บทความ การบรรยายในชั้นเรียนมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หัวเรื่อง"ความรู้ทางวิทยาศาสตร์" วันที่ 28 มิถุนายน 2544
H
home
midnight univ.
The Remote Educational Service
for Students & Members
contents page
member page
webboard
ภาพประกอบดัดแปลง จากปกหนังสือ Stephen Hawking : Quest for a Theory of Everything. / hawking3 copy.jpg : 26k
บริการวิชาการทางไกลของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อสมาชิก นักศึกษา และผู้สนใจทุกท่าน ประจำเดือน สิงหาคม 2544 โดยไม่คิดมูลค่า
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เพื่อผู้สนใจในการศึกษาโดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
เพราะเราเชื่อว่า
มหาวิทยาลัยควรเป็นแหล่งที่ให้ความรู้
สำหรับคนทุกคนได้ และมีเสรีภาพ
ในการเรียนรู้ ตามที่ตนปรารถนา
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความทั้งหมด
ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
ส่วนผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

ขอขอบคุณทุกท่านที่ใฝ่ในการศึกษา
และช่วยบอกต่อสาระความรู้ไปฝากเพื่อน
Quest for a Theory of Everything
คนทุกคนมีความหมายของเวลาในบริบทของตนเอง ทุกคนรู้ว่าเวลาคืออะไร แต่ไม่สามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ หากถามนักฟิสิกส์ จุดที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับเวลาคือ เวลาเป็นระบบอ้างอิงที่ใช้เรียงลำดับก่อนหลังของการเกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์หนึ่งมาก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่งในระบบนี้ ถึงแม้การกล่าวเช่นนี้จะสามารถนิยามลูกศรแห่งเวลาได้ แต่ก็ไม่มีกฏเกณฑ์ใดเลย ที่บ่งบอกว่าเวลาผ่านจากอดีตมาสู่ปัจจุบันและไปสู่อนาคต เวลาทั้งหลายมีสถานภาพทัดเทียมกัน

คำกล่าวนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ ซึ่งคิดว่าเวลาเป็นมิติที่สี่เทียบเท่ากับมิติทั้งสาม(-กว้าง-ยาว-ลึก)ของอวกาศ (space) โดยการคิดเช่นนี้ กาลวกาศทั้งสิ้นทั้งปวงจะสามารถแสดงได้ด้วยแผนที่กาลวกาศสี่มิติ ซึ่งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของเอกภพจะปรากฏอยู่บนแผนที่กาลวกาศนี้ทั้งหมด นั่นคือความหมายของเวลาในฟิสิกส์ซึ่งไม่จำเป็นที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจ

คำชี้แจง : บทความเรื่อง "เวลากับเอกภพ" นี้ ผ.ศ.สดชื่น วิบูลยเสข ได้เขียนขึ้นมาให้กับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อเป็นการเสริมการบรรยายในชั้นเรียนมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2544 ในหัวข้อ "เจาะเวลา หาเวลา"

สำหรับบทความนี้ ได้แบ่งเป็นหัวข้อย่อย 7 หัวข้อด้วยกัน ประกอบด้วย :
๑. คิดคำนึงเรื่องเวลา ๒. เวลาในความหมายของวิทยาศาสตร์ ๓.ทำไมเอกภพจึงดำรงอยู่ ๔. และแล้วก็ถึงคราวของนักปรัชญากาลวกาศ ๕. ลูกศรแห่งเวลา…….ฤๅคือคำตอบ? ๖. กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ ๗. ……….ท้ายที่สุดนี้

หมายเหตุ : หากภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมา จะแก้ปัญหาได้
(ความยาวของบทความ ประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4)

้ หัวข้อเรื่อง"เจาะเวลา หาเวลา"นี้ เกิดขึ้นมาจาก อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้พูดคุยกับ อาจารย์ชัชวาล ปุญปัน เกี่ยวกับเรื่อง"การกำเนิดของเวลา"ว่า เวลากำเนิดขึ้น ณ จุดใด และเวลาดำเนินไปอย่างไร เวลามีลักษณะเลื่อนไหลคล้ายสายน้ำ หรือต่อกันเป็นห้วงๆ และ ณ จุดใดที่เราแบ่งเวลาของปัจจุบันออกจากอดีต หรือออกจากอนาคต คำถามเหล่านี้ อาจารย์ชัชวาล ปุญปัน ได้พยายามตอบข้อสงสัยด้วยความตั้งใจ และเพื่อให้สิ้นสงสัย จึงเสนอให้ อาจารย์สดชื่น วิบูลยเสข มาช่วยตอบคำถามให้สมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของชั้นเรียนมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ในส่วนของ"ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องของเวลา" ในหัวข้อ "เจาะเวลา หาเวลา"

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

สำหรับการนำเอาบทความของ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์
มารวมอยู่ใน website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ในชื่อ
"ข้อคิดและมุมมองของนิธิ" : รวมบทความที่เคยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์(1)
ีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อจะรวบรวมงานดังกล่าวสำหรับนักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจที่พลาดงานของอาจารย์ใน webboard ของ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และต้องการจะอ่าน สามารถที่จะมาดูได้จากหน้านี้ ซึ่งจะทยอยนำมาเผยแพร่เป็นระยะๆ สนใจคลิกเข้าไปอ่านได้ที่ banner