N
next
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เดือน มีนาคม 2545
บทความลำดับที่ 161

ทศวรรษแห่ง"การพัฒนา"
สดชื่น วิบูลยเสข :
ภาควิชาฟิสิกส์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แปลจาก Decade of "development"
เขียนโดย Dave Hubbel
ในวารสาร Watershed (People's Forum on Ecology) Vol. 7 No. 2 November 2001-February 2002

ทุนนิยม"สุดโต่ง" เกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนเศรษฐกิจท้องถิ่น จากการค้าขายระดับเล็ก ไปเป็นตลาดการค้าผลผลิตที่มุ่งปริมาณของบรรษัทข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงนี้อิงอยู่กับความสามารถของบรรษัทต่างๆ (ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตาม) และองค์กรสถาบันการเงินที่จะกำหนดนโยบายรัฐบาล ให้การพัฒนากลายเป็นแบบฝึกหัด ในการเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าสู่ตลาด และดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในทุนนิยม"สุดโต่ง"

ความสำเร็จวัดได้ในเทอมของรายรับที่เป็นเงินสด ซึ่งอาจมีความสำคัญน้อยมากต่อครอบครัว ซึ่งได้อาหารจากทุ่งนาและแม่น้ำ แต่เป็นสิ่งเดียวที่สำคัญต่อบรรษัทต่างๆในทุนนิยม"สุดโต่ง"

บรรษัทขนาดยักษ์และกลุ่มคนจำนวนน้อยเท่านั้น ที่ได้รับส่วนแบ่งของรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่คนส่วนใหญ่ได้รับส่วนแบ่งรายได้ที่น้อยกว่า การพัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลักเอื้อต่อ และทำให้เกิดโครงสร้างเศรษฐกิจนี้ของสังคมเพราะ "การพัฒนา" ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมซึ่งฝังติดอยู่ในระบอบทุนนิยมแบบ "สุดโต่ง" มาแต่เดิม

QUOTATION
ภาพประกอบโดย Fernando Botero ชื่อภาพ Alof de Wignacourt (after Caravaggio) เขียนขึ้นในปี ค.ศ.1974 เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 254 ซม. x 191 ซม. จากหนังสือ ART TODAY : Edward Lucie-Smith หน้า 362

หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมา จะแก้ปัญหาได้

บทความนี้ ยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4

บทความสะท้อนภาพของ"การพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน ์และ ทุนนิยมสุดโต่ง" ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในประเทศโลกที่สาม โดยเฉพาะภาพที่ปรากฎชัดในเอเชียอาคเนย์

บทความแปลที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์

ทศวรรษแห่ง "การพัฒนา"
ผศ. สดชื่น วิบูลยเสข : ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แปลจาก Decade of "development"
เขียนโดย Dave Hubbel
ในวารสาร Watershed (People's Forum on Ecology) Vol. 7 No. 2 November 2001-February 2002

ตัวอย่างไม่กี่ย่อหน้าข้างล่างนี้ ก็พอพิสูจน์ได้แล้วว่าควรจะคลิกเข้าไปอ่าน

- โมฮานดาส คานธีกล่าวไว้ว่า ท่านสามารถบอกอะไรๆเกี่ยวกับประชาชาติหนึ่งได้มากมาย โดยดูจากการเลี้ยงดูสัตว์ ของคนในประเทศนั้น และเราก็สามารถกล่าวได้ว่า ท่านสามารถบอกได้ว่าเมื่อใดที่เกิด "การพัฒนา" ของทุนนิยม "สุดโต่ง" โดยการดูว่ารัฐบาลของประเทศนั้นจัดการกับป่าไม้ของประเทศอย่างไร?

- ป่าของบริเวณลุ่มน้ำโขงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้ซึ่งเมื่อตัดลงมาก็กลายเป็น "ไม้ที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์" แน่นอน มีตัวอย่างเกิดขึ้นตลอดทั่วบริเวณซึ่งแสดงว่าชุมชนในท้องถิ่นใช้ประโยชน์ จัดการและอนุรักษ์ป่าของเขา ทำมาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องด้วยผลิตผลจากป่าอย่างไรโดยไม่ต้องทำลายป่า แต่คติพจน์ประจำ "การพัฒนา" ดูเหมือนจะเป็น "ต้นไม้อย่างเดียวที่ดีคือต้นไม้ที่ตายแล้ว" คุณค่าเชิงเศรษฐกิจของไม้ที่ซื้อขายในตลาดโลก หมายความว่าป่าเป็นส่วนแรกของทัพยากรอันสมบูรณ์ของประเทศที่ต้องเสียสละเพื่อ "การพัฒนา"

- เมื่อปี ค.ศ. 1990 นักวิทยาศาสตร์กล่าวถึงแม่น้ำโขงว่าเป็นแม่น้ำที่ไหลตามธรรมชาติโดยไม่มีเขื่อนมาควบคุมที่ใหญ่ที่สุดในโลก แอ่งแม่โขงเป็นแอ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด และเป็นแหล่งประมงที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย

- ขณะที่แม่น้ำ หนองบึงและทะเลสาปของแอ่งแม่โขงยังปรากฏให้เห็นในลักษณะที่คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยิ่งในปี ค.ศ. 1990 สัญญาณของวิธีที่ "การพัฒนา"จะก่อให้เกิด "ผลกระทบ" ต่อระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำในบริเวณแอ่งก็เริ่มปรากฏชัดขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอ่งของแม่น้ำมูน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง การให้สัมปทานตัดไม้อย่างกว้างขวางในช่วงปี 1960 ยังผลให้คุณภาพของน้ำต่ำลง ซึ่งเป็นผลต่อสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำด้วย

- ระหว่างทศวรรษ 1980 การปรับตัวสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว และการยอมรับการเกษตรเชิงเคมีอย่างเข้มข้น บ่งบอกถึงปริมาณของเสียที่เป็นพิษที่ถ่ายเทลงสู่แม่น้ำของแอ่งน้ำมูน ผลของ "การพัฒนา"ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อจำนวนปลาที่ลดลงอย่างรวดเร็วตามคำบอกเล่าของชาวบ้านที่ตั้งรกรากอยู่ในบริเวณแอ่ง

- ทศวรรษของ "การพัฒนา" หมายความว่า ผลกระทบที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้แผ่ขยายไปสู่บริเวณอื่นของแอ่งแม่โขงอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาสิบปี "การพัฒนา" ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของแม่โขง ไปโดยสิ้นเชิง - แม่โขง - แอ่งแม่น้ำที่มีวิวัฒนาการผ่านมานานเนิ่นถึงหนึ่งล้านปี !

สนใจอ่านบทความชิ้นนี้ คลิกที่นี่

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

 

 

H
home
ผมรู้จักกับเปาโล แฟร์ และเขาเพิ่งถึงแก่กรรมเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วมานี้ ผมได้สนทนากับเขาหลายๆครั้ง เขาเป็นฝ่ายซ้ายทางการศึกษา ซึ่งผมไม่เห็นด้วยกับเขาบางเรื่อง เพราะวิธีการของเปาโล แฟร์ เป็นวิธีที่ Angry คือฉุนเฉียวและก้าวร้าว เพราะเหตุว่าผมเป็นคนที่เชื่อในสันติวิธี ผมไม่เห็นด้วยกับเขาที่จะใช้วิธีการทะเลาะ
ในบางเรื่องผมก็เห็นด้วยกับเขา อย่างเช่นเรื่อง culture of silence.
ในประเทศไทย เวลาที่ผมไปพบกับคนในกระทรวงศึกษาธิการ ผมมองเห็นคนที่พูดกับคนซึ่งมีอำนาจ
คนพวกนี้จะไม่พูดในสิ่งที่เขาคิด เพราะว่าเขามองหน้าของคนที่มีอำนาจแล้วตัดสินใจว่า ควรจะพูดในสิ่งซึ่งผู้มีอำนาจอยากจะฟัง อันนี้เป็น Cultural of Silence ซึ่งเป็นสิ่งที่เปาโล แฟร์ได้เขียนเอาไว้
(new)