01

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 574 หัวเรื่อง
อันตรายจากมะละกอจีเอ็มโอ
ดร. ไมเคิล แฮนแซน
องค์ผู้บริโภคสากล
ทความฟรีมหาวิทยาลยเที่ยงคืน
The Midnight 's article

R
relate topic
120548
release date
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 26000 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 - ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
The Midnight
University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 560 เรื่อง หนากว่า 7000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อที่ midnightuniv(at)yahoo.com - midnight2545(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์ (การจัดส่งทางไปรษณีย์ จะลงทะเบียนทุกฉบับ)

ความเสี่ยงด้านสุขภาพของมะละกอจีเอ็มโอ
ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากมะละกอจีเอ็มโอ
ดร. ไมเคิล แฮนเซน
องค์กรผู้บริโภคสากล

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 574

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ได้รับมาจาก
ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์ - เจ้าหน้าที่รณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในกรณีที่มีผู้ต้องการผลการศึกษาฉบับเต็มสามารถส่ง email มาที่ [email protected]
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 6 หน้ากระดาษ A4)


 

ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากมะละกอตัดต่อพันธุกรรม
ดร. ไมเคิล แฮนเซน - องค์กรผู้บริโภคสากล / 6 พฤษภาคม 2548

รายงานสรุปภาษาไทย
มะละกอเป็นพืชที่ปลูกทั่วไปทั้งในเขตร้อนและใกล้เขตร้อน โรคไวรัสใบด่างวงแหวนมะละกอเป็นโรคพืชที่สำคัญโรคหนึ่งในหลายประเทศที่ผลิตมะละกอเป็นการค้า มะละกอตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) เพื่อต้านทานไวรัสใบด่างวงแหวนถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปลายทศวรรษที่ 80 และปลูกเป็นการค้าเพียงในรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยคอร์แนล และมหาวิทยาลัยฮาวายร่วมกันพัฒนามะละกอจีเอ็มโอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวน

จากความสำเร็จในฮาวาย ขณะนี้มีการพัฒนามะละกอจีเอ็มโอต้านทานโรคไวรัสจุดด่างวงแหวนขึ้นโดยใช้วิธีการคล้ายๆ กันกับมะละกอจีเอ็มโอในฮาวาย และอยู่ระหว่างการทดลองระดับไร่นาในหลายประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ในอเมริกาใต้ และในหมู่เกาะแคริบเบียน

มะละกอจีเอ็มโอต้านทานไวรัสใบด่างวงแหวนถูกตัดต่อยีนโดยการยิงยีนที่แสดงโปรตีนหุ้ม (Coat protein)ของไวรัส และยีนแสดงเครื่องหมาย (Marker Genes) เข้าไปในดีเอ็นเอของพืช ทำให้มะละกอต้านทานต่อการติดโรคไวรัสใบด่างวงแหวน

ในสหรัฐอเมริกา กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (EPA) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) เป็นผู้ควบคุมพืชจีเอ็มโอ

กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ พิจารณาเพียงเพื่อดูว่าพืชตัดต่อยีนไม่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นศัตรูพืชหรือทำให้เกิดศัตรูพืช การพิจารณาของกระทรวงเกษตร สหรัฐไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของมนุษย์

สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐ กำหนดให้มะละกอต้านทานไวรัสใบด่างวงแหวนให้เป็นยาปราบศัตรูพืช และควรจะตรวจสอบเพื่อตอบคำถามที่ว่าโปรตีนหุ้ม (Coat Protein) ของไวรัสที่ยิงเข้าไปซึ่งทำให้มะละกอคงทนต่อไวรัสใบด่างวงแหวน ทำให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของมนุษย์หรือไม่

สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมพิจารณาว่า การบริโภคโปรตีนหุ้มของไวรัสใบด่างวงแหวนนั้นปลอดภัย โดยใช้เพียงเหตุผลทางวาจาเท่านั้น และให้เหตุผลว่าเนื่องจากมนุษย์รับประทานมะละกอที่ติดโรคไวรัสใบด่างวงแหนมาหลายปีแล้ว ยังไม่มีรายงานว่าเกิดผลเสียหายแต่อย่างไร การรับประเทานโปรตีนหุ้มของไวรัสใบด่างวงแหวนจึงปลอดภัย สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ได้เรียกร้องหรือพิจารณาข้อมูลความปลอดภัยใดๆ เลย

ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ ทำการประเมินความเสี่ยงแบบไม่บังคับและพิจารณาว่า การเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการและสารพิษที่อาจเกิดขึ้นในมะละกอจีเอ็มโอ ที่ต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ ขนาดของตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการนั้นน้อยมาก กล่าวคือ ใช้มะละกอน้อยกว่า 15 ตัวอย่างต่อการศึกษาครั้งหนึ่ง ทำให้การวิเคราะห์ผลทางสถิติเป็นไปไม่ได้

จากการสังเกต ปริมาณของวิตะมินซีในมะละกอจีเอ็มโอต้านทานไวรัสใบด่างวงแหวนสายพันธุ์หนึ่งในสองสายพันธุ์ พบว่ามีวิตะมินซีต่ำกว่ามะละกอที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งว่าระดับของวิตะมินซีอยู่ในช่วงปกติ ดังนั้น จึงต้องใช้จำนวนตัวอย่างมะละกอที่มากกว่านี้เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

จากเอกสารที่ผู้พัฒนามะละกอจีเอ็มโอยื่นให้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ การรับประทานมะละกอดิบอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ เนื่องจากในยางมะละกอดิบมีสารประกอบเบนซิลไอโซไธโอไซยาเนท (Benzyl Isothiocyanate or BITC) ผู้พัฒนามะละกอจีเอ็มโอรายงานว่า ปริมาณของสารประกอบชนิดนี้ในมะละกอจีเอ็มโอดิบ และในมะละกอดิบปกติไม่แตกต่างกันนัก อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายละเอียดของการวิจัยมาประกอบ และขนาดของตัวอย่างที่ใช้ก็น้อยมาก (น้อยกว่าผลดิบ 9 ผล) นอกจากนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าการสุ่มตัวอย่างนี้สุ่มมาจากมะละกอกี่ต้นและจากสวนมะละกอกี่แห่ง อาจเป็นไปได้ว่าสุ่มตัวอย่างจากต้นมะละกอหนึ่งต้นต่อหนึ่งสายพันธุ์และมาจากสถานที่แห่งเดียว

เนื่องจากคนไทยรับประทานมะละกอดิบกันมาก การศึกษาระดับของ BITC ในผลมะละกอจีเอ็มโอดิบจึงเป็นสิ่งจำเป็น ระดับ BITC ที่เพิ่มขึ้นแม้ไม่มากนักอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อสุขภาพของหญิงมีครรภ์ เพราะคนไทยรับประทานมะละกอดิบกันเกือบทุกวัน ในการศึกษานั้น ควรใช้ตัวอย่างที่มากและควรเปรียบเทียบผลดิบที่ปลูกในสิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯไม่ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยที่สำคัญสองเรื่อง เรื่องแรกคือความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ และเรื่องที่สองคือยีนที่ต้านทานยาปฏิชีวนะเตตราซัยคลินและเจนตามัยซินซึ่งมีอยู่ในมะละกอจีเอ็มโอ

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยที่ควรใช้ในการพิจารณาอาหารจีเอ็มโอเรื่องหนึ่ง คือความสามารถที่จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ในช่วงที่มะละกอจีเอ็มโอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนอยู่ระหว่างกระบวนการอนุมัติในสหรัฐฯ เมื่อกลางทศวรรษที่ 90 ไม่มีใครให้ความสนใจกับคำถามเรื่องภูมิแพ้ ตั้งแต่บัดนั้นมา องค์การอาหารและเกษตรและองค์การอนามัยโลก ทำข้อตกลงระดับโลกว่าด้วยวิธีการทดสอบอาหารจีเอ็มโอทั้งหมด

นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ใช้วิธีการนี้ในการประเมินการก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ พบว่า โปรตีนหุ้มไวรัสใบด่างวงแหวนที่ยิงเข้าไปในมะละกอจีเอ็มโอ มีลำดับที่คล้ายคลึงกับสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ในมนุษย์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นักวิทยาศาสตร์ท่านนั้นสรุปเอาไว้ว่า จำต้องทำการทดสอบทางการแพทย์เพื่อดูการก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ต่อไป

ใน "แนวทางการประเมินความปลอดภัยทางอาหารสำหรับอาหารที่มาจากพืชจีเอ็มโอ" ของโคเด็กซ์ ระบุว่า ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะที่สร้างความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้ทางการแพทย์ ไม่ควรปรากฏอยู่ในอาหาร (CAG/GL 45-2003, para 58) ในฮาวาย มะละกอต้านทานไวรัสใบด่างวงแหวนสองสายพันธุ์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับการทดลองระดับไร่นา มีบางส่วนหรือทั้งหมดของยีนต้านทานยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด อันได้แก่ คานามัยซิน เจนตามัยซิน และเตตราซัยคลิน

เราไม่รู้ว่ามะละกอจีเอ็มโอที่กำลังทดลองระดับไร่นาในประเทศไทยมียีนต้านทานยาปฏิชีวินะตัวไหนอยู่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของดีเอ็นเอที่ยิงเข้าไปในมะละกอจีเอ็มโอให้สาธารณชนได้รับรู้

ข้อกังขาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางอาหารของมะละกอจีเอ็มโอที่ปลูกเป็นการค้าอยู่ในฮาวายและควบคุมโดยหน่วยงานของสหรัฐฯ มีอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นข้อกังขาที่ว่ามะละกอจีเอ็มโออาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ที่มีอันตรายถึงชีวิต อาจทำให้ปริมาณวิตะมินซีและวิตะมินเอลดลง อาจทำให้ระดับของสารเบนซิลไอโซไธโอไซยาเนทมากขึ้น ซึ่งสารพิษนี้มีอยู่ในธรรมชาติในมะละกอดิบ หรืออาจมียีนที่ทำให้เกิดความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรค ไม่เพียงแต่มะละกอจีเอ็มโอในฮาวาย ข้อกังขาเหล่านี้รวมไปถึงมะละกอจีเอ็มโอในไทยเช่นกัน แต่ยังไม่มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอย่างพอเพียงในประเทศไทย


Problems with GM papaya

Potential Human Health Effects of Genetically Engineered/Genetically Modified (GE/GM) papaya
By Michael Hansen, Ph.D.
Senior Research Associate
Consumers Union of the United States
May 2, 2005

SUMMARY
Papaya (Carica papaya) is grown throughout the tropics and subtropics. Papaya
ringspot virus (PRSV) is a serious disease pest of papaya in many of the
countries that commercially produce papaya. Genetically engineered (GE)
PRSV-resistant papaya was developed in the late 1980s and grown commercially,
only in Hawaii, USA, since 1998. These GE PRSV-resistant papaya were
co-developed by scientists at Cornell University and the University of Hawaii.
Based on the successful use in Hawaii, GE PRSV-resistant papaya are being
developed, using basically the same methodology as those grown in Hawaii, and
field tested in a number of countries in Asia (including Thailand, Malaysia and
Singapore), Latin America and the Caribbean.

GE PSRV-resistant papaya was genetically engineered by firing a gene that
expresses the coat protein (the outside) of the virus into that plant's own DNA,
together with marker genes. This led to the papaya becoming resistant to
infection by PRSV.

Genetically engineered crops are regulated in the United States by the
Department of Agriculture (USDA), the Environmental Protection Agency (EPA) and
the Food and Drug Administration (FDA).

USDA conducts a review only to determine that a transgenic plant does not pose a
risk of becoming or creating a plant pest. The USDA review does not address
human safety issues.

The U.S. EPA regulates the GE PRSV-resistant papaya as a plant pesticide, and
should have examined the question of whether the inserted viral coat protein,
which makes the papaya immune to papaya ringspot virus, poses any human safety
hazard. EPA determined that consumption of the PRSV coat protein was safe based
on verbal arguments/reasoning alone. EPA reasoned that since people have eaten
PRSV-infested papaya over the years with no obvious adverse effects reported,
the PRSV coat protein must be safe to consume. EPA did not require or review any
safety data.

The U.S. FDA conducts voluntary assessments and considered whether potential
changes in selected nutrients and toxicants in the GE PRSV-resistant papaya
posed any human health risks. The sample sizes submitted for the nutrient
studies were very small, less than 15 papayas per study, making statistical
analysis of the results virtually impossible. The amount of vitamin C observed
was slightly lower for one of the two GE PRSV-resistant papaya lines compared to
the non-GE line. However, it was argued that the vitamin C level was within the
normal range for papaya. Much larger sample sizes are needed to have valid
conclusions.

According to the developer's submission to the U.S. FDA, eating green (unripe)
papaya may induce abortion in pregnant women, connected to the presence of a
plant compound (benzyl isothiocyanate, or BITC) found primarily in the latex in
green papaya tissue. The GE papaya developers reported no significant
differences in this compound between GE and non-GE unripe and ripe papayas.
However, experimental details are lacking and the sample size was again
unacceptably small (less than 9 immature fruits). It is also unclear how many
different papaya plants and locations were sampled; it is possible that only one
plant per line and one location were sampled.

Since immature papaya fruits (called green papayas) are widely consumed in
Thailand, careful study is needed of the BITC levels in the immature fruits from
the PRSV-resistant papayas. Any increase in BITC levels in green papayas could
have negative consequences on health of pregnant women as green papaya is often
consumed every day. Such a study should include large sample sizes and should
include comparisons of immature fruits grown in a range of different
environments.

FDA did not address two important safety issues: potential to cause an allergic
reaction and presence of genes coding for resistance to the antibiotics
tetracycline and gentamycin.

One of the major safety issued associated with GE foods is the potential for
allergic reaction. When the PRSV-resistant papayas were going through the
approval process in the United States in the mid-1990s, no attention was paid to
the question of allergenicity. Since that time, there has been an FAO/WHO global
agreement on the protocol for testing all GE foods.

Using the WHO/FAO recommended protocol for allergenicity assessment, Dutch
scientists found that the inserted trait in the transgenic papaya, the PRSV CP,
had sequence similarity to a known human allergen that can cause a
life-threatening allergic response. The scientists concluded that further
clinical testing for potential allergenicity should be carried out.

The Codex Alimentarius "Guideline for the Conduct of Food Safety Assessment of
Foods Derived from Recombinant-DNA Plants" states that "Antibiotic resistance
genes used in food production that encode resistance to clinically used
antibiotics should not be present in foods" (CAG/GL 45-2003, para 58). Two
different GE lines of PRSV-resistant papaya were created for field testing in
Hawaii, which contain all or parts of three antibiotic resistance genes, those
for kanamycin, gentamycin and tetracycline. We do not know what antibiotic
resistance genes are present in the GE PRSV-resistant papayas being field tested
in Thailand. This can be known only if a full and detailed characterization of
the inserted DNA in GE papayas strains being field tested in Thailand is
disclosed to the public.

There are several human food safety issues concerning GE PRSV-resistant papaya
commercialized in Hawaii and regulated by US agencies, including whether it may
cause life-threatening allergic responses, may contain less vitamin C and
vitamin A, may contain increased levels of benzyl isothiocyanate, a toxin that
occurs naturally in green papaya, or may contain genes for resistance to
antibiotics that are used in human medicines. These concerns apply also to Thai
PSRV-resistant papaya, but have not been adequately addressed in Thailand.

++++++++++++++++++++++++++

ขอให้มีการเปิดเผยผลการสอบสวนกรณีการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอ
และยุติการใช้กฎหมาย
คุกคามนักสิ่งแวดล้อม

องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย
801/8 งามวงศ์วาน 27 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร 029527953, 029527371 email : [email protected]

วันที่ 27 เมษายน 2548

เรื่อง ขอให้มีการเปิดเผยผลการสอบสวนกรณีการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอ และยุติการใช้กฎหมายคุกคามนักสิ่งแวดล้อม
เรียน นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้แจ้งความดำเนินคดีต่อกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรณีที่องค์กรดังกล่าวได้พบว่ามะละกอที่สถานีวิจัยพืชสวนท่าพระแจกจ่ายออกไปปนเปื้อนมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม และได้เก็บทำลายมะละกอซึ่งปนเปื้อนจีเอ็มโอบางส่วนนั้น

องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทยซึ่งติดตามปัญหาของพืชจีเอ็มโอในประเทศไทยมาโดยต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2540 เห็นว่าการดำเนินคดีต่อกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นการใช้กฎหมายคุกคามการดำเนินการของนักสิ่งแวดล้อมซึ่งมุ่งปกป้องมิให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรม เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของประเทศ

ขณะนี้ปรากฏชัดแล้วว่ามะละกอที่แจกจ่ายไปโดยศูนย์วิจัยพืชสวน ท่าพระ จ.ขอนแก่นนั้นปนเปื้อนจริง โดยในระหว่างการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบการแพร่กระจายของมะละกอจีเอ็มโอซึ่งแต่งตั้งโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรได้แจ้งต่อคณะกรรมการฯว่า พบมะละกอจีเอ็มโอในแปลงของเกษตรกรที่ได้รับการแจกจ่ายกล้ามะละกอจากสถานีวิจัยดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 90 ตัวอย่างแล้ว อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯ ยังมิได้แถลงผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อสาธารณะแต่ประการใดทั้งๆ ที่ทราบผลการตรวจสอบดังกล่าวมาตั้งแต่ปลายปี 2547 ที่ผ่านมา

องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทยขอเรียกร้องให้ ฯพณฯให้ความเป็นธรรมต่อกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้เปิดเผยผลการตรวจสอบของคณะกรรมการฯดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อดำเนินการขจัดการปนเปื้อน รวมทั้งยุติการดำเนินการใดๆที่เป็นไปเพื่อคุกคามการทำงานขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะใช้เครื่องมือทางกฎหมาย หรือกลไกอื่นใด

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

(นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ)
ผู้อำนวยการองค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย




 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 540 เรื่อง หนากว่า 6700 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

 

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
จากเอกสารที่ผู้พัฒนามะละกอจีเอ็มโอยื่นให้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ การรับประทานมะละกอดิบอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ เนื่องจากในยางมะละกอดิบมีสารประกอบเบนซิลไอโซไธโอไซยาเนท (Benzyl Isothiocyanate)
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
H
ภาพประกอบดัดแปลง เพื่อใช้ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงที่ medium
เว็ปไซต์นี้ สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้... โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle@yah
oo.com พร้อมเขียนประวัติส่วนตัวเล็กน้อย