มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 253 เดือนเมษายน 2546
หัวเรื่อง "การแนะนำหนังสือ ธิดาแห่งไอซิส" โดย วารุณี ภูริสินสิทธิ์
ภาควิชา สังคมวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สังคมให้ผู้หญิงรักษาพรหมจรรย์กันอย่างออกหน้าออกตาในช่วงวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมาก็มีความหมายที่ไม่ต่างกันนัก ประหนึ่งว่าถ้าสูญเสียพรหมจารีไปแล้ว ชีวิตของผู้หญิงก็จะไม่มีคุณค่าใดเหลืออยู่อีกแล้ว ซึ่งแตกต่างจากชีวิตของผู้ชายอย่างสิ้นเชิง
เรื่องประจำเดือนคือราคี ก็ดูจะเป็นความเชื่อที่แพร่หลายในหลายวัฒนธรรม และจากราคีนี้เองทำให้ผู้หญิงถูกกีดกั้นจากการเข้าใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ผู้หญิงอียิปต์ในช่วงมีประจำเดือนจะถูกห้ามไม่ให้ยืนเบื้องพระพักตร์พระเจ้าและไม่ควรกล่าววจนะในอันกุรอาน ดังเช่นผู้หญิงจีนไม่ควรไหว้เจ้าในช่วงนี้เช่นกัน
อีกทั้งโลกของผู้หญิงอียิปต์ส่วนใหญ่ก็ไม่ต่างจากโลกของผู้หญิงในสังคมอื่น ๆ นัก คือ โลกแคบ ๆ ของกิจกรรมภายในบ้าน และข้ออ้างที่เก็บผู้หญิงไว้ในโลกแคบ ๆ นี้ก็ไม่ต่างเช่นกัน คือ เพื่อทำหน้าที่ (ที่ทรงเกียรติ ?) ของเมียและแม่ และเพื่อความปลอดภัยของผู้หญิงเอง เพราะโลกภายนอกล้วนเต็มไปด้วยผู้ชายที่ชั่วร้าย ผู้เขียนจึงได้สรุปถึงชีวิตของเธอซึ่งก็คือชีวิตของผู้หญิงอียิปต์ส่วนใหญ่ว่า
"โลกของพ่อ ของแผ่นดิน ของประเทศชาติ ศาสนา ภาษาและหลักศีลธรรม มันกลายเป็นโลกที่อยู่รอบตัวฉัน โลกที่สร้างขึ้นจากร่างของเพศชายโดยมี ร่างเพศหญิงของฉันอาศัยอยู่" (หน้า 76)
เรื่องราวของผู้หญิงอียิปต์ล้วนดูคล้ายคลึงกับผู้หญิงอีกจำนวนมากในหลายวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามมีเรื่องหนึ่งที่มักไม่ค่อยพบในงานเขียนของนักสตรีนิยมตะวันตกมากนัก แต่ผู้เขียนกลับให้ความสำคัญอย่างมากและสามารถทำให้ผู้อ่านน้ำตาซึมอย่างไม่รู้ตัว คือการกล่าวถึงความผูกพันอย่างลึกซึ้งระหว่างแม่กับลูกสาว นักสตรีนิยมตะวันตกบางส่วนจะมองว่าแม่คือผู้ถ่ายทอดหลักของความเชื่อที่กดขี่ผู้หญิง และมักเสนอถึงความขัดแย้งระหว่างแม่และลูกสาวมากกว่าจะเสนอด้านที่เป็นบวกของความสัมพันธ์
แต่สำหรับเธอนาวัล เอ็ล ซัดดาวี แม่เป็นพลังแฝงที่อยู่ภายในตัวเธอ "กลิ่นกายของแม่เป็นส่วนหนึ่งของตัวฉัน ส่วนหนึ่งของร่างกายของวิญญาณ" (หน้า 18) แม่เป็นคนยืนยันให้เธอเรียนต่อในระดับสูง เมื่อพ่อต้องการให้เธอซึ่งเป็นลูกผู้หญิงคนโตออกจากโรงเรียนเพื่อมาช่วยงานบ้านและเลี้ยงน้องซึ่งมีอีกหลายคน แม่เป็นคนยืนยันให้เธอได้เรียนต่อในระดับสูง เมื่อมีคนพยายามจะให้เธอเลิกเรียนโดยอ้างว่าไม่ปลอดภัยเพราะเธอต้องไปใช้ชีวิตห่างจากครอบครัวในเมืองใหญ่ หรือการเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยทำให้ต้องเรียนปะปนกับผู้ชาย แม่เธอจะบอกว่า
"ถ้าคุณโยนแกเข้ากองไฟ แกจะสามารถรอดออกมาได้โดยไม่เป็นอันตรายใด ๆ สักนิดเดียว" (หน้า 194)
และด้วยการยืนยันอย่างหนักแน่นของแม่ตลอดมา ทำให้เธอสามารถเรียนจนจบแพทย์ ชีวิตของเธอคงเป็นเสมือนความใฝ่ฝันของแม่ ความใฝ่ฝันที่ไม่เคยเป็นจริงในชีวิตของแม่แต่มันสามารถถูกถ่ายทอดผ่านทางเธอ แม่จะเรียกเธอว่า "คุณหมอนาวัล" ตั้งแต่วันแรกที่เธอได้เข้าเรียนแพทย์ และในวันที่เธอเรียนจบ "แม่ดูเหมือนดอกไม้ที่กำลังเบ่งบาน เสียงหัวเราะแบบเด็ก ๆ ประกายระยิบในดวงตาสีน้ำผึ้งของแม่หวนคืนมา" (หน้า 189)
ความเข้มแข็งของแม่รวมทั้งความสามารถที่จะปกป้องลูกและมีอำนาจต่อรองกับสามีได้ในระดับหนึ่ง ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะแม่ผู้เขียนเป็นลูกสาวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีฐานะดี มาจากตระกูลสูง ส่วนบิดาเป็นเพียงลูกชาวนาแต่สามารถเรียนจนจบเป็นข้าราชการครู ด้วยชีวิตที่หลากหลายประสบการณ์ของผู้เขียน การมีเครือญาติที่เป็นทั้งผู้ดีและชาวนา การได้ใช้ชีวิตทั้งในชนบทและเมืองใหญ่ทำให้หนังสือเล่มนี้มีสีสันเพิ่มขึ้น เพราะหนังสือไม่เพียงแต่จะเสนอภาพชีวิตของผู้หญิงมุสลิมซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รับรู้มากนัก แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางชนชั้นของสังคมอียิปต์ วิถีชีวิตและความเชื่อที่ต่างกันของคนในเมืองและคนในชนบท รวมทั้งสภาพการเมืองและความรู้สึกของผู้คนภายใต้การเป็นอาณานิคมของอังกฤษผ่านทางชีวิตที่ผันแปรไปของผู้เขียน
ดังนั้น ใครที่สนใจเรื่องผู้หญิง สังคมอิสลาม วัฒนธรรมที่หลากหลายของผู้คนในสังคมอื่น ไม่ควรมองข้ามหนังสือที่น่าอ่านเล่มนี้ "ธิดาแห่งไอซิส" แปลเป็นภาษาไทยโดยประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล คบไฟเป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์
(บทความนี้ยาวประมาณ 2.5 หน้ากระดาษ A4)
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)
สตรีชาวมุสลิมมักถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นกลุ่มผู้หญิงที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทางเพศอยู่เสมอ แต่คำกล่าวนี้ก็จะได้รับการโต้แย้งว่าเป็นการมองจากบุคคลนอกวัฒนธรรมที่ไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงต่อสังคมอิสลาม หนังสือเล่มนี้จึงมีความน่าสนใจเพราะผู้เขียนเป็นสตรีชาวมุสลิมซึ่งเปรียบเสมือน "คนใน"
เรื่องราวความเหลื่อมล้ำทางเพศของหญิงและชายในประทศอียิปต์ได้ถูกสะท้อนผ่านทางชีวิตที่ดำเนินไปของผู้เขียนและผู้หญิงที่อยู่รอบตัวเธออย่างเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีคำด่าว่าหรือประชดประชันใด ๆ แต่เรื่องราวเหล่านั้นกลับสร้างความสะเทือนใจต่อผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นการถูกเฉือนคลิตอริสทิ้งในวัยเพียง 6 ขวบด้วยประสงค์ของพระเจ้า หรือความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ของเด็กสาวคนแล้วคนเล่าที่ต้องจบลงด้วยการแต่งงานด้วยวัยเพียง 11-12 ปี
ในขณะที่แนวคิดสตรีนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เริ่มหันหลังให้กับแนวคิดเรื่อง "ความเป็นพี่น้อง" ของผู้หญิงที่ถูกกดขี่เหมือนกันทั้งโลก หนังสือเล่มนี้ ชีวิตของผู้หญิงในดินแดนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก กลับสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิงที่คล้ายคลึงกับสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะสังคมจีนและอินเดียอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ว่าผู้หญิงเกิดมาเพื่อแต่งงาน ผู้หญิงคือสมบัติของครอบครัวผู้ชายเมื่อแต่งงานไปแล้ว
"เด็กผู้ชายคือผู้ดำรงตระกูล แต่เด็กผู้หญิงต้องแต่งงานแล้วก็ออกจากบ้านพ่อไป และลูก ๆ ของนางก็ต้องใช้ชื่อของผู้ชายที่นางแต่งงานด้วย" (หน้า 66) เพราะฉะนั้น "เด็กผู้ชายคนหนึ่งมีค่าเท่ากับผู้หญิงสิบห้าคนเป็นอย่างน้อย" (หน้า 66) และสำหรับผู้ชายส่วนแบ่งของเขาจะเป็นสองเท่าของผู้หญิง
นอกจากนี้การพิสูจน์และการแสดงความยินดีต่อการได้เห็นเลือดจากการฉีกขาดของเหยื่อพรหมจรรย์หลังการส่งตัวเจ้าสาวก็เป็นเรื่องที่หลายวัฒนธรรมให้ความสำคัญคล้าย ๆ กัน ในประเทศไทยแม้จะไม่มีประเพณีพิสูจน์เลือดพรหมจรรย์อย่างจะจะตา แต่การรณรงค์ทาง