มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท
(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ ...
midnightuniv@
yahoo.com หรือ
ส่งธนาณัติถึง ...
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
บทความลำดับที่ 524 จดหมายเชิญประชุมเพื่อการเมืองภาคประชาชน
ประชุมเพื่อลงมือสร้างพรรคการเมืองของภาคประชาชน
วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2548
ที่ห้องประชุม 13 ตึก 3 (ตึกคณบดี)
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอเชิญพี่น้องผู้รักความเป็นธรรมและองค์กรภาคประชาชน
ร่วมประชุมเพื่อลงมือสร้างพรรคการเมืองของภาคประชาชน
สภาพการเมืองไทยที่ขาดพรรคการเมืองของภาคประชาชน ได้ทำให้พวกเราในอดีตพากันหดหู่และหันไปฝากความหวังไว้กับความเมตตาของบรรดานายทุนที่ปกครองเรา
แต่ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เราเรียนรู้แล้วว่า การฝากความหวังไว้กับพรรคการเมืองของชนชั้นนายทุนเป็นความผิดพลาด ไม่มีรัฐบาลนายทุนรัฐบาลไหนที่ไม่เดินแนวทางเสรีนิยม ไม่มีรัฐบาลนายทุนรัฐบาลไหน ที่ไม่เน้นผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน ไม่มีรัฐบาลนายทุนรัฐบาลไหนที่ไม่ปราบปรามทำร้ายประชาชน
ชัยชนะของพรรคไทยรักไทย เมื่อต้นปี 2544 ทำให้บางส่วนของภาคประชาชน หันมาตั้งความหวังกับพรรคของนายทุนอีกครั้ง เนื่องจากมีอดีตคนเดือนตุลาเข้าไปมีบทบาทในพรรคหลายคน แต่พรรคนายทุนก็ยังคงเป็นพรรคนายทุน
ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมา พรรคไทยรักไทยได้ใช้นโยบายเสรีนิยม ที่เน้นผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนมาโดยตลอด และทำการปราบปรามประชาชนไม่ต่างจากรัฐบาลนายทุนอื่นๆก่อนหน้านั้น
การอกหักจากพรรคนายทุนไทยรักไทย ทำให้ภาคประชาชนบางส่วนหันมาตั้งความหวังกับพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ แต่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคของนายทุน ก็ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างที่ได้ถูกบางส่วนของภาคประชาชนตั้งความหวังไว้
พรรคประชาธิปัตย์คัดค้านรัฐบาลด้วยจุดยืนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนซึ่งตรงข้ามกับผลประโยชน์ของประชาชนโดยสิ้นเชิง ซึ่งนั่นได้ตอกย้ำให้เรารู้ว่าการฝากความหวังไว้กับพรรคการเมืองของชนชั้นนายทุนเป็นความผิดพลาด
เราไม่อาจหวังให้พรรคของนายทุนมาปกป้องผลประโยชน์ของเราได้ ในทางตรงกันข้าม หากเราจะปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นล่าง เราต้องลุกขึ้นต่อสู้กับพรรคของนายทุน และหากเราจะต่อสู้กับพรรคของนายทุนเราต้องรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง ซึ่งนั่นหมายความว่าเราต้องมีพรรคการเมืองของเราเอง
พรรคการเมืองของเราไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคจดทะเบียนในทันทีที่ก่อตั้ง แต่เราควรเน้นการทำงานนอกรัฐสภาไปก่อน
ผู้มีรายชื่อท้ายจดหมายฉบับนี้ -ในฐานะส่วนหนึ่งของภาคประชาชนเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องลงมือร่วมกันสร้างพรรคการเมืองของภาคประชาชนกันอย่างจริงจัง จึงขอเชิญพี่น้องผู้รักความเป็นธรรมและองค์กรภาคประชาชนที่เห็นร่วมกันว่า ภาคประชาชนจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองของตัวเอง มาร่วมประชุมเพื่อลงมือสร้างพรรคการเมืองของภาคประชาชน ในวันเสาร์ ที่ 19 มีนาคม 2548 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป
ที่ห้องประชุม 13 ตึก 3 (ตึกคณบดี)
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยมีวาระในการประชุมเบื้องต้น 2 วาระ คือ
1. เลือกผู้ดำเนินการประชุม
2. กำหนดวาระการประชุมด้วยความสมานฉันท์
6 กุมภาพันธ์ 2548เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
ใจ อึ๊งภากรณ์
จิรัฐติ ครุฑนาม
จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ
เฉลิมพล แพทยกุล
โชติศักดิ์ อ่อนสูง
ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ
ธารา ศิรินิกรวงศ์
นุ่มนวล ยัพราช
ภาคภูมิ สราญณิยธรรม
มูนีเราะห์ เพ็ญภาค
มาลี ศรีนาค
รัชพงศ์ โอชาพงศ์
วันเฉลิม เปรมปลื้ม
วิภา ดาวมณี
วสันต์ สิทธิเขตต์
ศิริชัย สิงห์ทิศ
สมโภชน์ อุปอินทร์
เสริฐการ ศิริพิบูลอุษา
อนงค์นุช ศรีไชโย
อานนท์ ชวาลาวัณย์
อภิศักดิ์ สุขเกษม
อรรค ยังวารี
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ใจ 01-346-9481, โชติศักดิ์ 06-618-1200
บทความลำดับที่ 536 การสร้างพรรคการเมืองภาคประชาชน
เปลี่ยนโลกโดยไม่ต้องยึดอำนาจรัฐ?
สร้างพรรคการเมือง?
วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2548
ที่ห้องประชุม 13 ตึก 3 (ตึกคณบดี)
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปลี่ยนโลกโดยไม่ต้องยึดอำนาจรัฐ? สร้างพรรคการเมือง?
(คัดจากวารสารประชาธิปไตยแรงงาน[email protected]
เดือนมีนาคม 2548) (เผยแพร่บนเว็ปไซต์ 5 มีนาคม 48)
ในงานสมัชชาสังคมโลกที่บราซิลเมื่อเร็วๆนี้
หัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมาก หรือจะเรียกว่ามากที่สุดก็คือ ข้อถกเถียงระหว่าง
แนวอิสระอนาธิปัตย์ (Autonomous) กับ แนวปฏิวัติมาร์คซิสต์ โดยที่แนว อนาธิปัตย์
เสนอว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลก หรือต่อสู้กับระบบทุนนิยมได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดอำนาจรัฐ
หรือสร้างพรรคการเมือง
จอห์น ฮอลโลเวย์ นักคิดคนสำคัญของแนวนี้เสนอว่า เราสามารถสร้างสังคมนิยมได้เดี๋ยวนี้ โดยไม่จำเป็นต้องล้มระบบทุนนิยมและรัฐทุนนิยม โดยมองว่า ระบบทุนนิยมจะล่มสลายไปเอง เมื่อกลุ่มอิสระอนาธิปัตย์ขยายตัวขึ้น มากไปกว่านั้น แนวคิดนี้ยังปฏิเสธที่จะถกเถียงเรื่องยุทธศาสตร์ของการต่อสู้ โดยนอกจากปฏิเสธองค์กรจัดตั้งแบบพรรคการเมืองและสหภาพแรงงานแล้ว กลับไม่มีข้อเสนอในเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้สุดท้ายแนวนี้นำไปสู่การพึ่งพา หรือให้การสนับสนุนรัฐบาลทุนนิยม หรือพรรคนายทุน
เช่นที่เกิดขึ้นแล้วในอาร์เจนตินา ที่กลุ่มอนาธิปัตย์ที่พูดเสมอว่า ไม่ชอบอำนาจรัฐ หันหลังให้รัฐ แต่สุดท้ายก็เข้าไปร่วมสนับสนุนรัฐบาลปฏิกิริยา
รูปธรรมอีกอันหนึ่ง คือ องค์กรเอ็นจีโอในไทย และนักวิชาการแนวชุมชนของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบางคน ใช้แนวอนาธิปัตย์ในการต่อสู้ แต่ในการเลือกตั้งที่ผ่านมากลับเสนอ "ยุทธศาสตร์หมากัดกัน" ที่เสนอให้เลือกพรรคนายทุนอีกพรรค ไปคานอำนาจพรรคไทยรักไทย ซึ่งสะท้อนความอ่อนแอ ที่ในด้านหนึ่งปฏิเสธองค์กรจัดตั้ง และอำนาจรัฐ แต่ในรูปธรรมกลับมีข้อเสนอให้เลือกพรรคนายทุนเข้าไปคานอำนาจกันเอง เพื่อที่ภาคประชาชนจะได้มี "พื้นที่" ขยับเขยื้อนได้
หรือในกรณีที่รัฐบาลทักษิณ
ใช้ความรุนแรงกับประชาชนใน 3 จังหวัดภาคใต้ กรณีกรือเซะ และตากใบ เราจะพบว่าแกนนำของขบวนการเอ็นจีโอ
แทบจะไม่มีจุดยืนหรือออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในด้านหนึ่งสะท้อนความอ่อนแอที่แนวอนาธิปัตย์ไม่สนใจอำนาจรัฐ
แต่ก็ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงของรัฐที่เกิดขึ้นไม่ได้
และการไม่สามารถนำเอาความไม่พอใจของคนธรรมดาๆ ที่มีต่อการใช้ความรุนแรงของรัฐ
มาสร้างเป็นพลังทางการเมืองเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐและความไม่เป็นธรรมได้ สิ่งเหล่านี้สะท้อนความอ่อนแอของแนวอนาธิปัตย์ทั้งสิ้น
ในรูปธรรมของการเมืองภาคประชาชนในประเทศบราซิล แนวคิดอนาธิปัตย์ไม่มีบทบาทเหมือนส่วนอื่นๆ ของโลก ข้อถกเถียงเรื่องจะสร้างพรรคหรือไม่ในภาคประชาชนนั้น ไม่มีใครพูดถึง แต่จะสร้างพรรคอย่างไร ใช้นโยบายแบบไหน เป็นเรื่องสำคัญกว่า ซึ่งไปไกลกว่าข้อเสนอของแนวอนาธิปัตย์ที่พยายามถอยหลังกลับไปสู่การสร้างเครือข่ายหลวมๆ ไปหาขบวนการที่กระจัดกระจาย
สำหรับการเมืองภาคประชาชนที่มีความก้าวหน้า เช่น ในบราซิล มวลชนและผู้นำเอนจีโอส่วนใหญ่เข้าใจดีว่า การมีองค์กรจัดตั้งเช่น พรรค เป็นสิ่งจำเป็น และเราหลีกเลี่ยงอำนาจรัฐไม่พ้น เพราะฉะนั้นประชาชนต้องสู้กับอำนาจรัฐผ่านการมีพรรคของเราเอง จึงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในบราซิล จะสังกัดพรรคการเมือง และพูดคุยเรื่องการเมืองกันเป็นปกติ
ขบวนการนักศึกษาคนหนุ่มสาวเป็นความหวัง
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมงานสมัชชาสังคมโลก เป็นคนหนุ่มสาว
ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่า ความหวังของการเปลี่ยนสังคมอยู่ที่คนหนุ่มสาว อยู่ที่นักศึกษา
รูปธรรมในขบวนการต้านสงครามและคัดค้านนโยบายเสรีนิยม คัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในลาตินอเมริกา
องค์กรนักศึกษาเป็นหัวหอกสำคัญที่เข้าไปทำงานกับขบวนการแรงงาน ร่วมเรียกร้องค่าแรงที่เพิ่มขึ้น และลดชั่วโมงการทำงาน และต่อสู้ในประเด็นต่างๆในอาร์เจนตินา ภายในขบวนการนักศึกษามีการถกเถียงในเรื่องแนวคิด ทฤษฎี และยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ มีกลุ่มศึกษาปัญหาการเมืองในมหาวิทยาลัย มีหนังสือพิมพ์ และวารสารของตัวเอง
ขบวนการนักศึกษาและขบวนการกรรมกรที่เข้มแข็งนั้นมีความสำคัญ ทั้งขบวนการนักศึกษาที่มีก้าวหน้าจะช่วยหนุนเสริม และในหลายๆครั้ง นำการต่อสู้ของภาคประชาชน เช่น ตัวอย่างใกล้ตัวในยุค 14 ตุลา 2516 ที่มีขบวนการนักศึกษาที่เข้มแข็ง นำไปสู่การโค่นล้มเผด็จการในที่สุด ดังนั้นการทำงานและการเอาแนวคิดทางการเมืองเข้าไปในมหาวิทยาลัย จึงเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน
โลกใบใหม่สร้างได้ (Another
World is Possible)
กระแสการตื่นตัวของการต่อสู้ทั่วโลก การคัดค้าน WTO ที่ ซีแอตเติล เจนัว แคนคูน
การเกิดพรรคทางเลือกที่ปฏิเสธแนวเสรีนิยม การเกิดขบวนการต้านสงครามที่ใหญ่ที่สุดในโลก
การเกิดสมัชชาสังคมโลกขึ้นในบราซิล และอินเดีย การเกิดสมัชชาสังคมยุโรป ลาตินอเมริกา
และสมัชชาสังคมเอเชียที่อาจเกิดขึ้นในเกาหลีใต้ และการต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นในไทย
ของพนักงานรัฐวิสาหกิจนับแสน สะท้อนว่า
การสร้างโลกใบใหม่ที่ไม่มีชนชั้นนายทุน และการกดขี่ขูดรีดมีความเป็นไปได้ และนี่ไม่ใช่ยุคของการหดหู่ แต่เป็นยุคของการสร้างพรรคการเมืองและสร้างขบวนการให้เข้มแข็งพร้อมกัน
ในวันที่ 19 มีนาคมนี้ จะมีการประชุมตั้งพรรคการเมืองแนวร่วมภาคประชาชน ที่คณะรัฐศาสตร์
จุฬาฯ เวลา 9 โมง และวันที่ 20 มีนาคม จะมีการประท้วงความรุนแรง ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
เช่น ใน 3 จังหวัดภาคใต้ ปาเลสไตน์ อาเจห์ และการยึดครองอิรักโดยสหรัฐ-อังกฤษ
ในเวลา 10 โมงเช้าที่สยามสแควร์ หน้าศูนย์หนังสือจุฬาฯ
. โลกใบใหม่สร้างได้!!!
หวังว่าคนหนุ่มสาวของไทย และผู้รักความเป็นธรรมจะออกมาร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ คัดค้านความรุนแรงและต่อต้านทุนนิยมร่วมกันทั่วโลก
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com