มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ


บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 427 หัวเรื่อง
มานุษยวิทยาทางกฎหมาย
รศ. พิเชษฐ เมาลานนท์
มหาวิทยาลัยนีกาตะ ญี่ปุ่น

(บทเกริ่นนำหนังสือที่กำลังอ่าน)

 

R
relate topic
020847
release date
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบเรื่องพิเศษบริการฟรีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
H
กฎหมายมีชีวิตและความเป็นมาเช่นไรในชนเผ่า : โครงการวิจัยทางมานุษยวิทยา
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

 


โครงการมานุษยวิทยากฎหมาย
บทนำเรื่อง "กฎหมายมีชีวิต : โครงการมานุษยวิทยากฎหมาย"
พิเชษฐ เมาลานนท์
รองศาสตราจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนีกาตะ ญี่ปุ่น

หมายเหตุ : ชื่อเดิมของต้นฉบับเรื่องนี้
กฎหมายมีชีวิตและความเป็นมาเช่นไรในชนเผ่า: โครงการวิจัยทางมานุษยวิทยา
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 5.5 หน้ากระดาษ A4)


คำชี้แจงของผู้เรียบเรียง
ลักษณะของบทความนี้:
นี่คือบันทึกสรุปภาษาไทย จากการศึกษาหนังสือ Laura Nader, The Life of the Law: Anthropological Projects, University of California Press, 2002 ซึ่งจาก "ลักษณะ" เช่นนี้ ผู้อ่านพึงตระหนักว่า

1. ผู้เขียนไม่ได้อวดอ้างว่า ตนเองเชี่ยวชาญในวิชา "มานุษยวิทยากฎหมาย" ตรงกันข้าม ผู้เขียนเพียงอยู่ในขั้นต้องการเรียนรู้บ้างเท่านั้น ข้อเขียนนี้เป็นเพียงผลจากการ "อ่านไปบันทึกไป" จึงย่อมผิดพลาดได้เป็นธรรมดา แต่นำมาตีพิมพ์เพราะจิตใจแบ่งปันความรู้ และใคร่รับการชี้แนะฉันท์มิตร จากผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้

2. ผู้เขียนไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะนี่เป็นเพียงบันทึกสรุปส่วนตัว และไม่ได้แปล
3. ผู้เขียนได้แสดงมารยาททางวิชาการ โดยอ้างอิง "ที่มา" ไว้โดยชัดเจนแล้ว

เป้าประสงค์: ผู้เขียนศึกษาหนังสือนี้ เพราะ

1. ต้องการทำความเข้าใจว่าศาสตร์ที่มษุษย์เรียกกันว่า Anthropology of Law (มานุษยวิทยากฎหมาย) คือการศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไร มีแก่นอยู่ที่ไหน มีเนื้อหาและวิธีการศึกษาอย่างไร
2. ต้องการอ่านแลงกาต์ให้เข้าใจดีขึ้น เพราะงานเขียนชิ้นนี้ของแลงกาต์ เป็นเรื่องที่ว่าด้วย "มานุษยวิทยากฎหมาย" เล่มแรกของไทย

3. ต้องทำงานวิจัยเรื่อง "........." ร่วมกับอาจารย์ญี่ปุ่นท่านหนึ่ง ซึ่งแม้จะวางแผนศึกษาเรื่องบทบาทของศาลยุติธรรมไทยในแง่ Functional Approach แต่ท่านกลับเปลี่ยนใจไปศึกษาในแง่ Anthropological Approach
4. ต้องการแบ่งปันความรู้เรื่อง "มานุษยวิทยากฎหมาย" กับเพื่อนคนไทย ทั้งที่เป็นนักกฎหมาย นักมานุษยวิทยา นักสังคมวิทยา และคนไทยทั่วไป

5. ต้องการเห็นนักกฎหมาย (โดยเฉพาะทนายไทยและตุลาการไทย) เปิดใจกว้างรับฟัง เรียนรู้ และปรับใช้ Anthropology of Law (มานุษยวิทยากฎหมาย) ในคดีความในศาลไทย ให้มากขึ้น โดยดูตัวอย่างคดีในศาลต่างประเทศ

คำหลัก:
- มานุษยวิทยา (Anthropology):
- มานุษยวิทยากฎหมาย (Anthropology of Law):
- ชาติพันธุ์วิทยา (Ethnography):


             ลอว์รา เนเดอร์

ลอว์รา เนเดอร์ เป็นศาสตราจารย์ทางวิชามานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ เบอร์กคลีย์
และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง "มานุษยวิทยากฎหมาย" ไว้หลายเล่ม เช่น
- No Access to Law
- 1990, Harmony Ideology: Justice and Control in a Zapotec Mountain Village (ขอแปลชั่วคราวว่า "ความเชื่อเรื่องความกลมเกลียว: ความยุติธรรมกับการปกครองที่ภูหมู่บ้านซะโพเท็ค")
- 1996, Naked Science: Anthropological Inquiry into Boundaries, Power, and Knowledge (ขอแปลชั่วคราวว่า "ศาสตร์แท้: แสวงหาคำตอบทางมานุษยวิทยา ว่าด้วยขอบข่าย อำนาจ และความรู้")
- 1997, Law in Culture and Society (ขอแปลชั่วคราวว่า "กฎหมายในวัฒนธรรมและสังคม")

อนึ่ง ผู้เขียนเข้าใจว่า นักมานุษยวิทยากฎหมายชั้นนำของไทยบางท่านผู้ผ่านจาก "สำนักเบอร์กคลีย์" ก็เคยเรียนวิชาของอาจารย์ ลอว์รา เนเดอร์ เช่นอาจารย์ ยศ สันตสมบัติ เป็นต้น (ขอประทานโทษที่กล่าวอ้าง)


เนื้อหาโดยย่อ - - จากปกใน
ลอว์รา เนเดอร์ เป็นคนเด่น ที่พัฒนาวิชามานุษยวิทยากฎหมายให้ไม่หยุดนิ่ง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในสังคมเสมอ โดยมองว่ากฎหมายสามารถมีบทบาท ต่อความเป็นธรรมทางสังคม-เศรษฐกิจได้ ในหนังสือนี้เธอเล่าว่า วิชามานุษยวิทยากฎหมายมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และชี้ให้นักมานุษยวิทยา นักกฎหมาย และนักกิจกรรมสังคม ตระหนักว่ากฎหมายคือศูนย์กลาง ในกระแสการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม

ลอว์รา เนเดอร์ วิจัยประวัติศาสตร์อเมริกา สำรวจว่าโจทก์มีบทบาทเช่นไร ในครึ่งหลังศตวรรษ ๒๐ และเสนอคำอธิบายว่า ความเสื่อมถอยแห่งพลังอำนาจโจทก์ในช่วงนั้น ทำให้พลังประชาธิปไตยเสื่อมคลายลง

ลอว์รา เนเดอร์ ได้เพ่งพินิจการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งในมานุษยวิทยาและกฎหมาย จากโลกานุวัตรกับบริษัทข้ามชาติภายใต้ "เศรษฐกิจเสรี" โดยเฉพาะในแง่ Alternative Dispute Resolution (ADR) ซึ่งจากทศวรรษ ๑๙๖๐ เป็นต้นมา คือส่วนหนึ่งแห่งการยกเครื่องครั้งใหญ่ ในกระบวนการพิจารณาคดีที่สหรัฐฯ

ลอว์รา เนเดอร์ ชี้ว่า ADR ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสื่อมถอยลง และอ่านว่า การบังคับให้วิธีไกล่เกลี่ยเป็นระบบที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้มีอำนาจเศรษฐกิจ โดยเฉพาะบริษัทธุรกิจ เธอจึงเรียกร้องให้เพิ่มอำนาจการฟ้องของโจทก์ในคดีละเมิด เพื่อคานอำนาจครอบงำของบริษัทธุรกิจ จึงเป็นการเพิ่มพลังมวลชน ให้ใช้กฎหมายต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางสังคม

ลอว์รา เนเดอร์ เขียนหนังสือเล่มนี้ในลักษณะเล่าประสบการณ์ส่วนตัว และอธิบายโน้มน้าวโดยวิธีกรณีศึกษา จากงานวิจัยภาคสนามของเธอ ทั้งในเม็คซิโก เลบานอน และสหรัฐฯเอง

ประเด็นนำเสนอใน The Life of the Law เล่มนี้มีความสำคัญ ต่อผู้อ่านทุกท่านที่ต้องการใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือท้าทายอำนาจครอบงำใดๆในสังคม ที่ขวางกั้นขบวนการประชาธิปไตยอันเข้มแข็ง


คำนิยม - - จากปกนอก
"The Life of the Law มีเอกลักษณ์เด่น ในการพิจารณาว่ากฎหมายกับมานุษยวิทยาสัมพันธ์กันเช่นไร นำเสนอประเด็นท้าทาย เหตุผลหนักแน่นกว้างขวาง และมีข้อถกเถียงเด่นๆ ในแทบทุกหน้าของหนังสือนี้"
โจเซฟ เอ. เพจ
ศาสตราจารย์นิติศาสตร์, ศูนย์กฎหมายมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์

"นี่คือความเห็นที่ทรงพลัง จากนักมานุษยวิทยากฎหมายแนวหน้าของอเมริกา ว่าการฟ้องคดีมีปัญหาเช่นไรในปัจจุบัน ซึ่งลอว์รา เนเดอร์ ชี้ว่า:
-โจทก์ คือ The life of the law
- ข้อพิพาททางแพ่ง-อาญา-การเมือง คือ The life of democracy and the basis of justice
ข้ออ้างเช่นนี้ มีรากฐานจากงานวิจัยของเธอเรื่องข้อพิพาทในเม็คซิโก เลบานอน และ NAFTA แต่เน้นศึกษาทางมานุษยวิทยาเฉพาะคดีข้อพิพาทว่าด้วย กฎหมายกับความเป็นธรรมในสังคม หนังสือนี้จึงใช้เพิ่มเติมได้ดีในการสอนกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความในคณะนิติศาสตร์ เพราะเสนอจุดเน้นใหม่ในการอภิปรายเรื่อง Litigation Explosion ในสหรัฐฯ"
แอนเนลลีส ไรลส์
ผู้เขียนหนังสือ The Network Inside Out

"ลอว์รา เนเดอร์ เขียนอย่างคุยกับผู้อ่าน เสนอประเด็นทางนโยบายให้ปฏิรูปกฎหมายละเมิด, การฟ้องคดีเป็นกลุ่ม, WTO, การฟ้องคดีอาชญากรรมเศรษฐกิจ, และ Alternative Dispute Resolution ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลต่อ ความเป็นธรรมทางสังคม ทั้งในกฎหมายสหรัฐฯ และในกฎหมายระหว่างประเทศ"
โรเบิอร์ท ซี. เฟลล์เมธ
ผู้อำนวยการ ศูยน์กฎหมายประโยชน์มหาชน มหาวิทยาลัยซานดิเอโก

ที่มาของหนังสือนี้ - - จากคำขอบคุณ
จุดเริ่มต้นของหนังสือนี้ มีขึ้นเมื่อ ลอว์รา เนเดอร์ ไปบรรยายที่แผนกนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทร็นโต (University of Trento) ประเทศอิตาลี เมื่อ ๒๔-๒๕ พค. ๑๙๖๖ และพิมพ์คำบรรยายเป็นภาษาอิตาเลียน

ต่อมาได้พิมพ์หนังสือแก้ไขภาษาอังกฤษ ที่แสดงว่า:
- คดีในศาลบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงแห่งสังคมประชาธิปไตยเช่นไร ในปัจจุบันอย่างไร (the relationship between litigation and social change in contemporary democracies)
- ในลักษณะการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักกิจกรรมกฎหมายกับวิชาการมานุษยวิทยา (the contest of knowledge exchange between legal activists and academic anthropologists)

ลอว์รา เนเดอร์ ได้ใช้การวิจัยภาคสนาม ๔๐ ปีของตนเอง เป็นกรณีศึกษา ดังนี้:

- เรื่องหมู่บ้านซะโพเท็ค ในเม็คซิโก
- เรื่องชาวมุสลิมชีอะ ที่เลบานอนตอนใต้
- เรื่องผู้บริโภคในสหรัฐฯ
- เรื่องชาวบ้านในศาลระหว่างเทศกาลรามาดัน ในโมรอคโค

และได้ใช้งานวิจัยมานุษยวิทยากฎหมาย ก่อนหน้านี้ ทั้งของเธอเองและกับนักศึกษา ได้แก่:
- 1966, To Make the Balance, University of California, Berkeley (ภาพยนต์สารคดีเรื่องแรกของเธอ)
- 1978, The Disputing Process, Berkeley Village Law Project (หนังสือร่วมกับนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย)
- 1980, No Access to Law, Berkeley Complaint Project (หนังสือร่วมกับนักศึกษาปริญญาตรี)
- 1984, Little Injustices, Odyssey Project (ภาพยนต์สารคดีเปรียบเทียบวิธีจัดการความขัดแย้งที่หมู่บ้านซะโพเท็ค ในเม็คซิโก กับในสหรัฐอเมริกา)
- 1994 & 1996, Essays on Controlling Processes (หนังสือร่วมกับทั้งนักศึกษาปริญญาตรีและบัณฑิตวิทยาลัย)


สารบัญ
คำขอบคุณ
บทเกริ่นนำ
บทที่ ๑
บทที่ ๒
บทที่ ๓
บทที่ ๔
บทลงท้าย


บทเกริ่นนำ

ในทศวรรษ ๑๙๖๐ โอกาสที่นักมานุษยวิทยาจะสอนในโรงเรียนกฎหมายอเมริกัน แทบจะไม่มีเลย และความสัมพันธ์ระหว่างนักมานุษยวิทยากับนักกฎหมาย มีลักษณะเป็นคู่อริ

"อวดดียังไงจะมาพูดเรื่องกฎหมาย ทั้งที่คุณไม่ใช่นักกฎหมาย" นี่คือปฏิกิริยาในงานสัมมนาวิชาการข้ามสาขา

ในวันนั้น งานวิจัยกฎหมายจารีตประเพณีอาฟริกา แทบไม่มีนักกฎหมายผู้ใดสนใจเลย แต่ในวันนี้ ผู้สนใจมีทั้งด้านจิตวิทยา กฎหมาย รัฐศาสตร์ โลกาภิวัฒน์ การทหาร และลัทธิชาตินิยมทั่วอาฟริกา

ในวันนั้น ผู้ศึกษาคำพิพากษาของศาล ไม่ได้สนใจว่า บทบาทของโจทก์ จำเลย และทนายความ อาจทำให้ผลของคำพิพากษาต่างไปได้เพียงใด ในวันนั้น ชาติพันธุ์วิทยาและวัฒนธรรม อยู่ภายใต้ขอบข่ายแห่งนักมนุษยวิทยาเท่านั้น แต่ในวันนี้ ทุกคนต่างพูดเรื่องวัฒนธรรม ทั้งผู้คนบนท้องถนนและผู้คนในวงวิชาการ เช่น กฎหมายวัฒนธรรม จิตวิทยาวัฒนธรรม สังคมวิทยาวัฒนธรรม และวัฒนธรรมศึกษา เป็นต้น

โจทย์วิจัยในหนังสือนี้มีอยู่ว่า โจทย์ทั่วไปในคดีแพ่งมีความคิดทางกฎหมายเช่นไร และความคิดเช่นนั้นจะทำให้กฎหมายกลายร่างไปเช่นไร ถ้าอำนาจทางกฎหมายของเอกชนต้องเสื่อมลง แต่รัฐกับบริษัทเอกชนกลับเข้มแข็งขึ้นแล้ว เราควรจะแก้ไขสภาพเช่นนี้อย่างไร

เอกสารอ้างอิง:

(L. Nader, 2002)
Laura Nader, The Life of the Law: Anthropological Projects, University of California Press

(Davis & Parker, 1979)
Gordon B. Davis & Clyde A. Parker, Writing the Doctoral Dissertation: A Systemic Approach, New York: Barron's Educational Series, Inc.

(ILC, 1975)
International Legal Center, Legal Education in a Changing World: Report of Committee on Legal Education in Developing Countries, New York


 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 400 เรื่อง หนากว่า 4500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย สนใจ สั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

 

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com

ในทศวรรษ ๑๙๖๐ โอกาสที่นักมานุษยวิทยาจะสอนในโรงเรียนกฎหมายอเมริกัน แทบจะไม่มีเลย และความสัมพันธ์ระหว่างนักมานุษยวิทยากับนักกฎหมาย มีลักษณะเป็นคู่อริ"อวดดียังไงจะมาพูดเรื่องกฎหมาย ทั้งที่คุณไม่ใช่นักกฎหมาย" นี่คือปฏิกิริยาในงานสัมมนาวิชาการข้ามสาขา ในวันนั้น งานวิจัยกฎหมายจารีตประเพณีอาฟริกา แทบไม่มีนักกฎหมายผู้ใดสนใจเลย แต่ในวันนี้ ผู้สนใจมีทั้งด้านจิตวิทยา กฎหมาย รัฐศาสตร์ โลกาภิวัฒน์ การทหาร และลัทธิชาตินิยมทั่วอาฟริกา

 


ลอว์รา เนเดอร์ เป็นคนเด่น ที่พัฒนาวิชามานุษยวิทยากฎหมายให้ไม่หยุดนิ่ง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในสังคมเสมอ โดยมองว่ากฎหมายสามารถมีบทบาท ต่อความเป็นธรรมทางสังคม-เศรษฐกิจได้ ในหนังสือนี้เธอเล่าว่า วิชามานุษยวิทยากฎหมายมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และชี้ให้นักมานุษยวิทยา นักกฎหมาย และนักกิจกรรมสังคม ตระหนักว่ากฎหมายคือศูนย์กลาง ในกระแสการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม... ลอว์รา เนเดอร์ วิจัยประวัติศาสตร์อเมริกา สำรวจว่าโจทก์มีบทบาทเช่นไร ในครึ่งหลังศตวรรษ ๒๐ และเสนอคำอธิบายว่า ความเสื่อมถอยแห่งพลังอำนาจโจทก์ในช่วงนั้น ทำให้พลังประชาธิปไตยเสื่อมคลายลง