ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
071147
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 466 หัวเรื่อง
แถลงการณ์กรณีเหตุการณ์ที่ตากใบ
นักวิชาทั่วประเทศ ๑๔๔ คน
(จากสถาบันอุดมศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เชียงใหม่
The Midnight University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

แถลงการณ์ ๑๔๔ นักวิชาการ กรณีเหตุการณ์ที่ตากใบ
จดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ขอเรียกร้องให้ขอโทษประชาชนและญาติพี่น้อง
ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่อำเภอตากใบ


นักวิชาการ ๑๔๔ คนจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 466

หมายเหตุ : บทความเดิมชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ บนเว็ปไซท์ของ ม.เที่ยงคืน เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 9 หน้ากระดาษ A4)




จดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ขอเรียกร้องให้ขอโทษประชาชนและญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่อำเภอตากใบ

การที่ ฯพณฯ แถลงยอมรับว่าการเสียชีวิตของผู้ที่ถูกจับกุมหลังการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๗๘ คนเป็นความผิดพลาดในการขนย้ายของเจ้าหน้าที่ ที่ให้ผู้ถูกจับกุมนอนคว่ำหน้าทับกันหลายชั้น โดยให้มีการตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางมาสอบข้อเท็จจริงเพื่อจะได้จัดการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการเสียชีวิตที่เกิดขึ้น และให้มีการจ่ายค่าชดเชยให้กับญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตนั้น

ถึงแม้จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ้าง แต่ยังมีประเด็นสำคัญบางประการที่ ฯพณฯ ยังไม่ได้กล่าวถึง และยังไม่ได้แสดงความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัญหาที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาล ข้าพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ดังรายนามข้างท้าย ไม่อาจเพิกเฉยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ จึงได้ร่วมกันลงชื่อเสนอความเห็นต่อ ฯพณฯ ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมจำนวน ๗ คนจากการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ยังเป็นที่ถกเถียงกันได้ว่า มาตรการที่ใช้สลายการชุมนุมมีความเหมาะสมหรือไม่ ในการให้เจ้าหน้าที่ทหารที่ไม่ได้ถูกฝึกมาในการควบคุมฝูงชนเป็นผู้สลายการชุมนุม ซึ่งมักจะนำมาสู่การเสียชีวิตดังที่เราได้เห็นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่เสมอมา

แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การเสียชีวิตของผู้ถูกจับกุมจำนวนถึง ๗๘ คนจากปฏิบัติการขนย้ายของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย หากเป็นการเสียชีวิตโดยถูกมัดมือไพล่หลังภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ให้ผู้ถูกจับกุมนอนคว่ำหน้าทับกันหลายๆ ชั้นในการขนย้าย ทั้งๆ ที่เมื่อรถคันแรกๆ ไปถึงค่ายทหารได้มีการรับทราบกันแล้วว่า มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นจากวิธีการขนย้าย แต่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการขนย้ายแต่ประการใด การเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจึงมิใช่อุบัติเหตุ หากเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

แต่ ฯพณฯ ยังมิได้ตอบคำถามต่อสังคมไทยและนานาชาติว่า ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของคน ๗๘ คน ถึงแม้ ฯพณฯ จะได้แสดงความเสียใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นมาแล้ว ในการหาตัวผู้รับผิดชอบสั่งการ เพื่อแถลงออกมาให้ประชาชนรับทราบในเบื้องต้นนั้น สามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนในเรื่องความรับผิดของผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องว่าจะมีการดำเนินการลงโทษอย่างไรจึงค่อยรอผลการสอบสวนของคณะกรรมการฯ

ประการที่สอง ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงแม้ว่าจะมีรากเหง้าความเป็นมาเป็นเวลานานแล้ว แต่การใช้ความรุนแรงต่อกันจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตมากมายอย่างต่อเนื่อง ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐรวมเป็นจำนวนหลายร้อยคน เพิ่งจะมาเกิดขึ้นและลุกลามรุนแรงนับแต่ปี ๒๕๔๕ นี้เอง เมื่อรัฐบาลได้แก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นการปราบปรามด้วยกำลังและความรุนแรง

จากกรณีกรือเซะจนถึงเหตุการณ์ที่อำเภอตากใบน่าจะสะท้อนให้รัฐบาลได้เห็นแล้วว่า แนวทางการแก้ปัญหาโดยการใช้กำลังเข้าปราบปรามเป็นสิ่งที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะมีแต่จะยิ่งก่อให้เกิดการตอบโต้กันด้วยความรุนแรง การเข่นฆ่า และนำมาซึ่งความเกลียดชังของคนไทยด้วยกันแต่ต่างศาสนามากยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ความคิดและขบวนการแบ่งแยกดินแดนขยายตัวมากขึ้น ทั้งๆ ที่แต่เดิมถึงจะมีอยู่จริงแต่เป็นความคิดของคนจำนวนน้อยเท่านั้น

ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับนโยบายการใช้กำลังและความรุนแรงในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และขอเรียกร้องให้รัฐบาล เปลี่ยนแปลงนโยบาย โดยใช้การเมืองนำหน้าในการแก้ไขความขัดแย้ง และเปิดเวทีให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะเป็นหนทางเดียวที่จะแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในระยะยาวได้อย่างแท้จริง

ประการสุดท้าย ข้าพเจ้าทั้งหลายเห็นว่า ฯพณฯ สมควรที่จะต้องพิจารณาความผิดพลาดของตัวเอง และแสดงความรับผิดชอบด้วย เพราะในฐานะผู้มีอำนาจสั่งการสูงสุด ฯพณฯ มิอาจที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในนโยบายที่ผิดพลาดได้ ซึ่งความรับผิดชอบขั้นต่ำที่สุดคือ การขอโทษประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนชาวมุสลิมและญาติพี่น้องของผู้ที่เสียชีวิต

การยอมรับความผิดพลาดและขอโทษประชาชน จะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการเยียวยาในทางจิตใจให้แก่ประชาชน และจะทำให้บรรยากาศความแตกแยกเกลียดชังของคนต่างศาสนาในชาติเดียวกัน ซึ่งกำลังรุนแรงมากยิ่งขึ้นในขณะนี้เริ่มต้นคลี่คลายไปในทางที่ดีได้ ทั้งจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในเบื้องต้นที่จะกอบกู้ภาพพจน์ของประเทศไทยซึ่งเสียหายอย่างรุนแรงกลับคืนมาได้อีกครั้ง

๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

รายชื่ออาจารย์ ๑๔๔ คน จาก ๑๘ มหาวิทยาลัย
ที่ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงนโยบายในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ และให้ขอโทษประชาชนกรณีตากใบ

๑. กนกรัตน์ เลิศชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒. กมลพรรณ พันพึ่ง มหาวิทยาลัยมหิดล
๓. กรกนก ธูปประสม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๔. กิตติศักดิ์ ศรีภา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๕. กัณฑิมา ศิริจีระชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี
๖. กัลยานี พรพิเนตพงศ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๗. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๘. คมสัน โพธิ์คง สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
๙. จงรักษ์ กิตติวรการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๐. จตุพร วิทยาคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี
๑๑. จารุพรรณ กุลดิลก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๒. จันทจิรา เอี่ยมมรุยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๓. จุฬารัตน์ เอกพรพิชณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๔. ฉันทนา บรรพศิริโชติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๕. เฉลิมเกียรติ ภาระเวช คณะการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๑๖. เฉลิมพงษ์ คงเจริญ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๗. ชนินทร์ มีโภคี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๘. ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๙. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๐. ชวินทร์ ลีนะบรรจง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๑. ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๒. ชโลธร แก่นสันติสุขมงคล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓. ชูศรี มณีพฤกษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๔. เชิงชาญ จงสมชัย คณะการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๒๕. ฐนิดา อภิชนะกุลชัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๒๖. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๗. ณัฐจรี สุวรรณภัฏ คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๘. ดวงดาว ฉันทศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๒๙. ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๓๐. เดชา ตั้งสีฟ้า คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๓๑. ทวิช จิตรสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี
๓๒. ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๓๓. ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๓๔. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๓๕. นงค์นุช ตังควัฒนกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๓๖. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๓๗. นลินี อังสถิตย์กุล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๓๘. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓๙. นฤมล รักษาสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี
๔๐. นัทมน คงเจริญ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๔๑. นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๔๒. นิธินันท์ วิศเวศวร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๔๓. นิรมล สุธรรมกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๔๔. บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๔๕. บุญชู ณ ป้อมเพชร สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๔๖. บุญยัง ปลั่งกลาง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
๔๗. บุญส่ง ชัยสิงห์กานนท์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๔๘. ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๔๙. ปฐมฤกษ์ เกตุทัต คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๕๐. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๕๑. ประไพ จิวัธยางกูร สาขาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
๕๒. ประมุข กอปรสิริพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๕๓. ประสาท มีแต้ม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๕๔. ประเสริฐ วัตราเศรษฐ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๕๕. ปราณี ชุมสำโรง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี
๕๖. ปราณี ทินกร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๕๗. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๕๘. ปรีชา บุญจูง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๕๙. ปรีชา อุยตระกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๖๐. ปิยพัฒน์ บุนนาก คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๖๑. พนารัตน์ มาศฉมาดล คณะการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๖๒. พรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๖๓. พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา-สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๖๔. พิรุณา ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๖๕. เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๖๖. เพลินพิศ สัตย์สงวน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๖๗. ไพศิษฐ์ พาณิชย์กุล สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๖๘. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๖๙. ภาวดี ทองอุไทย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๗๐. ภาวิน ศิริประภานุกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๗๑. มณีรัตน์ มิตรปราสาท คณะวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๗๒. มัลลิกา ชมนาวัง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๗๓. มาลี พฤกษ์พงศาวลี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๗๔. Magnus Andersson คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๗๕. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๗๖. รัตนาวรรณ เกียรติโกมล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี
๗๗. รุจี ยุวดี คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๗๘. รุ่งรัตน์ ศรีอำนวย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๗๙. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๘๐. รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน ห้องสมุดกลุ่มแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๘๑. เริงชัย ตันสกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๘๒. วรชัย ยงค์พิทยาพงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๘๓. วราภรณ์ แช่มสนิท สำนักงานสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล
๘๔. วัจนา สุริยธรรม สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๘๕. วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๘๖. วัฒนา สุกัณศีล มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์ วิทยาเขตปัตตานี
๘๗. วาทิศ โสตถิพันธ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๘๘. วิทยากร เชียงกูล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
๘๙. วิภา ดาวมณี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
๙๐. วิเชียร ตันศิริคงคล คณะการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๙๑. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๙๒. วิไลวรรณ วรรณนิธิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๙๓. วิชิต เปานิล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๙๔. วิระดา สมสวัสดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๙๕. วิวัฒน์ สุทธิวิภากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๙๖. วีรชัย ชื่นชมพูนุท สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๙๗. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๙๘. วุฒิ ด่านกิตติกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี
๙๙. ศศิกุล อ่อนเฉวียง สถาบันราชภัฏจันทรเกษม
๑๐๐. ศุภลักษณ์ พรกุลวัฒน์ คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๐๑. ศรีประภา เพชรมีศรี มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๐๒. ศักดิ์ชัย คีรีพัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๑๐๓. ศักดิ์ชาย จินะวงค์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๐๔. ศิริพร ขัมภลิขิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๐๕. ศิรินทร์ ใจเที่ยง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๐๖. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๐๗. สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๑๐๘. สมชัย ภัทรธนานันท์ คณะการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๑๐๙. สมชาย ปรีชาศิลปกุล สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๑๐. สมบูรณ์ พรพิเนตพงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๑๑๑. สมบูรณ์ ศิริประชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๑๒. สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๑๑๓. สมยศ เชื้อไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๑๔. สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๑๕. สวรรยา บูรณผลิน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๑๑๖. สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๑๗. สำลี ใจดี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๑๘. สินาด ตรีวรรณไชย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๑๑๙. สิริพร สมบูรณ์บูรณะ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
๑๒๐. สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๑๒๑. สิริลักษณา คอมันตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๒๒. สุชาติ ศรียารัณย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
๑๒๓. สุชาติ เศรษฐมาลินี ภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยพายัพ
๑๒๔. สุทธาทิพย์ กมลมาตยากุล คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๑๒๕. สุกำพล จงวิไลเกษม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๑๒๖. สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๒๗. สุวรรณี วัธนจิตต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๒๘. สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๒๙. สุวินัย ภรณวลัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๓๐. สุเมธ ศิริคุณโชติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๓๑. แสงเพชร เจริญราษฎร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๑๓๒. อดิศร เนาวนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๑๓๓. อรทัย ก๊กผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๓๔. อนุวัฒน์ ชลไพศาล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
๑๓๕. อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
๑๓๖. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๓๗. อภินันท์ พงศ์เมธากุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๓๘. อัษฎายุทธ ผลภาค สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๓๙. อาทร ริ้วไพบูลย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๔๐. อาทิตย์ ศรีแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี
๑๔๑. อารยา อดุลตระกูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๑๔๒. อุษณีย์ วรรณนิธิกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
๑๔๓. เอมอร โสมนะพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๔๔. เอื้อมพร ตสาริกา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ข้อเสนอของ รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ ต่อกรณีนี้ (คัดมาจากหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 5 พฤศจิกายน 2547)
เราไม่อาจรอหรือฝากความหวังในการแก้ปัญหาไว้กับภาครัฐ และรัฐบาลอีกต่อไป สังคมต้องก้าวขึ้นมาเปิดฉากรุกทางการเมืองเพื่อหาทางออกทางอื่นแก่ปัญหาความรุนแรง และการก่อการร้ายภาคใต้ที่เป็นทางเลือกต่างหากจากแนวทางอับจนที่รัฐบาลได้ดำเนินมา ตราบที่ไม่มีแนวทางเลือก เราก็จะถูกจำกัดกดดันให้เดินตามทางหายนะที่มีแต่ดิ่งลงเหวของรัฐบาลปัจจุบันไปเรื่อยๆ แต่เราจะแสวงหาทางเลือกนั้นอย่างไร ผมขอเสนอว่า:-

-เปิดเวทีสาธารณะแห่งชาติในประเด็นวิสัยทัศน์ และแนวทางปฏิรูปการเมืองชายแดนภาคใต้ เพื่อนำเสนอการเมืองปฏิรูปที่เป็นการเมืองทางเลือกที่จะทำให้ภาคใต้เป็นที่อยู่ร่วมกันของพี่น้องเชื้อชาติศาสนาต่างๆ ได้อย่างสันติสุข, โจทย์มีอยู่ว่าเราจักต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองภาคใต้ไปอย่างไรบ้างจึงจะทำให้ดินแดนนี้เป็นที่อยู่ร่วมกันของผู้คนพลเมืองต่างเชื้อชาติต่างศาสนาอย่างสันติ?

-ทางเลือกนี้ไม่ต้องการแยกดินแดน และยืนหยัดปัดปฏิเสธความรุนแรงแต่ต้น หากขณะเดียวกันก็ไม่ยอมรับสภาพการเมืองชายแดนภาคใต้อย่างที่เป็นอยู่ แต่คำถามคือจะปฏิรูปเปลี่ยนแปลงมันไปอย่างไรคนไทยในภาคใต้ และคนไทยทั้งประเทศจึงจะอยู่อย่างมีความสุขร่วมกัน

-เพื่อมีโจทย์ร่วมเป็นตัวตั้ง และจุดเริ่มต้นการอภิปราย เราควรนำข้อเสนอปฏิรูปการเมืองการปกครองชายแดนภาคใต้ที่สำคัญฉบับต่างๆ เท่าที่เคยมีมา ในประวัติศาสตร์มาพินิจพิจารณา โดยเริ่มจาก "คำขอ 7 ประการ" ของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ เมื่อเดือนเมษายนปี พ.ศ.2490 ในฐานะข้อเสนอให้ปฏิรูปการเมืองการปกครองภาคใต้ภายในกรอบรัฐชาติไทยโดยไม่แยกดินแดน

-มาจนกระทั่งข้อสรุปปัญหา และข้อเสนอชุดที่รองนายกรัฐมนตรีจาตุรนต์ ฉายแสงไปรับฟังประชาคม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาเมื่อเมษายนศกนี้ เพื่อให้กลุ่มฝ่ายต่างๆ ของสังคมร่วมกันอภิปรายถกเถียงถึงความเหมาะสม หาทางปรับแก้ ตัดทอน เพิ่มเติมข้อเสนอเหล่านี้ให้สอดคล้องทันกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป

 


 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบแถลงการณ์ ของนักวิชาการ ๑๔๔ คน จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ขอเรียกร้องให้ขอโทษประชาชนและญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่อำเภอตากใบ

ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงแม้ว่าจะมีรากเหง้าความเป็นมาเป็นเวลานานแล้ว แต่การใช้ความรุนแรงต่อกันจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตมากมายอย่างต่อเนื่อง ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐรวมเป็นจำนวนหลายร้อยคน เพิ่งจะมาเกิดขึ้นและลุกลามรุนแรงนับแต่ปี ๒๕๔๕ นี้เอง เมื่อรัฐบาลได้แก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นการปราบปรามด้วยกำลังและความรุนแรง

ความคิดที่ว่าด้วยความเท่าเทียมกันนี้เกิดขึ้นให้เห็นอย่างเป็นรูปเป็นร่างโดยนักปรัชญา John Rawls ในหนังสือชื่อ "A theory of justice" Rawls มีความคิดว่า ทุกคนควรอยู่ในฐานะที่เขาเรียกว่า "original position" ไม่ว่าจะเป็นเพศใด อายุเท่าไร มาจากเชื้อชาติหรือเผ่าพันธ์ใด และมีสถานะทางสังคมอยู่ในระดับใดก็ตาม ทัศนะจากเสียงส่วนน้อยในสังคมควรได้รับการยอมรับ เท่ากับทัศนะของเสียงส่วนใหญ่ เพื่อทำลาย "ม่านแห่งอคติ" หรือม่านแห่งความรังเกียจเดียดฉันท์ให้หมดไป
ตามแนวคิดนี้การตัดสินใจทางจริยธรรมของบุคคลใดก็ตามควรจะกระทำโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบุคคล โดยปราศจากอคติทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างกัน หรือความแตกต่างทางสังคม ทางการเมือง

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์