เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ

2
0
0
4

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 390 หัวเรื่อง
ปัญหานักกฎหมายไทย
ชำนาญ จันทร์เรือง
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com

R
relate topic
210547
release date
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความวิชาการ ฟรีสำหรับทุกคน
เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เปิดขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้ โดยไม่มีเงื่อนไขทางการศึกษา วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจใดๆมาเป็นอุปสรรค และยังมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตความรู้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม
The Alternative University


นิติกร : นิติปัญหา
ปัญหาของนักกฎหมายไทย
ชำนาญ จันทร์เรือง
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บทความนี้ยาวประมาณ 2.5 หน้ากระดาษ A4)


ในการปกครองประเทศมีหลักอันหนึ่งที่เรียกว่า Rule of Law ซึ่งมีศัพท์บัญญัติเป็นภาษาไทยถึง 8 คำ คือ หลักธรรม หลักความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย นิติธรรมวินัย หลักกฎหมาย หลักธรรมแห่งกฎหมาย นิติปรัชญา หรือที่เป็นที่นิยมกันส่วนมากในบรรดานักกฎหมายก็คือ คำว่า หลักนิติธรรม ซึ่งในความหมายก็คือ ประเทศปกครองด้วยกฎหมายมิได้ปกครองด้วยบุคคล

แต่ปัญหาที่พบกันอยู่ทุกวันนี้ก็คือ มักจะมีการกล่าวว่า กฎหมายล้าสมัย กฎหมายเป็นธรรม โดยมองข้ามหรือมิได้วิเคราะห์ไปให้ถ่องแท้ว่า ปัญหาข้อเท็จจริงนั้นเกิดจากตัวกฎหมายหรือว่าตัวผู้ใช้กฎหมายเองกันแน่

การศึกษากฎหมายในปัจจุบัน
เดิมประเทศไทยเรามีโรงเรียนสอนกฎหมายเพียงแห่งเดียวในกระทรวง ยุติธรรม แต่ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเปิดสอนวิชากฎหมายจำนวนมาก และมีหลายระดับ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. มหาวิทยาลัยของรัฐ

1.1 แบบปิด ต้องมีการสอบเอ็นทรานซ์เข้า เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

1.2 แบบเปิดหรือศึกษาทางไกล ไม่ต้องมีการสอบเข้าโดยนักเรียนที่จบมัธยมปลาย สามารถสมัครเข้าเรียนได้เลย คือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง

2. มหาวิทยาลัยเอกชน เช่น มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นต้น

ปัญหาที่พบ

1. บุคคลากรในวิชาชีพกฎหมายเกือบทุกสาขาเข้าสู่วิชาชีพตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ นิติกร พนักงานสอบสวน ฯลฯ จึงมีปัญหาด้านวุฒิภาวะ ประสบการณ์ และการใช้ดุลพินิจ เช่น พนักงานสอบสวนอาจจะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่อายุเพียง 21 หรือ 22 ปี หรือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีบทบาทสำคัญในกฎหมายฟื้นฟูองค์กรทางธุรกิจ ที่มีมูลค่ามากมายมหาศาล แม้แต่พนักงานอัยการหรือผู้พิพากษา ก็เริ่มต้นด้วยอายุเพียง 25 ปี ซึ่งยังถือได้ว่ายังอ่อนประสบการณ์ชีวิต และขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์อยู่มาก เมื่อเทียบกับภาระหน้าที่ที่จะต้องใช้อำนาจชี้เป็นชี้ตายผู้อื่น

2. ระบบการคัดคนเข้าสู่วิชาชีพในปัจจุบัน ให้ความสำคัญด้านความรู้ ความสามารถเป็นอย่างมาก ส่วนด้านคุณงามความดีทางศีลธรรมและจริยธรรม แทบจะไม่ได้ให้น้ำหนักกันอย่างจริงจัง ทำให้เกิดปัญหาทางด้านพฤติกรรมของบุคลากรในวิชาชีพกฎหมายที่มักจะได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ

3. การคัดเลือกคนเข้าเป็นนักศึกษาวิชากฎหมาย ยังคงรับจากนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นหลัก (เว้นแต่บางสถาบันที่รับเป็นปริญญาใบที่ 2) เด็กนักเรียนเหล่านี้ยังไม่มีทั้งความรู้และประสบการณ์ เมื่อมาเรียนกฎหมาย จึงมีฐานความรู้อยู่ที่กฎหมายลักษณะต่างๆ เท่านั้น เมื่อจบการศึกษาออกไป จึงมักจะยึดติดกับตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ ซึ่งลักษณะของการยึดติดอยู่ที่ตัวบทกฎหมายนี้ดูจะอาการหนักหนาสาหัสสำหรับผู้ที่สอบได้คะแนนดี ยิ่งสอบกฎหมายได้คะแนนดีมาก เท่าไหร่ ก็จะยิ่งยึดติดกับตัวบทกฎหมายมากขึ้นเท่านั้น

4. อาจารย์สอนกฎหมายอยู่ในสภาพรอเพื่อจะไปที่อื่นเสียมากกว่า เพราะมีค่าตอบแทนที่สูงกว่า ส่วนคนที่ยังคงอยู่ด้วยอุดมการณ์ กลับถูกมองว่าไม่มีโอกาสไปมากกว่าจะอยู่เพราะรัก หรือศรัทธาในวิชาชีพ เมื่อสถานภาพของอาจารย์สอนกฎหมายเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะหวังถึงผลผลิตที่ออกมาได้อย่างไรเล่า

5. สถาบันการศึกษากฎหมายของไทยมีกิจกรรมด้านวิจัยพัฒนาน้อยมาก เมื่อเทียบกับสาขาอื่น ๆ และที่มีอยู่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานวิจัยเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ และใช้ข้อมูลทางเอกสารมากกว่าที่จะลงไปเก็บข้อมูลในภาคสนาม งานพัฒนากฎหมายจึงใช้ประโยชน์จากงานวิจัยน้อยมาก

แนวทางแก้ไข

1. การเป็นนักกฎหมายที่ดีมิใช่เป็นผู้ที่จำกฎหมายได้มากที่สุด แต่สังคมต้องการการบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมด้วย หลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ จึงต้องกำหนดให้นักศึกษาเรียนรู้และเข้าใจในหลักวิชาชีพนักกฎหมาย ที่จะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมเพียบพร้อมควบคู่ไปกับนิติปรัชญาที่เฉียบแหลม

2. หลักสูตรของคณะนิติศาสตร์ ควรมีลักษณะของการเพิ่มพูนความรู้ด้านสหวิทยาการให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก การที่รู้แต่เพียงวิชานิติศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการใช้งานอย่างแน่นอน และแม้แต่ในส่วนของวิชานิติศาสตร์แท้ๆ เอง นอกเหนือจากกฎหมายหลัก 4 ฉบับแล้ว ในส่วนของกฎหมายมหาชนก็สมควรที่จะมีการเน้นให้มีการศึกษาอย่างจริงจังและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพราะเป็นกฎหมายหลักในการบริหารราชการบ้านเมืองแขนงหนึ่ง

3. ในส่วนของปัญหาการกำหนดให้ผู้ที่จบมัธยมปลายเข้าศึกษาวิชากฎหมายนั้น ใน ต่างประเทศมีการจัดการศึกษาวิชากฎหมายให้เป็นปริญญาที่สอง เช่น สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ฯลฯ อย่างไรก็ตามในหลายประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ ต่างก็ยังรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษามัธยมปลายอยู่ ในส่วนของไทยเรานั้นเห็นว่าจากปัญหาที่พบดังที่กล่าวมาแล้ว ก็น่าจะถึงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติการรับเข้าศึกษาวิชากฎหมายเสียใหม่ เผื่อบางทีอาจจะดีขึ้นกว่าเดิม และคำกล่าวที่ว่า "คนส่วนใหญ่ที่มาเรียนกฎหมาย คือ คนที่อ่อนคำนวณ หรือภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่อง" จะได้หมดไปเสียที

4. การให้ผลตอบแทนแก่อาจารย์ผู้สอนกฎหมาย เป็นสิ่งที่ควรคำนึงเป็นพิเศษ โดย ทั่วไปแล้ว ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีแนวทางเป็นไปตามระเบียบของทางราชการอยู่แล้ว เมื่อมาดูที่สถาบันการศึกษาของเอกชน จะพบว่ามีความแตกต่างกันไปตามแต่หลักเกณฑ์ที่ผู้บริหารสถาบันกำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานความรับผิดชอบ. ผู้บริหารส่วนใหญ่มักจะกล่าวว่า ค่าตอบแทนของอาจารย์วิชากฎหมายก็ควรจะเท่าๆ กับอาจารย์ผู้สอนวิชาอื่นๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าคิด และหากสถานการณ์ยังคงเป็นไปเช่นนี้อยู่ ก็คงหาทางแก้ไขปัญหาสมองไหลที่อาจารย์จะไปสอบเป็นผู้พิพากษา ตุลาการ หรืออัยการ หรือไปเป็นที่ปรึกษากฎหมายบริษัทเอกชนไม่ได้อย่างแน่นอน

5. การกำหนดอายุของผู้ที่เข้าประกอบวิชากฎหมาย ควรจะมีการกำหนดอายุให้มากขึ้นเพื่อให้มีวุฒิภาวะมากขึ้น อาจจะกำหนดการเข้าสู่ตำแหน่งอัยการ ผู้พิพากษา ฯลฯ เริ่มตั้งแต่ 30 หรือ 35 ปี แล้วเกษียณอายุ 65 หรือ 70 ปีหรืออยู่ตลอดชีวิตไม่มีการเกษียณอายุแบบในบางประเทศแทน ซึ่งจะทำให้เราได้ผู้พิพากษา อัยการ ที่มีประสบการณ์และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น

สรุป
ถึงเวลาที่เราจะต้องทบทวนการเรียนการสอนวิชากฎหมายและการคัดเลือกคนเข้าสู่ตำแหน่งของไทยเราได้หรือยัง เพราะไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษากฎหมาย หรือการใช้กฎหมาย หากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานให้กำเนิดและบังคับใช้ดังกล่าว ไม่มีความรู้ดีพอแล้ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งปัญหาเกิดขึ้นมากเท่าไหร่ Rule of Law หรือหลักนิติธรรมย่อมห่างไกลจากความเป็นจริงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
บุคคลากรในวิชาชีพกฎหมายเกือบทุกสาขาเข้าสู่วิชาชีพตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ นิติกร พนักงานสอบสวน ฯลฯ จึงมีปัญหาด้านวุฒิภาวะ ประสบการณ์ และการใช้ดุลพินิจ เช่น พนักงานสอบสวนอาจจะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่อายุเพียง 21 หรือ 22 ปี หรือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีบทบาทสำคัญในกฎหมายฟื้นฟูองค์กรทางธุรกิจ ที่มีมูลค่ามากมายมหาศาล
ปัญหาของความอ่อน ในแง่วัยวุฒิ และประสบการณ์ อาจมีผลกระทบต่อความยุติธรรมในกระบวนการกฎหมายไทย
H