เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยิน สมดุล และเป็นธรรม : ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 (ครบรอบ 3 ปี)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

R
random
release date
170646

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 279 เดือนมิถุนายน 2546 หัวเรื่อง "เรียกร้องการปลดปล่อยนาง ออง ซาน ซู จ"ี โดย ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หากสมาชิกและผู้สนใจ ประสบปัญหาภาพ และตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ

AUNG SAN SUU KYI
1991 Nobel Peace Prize
Laureate Oppositional leader Human rights advocate.
Background Born: 1945 Residence: Burma
http://almaz.com/nobel/peace/1991a.html
http://almaz.com/nobel/women.html

 

ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติในกิจการของประเทศพม่า นายราซาลี อิสเมล ได้เดินทางถึงพม่าเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเขาได้รับมอบหมายจากองค์การสหประชาชาติในการเข้าพบนาง ออง ซาน ซู จี และเรียกร้องให้ปล่อยตัวเธอ แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ายังไม่อนุญาตให้เขาเข้าพบกับนาง ออง ซาน ซู จี เท่ากับเป็นการแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาของรัฐบาลพม่า ในการหมิ่นประมาทและไม่ใส่ใจต่อองค์การสหประชาชาติ ซึ่งแสดงออกโดยหัวหน้าของรัฐบาลพม่า นายพล ตันฉ่วย ได้เดินทางออกจากกรุงย่างกุ้งเพื่อไปพักผ่อน

มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยทั้งหมดในพม่าถูกปิดลงโดยไม่มีกำหนด

ผู้นำทางการเมืองของพม่าที่ได้รับการเลือกตั้งและถูกกักบริเวณในบ้านของตนเอง
นางออง ซาน ซู จีและพรรคสันนิบาตแห่งชาติชนะการเลืกตั้งอย่างท่วมท้นจากประชาชนชาวพม่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 แต่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าปฏิวัติในผลการเลือกตั้งดังกล่าว และยังคงเดินหน้าปกครองประเทศอย่างผิดกฎหมายด้วยระบอบเผด็จการทหาร

พ.ศ.2534 นางออง ซาน ซู จี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในฐานะที่เธอต่อสู้และเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าด้วยวิธีการสันติวิถี ปราศจากความรุนแรง

ออง ซาน ซู จี ถูกกักในบริเวณบ้านของเธอจนถึง พ.ศ.2539 ระหว่างที่เธอถูกกักตัวในบริเวณบ้านพักนั้น เธอไม่ได้รับอนุญาตให้ออกไปไหนเลย แต่ทุกๆวันอาทิตย์จะมีกลุ่มประชาชนที่มารอพบเธอข้างๆกำแพงบ้าน และออง ซาน ซู จีจะออกมาพูดกับประชาชนจากหลังกำแพงในบ้านเธอ

ใน พ.ศ.2539 ออง ซาน ซู จีได้รับการปล่อยตัว เธอพยายามที่จะออกเดินทางไปปราศรัยกับประชาชนที่ให้การสนับสนุนเธอ แต่ละครั้งที่ออง ซาน ซู จี เดินทางออกจากเมืองหลวงคือเมืองย่างกุ้ง ทหารจะหยุดรถของเธอและไม่อนุญาตให้เธอไปถึงจุดหมายได้

พ.ศ. 2543 ออง ซาน ซู จี ถูกกักบริเวณภายในบ้านของเธออีกครั้งเป็นเวลา 19 เดือน

ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2544 การเจาจรลับระหว่างออง ซาน ซู จี กับผู้นำเผด็จการทหารพม่าเริ่มขึ้น ก่อให้เกิดความหวังว่าการเจรจาพูดคุยในครั้งนี้ว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างการสนทนาระหว่างรัฐบาลเผด็จการ พรรคสันนิบาตแห่งชาติและชนกลุ่มน้อยต่างๆ

อิสรภาพระยะสั้น
เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2545 ออง ซาน ซู จีได้รับการปล่อยจากการกักบริเวณในบ้านพัก และประกาศว่าช่วงเวลาแห่งการสร้างความไว้ใจได้หมดลงแล้ว ขั้นตอนต่อไปหลังจากนี้คือ การก้าวไปข้างหน้าเพื่อเปิดการเจรจา แต่หลังจากที่เธอได้รับการปล่อยตัว รัฐบาลพม่าไม่ได้เชิญเธอกลับไปทำการเจรจา อย่างไรก็ตามเธอมีอิสรภาพมากขึ้นในการเคลื่อนไหว ออง ซาน ซู จีเริ่มที่จะเดินทางไปทั่วประเทศพม่าทันที เพื่อเยี่ยมเยือนพบปะประชาชนและเปิดที่ทำการสาขาพรรคสันนิบาตชาติของเธอ

ในทุกที่ที่เธอเดินทางไปประชาชนจำนวนมากจะเฝ้ารอ ระหว่างทางที่เธอเดินทางไปมากครั้งขึ้นเรื่อยๆ เพื่อฟังคำปราศรัยและให้การสนับสนุน ออง ซาน ซู จีและพรรคของเธอ

ช่วงเวลาหนึ่ง เธอ ได้รับอนุญาตให้เดินทางและปราศรัยโดยอิสระ แต่แรงสนับสนุนออง ซาน ซู จีที่มากขึ้นนั้น ทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ากลัวว่าจะมีประชาชนจำนวนมากขึ้นที่สนับสนุนเธอ และจะลุกขึ้นมาต่อต้านระะบอบการปกครองแบบเผด็จการที่เป็นอยู่ หกเดือนต่อมา รัฐบาลพม่าเริ่มที่จะทำให้การเดินทางเธอลำบากขึ้น ในเดือนธันวาคม พนักงานดับเพลิงของรัฐใช้รถดับเพลิงในการสลายฝูงชนจำวนมากที่มารอและให้การต้อนรับออง ซาน ซู จี แต่นางออง ซาน ซู จีได้ปีนขึ้นไปบนรถดับเพลิงนั้น และปราศัยต่อกับประชาชนที่ให้การสนับสนุนเธอ อย่างไรก็ตาม การคุกคามจากฝ่ายรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไป และส่อเค้าว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มันเป็นการกลับมาของการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงเพื่อตอบโต้ ออง ซาน ซู จีที่พึ่งเกิดขึ้น ก่อนหน้านั้นรัฐบาลพม่าได้จัดส่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและปล่อยนักโทษคดีอุกฉกรรจ์จากคุก เพื่อให้ออกไปทำร้ายและฆ่าผู้สนับสนุนพรรคสันนิบาตชาติของ ออง ซาน ซู จี

แผนการการปราบปรามอย่างรุนแรงและการวางแผนฆ่านักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ ในพื้นที่ทางตอนเหนือของพม่าที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศพม่าเข้าสู่สถานการณ์วิกฤตมากขึ้น ความหวังในกระบวนการสันติภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการในการสร้างการเจรจาได้ถูกทำให้พังทลายไป ด้วยการกระทำที่ผิดกฎหมายและไร้ซึ่งความรับผิดชอบของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า

ไม่มีใครรู้ว่าขณะนี้นางออง ซาน ซู จีและสมาชิกพรรคสันนิบาตชาติถูกกักตัวอยู่ที่ไหน รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าออกมาบอกว่า " เป็นการกักขัง เพื่อการปกป้อง" แต่การปกป้องโดยไร้เหตุผลและป่าเถื่อนดังกล่าวจากรัฐบาลพม่า ไม่ได้ทำให้เรามั่นใจได้เลยว่าออง ซาน ซู จีจะปลอดภัยและได้รับอิสรภาพ ในประเทศพม่าขณะนี้ประชาชนถูกตัดขาดจากการสื่อสารต่างๆ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยถูกปิด

สิ่งที่คุณทำได้
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้ทั่วโลกประณามพฤติกรรมอันผิดกฎหมายดังกล่าวของรัฐบาลพม่า แต่กลุ่มประเทศASEAN ยังคงไม่มีการแสดงท่าทีใดต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ในฐานะที่เราเป็นประเทศเพื่อนบ้าน เราประชาชนชาวเชียงใหม่ สามารถที่จะเขียนไปรษณีย์บัตร ส่งถึงนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร แสดงความห่วงใยและเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีของเรากระทำดังนี้

- เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนาง ออง ซาน ซู จีและสมาชิกพรรคสันนิบาตชาติทันที
- กระตุ้นให้รัฐบาลพม่าเริ่มต้นกระบวนการปรองดองแห่งชาติพม่าใหม่
- ยุติการจ่ายเงินจำนวน 36 ล้านบาทต่อปีเพื่อซื้อก๊าชธรรมชาติจากรัฐบาลที่มีเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม ุ หยุดทำธุรกิจหรือลงทุนในประเทศพม่า
- โทรไปที่สถานีวิทยุขอเพลงของวงคาราบาว ชื่อเพลง "ออง ซาน ซู"และเพลง" Walk on " ของวง U2 ที่แต่งให้นางออง ซาน ซู จี
- กรุณาเขียนไปรษณีย์บัตรทันทีและส่งไปถึง นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ทำเนียบรัฐบาล
- หากคุณเป็นชาวต่างประเทศ กรุณาเขียนจดหมาย ส่งอีเมล์ โทรสาร โทรศัพท์ ไปที่ สถานทูตของคุณโดยทันที

วันที่ 19 มิถุนายน วันคล้ายวันเกิดปีที่ 58 ของ นางออง ซาน ซู จี ขอเชิญคุณ ครอบครัวและเพื่อนๆของคุณร่วมกิจกรรมจุดเทียนภาวนาที่ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ เวลา 20.00 น เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยสันติวิถี และสนับสนุนนางออง ซาน ซู จี

ปลดปล่อยพม่า, ปลดปล่อย ออง ซาน ซู จี วันที่ 19 มิถุนายน 2546 ร่วมกิจกรรมจุดเทียนภาวนา ณ ประตูท่าแพ 20.00 น เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดออง ซาน ซู จี เพื่อเรียกร้องอิสรภาพของ ออง ซาน ซู จีและอิสรภาพทางการเมืองของพม่า

ขอบคุณแรงสนับสนุนจากทุกท่าน พวกเราจะเตรียมเทียนไว้สำหรับทุกท่าน
ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

 

Nobel Peace Prize winner for 1991, Aung San Suu Kyi is currently under house arrest in Myanmar (Burma) and serves as the nation's conscience against an oppressive military regime.Her best essay, "My Father," is a biographical portrait of the father of modern Burma. (This has been separately published as Aung San of Burma by Kiscadale Publications and will be distributed in the United States by Seven Hills in February 1992.) Although her writings are repetitive and often more about her father than herself, people will want to read about the plight of a heroic figure trapped by a corrupt Third World regime.

เรียกร้องการปลดปล่อย ออง ซาน ซู จี
ความเป็นมา

วันที่ 30 พฤษภาคม 2546 รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้วางแผนเป็นอย่างดี และจัดให้มีการซุ่มโจมตีนักการเมืองและนักกิจกรรมฝ่ายค้านที่เรียกร้องประชาธิปไตยของพม่าประมาณ 70 คน พวกเขาถูกตีอย่างโหดร้ายด้วยไม้ไผ่แหลมจนตาย และบางคนหายตัวไปโดยไร้ร่องรอย

นางออง ซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายค้านหัวหน้าพรรคสันนิบาตชาติ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะที่ศรีษะ และถูกลักพาตัวไปขังไว้ในคุกของทหารพม่า ส่วนรองหัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติ นายอู ทิน อู ซึ่งอายุกว่า 70 ปีได้หายตัวไปเช่นกัน และไม่มีข่าวคราวว่าเขาอยู่ที่ไหน หรือปลอดภัยหรือไม่ ุ สมาชิกฝ่ายเยาวชนส่วนใหญ่ของพรรคสันนิบาติชาติประมาณ 20 คน หลายฝ่ายเชื่อว่าพวกเขาถูกจับไปขังไว้ในคุกที่เลื่องชื่อในความโหดร้ายของพม่าชื่อ "คุกอินเส่ง"