กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน ในโลกปัจจุบัน
เราอยู่ในสังคมที่ แต่โลกที่แท้จริงนั้นมีอยู่ด้วยกันสามมิติ |
(รายการโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
กำเนิดของรายการทีทรรศน์ท้องถิ่น ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนนั้น, แรกเริ่มทีเดียว เกิดขึ้นมาจาก การปรารภของอาจารย์สมเกียรติ ต่อการทำงานหนักของ ทพ. อุทัยวรรณ กาญจนกามล ด้วยการออกไปพบปะกับชาวบ้าน ตามชนบท ในทุกๆสัปดาห์ เพื่อกระตุ้นชาวบ้านให้เชื่อมั่นในอำนาจของประชาชน ในการผลิกผันเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรณรงค์เพื่อฟื้นฟูอำนาจท้องถิ่น (ครท.) โดยการเสนอให้ทำรายการวิทยุเพื่อเผยแพร่สู่ชนบท แทนการออกไปเคลื่อนไหว ให้กับชาวบ้านทีละกลุ่ม 30-40 คน. การมีรายการวิทยุของ ครท.นั้น จะช่วยทำให้การออกภาคสนาม(ซึ่งจำเป็นต้องมี) ลดความถี่ลง และกระจายความคิดไปได้กว้างไกลกว่า
การปรารภเรื่องนี้
ได้พูดคุยกันในระหว่างร่วมโต๊ะรับประทานอาหาร กับคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่บ้านของอาจารย์วัลลภ
แม่นยำ, ซึ่งมีอาจารย์นิธิอยู่ด้วย. อาจารย์นิธิจึงเสนอให้ทำเป็นรายการโทรทัศน์ท้องถิ่น
ขึ้นเพื่อสนองแนวทางอันนี้ แต่เวลานั้น ไม่มีใครกล้ารับปากว่าจะทำ เพราะทุกคนไม่เคยทำสื่อโทรทัศน์มาก่อน
แม้แต่หมออุทัยวรรณเอง เท่าที่จำได้ก็แบ่งรับแบ่งสู้. ดังนั้น อาจารย์นิธิจึงเสนอให้อาจารย์สมเกียรติ
รับงานนี้ไปทำ โดยที่อาจารยนิธิเองจะติดต่อคุณหญิงสุพรัตรา มาศดิสให้
(ซึ่งดูแลกรมประชาสัมพันธ์อยู่)
ในเวลานั้น ได้ตกลงกันว่า จะทำออกมาในรูปรายการเชิงสารคดี, ปัญหาต่อมาก็คือ ใครจะเป็นคนเขียนสคริปท์ และเรื่องแรกที่จะทำ คิดกันว่าจะทำเรื่อง"ปัญหาขยะของคนเชียงใหม่" แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายอาทิตย์ ปัญหาก็เริ่มตามมาอีกเป็นระลอกๆ
เริ่มต้นจาก การได้รับอนุมัติให้ทำรายการทีทรรศน์ท้องถิ่นได้ เดือนละ 1 ครั้ง โดยให้ทางสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จ.ลำปาง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจัดทำรายการนี้เพื่อคนท้องถิ่น. เราจึงไปประชุมกับทางลำปาง และต้องพบกับเงื่อนไขหลายอย่างเกี่ยวกับเวลาการบันทึกเทป และการถ่ายทอดสัญญาน ที่ต้องใช้วิธีก๊อปปี้เทปส่งไปยังศูนย์ข่าวต่างๆของภาคเหนือ ทำให้เกิดความไม่สะดวก
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนจากรายการสารคดีไปเป็นรายการที่ออกมาในรูปของ"การสนทนาทางโทรทัศน์แทน" ซึ่งใช้เวลาสั้นที่สุดในการผลิตเพียงวันเดียว. ส่วนเรื่องการถ่ายทอดสัญญาน ก็ให้ส่งเทปไปที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรุงเทพฯ เพื่อยิงสัญญานดาวเทียม เพื่อให้มีการถ่ายทอดได้ทั่วทั้งประเทศ. ทั้งหมดเท่าทีเห็นและเป็นมา นับจากเริ่มต้นรายการทีทรรศน์ท้องถิ่นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 41 จนถึงทุกวันนี้ จึงเป็นไปอย่างที่เห็น
รายการทีทรรศน์จากจุดเริ่มต้น โดยแนวคิดซึ่งต้องการผลิตสื่อเพื่อให้เข้าถึงคนท้องถิ่น จึงเปลี่ยนไปเป็นการส่งสารจากคนท้องถิ่น ให้คนทั้งประเทศได้รับรู้ปัญหาและมุมมองของชาวบ้าน ซึ่งมีต่อปัญหาของตนเองและปัญหาของประเทศแทน ดังคำชี้แจงที่เป็นทางการต่อไปนี้
แนวคิดรายการทีทรรศน์ท้องถิ่น
เนื่องมาจากปัญหาและมุมมองต่างๆของคนท้องถิ่นเท่าที่ผ่านมา
มักจะถูกละเลยจากสื่อส่วนกลางเสมอ หรือ หากใน บางประเด็นปัญหา และมุมมองของคนท้องถิ่น
ที่ได้รับความสนใจโดยทั่วไปจากสื่อส่วนกลางขึ้นมา ก็จะมีการการนำเสนอปัญหาและมุมมองนั้นด้วยเวลาเพียงสั้นๆ
และกระทำได้เพียงในระดับผิวเผินเท่านั้น
ดังนั้น เสียงของคนท้องถิ่น แม้จะพูด ก็ไม่มีใครได้ยิน หรือหากได้ยินก็สื่อความเข้าใจไม่ได้ เหตุดังนั้น มุมมองของชาวบ้านต่อปัญหาของตนจึงไม่ได้รับการแก้ไข และกระจายได้กว่างไกล ทำให้ปัญหาต่างๆหมักหมม จมอยู่ในความทุกข์ยาก และข้อคิดเห็นต่างๆก็ไม่ได้ถูกรับฟัง คนท้องถิ่นจึงถูกทิ้งขว้างมาโดยตลอด.
ด้วยเหตุนี้ รายการ "ทีทรรศน์ท้องถิ่น" จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนปากเสียง ของชาวบ้าน ในการสะท้อนปัญหาของตนเอง และกว้างออกไปนำเสนอมุมมองต่างๆของท้องถิ่นต่อปัญหาของสังคมในวงกว้าง ในประเด็นสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดลำปาง ได้ร่วมมือกันจัดทำรายการ ทีทรรศน์ท้องถิ่นขึ้นมา ซึ่งถือเป็นรายการโทรทัศน์ ์ท้องถิ่นแห่งแรก ที่จัดทำขึ้น โดย คนท้องถิ่นในรูปแบบรายการสนทนา เจาะลึก ถึงปัญหาและมุมมองของ ชาวบ้าน โดยนักวิชาการ และชาวบ้าน เพื่อสะท้อนถึง ท่าทีของคนท้องถิ่นต่อปัญหาต่างๆของสังคม ทั้งนี้โดยเป็นไปตามบทบัญญติแห่ง มาตร 40 แห่งรัฐธรรมนูญ(ฉบับประชาชน).
รายการทีทรรศน์ท้องถิ่น จะการถ่ายทอดรายการในทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 12.05-13.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เป็นประจำ เพื่อให้ผู้สนใจในเสียงของคนท้องถิ่นได้รับชมกัน
หลังจากการดำเนินการมาถึงขั้นที่สามารถจะผลิตรายการทีทรรศน์ท้องถิ่นได้แล้ว อาจารย์นิธิ ได้คิดคำขึ้นต้นรายการให้ว่า "ท้องถิ่นมอง ท้องถิ่นคิด ท้องถิ่นพูด แต่ท้องถิ่นไม่มีเสียง". ซึ่งคำขึ้นต้นนี้ได้นำมาใส่ที่ต้นรายการในทุกๆตอน.
นอกจากนี้บทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ อาจารย์รับเป็นที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับรายการทีทรรศน์ท้องถิ่น ด้วยการช่วยคิดหัวเรื่อง ตั้งประเด็นคำถาม และเสนอความคิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นออกมาในมุมมองที่แตกต่าง และสะท้อนถึงปัญหาของคนท้องถิ่นได้อย่างถึงแก่น รวมไปจนกระทั่งถึงช่วยเชิญวิทยากร และบอกคนใกล้ชิดให้มาร่วมกันสนับสนุนรายการในรูปต่างๆ
การทำงานของทีมงานทีทรรศน์ท้องถิ่นเท่าที่ผ่านมา ปัญหาสำคัญอยู่ที่ การติดต่อคน การหาทุนสนับสนุนเท่าที่จำเป็น และการประสานงานกับฝ่ายผลิต ทุกคนต่างร่วมแรงร่วมใจกันมาทำด้วยความเสียสละ แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคนานัปการ เช่น วิทยากรปฏิเสธ หรือได้บอกเลิกกระทันหัน บางครั้งก็ติดตันกับระบบราชการ ปัญหาความน้อยใจ เรียกได้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นสารพัด. อาจารย์นิธิก็ได้ช่วยเข้ามาประสาน ไกล่เกลี่ย และทำให้รายการทีทรรศน์ฯเป็นไปได้ด้วยความเอาใจใส่อย่างจริงจัง และเสียสละเวลาส่วนตัวให้ทีมงานได้เข้าพบได้เสมอ
บางครั้ง หากวิทยากรขาดกระทันหัน อาจารย์ก็เสียสละมาเป็นวิทยากรแทน เพื่อให้รายการดำเนินต่อไปได้ ทั้งๆที่อาจารย์เป็นคนที่ปฏิเสธสื่อประเภทนี้มาโดยตลอด อาจารย์เคยบอกกับทีมงานว่า "ผมเป็นนักเขียน ไม่ใช่นักพูด สิ่งที่ผมเสนอผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ก็เป็นการเพียงพอแล้ว" ดังนั้น จึงไม่ใคร่มีใครเห็นอาจารย์นิธิออกทีวีบ่อยนัก.
มีคราวหนึ่ง อาจารย์ชัชวาลได้เชิญอาจารย์ไปออกรายการโทรทัศน์ที่ช่อง 9 อสมท. ในรายการครบรอบ 30 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยร่วมสนทนาแสดงความคิดเห็นกับ คุณแสงชัย สุนทรวัฒน์ อาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ โดยมีอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นพิธีกรในรายการ"ขอคิดด้วยคน" ตอน "คนไทยในยุคข่าวสารข้อมูล". ซึ่งรายการดังกล่าวต้องมีการแต่งหน้าก่อนออกทีวี. อาจารย์ชัชวาลถึงกับเจ็บปวดปนความรู้สึกซาบซึ้งอย่างลึกล้ำ ที่ทำให้อาจารย์ต้องมาทนนั่งให้ช่างแต่งหน้า. หลังจากอาจารย์กลับมาเชียงใหม่ อาจารย์ชัชวาลจึงได้นำพาน ดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาอาจารย์
ย้อนกลับมายังรายการทีทรรศน์ท้องถิ่น เท่าที่ผ่านมาเป็นเวลา 2 ปีกว่าแล้วนั้น มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ร่วมผลิตรายการทีทรรศน์ฯ ออกมาแล้วในตอนต่างๆดังนี้ 3.1
อำนาจสื่อท้องถิ่น (วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2541) เริ่มต้นออกอากาศเป็นครั้งแรก วิทยากรในรายการ / นิธิ เอียวศีรวงศ์ / สุรพล ตันสุวรรณ / ชัชวาล ทองดีเลิศ /อ.ไพสิฐ พาณิชยกุล / สมเกียรติ ตั้งนโม (พิธีกร)
3.2 โรงเรียนตายแล้ว (วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2541) วิทยากรในรายการ
(แบ่งออกเป็น 2 ช่วง)
3.3 ทุนบ้านนอก (วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2541)
วิทยากรในรายการ (แบ่งออกเป็น 2 ช่วง) 3.4
ความตายในภูมิปัญญาล้านนา (วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม 2542)
ในเวลาเดียวกัน ศาสตร์และภูมิปัญญาของ คนเอเชีย ในสมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา กลับมองความตายอย่างเข้าใจ และอาจหาญ พร้อมที่จะเผชิญ หน้ากับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างมีเกียรติ สิ่งต่างๆเหล่านี้ดำรงอยู่ในรูปของขนบประเพณี และท่าทีที่มีต่อเรื่องดังกล่าวอย่างองอาจและยอมรับ รวมถึงระบบการจัดการ เกี่ยวกับเหตุการณ์เช่นนี้ของชีวิตได้ อย่างสง่างาม วิทยากรในรายการ พ่อหมอบุญชู จันทรบุตร / ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ / คุณโปร่งนภา อัครชิโนเรศ / ศ.นพ.เฉลียว ปิยะชน / คุณสนั่น ธรรมธิ / ดร.ชยันต์ วรรธนะภูต สรุป 3.5
ผู้หญิงล้านนาในสื่อ (วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542)
วิทยากรในรายการ อ.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ / อ.นงเยาว์ เนาวรัตน์ / แม่ทองดี / ตัวแทนผู้หญิงจาก เอ็มเพาเวอร์ /อ.วารุณี ภูริสินสิทธิ์ (พิธีกร)
3.6 คนชายขอบ (วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม 2542) วิทยากรในรายการ ดร. อานันท์ กาญจนพันธ์ / คุณพรรณงาม สมณา / หมอโกมาตร์ จึงเสถียรทรัพย์ / คุณสมชัย ศิริชัย / คุณสวิง ตันอุด / ดร.ประมวล เพ็งจันท์(พิธีกร)
3.7 วิทยาศาสตร์บ้านนอก (วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2542)
วิทยาศาสตร์บ้านนอก ถูกทำให้ไร้คุณค่าทางเศรษฐกิจ เพราะมิใช่วิทยาศาสตร์เพื่อทำเงิน วิทยาศาสตร์บ้านนอกไม่ผูกขาดและเบียดเบียน มีคุณค่าของชีวิตและกลมกลืนกับธรรมชาติ เพื่อที่จะเผชิญหน้ากับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษหน้า สังคมไทยควรมีทางเลือกกับตัวเองหรือไม่ "วิทยาศาสตร์บ้านนอก" พร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเองเสมอ ถ้าสังคมให้โอกาส ศาสตร์ที่ควรพ้นสมัยหมดจากความสนใจของมนุษย์ ย่อมจะได้แก่ศาสตร์ที่เกิดจากความคิดเบียดเบียน แข่งขัน แย่งชิง เอาเปรียบมนุษย์และธรรมชาติ. โลกได้ใช้กรอบความคิดแบบวิทยาศาสตร์ตะวันตกมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ ซึ่งเพียงพอที่จะตระหนักว่า มนุษย์ชาติควรมีทางเลือกใหม่ เพื่อให้ศาสตร์ทำหน้าที่รับใช้มนุษย์ นำพามนุษย์ไปสู่ความดีงาม มิใช่ตกเป็นทาสรับใช้ศาสตร์โดยไม่คำนึงว่า สิ่งทั้งหลายจะเป็นอยู่อย่างไร ? "วิทยาศาสตร์บ้านนอก"เป็นทางเลือกที่จะนำพาสังคมไทยไปสู่จุดหมายนั้นได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องแสวงหาทางออกต่อไป. วิทยากรในรายการ อ.ชัชวาล ปุญปัน /อ.พานี ศิริสะอาด /คุณนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว /สนั่น ธรรมธิ / ทพ. อุทัยวรรณ กาญจนกามล (พิธิกร) 3.8
ผี (วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2542) สำหรับ"ผี"ที่รายการตอนนี้ที่มุ่งนำเสนอ เป็น"ผี"ในความหมายสำหรับชุมชน เป็นเสมือนศาสนา และหลักจริยธรรมของสังคม เป็นครรลองแห่งการเคารพนับถือ และสนองประโยชน์ชุมชน ผีในลักษณะเช่นนี้จึงมิใช่เป็นของปัจเจกบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นของสังคมร่วมกันซึ่งยึดถือ และให้ความเคารพ ปัจจุบัน เพราะเหตุใด"ผี"ในความหมายอย่างหลังจึงเกือบจะไม่เป็นที่เข้าใจกันอีกแล้ว และทำไมเราต้องมาทำความเข้าใจกับคำๆนี้กันอีกครั้ง วิทยากรในรายการ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ / รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม / อ.เรณู วิชาศิลป์ / แม่จันทร์สม สายธารา / อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล (พิธีกร)
3.9 การศึกษาทางเลือก (วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2542)
รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนก็ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาเช่นกัน การศึกษาทางเลือกในหลายๆรูปแบบเหล่านี้จึงถูกเสนอและเปิดกว้างออกมาสู่สังคมไทย การศึกษาในระบบหรือการศึกษาที่เป็นทางการในปัจจุบัน เน้นให้คนที่จบการศึกษาแล้วมุ่งไปรับใช้เอกชน ราชการ รัฐวิสาหกิจ และอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยไม่มองการศึกษาในมิติอื่นๆนอกจากเพื่อการประกอบอาชีพเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ บุคคลซึ่งจบการศึกษาจึงวัดความสำเร็จของระบบด้วยการมีงานทำ มากกว่าที่จะมีความรู้ จะด้วยความตั้งใจอย่างจริงใจหรืออย่างไม่รู้ตัวก็ตาม การศึกษาในระบบได้ทำให้คนในชนชั้นต่างๆ ปรับตัวมาเป็นชนชั้นกลางและชนชั้นสูงของสังคมอยู่ตลอดมา จากการปรับไปสู่ฐานะของการเป็นชนชั้นกลางดังกล่าว ทำให้มองปัญหาของสังคมไม่รอบด้าน คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง และมุ่งผลิตสิ่งอุปโภคและบริโภครับใช้กลุ่มของตน และสิ่งที่การศึกษาในระบบกระทำสำเร็จอันเป็นผลผลิตในเชิงวัตถุก็คือ ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่รับใช้ชนชั้นกลางและชนชั้นสูงมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนอวัยวะ การพัฒนาสื่อที่กว้างไกล เช่น โทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ท หรือศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ที่เป็นเรื่องของชนชั้นกลางและชนชั้นสูงอยู่ตลอดเวลา กล่าวโดยสรุป การศึกษาในระบบเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนน้อยของประเทศ โดยละเลยปัญหาของคนส่วนใหญ่ หรือปัญหาของคนจน หรือคนท้องถิ่นที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาจากระบบการศึกษานี้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนซึ่งเป็นรูปธรรมก็คือ สิ่งอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นไปในด้านงานอาชีพ การเดินทาง หรือความบันเทิงของชนชั้นล่าง ล้วนผลิตขึ้นมาภายนอกรั้วมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาเกือบทั้งหมด โดยนักประดิษฐ์ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการ เช่น ควายเหล็ก รถอีแต๊น เรือหางยาว รถตุ๊กๆ รถเก็บขยะเล็กๆตามซอย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อบุคคลที่มีรายได้น้อยเป็นจำนวนมาก จากความล้มเหลวข้างต้นซึ่งได้เสนอภาพออกมาในบ้างด้านนี้ ทีทรรศน์ท้องถิ่นจึงต้องการที่จะนำเสนอการศึกษาที่เป็นทางเลือกอื่นๆ อันเป็นไปเพื่อคนส่วนใหญ่หรือคนจนของประเทศ และมิติอันหลากหลายในความหมายของการศึกษาที่กว้างขวาง และได้มีการศึกษากันอยู่จริงในสังคมไทย วิทยากรในรายการ อ.พิภพ ธงไชย /นพ. พร พันธุ์โอสถ /อ้ายพัฒน์ ตัวแทนชาวบ้าน อ.แม่ทา จ.เชียงใหม่ /ภาสกร กันเดช / อุทิศ อติมานะ / ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ : (พิธีกร)
3.10 ธุรกิจข้างถนน (วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2543) นอกจากนี้ชนชั้นกลางในเมือง ยังรู้สึกว่าคนพวกนี้ได้สร้างปัญหาในเรื่องการใช้ที่สาธารณะ การทำให้บ้านเมืองสกปรก และการทำลายสุนทรียภาพของเมือง ถึงเวลาแล้วที่เราต้องใคร่ครวญปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจคนเล็กคนน้อยพวกนี้ของสังคมกันอย่างจริงจัง เพื่อตรวจตราดูถึงมิติต่างๆของวิถีความเป็นอยู่ของคนจนบนถนนว่า พวกเขาเป็นอยู่กันอย่างไร และพวกเขาเสียเปรียบคนอื่นอย่างไร ? นักธุรกิจข้างถนน ในฐานะที่เป็นผู้จ่ายภาษีทางอ้อมเวลาที่ซื้อสบู่ ยาสีฟัน และอื่นๆ เหมือนและเท่ากันกับเศรษฐีของประเทศไทยทุกๆคน รัฐได้ตอบแทนการชำระภาษีของพวกเขาไปในการพัฒนา และอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับคนกลุ่มอื่นของสังคมหรือไม่ อย่างไร ? ด้วยนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในแบบทุนนิยมตะวันตก ซึ่งผิดไปจากมาตรฐาน จึงทำให้สังคมไม่อาจที่จะดูดซับแรงงาน เหล่านี้เข้าไปในระบบเศรษฐกิจได้ทั้งหมด ดังนั้น ธุรกิจข้างถนนจึงเป็นสิ่งตกค้างทางประวัติศาสตร์ของการพัฒนาฯในสังคมของเรา กลายเป็นวิถีชีวิตของคนจนเมือง จนกระทั่งทุกวันนี้ หากจะโทษพวกเขาที่อยู่ริมถนนกันแล้ว ขอให้เรามองย้อนกลับไปยังแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้แย่งชิงทรัพยากรไปจากพวกเขามาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่ถูกเลือกให้เสียเปรียบมาตั้งแต่อยู่ในแผ่นกระดาษ. และเรายังจะปล้นศักดิ์ศรีของความเป็นคนอันเป็นสิ่งสุดท้ายของเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปจากเขาอีกหรือ ? วิทยากรในรายการ ศ.อคิน รพีพัฒน์ / รศ. เบญจา จิรภัทรพิมล / อ.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ / คุณจำนงค์ จิตรนิรัตน์. / ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ (พิธีกร) (หมายเหตุ : เนื่องจากรายการทีทรรศน์ท้องถิ่นตอนนี้ มีการดูดเสียงคำที่ทางช่อง 11 คิดว่าไม่สุภาพ โดยไม่มีการปรึกษากับทีมงานผู้ผลิตร่วม คือ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กับ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จ.ลำปาง จึงได้มีการทำจดหมายถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ดังนี้ :)
รายการทีทรรศน์ท้องถิ่น ทีมงานมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน(คณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
เรื่องขอความร่วมมือในการออกอากาศรายการทีทรรศน์ท้องถิ่น
เนื่องจากรายการทีทรรศน์ท้องถิ่นตอน"ธุรกิจข้างถนน"ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ที่ผ่านมา ได้มีการดูดเสียงของแม่ค้าข้าง ถนนในขณะให้สัมภาษณ์แกพิธีกร เมื่อกล่าวถ้อยคำว่า"หนูอยากจะด่าพวกที่มีความรู้สูง"ออกไป ทีมงานผู้จัดรายการได้พิจารณาก่อนแล้วว่า ถ้อยคำดังกล่าว มีลักษณะรุนแรงเกินไปหรือไม่ แต่ก็เห็นว่าเมื่อนำถ้อยคำนี้รวมอยู่ในคำสัมภาษณ์ทั้งหมด ก็เข้าใจได้ว่าไม่ใช่คำ"ด่า" หากเป็นการแสดงความรู้สึกนึกคิดที่อัดอั้นอยู่ในใจของผู้กล่าว อันเป็นสารที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งรายการต้องการสะท้อนให้คนอื่นในสังคม ได้มองจากมุมมองผู้ทำธุรกิจข้างถนนบ้าง อันเป็นกลุ่มคนที่ไม่ค่อยมีโอกาสมีปากมีเสียงในสังคม ในขณะเดียวกัน ทีมงานผู้จัดทำรายการ ก็พิจารณาด้วยว่า การปล่อยถ้อยคำนี้ออกไปจะเป็นธรรมแก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ซึ่งเป็นผู้จัดระเบียบทางเท้าหรือไม่ ทีมงานฯ ได้พิจารณาจาก คำสัมภาษณ์ทั้งหมดและเนื้อหาของรายการแล้วเห็นว่า ประเด็นสำคัญที่รายการนำเสนอ ไม่ได้มุ่งจะโจมตีเจ้าหน้าที่เทศบาลหรือหน่วยงานอื่นใดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากเบื้องบน รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นตอน"ธุรกิจข้างถนน" เสนอมุมมองให้สังคม ร่วมกันคิดว่า นโยบายจัดระเบียบทางเท้าด้วยการกีดกันไม่ให้คนจนๆได้ใช้พื้นที่นั้นทำกินโดยสุจริตอย่างเด็ดขาดนั้น ไม่ก่อประโยชน์ ให้แก่ใครจริง นอกจากทำให้ต้นทุนธุรกิจข้างถนนต้องสูงขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ใครเลย รวมทั้งไม่เป็นผลดีแก่เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ด้วย ผู้จัดทำรายการจึงใคร่เรียนให้ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบรายการของช่อง ๑๑ ใช้วิจารณญานในการตรวจสอบอย่างกว้างขวาง กว่าการพิจารณาเฉพาะถ้อยคำเป็นตอนๆ แต่ควรพิจารณาถ้อยคำที่มีปัญหานั้นร่วมกับความทั้งหมดทั้งของบทสัมภาษณ์และของรายการทั้งรายการ ธรรมชาติของผู้ให้สัมภาษณ์สดนั้นยากที่จะเรียบเรียงถ้อยคำให้สละสลวย แต่มักจะสื่อความที่ต้องการผ่านสีหน้า, แววตา, และถ้อยคำที่อยู่ลึกๆ ในจิตใจของตัวเองโดยไม่รู้ตัว และนี่คือเสน่ห์ของโทรทัศน์ซึ่งสามารถสื่อสารในสิ่งที่สื่อประเภทอื่นไม่อาจสื่อได้ การเซนเซอร์โดยขาดหลักการเหล่านี้ทำลายพลังของสื่อโทรทัศน์ลงไปโดยไม่จำเป็น ฉะนั้น หากจะมีการตัดทอนส่วนใดของรายการเช่นนี้อีก ทีมผู้จัดฯ ประสงค์ให้ทางกรมประชาสัมพันธ์ได้ติดต่อกับทางช่อง ๑๑ ลำปาง เพื่อให้ทางทีมผู้จัดได้มีโอกาสชี้แจง ทีมผู้จัดฯ หวังว่า การจัดทำ รายการ"ทีทรรศน์ท้องถิ่น"เป็นความร่วมมือระหว่างกัน โดยมุ่งประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก จึงสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ เพราะไม่ใช่การเสนองานให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบฝ่ายเดียว นอกจากนี้ ยังมีอีก ๒ ปัญหาที่ทางทีมผู้จัดฯ ใคร่ขอความร่วมมือกับช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ ๑) ในการออกอากาศเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม นี้นั้น ทางสถานีได้ตัดเครดิตท้ายรายการออกไปทั้งหมด อันประกอบด้วย สถานที่ติดต่อกับผู้จัดทำรายการฯ ระยะเวลาการออกอากาศ และ ผู้สนับสนุนรายการ การตัดเครดิตท้ายรายการเช่นนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว รายการโทรทัศน์ที่มีเพียงเดือนละ ๑ ครั้ง ออกอากาศในช่อง ๑๑ ซึ่งไม่มีบริษัทธุรกิจใดๆทำเรทติ้ง เป็นปัญหาที่ผู้จัดทำรายการเช่นนี้ไม่สามารถหยั่งความคิดและอารมณ์ของผู้ชมได้เลย ความพยายาม ที่จะเปิดช่องทางการติดต่อและการประกาศเวลาของรายการล่วงหน้าจึงมีความสำคัญอย่างมาก ผู้จัดทำรายการฯ จึงใคร่ขอร้องช่อง ๑๑ ว่า กรุณาอย่าตัดข้อความในตอนท้ายรายการออกตามสะดวกเช่นนี้อีก ๒) รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ถูกเลื่อนเวลาออกไป ๑๑ นาที การเลื่อนเวลาเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเช่นกัน เนื่องจากช่อง ๑๑ จำเป็นต้องถ่ายทอดกิจกรรมบางประการเช่น การเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นต้น ในส่วนนี้จึงเข้าใจความจำเป็นของช่อง ๑๑ ได้ อย่างไรก็ตาม รายการที่ออกอากาศห่างกันเดือนละ ๑ ครั้งนั้น ยากที่จะหาผู้ชมประจำของตนเองได้ ทางทีมผู้จัดฯ จึงได้พยายามทุกวิถีทางที่จะโฆษณารายการผ่านสื่อชนิดอื่น เช่น หนังสือพิมพ์ เพื่อแจ้ง กำหนดการออกอากาศและประเด็นเรื่องของรายการไว้ล่วงหน้า ฉะนั้นหากช่อง ๑๑ มีความจำเป็นต้องเลื่อนเวลาออกอากาศของรายการออกไป ด้วยเหตุเฉพาะหน้าใดๆ ก็ตาม ขอได้โปรดแจ้งการเลื่อนเวลาด้วยตัววิ่งใต้ภาพไว้ล่วงหน้า รวมทั้งในระหว่างเวลาที่ควรเป็นเวลาของ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่น คือ ๑๒.๐๕ - ๑๓.๐๐ น. ไว้ด้วยความถี่พอสมควรด้วย จึงเรียนมาเพื่อขอความร่วมมือในประเด็นต่างๆ ดังที่กล่าวแล้วนี้ ขอแสดงความนับถือ 3.11
ชาวเขาคือเรา (วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม 2542)
ที่จริงแล้ว ชาวเขามีการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติของพวกชาวเขาซึ่งมีมาแต่เดิม เช่น การจัดการกับป่ากับต้นน้ำ แต่คนพื้นราบมักจะมองพวกชาวเขาในลักษณะที่เป็นภาพนิ่ง เช่น ทำลายป่า เห็นว่าพวกนี้ปลูกฝิ่น ภายหลังได้หันมาปลูกผัก ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงมาก เป็นการทำเกษตรแบบไม่ยั่งยืน ไม่มีความมั่นคงในการใช้ที่ดิน แต่ไม่เคยค้นหาคำตอบเลยว่าทำไมชาวเขาจึงกระทำเช่นนั้น ความจริงก็คือ
เราไม่เคยเปิดโอกาสที่จะทำให้ชาวเขารู้สึกกับความมั่นคงในชีวิตมาก่อนเลย
ดังนั้น ด้วยชีวิตที่ไม่มั่นคง ชาวเขาจึงต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ และพร้อมที่จะหนีอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งอันนี้เป็นเพราะว่าคนในพื้นราบทำให้ชาวเขาแย่ สังคมของเราจึงแย่ตามไปด้วย
ทั้ง ดิน น้ำ และป่า วิทยากรในรายการ อานันท์ กาญจนพันธุ์ / พ่อหลวงจอนิ โอโดเชา / พ่อหลวงบุญเกิด พนากำเนิด / คุณชุติมา มอแลกู่(หมี่จู) / ประมวล เพ็งจันทร์ (พิธีกร)
3.12 เอ็น.จี.โอ (NGOs) ( ตอนที่ 1 วันอาทิตยฺที่ 5 กันยายน 2542) ช่วงที่สอง เป็นรายการสนทนากับนักวิชาการและนักพัฒนาเอกชน ซึ่งให้ภาพขององค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆในมุมกว้าง เช่น โครงการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย โครงการรักษาสิ่งแวดล้อม อย่าง ตาวิเศษ และโครงการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องการลดจำนวนประชากร เช่น ถุงยางมีชัย และรวมไปถึงโครงการพัฒนาชาวเขา และโครงการช่วยเหลือ ความทุกข์ยากของประชาชนในรูปแบบต่างๆ อย่างเช่น นักพัฒนาเอกชนกับกลุ่มสมัชชาคนจน เป็นต้น.
วิทยากรในรายการ ช่วง "ทีทรรศน์ท้องถิ่นสัญจร" ประกอบด้วย
/ พลากร วงศ์กองแก้ว / สุรีรัตน์ ตรีมรรคา / นายหยั่ว ถนอมรุ่งเรือง
/ ประเสริฐ เดชะบุญ 3.14
ศักดิ์ศรีอาชีพ (วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2542)
ผู้คนจำนวนมากในสังคมปัจจุบัน มองกันว่า อาชีพที่ให้ผลตอบแทนเป็นตัวเงินน้อย อาชีพที่ไร้ศักดิ์ศรีไม่มีคุณค่า อาชีพที่ดูไร้อำนาจ เป็นอาชีพที่ไม่พึงประสงค์ ใครก็ตามที่ต้องประกอบอาชีพเหล่านี้ มักจะไม่พอใจในตัวเอง ความเข้าใจเช่นนี้เป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ และค่านิยมทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ? อะไรคือท่าทีที่ถูกต้องสำหรับการประกอบอาชีพในสังคมของเรา. เราจะได้พบกับข้อคิดเห็นต่างทัศนะเหล่านี้ได้จากรายการ"ทีทรรศน์ท้องถิ่น" ตอน "ศักดิ์ศรีอาชีพ" วิทยากรในรายการ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ / บัณรส บัวคลี่ / อดุลย์ ยกคำจู / โปร่งนภา อัครชิโนเรศ / ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ (พิธิกร). 3.15
ภาคประชาชน (วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2543)
แต่เมื่อเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ภาคประชาชนไทยได้เริ่มเข้ามามีบทบาท ในทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจมากขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516. เหตุการณ์ครั้งนี้นับว่าเป็นจุดพลิกผันขององค์กรภาคประชาชน ครั้งสำคัญอันหนึ่ง และผลพวงที่ตามมา ทำให้ภาคประชาชนของไทยเราก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆอย่างเห็นได้ชัดเจน รายการทีทรรศน์ท้องถิ่น จึงเสนอเรื่องราวเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เพื่อพูดถึงความเป็นมาและความต่อเนื่องในประเด็นดังกล่าว โดยจะมองถึงพัฒนาการทางด้านต่างๆที่องค์กรภาคประชาชน ได้มีส่วนในทางสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม.
วิทยากรในรายการ (แบ่งออกเป็น 2 ช่วง)
3.16 ธุรกิจการเมือง (วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2543)
วิทยากรในรายการ ผศ.ใจ อึ้งภากรณ์ / ศ.เสน่ห์ จามริก / สุลักษณ์ ศิวรักษ์ / ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ (พิธีกร) / เกรียงศักิด์ เชษฐพัฒนวนิช. (พิธีกร)
3.17 ระบบการเงินทางเลือก("ลอกคราบธนาคาร") (อาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2543)
ยังมีระบบการเงินอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งมิได้มองหากำไรที่เป็นตัวเงิน แต่เป็นกำไรของคุณค่าทางจริยธรรมของชุมชน กำไรคือคุณภาพของชุมชน ยึดคนเป็นเป้าหมาย ส่วนเงินเป็นเพียงเครื่องมือซึ่งนำไปสู่สิ่งเหล่านี้ วิทยากรในรายการ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง / รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ / ครูชบ ยอดแก้ว / ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ (พิธีกร). 3.18
ดาบหน้าชาวนาไทย (วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2543) ทุกวันนี้ ชาวนากำลังเผชิญกับสารเคมีและพืชตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งมาในรูปปุ๋ยและยาฆ่าแมลง รวมไปถึงพืช GMO ที่ต้องพึ่งพาจากบรรษัท ข้ามชาติ ดาบหน้าชาวนาไทยดูจะน่าเศร้ายิ่งกว่าครั้งใด เพราะต่อกรณีการพัฒนา ชาวนากำลังไร้อนาคต. ส่วนกรณี GMO อนาคตชาวนา ไทยได้ถูกกำหนดชะตาเอาไว้แล้วโดยบรรษัทข้ามชาติ วิทยากรในรายการ ดร. เกษียร เตชะพีระ / วิฑูรย์ เลี่ยมจำรูญ / จุฬารัตน์ เสรีเชษฐพงษ์ / กำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน / ชัชวาล ปุญปัน (พิธีกร)
3.19 ทีทรรศน์การศึกษาไทย(สองหน้าการศึกษาไทย)(วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน
2543) ทุกวันนี้ มีพลังผลักดันทางการศึกษาอยู่สองส่วน คือ พลังจากภาครัฐ และพลังจากภาคประชาชน ภาครัฐยังต้องการควบคุมการศึกษาอยู่ ในขณะที่ภาคประชาชนต้องการเสรีภาพในการจัดการศึกษาของตนเอง ใครจะเป็นผู้ชนะในเกมการศึกษานี้ และการศึกษาในอนาคตควรเป็นไปเช่นไร ? ชาวกระเหรี่ยงพูดถึงการศึกษาที่ผ่านมาว่า การส่งเด็กไปโรงเรียน มันก็เหมือนกับนกน้อยที่บินห่างรังออกไปเรื่อยๆ คำพูดจากภูมิปัญญาชาวกระเหรี่ยงนี้บอกอะไรกับเราเกี่ยวกับการศึกษาไทย. พบกับคำตอบเหล่านี้ได้ใน ทีทรรศน์ท้องถิ่น ตอน "ทีทรรศน์การศึกษาไทย" วิทยากรในรายการ ดร. อรรณพ พงษ์วาท / อาจารย์สามารถ ศรีจำนงค์ / คุณชัชวาล ทองดีเลิศ / คุณสุชาดา จักรพิสุทธิ์ / ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ (พิธีกร).
3.20 ทีทรรศน์สาธารณสุข (คนจนป่วยไม่ได้) (วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2543)
ปัญหาต่างๆเหล่านี้ต้องการคำตอบ และหนทางแก้ไขที่ยั่งยืน เพื่อเปิดโอกาสให้คนจนได้รับการประกันสิทธิในการเข้ารับบริการทางด้านสาธารณสุข ตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน วิทยากรในรายการ ทพ. อุทัยวรรณ กาญจนกามล / ชมชวน บุญระหงษ์ / โปร่งนภา อัครชิโนเรศ / ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ (พิธีกร) 0000000 3.21
ประวัติศาสตร์ความคิดเขื่อน (วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2543) การทำเช่นนั้น ในด้านหนึ่งเป็นความเชื่อว่าเป็นการพัฒนา แต่เบื้องหลังของการพัฒนาดังกล่าวซึ่งไปตกกับภาคอุตสาหกรรม ประชาชนต้องถูกน้ำจำนวนมหาศาลลบพื้นที่ทำมาหากินของตนลง และลบวิถีชีวิตวัฒนธรรมของพวกเขาออกไปด้วย ปัจจุบัน เขื่อนได้ไปเปลี่ยนพื้นที่ของชาวบ้านให้ไปเป็นพื้นที่ของรัฐ และรัฐได้นำเอาทรัพยากรของชาวบ้านเหล่านั้น ไปรับใช้คนกลุ่มหนึ่งที่มีพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวบ้านซึ่งดำรงชีวิตอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงกลายไปเป็นคนจนที่ยั่งยืน วิทยากรในรายการ ดร. ชยันต์ วรรธนภูติ / ดร. ชูศักดิ์ วิทยภัค / คุณชัยณรงค์ เศรษฐเชื้อ / ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ (พิธีกร)
3.22 นักวิชาการเครื่องซักผ้า (วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2543) ความหมายของคำว่า"นักวิชาการเครื่องซักผ้า" คือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่คราบของนักวิชาการที่คอยทำหน้าที่ฟอกโครงการขนาดใหญ่ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม อันไม่น่าไว้วางใจให้ สะอาด บริสุทธิ์ โดยยังเป็นที่น่าสงสัยต่อจริยธรรมทางวิชาการ. ความจริงแล้ว ศาสตร์ทุกศาสตร์ วิชาการทุกสาขา ควรเป็นไปเพื่อชีวิตที่งดงามและชีวิตที่มีสุขของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่หรือ ?
วิทยากรในรายการ อ.ศรีศักร วัลลิโภดม / อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์ / อ.ชัยพันธุ์
ประภาสะวัต / คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ / อ.ประมวล เพ็งจันทร ์ (พิธีกร)
3.23 เลือกตั้ง กับ การเมืองภาคประชาชน (วันอาทิตย์ที่
5 พฤศจิกายน 2543) วิทยากรในรายการ นิธิ เอียวศรีวงศ์ / ประมวล เพ็งจันทร์ / สมเกียรติ ตั้งนโม / ไพสิฐ พาณิชยกุล / สมชาย ปรีชาศิลปกุล / นัทมน คงเจริญ
3.24 "วาระแห่งชาติภาคประชาชน (ระดับรากหญ้า)" (วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม
2543) แต่ถ้ามองย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่า ปัญหาวิกฤตชาติเกิดขึ้นมานานแล้วกับกลุ่มคนจน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ. และที่ผ่านมา ปัญหาวิกฤตของพวกเขาไม่เคยได้รับความสนใจจากสื่อเลย เนื่องมาจากความไร้อำนาจ. ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่สร้างปัญหาเสียเองอีกด้วย ถึงเวลาแล้วที่วิธีคิดเก่าๆจะต้องเปลี่ยนไป เพราะหากว่าปัญหาของคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแก้ไข "วาระแห่งชาติฉบับเทวดา"ก็ไม่อาจแก้วิกฤตชาติได้ ด้วยเหตุนี้ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นจึงเป็นสื่อกลาง นำเอาปัญหาของคนจนมาสะท้อนให้สังคมได้รับรู้ และพร้อมสนับสนุน วาระแห่งชาติภาคประชาชน (ระดับรากหญ้า) วิทยากรในรายการ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม(ตัวแทนเกษตรผสมผสาน) / พ่อหลวงจอนิ โอ่โดเชา (ตัวแทนชาวเขา) / คุณอรุณี ศรีโต (ตัวแทนแรงงาน) / กำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน (ตัวแทนเกษตรกร) / กำนันเฉลิม อันวิเศษ / คุณสำเริง (ตัวแทนประมงชายฝั่ง ภาคใต้) / พ่อสมบุญ / ประมวล เพ็งจันทร์ (คณะมนุษยศาสตร์ มช.)
3.25 "ประชาชน กับ หมากกระดานใหม่" (ไม่ได้ออกอากาศที่ส่วนกลาง
เพราะติดรายงานผลเลือกตั้ง 6-7 มกราคม 2544 - แต่ได้รับการออกอากาศที่สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น
จ.ลำปาง วันอังคารที่ 9 มกราคม 2544) ประชาชน เริ่มเรียนรู้ที่จะมีบทบาทในการกำหนดชะตากรรมของตนเองได้โดยตรง และกำลังพลิกกลับจากการเป็นแค่เบี้ยในกระดาน กลายมาเป็นผู้กำหนดหมากการเมืองกระดานใหม่ ข้อเสนอบางประการ จากประชาชนหลายฝ่ายต่อไปนี้ เป็นภารกิจทางการเมืองที่ประชาชนจะกำหนดให้กับนักการเมืองได้ปฏิบัติ และหากนักการเมืองยังไม่อาจเข้าใจภารกิจของตนเองอย่างแจ่มชัด ยังไม่รับฟังเสียงและปัญหาของประชาชน การเมืองต่อไปนี้อาจจะต้องเผฃิญกับวิกฤตศรัทธาอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน วิทยากรในรายการ พ่อหลวงจอนิ โอ่โดเชา (ตัวแทนชาวเขา) / คุณอรุณี ศรีโต (ตัวแทนแรงงาน) / กำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน (ตัวแทนเกษตรกร) / กำนันเฉลิม อันวิเศษ / ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต (ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน) / ประมวล เพ็งจันทร์ (คณะมนุษยศาสตร์ มช.) 3.26 "ปฏิรูปที่ดิน : กรวดในรองเท้าของรัฐบาลใหม่" (วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2544) ตามความเข้าใจที่ว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินของรัฐ
และกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลนั้น ความเข้าใจเช่นนี้ เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อคริสตศตวรรษที่
17 มานี้เอง จากความเข้าใจผิดดังกล่าว
รัฐและเอกชนซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจึงใช้ประโยชน์จากดินไปในรูปต่างๆ วิทยากรในรายการ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ (คณะสังคมศาสตร์ มช.) / อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล (คณะสังคมศาสตร์ มช.) / สมชัย ศิริชัย (สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ) / ธนา ยะโสภา (เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ) / รังสรรค์ ศรีสองแคว (แนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ) 3.27 "กระแสชุมชนท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์" (วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม 2544) ภัยเศรษฐกิจอันร้ายแรงที่โหมกระหน่ำสังคมเศรษฐกิจไทยเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา จนเราเกือบจะสูญเสียทุกอย่างให้กับคนอื่น คือกระแสทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ซึ่งความรุนแรงของภัยดังกล่าว ไม่น้อยไปกว่าภัยของสงครามเลย การที่ชุมชนท้องถิ่นและสังคมไทยจะรับมือกับมหันตภัยอันนี้ เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าวที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ ว่ามีความเป็นมา และพัฒนาการอย่างไร ? ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ได้ส่งผลถึงส่วนใดหรือใครบ้างในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อท้องถิ่นจะได้เลือกวางยุทธศาสตร์ของการตอบโต้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ และเป็นไทของชุมชนท้องถิ่นให้วัฒนาถาวรต่อไป ทั้งหมดนี้คือสาระหลักของรายการ ทีทรรศน์ท้องถิ่น ตอน กระแสชุมชนท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์ วิทยากรในรายการ : ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก (นักวิชาการอิสระ สาขารัฐศาสตร์) คำโปรยท้ายรายการ / วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกาภิวัตน์ มุ่งมองความสำเร็จและความก้าวหน้าเอาอย่างกระแสโลก ความสำเร็จดังกล่าว จะเป็นไปได้ก็โดยการเข้าถึงฐานทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น เพื่อนำไปปรนเปรอความสุขให้กับนักบริโภค. วิธีคิดดังกล่าว ได้เข้าครอบงำชนชั้นนำของประเทศไทยเราในทุกวงการ ด้วยเหตุนี้ การต่อสู้จึงยังคงมีต่อไป ระหว่างชนชั้นนำและประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากร การจะตอบโต้กับกระแสโลกาภิวัตน์ ต้องเริ่มต้นที่ฐานคิดใหม่ในเรื่องของการบริโภค ปกป้องฐานทรัพยากรของตน และพร้อมที่จะแตกหักกับระบบอุปถัมภ์ พยายามพึ่งตนเอง และสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน รวมไปถึงการเรียนรู้วิทยาการใหม่เพื่อการปรับปตัวได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นให้มากที่สุด ทั้งหมดนี้คือข้อเสนอต่อการเผชิญหน้ากับระหว่างกระแสชุมชนท้องถิ่น กับ กระแสโลกาภิวัตน์ สำหรับรายการทีทรรศน์ท้องถิ่น
หลังจากที่ออกอากาศแล้ว ส่วนใหญ่มักได้รับเสียงตอบรับกลับมาในหลายๆทาง
ทั้งข้อคิดเห็น และคำแนะนำต่างๆ รวมถึงเสียงสะท้อนกลับที่เป็นคำชมและคำวิจารณ์
ตามที่อยู่ซึ่งทางรายการทีทรรศน์ท้องถิ่นได้ให้ไว้นั้น ทั้งตู้ ปณฝ.
254 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202 และ email: กลุ่มผู้หญิงจาก จ.ชลบุรี ขอคำแนะนำมาเกี่ยวกับการเรียนต่อ และชื่นชมกับเนื้อหาของรายการที่ผลิตขึ้นโดยคนท้องถิ่น, นักศึกษาแพทย์จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขียนมาให้กำลังใจกับทีมงานมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน พร้อมทั้งบริภาษผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ กรณีเรื่องชาวเขาซึ่งชุมนุมกันอยู่ที่ศาลากลาง, นายแพทย์สาธารณสุขจาก จ.ฉะเชิงเทรา ขอก๊อปปี้เทปรายการทีทรรศน์ ตอน "คนจนป่วยไม่ได้", หรือบางรายก็ขอให้รายการทีทรรศน์ฯไปจัดให้ที่มหาวิทยาลัยฯของตน โดยระบุเรื่องมาด้วยว่าอยากให้จัดให้มีรายการโทรทัศน์เรื่องของ อ.ปรีดี พนมยงค์. และรายที่มาแปลกหน่อยก็คือ ได้เขียนมาขอที่อยู่วิทยากรหญิงคนหนึ่ง ซึ่งทางรายการเชิญมาตอน"วิทยาศาสตร์บ้านนอก" ด้วยความถูกอกถูกใจในคำพูด และหน้าตา อยากจะติดต่อเป็นการส่วนตัว เพราะตรงสเปคมาก เป็นต้น นอกจากนี้ บางรายก็มีการวิจารณ์ผ่านมาทาง webboard ของ website มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทำนองว่า วิทยากรเป็นพวกเดียวกัน เสนอมุมมองอย่างเดียวกัน โดยไม่มีคนแย้งเป็นต้น ซึ่งทางรายการทีทรรศน์ท้องถิ่นก็ต้องเรียนชี้แจงไปตามเหตุผล ความจำเป็น และเป้าหมายซึ่งเราตั้งเอาไว้ ไปหน้าถัดไป
: หัวข้อเรื่องต่อไป website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน |