มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้

midnight2545(at)yahoo.com

บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 407 หัวเรื่อง
วิเคราะห์เรื่องเจ้าชายกบ
เกียรติพงศ์ ฤกษ์วันชัย
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
นักเขียนและนักแปลอิสระ



R
relate topic
190647
release date
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
H
มองวรรณกรรมเรื่อง"เจ้าชายกบ"ผ่านการวิเคราะห์ในมุมมองแนวคิดสตรีนิยม
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ


วรรณกรรม (เทพนิยาย) วิจารณ์
เจ้าชายกบ: เจ้าหญิงหรือเหยื่อในโลกของชาย
เกียรติพงศ์ ฤกษ์วันชัย
นักเขียนและนักแปลอิสระ - สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ
บทความชิ้นนี้ประกอบด้วย ๒ ส่วน
ส่วนที่หนึ่ง เจ้าชายกบ: เจ้าหญิงหรือเหยื่อในโลกของชาย
ภาคภาษาไทย
ส่วนที่สอง
เจ้าชายกบ: เจ้าหญิงหรือเหยื่อในโลกของชาย ภาคภาษาอังกฤษ
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)

 

ส่วนที่หนึ่ง
เทพนิยายเรื่องเจ้าชายกบ คงเป็นอีกเรื่องที่แพร่หลายไปทั่วโลก แต่ทว่าหลายๆ คนยังคงไม่รู้หรือสังเกตว่า เทพนิยายเรื่องนี้มีสองบทแปล บทแปลที่ผู้เขียนจะวิจารณ์ในที่นี้แปลโดย Brothers Grimm

ในบทแปลของ Grimm มีสิ่งที่น่าสนใจหนึ่งอย่างคือ Grimm พยายามทำให้เจ้าหญิงกลายเป็นเหยื่อของผู้ชายในเรื่อง หรือแม้แต่เหยื่อของ Grimm เองก็ตาม บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่า ในแต่ละตอน Grimm พยายามใช้ภาษาเพื่อทำให้ตัวละครชาย ซึ่งได้แก่ กบ เจ้าชาย และพ่อของเจ้าหญิงมีอำนาจ ในขณะที่เมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆ อำนาจของเจ้าหญิง (ตัวละครหญิงตัวเดียวของเทพนิยายเรื่องนี้)ที่มีตอนแรก เริ่มลดลงจนเจ้าหญิงกลายเป็นเหยื่อในโลกของชาย

อำนาจของตัวละครแต่ละตัวมาจากภาษาที่ตัวละครแต่ละตัวใช้ ตัวอย่างที่แสดงถึงอำนาจของเจ้าหญิงคือ คำพูดโต้ตอบของเจ้าหญิงเมื่อกบตั้งกฎสามข้อ ก่อนที่จะให้ความช่วยเหลือกับเจ้าหญิงด้วยการเก็บลูกบอล หลังจากฟังข้อเสนอของกบ เจ้าหญิงตอบโต้ด้วยการเรียกกบว่า "you nasty frog" (เจ้ากบน่าเกลียด)

ไม่เพียงแต่เจ้าหญิงจะมีอำนาจ แต่ดูเหมือนเธอจะมีความฉลาดหลักแหลมเช่นกัน เพราะว่า ในขณะที่เธอกำลังจะยอมรับข้อตกลงของกบ เธอคิดในใจ

'What nonsense,' thought the princess, 'this silly frog is talking! He can never even get out of the spring to visit me, though he may be able to get my ball for me, and therefore I will tell him he shall have what he asks.'
("จะบ้าเหรอ" เจ้าหญิงคิด "เจ้ากบนี่งี่เง่าจริงๆ ที่พูดแบบนี้ มันยังออกจากสระน้ำนี่ไม่ได้เลยแม้ว่ามันจะเก็บลูกบอลให้ฉันก็ตามเถอะ เอาหละฉันยอมตามที่มันขอแล้วกัน")

Grimm ทำให้เจ้าหญิงดูฉลาดในสายตาของผู้อ่านเมื่อ Grimm ให้เจ้าหญิง "คิดในใจ" แทนที่จะ "พูดออกมา" ดังนั้นเจ้าหญิงในตอนนี้เปรียบเหมือนผู้วางแผนการ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในตอนแรกของเทพนิยาย เจ้าหญิงดูเหมือนมีอำนาจและฉลาดหลักแหลม แต่โดยรวมๆ แล้วเจ้าหญิงกลับกลายเป็นเหยื่อของสังคมในเรื่อง เพราะว่าอำนาจที่เธอมีนั้น เจ้าชายกับบิดาของเธอก็มีเช่นกัน เช่น เมื่อกบกลับมาทวงสัญญาที่เจ้าหญิงให้ไว้ มันพูดเป็นกลอนว่า

'Open the door, my princess dear,
Open the door to thy true love here!
And mind the words that thou and I said
By the fountain cool, in the greenwood shade.'
(เปิดประตูให้ฉัน เจ้าหญิงของฉัน
เปิดประตูให้กับเจ้าชายสุดที่รักของเธอ!
แล้วเธอก็ควรจำคำพูดที่เรา
พูดที่น้ำพุ ในป่าเขียวด้วย)

กลอนบทนี้มีน้ำเสียงที่เป็นคำสั่ง ประโยคแรกของการแบ่งวรรคของกลอนยังใช้กลวิธีที่เรียกว่า trochee ที่ทำให้ผู้อ่านและเจ้าหญิงรู้สึกถึงอารมณ์ของกบ นอกจากกลอนบทนี้ยังถูกกล่าวซ้ำโดยกบถึงสามครั้ง การที่พูดสามครั้งดูเหมือนเป็นการเน้นอำนาจที่กบมี

ไม่เพียงแต่กบเท่านั้นที่มีอำนาจ แต่บิดาของเจ้าหญิงเองก็ตาม เมื่อเจ้าหญิงปฏิเสธที่จะเปิดประตูให้กับกบ บิดาของเธอบอกว่า As you have given your word you must keep it; so go and let him in. (ลูกต้องรักษาพูดนะ; ดังนั้นปล่อยให้เจ้ากบเข้ามา) จะสังเกตได้ว่าประโยคนี้เป็นคำสั่งที่เจ้าหญิงจะต้องปฏิบัติตามอีกเช่นกัน โดยเฉพาะประโยคอนุเคราะห์สุดท้าย--"go and let him in"-ยิ่งชี้ให้เห็นว่าอำนาจตอนนี้กลับมาอยู่ในมือของผู้ชายอีกครั้ง และเหยื่อของคำพูดเหล่านี้คือ เจ้าหญิง เจ้าหญิงซึ่งเป็นตัวละครหญิงตัวเดียวของเรื่อง

กรุณาสังเกตว่าอำนาจยังตกอยู่ในมือของ Grimm (นักแปลชาย) เช่นเดียวกับ ในบทแปลนี้ Grimm แสดงให้เห็นว่าเจ้าหญิงเป็นผู้ทีไม่รักษาสัญญาโดยการบรรยายความรู้สึกของเจ้าหญิงหลังจากที่ได้ลูกบอลกลับคืนมาว่า

As soon as the young princess saw her ball, she ran to pick it up; and she was so overjoyed to have it in her hand again, that she never thought of the frog, but ran home with it as fast as she could.
(ทันทีที่เจ้าหญิงเห็นลูกบอลของเธอ เธอก็วิ่งไปหยิบมัน; เธอดีใจมากจนลืมนึกถึงเจ้ากบ และวิ่งกลับบ้านอย่างเร็วเท่าที่เธอจะทำได้)

นัยหนึ่งผู้อ่านจะเห็นว่าเจ้าหญิงดีใจจนลืมที่จะขอบคุณกบ แต่อีกนัยหนึ่งผู้อ่านจะเห็นว่าเจ้าหญิง "ตั้งใจ" ที่จะวิ่งหนีกบ และไม่รักษาสัจจะ เพราะว่าหลังจากได้บอลแล้ว เจ้าหญิงวิ่งเท่าที่เธอจะทำได้ ([She] "ran home with it as fast as she could.")

Grimm อธิบายความรู้สึกและตัวละครของเจ้าหญิงได้อย่างละเอียด แต่ Grimm ไม่อธิบายถึงสาเหตุที่เจ้าชายถูกต้องคำสาป หนึ่งประโยคที่พูดถึงคำสาปคือ

He [Prince] told her that he had been enchanted by a spiteful fairy, who had changed him into a frog…
(ของเจ้าชายก็เล่าว่าเทพที่น่าเกลียดได้สาปให้เค้าเป็นกบ…)

จะเห็นได้ว่า Grimm อาจจะพยายามปกปิดบางอย่างเกี่ยวกับเจ้าชาย (เช่นเจ้าชายอาจจะทำอะไรผิดก็ได้) ในขณะที่ Grimm ไม่รีรอที่จะอธิบายพฤติกรรมและความไม่ซื่อสัตย์ของเจ้าหญิง

การอธิบายลักษณะนิลัยของเจ้าหญิงเป็นอีกจุดที่น่าสังเกตเพราะว่า การแต่งงานในที่นี้แสดงถึงนิสัยของเจ้าหญิงที่แต่งงานด้วยเห็นเพียงแค่ว่าเจ้าชายหน้าตาดี กล่าวคือ เมื่อเจ้าหญิงตื่นมาตอนเช้า เธอเห็น

[A] handsome prince, gazing on her with the most beautiful eyes she had ever seen and standing at the head of her bed.
(เจ้าชายที่สง่างามจ้องมองเธออยู่ ตาคู่นั้นเป็นตาที่สวยงามเหลือเกิน เป็นตาที่เธอไม่เคยเห็นมาก่อน)

ไม่นานนักหลังจากที่เจ้าชายอธิบายความจริงๆ เจ้าหญิงก็ตัดสินใจตกลงแต่งงานกับเจ้าชายโดยไม่ไตร่ตรองก่อน:

The young princess, you may be sure, was not long in saying 'Yes' to all this.
(เจ้าหญิง, คุณแน่ใจได้เลย, ไม่รีรอที่จะตอบตกลงกับข้อเสนอเหล่านี้แน่นอน)

ประโยคที่น่าสังเกตคือ "you [the reader] may be sure" ("แน่นอนว่า") จากประโยคดังกล่าว แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า Grimm พยายามที่จะสื่อสารกับนักอ่านสามอย่าง


1. Grimm มั่นใจว่าเค้าเองสามารถเดาใจนักอ่านได้ และเชื่อว่าเค้าเองมีความคิดเดียวกันกับนักอ่านที่ว่าเจ้าหญิงจะต้องแต่งงานกับเจ้าชาย การที่เค้าเชื่อว่าเค้ามีความคิดเดียวกันกับนักอ่านแสดงให้เห็นว่า "สังคมส่วนใหญ่" มีความคิดแบบนี้ คือความคิดที่ว่าเจ้าหญิงต้องยอมรับข้อตกลง

2. Grimm ต้องการเน้นว่าเจ้าหญิงยอมรับข้อตกลงเพราะว่าหน้าตาของเจ้าชาย ดังนั้นจริงๆ ไม่แปลกที่ถ้าเจ้าชายหน้าตาดี เจ้าหญิงจะต้องแต่งงานแน่นอน

3. Grimm ต้องการเขียนเพื่อ "สนองความต้องการ" ของนักอ่านที่คิดว่าเจ้าหญิง ซึ่งเป็นตัวละครหญิงตัวเดียวของเรื่องจะต้องแต่งงานกับเจ้าชาย เพราะว่าเจ้าชายมีรูปงามเท่านั้น

ไม่เพียงแต่เจ้าหญิงจะสูญเสียอำนาจตอนจบของเทพนิยาย แต่เธอต้องสูญเสียอิสระเช่นกัน นั่นคือทันทีที่เจ้าชายเป็นอิสระ เจ้าหญิงกลับสูญเสียอิสระของตนเองเพราะว่าเธอ "ต้องการ" และ "ต้อง" แต่งงานกับเจ้าชาย และแน่นอนสำหรับฝ่ายหญิงแล้ว โดยส่วนมากการแต่งงานหมายถึงการสูญเสียอิสระ

มองโดยเผินๆ แล้วเรื่องเจ้าชายกบในบทแปลของ Grimm อาจจะเป็นเรื่องโรแมนติกของเทพนิยายทั่วๆ ไป แต่แท้จริงแล้วภาษาที่ Grimm ใช้แฝงไว้ซึ่งอำนาจของชาย อำนาจที่ทำให้ตัวละครหญิงตัวเดียวของเทพนิยายกลายเป็น "เหยื่อ" ของสังคมชายในเรื่องไม่ว่า Grimm จะมีเจตนาอย่างนั้นหรือไม่ก็ตาม

เกี่ยวกับผู้แปล
เกียรติพงศ์ ฤกษ์วันชัย (สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) จบปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2547 วิชาเอกอังกฤษ วิชาโทจิตวิทยา และมีความสนใจด้านวรรณคดี (ในภาษาอังกฤษ) การสอนวรรณคดี ฯ

 

มองเรื่องเจ้าชายกบแบบผู้หญิงธรรมดา
(จากคุณมาดี สมาชิกกระดานข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

ก่อนอื่นต้องออกตัวว่าไม่ได้มีแนวคิดสตรีนิยมแต่ก็มองโลกตามแบบที่มันควรเป็น เมื่ออ่านบทวิเคราะห์เรื่องเจ้าชายกบของคุณเกียรติพงศ์ ฤกษ์วันชัยในเว็บนี้แล้ว อดมีความเห็นขึ้นมาไม่ได้ ขอแลกเปลี่ยนด้วยคนนะคะ และเพื่อความเข้าใจตรงกันขอเพิ่มเติมข้อมูลเล็กน้อยก่อน

1. เจ้าชายกบเดิมเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่ากันมานานนักหนาแล้ว และไม่ได้ผูกขาดอยู่ที่เยอรมันของพี่น้องกริมม์เท่านั้น นักเล่านิทานในยุโรปรู้จักกันดีตั้งแต่สก็อตแลนด์ยันเยอรมันไปถึงรัสเซีย เพียงแต่พี่น้องกริมม์เป็นผู้รวบรวมจดบันทึกเป็นเรื่องเป็นราวก่อนเพื่อน

2. จำกัดวงให้แคบลงมาเฉพาะฉบับของพี่น้องกริมม์ ซึ่งทั้งคู่เองก็มีการแก้ไขปรับปรุงนิทานของพวกเขาอยู่เสมอๆ โดยตัดเนื้อหาที่รุนแรงออกบ้าง ให้ข้อคิดทางศีลธรรมมากขึ้น และที่สำคัญพี่น้องกริมม์ก็มีนิทานเกี่ยวกับกบสองเรื่องค่ะ คือ The Frog King (เรื่องที่เรากำลังพูดถึง) กับ The Frog Prince (ที่เนื้อเรื่องต่างแต่จบแบบฉบับที่คุณเกียรติพงศ์ใช้)

เนื้อหาในฉบับของกริมม์จริงๆ นั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเกียรติพงศ์เอามาหรอกค่ะ ตอนท้ายเรื่องเจ้าชายกบไม่ได้นอนเคียงข้างเจ้าหญิงเพื่อว่าตื่นเช้ามาเธอจะได้เห็นเจ้าชายรูปงามอยู่เคียงข้าง แต่เจ้าหญิงขว้างกบอย่างแรงใส่กำแพงด้วยความโมโห (Then she was terribly angry, and took him up and threw him with all her might against the wall. "Now, thou wilt be quiet, odious frog," ) กบจึงกลายเป็นเจ้าชายขึ้นมา

กริมม์เน้นชัดค่ะว่าเจ้าหญิงคนนี้นิสัยไม่ดีเอามากๆ แต่ Edgar Taylor ผู้แปลนิทานของกริมม์จาก The Frog King ภาษาเยอรมันได้เปลี่ยนเสียใหม่ เขาบอกว่าคนอังกฤษรับไม่ได้หรอกที่เจ้าหญิงทำรุนแรงอย่างนั้น ต้นฉบับแปลปี 1823 ของเขาก็เลยมีพล็อตอย่างที่คุณเกียรติพงศ์เอามา โดยเอาตอนจบของ The Forg Prince มาใส่แทน และงานรุ่นหลังๆ หลายเวอร์ชั่นก็ยึดเอาตามที่เทเลอร์เขียน สรุปได้ว่าเรื่องที่คุณนำมาใช้ ไม่ใช้ทั้งสองเรื่องของพี่น้องกริมม์ค่ะ

อย่างไรก็ดีอยากชี้ให้เห็นว่า

ข้อหนึ่ง สิ่งที่นิทานต้องการนำเสนอก็คือเจ้าหญิงคนนี้นิสัยไม่ดีค่ะ เธอไม่รักษาสัญญา และที่คุณเกียรติพงศ์ว่าเธอฉลาดนั้น ไม่เห็นด้วยเลย ขอใช้เวอร์ชั่นแปลของ Margaret Hunt (1884)นะคะ กบขอให้เธอสัญญา เธอให้สัญญาแต่เธอก็คิดในใจว่า "How the silly frog does talk! He lives in the water with the other frogs, and croaks, and can be no companion to any human being!" แบบนี้เรียกว่าขี้โกงค่ะ ไม่ใช่ฉลาด เธอสัญญาทั้งๆที่เธอคิดว่ากบออกจากน้ำไม่ได้

ข้อสอง ที่บอกว่ากบใช้น้ำเสียงแสดงอำนาจให้เปิดประตูสามครั้งนั้น ในฉบับของพี่น้องกริมม์จริงๆ ไม่มีค่ะ กบพูดครั้งเดียว เพราะฉะนั้นที่ว่าเป็นการเน้นถึงอำนาจที่มีจึงไม่ใช่ หรือหากจะเน้นจริงก็ไม่ใช่พี่น้องกริมม์

ข้อสาม คุณบอกว่าพระราชาก็ใช้อำนาจโดยการสั่งให้เจ้าหญิงไปเปิดประตู แต่อย่าลืมว่าเหตุผลของพระราชาประกาศชัดแจ้งว่า "That which thou hast promised must thou perform" สัญญาไว้แล้วต้องปฏิบัติตามสัญญา นี่เป็นลักษณะของผู้ปกครองที่ดีนะคะ แม้แต่ลูกตัวเองทำผิดก็ไม่เห็นด้วย การมองว่าเป็นการใช้อำนาจของผู้ชายกระทำกับผู้หญิงคนเดียวในเรื่องจึงไม่ถูกต้องค่ะ แต่เป็นอำนาจของคนเป็นพ่อที่อยากให้ลูกเป็นคนดีต่างหาก

ข้อสี่ กริมม์ไม่ได้พยายามปกปิดเหตุผลที่เจ้าชายถูกสาปหรอกค่ะ เป็นธรรมดาของนิทานที่คุณจะพบได้ว่านิทานหลายต่อหลายเรื่อง ที่มีบางตอนไม่มีเหตุผลมารองรับ ไม่บรรยายที่มาที่ไป (เช่น คุณแม่ให้หนูน้อยหมวกแดงไปเยี่ยมคุณยายที่ป่วยคนเดียว ทำไมแม่ไม่ไปด้วยล่ะคะ หรือทำไมเจ้าชายกบถึงได้อยากแต่งงานกับเจ้าหญิงที่ทั้งโกหก หลอกลวง เจ้าอารมณ์คนนี้ แต่ที่กริมม์เน้นนิสัยไม่ดีของเจ้าหญิงเพื่อจะให้เรื่องนี้มีคุณค่าเชิงศีลธรรมต่างหาก โดยสอนไม่ให้มองแค่รูปลักษณ์ภายนอก (กบน่าเกลียดก็อาจเป็นเจ้าชายได้) อันจะนำไปสู่บทสรุปซึ่งเราเห็นต่างกัน

ข้อห้า คุณว่ากริมม์เดาใจนักอ่านได้ว่าอยากเห็นเจ้าหญิงแต่งงานกับเจ้าชายเพราะเจ้าชายรูปงาม จึงเขียนเพื่อสนองนักอ่าน ตรงนี้ในฉบับของกริมม์ที่แปลโดยไม่ดัดแปลงก็ไม่มีโทนเสียงนักเล่านิทานอย่างที่คุณยกมาอยู่เลยค่ะ เพราะฉะนั้นผู้ที่สื่อสารไม่ใช่กริมม์ และที่สำคัญนิทานบอกมาโดยตลอดถึงข้อเสียของเจ้าหญิงหากจะจบลงด้วยการแต่งงาน เจ้าชายต้องไม่ใช่ "รางวัล"

คุณสรุปว่า ภาษาที่ Grimm ใช้แฝงไว้ซึ่งอำนาจของชาย อำนาจที่ทำให้ตัวละครหญิงตัวเดียวของเทพนิยายกลายเป็น "เหยื่อ" ของสังคมชายในเรื่องไม่ว่า Grimm จะมีเจตนาอย่างนั้นหรือไม่ก็ตาม

เอาละค่ะ ถ้าการแต่งงานกับเจ้าชายทำให้เจ้าหญิงกลายเป็นเหยื่อ ทำไมคุณไม่คิดว่าเพราะเจ้าหญิงนิสัยไม่ดีจึงถูก "ลงโทษ" ล่ะค่ะ ใครนิสัยไม่ดีก็ต้องถูกลงโทษไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เจ้าชายรูปงามไม่ใช่ "รางวัล" ค่ะ แต่เป็น "โทษทัณฑ์"ที่เจ้าหญิงได้รับ หากจะมองในสายตาสตรีธรรมดาแบบดิฉัน ถ้าพี่น้องกริมม์จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์นี้อยู่บ้าง พวกเขาก็ทำให้เจ้าชายเป็นแค่วัตถุทางเพศเท่านั้น ไม่ใช่รางวัลที่หญิงทุกคนปรารถนา และน่าเสียดายที่ลึกๆ แล้วคุณเองก็มีความคิดว่าเจ้าชายเป็นรางวัล เพียงเพราะแค่เป็นเจ้าชายและรูปงามเท่านั้น

ผู้หญิงในโลกของความเป็นจริงไม่ได้ตัดสินใจแต่งงานด้วยเหตุผลนี้แน่นอนค่ะ

ถ้าคุณใช้ฉบับกริมม์คุณจะเห็นว่าเจ้าหญิงไม่ได้รีบตกลงแต่งงานกับเจ้าชายเพราะเจ้าชายหล่อแต่ according to her father's will ประโยคนี้บอกว่าเป็นความประสงค์ของพ่อเธอค่ะ

ผิดพลาดอย่างไรก็ขอโทษนะคะ อยากแลกเปลี่ยนตามประสาคนชอบเทพนิยาย

 

ส่วนที่สอง
Brothers Grimm
The Frog Prince

One fine evening a young princess put on her bonnet and clogs, and went out to take a walk by herself in a wood; and when she came to a cool spring of water with a rose in the middle of it, she sat herself down to rest a while. Now she had a golden ball in her hand, which was her favourite plaything; and she was always tossing it up into the air, and catching it again as it fell.

After a time she threw it up so high that she missed catching it as it fell; and the ball bounded away, and rolled along on the ground, until at last it fell down into the spring. The princess looked into the spring after her ball, but it was very deep, so deep that she could not see the bottom of it. She began to cry, and said, 'Alas! if I could only get my ball again, I would give all my fine clothes and jewels, and everything that I have in the world.'

Whilst she was speaking, a frog put its head out of the water, and said, 'Princess, why do you weep so bitterly?'

'Alas!' said she, 'what can you do for me, you nasty frog? My golden ball has fallen into the spring.'

The frog said, 'I do not want your pearls, and jewels, and fine clothes; but if you will love me, and let me live with you and eat from off your golden plate, and sleep on your bed, I will bring you your ball again.'

'What nonsense,' thought the princess, 'this silly frog is talking! He can never even get out of the spring to visit me, though he may be able to get my ball for me, and therefore I will tell him he shall have what he asks.'

So she said to the frog, 'Well, if you will bring me my ball, I will do all you ask.'
Then the frog put his head down, and dived deep under the water; and after a little while he came up again, with the ball in his mouth, and threw it on the edge of the spring.
As soon as the young princess saw her ball, she ran to pick it up; and she was so overjoyed to have it in her hand again, that she never thought of the frog, but ran home with it as fast as she could.

The frog called after her, 'Stay, princess, and take me with you as you said,'
But she did not stop to hear a word.

The next day, just as the princess had sat down to dinner, she heard a strange noise - tap, tap - plash, plash - as if something was coming up the marble staircase, and soon afterwards there was a gentle knock at the door, and a little voice cried out and said:

'Open the door, my princess dear,
Open the door to thy true love here!
And mind the words that thou and I said
By the fountain cool, in the greenwood shade.'

Then the princess ran to the door and opened it, and there she saw the frog, whom she had quite forgotten. At this sight she was sadly frightened, and shutting the door as fast as she could came back to her seat.
The king, her father, seeing that something had frightened her, asked her what was the matter.

'There is a nasty frog,' said she, 'at the door, that lifted my ball for me out of the spring this morning. I told him that he should live with me here, thinking that he could never get out of the spring; but there he is at the door, and he wants to come in.'
While she was speaking the frog knocked again at the door, and said:

'Open the door, my princess dear,
Open the door to thy true love here!
And mind the words that thou and I said
By the fountain cool, in the greenwood shade.'

Then the king said to the young princess, 'As you have given your word you must keep it; so go and let him in.'

She did so, and the frog hopped into the room, and then straight on - tap, tap - plash, plash - from the bottom of the room to the top, till he came up close to the table where the princess sat.

'Pray lift me upon chair,' said he to the princess, 'and let me sit next to you.'
As soon as she had done this, the frog said, 'Put your plate nearer to me, that I may eat out of it.'

This she did, and when he had eaten as much as he could, he said, 'Now I am tired; carry me upstairs, and put me into your bed.' And the princess, though very unwilling, took him up in her hand, and put him upon the pillow of her own bed, where he slept all night long.

As soon as it was light the frog jumped up, hopped downstairs, and went out of the house.
'Now, then,' thought the princess, 'at last he is gone, and I shall be troubled with him no more.'

But she was mistaken; for when night came again she heard the same tapping at the door; and the frog came once more, and said:

'Open the door, my princess dear,
Open the door to thy true love here!
And mind the words that thou and I said
By the fountain cool, in the greenwood shade.'


And when the princess opened the door the frog came in, and slept upon her pillow as before, till the morning broke. And the third night he did the same. But when the princess awoke on the following morning she was astonished to see, instead of the frog, a handsome prince, gazing on her with the most beautiful eyes she had ever seen and standing at the head of her bed.

He told her that he had been enchanted by a spiteful fairy, who had changed him into a frog; and that he had been fated so to abide till some princess should take him out of the spring, and let him eat from her plate, and sleep upon her bed for three nights.
'You,' said the prince, 'have broken his cruel charm, and now I have nothing to wish for but that you should go with me into my father's kingdom, where I will marry you, and love you as long as you live.'

The young princess, you may be sure, was not long in saying 'Yes' to all this; and as they spoke a brightly coloured coach drove up, with eight beautiful horses, decked with plumes of feathers and a golden harness; and behind the coach rode the prince's servant, faithful Heinrich, who had bewailed the misfortunes of his dear master during his enchantment so long and so bitterly, that his heart had well-nigh burst.

They then took leave of the king, and got into the coach with eight horses, and all set out, full of joy and merriment, for the prince's kingdom, which they reached safely; and there they lived happily a great many years.

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน
I webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 400 เรื่อง หนากว่า 4500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




หลังจากนี้ การอ่านวรรณกรรมหรือเทพนิยายเรื่องใดก็ตาม อาจต้องพินิจพิเคราะห์มากขึ้นเพราะโลกเราไม่เสมอภาคกัน
เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com

Brothers Grimm
The Frog Prince

One fine evening a young princess put on her bonnet and clogs, and went out to take a walk by herself in a wood; and when she came to a cool spring of water with a rose in the middle of it, she sat herself down to rest a while. Now she had a golden ball in her hand, which was her favourite plaything; and she was always tossing it up into the air, and catching it again as it fell.

After a time she threw it up so high that she missed catching it as it fell; and the ball bounded away, and rolled along on the ground, until at last it fell down into the spring. The princess looked into the spring after her ball, but it was very deep, so deep that she could not see the bottom of it. She began to cry, and said, 'Alas! if I could only get my ball again, I would give all my fine clothes and jewels, and everything that I have in the world.'

(อ่านข้อความทั้งหมดใน"ส่วนที่สอง")

บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่า ในแต่ละตอน Grimm พยายามใช้ภาษาเพื่อทำให้ตัวละครชาย ซึ่งได้แก่ กบ เจ้าชาย และพ่อของเจ้าหญิงมีอำนาจ

ไม่เพียงแต่เจ้าหญิงจะสูญเสียอำนาจตอนจบของเทพนิยาย แต่เธอต้องสูญเสียอิสระเช่นกัน นั่นคือทันทีที่เจ้าชายเป็นอิสระ เจ้าหญิงกลับสูญเสียอิสระของตนเองเพราะว่าเธอ "ต้องการ" และ "ต้อง" แต่งงานกับเจ้าชาย และแน่นอนสำหรับฝ่ายหญิงแล้ว โดยส่วนมากการแต่งงานหมายถึงการสูญเสียอิสระ มองโดยเผินๆ แล้วเรื่องเจ้าชายกบในบทแปลของ Grimm อาจจะเป็นเรื่องโรแมนติกของเทพนิยายทั่วๆ ไป แต่แท้จริงแล้วภาษาที่ Grimm ใช้แฝงไว้ซึ่งอำนาจของชาย