ประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม หลังการถูกครอบงำจากตะวันตกในยุคอาณานิคมของเอเชียและแอฟริกา

การควบคุมทางเศรษฐกิจและการเมือง
มันได้น้อมนำไปสู่การครอบงำหรือการมีอิทธิพลทางวัฒนธรรม
และอันนี้มันมีผลอย่างลึกซึ้งต่อการมาควบคุม.
การธำรงรักษา, การจัดการ, การยักย้ายเปลี่ยนแปลง, การกะเกณฑ์หรือมากำหนดเกี่ยวกับระบบการศึกษาทั้งหมด, ภาษาและการใช้ภาษา, วรรณกรรม, ศาสนา, สื่อต่างๆ, มักจะมาทำให้เกิดความมั่นใจสำหรับอำนาจของชาติผู้รุกราน หรือกดขี่ที่มีการส่งผ่านอุดมการณ์อันหนึ่ง, เช่น แบบของคุณค่า, มุมมอง, ท่าทีหรือทัศนคติ, ความรู้สึกต่างๆ ฯลฯ, และด้วยเหตุนี้ มันจึงมีอำนาจเหนือพื้นที่ทั้งหมดของความสำนึก. สิ่งเหล่านี้ได้น้อมนำไปสู่การควบคุมปัจเจกแต่ละคน และภาพของตัวเองโดยรวมเกี่ยวกับชาติที่ถูกครอบงำ และชนชั้นต่างๆ ตามลำดับ

โดยการมาควบคุมอาณาจักรทางวัฒนธรรมและจิตวิทยาข้างต้น, ชาติผู้กดขี่และชนชั้นต่างๆ พยายามที่จะประกันความมั่นใจในสถานการณ์ของทาสคนหนึ่งซึ่งรับมาปฏิบัติว่า การเป็นทาสคนหนึ่งนั้นมันคือเงื่อนไขปกติของความเป็นมนุษย์

H
230944
home
release date
CP
MP
WB
contents
member
webboard
หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลงมา จะแก้ปัญหาได้
ภาพประกอบจากนิตยสาร Time / ฉบับเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2000 (ดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความทางการศึกษาฟรี) มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
september
HIS
history of
midnight

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)

เพื่อการศึกษาทางไกลฟรี
สำหรับ นักศึกษา สมาชิก
และผู้สนใจทุกท่าน

Partha Chaterjee, ได้เสนออัตลักษณ์เกี่ยวกับลักษณะของ"อาณานิคม" ว่า "...กฎธรรมดาที่ค่อนข้างจะเด่นชัดสำหรับ"อาณานิคม" ก็คือ การธำรงรักษาความแปลกแยกไปจากกลุ่มการปกครองเอาไว้". และหลังจากนั้นในหนังสือเล่มเดียวกัน, เขาได้ให้ความกระจ่างๆเกี่ยวกับความแตกต่างอันนี้: คือ "แสดงให้เห็นว่า"ความเป็นอื่น"(other)เป็น"ความด้อย"(inferior) และแตกต่างอย่างถึงราก, และเป็นความด้อยที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้"

ลัทธิอาณานิคม สามารถที่จะได้รับการนิยามต่อไปได้อีก ในฐานะที่เป็น "หนทางหนึ่งของการธำรงรักษาความสัมพันธ์ระหว่างชาติอย่างไม่เท่าเทียมกัน ทั้งด้านอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมือง", มีการนำเอาเรื่องของสังคม วัฒนธรรม และศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือควบคุม เช่นเดียวกับนำเอาเรื่องของเศรษฐกิจและการเมืองมากระทำอย่างเดียวกัน หรือดำเนินรอยตามการจำแนกหมวดหมู่ของ Althusser, นั่นก็คือ มีการนำเอาสถาบันและการกดขี่มาเป็นเครื่องมือในการบีบบังคับ

อันที่จริง เป็นไปได้ที่จะเห็นกันว่า "ลัทธิอาณานิคม" เป็นสถานการณ์อันหนึ่งซึ่งต้องการจะ"ปิดตัว", และมองเห็นว่า โลกมักจะถูกนิยามในเทอมต่างๆของความสัมพันธ์ของ"ประเทศที่เป็นอาณานิคม"กับ"เจ้าอาณานิคม", หรือได้รับการนิยามว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง"ชายขอบ"(margin) กับ"ศูนย์กลาง"(the center) เหล่านี้เป็นต้น

ดังที่ Edward เคยพูดเอาไว้ ซึ่งชี้ให้เห็นในบูรพาคดีOrientalism)ว่า พลังอำนาจของจักรวรรดิ์ต้องการอย่างยิ่งที่จะสร้าง"ความเป็นคนอื่น"ขึ้นมา, ซึ่งในที่นี้คือ"ประเทศตะวันออก", เพื่อที่จะนิยามตัวจักรวรรดิ์ของพวกเขาเองในฐานะที่เป็นศูนย์กลาง ส่วนคนอื่นก็คือ"ชายขอบ". และนโยบายต่างๆเกี่ยวกับลัทธิอาณานิคมของประเทศเจ้าอาณานิคมเหล่านี้ แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์จาก"ศูนย์กลาง"กับส่วนอื่นๆอยู่บ้างก็ตาม แต่โดยระบบของมันแล้ว ก็ยังมากำหนดหรือยัดเยียดให้ชาวอาณานิคมทั้งหลายเข้าใจตัวเองในฐานะที่เป็น"คนอื่น"(other), เป็นคนชายขอบ(marginalized) ในการมีความสัมพันธ์กับศูนย์กลางอยู่นั่นเอง

ในนวนิยายและทฤษฎีของ Ngugi wa Thiong'o ได้แสดงภาพให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า, "ความเป็นอาณานิคม" ไม่ใช่เรื่องของการทำให้เป็นขี้ข้าทางเศรษฐกิจและการเมืองของพื้นทวีปหรือผืนแผ่นดินใหญ่ของยุโรปเท่านั้น แต่มันยังต้องการมากกว่านั้น ในการที่จะมากำหนดกฎเกณฑ์ต่อไปถึง"อาณานิคมทางวัฒนธรรม"ด้วย เพื่อสนับสนุนและธำรงรักษาความเป็นผู้ที่เหนือกว่าของเจ้าอาณานิคมต่างๆเอาไว้

ในส่วนที่เกี่ยวกับเงื่อนไขหรือปัจจัยทางวัฒนธรรม ในยุค"อาณานิคมใหม่"(Neo-colonial era) เขาได้กล่าวว่า :
การมาควบคุมวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจและการเมือง (อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้) มันได้น้อมนำไปสู่การครอบงำหรือการมีอิทธิพลทางวัฒนธรรม และอันนี้มันมีผลอย่างลึกซึ้งต่อการมาบังคับและควบคุม... การธำรงรักษา, การจัดการ, การยักย้ายเปลี่ยนแปลง, รวมถึงการมากะเกณฑ์หรือมากำหนดเรื่องของระบบการศึกษา, ภาษาและการใช้ภาษา, วรรณกรรม, ศาสนา, สื่อต่างๆทั้งหมด, มักจะมาทำให้เกิดความมั่นใจสำหรับอำนาจของชาติผู้รุกรานหรือกดขี่ที่มีการส่งผ่านอุดมคติอันหนึ่ง เช่น แบบของคุณค่า, มุมมอง, ท่าทีหรือทัศนคติ, ความรู้สึกต่างๆ ฯลฯ, และด้วยเหตุนี้ มันจึงมีอำนาจเหนือพื้นที่ทั้งหมดของความสำนึกของผู้คนในประเทศอาณานิคม และได้น้อมนำไปสู่การควบคุมปัจเจกแต่ละคน และภาพของตัวเองโดยรวมเกี่ยวกับชาติที่ถูกครอบงำ และชนชั้นต่างๆ ตามลำดับ
* * *
โดยการมาควบคุม"อาณาจักรทางวัฒนธรรม"และ"จิตวิทยา"ข้างต้น, ชาติผู้กดขี่และชนชั้นต่างๆพยายามที่จะประกันความมั่นใจในสถานการณ์ของทาสคนหนึ่งซึ่งรับมาปฏิบัติว่า "การเป็นทาสคนหนึ่งนั้น มันคือเงื่อนไขปกติของความเป็นมนุษย์"

การมากำหนดให้ผู้คน"เป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรม"อันนี้ เป็นที่ชัดเจนว่า ยังคงดำเนินต่อไป และเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในความสัมพันธ์ต่างๆของลัทธิอาณานิคมใหม่(Neo-Colonialism)อย่างต่อเนื่อง, มันได้สถาปนาและธำรงรักษาชนชั้นที่ทำตัวเป็นนายหน้าเอาไว้, ซึ่งได้ทำหน้าที่ดูแลและรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเจ้าอาณานิคมเก่าก่อนเอาไว้โดยตลอด

การแทรกแซงเกี่ยวกับระบบการศึกษาและเรื่องของภาษาของประเทศเจ้าอาณานิคม ซึ่งมีต่อผลผลิตทางวัฒนธรรม ได้กลายเป็นความจำเป็นอันหนึ่งและองค์ประกอบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการสนทนาเกี่ยวกับวรรณกรรมหลังอาณานิคมในยุคต่อมา. ในบทความเรื่อง "What is Post(-)colonialism?" (อะไรคือ ลัทธิหลังอาณานิคม ?) Mishra และ Hodges แสดงการยอมรับที่ว่า...

วรรณกรรมหลังอาณานิคม มีพื้นฐานอยู่บนความเท่าเทียมกันกับ"การเล่าเรื่องมหากาพย์ของชาวยุโรป โดยการส่งผ่านนวนิยายชนชั้นกลางของชาวยุโรป" บวกกับ "สิ่งเหล่านั้นที่ชัดเจนมากๆ นั่นคือ ความแตกต่างโดยเฉพาะในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่แบ่งแยกความต่างของ"ยุคหลังอาณานิคม"ออกมา โดยไม่มีความสอดคล้องหรือเป็นเนื้อเดียวกัน...

ในการศึกษาของเขาเกี่ยวกับนวนิยายต่างๆของ Ayi Kwei Armah, การต่อต้านในวรรณกรรมหลังอาณานิคม(Resistance in Postcolonial Literature), Neil Lazarus ได้ถกและให้เหตุผลถึง แบบฉบับหรือตัวอย่างอันหนึ่งเกี่ยวกับ"ยุคสมัย"ของวรรณกรรมแอฟริกันหลังอาณานิคม("periodization" of African postcolonial literature), ซึ่งได้เคลื่อนตัวจากมายาภาพผิดๆของความเป็นอิสระในช่วงทศวรรษ 1960s, เมื่อบรรดานักเขียนทั้งหลายเห็นว่า "ความเป็นอิสระ"ดังกล่าว มันไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงใดๆในโครงสร้างของรัฐบาล หรือสถานการณ์ของมวลชน, ต่อการเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงและการรวมตัวกันต่อต้านในทางวรรณกรรมนับจากทศวรรษที่ 1970s เป็นต้นมา

หนังสือในช่วงหลังๆเหล่านี้ บ่อยมากที่วางรากฐานความเป็นไปได้, การที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนไหวเพื่อจะก้าวไปข้างหน้า, ซึ่งมักจะกระทำโดยการหวนมองกลับไปสู่แอฟริกันก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคม

การอ้างอิงถึงความมีเอกลักษณ์ของ Wole Soyinka เกี่ยวกับ"ความสามารถที่ฉายออกมา"ในนวนิยายแอฟริกัน, Lazarus ได้อธิบายถึง หลักเหตุผลวิภาษวิธีของการโฟกัสลงไปในหนังสือ นั่นคือ "การโฟกัสเกี่ยวกับการเล่าเรื่องที่เพ่งลงไปยังการมีอยู่ของระเบียบสังคมอย่างต่อเนื่อง, การมองเข้าไปข้างในเกี่ยวกับหนังสือนั้น ที่ดูเหมือนว่า...เป็นสิ่งที่อยู่ข้างใต้จริงๆและพ้นไปจากผิวหน้าที่เคลือบคลุมอยู่ข้างบน"

"การมองเข้าไปข้างใน"(inner gaze)อันนี้ มันมีศักยภาพที่ไปทำลายผิวหน้าอันมืดมัวและสลัวลางของหนังสือนั้น. การพรรณาอันนี้อ้างอิงถึง"วิธีการรื้อสร้าง"(deconstruction)อันมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้มีการรับรองและได้รับการพิสูจน์โดย Spivak. ความมืดมัวสลัวลาง มันเป็นเพียงผิวหน้าของความจริงในสิ่งต่างๆที่นำเสนอ "อย่างที่มันเป็น", มันขัดแย้งหรือตรงกันข้ามกับระดับอีกระดับหนึ่งของหนังสือที่ลึกลงไป, ซึ่งเสนอให้เราทั้งหลายทบทวนวิธีการอ่านในอีกหนทางหนึ่ง หรือในลักษณะที่เปลี่ยนไปหรือในความหมายที่พิเศษ

การอ่านเหล่านี้ บ่อยครั้ง ได้รับการเปิดออกมา โดยผ่านการใช้เครื่องมือของวรรณกรรม อย่างเช่น เสียงที่เล่าขานในลักษณะเหน็บแนม และเสียงที่เปลี่ยนไป, ซึ่งท้าทายวิธีการเกี่ยวกับการรับรู้อันหนึ่ง และยินยอมให้หนังสือหลังอาณานิคมได้รับการตรวจตราในแบบรื้อสร้าง(deconstruct)(การอ่านลึกลงไปจากผิวหน้า)ถึงวาทกรรมในยุคอาณานิคมจากภายใน. (which challenge one mode of perception and allow the postcolonial text to deconstruct the colonial discourse from within.)

นิยามความหมายของคำว่า" ลัทธิหลังอาณานิคม"(postcolonialism) ซึ่งข้าพเจ้าพอใจมากที่สุดมีดังต่อไปนี้ :
"ลัทธิหลังอาณานิคม" คือ ปฏิบัติการทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่งเกิดขึ้นมาในการตอบโต้และต่อต้านต่อ ลัทธิอาณานิคม.

อันนี้ดูเหมือนว่ามันจะไปลงรอยหรือสอดคล้องกันกับนิยามของ Mishra และ Hodges เกี่ยวกับ"วรรณกรรมในยุคหลังอาณานิคม" คือ, "แนวโน้มที่มีอยู่อันหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับความเป็นข้าหรืออยู่ในการควบคุม ที่ได้รับการทำเครื่องหมายโดยกระบวนการที่เป็นระบบของการครอบงำทางวัฒนธรรม โดยผ่านการยัดเยียดทางโครงสร้างอำนาจของจักรวรรดิ์", ซึ่งดังที่พวกเขาได้ชี้แจง สิ่งเหล่านี้มันมีนัยะว่า"ลัทธิหลังอาณานิคม" ได้แสดงนัยะอยู่ในวาทกรรมต่างๆของ ลัทธิอาณานิคม แล้ว

ดังที่ข้าพเจ้าคิดซึ่งเริ่มจะกระจ่างชัดขึ้นมาตามลำดับคือ การจำแนกหมวดหมู่ต่างๆเหล่านี้จะเป็นไปในทางย้อนกลับ, โดย "ลัทธิอาณานิคม" กำลังได้รับการพิเคราะห์พิจารณารวมอยู่ใน"ลัทธิหลังอาณานิคม" และสิ่งที่สำคัญเสมอก็คือ มันเป็นการวมความเข้าใจอันหนึ่งเกี่ยวกับเงื่อนไขทางเนื้อหา ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับการผลิตวัฒนธรรมหลังอาณานิคม

หนังสือหรือวรรรกรรมต่างๆหลังอาณานิคม จะจัดรวมเอารายละเอียดต่างๆจำเพาะที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเข้าไว้ บ่อยครั้งจะไม่มีการอธิบายอะไรซึ่งไปเกี่ยวพันกับการกระทำที่มีความเป็นคนยุโรป (non-European practices), มันเป็นการอ่านที่มีการกระจายตัวออกมาจากศูนย์กลางพื้นฐานความเป็นยูโรเปียน(decentering the European-based reading). นอกจากนี้ หนังสือต่างๆเหล่านี้ บ่อยมากทีเดียว จะไม่กระจุกตัวอยู่กับศูนย์กลางตัวละครที่เป็นคนผิวขาว, ตัวละครซึ่งเป็นคนผิวขาวกลายเป็นตัวละครที่ไม่มีตัวแทนหน้าตา พูดง่ายๆก็คือได้หดหายไป, ไม่มีชื่อ และไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจหรืออิทธิพลใดๆ, อันนี้คือการสับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจภายในหนังสือ

ในท้ายที่สุด, บางทีมันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดด้วยก็คือ ได้มีการเน้นถึงธรรมชาติของความเปลี่ยนแปลงเท่าที่เคยมีมาของ"ลัทธิหลังอาณานิคม"ในฐานะที่เป็นศัพท์นิยามหนึ่ง, ซึ่งเป็น"การตอบโต้"กับเงื่อนไขต่างๆทางเนื้อหา ภายใต้สิ่งซึ่งผู้คนดำรงอยู่ในสถานการณ์ของการเป็นอาณานิคม และสถานการณ์ต่างๆของอาณานิคมใหม่

ถึงแม้ว่า "ลัทธิหลังอาณานิคม" มันจะผุดขึ้นมาจาก "ลัทธิอาณานิคม", แต่ก็เป็นไปในทางตรงข้ามกับ"ลัทธิอาณานิคม"ในพัฒนาการของมัน, แท้จริงแล้วตามตัวอักษร มันกลายเป็นมุมมองในเชิงวิพากษ์อันหนึ่งผ่านการมองเข้าไปในลัทธิอาณานิคม.

ด้วยปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับเบื้องหลังการเล่าเรื่องมนุษย์ของชาวตะวันตก บนพื้นฐานของสิ่งซึ่งลัทธิอาณานิคมได้รับการให้เหตุผล, "การทำให้เป็นอาณานิคม" ในตัวมันเองกลายมีผลกระตุ้นในทางการเมือง และประวัติศาสตร์. ความจริง, "ลัทธิอาณานิคม"ไม่ได้มีอยู่อีกต่อไปแล้วภายนอกโครงร่างเค้าโครงในเชิงวิพากษ์บางอย่าง แต่มันมีอยู่ภายในบริบทหลังอาณานิคม

การเปรียบเทียบ "ลัทธิหลังอาณานิคม"(postcolonialism) กับ "ลัทธิหลังสมัยใหม่"(postmodernism)
การเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดหรือบางทีจะตรงประเด็นที่สุดกับ "ลัทธิหลังอาณานิคม"(postcolonialism) ก็คือ "ลัทธิหลังสมัยใหม่"(postmodernism) ซึ่ง ลัทธิหลังสมัยใหม่ค่อนข้างที่จะมีความสัมพันธ์กับ "ลัทธิสมัยใหม่"(modernism) เช่นเดียวกันกับ "ลัทธิหลังอาณานิคม"สัมพันธ์กันกับ"ลัทธิอาณานิคม". ความเชื่อมโยงกัน หรือ(เท่าๆกันกับ)การสมคบคิดกัน ระหว่าง "ลัทธิสมัยใหม่" และ "ลัทธิอาณานิคม" ทำให้การเปรียบเทียบกันนี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ และสอดคล้องต้องกัน. ทั้งคู่เป็นการท้าทายต่อการบรรยายถึงยุคสว่าง หรือ Enlightenment.

"ลัทธิสมัยใหม่"(Modernism) ไม่ใช่ยุคสมัยอันหนึ่งของการแสวงหาและความใฝ่ฝันที่มีมาก่อนยุคใดทั้งหมด สำหรับสิ่งที่ Lyotard เรียกว่า "matanarratives"(อภิเรื่องราว), เพื่อทดแทนพระเจ้าที่ถูกปลดจากบัลลังก์(dethroned god). ความจริงแล้ว เรื่องราวของพระเจ้าที่ได้ถูกลดความสำคัญลงมา เริ่มต้นมาตั้งแต่ความคิดมนุษยนิยมของตะวันตก.

ในการวิเคราะห์ต่างๆบางอัน, ด้วยการก่อกำเนิดขึ้นมาของลัทธิ"ทุนนิยม"และการเพิ่มขึ้นของ"จักรวรรดิ์นิยม"เกี่ยวกับอำนาจหรือพลานุภาพของยุโรป, ความอยากความปรารถนาอันนี้ ได้แปลไปสู่อุมคติเกี่ยวกับความก้าวหน้าของสมัยใหม่ทั้งหมด(the "modernist totalizing ideal of progress"). อุดมคติเกี่ยวกับความก้าวหน้าอันนี้ มันมาพร้อมกับความโดดเด่นขึ้นมาของโครงการของยุคสว่าง, ซึ่งได้ให้สิทธิพเศษแก่เรื่องของเหตุผลและความเป็นเหตุเป็นผล: นั่นคือ "ความคิดและเหตุผลมีชัยเหนือกว่าความเชื่อทางศาสนา, และได้มาควบคุมธรรมชาติ."

มันเป็นรอยแตกที่ขยายกว้างขึ้นระหว่าง res cogitans และ res extensa, นำไปสู่ "หลุมลึกระหว่าง "ภายใน"(inside) และ "ภายนอก"(outside), ระหว่างเนื้อในเชิงตรรก(logical) กับ เนื้อหาแก่นแท้(substantive), "การมีอยู่ของสิ่งภายใน" และ "ความจริงภายนอก"(inner existence and outer reality).

ในเรื่อง Dialectic of Enlightenment (หลักวิภาษวิธีเกี่ยวกับยุคสว่าง), Horkheimer และ Adorno กล่าวว่า, "พระเป็นเจ้าผู้สร้างสรรค์ และจิตวิญญานแห่งระบบ ก็คล้ายๆกันกับ บรรดาผู้ปกครองของธรรมชาติ. ความเหมือนกันระหว่าง"มนุษย์" กับ "พระผู้เป็นเจ้า" คือการมีอำนาจอธิปปัตย์เหนือโลก, มนุษย์มีโฉมหน้าไม่ต่างจากพระผู้เป็นเจ้า และมีลักษณะของผู้เป็นนายอันทรงพลานุภาพ, รวมทั้งมีอำนาจบัญชาสรรพสิ่ง"

อันนี้ได้ให้นิยามความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งซึ่งพวกเขาได้กระทำโดยอำนาจ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในความเหินห่างหรือแปลกแยก, เกี่ยวกับระยะห่างระหว่าง "ตัวตน"(ประธาน)กับ"วัตถุ"(กรรม) (subject and object): "เขารู้จักสิ่งเหล่านั้นตราบเท่าที่เขาสามารถบงการหรือจัดการกับสิ่งเหล่านั้นได้.

ด้วยเหตุนี้ มันจึงนำไปสู่ความสัมพันธ์ในลักษณะ"นาย"กับ"ทาส", ระบบอันหนึ่งเกี่ยวกับการครอบงำซึ่งได้มีการปรับตัวไปสู่ความเห็นพ้องต้องกันเพิ่มขึ้น และบีบบังคับต่อสังคมทั้งหมด ซึ่งมันได้สถาปนาตัวของมันเองขึ้นมา". สิ่งที่ Horkheimer และ Adorno อ้างถึงก็คือ "อุตสาหกรรมวัฒนธรรม"(culture industry) ที่แปลไปสู่การรับใช้เกี่ยวกับการปกป้องตนเองของศูนย์กลาง, การสร้างผลผลิตทางวัฒนธรรมที่เข้าถึงได้ง่ายและแพร่หลายทั่วไป ซึ่งเป็นตัวแทนการครอบงำของจักรวรรดิ์นิยมในฐานะที่เป็นสากล และเป็นธรรมชาติ

ถึงแม้ว่า Horkheimer และ Adorno จะไม่ได้ประยุกต์การวิเคราะห์ของพวกเขาไปสู่"การทำให้ตกเป็นอาณานิคม"ในงานเขียนชิ้นนี้, แต่มันก็เป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์เกี่ยวกับยุคสว่างที่มีต่อลัทธิจักรวรรดิ์ ในฐานะที่เป็นการให้เหตุผลสำหรับ "การครอบงำของตะวันตก"ที่มีต่อ"ประชากรทั้งปวงที่เป็นคนพื้นเมือง"ในนามของความก้าวหน้า(progress)

การพูดถึงเรื่องของอาณานิคมของบรรดานักคิดต่างๆเป็นจำนวนมาก(Conrad, Kipling, Dinesen) ได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ความเป็นประชาชนพื้นเมืองกับภาพลักษณ์ของธรรมชาติ. การอธิบายเหล่านี้ที่มาตามลำดับ สะท้อนถึงการสร้างสรรค์เกี่ยวกับอัตลักษณ์ในทางการเมืองที่กว้างขวางมากอันหนึ่ง, เท่าๆกับอัตลักษณ์ทางมานุยวิทยาของ"ลักษณะพื้นเมือง"ในฐานะที่เป็น"ลักษณะธรรมชาติ"(native as natural), ซึ่งก็คือ ถูกทำให้เป็นอนารยะหรือไร้วัฒนธรรมนั่นเอง(uncivilized).

อันนี้ได้เปิดไปสู่ระบบทั้งหมดของความตรงข้ามกันคู่หนึ่ง ซึ่งเผยให้เห็นการแบ่งแยกกันระหว่าง"มนุษย์"กับ"ธรรมชาติ": วัฒนธรรม / ธรรมชาติ, อารยธรรม / ดึกดำบรรพ์, เหตุผล / ความไร้เหตุผล, แสงสว่าง / ความมืด, ความดี / ความชั่ว, ซึ่งได้ตระเตรียมหรือได้จัดหาความมีเหตุมีผลขึ้นมาสำหรับลัทธิอาณานิคม

"ลัทธิเหตุผลนิยมของตะวันตก" อันที่จริง จะต้องมา"ปลดปล่อยความมืด" หรือปลดปล่อยโลกธรรมชาติอันสับสนอลหม่าน. ในความหมายนี้, เป็นวิธีการหนึ่งของการอ่าน. ความแตกต่างกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้อ่านหลังอาณานิคม โดยใช้วิธีการรื้อสร้าง(deconstructing)ซึ่งเป็นไปในทางตรงข้ามจากปกติ ...

ดังที่มีการอ้างถึงตัวอย่างคำว่า "วัฒนธรรม"กับ"ธรรมชาติ" แตกต่างและผิดแผกกัน. ความตรงข้ามระหว่าง"ธรรมชาติ"และ"วัฒนธรรม" สามารถที่จะได้รับการเขียนขึ้นมาใหม่อีกครั้งในฐานะที่เป็นหน้าที่หนึ่งของภาษาและประวัติศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะเป็นการครอบงำของศัพท์คำหนึ่งที่เหนือกว่าศัพท์อีกคำหนึ่ง

ดังที่ Tapalde Mohanty กล่าวเอาไว้ "ในอีกด้านหนึ่ง, มันเป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้

-"ผู้หญิง / ผู้หญิง" และ "ตะวันออก" ได้ถูกนิยามเป็น"คนอื่น", หรือ เป็น"เส้นรอบนอก"
- "ผู้ชาย / มนุษยนิยม" และ "ตะวันตก" ได้รับการนิยามเป็น "ตัวเขา / ตัวมันเอง" ในฐานะที่เป็น"ศูนย์กลาง"

อันที่จริงแล้ว มันไม่ใช่"ศูนย์กลาง"ที่มากำหนด"เส้นรอบวง", แต่"เส้นรอบวง"ต่างหาก, ในการแสดงความเป็นขอบเขตของมัน, ได้มากำหนด"ศูนย์กลาง".

ลัทธิหลังสมัยใหม่(Postmodernism)ไม่ได้ปฏิเสธลัทธิสมัยใหม่(Modernism)ในเนื้อแท้ตัวของมันเอง, แต่ค่อนข้างเป็นไปในลักษณะที่ Hutcheon ชี้แจงเอาไว้, โดยผ่าน"การโน้มน้าวด้วยคำพูด"อันหนึ่ง, ซึ่งอ่านอดีตที่ผ่านมาในฐานะที่เป็น"สิ่งต่างๆที่ยังหลงเหลืออยู่, และบอกกับเราว่า "ความจริง" ของสังคมได้ถูกสร้างขึ้นมาโดย "วาทกรรมต่างๆ".

เธอได้ระบุถึงความสัมพันธ์ของลัทธิหลังสมัยใหม่ กับ อภิเรื่องราวต่างๆของลัทธิสมัยใหม่(metanarratives of modernism) ในเทอมต่างๆของ "การกลับไปเยี่ยมเยือนมันใหม่อีกครั้งในลักษณะของการวิจารณ์"(a critical revisiting), มันเป็นการสนทนาในลักษณะที่ตรงข้ามกันและในเชิงเหน็บแนมกับอดีตที่ผ่านมา ทั้งทางด้านศิลปะและสังคม", และ"เป็นฐานที่ตั้งของการต่อสู้เกี่ยวกับการปรากฏตัวขึ้นมาของบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเรื่องใหม่"

ในทำนองเดียวกัน, "ลัทธิหลังอาณานิคม" ไม่สามารถที่จะขจัด หรือทำลายแก่นแท้ทางประวัติศาสตร์ของ"ลัทธิอาณานิคม"ได้. อย่างไรก็ตาม, ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของกระบวน"การถอนตัวจากการเป็นอาณานิคม"(decolonization), "ลัทธิหลังอาณานิคม"ได้ใช้วิธีการเปรียบเปรยและเครื่องไม้เครื่องมือมากมาย ที่จะพิสูจน์ความเป็นอันเดียวกันกับ"ลัทธิหลังสมัยใหม่" เพื่อที่จะตั้งคำถามทฤษฎีทางสังคมและปฏิบัติการต่างๆ ที่เผยให้เห็นถึง"ยุคสว่าง"ในฐานะที่เป็นหนทางหนึ่งของการอ่านเกี่ยวกับเรื่องราวการครอบงำของลัทธิอาณานิคมต่างๆใหม่อีกครั้ง

ดังที่ Chatterjee ยืนยัน, พัฒนาการของ"ลัทธิชาตินิยม"ในช่วงระหว่างของ"การถอนตัวจากการเป็นอาณานิคม"แรกๆ ได้ถูกทำให้ซับซ้อนยุ่งเหยิง เพราะเรื่องเกี่ยวกับ"การกำหนดมาตรฐานทางวัฒนธรรม"(cultural normalization)ซึ่งจะต้อง"เลือกที่ตั้งเกี่ยวกับความเป็นอิสระของมัน จากตำแหน่งที่เคยเป็นรองมาโดยตลอดต่อระบบการปกครองแบบอาณานิคม ซึ่งอันนี้จะต้องมีที่ทางของตัวมันเอง และจะเป็นแหล่งต้นตอของการให้เหตุผลที่มีลักษณะสากล ซึ่งถูกผลิตหรือสร้างขึ้นมาโดยความคิดทางสังคมหลังยุคสว่าง(post- enlightenment social thought)

อันนี้คือช่วงขณะที่สำคัญมากอันหนึ่งในการพัฒนาเกี่ยวกับ"ทฤษฎีหลังอาณานิคม"(postcolonial theory), ซึ่งควรต้องยอมรับด้วยว่า "การเป็นอิสระ" ไม่ใช่สาระสำคัญอันหนึ่งเพียงแค่ "เรื่องของการเปลี่ยนชื่อการพึ่งพาทางการเมือง และการพึ่งพาทางเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น" ...

มันยังเป็นที่ชัดเจนด้วยว่า "นโยบายต่างๆของอาณานิคม" และ"วาทกรรมต่างๆ" มันได้รับการทำให้เป็นสิ่งถาวรขึ้นมาโดยการทำให้เป็นอาณานิคมอย่างเป็นทางการด้วย. สำหรับเหตุผลอันนี้, ข้อกังขาหรือความสงสัยเกี่ยวกับวาทศิลป์หรือถ้อยคำในการพูดจาโน้มน้าวในเรื่องเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ที่มี"เสรีภาพ", และเกี่ยวกับเรื่องของ"ความก้าวหน้า", รวมไปถึงเรื่องราวของชัยชนะเกี่ยวกับ"ความเป็นสากล", อย่างชัดเจน มันเชื่อมโยงโครงการ"หลังอาณานิคม" กับ "หลังสมัยใหม่"เข้าด้วยกัน

แน่นอน มันเป็นอันตรายอันหนึ่งของการย่อยให้ "ลัทธิหลังอาณานิคม" เข้าไปอยู่ภายใต้ "ลัทธิหลังสมัยใหม่" - เกี่ยวกับการเปลี่ยนให้"ลัทธิหลังอาณานิคม" เข้าไปสู่ "โครงการจักรวรรดิ์อีกอันหนึ่ง". การอ่าน "ลัทธิหลังอาณานิคม" ในเทอมต่างๆของ "ลัทธิหลังสมัยใหม่", บางที ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิหลังสมัยใหม่, ทำให้มันดูเหมือนว่าปลอดภัย, "ลักษณะแปลกประหลาดที่น่าอุ่นใจ"(reassuringly strange), แต่ให้พึงระวังมากๆก็คือ มันจะไปลบล้างมิติต่างๆทางการเมืองและประวัติศาสตร์ทิ้งไป ซึ่งเป็นใจกลางของทัศนียภาพหรือมุมมองหลังอาณานิคม

แต่อย่างไรก็ตาม, ข้าพเจ้าค่อนข้างเอาใจใส่อย่างจริงจังมากต่อ"การแยกแยะ"ของ Mishra และ Hodges ซึ่งได้เขียนเอาไว้ว่า
1) เชื้อชาติ
2) ภาษาที่สอง และ
3) การต่อสู้ดิ้นรนทางการเมืองในทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับ ลัทธิหลังอาณานิคม

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของ"ทฤษฎีหลังอาณานิคม" และปฏิบัติการต่างๆของมันต้องการที่จะรื้อถอน"โครงการของยุคสว่าง"ทิ้งไป ซึ่ง"ยุคสว่าง"มันได้ตระเตรียมเรื่องราวของเหตุผลมาให้กับ "ลัทธิอาณานิคม", ในเวลาเดียวกัน"ทฤษฎีหลังอาณานิคม"ยังได้สร้าง"อัตภาพของอาณานิคม"ขึ้นมาด้วย, "สถานการณ์ของการมี"อัตภาพ" และคำถามเกี่ยวกับการก่อตัวขึ้นมาของ "อัตตะ"(subject) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นส่วนต่างๆที่สำคัญของ"โครงการ"หลังอาณานิคม (ก่อนหน้านี้ "ความเป็นอาณานิคม"ได้ถูกรวมเข้ากับเจ้าอาณานิคม โดยไม่คำนึงถึง"ความมีอัตตะ"แต่อย่างใด หรือถึงแม้ว่ามี มันก็เป็น"อื่น"หรือมีภาวะที่"ด้อย"กว่า)

บรรดานักเขียนหลังอาณานิคมเป็นจำนวนมาก พยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า "การรื้อสร้าง" โครงสร้างอำนาจแบบ "อาณานิคม / อาณานิคมใหม่"(colonial/neocolonial) ได้น้อมนำไปสู่การปลดปล่อยความเป็นอาณานิคม และบรรดานักเขียนเหล่านี้ยังได้มีการตั้งคำถามซักไซ้"อัตภาพของอาณานิคม", ซึ่งได้นำไปสู่อิสระจากการครอบงำด้วย. มันเป็นลักษณะที่ตรงๆทันที, วัตถุประสงค์ของการกระทำในลักษณะรื้อสร้างเหล่านี้ เป็นไปเพื่อเผยให้เห็นถึงการสบคบคิดกันระหว่าง "ลัทธิจักรวรรดิ์นิยมทางเศรษฐกิจ"และ"วัฒนธรรม" และในเวลาเดียวกัน ก็จัดหาแบบจำลองต่างๆสำหรับการต่อต้านมันขึ้นมา

Hutcheon ได้ให้เหตุผลว่า "ลัทธิหลังสมัยใหม่"(postmodernism)นั้น เป็นลัทธิที่ขัดแย้งเป็นไปในทางตรงข้ามโดยรากฐานเลยทีเดียว, ทั้งในทางประวัติศาสตร์โดยตรง และทางการเมืองอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ส่วน Teresa Ebert ก็ได้ให้เหตุผลด้วยความมั่นใจ สำหรับ"การต่อต้านของลัทธิหลังสมัยใหม่", ซึ่งจะเห็นได้จากความสัมพันธ์ระหว่างคำพูดและโลกทัศน์, ความจริงทางภาษาและสังคม หรือ, กล่าวโดยสรุป, "ความแตกต่าง", มิใช่ในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ของภาษา แต่ในฐานะที่เป็นผลของการต่อสู้ทางสังคมต่างๆ

"ภาษา"เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความหมาย มิใช่จากระบบที่เป็นทางการของมัน, แต่มันมาจากที่ทางของมันในการต่อสู้ทางสังคมเหนือหรือพ้นไปจากความหมายต่างๆ. อย่างชัดเจน, แนวคิดเกี่ยวกับ"การต่อต้านลัทธิสมัยใหม่"(resistance modernism) ได้วางเค้าโครงสายสัมพันธ์กันอันหนึ่งระหว่าง"ลัทธิที่มาหลัง"(postisms)ทั้งสองเหล่านี้(นั่นคือ "ลัทธิหลังอาณานิคม" และ "ลัทธิหลังสมัยใหม่", ที่ได้วางฐานที่ตั้งอันหนึ่งของการต่อสู้กับการกดขี่ภายในปฏิบัติการต่างๆทางด้านเนื้อหาของภาษาในตัวของมันเอง.

สิ่งที่ตามมาก็คือ มันได้สร้างเค้าโครงที่มีลักษณะเป็นผังของอัตลักษณ์ต่างๆ ซึ่ง
"ลัทธิหลังอาณานิคม" ได้มีส่วนร่วมปันกับ "ลัทธิหลังสมัยใหม่" ดังนี้ :


1. การถอนตัวออกจากศูนย์กลาง((Decentering) และ การสร้าง"อัตตะ"(subject):
--- สถานะแห่งการสำนึกรู้เกี่ยวกับ"อัตตะ"ทางด้านเชื้อชาติ, ชนชั้น, เพศ
--- การเน้นในเรื่องการสร้างธรรมชาติของ"อัตตะ"ขึ้นมา
--- สำหรับ "ลัทธิหลังสมัยใหม่": ในฐานะที่ได้รับการนิยามโดย"มนุษยนิยม"
--- สำหรับ "ลัทธิหลังอาณานิคม": ในฐานะที่ได้รับการนิยามโดย"จักรวรรดิ์นิยม"
--- การต่อสู้ของ"อัตตะ"ในการถูกทำให้เป็นหนึ่งเดียวและเกี่ยวโยง ในฐานะที่เป็นคำถามทั่วไปคำถามหนึ่งของความเป็นทั้งหมด หรือระบบการทำให้เป็นลักษณะเดียวกัน. ศูนย์กลางไม่ได้มาครอบงำอย่างสมบูรณ์อีกต่อไป. และจากมุมมองการถอนตัวออกจากศูนย์กลาง, "ชายขอบและ..."ex-centric"(ลักษณะที่ห่างออกจากศูนย์กลาง) เป็นตัวแทนนัยสำคัญใหม่อันหนึ่งซึ่งแสดงนัยะแห่งความสำนึกที่ว่า "วัฒนธรรมของเรา" จริงๆแล้ว ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันกับวัฒนธรรมตะวันตก"

2. การใช้ยุทธศาสตร์ทางวรรณกรรม เพื่อโค่นล้มวาทกรรมที่ครอบงำ:
--- ความไม่ลงรอยกับความคาดหวัง(irony): ดังที่ Linda Hutcheon ได้ชี้แจงเอาไว้ในความเรียงของเธอ "วงวัฎฎ์ในลักษณะท่อน้ำจากบนลงล่างของจักวรรดิ์" เป็น "การพูดสองหน, (a double talking, forktougued mode of address), คำพูดที่ไม่ตรงกัน(irony) กลายเป็นยุทธวิธีทางศิลปะการใช้ถ้อยคำเพื่อทำงานอยู่ภายในวาทกรรมที่มีอยู่ และต่อสู้กับวาทกรรมเหล่านั้นในเวลาเดียวกัน (การช่วงชิงในการนิยามศัพท์คำเดียวกัน ในอีกความหมายหนึ่ง)
--- ยุทธวิธีการเล่นกับภาษาหนังสือ :
1) แบบจำลองต่างๆของการรวมตัวกัน เกี่ยวกับหนังสือตำราต่างๆก่อนยุคอาณานิคม, ทั้งมุขปาฐะและงานที่ถูกเขียนขึ้นมา(คนเล่าเรื่อง; การใช้ปกรณัมโบราณ);
2) สัจนิยมในลักษณะเวทมนต์ (แบบจำลองอันท้าทายต่อการรับรู้และลัทธิเหตุผลนิยมที่ยอมรับกัน);
3) ความแตกต่างที่เด่นๆในระบบของภาษาในตัวของมันเอง;
--- การเล่าเรื่องที่มีลักษณะปลายเปิด
--- การล้อเลียน
--- การทอนเสถียรภาพเกี่ยวกับมุมมองของเรื่องราวต่างๆ

3. การใช้วิธีการรื้อสร้าง(Deconstruct) โดยการคุ้ยเข้าไปในตำรับตำรา:
--- ส่วนหนึ่งของวาระทางการเมือง, ใช้เพื่อเปิดเผยและรื้อสร้าง(deconstruct)เรื่องราวหลัก; ตามความคิดของ Spivak, พวกเราต้องการที่จะค้นหาสิ่งที่ได้รับการเรียบเรียงขึ้นมา ซึ่งหลุดออกมาปรัชญาตะวันตก...
--- ท้าทาย - ถอดถอน เกี่ยวกับวิธีการจำแนกหมวดหมู่ในเชิงตรรกของความคิดและความตรงข้าม(เช่น ผู้ชาย/ผู้หญิง, ศูนย์กลาง/ชายขอบ); Derrida, ตามความคิดของ Spivak, ได้นิยามการรื้อสร้าง(deconstruction)ในฐานะที่เป็น "การรื้อสร้างเกี่ยวกับแนวความคิดขั้นรากฐานของการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ตะวันตก".
--- การรื้อถอนเรื่องราวหลักจากศูนย์กลางอาณานิคม; เรื่องราวหลัก มักจะชักชวนเราให้ใช้ความคิดโดยผ่านการจำแนกหมวดหมู่ในเชิงตรรก ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่แปลกแยกไปจากตัวของพวกเราเอง.

4. การทำให้เป็นปัญหาขึ้นมา ในความสัมพันธ์เกี่ยวกับ ขนบประเพณีทางวรรณกรรม กับ ตำรับตำราก่อนหน้านั้น:
---
มักจะเป็นการปฏิบัติการภายในวาทกรรมที่ครอบงำเสมอ
--- กลับไปเยี่ยมเยือนใหม่อีกครั้งในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับวรรณกรรมในอดีต

5. ตั้งคำถามเกี่ยวกับความแน่นอนของประวัติศาสตร์:
--- เน้นในเรื่องการตั้งคำถามกับธรรมชาติที่ได้รับการสร้างขึ้นมาของเรื่องราวประวัติศาสตร์
--- การตั้งคำถามต่อเรื่องราวหลัก ได้ก่อให้เกิดการปลดปล่อยผู้คนจากการเป็นอาณานิคม (การทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในตำรับตำราต่างๆ)
--- ประวัติศาสตร์มนุษย์ในฐานะที่เป็นการรวบรวมขึ้นมา อันที่จริงมันเป็นประสบการณ์ในลักษณะปัจเจก, เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับนักมนุษยนิยม, และการทำให้เป็นสากล
--- ทางเลือกใหม่, การชำระใหม่, ประวัติศาสตร์ต่างๆที่ตรงข้ามหรือต่อต้านกับลักษณะที่เป็นเนื้อเดียวกัน

6. การวิจารณ์สัจนิยม:
--- ตั้งคำถามกับการเป็นตัวแทนที่เป็นประมุขหรือใหญ่สุดของความจริง: ความจริงที่พูดถึงนี้ อันที่จริงคือ การเป็นตัวแทนอันหนึ่ง ซึ่งมิได้นำเสนอหรือเป็นตัวแทน "ต้นตอ - รากฐาน" ใดๆ; แท้จริงแล้ว, มันเป็นการเสนอหรือตัวแทนสิ่งซึ่งมักจะถูกทำขึ้นเป็นตัวแทนอยู่แล้วมากกว่า

7. การปฏิเสธเกี่ยวกับลักษณะของความเป็นสากล และ สารัตถะนิยม
--- ตั้งคำถามเกี่ยวกับวาทกรรมที่มีศูนย์กลางตะวันตก
---
การทำให้เป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแนวความคิดพื้นฐานต่างๆของความคิดตะวันตก
--- โฟกัสลงไปที่ลักษณะที่เป็นสิ่งเฉพาะ / แก่นแกนที่เป็นท้องถิ่น (ไม่ถูกครอบงำจากความเป็นสากล)
--- สร้างสำนึกเกี่ยวกับความไม่แน่นอนหรือจีรัง และความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง

[ภาคผนวก] ทำความเข้าใจคำศัพท์บางคำ

วาทกรรม (Discourse)
Michel Foucault ได้ใช้ศัพท์คำนี้ในหนทางที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการอธิบาย. วาทกรรมต่างๆได้รับการโฆษณาชวนเชื่อโดยสถาบันบางแห่ง และได้แบ่งแยกโลกในหนทางต่างๆโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถที่จะพูดถึงวาทกรรมทางการแพทย์ ทางกฎหมาย และทางจิตวิทยาได้. การวิจารณ์ทางวรรณกรรมก็เป็นวาทกรรมหนึ่งด้วย, เช่นเดียวกับที่มันเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยคำศัพท์ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับการแบ่งระดับชั้น

ความเป็นอื่น (The) Other
เป็นศัพท์คำหนึ่งที่มาจากปรัชญาฝรั่งเศสที่มีหลายความหมาย บางครั้งความหมายก็ไปทับซ้อนกับการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม, รวมถึงมานุษยวิทยา และจิตวิเคราะห์. สำหรับในที่นี้หมายถึง

"ในเงื่อนไขที่ธรรมดามากๆ "ความเป็นอื่น" (the other)หมายถึง คนอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งซึ่งได้ถูกนิยามในฐานะที่เป็นคนที่แตกต่าง หรือหมายถึงคนที่มีสถานะต่ำกว่าหรือเป็นรองกว่า(sub-human)ที่รวมเข้ากับเอกลักษณ์ของกลุ่มๆหนึ่ง. ยกตัวอย่างเช่น การเกาะกันภายในของกลุ่มนาซี ขึ้นอยู่กับการที่พวกเขานิยามตัวของพวกเขาเองสวนกันกับ(พยายามที่จะธำรงรักษาความต่างๆจาก)ภาพลักษณ์ของชาวยิวของพวกเขา. ในความหมายนี้, "ความเป็นอื่น"คือการลดคุณค่าลงมาครึ่งหนึ่ง เมื่อมันได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มคน"

อัตตะ (ประธาน) (Subject)
Foucault, Benveniste, Lacan และบรรดานักคิดคนอื่นๆ, บุคคลเหล่านี้ได้เป็นที่ดึงดูดความสนใจของบรรดานักปรัชญาเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงบรรดานักวิจารณ์ทางวัฒนธรรม เพราะพวกเขาคิดเรื่องเกี่ยวกับวิธีการที่ภาษาได้ก่อรูปก่อร่างความเป็นอัตบุคคลขึ้นมา. นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมพวกเขาศัพท์คำว่า"อัตตะ-ประธาน"(subject)(ตำแหน่งหนึ่งในประโยค)มากกว่าที่จะใช้คำว่า"บุคคล"(person). เป็นไปได้ที่ว่า, เราได้รู้จักตัวของเราเองในฐานะที่เป็นอัตลักษณ์ที่แตกต่างโดยปฏิกริยาที่มีต่อระบบอันหนึ่งของการเป็นตัวแทนที่มาก่อนตัวเรา. ยกตัวอย่างเช่น เราได้ถูกให้กำเนิดขึ้นมาโดยภาษาตั้งแต่แรกเกิด

สมเกียรติ ตั้งนโม แปลและเรียบเรียง / 23 ตุลาคม 2544
แก้ไขเพื่อเผยแพร่บน website 27 ตุลาคม 2544

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

 

 

 

บทความหมายเลข 123
ความยาวประมาณ 10
หน้ากระดาษ A4

บทนำเพื่อทำความเข้าใจ ลัทธิหลังยุคอาณานิคม
สมเกียรติ ตั้งนโม / แปลและเรียบเรียง

ลัทธิหลังอาณานิคม(Postcolonialism), ก็คล้ายๆกับลัทธินิยมที่มีคำนำหน้าว่า"หลัง"(post)อื่นๆ นั่นคือไม่มีเครื่องหมายหรือสัญญานใดๆว่า มันเป็นการแยกตัวออกมาจากลัทธิซึ่งมันฝังตัวอยู่อย่างชัดเจน (ซึ่งในที่นี้ก็คือลัทธิ"อาณานิคม"-colonialism), หรือมันเป็นการปฏิเสธ(ซึ่งเป็นไปไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ) ต่อลัทธิชื่อเดียวกันกับมันอย่างสิ้นเชิง อันที่จริง ลัทธิหลังต่างๆ(postisms) มันค่อนข้างจะเป็นการเปิดไปสู่อาณาเขตแห่งการค้นคว้าและทำความเข้าใจ ตามหลังยุคสมัยหนึ่งในชื่อเดียวกันที่ได้ปิดตัวลง

สำหรับลัทธิอาณานิคม(colonialism)นั้น เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เราอาจจำแนกลักษณ์เด่นๆบางประการออกมาได้ รวมทั้งให้นิยามความหมายทางประวัติศาสตร์อันหนึ่งกับมัน โดยผ่านผลหรืออิทธิพลและคุณลักษณะเฉพาะตัวต่างๆบางอย่าง ดังที่มันได้เผยตัวเองออกมาในบางประเทศ ท่ามกลางความแตกต่างทางกลุ่มสังคมและวัฒนธรรมอื่นๆ