มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท
(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ ...
midnightuniv@
yahoo.com หรือ
ส่งธนาณัติถึง ...
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
ตามที่รัฐบาลรักษาการณ์ได้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยรัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 รับหลักการของร่างกฎหมายดังกล่าว และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอยู่ในขณะนี้
เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อเจตนารมณ์และสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่มาตราที่ ๑ ที่บัญญัติว่า " ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกไม่ได้ " และยังล่วงละเมิดต่ออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ และอำนาจบริหาร หลักการถ่วงดุลระหว่างอำนาจทั้ง ๓ ส่วน สร้างผลกระทบต่อหลักการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น หลักสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
ยิ่งกว่านั้นกฎหมายฉบับนี้ เป็นเครื่องมือในการโอนถ่ายอำนาจของประชาชน ไปสู่อำนาจของคณะบุคคล หรือบุคคลเพียงคนเดียวที่จะใช้อำนาจ แสวงหาผลประโยชน์ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ดังมีรายชื่อแนบท้ายของเอกสารฉบับนี้ได้ร่วมกันวิเคราะห์ร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยละเอียดรอบด้านในหลายมิติ และมีความเห็นร่วมกันว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่เป็นเพียงการจัดตั้งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่เป็นการรวบอำนาจการบริหารประเทศ ที่มีรากฐานความคิดผูกขาดอำนาจการปกครองประเทศ ซึ่งขัดกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีทิศทางมุ่งการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เป็นเสมือนรัฐอิสระที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายใดๆของประเทศไทย กลายเป็นสภาพรัฐซ้อนรัฐ
2. กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจแก่เขตเศรษฐกิจพิเศษในการถอนสภาพที่สาธารณะสมบัติทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นที่ป่าสงวน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไปถึงที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งอาจรวมไปถึงที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้มาเป็นสมบัติของเอกชนเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ได้โดยไม่จำกัด
3. กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษนำไปสู่การละเมิดพระราชอำนาจเนื่องจาก ให้อำนาจแก่เขตเศรษฐกิจ หรือคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจพิเศษ ในการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติของรัฐสภา รวมทั้งให้อำนาจในการตัดสิน บังคับคดี โดยไม่ผ่านกระบวนการทางตุลาการ
4. ร่างกฎหมายฉบับนี้ ให้อำนาจและสิทธิพิเศษแก่นักลงทุนต่างชาติ ในการลงทุนในทุกๆ ด้านอย่างไร้ขอบเขต เป็นช่องทางในการประกอบธุรกิจที่ยังไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายไทย ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ เช่น บ่อนกาสิโน การปลูกพืช GMOs การบริการด้านการเงิน ฯลฯ ซึ่งเท่ากับเป็นการยินยอมตามข้อเรียกร้องที่อยู่ในการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรี ( FTA)
5. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ปฏิเสธการใช้หรือยกเว้นการใช้กฎหมายสำคัญๆ ของไทยเกือบทุกฉบับที่เป็นอุปสรรคในการแสวงหาประโยชน์ ในทุกพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น กฎหมายอุทยานแห่งชาติ กฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายชลประทานราษฎร์ กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายผังเมือง กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติสงฆ์
6. กฎหมายนี้ ยังละเมิดสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของคนไทยในด้านต่างๆ และรวมไปถึงการละเมิดสิทธิของแรงงานต่างด้าวอีกด้วย
ดังนั้น เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนและภาคประชาสังคม มีข้อเรียกร้องดังนี้
1. รัฐบาลต้องยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 มกราคม 2548 ที่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ
2. รัฐบาลต้องยึดมั่นต่อแนวทางการกระจายอำนาจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำหนดการพัฒนาท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง
3. รัฐบาลต้องเคารพต่อหลักการความโปร่งใสในการกำหนดนโยบายสาธารณะ องค์กรประชาชนทั้งที่มีรายชื่อแนบท้ายนี้และที่มีอยู่ทั่วประเทศ ร่วมกับผู้รักในอธิปไตยของประเทศ ไทยทุกคนจะยืนหยัดต่อสู้คัดค้านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ถึงที่สุด
รายชื่อองค์กรร่วมลงนามในแถลงการณ์
1. สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
2. สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
3. สมาคมนักผังเมืองไทย
4. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. สมัชชาคนจน
7. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
8. โครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
9. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
10. เครือข่ายสิ่งแวดล้อม ' 48
11. เครือข่าย 30 องค์กรพัฒนาเอกชนต้านคอรัปชั่น
12. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
13. สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
14. คณะทำงานโลกาภิวัตน์
15. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA WATCH)
16. กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม
17. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
18. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
19. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ
20. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
21. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
22. ศูนย์การศึกษาการใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงสมัยโลกาภิวัตน์ (จ.นครนายก)
23. โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา ภาคใต้
24. องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย
25. ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน ( RRAFA)
บทความลำดับที่ 521
พระศรีปริยัติโมลีนำสวดปัดเสนียดจัญไรที่เกาะทำเนียบและรัฐสภา
(5 ก.พ.48/กรุงเทพฯ)
เมื่อเวลา 10.30 น. พระศรีปริยัติโมลี พร้อมด้วยสงฆ์อีก 8 รูปได้สวดปัดรังควานและไล่เสนียดจัญไรที่ในพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นตัวแทน 25 องค์กรประชาชน, นักวิชาการและสหภาพรัฐวิสาหกิจคัดค้านร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษประมาณ
50 คน นำโดย นส.รสนา โตสิตระกูล และ นส.สารี อ๋องสมหวัง ได้เริ่มพิธีอ่านคำประกาศกรุงรัตนโกสินทร์
คัดค้านร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ บริเวณสนามหลวง ด้านพระเทพบิดร พระบรมมหาราชวัง
ซึ่งมองเห็นยอดปราสาทพระเทพบิดร โดยมีคณะสงฆ์เป็นพยาน
ซึ่งในคำประกาศดังกล่าวมีเนื้อความดังนี้ "พวกเราเหล่าลูกหลานไทยทั้งหลาย มารวมกัน ณ ปราสาทพระเทพบิดร อันเป็นที่สถิตย์แห่งดวงพระวิญญาณของเหล่าบูรพมหากษัตราธิราชเจ้า เพื่ออาศัยพระบารมีเป็นที่พึ่งในการต่อสู้คัดค้านร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ นับตั้งแต่บรรพชนไทยได้ดิ้นรนต่อสู้เพื่ออิสรภาพจนสร้างบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นผ่านมาหลายยุคหลายสมัย กระทั่งถึงยุครัตนโกสินทร์
ทั้งนี้ก็เพราะจิตวิญญาณที่รักอธิปไตยและความเป็นไทอย่างเหนียวแน่นของประชาชนชาวไทย จริงอยู่ก่อนยุครัตนโกสินทร์ เราเคยเสียบ้านเสียเมืองถึง ๒ ครั้ง ทั้งนี้ล้วนเกิดจากความอ่อนแอของสังคมไทยในยุคนั้นเอง และมีชนชั้นปกครองบางกลุ่มทำตัวเป็นไส้ศึกเปิดประตูเมืองให้ผู้รุกราน ในยุครัตนโกสินทร์เอง สยามประเทศเคยสูญเสียอธิปไตยทางศาลและทางเศรษฐกิจ ตลอดจนสูญเสียดินแดนบางส่วนให้แก่จักรวรรดินิยม
แต่ก็เป็นการสูญเสียอธิปไตยที่เกิดจากการบีบบังคับด้วยนโยบายเรือปืนของชาติมหาอำนาจ ซึ่งรัฐบาลราชาธิปไตยนับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ได้พยายามแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคดังกล่าวตลอดมา จนสามารถได้เอกราชอย่างสมบูรณ์กลับคืนมาในรัฐบาลประชาธิปไตยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘
มาบัดนี้ รัฐบาลรักษาการชุดปัจจุบันได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างเงียบเชียบ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นวาระซ่อนเร้นท่ามกลางความเศร้าโศกของสังคมต่อกรณีภัยพิบัติสึนามิ และไม่ได้อยู่ในนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองนั้น ซึ่งจะถูกผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ภายหลังการเลือกตั้ง แน่นอนว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จะผ่านรัฐสภาอย่างง่ายดายด้วยเสียงข้างมากของฝ่ายรัฐบาล
ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นกฎหมายที่เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนโดยสังเขปดังนี้
1. ร่างกฎหมายฉบับนี้ ให้อำนาจแก่กลุ่มบุคคลในการกำหนดพื้นที่ใดก็ได้ในพระราชอาณาจักรให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เขตเศรษฐกิจพิเศษมีอำนาจเหนือการปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๑๖, ๒๑, ๓๕)
2. เขตเศรษฐกิจพิเศษได้รับการยกเว้นไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายสำคัญๆ เกือบทุกฉบับ ที่ขัดขวางการแสวงหาประโยชน์ เช่น กฎหมายอุทยานแห่งชาติ กฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายชลประทานราษฎร์ กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายผังเมือง กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติสงฆ์ เสมือนเป็นรัฐใหม่ครอบรัฐเดิม (มาตรา ๓๐)
3. ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้ยกเว้นภาษีทุกชนิดให้กับผู้ประกอบการ และยังอนุญาตให้นำเงินออกนอกประเทศโดยเสรี (มาตรา ๓๓, ๓๔, ๗๐)
4. เขตเศรษฐกิจพิเศษมีอำนาจเด็ดขาดในการเพิกถอนที่สาธารณสมบัติทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เขตวนอนุยานแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ ที่ดินสาธารณะ ที่ธรณีสงฆ์และน่าจะรวมไปถึงที่ราชพัสดุ และที่ดินส่วนพระมหากษัตริย์ให้มาเป็นที่ของเอกชน และสามารถนำไปขายหรือให้เช่ากับคนต่างด้าวในการประกอบกิจการทุกชนิด (มาตรา ๖๒)
5. ร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษนำไปสู่การละเมิดพระราชอำนาจ เนื่องจากให้อำนาจแก่เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ คณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในการตัดสิน บังคับคดีโดยไม่ผ่านกระบวนการทางตุลาการ ด้วยเหตุที่ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษมีอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชนดังได้กล่าวมาข้างต้น จึงควรที่พี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งมวลจะได้ร่วมใจกันคัดค้านไม่ให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้"
เมื่อกล่าวคำประกาศจบ พระศรีปริยัติโมลีได้นำสวดอภิธรรมอีกครั้งก่อนพรมน้ำมนต์ให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวแทน 25 องค์กรดังกล่าว จากนั้น พระศรีปริยัติโมลี ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า คณะสงฆ์มีความห่วงใยถึงการที่รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีผ่านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้จะเปิดโอกาสให้เอกชนยึดที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่ธรณีสงฆ์ไปหาประโยชน์ ไม่ต่างอะไรกับ พระราชบัญญัติที่ดินสงฆ์ ฉบับที่ 2 และยังเปิดช่องให้มีการตั้งคาสิโนมอมเมาประชาชน ซึ่งน่าห่วงใยมาก
วันนี้ตนและคณะสงฆ์จึงได้สวดบทปัดรังควาญและเสนียดจัญไร เนื่องจากในปัจจุบันมีเสนียดจัญไรอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภามากเหลือเกิน เกาะกุมจิตใจผู้นำ และจากนั้นก็ได้สวดมนต์ให้เกิดความสุขสวัสดิ์แก่บ้านเมืองด้วย
Kannikar KIJTIWATCHAKUL (Kar) Thai Action on Globalization 409 Soi Rohitsuk, Pracharatbamphen Rd. Huay Kwang, Bangkok 10320 Thailand Tel.66-2-6910718-20 Fax.66-2-6910714 Mobile 66-9-7701872 [email protected] [email protected]
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
บทความลำดับที่ 518 แถลงการณ์ภาคประชาชน
เรื่อง
คัดค้านร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ
วันพฤหัสที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548
สมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับองค์กรพันธมิตร 25 องค์กร
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
3 หน้ากระดาษ A4)