THEIR HOMES,
OUR HOME
View Japan, Scan the Globe, Cope with Thai Problems
By: Pichet Maolanond
Law Faculty, Niigata University
Research Team: Nilubol C. &
Pornthip A. "JTL-RI" Japanese-Thai
Legal Research Institute
32 years ago, I went
to study law in Japan, and felt impressed by the fact that the Japanese always
realized the need to know the legal dynamism in other countries ("Their
Homes"). The Japanese then applied the earned knowledge to their own
society.
Thus, it has long been a dream of
mine that we the Thais have some
kinds of simple media to report on
how other countries use their law to solve their societal problems.
Tough it took me 32 years, here is somewhat the weekly newsletter
I have been dreaming of.
บ้านเขา-บ้านเรา ส่องญี่ปุ่น มองไทย ใส่ใจบริบทโลก...
ข้อมูลความรู้ทางกฏหมายรายเดือน สำหรับผู้สนใจ การนำกฏหมายมาใช้แก้ปัญหาความยากจน
ตัวอย่าง "บ้านเขา-บ้านเรา"
ฉบับแรก
ผู้เขียนไปเรียนกฎหมายที่ญี่ปุ่นเมื่อ
๓๒ ปีที่แล้ว รู้สึกประทับใจว่า สังคมญี่ปุ่นใฝ่ใจศึกษาหาข้อมูลว่า กฎหมายในชาติอื่น
("บ้านอื่น") พลวัตรไปอย่างไรบ้าง และนำความรู้มาปรับใช้ ในชาติตน
ผู้เขียนจึงใฝ่ฝันว่า
ควรมี "สื่อ" อะไรง่ายๆ ที่ให้ข้อมูลทุกอาทิตย์ว่า "บ้านอื่น"
เขาใช้กฎหมายกันอย่างไร ในการแก้ปัญหาสังคม
แม้จะเนิ่นมาถึง ๓๒ ปี แต่นี่คือ "ตัวอย่าง" รูปร่างจดหมายข่าวรายสัปดาห์
ว่าด้วย "Law & Policy on Social Justice" ที่ผู้เขียนใฝ่ฝันว่า
ควรเกิดขึ้น ในสังคมไทย (สนใจคลิกไปอ่านไดจากที่นี่)
คำแถลง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กองบรรณาธิการได้พิจารณาข้อมูลความรู้ทางกฏหมาย ซึ่งนำเสนอโดย
รศ.พิเชษฐ เมาลานนท์ และคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย ทีมวิจัย: นิลุบล ชัยอิทธิทธิพรวงศ์
& พรทิพย์ อภิสิทธิวาสนา แล้วเห็นว่า ข้อมูลความรู้นี้จะเป็นประโยชน์ ในฐานะที่นำกฎหมายมาเป็น
"เครื่องมือ" แก้ความยากจนได้ จึงจัดให้มีหน้าพิเศษนี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่ให้ผู้สนใจทุกท่านต่อไป
midnightuniv(at)yahoo.com
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บ้านเขา - บ้านเรา
ส่องญี่ปุ่น มองไทย ใส่ใจบริบทโลก
สารานุกรมกฏหมายรายเดือน - มกราคม ๔๘
พิเชษฐ เมาลานนท์
มหาวิทยาลัยนีกาตะ
ประเทศญี่ปุ่น
นิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์ และ พรทิพย์ อภิสิทธิวาสนา
นักวิจัยทุนมูลนิธินิปปอนเพื่อปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเซีย
("API Fellowships," The Nippon Foundation Fellowships for Asian
Public Intellectuals)
ณ คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยนีกาตะ ประเทศญี่ปุ่น
บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกวันที่
๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
9 หน้ากระดาษ A4)
"Law & Policy on Social Justice"
บ้านเขา-บ้านเรา
ส่องญี่ปุ่น- มองไทย-ใส่ใจบริบทโลก
(ฉบับปีใหม่ ๒๐๐๕)
THEIR HOMES, OUR HOME
View Japan, Scan the Globe, Cope with Thai Problems
(The New Year Issue, 2005)
This is the 2005 New Year Issue of "Their Homes, Our Home." We will thus consider the "Legal Dynamism" by looking back to the year 2004. What major socio-legal news did we have in the passed year?
Even though this is a newsletter on "law," we place our emphasis on "court" because we see that "man" is more important than the "paper."
As there are too many news to cover, we are forced to limit ourselves merely to the "court" in this New Year Issue.
Still, we have learnt that merely a one page of A-4 is far too short to cover all. It should suffice to argue that this is the first attempt of its kind in Thailand.
We hope the readers will show their understanding. Thai lawyers should join hands for better work products in this 2005.
No medias in Japan presented any "Top Court News." Neither did the Europeans & the Thais. Only the Americans were the exception. This prevailing status should be taken into account as to "why"?
บทนำ
นี่คือ "บ้านเขา-บ้านเรา" ฉบับปีใหม่ ๒๐๐๕. ผู้เขียนจึงขอพิจารณา "นิติพลวัตร"
(Legal Dynamism) ด้วยการไปสำรวจว่า ในปี ๒๐๐๔ ที่ผ่านมา มนุษย์เรามีข่าวเด่นอย่างไรบ้าง
ในด้านกฎหมาย & สังคม.
แม้นี่จะเป็นจดหมายข่าวทางด้าน
"Law" แต่เรามีจุดเน้นในแง่ "Court" เพราะเราเชื่อว่า "คน"
นั้น สำคัญกว่า "กระดาษ."
เมื่อมีข่าวสำคัญจำนวนมากมาย
เราจึงขอจำกัดเสนอข่าวในเรื่อง Court เท่านั้นในฉบับปีใหม่นี้.
แม้จะจำกัดเช่นนี้ เราก็พบว่า เนื้อที่เพียงไม่กี่หน้ากระดาษ A-4 ที่มีอยู่ ก็ยังห่างไกลอยู่มาก ที่จะครอบคลุมได้ครบถ้วน. เราจึงต้องพอใจ เพียงในข้อเท็จจริงว่า นี่คือความพยายามครั้งแรกของคนไทย ในการรวบรวมข่าว "ศาล" ต่างประเทศ เราหวังว่า ท่านผู้อ่านจะเห็นใจในข้อนี้. นักกฎหมายไทย ควรช่วยกันทำงานนี้ให้ดี & มีระบบมากขึ้น ในปี ๒๐๐๕
ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับข่าว "Court" ตลอดปี. แต่พอเข้าเทศกาลปีใหม่ กลับไม่มีสื่อมวลชนใดๆเลยที่สรุปเรื่อง "Top 10 Court News 2004." สหรัฐฯสรุป "Top Court News 2004" ที่ชัดเจน แต่ยุโรปกลับเงียบในเรื่องนี้. ส่วนไทยก็ไม่มี "คดีเด่นในรอบปี" ที่สรุป อย่างเป็นระบบ แต่อย่างไร.
View Japan
Top Japanese Court News 2004:
1. ศาลนีกาตะ ตัดสินคดีแรงงานทาส:
ศุกร์ ๒๖ มีนาคม - - ศาลจังหวัดนีกาตะ สั่งรัฐบาลญี่ปุ่น & บริษัทเอกชน ให้จ่ายค่าสินไหมทดแทน
๘๘ ล้านเยน (ราว ๓๒.๕๖ ล้านบาท) ให้แก่แรงงานทาสชาวจีน ที่ถูกบังคับใช้แรง เมื่อสงครามโลกครั้งที่
๒
นี่คือครั้งแรก ที่ศาลญี่ปุ่นสั่งให้ทั้งรัฐบาล & บริษัทเอกชน จ่ายค่าสินไหมฯ ให้แรงงานทาสที่ญี่ปุ่นบังคับมาจากจีน. ก่อนหน้านี้ ศาลจังหวัดฟุคุโอะกะ ได้ตัดสินเมื่อปี ๒๐๐๒ ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญเมยิ ในการเกณฑ์แรงงาน เพื่อการทำสงคราม โดยไม่จำต้องจ่ายค่าแรง. ในเมื่อบริษัทเอกชนไม่มีเอกสิทธิเช่นนั้น ศาลจึงตัดสินบริษัทเอกชน เป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเพียงผู้เดียว
แต่ในคดีนี้ ศาลจังหวัดนีกาตะ ตีความก้าวหน้า ในลักษณะ Judicial Activism ว่า
(๑) แรงงานทาสชาวจีน มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างยากเข็นแสนสาหัส
(๒) ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าคดีขาดอายุความ จึงยกขึ้นสู้ไม่ได้ในกรณีเช่นนี้ เพราะขัดกับ "ความเป็นธรรม" อย่างร้ายแรง (JT)
Notes: บุคคลหลายฝ่ายกล่าวว่า นี่คือคำพิพากษาก้าวสำคัญ (Landmark Ruling) ในญี่ปุ่น แต่รัฐมนตรียุติธรรมกล่าวว่า "ยอมรับไม่ได้" กระทรวงยุติธรรมแย้งว่า ศาลจังหวัดนีกาตะได้กลับหลัก ที่ศาลฎีกาญี่ปุ่น เคยตัดสินมาแล้วว่า ศาลไม่อาจรับคำฟ้องของโจทก์เชลยสงคราม เพราะบุคคลธรรมดาไม่อาจฟ้องรัฐ เรียกค่าเสียหายตามกฎหมายระหว่างประเทศได้
2. ศาลฟุคุโอกะ ตัดสินว่านายกรัฐมนตรีขัดรัฐธรรมนูญ:
พุธ ๗ เมษายน - - ศาลจังหวัดฟุคุโอกะ ตัดสินว่านายกรัฐมนตรีโคอิซุมิ กระทำการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา
๒๐ (๒) ตามหลัก "แยกรัฐจากศาสนา" (The Principle of Separation of
State and Religion) ในการไปคารวะศาลเจ้า "ยาซูคูนิ" เมื่อเดือน สงหาคม
๒๐๐๑.
นี่คือคดีที่โจทก์ ๒๑๑
คนบนเกาะคิวชิว ยื่นฟ้องรัฐบาล & นายกรัฐมนตรี เรียกค่าเสียหายทางจิตใจ เพราะถือว่า
ศาลเจ้า "ยาซูคูนิ" แห่งนี้คือที่สิงสถิตของวิญญาณพวกบ้าสงคราม เช่น
นายพลโตโจ ฮิเดะคิ (Tojo Hideki) อย่างไรก็ดี ศาลฟุคุโอะกะไม่ตัดสินให้นายโคอิซุมิจ่ายค่าเสียหายทางจิตใจ.
(JT)
Notes: ถือกันว่า คดีนี้เป็นคำพิพากษาก้าวสำคัญ (Landmark Ruling) ในญี่ปุ่น
เพราะระบุว่า นายกรัฐมนตรีทำผิดรัฐธรรมนูญ. โจทก์ถือว่าตนชนะ จึงไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยถือว่าไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมฯ
จึงไม่อุทธรณ์
นายโคอิซุมิยืนยันว่า จะไปเยี่ยมคารวะศาลเจ้าต่อไป เพราะคำตัดสินของศาลระดับจังหวัด ไม่ผูกพันในประเด็นขัดรัฐธรรมนูญ. น่าเสียดายว่า ศาลฎีกาญี่ปุ่นยังไม่ได้ชี้ขาด ในประเด็นนี้.
3. ศาลครอบครัวอนุญาต
ให้เปลี่ยนเพศ:
ศุกร์ ๓๐ กนยายน - - ศาลครอบครัวโตเกียว สั่งอนุญาตให้คุณ Torai Masae (โทไร
มาซาเอะ) เปลี่ยนเพศในทะเบียนบ้าน - จากหญิงเป็นชาย - ตามที่ขอได้
ก่อนหน้านี้ ในปีทศวรรษ ๑๙๘๐ Ms. Torai ได้ไปผ่าตัดแปลงเพศที่อเมริกา ทำให้ "เธอ" เปลี่ยนเป็น "เขา" ทางสรีระ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนทางทะเบียนได้ เพราะญี่ปุ่นยังไม่มีกฎหมาย อนุญาตให้ทำเช่นนั้น
ต่อมา ในเดือนกรกฎาคม ๐๓ รัฐสภาญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายทะเบียนบ้าน (Family Registration Law) อนุญาตให้มีการเปลี่ยนเพศในทะเบียนบ้านได้. กฎหมายใหม่นี้ เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม ๐๔. หลังจากนั้น ได้มีคนญี่ปุ่นราว ๑๐ คนขอจดทะเบียนเปลี่ยนเพศในทะเบียนบ้าน
กฎหมายฉบับนี้ระบุว่า ผู้ที่มีสิทธิขอจดทะเบียนแปลงเพศ จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) อายุตั้งแต่ ๒๐ ปี
(๒) ไม่มีคู่สมรส
(๓) ไม่มีบุตร
(๔) ผ่าตัดแปลงเพศแล้ว และไม่มีอวัยวะสืบพันธ์ที่ใช้การได้ ตามเพศเดิม
(๕) แพทย์ตั้งแต่ ๒ คนวินิจฉัยว่า มีเพศในแง่จิตใจ ต่างไปจากเพศในแง่สรีระ
(๖) มีความต้องการดำรงชีวิตในฐานะอีกเพศหนึ่ง ทั้งทางสรีระ & ทางสังคม. (JT) //
Notes: ขณะนี้
มีหลายชาติในโลก (สหรัฐฯ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, สวีเดน, เยอรมนี, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์)
ที่ยอมให้เปลี่ยนเพศในทะเบียนบ้าน สำหรับบุคคลที่เรียกว่า "GID" หรือ
Gender Identity Disorder (ผู้มีเอกลักษณ์ทางเพศผิดปรกติ) ไม่ว่าจะเปลี่ยนโดยกฎหมาย
หรือโดยศาล
แต่ไม่มีชาติใดที่ให้คำจำกัดความว่า "GID" จะต้อง "ไม่มีบุตร"
พวก GID ในญี่ปุ่นบ่นว่า กฎหมายญี่ปุ่นเข้มงวดเกินไปในแง่นี้ แต่บรรดา สส. ขอให้เห็นใจว่า
ถ้าไม่เขียนอย่างนี้ กฎหมายจะผ่านยาก เพราะสังคมญี่ปุ่น ยากจะรับรองพวกเกย์ตามกฎหมาย
ผู้เขียนเข้าใจว่า กฎหมาย Family Registration Law ของญี่ปุ่นคงบังคับด้วยว่า ต้องให้ศาลเป็นผู้สั่ง แต่ข่าวกล่าวไม่ชัด (ขอประทานโทษ ที่ไม่ได้ตรวจกฎหมาย ด้วยตัวเอง). อยู่ดีๆ พวก GID จะหอบเอกสาร ตรงไปขอเปลี่ยนทะเบียนบ้านที่อำเภอเอง คงไม่ได้ คงต้องให้ศาลสั่งก่อน ในคดีเช่นนี้ ศาลญี่ปุ่นไม่ได้มีบทบาทอะไรเป็นพิเศษ เพียงสั่งตามกฎหมาย & ข้อเท็จจริงเท่านั้น
Scan the Globe
Top Foreign Court News 2004:
1. บทบาทศาลชิลี ในคดีนายพลปิโนเช่ท์:
ศุกร์ ๒๘ พฤษภาคม - - ศาลชั้นต้นชิลี ตัดสินให้ถอนเอกสิทธินายพลปิโนเช่ท์ จากการถูกฟ้องคดี.
พฤหัส ๒๖ สงหาคม - - ผู้พิพากษาศาลฎีกา ๑๗ คนของชิลี ลงมติ ๙ ต่อ ๘ ยืนตามศาลล่าง
ให้ถอนเอกสิทธินายพลปิโนเช่ท์ จากการถูกฟ้องคดี
จันทร์ ๑๓ ธนวาคม - - อดีตประธานาธิบดีชิลี นายพลปิโนเช่ท์ ถูกสั่งฟ้องคดีละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่หลายคนถูกสังหาร ในช่วงปีที่เขาปกครองประเทศ (๑๙๗๓ - ๑๙๙๐). (BBC)
Notes: คำตัดสินของศาลชิลีในปี ๒๐๐๔ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด ว่าศาลจะกล้าหาญ ผิดกับที่ผ่านมา คนชิลีต่างโห่ร้องยินดี นอกห้องพิจารณาคดี
2. ศาลเกาหลีใต้ สั่งห้ามย้ายเมืองหลวง:
พฤหัส ๒๑ ตุลาคม - - ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ตัดสินว่า กฎหมายพิเศษของรัฐบาลเพื่อย้ายเมืองหลวงนั้นขัดรัฐธรรมนูญ.
คำตัดสินนี้ให้เหตุผลว่า แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ระบุว่ากรุงโซลคือเมืองหลวงของชาติ
แต่ข้อเท็จจริงที่กรุงโซลเป็นเมืองหลวงมาหลายร้อยปี ก็ได้กลายเป็น "รัฐธรรมนูญตามจารีตประเพณี"
ไปแล้ว (Customary Constitution)
คำพิพากษานี้ ถ่ายทอดโทรทัศน์ทั่วประเทศ. ศาลรัฐธรรมนูญแนะว่า การย้ายเมืองหลวงควรทำโดยวิธีให้ประชาชนลงประชามติแบบ National Referendum. (KD)
Notes: นี่เป็นคำพิพากษาก้าวสำคัญ (Landmark) ของเกาหลีใต้ และเข้าใจว่า ไม่มีคำพิพากษามากนักในโลกนี้ที่กล่าวถึง "Customary Constitution" จึงควรวิจัยมาใช้ประโยชน์ในเมืองไทย. วิธีวิจัยเบื้องต้นที่ง่ายที่สุด น่าจะได้แก่การทำ Google Research. น่าเสียดายว่า ดูเหมือนนักกฎหมายไทยหลายท่าน ยังไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ในการหาความรู้จากต่างประเทศ
3. ศาลฎีกายูเครน สั่งเลือกตั้งใหม่:
อาทิตย์ ๓๑ ตลาคม - - มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ ๓ หลังชาติยูเครนเป็นอิสสระจากโซเวียต.
กฎหมายระบุว่า ผู้ชนะ ต้องได้คะแนนเกิน ๕๐ %.
อาทิตย์ ๒๑ พฤศจิกายน - - ต้องมีการเลือกตั้งรอบ ๒ เพราะไม่มีใครได้คะแนนเกิน ๕๐ % แม้กระนั้น ผลก็ออกมา ๔๙.๔๖ ต่อ ๔๖.๖๑. ฝ่ายค้านร้องศาลฎีกาว่า มีการโกงการลงคะแนน
พฤหัส ๒๕ พฤศจิกายน -
- ศาลฎีกาสั่งระงับการประกาศผล
ศุกร์ ๓ ธันวาคม - - ศาลฎีกาสั่งว่า การเลือกตั้งรอบ ๒ เป็นโมฆะ
อาทิตย์ ๒๖ ธันวาคม - - มีการเลือกตั้งรอบ ๓ ผลปรากฎว่า นายยูชเชนโคเป็นฝ่ายชนะ
ด้วยคะแนน ๕๑.๙ %. (BBC)
Notes: บทบาทศาลฎีกายูเครน ในการตัดสินคดีเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ๒๐๐๔ เป็นเรื่องที่นักกฎหมายไทยควรศึกษา. ในเรื่องนี้ นักกฎหมายไทยควรสนใจศึกษาคดี Yushchenko v. Yanukovych (2005) นี้เทียบกับ Bush v. Gore (2000) ข้อคิดมีอยู่ว่า ศาลฎีกามีบทบาทได้สูงจริงๆ เพราะชี้ขาดได้ว่า ใครจะได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศ
4. ศาลฎีกาแคนาดา ตัดสินให้เกย์แต่งงานกันได้
พฤหัส ๙ ธันวาคม - - ศาลฎีกาแคนาดาตัดสินว่า การแต่งงานของชาวเกย์ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ซึ่งนับเป็นคำพิพากษาก้าวสำคัญ (Landmark) ที่อนุญาตให้รัฐสภาแห่งสหพันธ์ ออกกฎหมายให้ชาวเกย์ทั่วประเทศ
แต่งงานกันได้
ด้วยผลของคำตัดสินนี้ แคนาดาจะเป็นชาติที่ ๓ ที่มีกฎหมายเช่นนี้ รองจากเบลเยี่ยม & เนเธอร์แลนด์. (WR)
Notes: คำตัดสินนี้มีความหมายว่า แคนาดาจะให้คำจำกัดความคำว่า "แต่งงาน" ใหม่ ให้รวมถึงพวกเกย์ & รักร่วมเพศ. นายกรัฐมนตรี Paul Martin จะเสนอร่างกฎหมายนี้ ในเดือน มกราคม ๒๐๐๕
5. ศาลอิตาลี ยกฟ้องคดีนายกฯ
ติดสินบนตุลาการ:
ศุกร์ ๑๐ ธันวาคม - - ศาลมิลาน ตัดสินว่า นายเบอลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ไม่มีความผิดทั้ง
๒ ข้อหาที่อัยการฟ้องว่า เขาให้สินบนผู้พิพากษา. ศาลตัดสินยกฟ้องในข้อหาแรก และตัดสินว่าคดีขาดอายุความในข้อหาหลัง.
นายเบอลุสโคนี เป็นอภิมหาเศรษฐีชาวอิตาลี ผู้ผันตัวมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ
(AFP)
Notes: นี่คืออีกกรณีหนึ่ง ซึ่งเศรษฐีเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี และตุลาการดูจะมัวหมองไปมาก
6. ศาลยุโรป ตัดสินคดีไมโครซอฟท์ผูกขาด:
พุธ ๒๒ ธันวาคม - - ศาลยุติธรรมแห่งประชาคมยุโรป (ECJ) ในระดับชั้นต้น ตัดสินว่าบริษัทไมโครซอฟท์
ละเมิดกฎหมายห้ามผูกขาด ยืนตามคำตัดสินเดิมของคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) เมื่อต้นปี
๒๐๐๔
คำตัดสินครั้งนี้ มีผลให้ไมโครซอฟท์ต้องแยกโปรแกรม Windows Media Player ออกจาก Windows OS ที่วางขายในตลาดยุโรป เพื่อให้ผู้ซื้อมีทางเลือกในการใช้ Media Player Program ของบริษัทคู่แข่งอื่น (CNN)
Notes: นี่คือคำตัดสินก้าวสำคัญ (Landmark) ของศาลประชาคมยุโรป ที่มีพลังคุมบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลก. ไมโครซอฟท์ไม่ได้ผูกขาดในยุโรปเท่านั้น แต่ผูกขาดอยู่ทั่วโลก แต่ขณะนี้ ยังไม่มีวี่แวว ถ้ามีการฟ้องคดีที่ชาติอื่น (เช่นในญี่ปุ่น) ศาลที่อื่นจะตัดสินว่า ไมโครซอฟท์ผูกขาด ด้วยหรือไม่
Cope with Thai Problems
Top Thai Court News 2004:
1. ศาลยกฟ้องคดีดวงเฉลิม:
ศุกร์ ๒๖ มีนาคม - - ศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง นายดวงเฉลิม อยู่บำรุง (ลูกชายคนเล็กของ
รตอ. เฉลิม อยู่บำรุง) ในคดีที่เขาถูกฟ้องว่าฆ่า "ดาบยิ้ม." ศาลให้เหตุผลว่า
พยานโจทก์เบิกความแตกต่างกัน ทำให้พยานหลักฐานไม่มีน้ำหนัก. ไม่มีใครยืนยันได้ว่า
นายดวงเฉลิม เป็นผู้ฆ่า "ดาบยิ้ม" จริง
พยานเห็นเพียงว่า นายดวงเฉลิมยืนประจันหน้าผู้ตาย หลังเสียงปืนเท่านั้น ผลการสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ ก็ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า นายดวงเฉลิม เป็นคนลั่นไกยิงผู้ตาย
อังคาร ๒๕ พฤษภาคม - - นางสุพัตรา รอดวิมุต ภรรยาดาบยิ้ม (โจทก์ร่วม) ได้ยื่นอุทธรณ์ แต่อัยการสั่งไม่อุทธรณ์ โดยระบุว่า คำพิพากษาของศาล เหมาะสมแล้ว นอกจากนี้ ฝ่ายอัยการได้ปฏิบัติงานเต็มความสามารถแล้ว แม้จะขัดกับกระแสสังคม & ความรู้สึกของประชาชนก็ตาม ส่วนทางด้านตำรวจก็ไม่อุทธรณ์เช่นกัน (ผจก.: ๒๘ ธค.)
Notes:
นี่เป็นคดีที่ดังมากของไทย ในปี ๒๐๐๔. มหาชนไทยดูจะปักใจเชื่อว่า จำเลยมีความผิดจริงตามฟ้อง
และวิพากษ์วิจารณ์ ตาม Common Sense กันมาก อย่างไรก็ดี ศาลไทยท่านดูจะยึดหลักกฎหมาย
Presumed Innocence ที่ถือว่าจำเลยบริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิดอย่างชัดแจ้ง
2. ศาลสั่งจำคุกเจ้าของฟาร์มหมูใช้สารเร่งเนื้อแดง:
อังคาร ๑๔ ธันวาคม - - ศาลชั้นต้นสั่งจำคุก ๔ เดือน ที่เจ้าของฟาร์มหมูในจังหวัดชลบุรีเป็นรายแรก
ใช้สารเร่งเนื้อแดงในหมู โดยไม่รอลงอาญา. ขณะนี้ ผู้ต้องหาอยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์
(โพสต์ ทูเดย์: ๒๕ ธค.)
Notes: น่ายินดี ที่ศาลมุ่งคุ้มครองผู้บริโภค เพราะจะทำให้ผู้เลี้ยงสุกรรายอื่นๆเกรงกลัว และไม่กล้าใช้สารเร่งเนื้อแดงอีกต่อไปในการเลี้ยงสุกร
3. ศาลยกฟ้องคดีล่อซื้อประเวณี:
อังคาร ๒๑ ธันวาคม - - ศาลยกฟ้องคดีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ (เจ้าของกิจการอาบอบนวด)
ที่ถูกฟ้องฐานร่วมเป็นธุระจัดหา-ล่อไป-ชักพาไป ซึ่งบุคคลใด เพื่อการค้าประเวณี
โดยตำรวจใช้วิธี "ล่อซื้อ" (คือ ล่อซื้อการค้าประเวณีจากพนักงานหญิง
๒ คน)
นายชูวิทย์ต่อสู้ว่า ตนได้ออกระเบียบเข้มงวด ห้ามพนักงานร่วมประเวณีกับลูกค้า ถ้าฝ่าฝืนจะไล่ออก. ศาลให้เหตุผลว่า การที่ตำรวจใช้วิธีล่อซื้อประเวณีจากพนักงานหญิง ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่านายชูวิทย์ทำผิดกฎหมาย (มติชน: ๒๒ ธค.)
Notes: น่าเสียดาย ที่ศาลมิได้ชี้ในคดีนี้ว่า พยานหลักฐานจากวิธีการ "ล่อซื้อ" นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ และรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
4. ศาลสั่งให้การทางพิเศษฯ
จ่ายค่าชดเชยแก่ BECL:
อังคาร ๒๘ ธันวาคม - - ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษายืนตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
ให้การทางพิเศษฯ จ่ายค่าเสียหายแก่บริษัท BECL ๓๖๐ ล้านบาท พร้อมส่วนต่างรายได้
รวมเป็นเงินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ นับแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๐๐๐ จนถึงเวลาที่จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับใหม่
ให้ปรับค่าทางด่วน ให้ตรงกับสัญญา หรือ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษา
นี่คือคดีที่ BECL ฟ้องว่ากระทรวงมหาดไทยผิดสัญญา ที่ประกาศปรับลดอัตราค่าทางด่วนในเขตเมือง & เขตนอกเมือง. นายกฯ ทักษิณ ได้สั่งอุทธรณ์คดีนี้ ทันทีแล้ว. (กท. ธุรกิจ: ๒๙ ธค.)
Notes: คดีนี้แสดงถึงบทบาทของศาลยุติธรรม ในการชี้ขาดข้อพิพาท ระหว่างเอกชนกับรัฐ.
5. ศาลยกฟ้องคดีม็อบท่อก๊าซ:
ศุกร์ ๓๐ ธันวาคม - - ศาลจังหวัดสงขลา ยกฟ้องแกนนำชาวบ้าน ๒๐ คนผู้ชุมนุมคัดค้านท่อก๊าซ.
คดีนี้ อัยการ & ตำรวจสงขลา ตั้งข้อหาว่า ชาวบ้านก่อความวุ่นวาย, ชุมนุมในที่สาธารณะเกิน
๑๐ คน, ละเมิดคำสั่งห้ามการชุมนุม, ทำร้าย จนท. ตำรวจ, ฯลฯ
ศาลยกฟ้องคดีนี้ โดยให้เหตุผลว่า ประชาชนผู้ชุมนุม ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ & สิ่งแวดล้อม. นอกจากนี้ ศาลยังเห็นว่า การสลายการชุมนุม ไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย จึงทำให้เกิดความวุ่นวาย ประชาชนไม่มีเจตนาทำร้าย จนท. (ไทยโพสต์: ๓๑ ธค.)
Notes:
น่าชื่นชมศาลจังหวัดสงขลา ที่ให้เหตุผลชัดเจน รวมทั้งปรับใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน. ทนายคดีสิทธิสิ่งแวดล้อม & คดีสิทธิชุมชน
ควรศึกษาการสู้คดีของทนายคดีนี้ รวมทั้งศึกษาคำพิพากษาฉบับเต็ม เป็นบทเรียนต่อไป.
เราหวังว่า ศาลอื่นๆ ก็จะดูคดีนี้เป็นตัวอย่างที่ดี เช่นกัน
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com