจิตรกรรมหรือแผนภาพ(diagrams)ที่ดูเหมือนกับสิ่งซึ่งมันบ่งชี้ก็จัดเป็น iconic ด้วย

เครื่องหมายอินเดคซ์(indexical signs) คือเครื่องหมายที่ชี้บ่งหรือชี้ถึงบางสิ่งบางอย่างอื่นๆ (หมายเหตุ: ดัชนีในหน้าท้ายๆของหนังสือคือสิ่งหนึ่งที่เราใช้สำหรับการชี้ ซึ่งดัชนีในหน้าหนังสือมันทำหน้าที่ให้เราย้อนกลับไปสู่หน้าที่ที่มีข้อความนั้นๆปรากฎอยู่) ยกตัวอย่างเช่น ลูกบิดประตูเป็นเครื่องหมายที่ชี้บ่งว่า ใครคนหนึ่งที่อยู่ ณ ที่นั้นต้องการที่จะเข้าไป; หรือการที่เราเห็นควันก็รู้ได้ว่ามีไฟ เป็นต้น. เทอร์โมมิเตอร์, มิเตอร์วัดความเร็ว, นาฬิกาอนาล็อค, หรือกราฟ คือตัวอย่างต่างๆที่เกี่ยวกับข้องกับดัชนี(indexes) เพราะมันเป็นตัวชี้บ่ง ชี้ถึง เพื่อบอกถึงอุณหภูมิ, ความเร็ว, เวลา, และอื่นๆนั่นเอง.

เครื่องหมายสัญลักษณ์(symbolic signs) คือเครื่องหมายที่แสดงถึงบางสิ่งบางอย่าง, แต่มันไม่ได้คล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งชี้ ตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุดก็คือภาษา ซึ่งได้ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ตัวอักษร คำต่างๆ เพื่อแสดงถึงสิ่งที่ได้รับการอธิบายหรือระบุถึง. ในทำนองเดียวกัน เครื่องหมายจราจรและเครื่องหมายทางด้านคณิตศาสตร์ ปกติแล้ว มันคือสัญลักษณ์. ประเด็นที่สำคัญในที่นี้คือว่า มันไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องมีความเชื่อมโยงกันระหว่างเครื่องหมายกับสัญลักษณ์; คำว่า signs (เครื่องหมาย) คือคำว่า arbitrary (ตามอำเภอใจ-คิดเอาเอง) ในคำพูดของ Saussure.

หนทางง่ายๆอันหนึ่งในการจดจำเรื่องเครื่องหมายที่แตกต่างกันเหล่านี้ก็คือ การหวนกับไปคิดถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ. ภาพของเครื่องพิมพ์บนแถบเครื่องมือถูกเรียกว่า icon เพราะมันมองดูเหมือนกับเครื่องพิมพ์. ส่วนเคอร์เซอร์ที่เป็นรูปลูกศรที่มันปรากฎขึ้นมาเวลาที่คุณใช้เมาส์เพื่อที่จะเรียกดูเมนูหรือเลือกไฟล์มาทำงาน หรือทำหน้าที่ต่างๆ อันที่จริงแล้ว มันกำลังบ่งชี้เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มขึ้นกับคุณ ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นเครื่องหมายดัชนี(indexical sign)

เสียงซึ่งบอกว่าคุณมี - email ใหม่ หรือเสียงบีฟที่คอมพิวเตอร์ทำขึ้น เมื่อคุณไปกดแป้นพิมพ์ผิด ก็คือ index ด้วยเช่นกัน เพราะมันทำหน้าที่กระตุ้นให้คุณไปตรวจสอบ email ใน in-box หรือช่องจดหมาย หรือบ่งชี้ว่าคุณได้ทำอะไรผิดพลาด

แป้นเกือบทุกตัวบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ของคุณจะมีสัญลักษณ์อยู่บนทุกแป้น ยกตัวอย่างเช่น เครื่องหมาย $ มิได้หมายถึงเรื่องเงิน หรือชี้บ่งว่า หน้านี้เป็นหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องของค่าเงินตราโดยเฉพาะ; มันเป็นสัญลักษณ์ง่ายๆอันหนึ่งที่เป็นตัวแทนเรื่องเงิน. ขึ้นอยู่กับบริบทของมัน, $ สามารถที่จะเป็นสัญลักษณ์ของความโลภ (ยกตัวอย่างเช่น ตัวการ์ตูนต่างๆ บ่อยครั้งมันถูกเขียนคู่กับเครื่องหมายดอลลาร์ในลูกตาของตัวการ์ตูน เมื่อการ์ตูนตัวนั้นไปปล้นธนาคาร, ค้นพบขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่, หรือไม่ก็ได้แจ็คพอท)

ลองมองไปรอบๆถึงตัวอย่างบ่งชี้ที่เป็นเครื่องหมาย iconic, indexical, และ symbolic เป็นไปได้มากที่ว่า คุณสามารถที่จะพบเห็นตัวอย่างต่างๆเกี่ยวกับเครื่องหมาย iconic และ symbolic ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆทางสังคมรายรอบตัวส่วนใหญ่

ภาษา, หรือรหัส, ของภาพทางสายตา (The Language, or code, of visual images)
เมื่อจะทำการวิเคราะห์ถึงความหมายที่ถูกสร้างขึ้นมาในงานภาพถ่ายหรือภาพนิ่งต่างๆ เราจะต้องพิจารณาถึงรหัสหรือโคด(code)ของการเป็นตัวแทนในเชิงเทคนิค(technical representation) และโคดของเนื้อหา(codes of content)

รหัสหรือหลักเกณฑ์ของการเป็นตัวแทนเชิงเทคนิค(Codes of technical representation)
เราสามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายใดๆก็ตามได้โดยการตั้งคำถามดังต่อไปนี้: ภาพนั้นได้รับการถ่ายขึ้นมาอย่างไร? (How has it been photographed) คำตอบต่อคำถามข้างต้นอาจรวมถึงปัจจัยต่างๆดังนี้: มุมกล้อง, การกรอบภาพ(cropping) การโฟกัส ใช้ฟิล์มขาวดำหรือฟิล์มสี การจัดแสงเป็นอย่างไร. ทั้งหมดเหล่านี้จะให้การสนับสนุนถึงความหมายของภาพดังกล่าว

เราสามารถจ้องมองลงไปที่สิ่งเหล่านี้ทีละอย่าง และตั้งคำถามถึงสิ่งที่ได้รับการชี้แนะหรือแสดงถึง(denoted) และสิ่งที่ได้รับการสื่อความหมาย(connoted) ยกตัวอย่างเช่น มุมกล้องที่มีลักษณะเฉพาะจะมีการสื่อความหมายบางอย่างออกมา

รหัสหรือหลักเกณฑ์ของเนื้อหา(Codes of content)
เราสามารถวิเคราะห์ภาพต่างๆได้โดยถามคำถามดังต่อไปนี้: อะไรที่ถูกถ่าย? (what has been photographed?) ซึ่งคำตอบต่อคำถามดังกล่าวอาจรวมประเด็นหรือปัจจัยต่างๆดังนี้: วัตถุต่างๆ, ฉากหรือสถานที่, เสื้อผ้า/เครื่องแต่งกาย, ภาษาท่าทาง(body language), ตำแหน่งของร่างกาย, และสีสรร. ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ช่วยสนับสนุนถึงความหมายของภาพ ดังที่มันบ่งชี้และสื่อความหมายถึงบางสิ่งบางอย่าง

หลักเกณฑ์หรือรหัสทั้งสองข้อข้างต้นเกี่ยวกับภาพตัวแทนในเชิงเทคนิค(codes of technical representation) และหลักเกณฑ์หรือรหัสเกี่ยวกับเนื้อหา(codes of content)ต้องการการพิจารณา เมื่อต้องกระทำการวิเคราะห์ออกมาเป็นใจความเรื่องราว(textual analysis)เกี่ยวกับภาพต่างๆ. เราจะต้องถามว่า ปัจจัยเหล่านี้ในแต่ละอย่างมันให้การสนับสนุนอย่างไร, ในฐานที่เป็น signs หรือ signifier, ต่อความหมายเกี่ยวกับใจความ(เรื่องราว)

มันยังมีเรื่องของสัญญศาสตร์อื่นๆอีกมาก และคุณสามารถสำรวจเรื่องพวกนี้ได้โดยผ่านการอ่านเพิ่มเติมในที่ต่างๆมากขึ้น แต่ข้อมูลที่ให้มาข้างต้นทั้งหมดตามที่วางเอาไว้เป็นข้อๆ จะช่วยคุณได้มากพอที่จะเริ่มต้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ภาพต่างๆอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เข้าใจถึงข้อใหญ่ใจความหรือเรื่องราวต่างๆที่ภาพทั้งหลายนำเสนอ

หมายเหตุ: ข้อมูลต้นฉบับที่นำมาแปลนี้ผิดพลาดบางอย่าง ดังคำชี้แจงของ Dr. Rebecca Zorach ซึ่งส่ง mail มาถึงดังนี้...

For your translation, please note that in the Semiology chapter they make a mistake about the approximate date of C.S. Peirce's work; he was a contemporary of Saussure, who died around the same time, NOT someone who worked "From the 1930s onwards"!!!

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

Semiology - the science of sign
ภาพประกอบดัดแปลง เพื่อใช้ประกอบบทความเรื่อง Semiology : การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเครื่องหมาย (การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญศาสตร์แบบง่ายๆ) แปลและเรียบเรียงเพื่อประกอบการบรรยาย กระบวนวิชา แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนครั้งแรก 19 กรกฎาคม.2546)

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 289 หัวเรื่อง "Semiology : การศึกษาเรื่องเครื่องหมาย" แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม อาจารย์ประจำ สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

190746
release date
R
relate topic
หากประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลงมา จะแก้ปัญหาการทับซ้อนต่างๆได้
Semiology is defined as the study of signs and sign systems.
Semiology originated at the end of the nineteenth century. Its founder was Ferdinand de Saussure
All signs carry with them a set of connotations: they will remind the viewer of certain feelings, beliefs or ideas that are attached to the signifier
รหัสที่เห็นในภาพนี้ เป็นสิ่งที่เรามีส่วนร่วมกันในทางวัฒนธรรม - พวกมันขึ้นอยู่กับความรู้เชิงวัฒนธรรม เพราะระบบเครื่องหมายต่างๆจะทำงานประสบความสำเร็จได้ก็แต่เพียง การที่ผู้คนทั้งหลายต่างรู้และมีส่วนร่วมปันในความรู้เกี่ยวกับรหัสในอย่างเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ภาษาญี่ปุ่น เป็นระบบเครื่องหมายหนึ่งที่มีรหัสหรือหลักเกณฑ์และขนบจารีตของตัวมันเอง แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเรามันเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย ถ้าหากว่าเราไม่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้
ภาษาที่ต่างออกไปคือตัวอย่างหนึ่งที่ดีเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือขนบธรรมเนียมที่แตกต่าง ที่นำมาใช้เป็นตัวแทนหรือแสดงออกสำหรับโลกเรา (ข้อความที่ตัดมาบางส่วนจากบทความ)
เครื่องหมายสัญลักษณ์(symbolic signs) คือเครื่องหมายที่แสดงถึงบางสิ่งบางอย่าง, แต่มันไม่ได้คล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งชี้ ตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุดก็คือภาษา ซึ่งได้ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ตัวอักษร คำต่างๆ เพื่อแสดงถึงสิ่งที่ได้รับการอธิบายหรือระบุถึง
ในทำนองเดียวกัน เครื่องหมายจราจรและเครื่องหมายทางด้านคณิตศาสตร์ ปกติแล้ว มันคือสัญลักษณ์. ประเด็นที่สำคัญในที่นี้คือว่า มันไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องมีความเชื่อมโยงกันระหว่างเครื่องหมายกับสัญลักษณ์; คำว่า signs (เครื่องหมาย) คือคำว่า arbitrary (ตามอำเภอใจ) ในคำพูดของ Saussure.
(ข้อความที่ตัดมาบางส่วนจากบทความ)

เครื่องหมายไอคอน(Iconic signs) คือเครื่องหมายที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งถึง. ภาพถ่ายหรือภาพยนตร์ทั้งหมด จัดอยู่ในจำพวก iconic เพราะว่า ภาพดังกล่าวแท้จริงแล้วมันดูเหมือนกับสิ่งที่มันอ้างอิงถึงนั่นเอง. ในทำนองเดียวกัน ภาพงานจิตรกรรมหรือแผนภาพ(diagrams)ที่ดูเหมือนกับสิ่งซึ่งมันบ่งชี้ก็จัดเป็น iconic ด้วย

เครื่องหมายอินเดคซ์(indexical signs) คือเครื่องหมายที่ชี้บ่งหรือชี้ถึงบางสิ่งบางอย่างอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ลูกบิดประตูเป็นเครื่องหมายที่ชี้บ่งว่า ใครคนหนึ่งที่อยู่ ณ ที่นั้นต้องการที่จะเข้าไป; หรือการที่เราเห็นควันก็รู้ได้ว่ามีไฟ เป็นต้น. เทอร์โมมิเตอร์, มิเตอร์วัดความเร็ว, นาฬิกาอนาล็อค, หรือกราฟ คือตัวอย่างต่างๆที่เกี่ยวกับข้องกับดัชนี(indexes) เพราะมันเป็นตัวชี้บ่ง ชี้ถึง เพื่อบอกถึงอุณหภูมิ, ความเร็ว, เวลา, และอื่นๆนั่นเอง

N
next
next