บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 268 เดือนพฤษภาคม 2546 หัวเรื่อง "การจัดการน้ำของชาวบ้าน" ปาฐกถาพิเศษ โดย นิธิ เอียศรีวงศ์ : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์นี้ วันที่ 16 พฤษภาคม 2546
(ความยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4)

 

ภาพประกอบดัดแปลง เพื่อใช้ประกอบผลงานบริการฟรี ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (หากประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลงมาจะแก้ปัญหาได้ -160646)
release date
160646
R
ภายใต้สภาวะเช่นนี้เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร   
คิดว่าถ้าพูดให้สั้นที่สุดก็คือว่า เราจะแก้ปัญหา
นี้ได้ด้วยความสามัคคี แต่เผอิญคำๆ

นี้เป็นคำที่น่ารังเกียจนิดหน่อย    เพราะ
   คำว่า"สามมัคคี"ซึ่งผู้ใหญ่ในบ้านเมือง
   นี้มักจะเรียกร้องให้เราสามัคคีกันอยู่เสมอ 
   มันแปลง่ายๆว่า"อย่าหือ" 
คนเราจะสามัคคีได้ ต้องมีความเท่าเทียมกัน ต้องมีอำนาจต่อรองที่เท่าเทียมกัน อยู่ๆให้พวกเราตัวเล็กๆไปสามัคคีกับผลประโยชน์อันใหญ่มหึมา ซึ่งกดทับเราอยู่ อันนี้เป็นไปไม่ได้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

บทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สำหรับผู้สนใจ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ เฉพาะทางด้านวิชาการเท่านั้น : เว็ปนี้สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่การศึกษา
สามัคคีของผม หมายถึงความพร้อมใจ ซึ่งเกิดจากการเจรจาต่อรองอย่างเท่าเทียมกัน รู้ข้อมูลของกันและกันด้วย ตรวจสอบกันได้ด้วย จนเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ความสามัคคีที่คนเล็กต้องยอมคนใหญ่ตลอดไป เพื่อที่เราจะได้สามารถสร้างกติการ่วมกันเพื่อการแบ่งปันอย่างเป็นธรรมได้ เพราะผมก็เชื่ออย่างที่อาจารย์ชัยพันธ์ ว่าไว้ก่อนหน้านี้ คือเชื่อคานธีว่า ทรัพยากรในโลกนี้มีเพียงพอสำหรับทุกคน แต่ไม่พอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว (นิธิ เอียวศรีวงศ์)

นักวิชาการใหญ่ๆหรือองค์กรระหว่างประเทศมักจะลืมไป คือไปคิดถึงแต่เทคโนโลยีในทางด้านวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้คิดเรื่องของการจัดการทางสังคมเพื่อจะทำให้น้ำมีปริมาณเพียงพอสำหรับทุกๆคน น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตมาก และเมื่อไหร่ที่มันขาดแคลน ก็ยากมากที่จะหาอะไรมาแทนได้ ซึ่งจริงๆแล้วผมคิดว่าหาอะไรแทนมันไม่ได้ ยากมากที่เราจะดิ้นรนไปหาทางอื่น ผมหมายความว่าอย่างนี้

ถ้าเราเปรียบเทียบน้ำกับป่า หรือที่ดิน ซึ่งในประเทศไทยมีการจัดการที่เฮงซวยตลอดมา คนขาดป่าเขาก็ยังสามารถดิ้นรนเข้าเมือง เพื่อไปหางานทำ เช่น เก็บขยะ เอาไปขาย เป็นต้น มันพอจะยังชีวิตรอดอย่างแกนๆไปได้บ้าง คนขาดแคลนที่ดินซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองไทย ก็กลายเป็นแรงงานรับจ้าง ทั้งในภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ มันพอจะดิ้นรนหาทางออกในชีวิตได้ ดีบ้างไม่ดีบ้าง ก็พอจะมีทางออก

แต่เมื่อไหร่ที่ขาดแคลนน้ำ ไม่มีทางจะออก มันจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากทีเดียว ถ้าจัดการไม่ดีเมื่อไหร่ จะเกิดความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า คำว่า"จัดการไม่ดี" มันหมายถึงอะไรบ้าง ผมคิดว่ามันหมายถึงอย่างน้อย 3 อย่างด้วยกัน

อย่างที่หนึ่ง หมายความว่า การจัดการน้ำหรือการจัดการทรัพยากรที่ไม่ดี คือการจัดการแบบ"รวมศูนย์แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด" อย่างที่ประเทศไทยทำอยู่กับป่า กับที่ดิน ตอนนี้ยังไม่ได้ทำกับน้ำเต็มที่ แต่ว่ากำลังก้าวเข้าไปสู่การจัดการน้ำแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนกัน เพราะว่าการจัดการทรัพยากรที่รวมศูนย์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการป่า จัดการที่ดิน จัดการชายฝั่งทะเล จัดการลุ่มน้ำขนาดใหญ่ จัดการเรื่องเหมืองแร่หรืออะไรก็ตามแต่ เราจะพบได้ว่าล้วนแต่ล้มเหลวหมด กล่าวคือ อนุรักษ์ให้ยั่งยืนไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นป่า จะเป็นชายฝั่งทะเล

ในขณะเดียวกัน การจัดการนั้นก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนอื่นอย่างมาก นี่เป็นเหตุผลข้อที่หนึ่งของการจัดการทรัพยากรแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาค่อนข้างมาก และเราพบว่า มันจะประสบความล้มเหลวอย่างในเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่

ประการที่สองต่อมา การจัดการทรัพยากรแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จเด็ดขาดใช้ไม่ได้ก็คือว่า ในที่ๆประชาธิปไตยทางสังคมยังไม่เข้มแข็งเช่นเมืองไทย คือในเมืองไทยจะพูดถึงประชาธิปไตยทางการเมืองว่ามันดีขึ้นได้ เช่น มันมีการเลือกตั้งที่แน่นอน สม่ำเสมอ มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและอื่นๆ มีรัฐธรรมนูญที่ค่อนข้างจะมีความมั่นคง แต่ว่าถ้าหันมามองประชาธิปไตยทางด้านสังคมในเมืองไทย จะพบว่า ความอ่อนแอของสังคมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดชะตากรรมของตนเอง กลไกอันนี้ยังมีอยู่น้อย และที่มีอยู่ค่อนข้างอ่อนแออย่างมากทีเดียว

ฉะนั้น รัฐจะเป็นผู้จัดการทรัพยากรแบบรวมศูนย์ฯ โดยการมองการใช้ทรัพยากรอย่างแคบๆ กล่าวคือ จะมองการใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองคนที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและทางการเมืองเท่านั้น แต่ไม่ได้มองการจัดการทรัพยากรลักษณะที่จะเอื้อประโยชน์สำหรับคนอื่นๆ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่และไม่มีอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมือง ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะเบนเอาทรัพยากรไปให้กับคนจำนวนน้อยได้ใช้ในวิถีทางที่แคบๆของตนเอง

อย่างในเมืองไทยเราเห็นชัดเจนว่า เอาทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นป่า ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นชายฝั่งทะเล เอาไปส่งเสริมการผลิตในภาคที่เรียกกันว่าเศรษฐกิจทันสมัย เช่นเป็นต้นว่า เอาไปส่งเสริมภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว การทำโรงแรมขนาดใหญ่ เหล่านี้เป็นต้น เอาไปส่งเสริมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ไม่ได้เอาไปส่งเสริมอุตสาหกรรมของชาวบ้าน เช่น สร้างเขื่อนขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เพื่อเอาไปทำไฟฟ้า

เวลาที่เขาสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กเพื่อเอาไปทำไฟฟ้า จริงๆแล้วก็คือการเบนเอาน้ำไปป้อนคนที่อยู่ห่างไกลจากน้ำนั่นเอง เช่นเป็นต้นว่า ทำเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อทำเป็นไฟฟ้าไปป้อนคนกรุงเทพฯ ซึ่งไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำปิงหรือไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำยม เป็นต้น หรือมิฉะนั้นก็มีการจัดการกับลุ่มน้ำเพื่อสร้างเป็นคล้ายๆอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แล้วอ้างว่าสามารถเอาไปใช้ในการเกษตรได้ แต่การเกษตรที่สามารถดึงเอาน้ำที่เก็บด้วยเขื่อนขนาดใหญ่ไปใช้ได้ คือการเกษตรเชิงพาณิชย์ที่เข้มข้นเท่านั้น จึงจะสามารถลงทุนดึงเอาน้ำเหล่านั้นไปใช้ในการเกษตรได้

ในขณะที่การเกษตรของชาวบ้านซึ่งอาศัยการขึ้นลงของน้ำตามฤดูกาล ไม่สามารถเอาน้ำเหล่านั้นไปใช้ได้เลย ในพื้นที่ เช่น ภาคอีสาน เมื่อทำเขื่อนขนาดใหญ่ขึ้น คุณทำลายแหล่งเพราะปลูกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในภาคอีสานลงไป นั่นคือ ป่าบุ่ง ป่าทาม จริงๆมีการสำรวจเรื่องที่ดินสำหรับเกษตรกรรมภาคอีสานว่า ไม่ต่ำกว่าเศษหนึ่งส่วนสามของพื้นที่ทั้งหมด เป็นป่าบุ่ง ป่าทาม ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นพอคุณไปสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กันน้ำไว้ มันก็ท่วมป่าบุ่งป่าทามหมด ชาวบ้านไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ได้ ตรงกันข้ามกลับสูญเสียแหล่งการเกษตรที่เขาเคยใช้มาชั่วนาตาปีไป หรือมิฉะนั้น ทำเขื่อนขนาดใหญ่ก็ทำให้อาชีพการประมงขนาดเล็กของชาวบ้าน ไม่สามารถจะทำต่อไปได้

เช่นเป็นต้นว่า ชาวปากมูลในทุกวันนี้ กระจัดกระจาย ส่งลูกส่งหลานรวมทั้งตัวเองอพยพไปเก็บขยะแถวดอนเมือง เป็นต้น เพราะฉะนั้นการจัดการทรัพยากรแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จเด็ดขาด มันจะมองไม่เห็นหัวคนส่วนใหญ่ แต่พยายามจะเบนทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตามแต่ไปให้คนส่วนน้อยที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้ใช้ แล้วก็ละเลยคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในภาคการผลิตที่ไม่ได้เป็นภาคการผลิตสมัยใหม่ทั้งหลายเหล่านี้ลงไปโดยสิ้นเชิง

ประเด็นที่สาม ก็คือว่า ถ้าเปรียบเทียบกันแล้วเราจะพบได้ว่า คนที่มีประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรมาก่อนอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะทรัพยากรในภาคเหนือ คือ"ชุมชน" ชุมชนในภาคเหนือเคยเป็นผู้จัดการเหมืองฝายของตนเอง เป็นผู้กระจายน้ำ อนุรักษ์น้ำ แล้วก็พัฒนาแหล่งน้ำของตนเองเพื่อใช้ในการเกษตรกรรมของชุมชน

ฉะนั้นในภาคเหนือโดยเฉพาะ ถ้ารื้อค้นเข้าไปในอดีตเราจะพบได้ว่า คนในภาคเหนือมีประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่อง"น้ำ"อย่างมากทีเดียว มีประเพณีของการเกณฑ์แรงงานร่วมกันเพื่อที่จะจัดการน้ำ มีประเพณีของการบริหารการจัดการน้ำ มีแม้แต่กฎหมายโบราณที่เกี่ยวกับเรื่องการบริหารการจัดการน้ำในชุมชนด้วยซ้ำไป

ฉะนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง"รัฐ"และ"ชุมชน"แล้ว จะพบว่าชุมชนมีประสบการณ์ มีความรู้ในเรื่องการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นมานานมากทีเดียว ดังนั้น แม้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตาม เราก็ไม่ควรละทิ้งประสบการณ์ความรู้ความชำนาญของท้องถิ่นโดยสิ้นเชิง อย่างที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ คือการโยกเอาอำนาจการจัดการทรัพยากรไปไว้กับข้าราชการในส่วนกลาง ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นมาก่อน ฉะนั้น ประสบการณ์ของชาวบ้านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเราจะต้องดึงเอาประสบการณ์เหล่านี้เข้าไปร่วมกันกับการจัดการทรัพยากรในสถานการณ์ใหม่

ความเปลี่ยนแปลงที่สร้างผลกระทบต่อการจัดการน้ำ
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งกระทบต่อการจัดการน้ำมีหลายอย่างด้วยกัน ผมคิดว่าสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องเน้นย้ำก็คือว่า เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการผลิตของประชาชนในปัจจุบันนี้มันมีความหลากหลาย แต่ก่อนนี้ในแต่ละชุมชนทำการผลิตเพื่อการยังชีพด้วยการเกษตรขนาดเล็กเหมือนกันหมดทุกคน นับตั้งแต่นายบ้านไปจนกระทั่งถึงลูกบ้านทุกๆคน ล้วนแต่ทำการผลิตเพื่อการยังชีพขนาดเล็กเหมือนกันหมด แต่ปัจจุบันนี้ไม่ใช่แล้ว

ในชุมชนทุกแห่ง แม้แต่ชุมชนขนาดเล็กก็ตามแต่ และอยู่ห่างไกล เราก็พบว่าคนในชุมชนมีการผลิตหรือมีอาชีพหลากหลายมากขึ้น เพราะฉะนั้นใช้น้ำไม่ตรงกัน ใช้ทรัพยากรไม่ตรงกัน อันนี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างยิ่ง คือเราจะกระจายน้ำอย่างเป็นธรรมได้อย่างไร ในสถานการณ์ที่ชุมชนมีความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น? จะทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อเหลือให้คนอื่นๆ ในภาคการผลิตอื่นได้ใช้บ้าง แล้วจะกระจายมันอย่างไรถึงจะเป็นธรรม และจะรักษาคุณภาพน้ำได้อย่างไร?

ในภาคการผลิตบางภาค ใช้น้ำหรือแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งอยู่ในชุมชนเป็นแหล่งที่ระบายของโสโครกเป็นต้น เราจะจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างไร? เหล่านี้เป็นปัญหามากๆที่มีความสำคัญ เพราะว่าจริงๆแล้ว ในชุมชนไทยทุกวันนี้ทุกฝ่ายเปลี่ยนหมด แล้วเรามักจะมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของเราเอง มักจะชี้มือไปโทษคนอื่นมากกว่า เช่น คนพื้นราบ มักจะโทษชาวเขาว่าใช้น้ำสิ้นเปลือง หรือมิฉะนั้นก็ทำให้น้ำเสื่อมคุณภาพลงไป แล้วทำให้ตัวเองเดือดร้อน แต่ความจริงชาวพื้นราบก็เปลี่ยน เพราะชาวพื้นราบไม่ได้ทำการเกษตรเพื่อยังชีพขนาดเล็กแล้ว ชาวพื้นราบหลายแห่งปลูกลำใย หรือปลูกสวนผลไม้ ปลูกลำใยก็ไม่ได้ลงทุนทำน้ำหยดแต่ว่าใช้วิธีการท่วม ไขน้ำเข้ามาให้ท่วมสวนลำใย พอถึงระดับหนึ่งก็ปิดน้ำเพื่อให้น้ำซึมไปทั่ว มีการการใช้สารเคมีกับต้นลำใยค่อนข้างมาก เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมลง มีการใช้น้ำอย่างไม่ประหยัด

อันนี้ผมไม่ได้หมายความว่าชาวเขาใช้น้ำประหยัด ชาวเขาก็อาจใช้น้ำอย่างไม่ประหยัด แต่ถ้าเผื่อเราทุกคนมองเห็นว่า จริงๆแล้วทุกฝ่ายเปลี่ยนการใช้น้ำหมด แทนที่จะทะเลาะกัน ก็สามารถมานั่งลงและคุยกันว่า จะแก้ปัญหากันอย่างไร? เพื่อให้น้ำพอใช้ทั้งระบบของสายน้ำนั้นๆได้

นอกจากนี้แล้ว ภาคการผลิตสมัยใหม่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคเมืองคือที่อยู่อาศัย จริงๆแล้วประเทศไทยเราได้ลงทุนในการผลิตแหล่งน้ำให้แก่ภาคการผลิตสมัยใหม่นี้น้อย ส่วนใหญ่ของภาคการผลิตสมัยใหม่ใช้แหล่งน้ำที่เคยลงทุนเอาไว้สำหรับภาคการเกษตร

ฉะนั้น เมื่อเรามองภาพนี้จะพบได้ว่า ภาคการเกษตรจะเป็นภาคที่ถูกแย่งการใช้น้ำค่อนข้างมาก จะแย่งโดยตรงหรือโดยอ้อมอย่างไรก็ตามแต่ เช่นเป็นต้นว่า แถวบ้านที่ผมอยู่คือแถวอำเภอเมืองลงมาถึงอำเภอหางดง จะพบได้ว่ามีบ้านจัดสรรเกิดขึ้นทั่วไปหมด แต่ว่าการลงทุนเพื่อทำประปาให้แก่แหล่งที่อยู่อาศัยใหม่เหล่านี้ มันทำตามไม่ทัน หรือยังไม่ได้ลงทุนก็ตามแต่ ดังนั้นบ้านจัดสรรส่วนใหญ่จึงมักจะดูดเอาน้ำใต้ดินมาใช้

ผลก็คือ บ่อน้ำที่ชาวบ้านเคยใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเองมันลดลงไป จะต้องลงทุนเพิ่มขึ้นในการเจาะหรือขุดบ่อของตนเองมากขึ้น สภาพที่เป็นอยู่เวลานี้ก็คือว่า คนที่เป็นเจ้าของโครงการบ้านจัดสรรซึ่งมีกำลังเงินมากกว่า ก็แย่งเอาน้ำของชาวบ้านไปใช้ แต่แทนที่จะแย่งโดยการเอากระป๋องไปตักของชาวบ้านโดยตรง ก็แย่งโดยการลงทุนขุดบ่อบาดาล การทำเช่นนี้ทำให้ระดับน้ำใต้ดินลดลง มีผลกระทบต่อสวนลำใยของชาวบ้านบ้าง มีผลกระทบต่อบ่อน้ำที่ชาวบ้านใช้บ้าง หรือมิฉะนั้นที่เราเห็นอยู่บ่อยๆก็คือ การปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำสาธารณะ จนกระทั่งว่าชาวบ้านไม่สามารถใช้แหล่งน้ำเหล่านั้น น้ำนั้นไม่มีคุณภาพเพียงพอที่จะใช้ได้ แม้แต่ในภาคการเกษตร โดยไม่จำเป็นต้องพูดถึงใช้ในการอุปโภคบริโภค

สภาพที่เป็นอยู่ทั่วทั้งประเทศ เอาเข้าจริงๆแล้ว เกิดภาวะปั่นป่วนเรื่องของการใช้น้ำเกือบทุกจุดของประเทศ เป็นลักษณะมือใครยาวสาวได้สาวเอา เป็นแต่เพียงคนจนตะโกนไม่ดัง จึงมองไม่เห็นว่าเขาเดือดร้อนอย่างไร? สภาวะของการจัดการน้ำจึงวุ่นวายอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้

บางส่วนของการจัดการระบบน้ำของประเทศเราได้ถูกรวมศูนย์ไปแล้ว โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ภาคการเกษตรหลายแห่งด้วยกันที่อยู่ภายใต้โครงการชลประทาน ได้สูญเสียอำนาจในการตัดสินใจในไร่นาของตนเอง ถ้าเพื่อน้ำที่เราจะใช้ในไร่นาของตนเองมาจากการกำหนดของเจ้าหน้าที่ชลประทานที่จะเปิดปิดประตูน้ำ ที่จะส่งน้ำมาตามคลองส่งน้ำ เราจะปลูกพืชอะไรไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราเอง แต่ขึ้นอยู่กับจังหวะของน้ำที่จะมามากกว่า

ฉะนั้นพูดง่ายๆก็คือว่า เกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่อยู่ภายใต้โครงการชลประทาน เอาเข้าจริงแล้วได้สูญเสียอำนาจในการจัดการไร่นาของตนเอง ในพื้นที่บางแห่ง มันบีบบังคับให้เกษตรกรต้องลงทุนไปในจุดที่เขาไม่อยากลงทุน เช่น รถไถ

เรามักจะได้ยินนักการเมืองชอบพูดเสมอว่า ควรจะเอาควายกลับมาใช้ใหม่ ไม่ควรที่จะลงทุนไปกับเทคโนโลยีสิ้นเปลือง เช่น รถไถ ซึ่งพูดถูกหมดทุกอย่าง แต่ไม่หันกลับไปดูว่า ความจำเป็นที่เกษตรกรต้องไปลงทุนกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ตนเองไม่สามารถจะควบคุมได้ มันเกิดขึ้นจากการที่เขาหมดอำนาจในการตัดสินใจในไร่นาของเขาเอง เพราะน้ำมาเป็นเวลา คุณต้องรีบไถ ถ้าคุณไม่รีบไถ คุณใช้เวลาหลายวัน คุณก็ไม่สามารถจะกักน้ำเอาไว้ได้ ฉะนั้นก็จำเป็นต้องใช้รถไถ หรือต้องเช่ารถไถมาใช้ในพื้นที่นาของตนเอง เป็นต้น เราจะพบได้ว่า การจัดการน้ำแบบนี้ มันเบียดเบียนคนที่อ่อนแอให้ไม่สามารถดูแลชะตาชีวิตของตนเองได้

แก้ปัญหาการใช้น้ำด้วยการสามัคคี
ภายใต้สภาวะเช่นนี้เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร? คิดว่าถ้าพูดให้สั้นที่สุดก็คือว่า เราจะแก้ปัญหานี้ได้ด้วยความสามัคคี แต่เผอิญคำๆนี้เป็นคำที่น่ารังเกียจนิดหน่อย เพราะคำว่า"สามัคคี"ซึ่งผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้มักจะเรียกร้องให้เราสามัคคีกันอยู่เสมอ มันแปลง่ายๆว่า"อย่าหือ" เพราะฉะนั้น ผมเรียกร้องความสามัคคีในที่นี้ ไม่ใช่สามัคคีแบบผู้หลักผู้ใหญ่ใช้ คือว่า"อย่าหือ" แต่หมายความว่า คนเราจะสามัคคีได้ ต้องมีความเท่าเทียมกัน ต้องมีอำนาจต่อรองที่เท่าเทียมกัน อยู่ๆให้พวกเราตัวเล็กๆไปสามัคคีกับผลประโยชน์อันใหญ่มหึมา ซึ่งกดทับเราอยู่ อันนี้เป็นไปไม่ได้

สามัคคีของผม หมายถึงความพร้อมใจ ซึ่งเกิดจากการเจรจาต่อรองอย่างเท่าเทียมกัน รู้ข้อมูลของกันและกันด้วย ตรวจสอบกันได้ด้วย จนเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ความสามัคคีที่คนเล็กต้องยอมคนใหญ่ตลอดไป เพื่อที่เราจะได้สามารถสร้างกติการ่วมกันเพื่อการแบ่งปันอย่างเป็นธรรมได้ เพราะผมก็เชื่ออย่างที่อาจารย์ชัยพันธ์ ว่าไว้ก่อนหน้านี้ คือเชื่อคานธีว่า "ทรัพยากรในโลกนี้มีเพียงพอสำหรับทุกคน แต่ไม่พอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว"

ฉะนั้นถ้าหากว่าเราสามารถที่จะยับยั้ง ขัดขวาง ตรวจทาน ไม่ให้มีใครโลภจนเกินไปได้ เราจะสามารถแบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกนี้ เพื่อใช้ร่วมกันได้อย่างแน่นอน ผมจึงขอพูดว่า ปัญหาเรื่องน้ำที่เราจะแก้ได้เวลานี้ คือใช้"ความสามัคคี" แต่เป็นความสามัคคีในความหมายที่แท้จริง ไม่ใช่ความสามัคคีในความหมายว่า"อย่าหือ"

ด้วยเหตุดังนั้น ผมจึงคิดว่ากรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง สำหรับโครงการนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะว่ามันเป็นแนวทางสามัคคีที่ผมหมายถึง มีความพยายามตั้งกรรมการขึ้นมาจากทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกันในลุ่มน้ำแม่ตาช้าง ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายชาวเขาที่อยู่ต้นน้ำ พวกรีสอร์ทที่อยู่กลางน้ำ และชาวบ้านที่อยู่พื้นราบ เดิมทีเดียวฝ่ายต่างๆเหล่านี้แย่งน้ำกันใช้ ต่างยกนิ้วชี้โทษกันไปชี้โทษกันมาว่าคนนั้นผิด คนนี้ถูก แทนที่จะนั่งลงและเจรจากัน เอาข้อมูลมาแฉกัน

และโครงการนี้เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก เพราะเริ่มต้นความสามัคคีด้วยการศึกษาหาความรู้ หรือเรียนรู้ข้อมูลของกันและกันก่อนว่า ใครใช้น้ำทำอะไรบ้าง ยังไม่มีกติกาอะไรทั้งสิ้น แต่ว่ากติกาจะเกิดได้ต่อเมื่อทุกฝ่ายได้รู้ข้อมูลของกันและกัน สามารถที่จะคิดถึงผลประโยชน์ของคนอื่น เข้าใจผลประโยชน์ของคนอื่นได้ ไม่ใช่มองแต่ผลประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง เพราะฉะนั้น การศึกษาเรียนรู้ หาข้อมูล จึงเป็นหัวใจสำคัญของการจะเกิดความสามัคคีที่ว่าขึ้น

เวลานี้เริ่มเกิดผลทีละเล็กทีละน้อย แต่ว่าต้องใจเย็นๆ ต่อไปในภายหน้าจะเกิดความไว้วางใจกันมากขึ้นระหว่าง 3 ฝ่าย การจะร่วมมือกันในการสร้างกติการ่วมกันว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แล้วก็เกิดอำนาจของทุกฝ่ายในการเข้าไปตรวจสอบกันและกันได้โดยเปิดเผย พอเกิดอย่างนั้นขึ้นเมื่อไหร่ จะเป็นตัวอย่างของการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐควรจะเรียนรู้

เป็นกรณีที่ผมคิดว่าสังคมไทยควรจับตามอง เพราะประสบการณ์ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของลุ่มน้ำแม่ตาช้าง ผมคิดว่าเป็นคำตอบที่มีความสำคัญในเรื่องของการจัดการทรัพยากรของสังคมไทยในอนาคตทีเดียว เป็นการจัดการน้ำที่จะมีประสิทธิภาพกว่าการจัดการน้ำแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จเด็ดขาด

ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่เฉพาะแต่คนในลุ่มน้ำแม่ตาช้างเท่านั้น ที่จะร่วมกันในการศึกษา แต่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมไทยทั้งหมดจะต้องร่วมมือกันในการจับตามอง และศึกษาติดตามให้ดีๆ ผมจึงคิดว่า สกว. ตัดสินใจได้ถูกต้องมากในการให้การสนับสนุนการศึกษาลุ่มน้ำแม่ตาช้าง อย่างที่ได้ความอุดหนุนแก่ อ.ชัยพันธ์มา

ในสถานการณ์เช่นที่เราพยายามให้ชุมชนเข้ามาจัดการทรัพยากรของตนเอง โดยยอมรับว่าชุมชนก็เปลี่ยนแปลง ยิ่งเป็นเรื่องของทรัพยากรน้ำ ก็ไม่ใช่เรื่องของชุมชนเดียวด้วย แต่มีหลายๆชุมชนมาต่อเนื่องกัน ในสถานการณ์แบบนี้ รัฐทำอะไรได้บ้าง ผมคิดว่ารัฐควรจะพยายามสร้างกลไกที่เป็นองค์กรชุมชน ซึ่งผมอยากจะย้ำว่า องค์กรชุมชนที่ว่านี้ควรจะเป็นองค์กรชุมชนหลายรูปแบบ อย่าคิดถึงแต่แบบ อบต. แต่เพียงอย่างเดียว ควรจะเป็นองค์กรชุมชนหลายรูปแบบให้มันเหมาะกับสถานการณ์ของลุ่มน้ำในแต่ละชุมชน มีกฎหมายรองรับว่าจะสามารถจัดการองค์กร ที่จะเข้ามาจัดการทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำของชุมชนได้หลายรูปแบบด้วยกัน

ขณะเดียวกัน รัฐควรจะกลับไปทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรของตนเองให้ดี เพราะกฎหมายไทยนั้นให้กรรมสิทธิ์เหนือทรัพยากรเป็นของปัจเจกค่อนข้างเด็ดขาด เพราะฉะนั้นจึงมีองค์กรชุมชน ถ้ามันมีกฎหมายยกเอาการจัดการทรัพยากรที่อยู่ในครอบครองของปัจเจกบุคคลไปอย่างเด็ดขาดอย่างนั้น องค์กรชุมชนจะเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ได้

ผมซื้อที่ตรงนี้แล้ว มีน้ำไหลผ่านที่ผม ผมก็ไปเบนน้ำเป็นน้ำตกมหึมาในโรงแรมของผม คุณจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับผมไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น เรื่องแบบนี้รัฐจะต้องเข้าไปแก้กฎหมาย มันมีการถือครองกรรมสิทธิ์เหนือทรัพยากร จะต้องถือครองโดยเด็ดขาดไม่ได้ เพราะมันมีหลายอย่างของการใช้ทรัพยากรของเราไปกระทบกับบุคคลอื่น เพราะฉะนั้น ชุมชนจะต้องเข้ามามีอำนาจในการควบคุมการใช้ทรัพยากร แม้แต่ในที่ดินซึ่งมีโฉนดของตนเองแล้วได้ในระดับหนึ่ง ตรงนี้รัฐควรจะกลับไปทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของกรรมสิทธิ์เหนือทรัพยากร ที่แจกให้กับเอกบุคคลทั้งหลายใหม่ให้ดีๆ

ในด้านวิชาการ ผมคิดว่าราชการสามารถช่วยได้มาก แต่คำว่าช่วยในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ราชการมีความรู้เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว แล้วสามารถจะเอามาแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนได้ ตรงกันข้าม ผมคิดว่าราชการมีความรู้ที่เหมาะสม"น้อย" กล่าวคือ สิ่งที่จะช่วยในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนได้คือ เทคโนโลยีอันเหมาะสม ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ลอกมาจากฝรั่ง ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งชุมชนไม่สามารถจะลงทุนได้

แต่จริงๆแล้ว ชาวบ้านมีเทคโนโลยีหลายอย่างที่เขาสามารถสร้างได้เอง แก้ไขได้เองเวลามันเสีย แล้วก็ลงทุนได้เอง ควบคุมได้เอง ราชการจะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านี้ แล้วเป็นสื่อกลางในการนำเอาเทคโนโลยีจากชุมชนหนึ่งไปยังอีกชุมชนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น สถานการณ์แบบนี้พบว่า ลุ่มน้ำแม่ตาช้างเขาแก้แบบนี้ แล้วไปพบปัญหาแบบนี้ที่จังหวัดอื่นบ้าง ก็อาจจะแนะนำได้ว่า ที่ลุ่มน้ำแม่ตาช้างเขาแก้แบบนี้ คุณลองดูบ้างไหม? เหล่านี้เป็นต้น คือทั้งเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้านการจัดการ

สรุปก็คือว่า บริการทางวิชาการซึ่งทางราชการจะสามารถให้ได้นั้น ราชการต้องเรียนรู้ใหม่ ไม่ใช่ไปลอกเอาตำราฝรั่งซึ่งไม่มีประโยชน์ มาแจกจ่ายให้แก่ระบบชลประทานที่ชาวบ้านสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง ที่จริงระบบชลประทานซึ่งฝรั่งคิดเอง เวลานี้ฝรั่งเองก็เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว เริ่มมองเห็นแล้วว่าระบบชลประทานที่ตนเองคิดว่ามันดีนักดีหนานั้น ไม่แน่ว่ามันจะดี

จนถึงเวลานี้จริงๆแล้วยังพิสูจน์ไม่ได้ด้วยซ้ำไปว่า ระบบชลประทานแบบใหม่นั้นสามารถเพิ่มผลผลิตได้ มันอาจจะสามารถเพิ่มข้าวได้ แต่กุ้ง ปู ปลา หอย ที่อยู่ในท้องนาหายไปหมด เห็ดที่เคยเกิดในท้องนาหายไปหมด

ในทางเศรษฐศาสตร์เวลาที่คุณนับการเพิ่มผลผลิต คุณนับที่พืชตัวเดียว ไม่ได้นับระบบนิเวศทั้งระบบที่เกิดขึ้นในไร่นา แล้วดูว่าคนใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น ใช้ประโยชน์จากเห็ดอย่างไร ใช้ประโยชน์จากกุ้ง หอย ปู ปลา อย่างไร? อันนี้ไม่ได้คำนึงถึงเลย คำนึงถึงแต่เพียงว่ามันสามารถเพิ่มข้าวได้อีกประมาณ 20 ถัง โดยไม่ได้มองถึงผลผลิตอื่นๆที่เกิดขึ้นในไร่นา นอกส่วนที่มีการชลประทาน

ด้วยเหตุดังนั้น ถ้าหากเราเริ่มต้นขึ้นมาจากการที่ทุกฝ่าย ไม่ว่าประชาชน ชุมชน นักลงทุน คนทำรีสอร์ท ทุกคนพร้อมที่จะมาเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งฝ่ายราชการด้วยที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ถ้าเรามองอย่างนี้ เราจะพบว่าการสัมนาของสถาบันเพื่อสิทธิชุมชนในครั้งนี้จึงมีความสำคัญมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะเริ่มจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชนของตนเอง โดยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย ไม่ใช่เฉพาะชาวบ้านอย่างเดียว เวลานี้ชาวบ้านอย่างเดียวทำไม่ได้ แต่ว่าชาวบ้านจะต้องเป็นใหญ่ในการที่จะเป็นผู้ควบคุมการจัดการทรัพยากร แต่ด้วยความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายด้วยกัน จะได้ช่วยกันมองลู่ทางในการจัดการน้ำโดยชุมชนอย่างจริงจังขึ้นได้ในอนาคต

 

 

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

จนถึงเวลานี้จริงๆแล้วยังพิสูจน์ไม่ได้ด้วยซ้ำไปว่า ระบบชลประทานแบบใหม่นั้นสามารถเพิ่มผลผลิตได้ มันอาจจะสามารถเพิ่มข้าวได้ แต่กุ้ง ปู ปลา หอย ที่อยู่ในท้องนาหายไปหมด เห็ดที่เคยเกิดในท้องนาหายไปหมด แต่ในทางเศรษฐศาสตร์เวลาที่คุณนับการเพิ่มผลผลิต คุณนับที่พืชตัวเดียว ไม่ได้นับระบบนิเวศทั้งระบบที่เกิดขึ้นในไร่นา แล้วดูว่าคนใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น ใช้ประโยชน์จากเห็ดอย่างไร ใช้ประโยชน์จากกุ้ง หอย ปู ปลา อย่างไร? อันนี้ไม่ได้คำนึงถึงเลย คำนึงถึงแต่เพียงว่ามันสามารถเพิ่มข้าวได้อีกประมาณ 20 ถัง โดยไม่ได้มองถึงผลผลิตอื่นๆที่เกิดขึ้นในไร่นา นอกส่วนที่มีการชลประทาน
พิธีสืบชะตาน้ำแม่ตาช้าง สายธารแห่งชีวิตชุมชน 12-13 พฤษภาคม 2546 ณ ห้วยน้ำล้อม ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

สามัคคีน้ำ : กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง
ปาฐกถานำโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
พิธีสืบชะตาน้ำแม่ตาช้าง สายธารแห่งชีวิตชุมชน
12-13 พฤษภาคม 2546
ณ ห้วยน้ำล้อม ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

…เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความสำนึกเกี่ยวกับความไม่เพียงพอของทรัพยากรน้ำ เรามักจะคิดกันถึงเรื่องของการแก้ปัญหาโดยเทคโนโลยีค่อนข้างมาก คิดถึงเรื่องการทำน้ำทะเลกลายเป็นน้ำจืด คิดถึงเรื่องการฉี่มาจากชั้น 21 แล้วพอลงมาถึงชั้นล่างก็กลายเป็นน้ำสะอาด อะไรต่างๆเหล่านี้ค่อนข้างมาก

เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่แก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญกว่าเทคโนโลยีคือ"คน" โครงการร่วมกันพัฒนา ร่วมกันอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่ตาช้าง ผมคิดว่าเป็นโครงการที่สำคัญเพราะว่า เป็นโครงการแรกๆที่พยายามไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียวในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ แต่พยายามเข้ามาช่วยกันในการจัดการทางสังคม เพื่อจะทำให้น้ำมีเพียงพอในการใช้ อันนี้คิดว่าเป็นคำตอบที่สำคัญที่สุด