มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้

midnight2545(at)yahoo.com

บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 403 หัวเรื่อง
กฎหมายแก้ปัญหาความยากจน
พิเชษฐ เมาลานนท์
มหาวิทยาลัยนีกาตะ
ประเทศญี่ปุ่น


R
relate topic
110647
release date
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
H
บทความแนะนำสถาบันปฏิรูประบบวัฒนธรรม และความเป็นธรรมทางสังคม
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ


การใช้กฎหมายมาแก้ปัญหาความยากจน
ทั่วโลกเขียนกฎหมายแก้ความยากจนกันอย่างไร
พิเชษฐ เมาลานนท์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนีกาตะ ประเทศญี่ปุ่น

หมายเหตุ :
บทความชิ้นนี้ประกอบด้วย ๒ ส่วน
๑. แนะนำ
สถาบันส่งเสริมการปฏิรูประบบยุติธรรมและความเป็นธรรมทางสังคม
๒. ชาติต่าง ๆ ในโลกเขียนกฎหมายแก้ความยากจนกันอย่างไร

(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)

 

๑. โครงการก่อตั้ง "สถาบันส่งเสริมการปฏิรูประบบยุติธรรมและความเป็นธรรมทางสังคม" (สปรย.)
ความยากจน กับกฎหมาย: ความยากจนก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่ผู้คนทั้งแผ่นดิน และเชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ เช่น ความอยุติธรรม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโสเภณี ยาเสพติด โรคเอดส์ การใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมและยั่งยืน ระบบการศึกษา ระบบกฎหมาย และการเสียเปรียบต่างชาติ เป็นต้น ถ้าแก้ปัญหาความยากจนได้ ก็จะแก้ปัญหาอื่น ๆ พร้อมกันไปเกือบหมดทุกอย่าง การเอาชนะความยากจนจึงเป็นวาระแห่งชาติที่สังคมทั้งปวงควรจะเข้ามาร่วมกันเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขให้ได้

ปัญหาความยากจน ปัญหาคนจนเป็นปัญหาที่กว้างและซับซ้อนกว่าเรื่องเงิน เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและเรื่องต่าง ๆ ที่ทำให้คน "อับจน" ไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว

โครงสร้างกฎหมายทำให้คนจนเสียเปรียบ ให้อำนาจและโอกาสกับคนรวยและรัฐที่จะทำกับคนจนมากกว่า รัฐเอาสิทธิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนไปเป็นของรัฐ เอาสิทธิของคนส่วนใหญ่ไปให้กับคนส่วนน้อย
(ประเวศ วะสี, ยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะความยากจน, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, สิงหาคม, ๒๕๔๕)

จำต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม: การปฏิรูประบบยุติธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงและความเป็นธรรมในสังคม เป็นงานที่ต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมาก เพราะไม่ใช่เพียงแค่การปฏิรูปกฎหมายเท่านั้น หากยังรวมไปถึงการปฏิรูป กลไก ระบบ และกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งล้วนรอการแก้ไขปรับปรุงอีกด้วย ดังนั้น การดำเนินงานจึงต้องทำอย่างเป็นขบวนการ (Movements)

ภารกิจดังกล่าวจะต้องมีสถาบันหรือองค์กรที่ทำเรื่องนี้โดยตรง:
- มีอิสระ
- มีศักยภาพอย่างสูงในการจัดการความรู้
- เชื่อมโยงกระบวนการเชิงนโยบาย
- มีกระบวนการเคลื่อนไหวสังคมอย่างมีพลังเข้ามาเสริมตลอดเวลา จึงต้องมีเครือข่ายการทำงานที่กว้างขวางและมีพลังเป็นฐานในการขับเคลื่อนภารกิจ

ในระยะเฉพาะหน้านี้ ยังไม่มีความจำเป็นจะต้องรีบร้อนในการจัดตั้งสถาบันฯ "สปรย." อย่างเป็นกิจจะลักษณะให้เกิดความถาวรตายตัวแต่อย่างใด

การจัดองค์กรใน รูปแบบโครงการ ที่มีวัตถุประสงค์ เป้าหมายและระยะเวลาโครงการที่แน่นอน เพื่อดำเนินงานในระยะเตรียมการก่อตั้งสถาบัน จึงเป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่มีความยืดหยุ่นตัวสูงกว่า

ต่อเมื่อมีความถึงพร้อมด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในด้านองค์ความรู้ เครือข่ายสนับสนุน และกระแสความตื่นตัวของสังคม เมื่อนั้น การก่อตั้งสถาบันจะมีความมั่นคง และสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว

วัตถุประสงค์:
1. ส่งเสริมกระบวน การศึกษา และ สร้างนวัตกรรมกฎหมาย เฉพาะเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน
2. ส่งเสริมกระบวนการศึกษาและพัฒนารูปแบบวิธีการ ในการ ใช้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ และ กฎหมายที่มีอยู่ เพื่อปฏิรูปกลไกระบบยุติธรรม และกลไกงานพัฒนาของ ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ให้เอื้อต่อการแก้ปัญหาความยากจน
3. เตรียมการจัดตั้ง "สถาบัน" เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกการทำงาน ที่สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมการปฏิรูประบบยุติธรรม เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงและความเป็นธรรมในสังคมในระยะยาว

หลักการทำงานของ สปรย. ๓ ประการ:
1. ใช้การเคลื่อนไหวทาง ปัญญาและสันติวิธี
2. เดินแนวทาง สายกลางทางการเมือง (มัชฌิมาปฏิปทา) ไม่สุดโต่ง ไม่แบ่งขั้ว - แยกฝ่าย
3. ยึดหลัก "มีเหตุผล-ได้ประโยชน์-รู้ประมาณ" และเป็นไป เพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น

แนวทางหลักการขับเคลื่อน ๒ แนวทาง:
1. มุ่งใช้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่มีอยู่ เพื่อปฏิรูปกลไกยุติธรรมและการพัฒนาทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาความยากจน
2. มุ่งสร้างนวัตกรรมกฎหมายเฉพาะขึ้นใหม่ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

๒. ชาติต่าง ๆ ในโลกเขียนกฎหมายแก้ความยากจนกันอย่างไร
แหล่งข้อมูล: International Center for Law in Development (ICLD)
United Nation Plaza, New York
ผู้เรียบเรียง: พิเชษฐ เมาลานนท์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนีกาตะ (ญี่ปุ่น)
พรทิพย์ อภิสิทธิวาสนา / นิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์
สำนักวิจัยกฎหมายไทยกับการพัฒนา (TLD-RI)

ICLD เป็นองค์กรระหว่างประเทศ บริหารงานโดยนักกฎหมายโลกที่สาม เพื่อประสานงานเครือข่ายองค์กรทั่วโลก ในการทำงานวิจัยและเคลื่อนไหว ในด้านการใช้กฎหมายภายในบริบทการพัฒนาโลกที่สาม ให้เอื้อประโยชน์ต่อคนยากคนจน และคนด้อยโอกาส โดยยึดหลักการประชาธิปไตย ในแนวทางสหประชาชาติ เหตุนี้ ICLD จึงเป็นองค์กรที่ให้ข้อมูลได้ดีที่สุดว่า ชาติต่าง ๆ ในโลกเขียนกฎหมายแก้ความยากจนกันอย่างไร

1. ใช้วิธีเขียน Poverty Law ฉบับเดียว: ประเทศที่ใช้วิธีนี้ มีแต่ประเทศตะวันตก เช่น อังกฤษ และสแกนดิเนเวีย ส่วนการสอนวิชา Poverty Law ก็มีมากใน American Law School ขณะที่โลกที่สามมักไม่มีกฎหมายเรื่องความยากจนฉบับเดียว และไม่สอนเรื่องนี้ในมหาวิทยาลัย

2. ใช้วิธีเขียนกฎหมายแต่ละฉบับแยกกัน: ประเทศโลกที่สามส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศตะวันตกหลายชาติใช้วิธีนี้ แต่ต้องประกอบกับการปฏิรูปกฎหมายทั้งระบบให้เอื้อประโยชน์กับคนจนด้วย เช่น การสร้างการรับรู้และการตระหนักถึงปัญหาความยากจนโดยผ่านกระบวนการ Human Rights Education เป็นต้น

3. ใช้วิธีให้นักกฎหมายร่วมงานกับนักเศรษฐศาสตร์: ขณะนี้มีโลกที่สามบางชาติไม่เริ่มต้นจากการแก้กฎหมาย แต่พยายามเริ่มจาก Macroeconomic Reform เพื่อสร้าง Pro-Poor Macroeconomic Policy แล้วนักกฎหมายจึงเข้ามาต่อสู้แก้ไขกฎหมาย ให้ตรงกับนโยบายเศรษฐกิจเพื่อคนจนดังกล่าว

4. ใช้วิธีคุมการกำหนดงบประมาณที่รัฐสภาให้ Pro-Poor: วิธีนี้คือการคุมการจัดสรรงบประมาณในด้านต่าง ๆ โดยถือหลักว่า ทุก ๆ ปี คุณภาพชีวิตของคนยากจนจะต้องพัฒนาขึ้น วิธีการนี้ต้องมีการเก็บข้อมูลสถิติและตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทหลักในการบริหารงานสถิติเพื่อให้ได้ตัวเลขที่ไม่เอนเอียงเข้าข้างรัฐบาล จากหลักการ Progressive Quality of Life ทำให้สามารถคุมงบประมาณได้ว่า ถ้าคุณภาพชีวิตด้านใดตกลงไปเมื่อปีที่แล้ว งบประมาณเพื่อคุณภาพชีวิตด้านนั้นในปีต่อไปจะต้องเพิ่มขึ้น

5. ใช้วิธี Social Action Litigation: วิธีนี้หมายถึง การไม่ยึดติดกับการแก้ปัญหาสังคมโดยไปศาล ดังที่นิยมกันในประเทศตะวันตก แต่ใช้ความคิดเรื่อง "การร้องทุกข์" โดยออกกฎหมายกำหนดวิธีให้ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางสังคม เขียนจดหมายร้องทุกข์ถึงศาลฎีกา ว่าต้องประสบปัญหาความไม่เป็นธรรมอย่างไร ซึ่งศาลฎีกาก็จะตั้งอนุกรรมการขึ้นมาจากคนหลายฝ่าย (ประชาสังคม-ผู้พิพากษา-ข้าราชการ เป็นต้น) เพื่อให้พิจารณาว่าคำร้องทุกข์นั้นมีมูลความจริงเพียงใด ถ้าพบว่ามีมูลความจริง ก็ถือว่าเป็นการฟ้องคดีต่อศาล และมีการพิจารณาคดีต่อไป แต่ใช้วิธีพิจารณารวดเร็ว โดยไม่ผ่านขบวนการปกติทั้งสามศาล เพราะถือว่า ความไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะต่อคนกลุ่มใหญ่ และไร้อำนาจทางการเมืองและการเงิน เป็นสิ่งเร่งด่วนที่ศาลฎีกาจะต้องเข้ามาดูแลให้จบลงโดยเร็ว

6. ใช้วิธี Charter on Justice for the Poor: วิธีนี้ไม่เริ่มต้นจากการเขียนกฎหมาย แต่เป็นการให้เวทีสาธารณะร่วมกันออก "ธรรมนูญเพื่อความเป็นธรรมสำหรับคนยากจน" เพื่อใช้เผยแพร่ให้คนยอมรับทั้งประเทศ และหลังจากนั้นก็จะถือธรรมนูญนี้เป็นเสมือนหางเสือ (นโยบาย) ในการแก้ไขกฎหมายเดิม หรือออกกฎหมายใหม่

เวทีนโยบายสาธารณะเพื่อเอาชนะความยากจน ของ อ. ประเวศ วะสี
(ครั้งที่ ๓ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๓ พค. ๒๕๔๖ ณ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน
I webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 400 เรื่อง หนากว่า 4500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




บทความเกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรม และเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในสังคมไทย
เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
ความยากจนก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่ผู้คนทั้งแผ่นดิน และเชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ เช่น ความอยุติธรรม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโสเภณี ยาเสพติด โรคเอดส์ การใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมและยั่งยืน ระบบการศึกษา ระบบกฎหมาย และการเสียเปรียบต่างชาติ เป็นต้น ถ้าแก้ปัญหาความยากจนได้ ก็จะแก้ปัญหาอื่น ๆ พร้อมกันไปเกือบหมดทุกอย่าง การเอาชนะความยากจนจึงเป็นวาระแห่งชาติที่สังคมทั้งปวงควรจะเข้ามาร่วมกันเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขให้ได้

ปัญหาความยากจน ปัญหาคนจนเป็นปัญหาที่กว้างและซับซ้อนกว่าเรื่องเงิน เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและเรื่องต่าง ๆ ที่ทำให้คน "อับจน" ไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว
โครงสร้างกฎหมายทำให้คนจนเสียเปรียบ ให้อำนาจและโอกาสกับคนรวยและรัฐที่จะทำกับคนจนมากกว่า รัฐเอาสิทธิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนไปเป็นของรัฐ เอาสิทธิของคนส่วนใหญ่ไปให้กับคนส่วนน้อย
(ประเวศ วะสี, ยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะความยากจน, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, สิงหาคม, ๒๕๔๕)

จำต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม: การปฏิรูประบบยุติธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงและความเป็นธรรมในสังคม เป็นงานที่ต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมาก เพราะไม่ใช่เพียงแค่การปฏิรูปกฎหมายเท่านั้น หากยังรวมไปถึงการปฏิรูป กลไก ระบบ และกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งล้วนรอการแก้ไขปรับปรุงอีกด้วย ดังนั้น การดำเนินงานจึงต้องทำอย่างเป็นขบวนการ (Movements)

ความยากจนก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่ผู้คนทั้งแผ่นดิน และเชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ เช่น ความอยุติธรรม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโสเภณี ยาเสพติด
ICLD เป็นองค์กรระหว่างประเทศ บริหารงานโดยนักกฎหมายโลกที่สาม เพื่อประสานงานเครือข่ายองค์กรทั่วโลก ในการทำงานวิจัยและเคลื่อนไหว ในด้านการใช้กฎหมายภายในบริบทการพัฒนาโลกที่สาม ให้เอื้อประโยชน์ต่อคนยากคนจน และคนด้อยโอกาส โดยยึดหลักการประชาธิปไตย ในแนวทางสหประชาชาติ เหตุนี้ ICLD จึงเป็นองค์กรที่ให้ข้อมูลได้ดีที่สุดว่า ชาติต่าง ๆ ในโลกเขียนกฎหมายแก้ความยากจนกันอย่างไร
(พิเชษฐ เมาลานนท์ : มหาวิทยาลัยนีกาตะ ประเทศญี่ปุ่น)