2
0
0
4
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 385 หัวเรื่อง
สื่อและผลกระทบที่มีต่อสังคม
สมเกียรติ
ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่
เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ
font ลง
จะแก้ปัญหาได้midnightuniv(at)yahoo.com
สื่อและผลกระทบที่มีต่อสังคม
ดูละครแล้วย้อนดูตัว จากอริสโตเติลถึงเบรคท
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความชิ้นนี้แปลมาจากหนังสือเรื่อง Media and Society
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Michael O' Shaughessy และ Jane Stadler
สำนักพิมพ์ Oxford University Press ปีที่พิมพ์ 2002
(ในส่วนของ Part 3,
Chapter 11 เรื่อง Joseph Cambell and Carl Jung หน้า 157-162)
(บทความนี้ยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)
ความนำ : ทำไมเราจึงดูการเล่าเรื่องของสื่อ (Why Watch Narratives?)
ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา"ดูละครแล้วย้อนดูตัว"ดังชื่อบทความชิ้นนี้
เราต้องการที่จะยกเอาคำถามกว้างๆอันหนึ่งขึ้นมา: อันดับแรก
ทำไมเราจึงดูการเล่าเรื่องของภาพยนตร์และโทรทัศน์?
อะไรคือสิ่งที่เราได้จากประสบการณ์เหล่านี้?
คำถามดังกล่าวอาจขยายให้กว้างขึ้นอีกโดยการถามว่า ทำไมเราจึงอ่านหนังสือ หรือดูละคร หรือว่าทำไมเราจึงดูผลงานศิลปะ? คำถามเก่าๆที่ว่า เรามีเจตจำนงเสรี(free will)หรือไม่? การกระทำต่างๆและทางเลือกของพวกเรา ได้ถูกกำหนดในเชิงจิตวิทยาหรือเปล่า? พวกมันเป็นผลผลิตของพลังทางสังคมหรือเปล่า? - อันนี้คือคำถามใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ได้ก่อกำเนิดผลงานทางทฤษฎีต่างๆขึ้นมามากมาย และคุ้มค่าที่จะใช้เวลาสั้นๆพิจารณาถึงคำถามทั้งหลายข้างต้นในที่นี้
คำตอบทั้งหมดซึ่งง่ายที่สุดต่อคำถามดังกล่าวที่ยกมาก็คือ เราได้รับความพึงพอใจจากการดูและการอ่านสื่อต่างๆที่มาเล่าเรื่องทั้งหลายให้เราฟัง แต่ทว่าเราให้นิยามความหมายความพึงพอใจอันนี้อย่างไร และความแตกต่างของความพึงพอใจชนิดใดบ้างที่ถูกนำไปเกี่ยวข้องถึง?
ภาพยนตร์และโทรทัศน์ อย่างน้อยที่สุด ได้สร้างการโต้ตอบและขานรับสองชนิดด้วยกันคือ การโต้ตอบทางอารมณ์ความรู้สึกและการโต้ตอบทางสติปัญญา. พวกมันมีผลระทบต่างๆต่อเรา: การหัวเราะ, ความเศร้า, ความกลัว, ความตื่นเต้น, และอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์เป็นสื่อหนึ่งซึ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายใน(visceral medium) ทำให้เราขนลุก และจบลงด้วยความกลัว ทำให้เราร่ำไห้หรือหลั่งน้ำตา, ทำให้เราหัวเราะจนท้องแข็ง, มีปฏิกริยาต่อไส้พุงของเรา, หรือกระทั่งการตื่นตัวทางเพศ, และสิ่งเหล่านี้ได้แปลไปสู่ความรู้สึกต่างๆทางอารมณ์
ความรู้สึกพึงพอใจได้รับการคลุกเคล้าโดยรูปแบบต่างๆทางสุนทรียภาพของเรื่องราว: กล่าวอีกนัยหนึ่ง มันคือวิธีการที่สิ่งต่างๆได้ถูกนำเสนอเพื่อนำมาซึ่งความพึงพอใจนั่นเอง
รูปแบบการเล่าเรื่องง่ายๆ กระบวนการและโครงสร้างซึ่งอธิบายมาข้างต้น สามารถที่จะให้ประสบการณ์การดูที่สร้างความพออกพอใจที่เข้มข้นอันหนึ่งขึ้นมา กล่าวคือ มันทำให้เราเกาะติดกับเรื่องราวของความขัดแย้ง และการคลี่คลายเมื่อปัญหาอันนั้นได้รับการแก้ไข
ขณะที่การขานรับทางร่างกายและอารมณ์ได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนเรื่องราว ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับเรื่องราวนั้นและความพึงพอใจ ซึ่งเราได้รับมาจากความเข้าใจนี้ ขึ้นอยู่กับการขานรับทางสติปัญญาของเรา
เรื่องราวต่างๆ ยินยอมให้เราได้พบเห็นลำดับการอันกว้างขวางของตัวละครที่เป็นมนุษย์ทั้งหลาย และได้ประสบการณ์ข้ามโลก พวกมันยังยอมให้เราฝึกฝนจินตนาการต่างๆของเราด้วย ลำดับการของเรื่องราวได้ช่วยเรื่องประสบการณ์ต่างๆของตัวเราเอง ซึ่งในเวลาเดียวกันพวกมันก็มักไปเชื่อมโยงกับบางสิ่งบางอย่างที่พูดถึงเกี่ยวกับโลกของเราด้วย คล้ายๆกับชาดกต่างๆที่มันมีเรื่องของศีลธรรมจรรยา หรือประเด็นบางอย่าง อันนี้เสนอว่าส่วนหนึ่งของความพึงพอใจที่เราได้มากับเรื่องราวเหล่านี้ เรารับมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า "เราเรียนรู้จากมัน" นั่นเอง
เรื่องราวที่แต่งขึ้นและความเป็นจริง (Fictions and Reality)
ตัวละครต่างๆที่เสกสรรค์ขึ้นในจินตนาการ, สถานที่ที่สร้างขึ้นมา,
และเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น -
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสนใจที่แท้จริงกับประเด็นปัญหาอันหลากหลายและมีความสัมพันธ์กับ
ประวัติศาสตร์, เงื่อนไขต่างๆทางสังคม, และภาวะทางอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ
แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องที่แต่งขึ้นและจินตนาการเฟื่องฝันของเนื้อหา
ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลจากกาลเวลาและสถานที่ในปัจจุบันและเรื่องราวที่เป็นอยู่
เรื่องที่แต่งขึ้นทุกเรื่องก็เกี่ยวข้องกับความสนใจที่สัมพันธ์กับโลกที่เป็นจริงด้วย
เรื่องที่เสกสรรค์ขึ้นมาทั้งหลาย เป็นวิธีการต่างๆของการสำรวจถึงประเด็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับผู้คนในชีวิตจริง คำถามคือว่า เรื่องราวที่แต่งขึ้น, ลักษณะที่ไม่เป็นจริงต่างๆ สิ่งเหล่านี้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริงอย่างไร?
ประการแรก, เรื่องราวต่างๆเกือบทุกเรื่องเกี่ยวกับข้องกับตัวละครหลายๆตัว ปกติแล้ว ตัวละครเหล่านี้เป็นมนุษย์ แต่บางครั้งบางคราวตัวละครเหล่านี้คือสิ่งมีชีวิตที่ลึกลับ, เป็นสัตว์, หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่สร้างขึ้น
ประการที่สอง, เรื่องราวที่แต่งขึ้นจำนวนมากเกี่ยวโยงกับสถานที่ อันที่จริง บางเรื่องได้รับการกำหนดให้เกิดขึ้นในสถานที่ที่มีอยู่จริง เช่น ลอนดอน, ซาน ฟรานซิสโก, ซิดนีย์, เป็นต้น ส่วนบางเรื่องได้ถูกจัดสร้างขึ้นมาเป็นสถานที่ที่เสกสรรค์ขึ้นมาภายในพื้นที่จริง เช่น เมืองซิซิลีในอลาสก้าของเรื่อง Northern Exposure: และบางเรื่องอาจได้มีการกำหนดขึ้นให้มีสถานที่ที่อยู่นอกโลกไปเลยดังที่เรารู้กัน คือในเรื่องราวนวนิยายวิทยาศาสตร์, เรื่องราวในความฝัน, หรือโลกแห่งจินตนาการอันเพ้อฝัน
เรื่องเล่าต่างๆมักจะถูกทำให้สัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวในประวัติศาสตร์ และความเป็นไปของสังคมเกี่ยวกับช่วงนั้นของพวกมัน ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ออสเตรเลียหลายเรื่องที่สร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970s และ 1990s ซึ่งมองย้อนกลับไปยังอดีตของออสเตรเลีย เป็นผลผลิตของความสนใจในช่วงทศวรรษที่ 1970 s และ 1990s และในบางหนทาง พวกมันได้สะท้อนเอาความผูกพันและความเอาใจใส่ต่างๆเหล่านั้น
ภาพยนตร์เรื่อง My Brillant Career, เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆของนักเรียกร้องสิทธิสตรีอย่างเด่นชัดในปี ค.ศ.1900, มันกระตุ้นและสะท้อนถึงความสนใจต่างๆเกี่ยวกับบรรดานักเรียกร้องสิทธิสตรีออสเตรเลียนในช่วงทศวรรษที่ 1970s
เรื่องที่แต่งขึ้นทั้งหลายสามารถได้รับการนำไปเปรียบเทียบกับความฝันต่างๆได้ ตามความคิดของฟรอยด์และบรรดานักคิดจิตวิเคราะห์คนอื่นๆ (Freud 1976: Ullman และ Zimmerman 1979), ความฝันทั้งหลายคือสารต่างๆ(messages)เกี่ยวกับตัวตนของชีวิตจริงทั้งหลาย(real-life selves)นั่นเอง
เรื่องที่แต่งขึ้นทั้งหลายยังเป็นสาร(message)เกี่ยวกับโลกของเราด้วย (หรือเกี่ยวกับโลกของผู้ประพันธ์เรื่องราวดังกล่าว) บรรดานักสร้างสรรค์ทั้งหลายใช้เรื่องที่แต่งขึ้นในฐานะที่เป็นช่องทางหนึ่งของการพูดถึงประเด็นปัญหามากมายที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาในชีวิตจริง ในวิธีการนี้ ข้อมูลที่แต่งขึ้นมาต่างๆและโลกของความเป็นจริงจึงถูกนำมาเชื่อมโยงกันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ พวกเราเรียกความเชื่อมโยงกันนี้ว่า ความเชื่อมโยงในโลกของสื่อ(media-world connection)
ความพึงพอใจของเราในการดู, การอ่าน, หรือการฟังเรื่องราวที่แต่งขึ้น บางส่วนได้รับมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เราเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจากการกระทำเช่นนั้น; เราบรรลุถึงความประจักษ์แจ้งและความเข้าใจในผู้คนและสังคมว่ามันทำงานกันอย่างไร ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญอันหนึ่งระหว่าง เรื่องที่เสกสรรค์ขึ้นและเรื่องจริง, ระหว่างข้อมูลเรื่องราวและสังคม(texts and society)
เราได้แสดงถึงสิ่งนี้ไปแล้วในการสนทนาเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวตะวันตก(หนังคาวบอย) และภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องบนท้องถนน(road movie) ในฐานะที่เป็นแนวต่างๆเกี่ยวกับการสำรวจวัฒนธรรมอเมริกัน แนวภาพยนตร์เหล่านี้ทำงานโดยผ่านความตรงข้ามกันต่างๆระหว่าง"อิสรภาพ"กับ"ระเบียบวินัย", และระหว่าง"ความอ้างว้าง"และ"อารยธรรม" มันยินยอมให้อเมริกา"พูดกับตัวเอง"เกี่ยวกับตัวของมันเอง("talk to itself" about itself)
เราได้แสดงถึงสิ่งนี้ในการสนทนาเกี่ยวกับการนำเสนอเรื่องของภาพยนตร์แนวคู่หู, แนวครอบครัว, และการแสดงออกทางเพศ, หัวข้อหรือเรื่องราวต่างๆที่โดดเด่นในการดำเนินเรื่องมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์แนวสะเทือนอารมณ์หรือภาพยนตร์แนว melodrama เป็นการสำรวจถึงภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของผู้คนที่ว่า พวกเขาควรจะดำเนินรอยตามความปรารถนาส่วนตัวของพวกเขาเอง หรือปฏิบัติตามคำเรียกร้องของครอบครัว และตามความรับผิดชอบต่างๆที่มีต่อสังคม อันนี้ไม่รู้ว่าจะเลือกเอาทางไหนดี
แม้แต่เมื่อเราหันไปยังเรื่องราวต่างๆซึ่ง ในบางความหมาย เป็นเรื่องของความเพ้อฝันและไม่จริง - ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวอภินิหาร, ตำนาน, เทพนิยาย, นวนิยายวิทยาศาสตร์, เราสามารถเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้กับความจริงภายในหรือความจริงทางใจได้
Robert Johnson รายงานว่า เด็กนักเรียนคนหนึ่งได้ให้นิยามความหมายเกี่ยวกับเรื่องราวอภินิหารต่างๆดังนี้ คือ เรื่องราวอภินิหารเป็น "บางสิ่งบางอย่างที่เป็นเรื่องจริงภายใน แต่ไม่จริงภายนอก" (Johnson 1987, p.2). เรื่องราวอภินิหารอันหนึ่งเป็นจริง: มันไม่จริงเมื่ออยู่ภายนอก, ในความรู้ที่เป็นจริงทางกายภาพ แต่มันคือการแสดงออกที่ถูกต้องแม่นยำของภาวการณ์ทางจิตวิทยา, เกี่ยวกับสภาพเงื่อนไขภายในของจิตใจ
ในทำนองเดียวกัน Bruno Bettelheim ให้เหตุผลว่า เด็กๆรู้ว่าเทพนิยายต่างๆไม่ใช่เรื่องจริง แต่พวกเขายอมรับมันในบางระดับว่า เรื่องราวเหล่านี้เป็นความจริงภายใน เป็นความจริงของมนุษย์ ซึ่งพวกเขาต้องการที่จะเรียนรู้เพื่อช่วยให้ตัวพวกเขาเองเติบโตขึ้นมาอย่างมีความสุข: "เด็กๆเข้าใจโดยสัญชาตญาน แม้ว่าเรื่องราวเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องจริงก็ตาม พวกมันมันไม่ใช่ความจริง; ขณะที่เรื่องราวทั้งหลายเหล่านี้พูดเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริง แต่มันจะต้องเกิดขึ้นในฐานะประสบการณ์ภายใน และในฐานะที่เป็นพัฒนาการส่วนตัว (Bettelheim 1978, p.73)
ขอให้เราสำรวจกันต่อไปว่า เรื่องราวที่แต่งขึ้นมามันทำงานอย่างไร โดยการมองไปยังทฤษฎีต่างๆที่มุ่งหมายจะทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการเกี่ยวกับ การดู / การอ่าน / และการฟัง
อริสโตเติลและการระบายอารมณ์
(Aristotle and Catharsis)
แบบจำลองคลาสสิคเกี่ยวกับว่า
มีอะไรเกิดขึ้นบ้างกับใครคนหนึ่งซึ่งกำลังบริโภคข้อมูลหรือเรื่องราวที่แต่งขึ้น
ซึ่งถูกพบได้ในการวิเคราะห์ของอริสโตเติลเกี่ยวกับละครโศกนาฏกรรมของกรีก.
อริสโตเติลเสนอว่า ประสบการณ์ดังกล่าวยอมให้ผู้คนรู้สึกทางอารมณ์อย่างรุนแรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกลัวและความสยองขวัญ ซึ่งถูกปลุกเร้าโดยเรื่องราวอันนั้น
และในตอนจบได้ประสบกับการะบายอารมณ์ต่างๆเหล่านี้ในช่วงขณะที่เรียกว่า catharsis
หรือ การปลดปล่อยอารมณ์ (emotional release)(Wellek and Warren 1976, p.36;
Benjamin 1977, p.38)
บรรดาผู้ชมทั้งหลายได้มีประสบการณ์กับความรู้สึกต่างๆ และรู้สึกถึงภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของตัวละครทั้งหลาย โดยผ่านการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตัวละครเหล่านั้น พวกเขาสามารถเข้าใจสถานการณ์รุนแรงต่างๆ ซึ่งพวกเขาไม่เคยมีประสบการณ์ในชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา
ในฐานะคนดูที่ประสบกับเหตุการณ์ดังกล่าว และเนื่องด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงเริ่มเข้าใจโลกที่อาศัยอยู่โดยตัวละครทั้งหลาย พวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับมัน และความเข้าอกเข้าใจอันนี้ทำให้พวกเขาเติบโตและพัฒนาขึ้นในฐานะที่เป็นมนุษย์. "หน้าที่ของวรรณคดี จะต้องปลดปล่อยหรือคลายเรา จากความกดดันทางอารมณ์"( Wellek and Warren 1976, p.36)
บทบาทหน้าที่ของละครตลก
ความคิดความเชื่อที่ว่า
ข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆมารับใช้เพื่อปลดปล่อยอารมณ์ที่ถูกข่มระงับ(pent-up
emotions)ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับหัสนาฏกรรมหรือเรื่องตลกด้วย.
นักทฤษฎีบางคนให้เหตุผลว่า ในบรรยากาศของการปลดปล่อย,
การหัวเราะกระทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นการผ่อนคลายลิ้นปิดเปิดอันหนึ่ง และด้วยเหตุนี้
มันจึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่อนคลายอารมณ์
การหัวเราะกำลังถูกมองว่าเป็นการบำบัดหรือรักษาโรคเพิ่มมากขึ้น (Koestler 1975; Powell and Paton 1988), ในฐานะที่เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้เรามีสุขภาพที่ดี, และการหัวเราะ คือวัตถุประสงค์ร่วมกันอันหนึ่งของเรื่องที่แต่งขึ้นต่างๆในสื่อ. ความคิดความเชื่อที่ว่า การหัวเราะเป็นการปลดปล่อยที่ทำให้เกิดสุขภาวะ บางส่วนอธิบายถึงความนิยมเกี่ยวกับหัสนาฏกรรมและเรื่องตลก
มีวิธีการอื่นๆอีก ซึ่งละครตลกเป็นการปลดปล่อยหรือวาล์วควบคุมความปลอดภัย. ฟรอยด์เสนอว่า หัสนาฏกรรมหรือละครตลกยินยอมให้เราพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องต้องห้ามต่างๆทางสังคม(social taboos)และหัวข้อที่ถูกห้ามปราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องทางเพศ. มันเป็นช่องทางอันหนึ่งของการพูดถึงเรื่องที่ห้ามพูด (Freud 1976)
ได้มีการถกเถียงกันในเรื่องบทบาทหน้าที่ของละครตลก ในฐานะที่เป็นวาล์วควบคุมความปลอดภัย ซึ่งมีลักษณะที่ก้าวหน้าหรือมีลักษณะที่เป็นไปในเชิงปฏิกริยาโต้ตอบทางสังคม. มันสามารถที่จะเป็นเรื่องของความก้าวหน้าได้ (นั่นคือ มันสามารถช่วยในการเปลี่ยนแปลงสังคมและพัฒนาการ) โดยการยกประเด็นปัญหาต่างๆขึ้นมา ซึ่งหาไม่แล้วก็จะไม่ถูกพูดถึงเลย
แต่อย่างไรก็ตาม ละครตลกมันยังสามารถเป็นไปในเชิงปฏิกริยาได้ด้วย (กล่าวคือ, มันสามารถที่จะช่วยธำรงรักษาสภาพที่เป็นอยู่ทางสังคมนั่นเอง) เพราะว่า เมื่อมันเป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์และความตึงเครียดแล้ว จึงไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมที่ได้สร้างความตึงเครียดนั้นขึ้นมา
ความโดดเด่นของละครตลกในสื่อสมัยใหม่ บ่อยครั้ง สามารถได้รับการมองในฐานะที่เป็นรูปแบบของความปลอดภัยอันหนึ่ง เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์และการเสียดสี. ในอีกด้านหนึ่งนั้น มันยังสามารถได้รับการอ้างเหตุผลว่า การแสดงตลกต่างๆบางเรื่องได้ยืดขยายขอบเขตของสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ และทำลายข้อห้ามต่างๆทางสังคม: เมื่อการแสดงเหล่านั้น อย่างเช่น The Young Ones, Absolutely Fabulous, และ South Park ที่ปรากฏต่อสายตาผู้ชมครั้งแรก ได้ถูกแบ่งแยกว่าเป็นเรื่องสนุกสนาน ขบขัน หรือ เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้
คำถามสำคัญคือว่า "เรื่องตลกช่วยเปลี่ยนแปลงทางสังคมใช่หรือไม่ หรือมันทำให้ผู้คนยอมรับสิ่งต่างๆที่พวกเขาหัวเราะเกี่ยวกับมัน, สนุกสนานกับการปลดปล่อยความตึงเครียด มากกว่ากระทำการใดๆต่อสังคมใช่ไหม?
เราคิดว่า ที่ดีที่สุดของมัน ละครหรือเรื่องตลกสามารถที่จะยกระดับความรับรู้หรือความตระหนักของเราเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางสังคมต่างๆขึ้นมา และด้วยเหตุนี้ มันจึงช่วยเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะว่าข้อมูลเรื่องตลกต่างๆไม่ต้องการที่จะมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง มันเพียงสามารถนำเสนอพื้นที่อันหนึ่งขึ้น เพื่อที่จะกระเซ้าเย้าแหย่และวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจโดยปราศจากความเกรงกลัวที่จะถูกตอบโต้กลับ
ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Three Kings ได้กระเซ้าเย้าแหย่เรื่องผลประโยชน์ของตนเองเกี่ยวกับการเข้าไปพัวพันของสหรัฐฯในสงครามอ่าว(Gulf War) โดยปราศจากท่าทีของการท้าทายที่จะแจ้งต่อผู้ทรงอำนาจ
แต่อย่างไรก็ตาม เช่นดังนักวิเคราะห์สื่อทั้งหลายคิด เรายังต้องการพิจารณาว่า ภาพยนตร์เรื่องนั้นมีศักยภาพเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หรือพวกมันเป็นเพียงการสนับสนุนให้คนดูทั้งหลายคิดเรื่องเกี่ยวกับนโยบายต่างๆประเทศของอเมริกัน ต่อประเด็นการแก้ปัญหาในข้อมูลสื่อเท่านั้น และหลังจากนั้นก็ลืมเลือนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆข้างต้นเมื่อเสียงหัวเราะสิ้นสุดลง และไฟในโรงภาพยนตร์สว่างขึ้น
นับจากสงครามอ่าว และการนำภาพยนตร์เรื่อง Three Kings ออกฉาย มันมีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในหนทางที่สหรัฐอเมริกาไปสัมพันธ์กับตะวันออกกลาง เว้นแต่ว่าสถานการณ์ดังกล่าวกลับเลวร้ายลงกว่าเดิม และความขัดแย้งขยายตัวมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ชาวอเมริกันทั้งหลายต่างเมินเฉยและไม่ให้ความสนใจมายาวนาน ในการสำรวจถึงเหตุผลต่างๆสำหรับความจงเกลียดจงชังที่มีต่ออเมริกา อันนี้ถูกรู้สึกโดยผู้คนเป็นจำนวนมากในตะวันออกกลาง ซึ่งความเกลียดชังดังกล่าวไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลย
หลังจากการทำลายตึก World Trade Center, ประธานาธิบดี George W. Bush ได้แสดงออกถึงความประหลาดใจและรู้สึกงงงวยว่า ทำไมสหรัฐอเมริกาจึงถูกจงเกลียดจงชังในตะวันออกกลางมากถึงขนาดนั้น
การหัวเราะทำให้เรื่องราวเนื้อหาที่จริงจังดูเหมือนว่าไม่มีอันตราย ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไม ละครตลกจึงสามารถเป็นตัวแทนอันหนึ่งของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม หรือเป็นกลไกอันหนึ่งสำหรับการทำให้ประเด็นปัญหาที่มีนัยสำคัญกลายเป็นเรื่องไร้สาระ
(ดูภาพประกอบ 1 และ 2 ที่ท้ายบทความนี้)
มันเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะบันทึกลงไปว่า หลังจากเหตุการณ์ที่จริงจังนั้นได้เกิดขึ้น และต้องใช้เวลานานแค่ไหน ที่การสร้างเรื่องตลกเกี่ยวกับมันจึงกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้. คุณสามารถจำได้ไหมว่า ครั้งแรกที่คุณได้ยินเรื่องตลกเกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ซึ่งตึก World Trade Center ถูกถล่ม คุณมีปฏิกริยาเกี่ยวกับเรื่องตลกนี้อย่างไร?
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเรื่องตลก ซึ่งทำให้ผู้คนหัวเราะกันอยู่เสมอสามารถที่จะเสียดสีคนที่มีพลังและผู้มีอำนาจ แต่บ่อยครั้ง มันกลับหันไปสู่กลุ่มคนที่เป็นรองของสังคม และกลุ่มคนที่ถูกกดขี่ต่างๆ - อย่างเช่น พวกชาวไอริช, คนเชื้อสายโปแลนด์, ชาวอะบอริจิน, ชาวยิว, พวกที่ไม่ใช่คนขาว, และผู้หญิง - ในรูปแบบของการเหยียดชนชาติและการเหยียดผู้หญิงหรือการแบ่งแยกทางเพศ
คำถามที่มีประโยชน์คำถามหนึ่ง ซึ่งควรตั้งขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องตลกต่างๆก็คือ "ใครคือคนที่กลายเป็นตัวตลก? การตอบคำถามนี้ จะเริ่มเผยให้เห็นแนวโน้มเกี่ยวกับความก้าวหน้าหรือล้าหลัง(progressive or reactionary)ออกมาได้
มาร์กซิสม์ และ เบรคท (Marxism
and Brecht)
การคิดถึงเรื่องตลกและการปลดปล่อยอารมณ์(catharsis)
ในฐานะที่เป็นการระบายถ่ายเทอารมณ์ได้น้อมนำไปสู่คำถามเกี่ยวกับข้อมูลสื่อว่า
มันควรที่จะกระตุ้นปลุกเร้าเราให้มีการกระทำต่อสังคมหรือไม่
ความคิดต่างๆของชาวมาร์กซิสท์สอดคล้องกับประเด็นที่กล่าวถึงนี้ มันมีการตีความเกี่ยวกับวรรณกรรมและภาพยนตร์จำนวนมากมาย สิ่งเหล่านี้ได้พยายามที่จะแสดงให้เห็นอย่างมุ่งมั่นว่า เรื่องเล่าต่างๆได้เผยให้เห็นถึงการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มของสังคมต่างๆ และ ชนชั้นอย่างไร, และเรื่องราวทั้งหลายเกี่ยวกับตัวละครในฐานะที่เป็นคนๆนั้น มันเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เหล่านี้ และมันเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้มากำหนดการกระทำของพวกเราอย่างไร
เป็นไปได้ที่จะดำเนินการตามการวิเคราะห์ต่างๆของพวกมาร์กซิสท์ เกี่ยวกับภาพยนตร์ และวรรณกรรมที่ได้รับการผลิตขึ้นมาโดยบรรดานักประพันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ชาวมาร์กซิสท์ ซึ่งมีอยู่ก่อนมาร์กซ์ อย่างเช่น การตีความต่างๆของมาร์กซิสท์เกี่ยวกับงานของ Shakespeare, the Bronte sisters, Balzac, และนักประพันธ์คนอื่นๆ. นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ของชาวมาร์กซิสท์เกี่ยวกับภาพยนตร์อย่างหลากหลายด้วย: ยกตัวอย่างเช่น การสำรวจของ Frederic Jameson เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง Dog Day Afternoon (Jameson 1977)
คำตอบของลัทธิมาร์กซ์ต่อคำถามที่ว่า "ทำไมพวกเราจึงต้องการเรื่องเล่าต่างๆ?" คือ พวกมันแสดงให้เราเห็นว่ามีอะไรผิดพลาดกับสังคมของพวกเรา และพวกมันได้ชี้ไปยังโลกที่ดีกว่าให้กับพวกเราด้วย เมื่อมองผ่านแสงสว่างหรือมุมมองนี้ พวกมันคือส่วนหนึ่งของขบวนการปฏิวัติ กล่าวคือ พวกมันได้มาช่วยสร้างเสริมความเข้าใจสังคม และให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสังคม
ตามความคิดของชนชาวมาร์กซิสท์ทั้งหลาย, ในสังคมที่ปราศจากชนชั้น จริงๆแล้วพวกเราอาจไม่ต้องการเรื่องเล่า, นิทาน, หรือศิลปะอีกต่อไป เพราะว่าชีวิตถึงจุดที่สมบูรณ์! มันไม่จำเป็นต้องมีเรื่องที่แต่งขึ้นมาอีกต่อไป
Ernst Fischer ได้เขียนถึงเกี่ยวกับจิตรกรคนหนึ่งนามว่า Mondrain, ซึ่งยึดถือทัศนะต่างๆของมาร์กซิสท์ว่า: "เขาเชื่อว่า "ความจริง"จะเข้ามาแทนที่ผลงานทางศิลปะมากขึ้น, ซึ่งโดยสาระแล้ว ศิลปะเป็นตัวแทนอันหนึ่งสำหรับความสมดุลที่ความจริงได้ขาดหายไปในปัจจุบัน. ศิลปะจะหดหายไปเมื่อชีวิตบรรลุถึงความสมดุลมากขึ้น"(Fischer 1963, p.7). ตามความคิดของลัทธิมาร์กซ์ ถ้าเป็นเช่นนั้น เรื่องเล่าทั้งหลายก็คือเครื่องหมายต่างๆที่บ่งบอกถึงว่า สิ่งต่างๆยังไม่สมบูรณ์นั่นเอง
หนึ่งในบรรดานักปฏิบัติการและนักทฤษฎีมาร์กซิสท์ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดก็คือ นักเขียนบทละครและกวีนามว่า Bertolt Brecht. เขาท้าทายคุณค่าของการละครในฐานะที่เป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์(cartharsis), โดยเหตุผลที่ว่า มันเป็นรูปแบบของความเกี่ยวพันทางอารมณ์ และการปลดปล่อยอารมณ์ดังนี้:
- มันให้การสนับสนุนการยอมรับเกี่ยวกับชีวิตดังที่มันเป็น
- มันให้สิทธิพิเศษต่อการขานรับทางอารมณ์เหนือกว่าการประจักษ์ในเชิงสติปัญญา และความเข้าใจ
- มันสนับสนุนการธำรงรักษาสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ มากกว่าจะกระตุ้นปลุกเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
(Willett 1964; Benjamin 1977)
ในทัศนะของ Brecht, การเล่าเรื่องอันหนึ่งอาจสำรวจตรวจตราถึงปัญหาสังคม แต่ถ้าหากว่ามันทำงานโดยผ่านความเกี่ยวข้องในเรื่องอารมณ์ ผลลัพธ์ในท้ายที่สุด ผู้ชมมันก็จะตกอยู่ในความซ้ำซากน่าเบื่อเกี่ยวกับว่า มันเป็นเรื่องที่เรียกน้ำตาได้ดี, หรือแสดงความคิดเห็นในทำนองอย่างเช่น "มันน่ากลัวเพียงใด, สิ่งต่างๆที่น่าขนพองสยองเกล้านั้นเป็นอย่างไร, และนั่นล่ะคือชีวิต"
ตามความคิดของ Brecht, ละครที่ปฏิบัติการโดยผ่านอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ล้มเหลวที่จะกระตุ้นปลุกเร้าผู้ชมทั้งหลายให้กระทำการต่างๆ: เพียงสิ่งเดียวที่เนื้อหาข้อมูลอันนั้นอาจสนับสนุนผู้ชมทั้งหลายให้กระทำก็คือ ไปดื่มกินกันหลังจากดูการแสดงนั้นจบ(go for a drink after the show).
Brecht ให้เหตุผลว่า มันคือวิธีการที่เรื่องราวต่างๆได้รับการเล่าขาน รูปแบบและโครงสร้างของพวกมัน (การปิดฉากการดำเนินเรื่องในท้ายที่สุด, ระดับของความไม่แน่นอน, ความคาราคาซัง, และอื่นๆ) ที่ได้สร้างผลกระทบเหล่านี้ขึ้นมา ดังนั้นจึงทำให้ดูแล้วรู้สึกพึงพอใจ
เขาได้เสนอการเล่าเรื่องที่แตกต่างออกไปอันหนึ่ง, นั่นคือละครมหากาพย์(epic theatre - โคลงเรื่องเกี่ยวกับเกียรติยศและความกล้าหาญ) ซึ่งจะสร้างการเรียนรู้ที่น่าพึงพอใจอีกอันหนึ่งขึ้นมา (Wilett 1964, pp. 72-73). การเรียนรู้นี้จะทำให้เรามองโลกไปในหนทางใหม่อันหนึ่ง มันจะเผยให้เห็นความจริงใหม่ๆ
บังเอิญผู้เขียนได้เรียนรู้ละครแนวนี้ครั้งแรก เมื่อตัวเองได้ไปเยี่ยมชม 7.84 Theatre Company ในประเทศอังกฤษ. ชื่อของบริษัทแห่งนี้อ้างอิงถึงสถิติการกระจายความมั่งคั่งในประเทศอังกฤษช่วงทศวรรษที่ 1970s: กล่าวคือ 7 เปอร์เซนต์ของจำนวนประชากรเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือความมั่งคั่ง 84 เปอร์เซนต์ทั้งหมดของประเทศนี้ ทัศนะของข้าพเจ้าเกี่ยวกับสหราชอาณาจักร โดยพื้นฐานแล้ว คือการยึดหลักความเสมอภาคของมนุษย์(egalitarian), สังคมที่เป็นประชาธิปไตย (สิ่งซึ่งมันได้ถูกนำเสนอบ่อยๆในสื่อต่างๆ) ได้ถูกสั่นสะเทือนโดยความจริงทางสังคมที่แพร่หลายอันนี้
ตัวเลขต่างๆในปัจจุบันเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของความมั่งคั่งร่ำรวยในออสเตรเลีย (ซึ่งได้รับการอ้างถึงบ่อยๆ ในฐานะที่เป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้นสังคมหนึ่ง) และสหราชอาณาจักร โดยแท้จริงแล้วยังคงมีลักษณะเป็นไปในลักษณะเดียวกัน. การเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่างๆที่ตามมา เป็นการเปิดเผยถึงบางสิ่งบางอย่างซึ่งทำให้รู้สึกช็อคในทำนองเดียวกันสำหรับข้าพเจ้า นั่นคือ
"ในบางรัฐของออสเตรเลีย, ระหว่าง 50 และ 60 เปอร์เซนต์ของเด็กทั้งหมดอยู่ในการอารักขาหรือการจับกุมคุมขัง คือเด็กๆอะบอริจิน, แม้ว่าพวกเขาจะเสนอว่า จำนวนประชากรที่เป็นเด็กและเยาวชนมีน้อยกว่า 4 เปอร์เซนต์ก็ตาม"; และสหรัฐอเมริกา บริโภคทรัพยากรต่างๆของโลกถึง 33% ด้วยกัน (New Internationallist 97, p.6)
อะไรคือสิ่งที่สำคัญสำหรับ Brecht เกี่ยวกับสถิติเหล่านี้, อันนี้มากกว่าที่จะโฟกัสลงไปที่ปัจเจกบุคคล, ความเอาใจใส่ในเรื่องจิตวิทยาส่วนตัว, พวกมันได้เผยให้เห็นความจริงต่างๆทางการเมืองที่หยั่งรากลึกลงไปเกี่ยวกับสังคม, เปิดโปงให้เห็นความไม่เสมอภาคเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคม. เขาแสวงหารูปแบบของการละครอันหนึ่ง ซึ่งสามารถโอบอุ้มเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ ขณะเดียวกันยังคงเกี่ยวพันกับคนดูอยู่
Verfremden, Alienation,
Distanciation
เทคนิคซึ่งมีเชื่อเสียงมากที่สุดของเขาสำหรับการบรรลลุถึงจุดมุ่งหมายดังกล่าว
คือการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับ verfremden ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า
"alienation" (ความแปลกแยก) หรือ "distanciation" (ความเหินห่าง). เทคนิค
Verframden คือสิ่งประดิษฐทางด้านทฤษฎี ซึ่งมาถึงปัจจุบันบางครั้งเรียกกันว่า
สิ่งประดิษฐ์ของเบรคเที่ยน(Brechtian devices)
ซึ่งได้ไปขัดขวางการไหลเลื่อนของความเป็นจริงเกี่ยวกับการดำเนินเรื่อง
ในหนทางซึ่งผู้ชมได้ถูกกระทุ้งให้หลุดออกมาจากความเกี่ยวพันทางอารมณ์กับการเล่าเรื่องอันน่าตื่นเต้น
หรือหลุดออกมาจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับของพวกเขากับตัวละครหลักๆ
เทคนิคอันนั้นมุ่งที่จะให้ผู้ชมคิดเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอย่างวิพากษ์วิจารณ์ โดยวางพวกเขาลงที่ตำแหน่งที่ห่างออกมาหรือตำแหน่งที่แปลกแยก
ผู้ให้การสนับสนุนเทคนิคนี้ได้ให้เหตุผลว่า ผลสะท้อนดังกล่าวน้อมนำไปสู่ความประจักษ์, ความเข้าใจ, และในที่สุดจะให้การยอมรับเกี่ยวกับความต้องการที่จะทำ. ยิ่งไปกว่านั้น มันยังถูกให้เหตุผลว่า กระบวนการเรียนรู้อันนี้เป็นสิ่งที่น่าพอใจสำหรับผู้ชมทั้งหลายที่ถูกกดขี่ เพราะว่ามันสนับสนุนการปลดปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระ
ในทางตรงข้าม catharsis หรือการระบายอารมณ์ ได้สร้างการปลดปล่อยอารมณ์ที่น่าพึงพอใจอันหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นขณะที่ผู้ชมกำลังดูละคร การปลดปล่อยที่ถูกกระตุ้นปลุกเร้าโดยละครของ Brecht จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น จากการกระทำบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับปัญหาต่างๆซึ่งยกขึ้นมาในเนื้อหาของละคร
ความคิดต่างๆในเชิงปฏิวัติเหล่านี้ ได้ส่งอิทธพลอย่างมากต่อกลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในช่วงทศวรรษที่ 1960s และ 1970s. ผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดเหล่านี้คือ ผู้กำกับภาพยนตร์ฝรั่งเศสนามว่า Jean-Luc Godard.
Godard พยายามที่จะประสานหรือรวมเอาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆของเบรคเที่ยนเข้ากับภาพยนตร์ของเขา เพื่อที่จะทำให้บรรดาผู้ชมทั้งหลายคิดในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และก้าวมาสู่ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับสังคม และได้รับการปลุกเร้าสู่การกระทำทางสังคม - มากกว่าที่จะทำให้พวกเขาเพียงชมภาพยนตร์จบลงแล้วและพากันไปดื่มเท่านั้น การสร้างภาพยนตร์และการไปดูภาพยนตร์กลายเป็นความบันเทิงหรือสิ่งอดิเรกในทางการเมืองอย่างกระตือรือร้น มากกว่าที่จะเป็นการพักผ่อนหย่อนใจเพื่อความเพลิดเพลินแต่เพียงอย่างเดียว
อันนี้นำไปสู่คำถามที่ว่า การเล่าเรื่องต่างๆควรกระตุ้นสนับสนุนให้มีการกระทำทางสังคมหรือการใคร่ครวญหรือไม่ คุณสามารถที่จะคิดถึงตัวอย่างต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์และโทรทัศน์ ที่ได้ช็อคหรือทำให้คุณประหลาดใจได้ไหม? ทำไมและอย่างไรซึ่งพวกมันกระทำสิ่งนี้ได้? อธิบายถึงปฏิกริยาต่างๆที่พวกมันสร้างขึ้นมาและมีผลกระทบกับคุณ. พวกมันกระตุ้นคุณให้กระทำบางสิ่งบางอย่างไหม?
ภาพประกอบ
1.
ภาพตลกล้อเลียนซึ่งแพร่หลายโดยอีเมล์ หลังจากเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน 2001
ซึ่งมีการโจมตีตึก World Trade Center และตึก Pentagon
โดยเครื่องบินโดยสาร
ภาพประกอบ
2. ภาพตลกล้อเลียน
การสร้างตึก World Trade Center ขึ้นมาใหม่ในปี 2005
เป็นภาพตึกสี่หลัง
ที่คล้ายกับการชูนิ้วกลางขึ้นมา
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิมmidnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)
มีวิธีการอื่นๆอีก ซึ่งละครตลกเป็นการปลดปล่อยหรือวาล์วควบคุมความปลอดภัย. ฟรอยด์เสนอว่า หัสนาฏกรรมหรือละครตลกยินยอมให้เราพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องต้องห้ามต่างๆทางสังคม(social taboos)และหัวข้อที่ถูกห้ามปราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องทางเพศ. มันเป็นช่องทางอันหนึ่งของการพูดถึงเรื่องที่ห้ามพูด (Freud 1976) (ข้อความตัดมาบางส่วนจากบทความ)
ในทัศนะของ Brecht, การเล่าเรื่องอาจเป็นการสำรวจตรวจตราถึงปัญหาสังคม แต่ถ้าหากว่ามันทำงานโดยผ่านความเกี่ยวข้องในเรื่องอารมณ์ ผลลัพธ์ในท้ายที่สุด ผู้ชมมันก็จะตกอยู่ในความซ้ำซากน่าเบื่อเกี่ยวกับว่า มันเป็นเรื่องที่เรียกน้ำตาได้ดี, หรือแสดงความคิดเห็นในทำนองอย่างเช่น "มันน่ากลัวเพียงใด, สิ่งต่างๆที่น่าขนพองสยองเกล้านั้นเป็นอย่างไร, และนั่นล่ะคือชีวิต" ตามความคิดของ Brecht, ละครที่ปฏิบัติการโดยผ่านอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ล้มเหลวที่จะกระตุ้นปลุกเร้าผู้ชมทั้งหลายให้กระทำการต่างๆ: เพียงสิ่งเดียวที่เนื้อหาข้อมูลอันนั้นอาจสนับสนุนผู้ชมทั้งหลายให้กระทำก็คือ ไปดื่มกินกันหลังจากดูการแสดงนั้นจบ(go for a drink after the show).
คำตอบของลัทธิมาร์กซ์ต่อคำถามที่ว่า "ทำไมพวกเราจึงต้องการเรื่องเล่าต่างๆ?" คือ พวกมันแสดงให้เราเห็นว่ามีอะไรผิดพลาดกับสังคมของพวกเรา และพวกมันได้ชี้ไปยังโลกที่ดีกว่าให้กับพวกเราด้วย เมื่อมองผ่านแสงสว่างหรือมุมมองนี้ พวกมันคือส่วนหนึ่งของขบวนการปฏิวัติ กล่าวคือ มันได้มาช่วยสร้างเสริมความเข้าใจสังคม และให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสังคม ตามความคิดของชนชาวมาร์กซิสท์ทั้งหลาย, ในสังคมที่ปราศจากชนชั้น จริงๆแล้วพวกเราอาจไม่ต้องการเรื่องเล่า, นิทาน, หรือศิลปะอีกต่อไป
แบบจำลองคลาสสิคเกี่ยวกับว่า มีอะไรเกิดขึ้นบ้างกับใครคนหนึ่งซึ่งกำลังบริโภคข้อมูลหรือเรื่องราวที่แต่งขึ้น ซึ่งถูกพบได้ในการวิเคราะห์ของอริสโตเติลเกี่ยวกับละครโศกนาฏกรรมของกรีก. อริสโตเติลเสนอว่า ประสบการณ์ดังกล่าวยอมให้ผู้คนรู้สึกทางอารมณ์อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกลัวและความสยองขวัญ ซึ่งถูกปลุกเร้าโดยเรื่องราวอันนั้น และในตอนจบได้ประสบกับการะบายอารมณ์ต่างๆเหล่านี้ในช่วงขณะที่เรียกว่า catharsis หรือ การปลดปล่อยอารมณ์ (emotional release)