มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 245 เดือนมีนาคม 2546
ผลงานถอดเทปของ วรพจน์ พิทักษ์
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่งมาเผยแพร่บนกระดานข่าว
หัวเรื่อง : สังคมจะไร้ทางออก
ถ้าไม่เรียนรู้ โดย ประเวศ วะสี
เดิมเราก็ไม่เข้าใจในเรื่องของ "ความซับซ้อน" ต่อมามี Physician และนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล ได้พยายามไปทำความเข้าใจกับเรื่องของ "ระบบที่ซับซ้อน" ณ ที่สถาบันแห่งหนึ่ง เรียกว่า Santafe' Institute of New Mexico เดิมไปอาศัยโบสถ์เก่าๆแห่งหนึ่งที่ไว้สำหรับเป็นสถาบันจะคุยกัน ในการมองปรากฎการณ์ต่างๆ จนในขณะนี้ก็เรียกว่า Complexity science "วิทยาศาสตร์แห่งความซับซ้อน" ที่จะอธิบายปรากฎการณ์ในระบบที่ซับซ้อนต่างๆ และถือกันว่าเป็นวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะใช้อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ
ทีนี้ในคู่ขัดแย้งแบบนี้คือ
"ระบบของทั้งโลกก็เป็นเช่นนี้" ส่วน"ระบบการเมืองก็เป็นแท่งอำนาจ"ระบบราชการก็เป็นแท่งอำนาจ
มหาวิทยาลัยในระบบการศึกษาก็ใช้หลักอำนาจ ว่า กฎมีอย่างนี้ คุณทำผิดระเบียบต่างๆ
ฯลฯ เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยู่ในองค์กรต่างๆไม่ว่าจะเป็นกอง เป็นกรม อยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ
เรื่องพวกนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา และเป็นบ่อนทำลายความสุข และบ่อนทำลายความสร้างสรรค์
ถ้าเราไม่เข้าใจมัน และไม่เข้าใจถึงสิ่งใหม่ที่ควรจะเกิดขึ้น
(คัดมาจากปาฐกถาของ อ.ประเวศ วะสี)
QUOTATION
ไหนๆพูดเรื่องระบบชีววิทยาว่ามันเกิดขึ้นแล้วนี้ ตัวอย่างอีกอันคือเรื่อง Unity
in diversity ในสังคมไม่มีตัวอย่างของระบบที่ดีที่สุด ระบบทีดีที่สุดก็คือ "ระบบของร่างกายมนุษย์"
ซึ่งมีวิวัฒนาการมา 3.5 พันล้านปี
ระบบในตัวเรามีความหลากหลายสุดประมาณ ลองนึกถึงอณูและโมเลกุลต่างๆ
เซลส์ ,อวัยวะต่างๆจำนวนมากมายมหาศาลในร่างกายของเรา และหลากหลายเหลือประมาณ
ตั้งแต่เซลส์สมองถึงเซลส์หัวแม่เท้า แตกต่างกันมากมาย แต่ว่าทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกันเป็นเอกภาพ
ในสังคมของเรามีการพูดกันถึงเรื่อง "ความหลากหลาย" กันเยอะ แต่ไม่ได้พูดกันในเรื่องของ "เอกภาพ"! ถ้าหัวใจไปทาง ปอดไปทาง ตับไปทาง อย่างนี้เราคงเป็นคนอยู่อย่างนี้ไม่ได้ เราเป็นคนอยู่อย่างนี้ได้เพราะมีเอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย อันนี้เป็นข้อได้เปรียบของการเรียนชีววิทยา แต่เอามาใช้ในทางสังคม
เราจะเห็นว่า ร่างกายมีการลงทุนมโหฬาร ในเรื่อง Information กับเรื่อง Communication ทั้งร่างกายจะรับรู้ถึงกันหมดทำให้มีเอกภาพ ทุกเซลส์มี DNA ซึ่งเป็นรหัส หรือเป็น Information ซึ่งมีความยาว 3 พันล้านตัวอักษรอยู่ในทุกเซลส์ของร่างกาย นั่นมันคือ Information ไว้ตรงนั้นหมดทุกส่วน
ระบบประสาทไม่ว่าไปแตะที่ตรงไหน สมองจะรับรู้แล้ว ถ้าแตะตรงไหนแล้วเราไม่รู้สึก ตรงนั้นไม่ใช่ของเรา ตรงไหนเป็นของเราอยู่ในระบบนี้ต้องรู้ เมื่อแตะแล้วจะรับรู้หมด เพราะฉะนั้นก็มีระบบประสาทที่เป็นระบบ information communication
สารเคมีในร่างกายก็ communicate ซึ่งกันและกัน ถ้ามีน้ำตาลสูง น้ำตาลต่ำ ส่วนอื่นๆในร่างกายก็จะรับรู้แล้วเพื่อที่จะปรับตัว นอกจากนั้นมีนักวิทยาศาสตร์ชื่อ บรู๊ซ ลิฟตัน ได้บอกว่า ระบบของสิ่งมีชีวิตนี้เป็น Fluid crystal ถ้าเป็น crystal แปลว่า มันรู้ถึงกันหมดทั้งร่างกาย เพราะฉะนั้นเรื่อง information communication นี้สำคัญ นี่เป็นเรื่องที่ผมได้วิจารณ์รัฐบาลว่า รัฐบาลเองก็มาจากวงการสื่อ ไฉน ไม่รีบทำระบบ Information Communication ให้คนไทยได้รู้ความจริงถึงกันหมดจึงจะเกิดเอกภาพในสังคม นี่เป็นเรื่องรีบด่วนในสังคมที่ต้องทำ
สังคมจะไร้ทางออก
ถ้าไม่เรียนรู้
อ่านและวิเคราะห์สังคม โดย นายแพทย์ ประเวศ วะสี
เนื่องในงาน "Bangkok Hospital Accreditation
National forum"
ณ วันที่ 23 มกราคม 2545
(ถอดเทปโดย วรพจน์ พิทักษ์ - ความยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4)
บทนำ : ปัญหาสังคมที่แก้ไม่หลุด
การบรรยายในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องใหญ่ของประเทศไทย
การจะแก้ปัญหาต่างๆรู้สึกจะติดขัดไปหมด
แม้แต่รัฐบาลปัจจุบันที่ว่า คิดใหม่ทำใหม่ แต่ว่าการจัดการที่ทำอยู่นั้น เป็นการจัดการแบบเก่า
แล้วไม่ได้ผล ต้องช่วยกันดู ช่วยกันทำความเข้าใจ
เราไม่ได้ไปคัดค้านรัฐบาล แต่ว่า อยากช่วยกันให้บ้านเมืองหลุดพ้นจากความติดขัด ความติดขัดที่เกิดขึ้นในระบบทั้งหมด ในทุกๆระบบทุกวันนี้ เกิดจากผู้ขัดแย้งที่ไม่ลงตัวกัน ไม่เข้ากัน ดังที่จะแสดงต่อไปนี้
สังคมปัจจุบันแตกต่างจากสังคมครั้งโบราณ ซึ่งสังคมครั้งโบราณนั้น เป็นสังคมง่ายๆ ตรงไปตรงมา "ทำดีได้ดี -ทำชั่วได้ชั่ว" ถ้าขยัน ไม่มีอบายมุข จะไม่จน ซึ่งอันนี้ไม่เป็นความจริงในปัจจุบัน เพราะขยัน ไม่มีอบายมุขนั้น อาจจะจนหมดสิ้นเนื้อประดาตัวได้ เนื่องจากสังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้วเป็นสังคมที่ "เชื่อมโยงมีหลายมิติ" ที่เรียกว่า "Multi dimensional" และ "ซับซ้อนเชื่อมโยง เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง" เป็นระบบที่ซับซ้อน (Complex system) เชื่อมโยงกันไปหมด
เมื่อครั้งโบราณไม่ได้เป็นอย่างนี้ เมื่อครั้งโบราณถ้าหากมีอะไรเกิดขึ้นที่อเมริกา, ยุโรป หรือที่เมืองจีน มันไม่มีผลอะไรมากระทบเรา แต่เดี๋ยวนี้การเกิดขึ้นมันเชื่อมโยงมาที่เรา สหรัฐอเมริกาจะออกกฎหมายอะไรมาสักอย่างหนึ่ง ก็จะเกิดผลกระทบมาที่เราได้ เช่น กฎหมาย Farms act อันนี้กระทบมาที่ชาวนาไทยทันที นโยบายบางอย่างที่ดำเนินอยู่ในต่างประเทศก็มีผลกระทบต่อพวกเราทุกคน นายจอร์จ โซรอส อยู่ที่นิวยอร์ค อาจทำให้ประเทศไทยพังทั้งประเทศได้ ซึ่งแต่ก่อนนั้นจะเกิดไม่ได้แบบนี้
แต่ว่าในปัจจุบันความสลับซับซ้อนเป็น complex system แต่ว่า เครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหาที่มีอยู่ในประเทศไทย ( แสดงบนแผ่นภาพแทนด้วยแท่งสีดำ 5แท่ง) เป็นแท่งของ "อำนาจ" ทั้งสิ้น
1) การเมือง (ก)
2) ราชการ (ร)
3) การศึกษา(ศ)
4) ธุรกิจ (ธ)
5) พระสงฆ์ (ส)
ทั้งหมดทุกสถาบัน ล้วนเป็นองค์กรเชิงอำนาจทั้งสิ้น ก็คือ เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจลงไปในแนว ดิ่ง ซึ่งเน้นกฎหมาย , กฎระเบียบ และ การบังคับบัญชา ลงไปในแนวดิ่ง
องค์กรที่เป็นแท่งอำนาจอย่างนี้ "ประสิทธิภาพน้อย" พฤติกรรมในองค์กรแบบนี้เราเห็นกันอยู่ทั่วไป ผู้คนจะวิ่งเต้น / เส้นสาย / นินทาว่าร้าย / แทงข้างหลังกัน / ออกใบปลิวนินทากัน อันนี้เราจะเห็นได้ในทุกกระทรวงในลักษณะที่ว่านี้ เพราะว่า กระทรวงทุกกระทรวงมีลักษณะเป็นแท่งอำนาจลงไปอย่างภาพที่เห็น
เพราะฉะนั้น ในองค์กรที่เป็นแท่งอำนาจอย่างนี้ แก้ปัญหาที่ซับซ้อนไม่ได้ ไม่ว่าจะไปเปลี่ยนชื่อกระทรวง, ตั้งกระทรวงใหม่, ตั้งทบวงอีก , ตั้งกรมขึ้นมาอีก ถ้ายังทำงานในรูปเดิม จะแก้ปัญหาไม่ได้" มีแต่จะยุ่งยากมากขึ้น เพราะคนก็จะวิ่งเข้าสู่ตำแหน่ง จะแย่งชิงกัน จะทำอะไรต่ออะไรที่ไม่ได้เข้าไปสู่เนื้องาน จำเป็นต้องตีประเด็นเหล่านี้ให้แตก ผมจึงจำเป็นต้องใช้คำที่รุนแรงออกไป เพราะว่าอย่างที่หนังสือพิมพ์เอาไปลงว่า "นายกฯน่าจะฉลาดกว่านี้ในเรื่องการบริหารจัดการ" เพราะแสดงว่าไม่เข้าใจที่ประเด็นตรงนี้แล้ว ประเด็นที่เราจะพูดกันวันนี้ ถ้าไม่เข้าใจ แก้ปัญหาประเทศไม่ได้
Complex system & Chaos
ในความซับซ้อนที่เรียกว่า Complex system นี้ มันมีของใหม่ๆ มีปรากฎการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้นที่เราไม่รู้จักในระบบเก่า
อันหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือที่เรียกว่า "Chaos " หรือเรียกว่า "โกลาหล" คำๆนี้ไม่ใช่ศัพท์ทั่วไป
แต่ว่าเป็นศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เขียนขึ้นครั้งแรกในคอมพิวเตอร์ที่เวลาเมื่อเรากำลัง
run คอมพิวเตอร์ไปอยู่นั้น แล้วเกิด Complex system ขึ้น มันคือเกิด Chaos เกิดขึ้น
ก็คือเกิดสภาพโกลาหลเกิดขึ้น
สภาพโกลาหลนี้อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า "ปรากฎการณ์ผีเสื้อกระพือปีก" (Butterfly effect) หมายความว่า ผีเสื้อตัวเล็กๆนิดเดียวกระพือปีกอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งของโลก อาจไปเกิดเป็นลมสลาตันขึ้น ณ อีกซีกโลกหนึ่ง แปลว่า เหตุการณ์น้อยๆแต่มันเดินไปในระบบ แล้วมันไปเกิดผลใหญ่โตเลย เช่น นาย จอร์จ โซรอส อยู่นิวยอร์คคนเดียวเล่นแลกเงิน เกิดเศรษฐกิจพังทั้งหมด มันอาจเกิดเหตุการณ์อย่างนี้อยู่เรื่อยขึ้นมาได้
เพราะฉะนั้น เมื่อโลกทั้งโลกมาเชื่อมโยงกันเป็นระบบที่ซับซ้อน แล้วขับเคลื่อนด้วยกิเลสของคนในโลกหกพันล้านคนอย่างนี้ Chaos จะเกิดอยู่ตลอดเวลา แล้วทีนี้อย่าได้ไปเชื่อว่า มันเกิดแล้วมันจะไม่เกิดอีก ความจริงก็คือ มันจะเกิดอีกอย่างแน่นอน มันจะเกิดขึ้นซ้ำๆๆๆ
และอันหนึ่งที่เป็นที่รู้กันในระบบที่ซับซ้อนนี้ก็คือ "จะพยากรณ์ไม่ได้"(Unpredictability) ว่าจะมีอะไรที่จะเกิดขึ้น เพราะว่า ปัจจัยต่างๆมันเชื่อมโยง เกิดขึ้นนิดเดียวกลับกระทบกระเทือนต่อเนื่องกันไปต่างๆ รู้แต่ว่า มันเปลี่ยนแปลงแน่ แต่ว่า มันพยากรณ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้น การจัดการที่สมัยโบราณที่คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันจะเป็นไปอย่างนั้นคงที่แน่นอน มันใช้ไม่ได้แล้ว
ปรากฎการณ์อีกอย่างที่เกิดขึ้นจากการเขียนไว้ใน Chaos นี้ก็คือสิ่งที่เรียกว่า "Emergent" คำนี้แปลว่า "การผุด บังเกิด" คือหมายความว่า เดิมมันไม่เคยมีอยู่แต่มัน emerge ขึ้นมา เดิมเราไม่เห็นหรอก
อีกอันซึ่งเรียกว่า "การก่อตัวขึ้นเอง" (Self organize ) ซึ่งสักครู่จะได้อธิบายในรูปอื่น
เดิมเราก็ไม่เข้าใจในเรื่องของ "ความซับซ้อน" ต่อมามี Physician และนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล ได้พยายามไปทำความเข้าใจกับเรื่องของ "ระบบที่ซับซ้อน" ณ ที่สถาบันแห่งหนึ่ง เรียกว่า Santafe' Institute of New Mexico เดิมไปอาศัยโบสถ์เก่าๆแห่งหนึ่งที่ไว้สำหรับที่เป็นสถาบันจะคุยกัน ในการมองปรากฎการณ์ต่างๆ จนในขณะนี้ก็เรียกว่า Complexity science "วิทยาศาสตร์แห่งความซับซ้อน" ที่จะอธิบายปรากฎการณ์ในระบบที่ซับซ้อนต่างๆ และถือกันว่าเป็นวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะใช้อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ
ทีนี้ในคู่ขัดแย้งแบบนี้คือ "ระบบของทั้งโลกก็เป็นเช่นนี้" ส่วน"ระบบการเมืองก็เป็นแท่งอำนาจ"ระบบราชการก็เป็นแท่งอำนาจ มหาวิทยาลัยในระบบการศึกษาก็ใช้หลักอำนาจ ว่า กฎมีอย่างนี้ คุณทำผิดระเบียบต่างๆ ฯลฯ เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยู่ในองค์กรต่างๆไม่ว่าจะเป็นกอง เป็นกรม อยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ เรื่องพวกนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา และเป็นบ่อนทำลายความสุข และบ่อนทำลายความสร้างสรรค์ ถ้าเราไม่เข้าใจมัน และไม่เข้าใจถึงสิ่งใหม่ที่ควรจะเกิดขึ้น
มีชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ ดีคอฟ อาศัยอยู่ในรัฐ Utah เป็นคนจน ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย แต่เป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก อ่านทุกชนิด และเป็นคนที่ชอบสังเกตธรรมชาติ ว่าธรรมชาติมันเป็นอย่างไร? กฎเกณฑ์ธรรมชาติมันเป็นอย่างไร? แล้วคนนี้ไปรับจ้างทำงานตามบริษัทต่างๆ และในธนาคารต่างๆเป็นเวลาสิบกว่าปี ย้ายที่ทำงานไปเรื่อยๆ เพราะว่าถูกไล่ออกทุกแห่งที่ไปทำงาน เนื่องจากว่าไม่เคยเห็นด้วยกับ CEO ขององค์กรนั้นๆ บอกว่า องค์กรนี้มักใช้อำนาจทั้งหมดเลย แล้วอีกทั้งพฤติกรรมของคนในองค์กรไม่ตรงไปตรงมา มันมักเบี่ยงเบน มักไม่ชอบพูดความจริง มักนินทาให้ร้ายกัน ล้วนไม่สร้างสรรค์ แกบอกว่า มันไม่สอดคล้องกับหลักธรรมชาติที่แกบอกว่าแกได้สังเกตพบ
อยู่มาวันหนึ่ง คนนี้กลายเป็น CEO ของ VISA International ซึ่งเป็นธุรกรรมที่มี Transaction ถึงปีละ 1.2 Billion Dallas ซึ่งเรียกว่าใหญ่ที่สุด องค์กรนี้ทำงานมา 30 ปีแล้ว โดยการใช้ประสบการณ์ และเป็นองค์กรชนิดใหม่ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยกฎระเบียบอำนาจ แต่เกิดขึ้นโดยคน มาก่อตัวกันเอง(Self organize) ด้วยความที่มีฉันทะ อยากจะทำงาน มีการเอื้ออาธรต่อกัน มีการเรียนรู้ร่วมกัน องค์กรเหล่านี้ก็งอกงามขึ้นมาตลอดเวลา เพราะมันมีการเรียนรู้ และเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
ใน VISA International นี้มีธนาคารที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนกว่าหมื่นธนาคารในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก และทั้งหมดไม่มีใครที่ Dominate ใคร ไม่มีใครที่มีอำนาจ ทุกคนล้วนเกี่ยวข้องกันเป็น Net work และต้องเรียนรู้ร่วมกัน และตัวองค์กรก็จะ flow อยู่เรื่อย
ตัวนาย ดีคอฟ เองนี้เมื่อประสบความสำเร็จสูงสุดรายได้คงไม่ใช่น้อย ขณะที่กำลังประสบความสำเร็จสูงสุดในฐานะเป็น CEO นั้น เขาก็ได้ลาออกไปทำไร่ อยู่กับดิน กับธรรมชาติ มีคนไปเชิญเขามาเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง นายดีคอฟ เชื่อว่าระบบที่มีอยู่ทั้งหมดที่เป็นแท่งอำนาจจะก่อความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั้งโลก และไม่ประสบความสำเร็จ อยู่ไม่ได้ ยุคใหม่กำลังจะเกิดขึ้นที่เป็นยุคที่เรียกว่ายุคแห่ง Chaos
จาก
Singularity สู่ Complex system
ยุคแห่ง Chaos นี้เป็นอย่างไร?
ถ้าเราย้อนกลับไปในธรรมชาติ จักรวาลเกิดเมื่อหมื่นห้าพันล้านปี
เกิดจากที่เรียกว่า Big bang "เกิดระเบิดตูมใหญ่" แต่ว่าก่อนการระเบิดตูมใหญ่นี้นั้น
มันเป็นจุดอะไรที่เล็กนิดเดียว เป็นเอกสภาวะ ที่เรียกว่า Singularity เป็นจุดเล็กนิดเดียว
อธิบายไม่ถูก อัดแน่นอยู่ตรงนั้น มันเกิดระเบิดขึ้น
สังเกตว่า เดิมไม่มีความหลากหลายใช้คำว่า Singularity (เอกสภาวะ) เมื่อระเบิดใหม่ๆอุณหภูมิสูงเป็นล้านองศา ไม่มีสสารเกิดขึ้น มีแต่พลังงาน แต่เมื่อจักรวาลเย็นลงนิดหนึ่งก็เกิดสสารขึ้น ได้แก่ อีเลคตรอน , นิวตรอน , โปรตรอน เดิมนั้นไม่มี แล้วก็ฟอร์มกันเป็น "ธาตุ". ธาตุแรกคือ ไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่ง่ายที่สุด ประกอบด้วยโปรตรอน 1 ตัว, อีเลคตรอน 1 ตัว วิ่งอยู่รอบๆ หลังจากนั้นก็จะเกิดธาตุที่หลากหลายมากขึ้นๆเรื่อยๆ อันนี้เป็นธรรมชาติ จะเกิด"ความหลากหลาย" (Diversity) ซึ่งเริ่มมาจาก "เอกสภาวะ"(Singularity)
ทีนี้ความหลากหลายนี้ก็เริ่มมีปริมาณที่หนาแน่นมากขึ้น เดิมไม่หนาแน่นก็ไปเกี่ยวข้องมีปฏิสัมพันธ์(Interact) ซึ่งกันและกัน และก็เกิดเป็น Complex system. และเมื่อเป็น Complex system นี้ก็เกิดปรากฎการณ์ Chaos เกิดขึ้นอันหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่คาดหมาย ซึ่งพบในโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดย นาย สจ๊วท ฮอฟแมน เป็นนายแพทย์ซึ่งคนผู้นี้เมื่อตอนหนุ่มๆ ไม่ทราบว่าจะเรียนอะไรดีคิดไม่ออกเลยไปเรียนแพทย์ นอกจากจะเรียนแพทย์แล้วเขายังสนใจในเรื่องของคอมพิวเตอร์ กับ System อยู่เรื่อย คือจะ feed สมการเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วก็ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง feed ไปอยู่อย่างนั้นแล้วเกิดขึ้น แล้วเขาไม่เชื่อ มันเกิด Order เกิดขึ้นเอง มันเกิด Order ขึ้นใน Chaos ว่า "Order for free" แล้วเขาจึงเรียกคำนี้ว่า "ออร์โตเคลซีส" แปลว่า "มันเกิดขึ้นเอง" Order มันเกิดขึ้นเองในสภาพที่ไม่มี Order, มันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ "นี่เป็นต้นเหตุการเกิดสิ่งมีชีวิต จากสิ่งไม่มีชีวิต"
จากสิ่งไม่มีชีวิตนี้นั้น เกิด Complexity แล้วมันเกิด Chaos ขึ้น และมันเกิด Order ขึ้น Organization เกิดเป็นอินทรีย์ขึ้น สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ เขาจึงใช้คำเรียกนี้ว่า Chaotic ก็คือ ถ้าในธรรมชาตินี้ ถ้ามันเป็นกระบวนการธรรมชาติที่เกิดขึ้น เวลาที่มันเกิด Chaos แล้วมันจะเกิด Self organize ก่อตัวเองเป็น Order ขึ้นมาได้ที่ตรงนี้ อันนี้เป็นที่มาของคำนี้
ไหนๆพูดเรื่องระบบชีววิทยาว่ามันเกิดขึ้นแล้วนี้ ตัวอย่างอีกอันคือเรื่อง Unity in diversity ในสังคมไม่มีตัวอย่างของระบบที่ดีที่สุด ระบบทีดีที่สุดก็คือ "ระบบของร่างกายมนุษย์" ซึ่งมีวิวัฒนาการมา 3.5 พันล้านปี ระบบในตัวเรามีความหลากหลายสุดประมาณ ลองนึกถึงอณูและโมเลกุลต่างๆ เซลส์ ,อวัยวะต่างๆจำนวนมากมายมหาศาลในร่างกายของเรา และหลากหลายเหลือประมาณ ตั้งแต่เซลส์สมองถึงเซลส์หัวแม่เท้า แตกต่างกันมากมาย แต่ว่าทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกันเป็นเอกภาพ
ในสังคมของเรามีการพูดกันถึงเรื่อง "ความหลากหลาย" กันเยอะ แต่ไม่ได้พูดกันในเรื่องของ "เอกภาพ"! ถ้าหัวใจไปทาง ปอดไปทาง ตับไปทาง อย่างนี้เราคงเป็นคนอยู่อย่างนี้ไม่ได้ เราเป็นคนอยู่อย่างนี้ได้เพราะมีเอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย อันนี้เป็นข้อได้เปรียบของการเรียนชีววิทยา แต่เอามาใช้ในทางสังคม
เราจะเห็นว่า ร่างกายมีการลงทุนมโหฬาร ในเรื่อง Information กับเรื่อง Communication ทั้งร่างกายจะรับรู้ถึงกันหมดทำให้มีเอกภาพ ทุกเซลส์มี DNA ซึ่งเป็นรหัส หรือเป็น Information ซึ่งมีความยาว 3 พันล้านตัวอักษรอยู่ในทุกเซลส์ของร่างกาย นั่นมันคือ Information ไว้ตรงนั้นหมดทุกส่วน
ระบบประสาทไม่ว่าไปแตะที่ตรงไหน สมองจะรับรู้แล้ว ถ้าแตะตรงไหนแล้วเราไม่รู้สึก ตรงนั้นไม่ใช่ของเรา ตรงไหนเป็นของเราอยู่ในระบบนี้ต้องรู้ เมื่อแตะแล้วจะรับรู้หมด เพราะฉะนั้นก็มีระบบประสาทที่เป็นระบบ information communication
สารเคมีในร่างกายก็ communicate ซึ่งกันและกัน ถ้ามีน้ำตาลสูง น้ำตาลต่ำ ส่วนอื่นๆในร่างกายก็จะรับรู้แล้วเพื่อที่จะปรับตัว นอกจากนั้นมีนักวิทยาศาสตร์ชื่อ บรู๊ซ ลิฟตัน ได้บอกว่า ระบบของสิ่งมีชีวิตนี้เป็น Fluid crystal ถ้าเป็น crystal แปลว่า มันรู้ถึงกันหมดทั้งร่างกาย เพราะฉะนั้นเรื่อง information communication นี้สำคัญ นี่เป็นเรื่องที่ผมได้วิจารณ์รัฐบาลว่า รัฐบาลเองก็มาจากวงการสื่อ ไฉน ไม่รีบทำระบบ Information Communication ให้คนไทยได้รู้ความจริงถึงกันหมดจึงจะเกิดเอกภาพในสังคม นี่เป็นเรื่องรีบด่วนในสังคมที่ต้องทำ
เพราะฉะนั้นเมื่อจะพูดถึง Unity in Diversity อย่าลืมว่า Information Communication "ให้รู้ความจริงทั่วถึงกันหมดนี้ ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ"
โครงสร้างในสังคม
ถ้าเราดูโครงสร้างในสังคมจะเห็นว่ามีอยู่ 3 แบบด้วยกัน
1) แท่งอำนาจ
2) ลัทธิปัจเจกบุคคลนิยมสุดโต่ง "ตัวใครตัวมัน" และเน้นสิ่งที่เรียกว่า "เสรีนิยมบ้าง" ,"สิทธิส่วนตัวบ้าง" หรืออะไรแล้วก็แล้วแต่ ซึ่งมันคือ "ตัวใครตัวมัน" ซึ่งตอนนี้ก็รู้แล้วว่า "ไปไม่ไหว" ทั้งโครงสร้าง 2 แบบแรกนี้
3) การรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำ พระพุทธเจ้าสอนตรงนี้มานาน ที่เรียกว่า "วัชชีธรรม" ,
"ปัจจชีธรรม" และ "อปริหานิยธรรม" อันหลังนี้แปลว่า "ธรรมเพื่อความเจริญถ่ายเดียว""อปริหานิยธรรม" ได้แก่
- หมั่นประชุมกันเป็นเนืองนิจ
- พร้อมเพรียงกัน ; ประชุมพร้อมเพรียงกัน , เลิกประชุมพร้อมเพรียงกัน
- ทำกิจที่พึงทำ อันนี้คือ "ธรรมแห่งการเป็น ชุมชน"
- รวมตัวร่วมคิดร่วมทำ เมื่อมีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำอย่างนี้เรียกว่าเกิด "ความเป็นชุมชน"(Community) ซึ่ง "ความเป็นชุมชน"(Community)นี้ไม่จำเป็นต้องเกิดกับพื้นที่เท่านั้น แต่ว่าหากเกิดขึ้นใน "องค์กร" ก็จะเรียกได้ว่าเกิดความเป็นชุมชนได้เช่นกัน เช่น ถ้าในครอบครัวมีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ อย่างนี้ก็เรียกได้ว่า "เกิดมีความเป็นชุมชนในครอบครัว"
ในมหาวิทยาลัย ถ้าเกิดมีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ ก็เรียกได้ว่า "เกิดมีความเป็นชุมชน" เรียกว่า "ชุมชนวิชาการ"(Academy community) ซึ่งในมหาวิทยาลัยของไทยไม่มีหรอก ! ของมหาวิทยาลัยไทยเขาใช้ "แท่งอำนาจ" ก็คือ มีอธิการบดี, มีคณบดี.,มีหัวหน้าภาค, มีหัวหน้าสาขาวิชา ฯลฯ "ลงไปในแนวดิ่ง" เป็นวัฎจักรอย่างนี้ "ความสร้างสรรค์จะน้อย"
สิ่งที่ต้องการในมหาวิทยาลัยก็คือ "ความเป็นชุมชนวิชาการ"
ในคณะสงฆ์ พระพุทธเจ้าได้วางไว้ว่าให้เป็นชุมชนสงฆ์ หรือ "สังฆะ" แปลว่า "ชุมชน" เป็น "ชุมชนที่เรียนรู้" แต่ว่า อันนี้คือ "อุดมการณ์ในทางพุทธศาสนา" แต่ว่าบัดนี้ชุมชนสงฆ์ได้เข้ามาอยู่ในสังคมที่ใช้อำนาจทางดิ่ง ซึ่งแต่เดิมนั้นในเรื่องพุทธศาสนานั้น "เป็นเรื่องทางราบ" แต่สังคมไทยเป็นสังคมที่ใช้อำนาจทางดิ่ง อำนาจทางดิ่งก็เข้าครอบงำคณะสงฆ์ เพราะฉะนั้น ความสำเร็จจึงมีน้อยมาก
ในความเป็นชุมชนนี้ ขณะนี้ก็มีการรื้อฟื้นความสนใจกันไปทั่วโลก โรเบริต แพลทนั่ม แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ไปศึกษาที่อิตาลี ซึ่งประเทศนี้เป็นประเทศที่เหมาะแก่การศึกษา เพราะว่า เป็นประเทศเดียว แต่เหมือนกับมีสองประเทศอยู่ด้วยกัน
ตอนเหนือของอิตาลีนั้น การเมืองดี และศีลธรรมดี ส่วนลงมาแถบตอนล่างก็จะมีเรื่องมาเฟีย, มีเรื่องการฆ่าหัวคะแนน , ยกหีบบัตร ฯลฯ มีสองลักษณะอย่างนี้อยู่ในประเทศเดียวกัน ซึ่งนาย แพลทนั่มนี้ได้ไปศึกษาวิจัย เป็นการวิจัยขนาดใหญ่ว่า ทำไมจึงต่างกัน? ทั้งๆที่เป็นประเทศเดียวกันใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน มีกฎหมายกระจายอำนาจไปสู่ภูมิภาค แต่ว่าไม่เหมือนกัน
นายแพลทนั่มยังได้พบว่า ภาคเหนือมีโครงสร้างเป็นแบบทางราบ คนจะมีลักษณะรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำอย่างมาก ในขณะที่ทางตอนใต้เป็นลักษณะแท่งอำนาจลงมา แม้ในบางเมืองเป็นเมืองเคร่งศาสนา แต่ศีลธรรมก็ไม่ได้ดี เพราะว่า "รักพระผู้เป็นเจ้า แต่ไม่รักกันเอง" อันนี้จะช่วยอธิบายอะไรได้อีกเยอะ จะช่วยอธิบายปรากฎการณ์ในสังคมไทย เพราะสังคมไทยเป็นเมืองพุทธ พุทธศาสนาเป็นของดี แต่ไฉนจึงมีความเสื่อมเสียทางศีลธรรมมาก เพราะโครงสร้างทางสังคมไทยเป็นสังคมทางดิ่ง และพุทธศาสนาควรจะเป็นเรื่องในทางราบ แต่เข้ามาถูกครอบด้วยโครงสร้างทางดิ่ง ศีลธรรมก็ไม่ดี
สังคมแห่งการรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำ
มีแพทย์ชาวอเมริกันชื่อว่า
สก๊อต เพรค เขารักษาคนอเมริกันที่ไม่มีความสุขทีละคนๆ ก็รู้สึกว่า ไปไม่ไหว เพราะว่า
คนไม่มีความสุขมากเหลือเกิน
เขาต้องการที่จะช่วยให้คนได้มีความสุข เขาก็ได้ตั้งมูลนิธิขึ้นมาในชื่อว่า
Foundation of Community Encouragement. (FCE) มูลนิธินี้จะช่วยคนที่อยากจะรวมตัวกันร่วมคิดร่วมทำ
การที่คนจะรู้ว่าดีนั้น ก็อาจทำไม่เป็น ต้องมีคนช่วย ต้องมีวิทยากรช่วย ที่เรียกว่า
"วิทยากรกระบวนการ"
"กระบวนการ" หมายถึง "กระบวนการที่จะรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ" สก๊อต เพรค บอกว่า มูลนิธิของท่านนี้ประสพความสำเร็จ 80% ส่วนอีก 20% ไม่ประสพความสำเร็จ เพราะฉะนั้น เรื่องของวิทยากรกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ
จำเป็นต้องสร้างวิทยากรกระบวนการขึ้น เพื่อส่งเสริมให้คนรวมตัวร่วมคิดร่วมทำเป็น และเมื่อคนรวมตัวร่วมคิดร่วมทำเป็น และเกิดเป็นโครงสร้างในแนวราบ มีความเป็นชุมชนขึ้น อย่างนั้นแล้วผู้คนจะมีความสุขเหลือหลาย
"ความสำเร็จ" เรียกว่า "แก้ปัญหาจุดใหญ่" ไม่ว่าจะเป็นความยากจน , เรื่องจิตใจ , เรื่องครอบครัว ,เรื่องสิ่งแวดล้อม ฯลฯ และตัวอย่างมีเยอะในโลก ทั้งในประเทศไทยอีกด้วย จนกระทั่งเขาสรุปและเขียนเป็นหนังสือ "A World waiting to be gone"
"โลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นจะเป็นโลกแห่งความเป็นชุมชน , โครงสร้างโลกจะเปลี่ยนไป คือคนจะรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำ และเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายหมดทั้งโลก"
เมื่อคนรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำอย่างนี้นั้น เป็นองค์กรชนิดหนึ่ง ซึ่ง "ตรงข้าม" กับ "แท่งอำนาจ" ที่ท่านสังกัดอยู่ทุกวันนี้ และก่อให้เกิด "ทุกขสัมพันธ์" เกิดทุกข์ ขัดแย้ง ความไม่สร้างสรรค์
แต่เวลาเมื่อมันเกิดเป็นชุมชนขึ้นนั้น มันสร้างสรรค์เต็มๆเลย ความสุขเกิดขึ้น และบรรยายกันว่า ประดุจบรรลุนิพาน เป็นการบรรลุนิพานของชุมชน, เป็น Social Health เป็น"สุขภาวะทางสังคม"ที่เกิดจากการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ
การที่คนจะมารวมตัว ร่วมคิดร่วมทำกันได้ จะต้องมีความเอื้ออาธรต่อกัน มันมีคุณค่าอยู่ชุดหนึ่งซึ่ง "อำนาจแห่งเงิน" ซื้อไม่ได้ สร้างไม่ได้ มีอยู่ 5 ข้อด้วยกัน
(1) อ= เอื้อ
(2) ป= เปิดเผยไม่มีการซ้อนเร้น
(3) จ= จริงใจ
(4) ช= ความเชื่อถือได้ สิ่งนี้มีความหมายมาก ถ้าใครเชื่อถือไม่ได้ ถ้าสังคมลงความเห็นว่าเชื่อถือไม่ได้แล้ว ทำอะไรไม่สำเร็จเลย ถ้ามีความเชื่อถือกันได้นั้นจะเกิดความสุข
(5) ร = การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning thought action)
การใช้ความรู้ในการทำงาน
ไม่ทำให้เกิดความสำเร็จ (ต้องใช้การเรียนรู้)
การพัฒนาในโลกใน 50 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมานี้ ซึ่งทำกันทั่วโลกปรากฎว่าไม่ประสพความสำเร็จกันทั่วโลก
และมีการไปวิจัยโดยธนาคารโลกไปวิจัยว่า ทำไมไม่ประสพความสำเร็จ
ก็สรุปออกมาว่า
ที่ไม่ประสพความสำเร็จนั้นเพราะว่า ไปใช้ความรู้ในการทำงาน
ฟังดูอาจจะแปลก เอ ถ้ามันไม่ใช้ความรู้มันก็แย่ แต่นี่ใช้ความรู้แล้วไม่สำเร็จ
"ใช้ความรู้" หมายถึง "ใช้ความรู้ที่ตนมีอยู่" จะเรียนรัฐศาสตร์มา จะเรียนอะไรมาก็แล้วแต่ ก็เอาความรู้ไปใช้ แต่ก็ไม่สำเร็จ ??
เพราะว่า ในความเป็นจริงนั้น ซับซ้อน มีความจำเพาะ และเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง พยากรณ์ไม่ได้ ต้องอาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ เพราะใน action นั้น มันเป็นเรื่องของความยาก ความจำเพาะ ปัญหาเกิดขึ้นใหม่ ผุดบังเกิดขึ้นร้อยแปด "ถ้าไม่อาศัยการเรียนรู้ ทำงานไม่สำเร็จ"
ผมเคยพูดแม้ในสมัยรัฐบาลอานันท์ว่า รัฐบาลอานันท์เป็นรัฐบาลที่มีความรู้มากที่สุดกว่ารัฐบาลอื่น แต่เป็นรัฐบาลที่ไม่เรียนรู้ ถ้าไม่เรียนรู้แล้วแก้ปัญหาเรื่องความยากจนไม่ได้
อันนี้จะเป็นประเด็นสำคัญที่ผมก็ได้เตือนรัฐบาลปัจจุบันด้วย การที่คุณใช้ความรู้ในสิ่งที่คุณมีความรู้อย่างนั้นมันแก้ไม่ได้ แต่มันต้องอาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ และอาศัยตรงนี้เป็นเครื่องมือ อันนี้คือเครื่องมือทะลวงความยาก
วันนี้เราเผชิญความยาก ขวางกั้นเราอยู่เต็มไปหมด ขวางกั้นรัฐบาลอยู่เต็มไปหมด อาศัยอำนาจดันไปนั้น ดันไม่ออก ต้องอาศัยเครื่องมือที่ทะลวงความยาก ซึ่งเครื่องมือในการทะลวงความยากนี้คือ "การเรียนรู้ร่วมกันในการปฎิบัติ" ก็ดึงคนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน ไปสู่การปฏิบัติ ใช้การวิจัยเป็นตัวเดิน และเป็นตัวสร้างความรู้
องค์ประกอบ 3 ประการของการเรียนรู้
"การเรียนรู้ร่วมกันในการปฎิบัติ" นี้มีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการซึ่งเชื่อมโยงอยู่ด้วยกันคือ
1) ความรู้
2) การเรียนรู้
3) การจัดองค์กร
3 อันนี้จะสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา
ต้องแยกเรื่อง "ความรู้" กับ "การเรียนรู้" พระไตรปิฎก เป็นความรู้ แต่ว่าถ้ามีแต่พระไตรปิฎก (มีแต่ความรู้) แต่ไม่มีการเรียนรู้ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ คนต้องเรียนรู้
ในการเรียนรู้นั้น ความรู้มันจะช่วยในการเรียนรู้ หลายๆอย่างเราไม่รู้หรอก ที่จริงเกือบทั้งหมดนี้เราไม่รู้หรอกว่าต้องทำอย่างไร? จำเป็นต้องวิจัย และสร้างความรู้นั้น เรียนรู้โดยการสร้างความรู้ในเรื่องนั้นๆ มันต้องการ "การวิจัยและพัฒนาเข้ามา" หรือที่เรียกว่า R&D ( Research and Development) อันนี้เป็นเครื่องมือในการเดินเรื่อง หรือดึงคนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน และพอทำไปอย่างนี้จะเกิดองค์กรเกิดขึ้นมาเองเป็น Self organize เพราะในกระบวนการนี้ "ผู้นำตามธรรมชาติ" จะเกิดขึ้น , ผุดบังเกิดขึ้นหรือ emerge ออกมา
ผู้นำตามธรรมชาติ
"ผู้นำตามธรรมชาติ" จะแตกต่างจาก "ผู้นำโดยการแต่งตั้ง หรือ โดยการเลือกตั้ง"
ทุกวันนี้ในระบบการเมืองก็ดี ในระบบของมหาวิทยาลัยก็ดี เราก็จะมีผู้นำจากการแต่งตั้ง
จากการสรรหามา จากการเลือกตั้ง อะไรก็แล้วแต่ จะพัวพันอยู่ตรงนี้
"ไม่ใช่ผู้นำที่แท้จริง"
"ผู้นำตามธรรมชาติ" จะ emerge เกิดขึ้นจากกระบวนการของการที่เรียนรู้ร่วมกัน และทำงานร่วมกัน emerge ออกมาเอง เดิมไม่มีใครรู้ เจ้าตัวเองก็จะไม่รู้ แต่เมื่อมีการทำงานร่วมกันแล้วจะผุดบังเกิดขึ้นมาเอง เกิดขึ้นทุกครั้ง ...ผู้นำนั้นจะมีลักษณะ
1) เป็นคนฉลาด (ถ้าเลือกตั้ง หรือ แต่งตั้ง "ไม่แน่ว่าจะฉลาด" ส่วนใหญ่ "โง่")
2) เป็นคนเห็นแก่ส่วนรวม
3) เป็นคนที่สื่อสารกับคนอื่นรู้เรื่อง ไม่ใช่อรหันต์แห้ง
"อรหันต์แห้ง"คือ "เป็นคนดี" แต่ไม่คุยกับใครเลย เงียบ ไม่พูดกับใคร เรียบง่ายในท่ามกลาง complexity. อันนี้ผมได้มาจากสมัยเมื่อตอนหนุ่มๆที่ไปฝึกกรรมฐานที่วัดป่าบ้านตาด แล้วมีคนชี้ให้ดูหลวงตาว่า "นั่น อรหันต์แห้ง" ท่านบรรลุธรรมะแล้ววันๆท่านไม่พูดกับใครเลย อย่างนั้นก็เป็น "ปัจเจกพุทธ" แต่ว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ ไม่ได้ ผู้นำต้อง communicate และ
4) เป็นที่ยอมรับ อันนี้จะตามมาอย่าง automatic
(อ.ประเวศ วะสี ; ต่อเทปม้วนที่1หน้า
b)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ self organize ขึ้นมาเองไม่มีคนแต่งตั้ง ไม่มีคนเลือกตั้ง
แต่มันก่อตัวขึ้นมาเอง แล้วความสุขมันจะเกิดขึ้น ความสร้างสรรค์มันจะเกิดขึ้น
ถ้ามีการเลือกตั้ง คนถูกเลือกมาได้คะแนนเสียงมา 51% หรือ 49% แล้วบอกเขาไม่ได้เลือกคุณ
ก็เกิดวุ่นวายขัดแย้งกันไปเรื่อยๆที่อยู่ในองค์กร
ธรรมแห่งความเจริญ 5
ข้อ
แต่ว่าองค์กรแบบ Self organize นี้นั้น คนทั้งหมดจะเป็นเอกภาพกัน เพราะมันเกิดการเป็นองค์กรขึ้นมาโดยตัวมันเอง
เพราะฉะนั้นตรงนี้เองที่เรียกว่า "ธรรมแห่งความเจริญ" 5 ข้อ
คือ
1) ถ้ามีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ
2) มีการวิจัยเพื่อสร้างความรู้ขึ้นมาสู่
3) การเรียนรู้ร่วมกัน
4) เกิดองค์กรขึ้นเองตรงนี้
5) เริ่มรุดหน้าเจริญไป
ไม่ใช่เป็นการเอา "องค์กรนำหน้า" เหมือนอย่างเรื่องการปฏิรูปการศึกษาทุกวันนี้ที่ติดขัด ทะเลาะกันใหญ่โตเพราะว่าไปเอาองค์กรนำหน้า ซึ่งมันจะไม่ถูกต้องตามหลักธรรมชาติอันนี้
หลักตามธรรมชาติตรงนี้คือ องค์กรจะ Self organize เกิดขึ้นตามมา ตามมาจากกระบวนการทำงานร่วมกัน ท่านจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เรียกว่าการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning thought action) และรอบๆที่วนสิ่งนี้อยู่นั้นคือมี ธรรมอยู่ 4 ตัวห่อหุ้มด้วยธรรมซึ่งก็คือ
1) ความเอื้ออาธรต่อกัน
2) ความเปิดเผย
3) ความจริงใจ
4) ความเชื่อถือได้
ลองนึกภาพดูว่าองค์กรเป็นแบบนี้จะมีความสุขแค่ไหน? จะมีความสร้างสรรค์แค่ไหน? ที่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นว่า พวกเราต้องทำความเข้าใจกันตรงนี้เพื่อช่วยกันว่า ในองค์กรต่างๆ และในบ้านเมืองด้วย และช่วยคุณทักษิณด้วย ให้หลุดออกจากความคิดเดิม ก็คือ "แท่งอำนาจ" ซึ่งไม่ work จะไปตั้งกระทรวง ตั้งทบวง ตั้งกรม ตั้งอะไรต่ออะไร ก็คือใช้แท่งอำนาจ แล้วคนจะวุ่นวายกันทั้งประเทศ "วิ่งเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ๆ แย่งชิงกันเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ๆ แต่ไม่ได้งานได้การอะไร" จำเป็นต้องส่งเสริมให้ทุน สกว.เยอะๆ ให้เขาเอาไปเป็นทุนสนับสนุนการวิจัย การเรียนรู้ และก่อพาคี acting ในเรื่องต่างๆ หรือเอาให้หมอวิพุธ ก็ได้
เมื่อครู่ ดร.สุเมธท่านได้พูดถึง "พระมหาชนก" ซึ่ง พระมหาชนกนี้ที่จริงท่านทั้งหลายน่าจะกลับไปอ่านโดยละเอียด พระองค์ท่านทรงนิพนธ์เอาไว้สั้นๆ แต่รุนแรง ตรัสไว้ในนั้นว่า คนทั้งหลายตั้งแต่มหาอุปราช จนกระทั่งถึง คนเลี้ยงม้านั้น ล้วนตกอยู่ใน "โมหะภูมิ" ซึ่งก็คือ "อวิชชา" และเมืองนั้นก็เป็นเมือง "อวิชชา" มีความชั่วร้ายอะไรเต็มไปหมด สิ่งที่เรากำลังจะพูดกันเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นก็คือ "การหลุดออกจากโมหะภูมิ" หรือ "แท่งอำนาจ" ไปสู่วิชา ไปสู่ปัญญา
ถ้าปัญญาตรงนี้ เราลองมาพิจารณาดูโครงสร้างของสมอง สมองเป็นโครงสร้างที่วิจิตรพิศดารที่สุดในจักรวาล ประกอบด้วยเซลส์สมองประมาณ 2 แสนล้านตัว และแต่ละตัวก็เชื่อมโยงกับตัวอื่นๆอีก7 หมื่นตัว ที่เรียกว่า Neural network. เป็นเครือข่ายที่มีการเรียนรู้สูงสุด 00000000 "ไม่ได้เป็นเครือข่ายอำนาจ"
ถ้าสมองของมนุษย์เรานั้น ใช้โครงสร้างแบบโครงสร้างระบบราชการนั้น เราคงตายไปนานแล้ว สมองไม่ได้ใช้โครงสร้างของทางราชการเลย เป็นเครือข่ายธรรมชาติ เซลส์สมองเชื่อมโยงกัน ถ้าเปรียบเทียบว่า เซลส์สมองนี้คืออะไรในทางสังคม?
เซลส์สมองในทางสังคมจะ "เป็นหน่วยของการจัดการความรู้ที่เป็นอิสระ" ตรงนี้เราต้องการสร้างให้เกิดขึ้นให้เต็มสังคมไปหมด ที่จะมาทำงานเชื่อมกับแท่งอำนาจ หรือ แทนแท่งอำนาจ "เป็นหน่วยการจัดการความรู้ที่เป็นอิสระ"ถ้าไม่เป็นอิสระมาถูกสั่งให้จัดการไม่ได้!! ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อครั้งเรามี คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย คพป. เป็นหน่วยจัดการความรู้ที่เป็นอิสระ , สสร. เป็นหน่วยจัดการความรู้ที่เป็นอิสระ , สวรส. เป็นหน่วยจัดการความรู้ที่เป็นอิสระ., สกว. เป็นหน่วยจัดการความรู้ที่เป็นอิสระ, ความเป็นชุมชนที่กำลังเกิดขึ้นในที่ต่างๆ เป็นหน่วยจัดการความรู้ที่เป็นอิสระ
เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อเราดูภาพทั้งหมดว่า ท่ามกลางความซับซ้อน ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติที่ตรงนี้จะเกิดการจัดการชนิดใหม่ ที่อาศัย "ชุดธรรมเพื่อความเจริญ" อันได้แก่
1) ความเอื้ออาธรต่อการ
2) ความเปิดเผย
3) ความจริงใจ
4) ความเชื่อถือได้ และ
5) การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ
แล้วตัวนี้จะก่อตัวขึ้น การวิจัยอยู่ในนี้ และตรงนี้ทุกคนจะทำได้ทั้งสิ้น ในเรื่องของท่าน ในเรื่องของท่านทุกคนมีส่วนร่วมได้ และจะทำกันในนี้ได้มาก เครือข่ายตรงนี้ก็จะขยายออกไปเรื่อยๆๆ ในที่สุดเต็มประเทศ และเต็มโลกหมด โลกจะเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ เป็นโครงสร้างเหมือนเซลส์สมอง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่วิจิตรที่สุดในจักรวาล เป็น Social network ของการเรียนรู้ร่วมกัน ของธรรมที่จะเจริญไปอยู่ในนี้ เป็น "โครงสร้างโดยธรรม" หรือ "โครงสร้างของวิชา" เข้ามาแทนที่ "โครงสร้างจากโมหะภูมิ"
อันนี้ก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไป และนี่คือการจัดการใน Complexity เป็นการจัดการแบบใหม่ ที่จะช่วยให้ทุกคนเกิดความสุข ประดุจบรรลุนิพาน และมีความสร้างสรรค์เป็นอย่างยิ่ง -ขอบคุณครับ-
หมายเหตุ : บทความถอดเทปปาฐกถาพิเศษของ อ.ประเวศ วะสี แสดงเอาไว้เมื่อ ต้นปี 2545 เนื้อหาทั้งหมดมาจากการประชุมที่จัดโดย กลุ่มของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) [พรพ.] วรพจน์ พิทักษ์ (ถอดเทป)
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)