เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗: มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ

2
0
0
4

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 388 หัวเรื่อง
สื่อและผลกระทบต่อมนุษย์
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com

R
relate topic
200547
release date
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความวิชาการ ฟรีสำหรับทุกคน
เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เปิดขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยไม่มีเงื่อนไขทางการศึกษา วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจใดๆมาเป็นอุปสรรค และยังมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตความรู้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม
The Alternative University


ดูละครแล้วย้อนดูตัว
Campbell กับโครงร่างทฤษฎีสื่อ แนวจิตวิทยา

สมเกียรติ ตั้งนโม

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความชิ้นนี้แปลมาจากหนังสือเรื่อง Media and Society
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Michael O' Shaughessy และ Jane Stadler
สำนักพิมพ์ Oxford University Press ปีที่พิมพ์ 2002
(ในส่วนของ Part 3, Chapter 11 เรื่อง Joseph Cambell and Carl Jung หน้า 170-175)


หมายเหตุ: บทความเรื่องนี้ เป็นบทความต่อเนื่องจากเรื่อง
"สื่อในมุมมองมานุษยวิทยาและจิตวิเคราะห์" บทความลำดับที่ 387 ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

(บทความนี้ยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4)


ความนำ
การอ่านในฐานะที่เป็นประสบการณ์อันลึกลับอย่างหนึ่ง (Reading as a Mystical Experience)
เราได้ให้ข้อสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับวิธีการศึกษาบางอย่างถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อผู้คนทั้งหลายได้ดูเรื่องราวที่สร้างขึ้น เราต้องการที่จะลงความเห็นโดยการสะท้อนถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการดู ว่ามันเหมือนกับอะไร และสิ่งนี้นำไปเปรียบเทียบกับความเป็นจริงได้อย่างไร เช่น ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

เพื่อนของผมคนหนึ่งเคยถามผมเป็นครั้งคราวว่า ทำไมผมจึงดูภาพยนตร์มากมายเช่นนั้น และเขาบอกเป็นนัยว่า ส่วนหนึ่งในชีวิตจริงของผมกำลังขาดหายไป ข้อคิดและคำวิจารณ์ของเขาพูดทำนองว่า ผมกำลังมีประสบการณ์ในลักษณะตัวแทนต่างๆ(surrogate experiences) โดยผ่านภาพยนตร์เหล่านั้น มากกว่าจะกระทำบางสิ่งด้วยตัวของผมเองจริงๆ ดูประหนึ่งว่า การอ่านหรือการดูชีวิตจริง ไม่ใช่สิ่งเดียวกับการเป็นอยู่ในชีวิตจริง

ในทำนองเดียวกัน ผมรู้สึกประหลาดใจเช่นกันเมื่อเห็นว่า ผู้คนจำนวนมากเพียงใดที่จับจ้องรายการกีฬาต่างๆ มากกว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมในเกมส์กีฬาเหล่านั้นด้วยตัวของพวกเขาเอง - มันดูเหมือนมีความหมายอย่างเดียวกับการกล่าวว่า การมีส่วนร่วมนั้นได้ให้ความรู้สึกพึงพอใจมากกว่าการเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์

ส่วนหนึ่งนั้นผมเห็นด้วยกับเพื่อน และในขณะที่ผมมีอายุมากขึ้น ดูเหมือนว่า มันเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะมีประสบการณ์กับสิ่งต่างๆมากมายสำหรับตัวเองยิ่งกว่าเพียงแค่อ่านหรือดูพวกมันเท่านั้น

แต่ทว่า ประสบการณ์เกี่ยวกับการดูเรื่องราวที่สร้างขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ประสบการณ์ในลักษณะตัวแทนเท่านั้น กล่าวคือ ในตัวของมันเองนั้น มันเป็นรูปแบบหนึ่งของประสบการณ์มนุษย์ที่เข้มข้น มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริงที่ให้ผลเกี่ยวกับความรู้สึกพึงพอใจอย่างลึกซึ้ง ความพอใจเหล่านี้สามารถถูกนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งเหล่านั้นที่พบได้ในการทำสมาธิ, การประกอบพิธีกรรม, และความเชื่อในเรื่องลี้ลับ

ต้นตอกำเนิดเกี่ยวกับเรื่องที่สร้างขึ้นและเรื่องเล่าต่างๆ วางอยู่ในปกรณัมโบราณและพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา; เรื่องราวทั้งหลายทำหน้าที่รับใช้วัตถุประสงค์ทางจิตวิญญานโดยตรง. "ประสบการณ์จากเรื่องที่แต่งขึ้น"(fiction experience) เชื้อเชิญเราให้เข้าไปสู่ภาวะที่ผันแปรของความสำนึก, วิถีของการดำรงอยู่ที่แตกต่างออกไปอันหนึ่ง อันนี้สามารถจะเป็นสิ่งที่เข้มข้นมากกว่าประสบการณ์ในชีวิตจริงมากมาย มันอาจเป็นเรื่องของจิตวิญญานอันลึกซึ้ง เติมเต็มเราด้วยความประหลาดใจและการเปิดเผย ดังนั้นมันจึงช่วยเหลือเราได้ในการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน; มันได้ให้พื้นที่และเวลาสำหรับการใคร่ครวญ ยินยอมให้เราวางความเป็นอยู่ของตัวเราลงในทัศนียภาพต่างๆ; และมันอาจช่วยสร้างสรรค์เราขึ้นมาใหม่ ดังที่ถูกเสนอโดยคำว่า"การพักผ่อนหย่อนใจ"

เทียบกันกับความฝันต่างๆ ซึ่งบางครั้งค่อนข้างเข้มข้นยิ่งกว่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเรา ด้วยเหตุนี้ การจ่อมจมอยู่ในเรื่องราวที่แต่งขึ้นจึงสามารถที่จะกระตุ้นหัวใจของเรา, ภาวะจิตใจ, และอารมณ์ความรู้สึกในหนทางต่างๆที่น่าพอใจเป็นพิเศษได้

ขณะที่ประสบการณ์จากเรื่องราวที่สร้างขึ้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆภายนอก - มันประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับคนอื่นๆ - อันที่จริงแล้ว มันยอมให้เราเดินเข้าไปสู่การเดินทางภายใน ในขณะที่เราบริโภคเรื่องราวที่แต่งขึ้นมาต่างๆ เราได้ทิ้งปฏิบัติการต่างๆทางโลกเกี่ยวกับขีวิตประจำวันเอาไว้เบื้องหลัง เพื่อท่องเที่ยวลึกลงไปสู่หัวใจของเราเอง ค้นพบความเชื่อต่างๆที่เป็นแกนของตัวเรา ความรู้สึกต่างๆ และความปรารถนาทั้งหลาย

ความคิดต่างๆเหล่านี้คือคำนำที่ดีอันหนึ่งในผลงานของ Joseph Campbell ผู้ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า เรื่องราวที่สร้างขึ้นต่างๆและชีวิตจริงสามารถได้รับการเรียงร้อยเข้าด้วยกันอย่างน่าพิศวง

โครงสร้างการเล่าเรื่องและมายาคติ: Joseph Campbell
Narrative Structure and Myth: Joseph Campbell
วิธีการเกี่ยวกับโครงสร้างการเล่าเรื่องซึ่งเราจะทำการสำรวจในที่นี้คือ ผลงานของ Joseph Campbell ผู้ซึ่งได้อธิบายถึงแบบแผนทั่วไป แบบแผนที่หวนกลับมาอีกต่างๆในรูปแบบทั้งมวลเกี่ยวกับการเล่าเรื่องราว

Campbell ไม่ใช่คนเดียวที่พยายามค้นหาแบบแผนทั่วๆไปอันนั้น ผลงานเชิงโครงสร้างนิยมของ Vladimir Propp, ผู้ที่ได้ทำการวิเคราะห์คุณลักษณะร่วมกันของเทพนิยาย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีมากในการศึกษาเรื่องสื่อ(media studies)(Propp 1975; Turner 1993, pp.68-71) เขาได้ตรวจสอบเทพนิยายต่างๆ และสรุปว่า แบบแผนที่ปรากฏขึ้นมาบ่อยๆนั้น เกี่ยวพันกับการวางตัวละครต่างๆ และการพล็อตรูปแบบการกระทำทั้งหลายขึ้นมา สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานของเทพนิยายทั้งหมด

ตามความคิดเห็นของ Propp ตัวละครทั้งหลายประกอบด้วยตัวร้าย, ผู้อุทิศให้(ผู้จัดหา - บริจาค), ผู้ช่วย, เจ้าหญิง(หรือบุคคลซึ่งกำลังถูกค้นหา), พระราชบิดาของเจ้าหญิง, ผู้ส่งสารหรือคอยนำสาร, พระเอก(หรือเหยื่อ), และตัวเอกที่เป็นตัวปลอม

การดำเนินเรื่องของภาพยนตร์จะเข้าข่ายหรือตกอยู่กรอบการวิเคราะห์ของ Propp และจะเผยตัวละครชุดหนึ่งที่มีลักษณะในทำนองนี้ออกมา ยกตัวอย่างเช่น ตัวละครหลักๆในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars จะเข้ากันกับตัวอย่างแบบฉบับตัวละครของ Propp อย่างเหมาะเจาะ

ตัวร้าย ------------------------ Darth Vader
ผู้ให้ -------------------------- Ben Kenobi
ผู้ช่วย ------------------------- Han Solo
เจ้าหญิง ---------------------- Princess Leah
ผู้ส่งสาร ---------------------- R2D2
พระเอก ----------------------- Luke Skywalker
พระเอกปลอม-ไม่ซื่อ --------- Darth Vader
(Turner 1988, p.71)

โครงสร้างของ Propp ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ
1. การเตรียมการ (preparation)
2. ความสลับซับซ้อน (complication)
3. การโยกย้าย - เปลี่ยนแปลง (transference)
4. การต่อสู้ (Struggle)
5. การกลับมา (return)
6. การยอมรับ (recognition)

โครงสร้างที่กล่าวถึงข้างต้น สามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างได้ผลกับเนื้อหาข้อมูลภาพยนตร์ต่างๆเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานของ Propp ก็ไม่ได้ไปไกลมากนักจากการค้นพบและการอธิบายด้วยแบบแผนต่างๆเหล่านี้

ในทำนองเดียวกัน วิธีการของ Campbell ก็เป็นไปในลักษณะนั้น เขาได้ค้นหาแบบแผนต่างๆในเชิงโครงสร้างด้วยเช่นกันเกี่ยวกับปกรณัมต่างๆ, เทพนิยาย, และเรื่องเล่าทั้งหลายจากทั่วทุกมุมโลก แต่เขาได้ก้าวหน้าพ้นไปจากนี้ โดยอธิบายถึงสิ่งที่โครงสร้างดังกล่าวมันมีความหมายสำหรับมนุษย์

ในวิธีการข้างต้น ผลงานของเขาจึงมีวัตถุประสงค์ในทำนองเดียวกับผลงานของ Levi-Strauss. Campbell, Jung, และ Levi-Strauss ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจบทบาทและความหมายของปกรณัมต่างๆและเรื่องเล่าทั้งหลายในสังคมมนุษย์

Campbell ได้ให้ทัศนะที่แตกต่างไปมากอันหนึ่งเกี่ยวกับสื่อต่างๆ ต่อวิธีการศึกษาทั้งหลายซึ่งเราได้มีการนำเสนอมาแล้วตามลำดับ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเรา ได้ไปเน้นที่การสร้างทางสังคมของตัวแทนการแสดงออกต่างๆ

เราได้เสนอวิธีการหลายๆอย่างสำหรับการรื้อสร้าง(deconstructing)ข้อมูลนานาชนิด การรื้อสร้าง คือกระบวนการอันหนึ่งที่ทำให้เราตระหนักหรือรับรู้ถึงความหมายในเชิงอุดมคติและเชิงสังคมที่จารึกลงไป และเปิดเผยว่า สื่อต่างๆได้ถูกผลิตขึ้นมาโดยกลุ่มของสังคมที่ทรงอิทธิพล และมันทำหน้าที่เป็นตัวแทนค่านิยมของสังคมที่ทรงอำนาจนั้น วิธีการรื้อสร้างนี้เป็นวิธีการศึกษาในเชิงวิพากษ์ ซึ่งได้ให้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆกับคุณเพื่อท้าทายสื่อต่างๆ

แต่อย่างไรก็ตาม Campbell ได้นำพาไปสู่กรอบงานหรือโครงร่างทางทฤษฎีที่แตกต่างไปเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีต่างๆของเขา ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากผลงานของนักจิตวิทยานามว่า Carl Jung, และจุดมุ่งหมายของเขาเป็นการยกย่องสรรเสริญเกี่ยวกับเนื้อหาข้อมูลสื่อ มากยิ่งกว่าจะเป็นการวิพากษ์ในลักษณะเตือนสติ เขาไม่ได้ให้การเอาใจใส่กับประเด็นเกี่ยวกับการสร้างทางสังคม หรือการเมืองเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนการนำเสนอ

ด้วยเหตุที่เราไปเน้นที่การสร้างความเป็นจริงของสังคม, Campbell กลับไปเน้นที่แง่มุมต่างๆที่เป็นสากลเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์และสังคมต่างๆของมนุษย์. เขาเสนอว่า เราสามารถที่จะเห็นถึงแบบแผนต่างๆของมนุษย์ในลักษณะสากลและความจริงในปกรณัมต่างๆ, ในตำนานทั้งหลาย, และความเชื่อนานาชนิดทางด้านศาสนา

ผลงานของ Campbell เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายในหนังสือหลายเล่ม, ในเนื้อหาข้อมูลที่วิจารณ์ผลงานของเขา และในการสัมภาษณ์ทางวีดิโอ (Campbell 1972, 1988a, 1988b, 1991; Golden 1992)ได้ให้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับความคิดของเขา เนื้อหาต่อไปนี้เป็นข้อสรุปอย่างสั้นอันหนึ่งเกี่ยวกับแง่มุมที่เป็นแกนกลางเกี่ยวกับผลงานของ Campbell

Joseph Campbell และ การเดินทางของวีรบุรุษ
ผลงานของ Campbell ได้สำรวจตรวจตราปกรณัมต่างๆ, ตำนาน, และความเชื่อทั้งหลายในทางศาสนา, ซึ่งพบได้ทั่วโลกในสังคมที่แตกต่างกัน เขาแสดงให้เห็นว่า มันมีความคล้ายคลึงกันในเนื้อหาสาระที่เป็นแกนกลาง ซึ่งพบได้ในเรื่องเล่าต่างๆเหล่านี้ทั้งหมด และเรื่องเล่าทั้งหลายสามารถได้รับการมองในฐานะที่เป็นพิมพ์เขียวอันหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เราเห็นว่า เราจะกระทำการอย่างไรในโลกใบนี้เพื่อค้นหาความสว่างหรือความเข้าใจ, ความสมปรารถนา, และการบรรลุถึงศักยภาพความเป็นมนุษย์ของพวกเรา เขาได้ให้เหตุผลว่าพวกมันมีแบบแผนหรือโครงสร้างที่โดดเด่นและสำคัญอันหนึ่ง

โครงสร้างอันนี้ดำเนินรอยตามสิ่งที่เขาเรียกว่า "การเดินทางของวีรบุรุษ" หรือ the hero's journey มันเกี่ยวพันกับตัวเอกตัวหนึ่งซึ่งได้ผ่านการทดสอบ, การต่อสู้ดิ้นรน, และผ่านปัญหาต่างๆในวิถีทางที่บรรลุถึงเป้าหมายของเขาหรือเธอ

อันนี้คล้ายคลึงกับการวิเคราะห์ของ Propp แต่ขณะที่ Propp เพียงบันทึกถึงข้อเท็จจริงซึ่งมันเป็นโครงสร้างอันหนึ่งนั้น (และในงานชิ้นหลังๆของเขา ได้สำรวจถึงบริบทในทางประวัติศาสตร์-สังคม ซึ่งเรื่องเล่าต่างๆได้ผุดขึ้นมา) Campbell เสนอว่า โครงสร้างอันนี้ได้จัดหาเค้าโครงอันหนึ่ง ซึ่งเรื่องเล่าต่างๆสามารถสอนเราว่า เราจะกระทำอย่างไรในฐานะที่เป็นมนุษย์ ถ้าเผื่อว่าเราสำนึกถึงศักยภาพในลักษณะที่เป็นวีรุบุรุษของเรา

ตามความคิดของ Campbell พวกเราทั้งหมด(ทั้งชายและหญิง)ต่างเป็นวีรชน โดยศักยภาพที่จะค้นพบความสมปรารถนาในความเป็นวีรชนในตัวของพวกเรา. เพื่อที่จะทำสิ่งนี้ เราจะต้องดำเนินไปบนหนทางของวีรชนคนหนึ่ง โดยดำเนินรอยตามความปิติสุขของเรา

ไอเดียอันนี้เกี่ยวกับ"การดำเนินรอยตามความปิติสุขของคุณ"(following your bliss)[bliss - a state of extreme happiness] เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในผลงานของ Campbell เขาเสนอว่า พวกเราแต่ละคนนั้นสามารถค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่เคลื่อนเข้ามาและสัมผัสกับเราจริงๆ วัฒนธรรมของพวกเราควรที่จะสนับสนุนให้ผู้คนค้นพบสิ่งนี้ และต่อจากนั้นให้ดำเนินรอยตามมันไป เพียงโดยการติดตามความปิติสุขของเรา เราสามารถที่จะสำนึกศักยภาพและความสุขของเราได้

เขายังบันทึกต่อไปด้วยว่า แรงกดดันของสังคมร่วมสมัย อย่างเช่น ความจำเป็นหรือภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับความรอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเศรษฐกิจต่างๆ และความกดดันที่มีต่อเราที่จะทำตัวให้เข้ากับสังคมหรือลงรอยกับมันนั้น อันนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ให้การสนับสนุนต่อเรื่องนี้ ด้วยเหตุดังนั้น พวกเราจึงเผชิญหน้ากับความท้าทายเกี่ยวกับการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกระทำในสิ่งที่สังคมกดดันเราให้กระทำ หรือดำเนินรอยตามจิตวิญญานของตัวเราเองอย่างใดอย่างหนึ่ง

เขาให้เหตุผลว่า ในช่วงแรก ซึ่งเรียกกันว่าสังคมในยุคบุพกาลต่างๆ ค่อนข้างสามารถจะกระตุ้นสนับสนุนให้ผู้คนกระทำสิ่งนี้ได้มากกว่าสังคมในยุคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ซึ่งมีลักษณะสังคมแบบฆราวาส เป็นสังคมทุนนิยม, ซึ่งสังคมในยุคหลังๆได้สูญเสียความสามารถอันนี้ไป

Campbell ได้ให้ความสนใจในพลังของความฝันต่างๆ วลีที่ว่า"ติดตามความปิติสุขของคุณไป"สำหรับคุณแล้ว มันหมายถึงอะไร? ในฐานะที่เป็นหนทางหนึ่งของการเชื่อมกับจิตไร้สำนึกของคุณ ขอให้มาลองทำแบบฝึกหัดดังต่อไปนี้ …

ก่อนที่คุณจะเข้านอน ขอให้ลองเขียนคำถามว่า "อะไรคือความปิติสุขของฉัน?"สัก 30-50 เที่ยว และหลังจากนั้นให้นำกระดาษนี้ไปไว้ใต้หมอน และขอให้วนเวียนอยู่กับคำถามนี้ในสมองเสมอก่อนที่คุณจะหลับ ซึ่งอันนี้อาจจะทำให้มันซึมซ่านเข้าไปในจิตไร้สำนึกของคุณ และหวังว่าคำตอบจะเผยตัวของมันออกมาในความฝันต่างๆของคุณ

เตรียมดินสอหรือปากกาและกระดาษเอาไว้ข้างตัว เพื่อว่าเวลาที่คุณตื่นขึ้นมา ในทันทีจะได้สามารถบันทึกความฝันนั้นได้ พอถึงรุ่งเช้าให้คุณบันทึกความฝันต่างๆอีกครั้ง ลองอ่านสิ่งที่ได้เขียนลงไปบนกระดาษ และถามตัวเองว่า ความฝันต่างๆของคุณได้แสดงให้เห็นสิ่งที่เป็นความปิติสุขของตัวคุณใช่หรือไม่. คุณได้ติดตามความปิติสุขของตัวเองในชีวิตมากน้อยแค่ไหน?

ทฤษฎีต่างๆของ Campbell ในเรื่องความฝัน สามารถได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นสากลด้วยเหตุผล 2 ประการ (ดังที่ทฤษฎีต่างๆของ Jung สามารถทำเช่นนั้นได้ เกี่ยวกับจิตไร้สำนึกร่วม[collective unconscious])

1. พวกเขาได้วางความคล้ายคลึงกันข้ามวัฒนธรรม, ปกรณัม, และศาสนาที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมอะบอริจิน, คริสเตียน, และอิสลาม, ได้รับการกล่าวว่ามีส่วนร่วมในเรื่องเล่าพื้นฐานต่างๆในอย่างเดียวกัน

2. ความฝันทั้งหลายของผู้คน ดังที่เผยออกมาผ่านวิธีการจิตวิเคราะห์ของ Freudian และ Jungian ดูเหมือนว่าได้สะท้อนถ่ายเรื่องเล่าต่างๆที่เป็นสากลอย่างเดียวกันเหล่านี้ออกมา รวมถึงรูป(icons)และภาพต่างๆ(images) แต่เป็นไปในระดับปัจเจก ผลลัพธ์ที่ตามมา Campbell ถือว่า เส้นทางพัฒนาการอันหนึ่งได้ถูกสร้างขึ้นสู่ระดับจิตของมนุษย์(human psyche) คล้ายพิมพ์เขียวทั่วๆไปทางพันธุกรรมอันหนึ่ง อันนี้ได้ไปเชื่อมโยงข้ามสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ทั้งมวล และเป็นบางสิ่งซึ่งพวกเรามีอยู่ร่วมกัน มันมีศักยภาพที่ทำให้เราลงรอยร่วมกัน. ทฤษฎีต่างๆของเขาถูกวางอยู่บนพื้นฐานการรวมกันของเรือนร่างหนึ่งของหลักฐานที่มาสนับสนุนจากทั่วโลก

ขั้นตอนต่างๆเกี่ยวกับการเดินทางของตัวเอก(hero's journey) ที่ได้รับการวางกรอบหรือโครงร่างโดย Campbell ในหนังสือของเขาเรื่อง The Hero with a Thousand Face (Campbell 1972, pp. ix-x) มีดังนี้:

1. การพรัดพราก(departure)
การเรียกร้องให้ผจญภัย
การปฏิเสธเสียงเรียกร้องนั้น
ความช่วยเหลือจากสิ่งที่เหนือธรรมชาติ
การข้ามผ่านธรณีประตูครั้งแรก
ภายในท้องปลาวาฬ

2. การเริ่มต้น
เส้นทางแห่งการทดสอบ
การพบกับเทพธิดา
ผู้หญิงในฐานะผู้มีเสน่ห์เย้ายวนใจ
การคืนดีกับพ่อ
การได้รับการยกย่องให้เป็นพระเจ้า
ผลประโยชน์ที่ได้รับสูงสุด

3. การกลับมา
การปฏิเสธที่จะหวนกลับมา
การต่อสู้กับอำนาจเวทมนต์ร์วิเศษ
การช่วยเหลือจากภายนอก
การข้ามผ่านธรณีประตูเพื่อหวนกลับไป
ปรมาจารย์ของทั้งสองโลก
อิสรภาพของการดำรงอยู่ชีวิต

ในหนังสือ The Hero with a Thousand Faces เขาได้บรรยายถึงขั้นตอนต่างๆเหล่านี้แต่ละขั้นอย่างละเอียด(ซึ่งขนานกันไปกับงานของ Propp), ตัวอย่างต่างๆเกี่ยวกับการค้นหาของพวกเขาในความมากมายหลากหลายของเรื่องเล่า Campbell เสนอว่า

คล้ายๆกับปกรณัมโบราณและเรื่องเล่าเก่าๆ การดำเนินเรื่องของภาพยนตร์และโทรทัศน์ก็คือปกรณัมสมัยใหม่ของพวกเรา ซึ่งพวกมันได้รวมการนำเสนอภาพโครงสร้างต่างๆเกี่ยวกับตัวเอกในลักษณะอย่างเดียวกันเหล่านี้เอาไว้

ตามความคิดของ Campbell การวิเคราะห์เกี่ยวกับพวกมัน จะเผยให้เห็นความจริงในลักษณะเดียวกันเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เกี่ยวกับความเป็นวีรชน(heroism) และเกี่ยวกับเส้นทางต่างๆที่นำไปสู่ความสว่างและความงอกงามเต็มที่ อันนี้ได้ถูกนำเสนออกมาเป็นภาพในภาพยนตร์ต่างๆ อย่างเช่น Satr Wars (ซึ่งกำกับโดย George Lucas) และภาพยนตร์เรื่อง The Matrix

ในที่นี้เป็นการคัดลอกเกี่ยวกับคำพูดของ Campbell กับ Bill Moyers , สำหรับ Bill Moyers นั้นเป็นนักสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์อเมริกันคนหนึ่ง เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง Star Wars และการเดินทางของตัวเอก. Campbell ได้อธิบายถึงแง่มุมอันหนึ่งเกี่ยวกับการผจญภัย, ท้องของปลาวาฬ, ในรายละเอียดบางอย่าง. อันนี้จะให้ไอเดียคุณเกี่ยวกับว่า แบบแผนทั้งหมด สามารถมองลึกลงไปในมันได้อย่างไร

Moyers : ครั้งแรกที่ผมได้ดูภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ผมคิดในใจว่า นี่เป็นเรื่องเล่าที่เก่าแก่โบร่ำโบราณมากเรื่องหนึ่งในเครื่องแต่งกายสมัยใหม่ที่สุด เรื่องเล่าเกี่ยวกับคนหนุ่มที่ถูกเรียกร้องให้ผจญภัย พระเอกที่ออกไปเผชิญหน้ากับการทดสอบและประสบการณ์ที่ยากลำบากต่างๆ และหวนกลับมาหลังจากที่ได้รับชัยชนะกับผลประโยชน์สำหรับชุมชน…

Campbell : แน่นอน Lucas กำลังใช้ตัวละครต่างๆในปกรณัมมาตรฐาน ภาพของชายชราคนหนึ่งในฐานะที่ปรึกษา ทำให้ผมนึกไปถึงปรมาจารย์ทางด้านการต่อสู้ด้วยดาบของชาวญี่ปุ่น ผมรู้จักกับบุคคลเหล่านั้นบางคน และ Ben Kenobi มีบุคลิกภาพบางอย่างของพวกเขาเหล่านั้นอยู่บ้าง

Moyers : ปรามาจารย์ทางด้านการใช้ดาบทำอะไรบ้าง?

Campbell : เขาเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญทั้งหมดเกี่ยวกับการใช้ดาบ การบ่มเพาะของตะวันออกเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้(martial art) ซึ่งไปพ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมเคยพบในจิมเนเซียมอเมริกันต่างๆ. คนเหล่านี้มีความเข้าใจในเทคนิคทางด้านจิตวิทยา เช่นเดียวกับเทคนิคทางด้านร่างกายอันหนึ่งที่ไปด้วยกัน คุณสมบัติในเชิงบุคลิกอันนี้มีอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars

Moyers : มันเป็นบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับปกรณัมโบราณด้วยเช่นกันที่ว่า พระเอกได้รับการช่วยเหลือจากคนแปลกหน้า ผู้ซึ่งได้แสดงให้เห็นและได้ให้เครื่องมือบางอย่างกับตัวพระเอก ...

Campbell : เขาไม่เพียงให้เครื่องมือทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังให้คำสัญญาหรือข้อผูกพันทางจิตใจและแกนกลางของจิตวิทยาด้วย คำสัญญาผูกพันนั้นย้อนหลังไป หรือพ้นจากระบบความตั้งใจ คุณคือหนึ่งเดียวกับเหตุการณ์

Moyers : ฉากที่ผมชอบมากก็คือ ตอนที่พวกเขาต่างอยู่กันในเครื่องอัดขยะ และผนังเหล็กกำลังบีบตัวเข้ามา และผมคิดว่า "นั่นมันคล้ายกับการอยู่ท้องของปลาวาฬที่ได้กลืนกิน Jonah เข้าไป

Campbell : นั่นคือที่ที่พวกเขาอยู่ การตกเข้าไปในอยู่ในท้องปลาวาฬ

Moyers : อะไรคือนัยสำคัญของปกรณัมเกี่ยวกับท้องปลาวาฬ

Campbell : ท้องปลาวาฬเป็นสถานที่มืดมิด ที่ซึ่งการย่อยอาหารเกิดขึ้นและพลังงานใหม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา เรื่องราวของ Jonah ในท้องปลาวาฬเป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องหนึ่งของแนวเรื่องที่ลึกลับ ซึ่งในความเป็นจริง นั่นเป็นสากล เกี่ยวกับตัวเอกที่ตกอยู่ในท้องปลาและผลสุดท้ายได้หลุดออกมาอีกครั้ง และได้เปลี่ยนแปลงไป

Moyers : ทำไมตัวเอกจึงต้องกระทำเช่นนั้น

Campbell : มันคือการตกเข้าไปในความมืด ในทางจิตวิทยาแล้ว ปลาวาฬเป็นตัวแทนของพลังอำนาจของชีวิตที่ถูกล็อคหรือกักอยู่ในจิตไร้สำนึก. ในเชิงอุปมาอุปมัย น้ำคือจิตไร้สำนึกต่างๆ และสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างที่อยู่ในน้ำก็คือ ชีวิตหรือพลังงานของจิตไร้สำนึก ซึ่งครอบคลุมหรือท่วมท้นบุคลิกภาพและจิตสำนึก และจะต้องถูกทำให้พลังอำนาจของมันน้อยลงมา เอาชนะมันและควบคุมมันให้อยู่

ในขั้นตอนแรกของการผจญภัยอันนี้ ตัวเอกจะละทิ้งจากอาณาจักรที่คุ้นเคย ซึ่งเขามีมาตรการบางอย่างเกี่ยวกับการควบคุม และได้มาสู่ธรณีประตูหรือจุดเริ่มต้น ขอให้เราใช้คำว่าขอบของทะเลสาบหรือมหาสมุทร ที่ซึ่งสัตว์ประหลาดตนหนึ่งจากปลักนรกหรือห้วงเหวอเวจีได้มาพบกับเขา มันจึงมีความเป็นไปได้ต่อมา 2 ประการ

ในเรื่องเล่าเกี่ยวกับแบบฉบับของ Jonah, พระเอกได้ถูกกลืนกิน และถูกนำไปสู่นรกอเวจี ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการฟื้นคืนชีพ - ความแปรปรวนอันหนึ่งเกี่ยวกับความตายและแนวเรื่องของการฟื้นคืนชีพ. บุคลิกภาพแห่งความสำนึก ในที่นี้ ได้มาเชื่อมต่อกับแรงกระตุ้นอันหนึ่งของพลังงานของจิตไร้สำนึก ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ และตอนนี้จะต้องทนทุกข์กับการทดสอบต่างๆ และการเผยตัวของการเดินทางท่องไปในท้องทะเลที่กว้างใหญ่ยามค่ำคืนอันแสนน่ากลัว ขณะเดียวกัน ก็ได้เรียนรู้เพื่อที่จะยอมรับพลังอำนาจอันนี้ของความมืดมิดด้วยความยากลำบาก และการปรากฏตัวขึ้นมาของวิถีชีวิตใหม่ในท้ายที่สุด

ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งก็คือ พระเอก ในการเผชิญหน้ากับพลังอำนาจของความมืด เขาอาจเอาชนะและฆ่ามันลง ดังที่ Siegfried และ St. George ได้กระทำ เมื่อพวกเขาได้ฆ่ามังกรที่โหดร้ายได้. แต่ขณะที่ Siegfried เรียนรู้ เขาจะต้องดื่มเลือดของมังกรตัวนั้น เพื่อที่จะนำเอาบางสิ่งบางอย่างของมังกรมาสู่ตัวเขา นั่นคือพลังอำนาจของมังกรนั่นเอง

เมื่อ Siegfried ได้ฆ่ามังกรร้ายตายลงและได้ดื่มกินเลือดของมังกร เขาก็ได้ยินเสียงเพลงแห่งธรรมชาติ เขาได้มีชัยอยู่เหนือความเป็นมนุษย์ของเขา และได้เชื่อมโยงตัวของเขาเองอีกครั้งกับพลังอำนาจของธรรมชาติ ซึ่งมันคือพลังอำนาจต่างๆเกี่ยวกับชีวิตของเรา และที่ซึ่งจิตวิญญาณนของเราโยกย้ายหรือถอนตัวออกมาจากมัน

คุณได้เห็นความสำนึกที่มันกำลังวิ่งพล่าน แต่มันเป็นองค์ประกอบส่วนที่สองของชีวิตมนุษย์ และมันไม่ต้องการให้ตัวของมันเองตกอยู่ในการควบคุม กล่าวคือ มันจะต้องยอมจำนนและรับใช้เรือนร่างของความเป็นมนุษย์. เมื่อมันตกอยู่ในการควบคุม คุณก็จะได้คนอย่าง Darth Vader ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars คนที่ข้ามไปสู่ด้านที่มีเจตนาอย่างมีสำนึก (Campbell 1988, pp.178-81)

ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars และภาพยนตร์เรื่อง Mad Max ของ George Miller ได้รับการวางรากฐานโดยตรงและได้รับแรงบันดาลใจจากทฤษฎีต่างๆของ Campbell. ความสำเร็จจนเป็นที่นิยมของภาพยนตร์เหล่านี้บอกกับเราว่า พวกมันได้สะท้อนถ่ายถึงความเชื่อและความรู้สึกต่างๆของผู้ชมอย่างลึกซึ้ง

เดิมที Campbell ได้สร้างทฤษฎีต่างๆของเขาขึ้นมาบนการวิเคราะห์เกี่ยวกับปกรณัมโบราณและเรื่องเล่าต่างๆที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น ปัจจุบันมันกลายเป็นการพลิกกลับหรือความตรงข้ามที่น่าสนใจอันหนึ่ง. Lucas และ Miller ล่วงรู้เกี่ยวกับผลงานของ Campbell และใช้ประโยชน์มันในการสร้างเรื่องเล่าต่างๆของพวกเขาขึ้นมา. บรรดานักเขียนบทภาพยนตร์ปัจจุบันนี้ เรียนรู้และใช้ทฤษฎีของ Campbell ในฐานะที่เป็นพื้นฐานอันหนึ่งสำหรับเขียนเรื่องเล่าต่างๆของพวกเขา (Vogler 1992)

Campbell ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์สำหรับฐานที่มั่นในแบบ Jungian ของเขา และหนทางที่ทฤษฎีต่างๆของเขา สามารถถูกนำไปอยู่ในแนวเดียวกันกับอุดมคติอันหนึ่งเกี่ยวกับลัทธิปัจเจกชนนิยม. แง่มุมต่างๆที่เป็นสากลเกี่ยวกับทฤษฎีทั้งหลายของ Campbell ถูกมองโดยคนบางคนที่ได้รับมุมมองมาจากทัศนียภาพแบบตะวันตกว่า ซึ่งมันล้มเหลวที่จะเห็นและยอมรับความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม

การโฟกัสหรือเพ่งความสนใจลงไปที่ตัวเอกได้ไปสนับสนุนอุดมคติอันเป็นแบบฉบับของคนอเมริกันเกี่ยวกับพลังอำนาจของปัจเจก ยิ่งกว่าที่จะให้การยอมรับความสำคัญของสังคมในฐานะที่เป็นองค์รวม

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการวิจารณ์ต่างๆเหล่านี้ ผู้เขียนพบว่าผลงานของ Campbell มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและน่าประทับใจ; ไอเดียต่างๆ แน่นอน เชื่อมโยงกับความคิดทั้งหลายของผู้คนเป็นจำนวนมากทุกวันนี้ และที่น่าสนใจคือว่า เราสามารถพบเห็นการนำเสนอของพวกเขาได้ในงานโฆษณาต่างๆอย่างหลากหลายบนจอโทรทัศน์ ที่ให้การยกย่องคนธรรมดาในฐานะที่เป็น"วีรบุรุษ" หรือกระทั่งในสโลแกนหรือคำขวัญทั้งหลาย อย่างเช่น Nike's "just do it". เราสามารถพบเห็นสิ่งที่กระตุ้นหรือสนับสนุนเราให้ติดตามความปิติสุขของเรา

แบบไหนกัน เกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์สื่อที่คุณพบว่ามันทำให้เชื่อถือได้มากที่สุด อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะฝึกฝนตัวของคุณเองที่จะค้นหาแบบแผนต่างๆในข้อมูลเนื้อหาสื่อ ไม่ว่าพวกมันจะอยู่ในรูปของแบบแผนต่างๆเชิงโครงสร้าง (อย่างเช่น การสังเคราะห์ในเชิงวิภาษวิธี[dialectic synthesis - การสังเคราะห์ความขัดแย้ง] และ การดำเนินเรื่องแบบวงกลม[cyclical narratives]) ระหัสและธรรมเนียมต่างๆทั่วๆไป, ลายเซ็นผู้กำกับหรือผู้สร้างภาพยนตร์, สัญลักษณ์ต่างๆที่ข้ามวัฒนธรรม และบทบาทหน้าที่ต่างๆของตัวละคร, และความกลัวที่เป็นสากล, ความปรารถนาต่างๆ, รวมไปถึงขั้นตอนพัฒนาการทั้งหลาย

ให้ดูฉากช่วงเริ่มต้นภาพยนตร์เรื่อง The Matrix เมื่อ Morpheus ได้ให้ Neo เลือกที่จะยอมรับความจริงว่าเขารู้มัน, หรือตั้งคำถามกับมันและถูกปลดปล่อยจาก matrix. ลองพิจารณาดูว่า ฉากนี้สัมพันธ์กับโครงสร้างเกี่ยวกับการเดินทางของตัวเอกในทฤษฎีของ Campbell อย่างไร

แบบฝึกฝนความคิดเห็น (Exercise Commentary)
เมื่อ Neo เผชิญหน้ากับทางเลือกระหว่างยาเม็ดสีแดงและสีเขียว ระหว่างการตื่นขึ้นมากับความจริง หรือจะยังคงอยู่ในโลกของความฝัน ซึ่งชะตากรรมของเขาได้ถูกกำหนดโดยเทคโนโลยี เขาเลือกที่จะละทิ้งจากดินแดนอันคุ้นเคย… เข้าไปสู่สถานที่อันมืดมิด ที่ซึ่งพลังงานใหม่ได้รับการสร้างสรรค์และปรากฎขึ้นมา(ท้องของปลาวาฬ) และมันถูกทำให้แปรรูปไป

หลังจากที่ Neo เลือกยาเม็ดสีแดง เขาได้เผชิญหน้ากับสิ่งที่สามารถได้รับการตีความในฐานะที่เป็นการเกิดใหม่(หรือการฟื้นคืนชีพ) ช่วงระหว่างที่เขาปรากฏตัวขึ้นมาจากเยื่อบุคล้ายๆกับถุงน้ำคร่ำ และได้ถูกแยกออกจากสิ่งซึ่งคล้ายๆสายสะดือที่เชื่อมต่อพลังชีวิตของเขากับ matrix. ถัดจากนั้นเขาได้เคลื่อนย้ายลงมาในท่อแคบๆและโผล่ออกมาจากพื้นที่ที่ปิดล้อม พื้นที่ซึ่งหล่อเลี้ยงไปด้วยน้ำสู่แสงสว่าง

คุณคิดว่าบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง The Matrix มีความคุ้นเคยกับผลงานของ Campbell และอาศัยมันเป็นฐานความรู้ดังที่พวกเขาสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาหรือไม่? หรือคุณคิดว่าความผันแปรเกี่ยวกับเรื่องเล่าของ Neo ได้ถูกเล่าขานซ้ำแล้วซ้ำเล่าในข้อมูลสื่อต่างๆที่ต่างกันออกไป เพราะพวกเขาเล่าถึงการตื่นขึ้นมาชนิดหนึ่ง ซึ่งเราทั้งหลายต่างต้องการที่จะเรียนรู้ เพื่อที่จะยอมรับมัน?

เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อความ กรุณาอ่านต่อบทความลำดับที่ 387 คลิกไปอ่านได้จากที่นี่

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

Campbell ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์สำหรับฐานที่มั่นในแบบ Jungian ของเขา และหนทางที่ทฤษฎีต่างๆของเขา สามารถถูกนำไปอยู่ในแนวเดียวกันกับอุดมคติอันหนึ่งเกี่ยวกับลัทธิปัจเจกชนนิยม. แง่มุมต่างๆที่เป็นสากลเกี่ยวกับทฤษฎีของ Campbell ถูกมองโดยคนบางคนที่ได้รับมุมมองมาจากทัศนียภาพแบบตะวันตกว่า ซึ่งมันล้มเหลวที่จะเห็นและยอมรับความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม

บทความในเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับสื่อกับสังคม เพื่อความเข้าใจสื่อที่มีผลกระทบต่อสังคมและจิตวิทยาที่เป็นสากล
H

นักวิจารณ์ Roland Barthes ได้เพิ่มเติมอีกมิติหนึ่งเข้ามาในการคิดถึงผู้ชมและการขานรับหรือตอบโต้ของพวกเราต่อเรื่องที่แต่งขึ้น เมื่อเขาได้สนทนาถึงเรื่องความพึงพอใจเกี่ยวกับการอ่านเรื่องราวที่สร้างขึ้นมาต่างๆ. เขาได้ใช้คำในภาษาฝรั่งเศสว่า Jouissance (bliss - ความสุขที่สมบูรณ์ หรือความพึงพอใจระดับจิตวิญญาน) และจำแนกความต่างๆของคำนี้จากคำว่า Plaisir (pleasure - ความพึงพอใจ) ซึ่งเป็นอารมณ์ความรู้สึกในระดับธรรมดา

แน่นอน Lucas กำลังใช้ตัวละครต่างๆในปกรณัมมาตรฐาน ภาพของชายชราคนหนึ่งในฐานะที่ปรึกษา ทำให้ผมนึกไปถึงปรมาจารย์ทางด้านการต่อสู้ด้วยดาบของชาวญี่ปุ่น ผมรู้จักกับบุคคลเหล่านั้นบางคน และ Ben Kenobi มีบุคลิกภาพบางอย่างของพวกเขาเหล่านั้นอยู่บ้าง Moyers : ปรามาจารย์ทางด้านการใช้ดาบทำอะไรบ้าง?
Campbell : เขาเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญทั้งหมดเกี่ยวกับการใช้ดาบ การบ่มเพาะของตะวันออกเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้(martial art) ซึ่งไปพ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมเคยพบในจิมเนเซียมอเมริกันต่างๆ. คนเหล่านี้มีความเข้าใจในเทคนิคทางด้านจิตวิทยา เช่นเดียวกับเทคนิคทางด้านร่างกายอันหนึ่งที่ไปด้วยกัน คุณสมบัติในเชิงบุคลิกอันนี้มีอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars

Moyers : อะไรคือนัยสำคัญของปกรณัมเกี่ยวกับท้องปลาวาฬ
Campbell : มันคือการตกเข้าไปในความมืด ในทางจิตวิทยาแล้ว ปลาวาฬเป็นตัวแทนของพลังอำนาจของชีวิตที่ถูกล็อคหรือกักอยู่ในจิตไร้สำนึก. ในเชิงอุปมาอุปมัย น้ำคือจิตไร้สำนึกต่างๆ และสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างที่อยู่ในน้ำก็คือ ชีวิตหรือพลังงานของจิตไร้สำนึก ซึ่งครอบคลุมหรือท่วมท้นบุคลิกภาพและจิตสำนึก และจะต้องถูกทำให้พลังอำนาจของมันน้อยลงมา เอาชนะมันและควบคุมมันให้อยู่