ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
related topic
260848
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 649 หัวเรื่อง
จักรวรรดิ์และภายหลังจักรวรรดิ์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The Midnight 's free article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 30,779 สูงสุด 51,792 สำรวจเมื่อเดือน มิ.ย. 48
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

วิกฤตการณ์ร้ายแรง ๓ ด้านของอเมริกัน
จักรวรรดิ์ และภายหลังจักรวรรดิ์นิยมอเมริกัน

สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความชิ้นนี้เรียบเรียงจาก
EMPIRE AND AFTER
by Jayati Ghosh

เป็นการแสดงข้อคิดเห็นถึงหนังสือเรื่อง
Dilemmas of domination: The unmaking of the American empire"
by Walden Bello

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนลำดับที่ 649
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4)




หมายเหตุ :
บทความชิ้นนี้ประกอบขึ้นมาด้วยกันหลายส่วนดังนี้ ๑. จักรวรรดิ และภายหลังจักรวรรดิ์นิยมอเมริกัน ๒. EMPIRE AND AFTER เขียนโดย Jayati Ghosh (ต้นฉบับภาษาอังกฤษ) และ ๓. แนะนำหนังสือ Dilemmas of Domination: The Unmaking of the American Empire

1. จักรวรรดิ และภายหลังจักรวรรดิ์นิยมอเมริกัน
ตลอดเวลาหลายปี นักวิชาการและนักกิจกรรม Walden Bello ได้นำเสนองานวิจารณ์ที่ค่อนข้างแหลมคมและเชือดเฉือน งานที่ได้รับการนำเสนอนั้นค่อนข้างมีพลังและชัดเจนเกี่ยวกับระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ และได้สะท้อนนัยที่เกี่ยวข้องอันหลายหลากของมันออกมา. นอกจากนี้ เขายังนำการต่อสู้กับจักรพรรดิ์นิยมเกี่ยวกับการปรากฏตัวของมันอย่างหลากหลาย รวมไปถึงต่อสู้กับนโยบายเสรีนิยมใหม่ต่างๆ และเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อทางเลือกทั้หงลายของการพัฒนาที่แท้จริง

แน่นอน ทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่กระทำขึ้นในบ้านเกิดเมืองนอนของเขาเองที่ฟิลิปปินส์เท่านั้น แต่ยังปฏิบัติการในระดับนานาชาติด้วย ในฐานะการนำอันหนึ่งและในฐานะพลเมืองของซีกโลกใต้(Global South)ที่มีอิทธิพลพอสมควร ซึ่งเขาเห็นว่ามันเป็นฐานของความจริงต่างๆ ของสังคมใหม่และความก้าวหน้าที่สามารถได้รับการพัฒนาขึ้นมาได้

หนังสือเล่มล่าสุดของเขาเรื่อง Dilemmas of domination: The unmaking of the American empire
(Metropolitan Books, New York 2005) ได้กลั่นและสกัดเอาข้อถกเถียงที่มีมีนัยสำคัญมากที่สุดเมื่อเร็วๆ นี้ของเขาบางอย่างมานำเสนอ ในรูปหลักการที่โน้มน้าวใจ รวมไปถึงแถลงการณ์อันเร่าร้อนเกี่ยวกับโลกทุกวันนี้. หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่ Bello อธิบายว่า เป็นวิกฤตการณ์ที่แพร่ขยายอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับจักรวรรดิ์อเมริกัน ซึ่งเป็นผลลัพธ์อันเนื่องมาจากภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกและความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นมาจาก"การเมืองและเศรษฐกิจแบบจักรวรรดิ์นิยม"นั่นเอง

ในข้อเท็จจริง เขาเห็นถึงวิกฤตต่างๆที่พัวพันกัน 3 อย่าง ซึ่งประกอบด้วย
- วิกฤตของการแผ่ขยายแบบเกินเลย(the crisis of overextension),
- วิกฤตเกี่ยวกับการผลิตแบบล้นเกิน(the crisis of overproduction),
- วิกฤตเกี่ยวกับความชอบธรรมทางกฎหมาย(the crisis of legitimacy)

1. วิกฤตของการแผ่ขยายแบบเกินเลย(the crisis of overextension)
วิกฤตการณ์อันแรก เป็นผลเนื่องมาจากแรงขับอันไร้ขีดจำกัดของการบริหารจัดการของสหรัฐฯ ในความเหนือกว่าทางด้านการทหาร ซึ่งได้ส่งผลในเชิงวิปริตหรือตรงข้ามกับความประนีประนอมอย่างจริงจัง ทั้งในเรื่องพลังอำนาจ และความมีประสิทธิภาพของกลไกทางด้านการทหารของสหรัฐฯ. ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ธรรมชาติเฉพาะตัวเกี่ยวกับระบบอบการปกครองของ George Bush เป็นวิกฤตที่ร้ายแรงต่อกระบวนการอันนี้, และ Bello ได้แสดงให้เห็นว่าระบอบการปกครองของ Clinton ก่อนหน้านั้นซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มีนโยบายต่างประเทศที่ค่อนข้างแตกต่างกันไปเลยทีเดียว แต่ได้น้อมนำไปสู่การบ่มเพาะเมล็ดพันธ์ต่างๆบางอย่างดังต่อไปนี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำแหน่งประธานาธิบดีของ Clinton เป็นการส่งมอบพินัยกรรม อันเป็นมรดกอันหนึ่งของปฏิบัติการที่อันตรายร้ายแรงบางอย่างมายังประธานาธิบดีคนต่อมา ยกตัวอย่างเช่น โดยผ่านปฏิบัติการของอเมริกันใน Kosovo และใน Haiti. อันนี้หมายรวมถึง นิยามความหมายที่ยืดหยุ่นมากจนเกินไปเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติที่สามารถได้รับการสนับสนุนโดยอำนาจทางทหารได้

- นั่นคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างผลประโยชน์ของชาติ กับการแผ่ขยายของสิ่งที่มันอ้างว่าเป็น ประชาธิปไตยสไตล์อเมริกันที่แผ่ไปทั่วอย่างน่าพิศวง;

- นั่นคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในลักษณะคิดเองเออเอง ของสภาพเงื่อนไขต่างๆภายใต้อธิปไตยแห่งรัฐ ซึ่งสามารถล้มล้างได้โดยปราศจากการแซงค์ชั่นหรือการลงโทษจากนานาชาติ; และ

- ไอเดียที่ว่าการทิ้งระเบิดที่แม่นยำ ที่สามารถทำให้ได้มาซึ่งชัยชนะต่างๆทางด้านการทหารอย่างรวดเร็ว โดยการสูญเสียกำลังคนน้อยที่สุด

ประเด็นทางประวัติศาสตร์อื่นๆที่ต้องหมายเหตุลงไปด้วยก็คือ วิถีทางแบบอเมริกันเกี่ยวกับการสงคราม มักจะเกี่ยวพันกับเป้าหมายและการฆ่าประชาชนที่เป็นพลเเรือนเสมอ จากการโจมตีด้วยระเบิดเพลิง(firebombing)ที่ Dresden และ Tokyo สู่การใช้ระเบิดนิวเคลียร์กับเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ถึงปฏิบัติการ Phoenix ในประเทศเวียดนาม
(Phoenix - นกฟีนิกซ์ในปกรณัมโบราณ อาศัยอยู่ในทะเลทรายอาราเบีย ซึ่งเผาไหม้ตัวของมันเองในกองเพลิงทุกๆ 5-600 ปี และฟื้นคืนชีพขึ้นมาจากกองเถ้าถ่านด้วยพลังความเป็นหนุ่ม)

Bello ได้ให้ภาพชัดว่า อิรัคได้พลิกกลับชะตากรรมของจักรวรรดิ์อเมริกัน โดยลากอเมริกันลงไปสู่หล่มโคลนของสถานการณ์ที่ทำให้ตำแหน่ง และสถานะของมันในทุกๆที่อ่อนเปลี้ยลง. เขาได้แสดงให้เห็นว่า การรุกรานเข้าไปในอิรัค โดยสาระแล้วเป็นการตัดสินใจที่เลยเถิด โดยภาคส่วนต่างๆที่หลากหลายของระบอบปกครองของ Bush ด้วยการค้นหาจุดมุ่งหมายในส่วนของพวกมันกันเอง

เหตุผลเหล่านั้นไล่เรียงได้จากหลักการทั่วๆไป - เช่น ความเชื่ออันหนึ่งซึ่งมีความปรารถนาในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง กับเยาวชนทั้งหลาย - การแก้แค้นกับใครบางคนสำหรับเหตุการณ์ต่างๆในวันที่ 11 กันยายน 2001, และหนึ่งในทั้งหมดของคนพวกนั้นซึ่งชัดเจนมากที่สุดคืออิรัค - ซึ่งยังมีความเป็นศูนย์กลางของน้ำมันด้วย. ขณะที่ความต้องการที่จะควบคุมแหล่งน้ำมันเป็นประเด็นชี้ขาดและชัดเจนที่สุด มันยังมีเจตจำนงที่จะจำกัดการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรน้ำมันเหล่านี้ของยุโรปและจีนด้วย

กระนั้นก็ตาม Bello ยังอ้างว่า ด้วยเหตุผลทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมด เหตุผลในเชิงยุทธศาสตร์อาจครอบงำโดยวัตถุประสงค์เกี่ยวกับ การก่อรูปสภาพแวดล้อมในทางการเมืองระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่ สู่รูปทรงสัณฐานอันเป็นที่ปรารถนา โดยผ่านการข่มขู่คุกคามโดยการใช้กำลังทหารอเมริกันอย่างครึกโครมและอวดเบ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามต่างๆที่กระทำกับอัฟกานิสถานเป็นอันดับแรก และกับอิรัคในอันดับต่อมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะที่ไม่อาจเอาชนะได้ของกองกำลังสหรัฐฯ กลับจบลงในทางตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง และแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดอันมากมายเกี่ยวกับความเข้มแข็งทางทหารอันนี้

ด้วยเหตุดังนั้น ความเข้มแข็งจนเกินไปของจักรวรรดิ์จึงถูกสะท้อนออกมาในความล้มเหลวเอามากๆเกี่ยวกับการยึดครองของมัน แม้แต่กับการเข้าไปครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ ของอัฟกานิสถานในหลายๆปีของการสู้รบ และในการไร้สมรรถภาพอย่างสมบูรณ์ที่จะจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้กับชีวิตของผู้คนในอิรัค แม้ในขั้นต่ำสุดก็ตาม หรือเพื่อเอาชนะการต่อต้านของชนชาวอิรัคด้วยทรัพยากรจำนวนมหาศาลของสหรัฐฯ ซึ่งยังคงถ่ายเทเข้าไปในอิรัคอยู่ตลอดเวลา

ดังผลลัพธ์ที่กล่าวข้างต้น บทเรียนอันมีค่า 2 ประการ ที่สามารถถูกนำมาใช้ได้กับข้าศึกหรือศัตรูทั้งหลายที่ยิ่งใหญ่อย่างสหรัฐฯ ซึ่งถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ได้ทั่วโลก ในที่นี้ก็คือ...

หนึ่ง, เป็นไปได้ที่จะต่อสู้กับกองกำลังสหรัฐฯ เพื่อไล่ไปสู่มุมอับ ซึ่งการนี้จะสำเร็จและประสบชัยชนะอย่างมีประสิทธิภาพได้ ด้วยสงครามแบบกองโจร

สอง, การต่อต้านที่ได้ผลกับจักรวรรดิ์นั้น ในด้านหนึ่งก็คือทำให้จักรวรรดิ์ทั้งหมดอ่อนแอลง

2. วิกฤตเกี่ยวกับการผลิตแบบล้นเกิน(the crisis of overproduction)
วิกฤตการณ์เกี่ยวกับ"การผลิตจนล้นเกิน(overproduction)" เป็นศัพท์ที่ Bello ใช้เพื่ออ้างอิงถึงความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งสร้างขึ้นมาในระบบทุนนิยม โดยการรวมเอาความเข้มแข็งของทุน และการครอบงำทางด้านการเงินเข้าด้วยกัน ซึ่งลงเอยด้วยการถ่างช่องว่างระหว่างศักยภาพในทางการเจริญเติบโตทางด้านผลผลิตอย่างเป็นระบบ กับ ความสามารถของผู้บริโภคทั้งหลายที่จะมีกำลังซื้อผลิตผลของมันให้กว้างออกไป

Bello ได้ให้เหตุผลว่า เศรษฐกิจโลกกำลังใกล้จะถึงจุดจบของคลื่น Kondratieff ขนาดยาวระหว่างการแผ่ขยายกับการล่มสลาย ที่ถูกขับเคลื่อนโดยการเงินในลักษณะการเก็งกำไร(speculative finance) ซึ่งปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทรงพลัง ได้เข้ามาแทนที่กิจกรรมการผลิต(manufacturing activity) ในฐานะที่เป็นแหล่งต้นตอที่สำคัญหรือตัวชูโรงของความสามารถในการทำกำไร. อันนี้ได้ถูกนำไปเชื่อมต่อกับการถดถอยและการไม่มีงานทำเพิ่มขึ้น ซึ่งกำลังเจริญเติบโตอยู่ในโลกที่พัฒนาแล้ว และก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินที่รุนแรงและบ่อยมากขึ้นที่ปรากฏขึ้นในตลาดต่างๆ
(The Kondratieff Cycle is a theory based on a study of nineteenth century price behavior which included wages, interest rates, raw material prices, foreign trade, bank deposits, and other data.)

การถูกโจมตีได้ง่าย และความเปราะบางอย่างรุนแรงของบรรดาประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ต่อเรื่องความไร้เสถียรภาพได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยอำนาจทางการเงิน ที่ได้รับการทำให้หนักข้อมากยิ่งขึ้นด้วยผลพวงความยุ่งเหยิงทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับการค้าเสรีและนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างทั้งหลาย ในสิ่งซึ่ง Bello เรียกว่า เศรษฐกิจของการต่อต้านการพัฒนา(economic of anti-development)

ขณะที่สิ่งเหล่านี้ถูกรับรู้ร่วมกันในฐานะการส่งเสริมหรือเป็นองค์ประกอบของโลกาภิวัตน์, Bello บ่งว่า นับจาก ค.ศ.2001 เป็นต้นมา การบริหารจัดการของ Bush เป็นการถดถอยจากโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสงสัยเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดการมีส่วนร่วมของหลายๆภาคส่วน(multilateralism) และได้มีการจัดวางผลประโยชน์บางส่วนอย่างก้าวร้าวของทุนอเมริกันเอาไว้ข้างหน้า ในความเกี่ยวข้องกับชนชั้นนายทุนโลก แม้กระทั่งความเสี่ยงเกี่ยวกับความไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรงภายในแกนหลักอันนั้นก็ตาม

อันนี้เป็นการอธิบายถึงความเกี่ยวพันที่สำคัญบางอย่าง เกี่ยวกับนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆนี้: ซึ่งได้บรรลุผลในการควบคุมเหนือบ่อน้ำมันของตะวันออกกลาง; ในฐานะผู้ปกป้องที่ก้าวร้าวในด้านการค้าและธุรกิจการลงทุนต่างๆ และได้มีการโฟกัสลงไปยังข้อตกลงทางการค้าในระดับภูมิภาค มากกว่าจะโฟกัสลงไปที่การมีส่วนร่วมในหลายๆภาคส่วน; มีการรวบรวมข้อพิจารณาต่างๆในเชิงยุทธศาสตร์สู่ข้อตกลงทางการค้าทั้งหลายเหล่านี้; มีการใช้ขบวนการอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อธำรงรักษาสภาพการแข่งขันเอาไว้; ทำให้เศรษฐกิจอื่นๆปรับตัวสู่การแบกรับภาระวิกฤตสิ่งแวดล้อม, และอื่นๆ

3. วิกฤตเกี่ยวกับความชอบธรรมทางกฎหมาย(the crisis of legitimacy)
ในท้ายที่สุด ความขัดแย้งที่วิกฤตสุดอาจเป็นผลลัพธ์มาจาก "วิกฤตการณ์เกี่ยวกับความถูกต้องชอบธรรมทางกฎหมาย"นั่นเอง เมื่อการครอบงำอย่างถาวรเป็นเรื่องซึ่งไม่สามารถที่จะบีบบังคับต่อไปได้ สหรัฐอเมริกาจำต้องแสวงหาความชอบธรรมทางกฎหมายและการสนับสนุน (หรืออย่างน้อยที่สุดการยอมรับเกี่ยวกับ) การกระทำต่างๆของมัน

กระนั้นก็ตาม นี่เป็นต้นตอของภาวะการกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในเชิงอุดมคติที่ลึกซึ้งมากที่สุด. การแพร่ขยายมากเกินไปทางด้านการทหาร และแรงขับเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ถูกทำให้ไปด้วยกัน โดยคำมั่นสัญญาอเมริกันเกี่ยวกับประชาธิปไตย ซึ่งมันเป็นสิ่งซึ่งไม่น่าเชื่อถือหรือน่าไว้วางใจอีกต่อไปแล้วในทุกๆที่บนโลก และกระทั่งจะเป็นเรื่องที่จูงใจภายในสหรัฐอเมริกาเอง ในฐานะเรื่องของสิทธิมนุษย์ที่ได้รับการตัดทอนและลดบทบาทลงในนามของสงครามกับผู้ก่อการร้าย

โดยเหตุนี้ จุดจบ, อนาคตจะได้รับการตัดสินใจโดยสิ่งที่ผู้คนทั้งหลายเชื่อ, อันนี้อาจเป็นต้นตอที่แท้จริงของการแก้ปมปัญหาของจักรวรรดิ์อเมริกัน. ดังนั้น วิกฤตการณ์อันหลากหลายของจักรวรรดิ์ จึงกลายเป็นโอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงและการปลดเปลื้องเพื่อความเป็นอิสระ

(เกี่ยวกับผู้เขียน: Jayati Ghosh เป็นศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ณ the Centre of Economic Studies and Planning, School of Social Science, Jawaharlal Nehru University, New Delhi และ นักเขียนประจำใน the Indian press)


2. EMPIRE AND AFTER
Jayati Ghosh*
ต้นฉบับจาก Focus on Trade

(A review of "Dilemmas of domination: The unmaking of the American empire", (Metropolitan Books, New York 2005) by Walden Bello. See http://www.henryholt.com/metropolitanbooks.htm for ordering details.)

Over the years, the scholar and activist Walden Bello has provided some of the most incisive, trenchant and powerful critiques of the global capitalist system and its various implications. He has also led the struggle against imperialism in its various manifestations, including neoliberal policies, and been part of the movement for developing genuine alternatives. All this of course in his native country the Philippines, but also internationally as a leading and influential citizen of the "Global South", which he sees as the base from where new and progressive social realities can be developed.

His latest book "Dilemmas of domination: The unmaking of the American empire", (Metropolitan Books, New York 2005) distils some of his most significant recent arguments into a cogently formulated yet passionate statement about the world today. The book is about what Bello describes as the current crisis of the American empire, resulting from the dilemmas and contradictions emerging from both imperial politics and imperial economics. In fact he sees three interrelated crises of imperialism: the crisis of overextension, the crisis of overproduction and the crisis of legitimacy.

The first crisis results from the US administration's open-ended drive for military superiority, which has had the perverse effect of severely compromising both the power and the effectiveness of the US military machine. There is no doubt that the particular nature of the George Bush regime has been critical to this process, but Bello shows how even the previous Clinton regime, which had a very different take on foreign policy in general, laid the seeds for some of what followed.

In particular, the Clinton presidency bequeathed a legacy of some dangerous practices, for example through its actions in Kosovo and Haiti. These included: an overly elastic definition of national interest that could be supported by armed force; identifying the national interest with the spread of what it claimed was US-style democracy abroad; unilaterally identifying the conditions under which state sovereignty could be overturned without international sanction; and the idea that precision bombing could deliver quick military victories with minimum casualties. The other historical point to note is that the American way of warfare has always involved the targeting
and killing of civilian populations, from the firebombing of Dresden and Tokyo to the nuclear bombs on Hiroshima and Nagasaki to Operation Phoenix in Vietnam.

Bello is clear that Iraq has reversed the fortunes of the US empire, dragging it into a quagmire that has weakened its position everywhere else. He shows how that invasion of Iraq was essentially
over-determined, with various segments of the Bush regime seeking it for their own purposes. These reasons ranged from the general - a belief in the desirability of "regime change", to the juvenile - taking revenge on someone for the events of September 11, 2001, to the most obvious one of all - the centrality of oil. While the need to control oil resources was obviously crucial, there was also the intention of limiting the access of Europe and China to these oil resources. Yet Bello argues that with all these reasons, the strategic reason may have dominated, with the purpose of reshaping the international political environment into a desired form, through intimidation by the blatant application of American force.

But the attempts to make first Afghanistan and then Iraq into demonstrations of US military invincibility have ended up doing precisely the opposite, and has exposed the limits of this military
strength. The imperial overstretch is therefore reflected in the very failure of its occupation even to cover most of the geographical area of Afghanistan despite years of fighting, and in the complete inability to provide the most minimal security of life in Iraq, or to defeat the Iraqi resistance despite the huge US resources still deployed in Iraq.

As a result, two important lessons are available to the foes of this grand US design across the world. One, that it is possible to fight the US military to a stalemate, which is effectively a victory in guerrilla warfare. Two, that effective resistance in one part of the empire weakens the empire as a whole.

The "crisis of overproduction" is the term Bello uses to refer to the contradictions created in the capitalist system by the combination of concentration of capital and domination of finance, which have resulted in a widening gap between the growing productive potential of the system and the capacity of consumers to purchase its output. Bello argues that the world economy is nearing the end of a Kondratieff long wave of expansion and decline, driven by speculative finance which now
powers economic activity and has replaced manufacturing activity as the prima source of profitability. This has been associated with recession and jobless growth in the developed world and more frequent and intense financial crises in emerging markets.

The acute vulnerability of developing countries to the instabilities created by ascendant finance are exacerbated by the disruptive economic effects of free trade and structural adjustment policies, in what Bello calls the economic of anti-development. While these are commonly perceived as the accompaniment to "globalisation", Bello notes that since 2001, the Bush administration has been retreating from globalisation, is increasingly sceptical of multilateralism, and has aggressively put the interests of some segments of US capital ahead of the concerns of the global capitalist class, even at the risk of severe disharmony within the core.

This explains some key concerns of recent US economy policy: achieving control over Middle East oil; being aggressively protectionist in trade and investment matters and focussing more on regional trade agreements than on multilateralism; incorporating strategic considerations into
these trade agreements; using exchange rate movements to maintain competitiveness; making other economies adjust to the burden of the environmental crisis, and so on.

Ultimately, the most critical contradiction may result from the crisis of legitimacy. Since sustained domination cannot be continuously coercive, the US must seek legitimacy and support for (or at least acceptance of) its actions. Yet this is the source of the most profound ideological dilemma. The military overextension and the drive for economic expansion have been accompanied by the American promise of democracy, which is no longer believed in anywhere else in the world
and is even less persuasive within the US as human rights are curtailed in the name of the war on terror.

Since in the end, the future will be determined by what people believe, this may be the real source of the unravelling of the American empire. So the multiple crises of empire can become the opportunity for liberating change.

* Jayati Ghosh is Professor of Economics at the Centre of Economic
Studies and Planning, School of Social Sciences, Jawaharlal Nehru
University, New Delhi and a regular columnist in the Indian press.

แนะนำเกี่ยวกับ Focus on Trade
Focus on Trade is a regular electronic bulletin providing updates and analysis of trends in regional and world trade and finance, the political economy of globalisation and peoples resistance, and
alternatives to global capitalism. Focus on Trade is edited by Nicola Bullard. Your contributions and comments are welcome. Write to [email protected]

Focus on Trade is translated into Spanish and Bahasa Indonesian. Some articles are translated into French. The links for these pages are:
Spanish:http://www.focusweb.org/main/html/index.php?
module=PostWrap&page=spanish&height=500&width=800
Bahasa:http://www.focusweb.org/main/html/index.php?
module=PostWrap&page=bahasa&height=500&width=800
French: http://www.focusweb.org/main/html/Search-topics-15.html

If you would like to receive these editions, contact [email protected].

Please contact us c/o CUSRI, Wisit Prachuabmoh Building, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 Thailand. Tel: (66 2) 218 7363/7364/7365, Fax: (66 2) 255 9976, Website: http://focusweb.org.
Focus on the Global South is an autonomous programme of policy research and action of the
Chulalongkorn University Social Research Institute (CUSRI) based in Bangkok.


3. แนะนำหนังสือ
Dilemmas of Domination: The Unmaking of the American Empire
Walden Bello


จากนักวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องโลกาภิวัตน์ที่ได้รับการเปล่งเสียงไชโย, จนถึงนักวิเคราะห์ที่มีอิทธิพลเกี่ยวกับเรื่องการทหาร, เศรษฐกิจ, และความเปราะบางทางการเมืองของอเมริกา กระทั่งการเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งซึ่งได้รางวัลการพัฒนา, Bello ได้แสดงให้เห็นถึงความมหึมาเกี่ยวกับงบประมาณการป้องกันของสหรัฐ, กองกำลังอเมริกันที่ได้รับการขยายตัวจนล้นเกิน, เงื่อนไขอันหนึ่งที่ผูกมัดกับการก่อเกิดความรุนแรง ดังที่ได้แพร่กระจายชัยชนะไปในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งได้ก่อให้เกิดการเคี่ยวกลำในเชิงต่อต้าน และการเผชิญหน้าใหม่ๆ ให้กระจายไปทั่ว

เขาชี้ถึงเค้าลางความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของจักรวรรดิ์ อันเป็นผลเนื่องมาจากต้นทุนทางการทหารที่ใหญ่โตมโหฬาร, การขาดทุนอย่างย่อยยับ, และการตักตวงผลปะโยชน์ทางการค้าและการลงทุนที่สัมพันธ์กับประเทศต่างๆที่กำลังพัฒนา. ในด้านการเมือง เขาเตือน เกี่ยวกับการขจัดสิ่งลวงตาอันขมขื่นที่กำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก ในการขานรับต่อความล้มเหลวของอเมริกาต่อความเป็นผู้สนับสนุนและผู้เผื่อแผ่ประชาธิปไตย.

ทุกหนแห่งที่อเมริกันไปถึง, ทุนนิยมพรรคพวก, การบีบคั้นอย่างไม่เป็นมิตร, และความไม่เสมอภาคอย่างยิ่งในเรื่องรายได้ ได้ไปกัดเซาะและทำลายความหวังเกี่ยวกับความยุติธรรมและทุกสิ่งทุกอย่างลงจนหมดสิ้น

การสำรวจตรวจตราในลักษณะการพยากรณ์ที่ชัดเจน, ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของการครอบงำ ได้เผยให้เห็นถึงอนาคตซึ่งเป็นความอ่อนแอที่ซ่อนเร้นอยู่ของจักรวรรดิ์ ที่จะผลิดอกออกผลการท้าทายที่ร้ายแรงต่อความมีอำนาจอันยิ่งใหญ่ของอเมริกันในระยะเวลาไม่นานนักจากนี้

เกี่ยวกับผู้เขียน :
Walden Bello, เป็นศาสตราจารย์ทางด้านสังคมวิทยาและการบริหารจัดการสาธารณะ ณ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ เขาเป็นคนที่เขียนหนังสือมากมายหลายเล่มเกี่ยวกับเรื่องของโลกาภิวัตน์. และยังเป็นนักกิจกรรมสังคมที่ได้รับรางวัลสันติภาพและสิทธิมนุษยชนด้วย, เขาพำนักอยู่ที่ Quezon City.

 

 

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(จะมีการปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

หนังสือเรื่อง Dilemmas of domination: The unmaking of the American empire ได้ชี้ถึงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับวิกฤตต่างๆที่พัวพันกัน 3 ด้านคือ
- วิกฤตของการแผ่ขยายแบบเกินเลย(the crisis of overextension)
- วิกฤตเกี่ยวกับการผลิตแบบล้นเกิน(the crisis of overproduction),
- วิกฤตเกี่ยวกับความชอบธรรมทางกฎหมาย(the crisis of legitimacy)

Walden Bello ได้ให้เหตุผลในหนังสือ Dilemmas of domination: The unmaking of the American empire ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังใกล้จะถึงจุดจบ ระหว่างการแผ่ขยายกับการล่มสลาย ที่ถูกขับเคลื่อนโดยการเงินในลักษณะการเก็งกำไร(speculative finance) ซึ่งปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทรงพลัง ได้เข้ามาแทนที่กิจกรรมการผลิต(manufacturing activity) ในฐานะที่เป็นแหล่งต้นตอที่สำคัญหรือตัวชูโรงของความสามารถในการทำกำไร. อันนี้ได้ถูกนำไปเชื่อมต่อกับการถดถอยและการไม่มีงานทำเพิ่มขึ้น ซึ่งกำลังเจริญเติบโตอยู่ในโลกที่พัฒนาแล้ว และก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินที่รุนแรงและบ่อยมากขึ้นที่ปรากฏขึ้นในตลาดต่างๆ

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : บทความทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด
H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาท
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้อ้างอิง