เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗: มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ

2
0
0
4

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 391 หัวเรื่อง
สื่อและผลกระทบต่อมนุษย์
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com

R
relate topic
260547
release date
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความวิชาการ ฟรีสำหรับทุกคน
เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เปิดขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยไม่มีเงื่อนไขทางการศึกษา วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจใดๆมาเป็นอุปสรรค และยังมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตความรู้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม
The Alternative University


ดูละครแล้วย้อนดูตัว
การวิเคราะห์สื่อในแนวจิตวิเคราะห์แบบ Jungian

สมเกียรติ ตั้งนโม

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความชิ้นนี้แปลมาจากหนังสือเรื่อง Media and Society
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Michael O' Shaughessy และ Jane Stadler
สำนักพิมพ์ Oxford University Press ปีที่พิมพ์ 2002
(ในส่วนของ Part 3, Chapter 11 เรื่อง Joseph Cambell and Carl Jung หน้า 175-185)


หมายเหตุ: บทความเรื่องนี้ เป็นบทความต่อเนื่องจากเรื่อง
"สื่อในมุมมองมานุษยวิทยาและจิตวิเคราะห์" บทความลำดับที่ 388 ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

(บทความนี้ยาวประมาณ 18 หน้ากระดาษ A4)


ความนำ
แนวความคิดต่างๆของจุงเกียน และสื่อต่างๆ
(Jungian Concepts and the Media)

จากการที่ทฤษฎีของ Jungian ได้เป็นพื้นฐานอยู่เบื้องหลังผลงานของ Campbell เป็นจำนวนมาก จึงเป็นประโยชน์สำหรับในที่นี้ ที่เราจะมาพิจารณากันถึงแนวความคิดบางอย่างอันเป็นสาระสำคัญของ Jungian อย่างคร่าวๆ จิตวิทยาของ Jung ด้วยเช่นกัน ที่ได้ให้ความสว่างในความเข้าใจต่อเนื้อหาข้อมูลสื่อต่างๆ

ขณะที่ฟรอยด์และวิธีการทางด้านจิตวิเคราะห์ของคนอื่นๆ ได้รับการอ้างถึงในการศึกษาเกี่ยวกับสื่ออยู่บ่อยๆ แต่สำหรับผลงานของ Jung แล้วไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งอันนี้คือหนึ่งในเหตุผลต่างๆที่ผู้เขียนต้องการที่จะกล่าวถึงวิธีการศึกษาของเขา ณ ที่นี้ ผู้เขียนจะให้เค้าโครงหรือสรุปความถึงแนวคิดที่สำคัญบางอย่างของ Jungian และนำเสนอถึงวิธีการต่างๆที่พวกมันเกี่ยวข้องการการดำเนินเรื่อง และเกี่ยวพันกับสื่อ (Jung 1978; Platania 1997)

ความเป็นปัจเจก (individuation)
Jung ได้ให้เหตุผลว่า ขณะที่แต่ละคนเติบโตและแก่กล้าขึ้น พวกเขาต้องผ่านกระบวนการอันหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นปัจเจก อันนี้คล้ายคลึงกับความเจริญเติบโตเต็มที่ของจิตวิญญาน เขาเสนอว่า มันคือขั้นตอนทั้งหลายของผู้คนที่จะต้องผันผ่าน เพื่อที่จะเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์

ขั้นตอนทั้งหลายเหล่านี้เกี่ยวพันกับการเผชิญหน้าของบุคคลกับด้านมืด(shadow side)ของเขาหรือเธอ และด้านของความเป็นหญิง(anima)และความเป็นชาย(animus)ด้วย ทั้งคู่เป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและเป็นกระบวนการต่างๆของการทดสอบ

ความเป็นปัจเจกที่ประสบความสำเร็จ เกี่ยวข้องกับการค้นพบของบุคคลเกี่ยวกับตัวตนภายในจริงๆ(real inner-self)ของเขาหรือเธอ และความสมปรารถนาของชีวิต คำอธิบายนี้เกี่ยวกับความเป็นปัจเจก ซึ่งขนานกันอย่างใกล้ชิดกับความก้าวหน้าในการดำเนินเรื่องโดยปัจเจก ที่ตัวละครต่างๆนำพาไปในเรื่องราวต่างๆ - กระบวนการเกี่ยวกับการทดสอบและการเปลี่ยนแปลงที่ตัวละครทั้งหลายได้ประสบ พวกเขาได้ค้นพบความสำเร็จด้วยตัวของพวกเขาเอง โดยเหตุนี้ ความเจริญงอกงามและความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตัวละครทั้งหลายในงานที่แต่งขึ้น จึงสะท้อนถ่ายแนวคิดหรือความเชื่อของ Jung เกี่ยวกับความเป็นปัจเจก

เราสามารถที่จะวิเคราะห์ความเจริญงอกงามของการเล่าเรื่อง ในฐานะที่เป็นกระบวนการความเป็นปัจเจกอันหนึ่ง (an individuation process)ได้ดังต่อไปนี้

แม่แบบต่างๆ (Archetypes)
Jung อธิบายแม่แบบต่างๆในฐานะที่เป็นพิมพ์เขียวทางพันธุกรรม สำหรับแบบฉบับของพฤติกรรมที่เป็นอุดมคติ แม่แบบต่างๆเหล่านี้ส่งผ่านถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งช่วยให้เรากระทำการต่างๆในหนทางที่เหมาะสมในสถานการณ์อันหลากหลาย

เขาให้เหตุผลว่า คนและพฤติกรรมที่เป็นแม่แบบต่างๆได้ถูกจารึกลงในบุคคลในปกรณัมโบราณ ซึ่งได้นำทางและสั่งสอนพวกเราให้กระทำการในหนทางบางอย่างอันเป็นอุดมคติ วีรชนซึ่งได้ท่องไปจนประสบความสำเร็จ โดยผ่านการทดสอบและความยากลำบากของเขาหรือเธอ คือแม่แบบที่ชัดเจนมากที่สุด

ระบบต่างๆเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าทั้งในรูปบุรุษเพศและสตรีเพศ ซึ่งพบได้ในหลายๆวัฒนธรรม อย่างเช่น พระผู้เป็นเจ้าของกรีกและโรมัน ได้ชี้ให้เราเห็นถึงด้านที่แตกต่างของพฤติกรรม, หรือแม่แบบที่ต่างกัน ดังที่ Jean Shinoda Bolen กล่าวเอาไว้ "พระเจ้าในบุรุษเพศและสตรีเพศ เป็นตัวแทนคุณสมบัติที่ต่างกันในจิตใจของมนุษย์"(Bolen 1989, p.x)

การเฝ้าดูตัวละครทั้งหลายกระทำการต่างๆในหลายๆสถานการณ์ในเรื่องที่แต่งขึ้นมามากมาย สามารถสอนเราได้ว่า เราสามารถที่จะไปถึงศักยภาพสูงสุดของเราได้อย่างไร



คำอธิบายภาพประกอบ
แม่แบบต่างๆในฝ่ายของความเป็นชาย(masculinity)
แหล่งข้อมูล: ปรับมาจาก Moore and Gillette 1991, pp.16 -17


Moore and Gillette (1991) ได้ใช้แบบแผนนี้ในการสำรวจตรวจตราของพวกเขาเกี่ยวกับพฤติกรรมร่วมสมัยของผู้ชาย และภาพลักษณ์ต่างๆเกี่ยวกับความเป็นชาย พวกเขาได้โฟกัสลงไปที่แม่แบบ 4 แบบ: นั่นคือ

กษัตริย์(king)
นักรบ(warrior)
ผู้วิเศษ(magician) และ
นักรัก(lover)
(เทียบกันกับเทพเจ้าของกรีก ได้แก่ Zeus, Ares, Hermes, และ Dionysius)

สิ่งเหล่านี้แต่ละอย่างเป็นตัวแทนในบางแง่มุมของความเป็นชาย ซึ่งสามารถได้รับการตรวจสอบและพัฒนาโดยผู้ชายแต่ละคน ในช่วงขณะที่พวกเขาเจริญเติบโตขึ้นสู่ความสมบูรณ์เต็มที่ของพวกเขา

ประเด็นสำคัญอันหนึ่งคือว่า คุณสมบัติที่แตกต่างกันเหล่านี้สามารถได้รับการทำให้เป็นจริงจนประสบความสำเร็จ หรือไม่เป็นจริงก็ได้: หากสิ่งเหล่านี้ถูกกระทำให้น้อยเกินไปหรือมากจนเกินไปเกี่ยวกับแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง โดยเฉพาะที่ทำให้ขาดดุลยภาพ มันก็จะน้อมนำไปสู่ด้านมืดของแม่แบบได้

การดำเนินเรื่องต่างๆได้สร้างขึ้นมาบนการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆเหล่านี้ ซึ่งเป็นพื้นฐานอุดมคติอันหนึ่งสำหรับการสำรวจแม่แบบต่างๆดังกล่าว และรวมถึงแง่มุมที่เป็นด้านบวก(ความสว่าง)และด้านลบ(เงามืด)ของพวกเขา สิ่งที่ตามมาคือ

ข้อสรุปสั้นๆอันหนึ่งเกี่ยวกับแม่แบบทั้ง 4 ที่เป็นตัวแทนพวกนี้ ด้วยตัวอย่างต่างๆของตัวละครในเรื่องที่แต่งขึ้น และผู้คนที่เป็นจริง เพื่อแสดงให้เห็นทั้งภาพ"ด้านที่เป็นอุดมคติ"และ"ด้านที่เป็นเงามืด" การสนทนาเกี่ยวกับแม่แบบของความเป็นชายต่อไปนี้ วางอยู่บนพื้นฐานผลงานของ Moore และ Gillette (1991)

กษัตริย์ (The King)
แม่แบบของกษัตริย์ที่นำเสนอนั้น เป็นสิ่งที่ Moore และ Gillette อ้างถึงในฐานะที่เป็น"พลังงานของพ่อ"(father energy) กษัตริย์จะสร้างระเบียบแบบแผนขึ้นมาโดยผ่านกฎหมายต่างๆ พระองค์นำเอาความอุดมสมบูรณ์และความปิติสุขมาให้ และพระองค์เป็นผู้ถือกุญแจสู่สันติภาพ, ความสงบ, และกฎระเบียบ

ด้านที่เป็นเงามืดของบุคคลที่เป็นกษัตริย์คือ กษัตริย์ทั้งหลาย ซึ่งภารกิจของพระองค์เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่เหล่านี้ทำให้พระองค์กลายเป็นผู้ครอบงำ(ทรราชย์ - the tyrant) และกษัตริย์เหล่านั้นเป็นบุคคลที่ล้มเหลวอย่างรุนแรงในหมู่ของกษัตริย์ทั้งปวง(ผู้ที่อ่อนแอ - the weakling)

กษัตริย์ Arthur ถือเป็นบุคคลที่เป็นกษัตริย์ในด้านบวกอย่างชัดเจนพระองค์หนึ่ง แต่เป็นเรื่องง่ายมากที่จะคิดถึงกษัตริย์ที่อยู่ในเงามืด - Darth Vader, Citizen Kane, หรือ Harvey Keitel ในภาพยนตร์เรื่อง The Bad Lieutenant, และครูใหญ่ (ไม่ใช่ตัวละครที่แสดงโดย Robin Williams) ในภาพยนตร์เรื่อง Dead Poets' Society บุคคลเหล่านี้ทั้งหมดเป็นทรราชย์หรือผู้กดขี่คนอื่นๆ

Homer Simpson ในรายการโทรทัศน์ชุด The Simpsons ได้เคลื่อนย้ายไปมาระหว่าง คนที่อ่อนแอ-เห็นแก่ตัว คนที่หมกมุ่นอยู่กับตัวของตัวเอง ขาดซึ่งพลังและอำนาจ และถูกจัดการได้อย่างง่ายดายโดย Bart, Lisa และ Marge, ซึ่งทั้งหมดนี้ฉลาดกว่าเขา. เขาครอบครองพลังอำนาจมากที่สุดในครอบครัว และได้กระทำทารุณต่างๆโดยปฏิบัติการอันเลวร้าย แต่ในบางโอกาส เขาก็เป็นพ่อที่ดี, มีการปกป้อง, ให้การช่วยเหลือ, และรักเมียและลูกๆของเขา

บรรดาผู้อ่านข่าวผู้ชาย และบรรดาผู้นำเสนอเรื่องราวเหตุการณ์ปัจจุบัน อย่างเช่น Ray Martin (ผู้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ปัจจุบันของรายการ national Australian current affairs show) และ John Humphries (ซึ่งมีรายการคล้ายๆกันของเขาทาง BBC) บ่อยครั้งพยายามที่จะรับเอาฐานะตำแหน่งของผู้ตัดสินชี้ขาดที่ถูกต้องยุติธรรมมาใช้ (พวกเขาทำตัวเสมือนพ่อที่มีความสุขุม และพ่อที่ดี)

คานธีนับเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งได้รับการมองว่า(และถูกนำเสนอบนแผ่นฟิล์ม) ในฐานะที่เป็นแม่แบบของกษัตริย์ในอุดมคติ, ขณะที่คนอีกหลายคนอย่างเช่น Hitler(ฮิตเลอร์), Pol Pot (นายพอลพต), และ Stalin (สตาลิน)ล้วนเป็นกษัตริย์ในฝ่ายมืด

นักรบ (The warrior)
นักรบมีพลังของความก้าวร้าว และความชัดเจนทางความคิดและการกระทำ เขารู้ในสิ่งที่เขาต้องการและรู้ว่าจะได้มันมาได้อย่างไร เหมือนกับซามูไร ในวิถีของนักรบ เขามี"ข้อผูกมัดที่พ้นไปจากเรื่องส่วนตัว"(transpersonal commitment) (เขาจะผูกพันกับอุดมคติหรือหลักการอันหนึ่ง ซึ่งได้ให้ความสำคัญเหนือกว่าข้อผูกมัดของเขา ที่มีต่อปัจเจกชนคนใดโดยเฉพาะในชีวิตของเขา) และนอกจากนี้ นักรบยังไกลห่างจากเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก

ด้านที่เป็นเงามืดของคนที่เป็นนักรบก็คือการเป็นคนพาล(หรือพวกซาดิสท์) และคนขี้ขลาด(หรือแมสโซคิสท์)

อันนี้คือหนึ่งในแม่แบบที่เป็นแกนกลาง ซึ่งพบได้ในการเล่าเรื่องของสื่อต่างๆ และบางทีมันก็สร้างปัญหามากที่สุด เนื่องจากการที่มันดูเหมือนว่าจะสอนสั่งพวกเด็กๆให้มีความก้าวร้าว ในฐานะที่เป็นวิธีการอันหนึ่งของการเกี่ยวข้องกับโลก

เรื่องเล่าเป็นจำนวนมากเป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวกับลูกผู้ชายที่ต้องการต่อสู้เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายต่างๆที่วางไว้ของพวกเขา. พวกเขามีศีลธรรมประจำใจว่า"พลังอำนาจคือความถูกต้อง"(might is right) กระนั้นก็ตาม แม่แบบประเภทนี้ได้กระตุ้นให้ต่อสู้และปฏิเสธเรื่องอารมณ์ (ดังนั้น นักรบจึงสามารถสู้จนกระทั่งประสบความสำเร็จ)

ข้อเท็จจริงที่ว่า นักรบทั้งหลายมีข้อผูกพันที่ข้ามพ้นไปจากเรื่องส่วนตัว(transpersonal commitment) สามารถได้รับการมองในฐานะที่เป็นคุณสมบัติทางด้านบวก เพราะเขาต่อสู้เพื่อจุดประสงค์ เพื่อความดีของคนอื่น(เพื่อความเป็นมนุษย์) มากกว่าเพื่อตัวของเขาเอง หรือถ้าหากว่าการต่อสู้ของเขาเป็นไปเพื่อคนเหล่านั้นซึ่งเขาไปสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวด้วย มันก็จะน้อมนำให้พวกเขาไปสู่หนทางแห่งความเป็นทรราชย์หรือมีอคติได้

ยกตัวอย่างเช่น การคิดถึงความแตกต่างระหว่าง Maximus และ Commodus ในภาพยนตร์ของ Ridley Scott เรื่อง Gladiator นักรบคนหนึ่งที่ได้รับแรงกระตุ้นจากข้อผูกพันที่ข้ามพ้นความเป็นส่วนตัว แต่คนอื่นๆกลับได้รับแรงกระตุ้นจากอารมณ์ ซึ่งได้มารบกวนการทำหน้าที่และความโลภ

ความต้องการที่ไกลห่างทางด้านอารมณ์ไม่ได้เป็นปัญหามากมายนัก ถ้าเราพึงระลึกว่า การเหินห่างไปจากอารมณ์เป็นที่ต้องการเพียงเพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น นั่นคือเพื่อต่อสู้ให้ได้ชัยชนะ - และหลังจากวัตถุประสงค์อันนี้ประสบผลสำเร็จแล้ว นักรบสามารถปล่อยให้อารมณ์ผ่านเข้าในในตัวเขาได้

บรรดาอัศวินโต๊ะกลมของกษัตริย์อาเธอร์ในตำนานต่างๆเกี่ยวกับอาเธอร์ ได้แสดงถึงคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้ บรรดานักรบที่ดียังพบได้ในละครชุดทางโทรทัศน์ด้วย เช่น Hercules และ Xena: Warrior Princess (สำหรับเรื่องหลังนี้แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าตามข้อเท็จจริง Moore และ Gillette จะใช้มันเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ชาย ในฐานะที่เป็นแม่แบบต่างๆ แต่โดยทั่วไปแล้ว มันไม่ใช่การผูกขาดทางด้านเพศสภาพ กล่าวคือ ผู้หญิงก็สามารถเป็นนักรบได้เช่นกัน)

บรรดาเด็กหนุ่มๆในภาพยนตร์เรื่อง Stand by Me ต่างก็เป็นนักสู้ (อันนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า แม่แบบต่างๆเกี่ยวกับความเป็นนักรบ ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะกับผู้ใหญ่เท่านั้น) ดังเช่นดาราชายจำนวนมาก (Clint Eastwood, Arnold Schwarzenegger, Mel Gibson, Bruce Willis, Bruce Lee, Brandon Lee, และคนอื่นๆ) Luke Skywalker และ Han Solo ในเรื่อง Star Wars ก็เป็นนักรบที่ต่อสู้เพื่อคุณความดี

บรรดาวีรชนทั้งหลายต่างเป็นนักรบที่ดี ส่วนพวกวายร้ายต่างๆเป็นนักรบที่เลว ภาพยนตร์เรื่อง Ghost Dog: Way of the Samurai (Jim Jarmusch, 1999) เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่สำรวจถึงหลักการของนักรบญี่ปุ่น ที่ได้วางสิ่งเหล่านี้ลงในเหตุการณ์ร่วมสมัยของอเมริกัน โดยวีรชนที่เป็นคนผิวดำซึ่งเป็นที่ปรึกษาอันชาญฉลาดของเด็กวัยรุ่นผู้หญิงผิวขาวคนหนึ่ง. ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นการใช้แนวเรื่องดังกล่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักรบ เพื่อสำรวจตรวจตราถึงประเด็นปัญหาเรื่องเชื้อชาติและเพศสภาพด้วย

บางทีเรื่องราวเกี่ยวกับนักรบหรือนักสู้ที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือ การสำรวจถึงตัวละครเหล่านั้น ซึ่งคุณความดีของพวกเขาเป็นสิ่งที่ดูคลุมๆเครือๆ และเป็นผู้ซึ่งกำลังต่อสู้กับแง่มุมที่แตกต่างของแม่แบบนักรบ. Robert de Niro ในภาพยนตร์ต่างๆ อย่างเช่น Raging Bull, บ่อยครั้งได้พรรณาถึงแง่มุมในเชิงบวกและเชิงลบของนักสู้

ภาพยนตร์เรื่อง Face/Off ซึ่งเคยพูดถึงไปแล้วในตอนที่สัมพันธ์กับการสังเคราะห์เรื่องความขัดแย้ง(dialectical synthesis - การสังเคราะห์เชิงวิภาษวิธี) และกระบวนการเกี่ยวกับการรวมตัวกันที่บ่อยครั้ง เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาคู่ตรงข้ามคู่หนึ่ง สามารถได้รับการมองในฐานะที่เป็นการตรวจสอบที่น่าสนใจเกี่ยวกับการต่อสู้กัน ระหว่างแง่มุมที่แตกต่างของนักรับ

วีรชนที่เป็นชายต่างๆในภาพยนตร์หลายๆเรื่องของบรรดาผู้กำกับ อย่างเช่น Quentin Tarantino และ John Woo เป็นตัวละครที่กำลังสำรวจถึงหลักการต่างๆของนักรบ และพยายามที่จะค้นพบว่า จะอยู่อย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ… และการจบลงในแบบโศกนาฏกรรม หรือด้วยความเศร้าต่างๆนั้นเป็นการค้นพบข้อเสนอที่ว่า มันยากเย็นเพียงใดสำหรับผู้ชายที่จะค้นพบ"วิถีทางดังกล่าว"ในสังคมร่วมสมัย

คนจริงๆ อย่างเช่น Ned Kelly และทหาร Anzac (หมายถึงทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ต่างก็เป็นนักรบที่ดี และเป็นแบบฉบับในเชิงอุดมคติอันนี้ ซึ่งได้รับการสร้างขึ้นมาในคนออสเตรเลียนเกี่ยวกับ"นักต่อสู้ชาวออสซี่"(the Aussie battler)

ผู้วิเศษ (The magician)
ผู้วิเศษมีพลังของหมอผี(shaman - คนที่สามารถติดต่อกับโลกของจิตวิญญานได้) และเขาเป็นปรมาจารย์ของเทคโนโลยี, เวทมนตร์คาถา, และวิทยาศาสตร์. เขาเป็นทั้งครูและผู้ริเริ่ม; ผู้เห็นและผู้พยากรณ์; ผู้รู้เกี่ยวกับความรู้ที่เป็นความลับ; ผู้รักษาซึ่งเข้าใจและควบคุมระเบียบพลังงานภายในต่างๆ. บ่อยครั้ง ผู้วิเศษจะถูกนำไปผูกโยงกับการสะท้อนกลับมากกว่าการกระทำ. ด้านที่เป็นเงามืดของคนที่เป็นผู้วิเศษก็คือพ่อมดที่เลว, นักต้มตุ๋น, และคนลวงโลกต่างๆ

Morpheus ในภาพยนตร์เรื่อง The Matrix, Merlin the Magician และ Prospero จาก The Tempest ของ Shakespeare คือตัวอย่างต่างๆที่ชัดเจน. Robin Williams ได้แสดงเป็นคนที่มีพลังพิเศษต่างๆดังผู้วิเศษ ที่เด่นชัดก็คือการแสดงเป็นครูในภาพยนตร์เรื่อง Dead Poet's Society และแสดงเป็นนักบำบัดในเรื่อง Good Will Hunting

ในบทบาททั้งสองเรื่องนี้ งานของเขาคือการรักษา, การปลดปล่อยผู้คนให้เป็นอิสระ, และการเป็นที่ปรึกษาที่ชาญฉลาดไว้ใจได้ของคนหนุ่มสาว ซึ่งกำลังต่อสู้กับการเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เพื่อว่าคนหนุ่มสาวเหล่านั้น จะได้สามารถค้นพบคุณสมบัติของความเป็นนักรบหรือกษัตริย์ในตัวของพวกเขาได้

Ben Kenobi ถือว่าเป็นที่ปรึกษาที่ฉลาดปราดเปรื่องคนหนึ่งของ Luke Skywalker. ในเรื่อง The Wizard of Oz นับเป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับความเป็นผู้วิเศษ ที่ได้เปลี่ยนแปลงจากความเลวไปสู่ความดี ซึ่งจากคำต่างๆของ Moore และ Gillette คือ การยักย้ายเปลี่ยนแปลงจากการเป็นนักหลอกลวงต้มตุ๋นไปสู่ความเป็นผู้วิเศษในอุดมคติ

ผู้วิเศษที่ชั่วช้าทั้งหลาย จะถูกพบได้ในคนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์บ้าๆบอๆ เกี่ยวกับภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาจากนวนิยายวิทยาศาสตร์ต่างๆ: ยกตัวอย่างเช่น Dr. Jekyll เป็นต้น. ผู้คนอย่างเช่น Albert Einstein, Freud, แม้กระทั่ง Jung บุคคลเหล่านี้สามารถได้รับการมองว่าเป็นแบบฉบับหรือตัวอย่างของผู้วิเศษ

นักรัก (The lover)
นักรัก เป็นผู้ซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆในการดำเนินรอยตามพลังแห่งกิเลส-ตัณหา(passionate energy) ความอยากความปรารถนาทางด้านเพศ ความเข้าอกเข้าใจในอารมณ์ของคนอื่นๆ ความเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ ความกรุณา พลังแห่งจิตวิญญาน และทัศนะทางสุนทรีย์ นักรักต้องการที่จะสัมผัสและถูกสัมผัส แสวงหาความเป็นหนึ่ง และแสวงหาหนทางที่จะหยุดยั้งทำลายพรมแดนที่มาขวางกั้นระหว่างมนุษย์

คนที่มีความรู้สึกไวต่อเรื่องทางจิต(psychics)และบรรดาศิลปินทั้งหลาย บ่อยครั้ง บุคคลเหล่านี้จัดอยู่ในประเภทนักรัก. ด้านที่เป็นเงามมืดของคนพวกนี้ก็คือ นักรักที่เสพติด(หรือคนที่หมกมุ่นอยู่แต่ความรัก) พวกที่หมกมุ่นทางเพศ และนักรักที่หย่อนสมรรถภาพ-กามตายด้าน

ดาราภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก แสดงภาพยนตร์มาโดยตลอดด้วยการรับบทที่เป็นแง่มุมต่างๆของนักรักอย่างหลากหลาย: Leonardo di Caprio, Hugh Grant, Jack Nicholson, Woody Allen, Brad Pitt, Johnny Depp, และ Richard Gere ทั้งหมดที่เอ่ยชื่อมานี้ มีความเชี่ยวชาญในบทโรแมนติคต่างๆ หรือบทบาทที่มีศูนย์กลางอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง

บทบาททั้งหลายเหล่านี้อนุญาตให้มีการสำรวจเกี่ยวกับด้านที่มีความเป็นหญิงของผู้ชาย: การเปิดเผย ความซื่อสัตย์ทางอารมณ์ ความเป็นห่วงและความเอาใจใส่ และอื่นๆ. พวกเขายังให้ตัวอย่างต่างๆเกี่ยวกับพฤติกรรมความรัก: นักรักที่ประสบความสำเร็จจะแสดงออกถึงความเปิดเผย ความมีใจกรุณา และเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ แต่อาจน้อยเกินไปและมากเกินไปเสมอเกี่ยวกับแบบแผนดังกล่าว โดยเฉพาะพฤติกรรมซึ่งกระทำสิ่งต่างๆอย่างสมดุล

นักรักสามารถที่จะเป็นคนอย่างดอนฮวนได้ นั่นคือการปล่อยให้ตัวเองหมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องกามโลกีย์จนเลยเถิด และยึดติดอยู่กับเรื่องราคะและการล่อลวง นักรักสามารถที่จะเป็นคนซึ่งสนใจแต่การเอาชนะผู้หญิง ทำให้เขาเป็นคนที่เยือกเย็น ตัดตัวเองออกจากความรู้สึก และไม่สามารถที่จะเชื่อมต่อความรักได้

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับความรัก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องการการเจรจาตกลง ประนีประนอมเกี่ยวกับแบบแผนต่างๆเหล่านี้. ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars, Luke Skywalker บางครั้งเขาก็เป็นนักรบ บางครั้งเขาก็เป็นนักรัก. เขาต้องการที่จะเข้ากับแม่แบบทั้งหลายเหล่านี้ ณ ช่วงเวลาต่างๆที่เหมาะสม

เหล่านี้เป็นเพียงการนำเสนอแม่แบบเพียง 4 อย่างเท่านั้น ซึ่งยังมีแม่แบบอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนเพียงสำรวจตรวจตราเฉพาะแม่แบบของผู้ชายด้านเดียว และจะได้มีการพูดถึงภาวะที่ขาดดุลยภาพอันนี้ต่อไปข้างหน้า

แม่แบบต่างๆได้แสดงให้เราเห็นว่า มันมีอาณาเขตหรือปริมณฑลของการกระทำมากมาย ซึ่งเราสามารถถูกชักนำให้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน มันมีบทบาทที่เป็นไปได้มากมายที่เราสามารถรับเอาแม่แบบทั้งหลายมาใช้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป บรรดาพระเอกทั้งหลาย และพวกตัวผู้ร้ายในสื่อต่างๆ ก็คล้ายๆกับคนที่เป็นแม่แบบทั้งหลายร่วมสมัย

การวิเคราะห์ตามแนวของ Jungian เกี่ยวกับเรื่องเล่าต่างๆในสื่อ มองตัวละครทั้งหลายที่แสดงออกมาในฐานะที่เป็นแบบแผนที่เป็นแม่บทของพฤติกรรมเหล่านี้

เงามืดและภาพฉาย (The Shadow and Projection)
แนวความคิดเกี่ยวกับเงามืดของ Jung สามารถถูกทำความเข้าใจได้ดีที่สุดในการเชื่อมโยงกับความคิดเกี่ยวกับภาพฉาย. ด้านที่เป็นเงามืดคือด้านที่เป็นความมืดดำของเรา เป็นด้านลบ. มันรวมถึงแง่มุมต่างๆเกี่ยวกับตัวของเราเอง ซึ่งได้ถูกปฏิเสธและกดข่มเอาไว้ ที่มีอยู่เฉพาะในจิตไร้สำนึก และเรามีแนวโน้มที่จะฉายไปสู่คนอื่นในเชิงลบ

ภาพฉายที่เป็นไปในเชิงลบ(negative projection)จะเกิดขึ้น เมื่อเราได้เห็นคุณสมบัติต่างๆทางด้านมืดของเราในตัวคนอื่น ความเป็นปัจเจกเกี่ยวพันกับการตระหนักหรือยอมรับเงามืดที่เป็นตัวตนของเรา และอ้าแขนรับมันเพื่อที่จะบูรณการหรือประสานมันเข้าไปอยู่ในบุคลิกภาพ มากกว่าจะฉายมันลงบนคนอื่นๆ Jung ได้อธิบายภาพฉายหรือการส่องสว่างดังต่อไปนี้:

ภาพฉาย(projecion)เป็นเรื่องของจิตไร้สำนึก มันคือกระบวนการอัตโนมัติที่เนื้อหาอันหนึ่งซึ่งไร้สำนึก ได้มีการส่งต่อจากตัวประธานไปสู่ตัวกรรม ด้วยเหตุดังนั้น มันจึงดูเหมือนเป็นตัวกรรม. ภาพฉายจะหยุดชั่วขณะ มันกลายเป็นความสำนึก กล่าวคือ เมื่อมันถูกพบเห็น นั่นก็คือตัวประธานนั่นเอง (Jung 1978, p.121)

บ่อยทีเดียว สังคมทั้งหลายได้ค้นหากลุ่มคนในสังคมตนเองต่างๆซึ่งเป็นแพะรับบาป. คนยิว, คนที่ไม่ใช่คนขาว, และพวกรักร่วมเพศ กลุ่มคนเหล่านี้ได้กลายเป็นประเด็นของการแบ่งแยกจากพวกคริสเตียน, สังคมของคนขาว, และสังคมที่รักเพศตรงข้าม. กลุ่มของสังคมที่เป็นรองเหล่านี้ได้ถูกนำไปผูกโยงกับรูปแบบพฤติกรรมที่ต่อต้านสังคม และเป็นสาเหตุของปัญหาสังคมต่างๆ

การวิเคราะห์ของ Jungian มองว่าแนวโน้มต่างๆที่เลวร้ายข้างต้น สมาชิกทั้งหลายของคนที่เป็นเบี้ยล่างหรือเป็นรองเหล่านี้จะถูกใส่ความต่างๆนาๆ เช่น เป็นคนโลภ, ความไม่สะอาด, มีความปรารถนาในเรื่องรักร่วมเพศ, และอื่นๆ - ซึ่งจะถูกกดข่ม ปราบปราม และปฏิเสธจากคนเหล่านั้น ที่กล่าวหาพวกเขาเกี่ยวกับบาปต่างๆดังกล่าว (ชาวคริสเตียน, คนขาว, พวกรักต่างเพศ)

Jung ได้เสนอเรื่องนี้ด้วยเหตุผลว่า ผู้คนจะต้องตรวจสอบหรือค้นหาความมืดของพวกเขาเอง มากกว่าที่จะฉายฉานหรือป้ายมันลงไปในตัวของคนอื่น และในความหมายนี้ พวกเขาได้ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการของการกลายเป็นจิตสำนึกของจิตไร้สำนึกของพวกเขาเอง



คำอธิบายภาพประกอบ
การ์ตูนนี้ได้แสดงให้เห็นถึงผลที่ตามมาของการปฏิเสธด้านซึ่งเป็นเงามืดของพวกเรา - Source: Ron Pyatt, 1990
"คนเราไม่อาจที่จะสว่างได้โดยการจินตนาการถึงแสงสว่าง แต่จะกระทำได้โดยการทำให้ความมืดมาสู่ความสำนึก" C.G.Jung

Jung ได้ให้เหตุผลว่า เราจำเป็นต้องจ้องมองแง่มุมต่างๆที่เป็นไปในเชิงลบในตัวของพวกเราเอง เพื่อที่จะไปถึงภาวะความสุกงอมหรือการเจริญเติบโตเต็มที่ในด้านต่างๆ
การ์ตูนของ Ron Pyatt ที่เสนอข้างต้น เป็นภาพเกี่ยวกับการปฏิเสธด้านที่เป็นเงามืดของเรา ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายสำหรับตัวของเราเองเช่นเดียวกับคนอื่นๆ; ถ้าหากว่าเราปฏิเสธเงามืดของเรา มันก็จะยิ่งกลายเป็นเรื่องที่ร้ายแรงน่ากลัวมากขึ้น และจะคุกคามเพื่อมาทำลายเรา ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องยอมรับมัน ไม่ใช่ปฏิเสธมัน

การนำเอาความคิดเรื่องเกี่ยวกับเงามืดของตัวตนและภาพฉายมาใช้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสำรวจถึงการเล่าเรื่องต่างๆของภาพยนตร์และโทรทัศน์ Robin Robertson ได้แสดงข้อคิดเห็นและอธิบายถึงภาพเงามืดในความฝันว่า:

"ภาพเงามืด ปกติแล้ว ปรากฏตัวขึ้นมาครั้งแรกในฐานะที่ไม่ใช่มนุษย์: มนุษย์ต่างดาวจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง, เป็นพวกแวมไพร์หรือผีดูดเลือด, ซอมบิหรือผิดิบที่ฟื้นคืนชีพ, ภาพของสัตว์ประหลาดครึ่งคนครึ่งสัตว์ ฯลฯ. พวกมันจะมาเผชิญหน้ากับพวกเราโดยที่ไม่มีใครต้องการ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และมันมีอยู่ (Roberson 1992, p.113)

อันนี้คือภาษาของภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก แนวภาพยนตร์ต่างๆอย่างเช่น ภาพยนตร์แนวขมุกขมัว(film noir) แนวสยองขวัญ และแนววิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องอย่างชัดแจ้งกับแง่มุมต่างๆที่เป็นด้านเงามืดและเรื่องที่น่ากลัวของตัวเราเอง ในเทอมต่างๆของ Jungian พวกมันเป็นการสำรวจถึงด้านมืดต่างๆเหล่านี้ของตัวเรา (ภาพยนตร์ต่างๆ โดยแท้จริงแล้ว ก็คือการฉายภาพด้วยแสง ดังนั้นแนวความคิดทั้งสองอย่างนี้จึงถูกนำมาเชื่อมต่อกันได้อย่างเหมาะสม)

ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ สามารถแสดงออกถึงด้านที่เป็นเงามืดเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกของเรา. การสำรวจและการวิเคราะห์ซึ่งได้ใช้เรื่องความรับรู้แบบ Jungain เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นตัวแทนของเงามืดต่างๆ ยินยอมให้เราทำความเข้าใจภาพยนตร์ทั้งหลาย ในฐานะที่เป็นช่องทางต่างๆซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวตนที่เป็นด้านเงามืดของเรา อันนี้สามารถช่วยให้เรายอมรับ คล้อยตาม และบูรณการตัวตนที่เป็นเงามืดของเราได้ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวเราเอง แทนที่จะฉายฉานพวกมันไปยังคนอื่น

ในวิธีการนี้เราจึงสามารถเริ่มต้นที่จะปลดชนวนหรือกำจัดศักยภาพที่เป็นอันตรายและเป็นไปในเชิงทำลายของตัวตนที่เป็นด้านมืดของตัวเราเองได้

ภาพยนตร์เรื่อง Fight Club เป็นการสำรวจตรวจตราถึงความคิดเกี่ยวกับอัตตาที่สอง(alter-ego)ของตัวเรา. ด้านที่เป็นเงามืดของตัวละครหลัก (ซึ่งแสดงโดย Edward Norton)ได้ถูกทำให้เป็นตัวแทนของตัว Brad Pitt, ซึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้เขาคือ Tyler Durden. การละลายตัวละครทั้งสองตัวเข้าหากันในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว เป็นตอนที่ ในบางความรู้สึก Norton สามารถกลับกลายจากด้านที่เป็นเงามืดของเขามาสู่ความสำนึก และด้วยเหตุนี้จึงบูรณาการเข้ากับมัน

(ภาพยนตร์เรื่อง Fight club ยังน่าสนใจด้วยในฐานะที่เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งซึ่ง ดูเหมือนได้ทำนายถึงปรากฏการณ์ล่วงหน้า(anticipate)บางอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001. มันอาจถูกมองว่าเป็นการแสดงออกถึงจิตไร้สำนึกร่วม)

การเชื่อมต่อหรือการผนึกรวมตัวกันครั้งสุดท้ายกับตัวละคร Helena Bonham-Carter อาจถูกมองในฐานะที่เป็นการบูรณการอันหนึ่งของจิตวิญญานของ Norton

ความคิดความเชื่ออันนี้เกี่ยวกับภาพฉายมันทำงานในหลายๆระดับ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ยังสำรวจไปถึงตัวละครต่างๆในเรื่องเล่าว่า ตัวละครเหล่านี้ ได้ฉายแง่มุมเกี่ยวกับตัวของพวกเขาเองออกไปอย่างไร และรับรู้โลกโดยผ่านเลนส์ต่างๆที่มันบิดเบี้ยวต่อการตระหนักรู้อย่างไรด้วย

เราสามารถอ้างเหตุผลได้ว่า ข้อมูลสื่อต่างๆคือการฉายถึงแง่มุมที่แตกต่างของสังคมที่ได้ผลิตข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมา ในทำนองเดียวกัน มันสามารถถูกอ้างได้ว่า บรรดาตัวละครทั้งหลาย ซึ่งเรารู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพวกเขา หรือกับตัวละครที่เราสัมพันธ์ มันคือภาพฉายของแง่มุมบางอย่างเกี่ยวกับตัวของเราเอง (พวกวายร้ายต่างๆ บ่อยครั้ง สามารถที่จะถูกอ่านในฐานะที่เป็นภาพฉายของแง่มุมในเชิงลบของสังคม, หรือของผู้สร้างสรรค์เรื่องเล่าอันนั้นขึ้นมา, หรือของผู้ตีความทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องเล่านั้น)

ภาพยนตร์และโทรทัศน์แนวตะวันตกเป็นจำนวนมาก ได้โฟกัสลงไปที่ด้านซึ่งเป็นเงามืดของความเป็นมนุษย์. เนื้อหาภาพยนตร์และโทรทัศน์หลายต่อหลายเรื่องจ้องมองไปที่อาชญากรรมและสงคราม และมองไปที่เรื่องของความรุนแรงทางเพศ

ตามทัศนียภาพหรือมุมมองในเชิงลึกของ Jungian จะมองภาพยนตร์ต่างๆเหล่านี้ ในฐานะที่เป็นการสะท้อนถึงวิธีการที่สังคมร่วมสมัยกำลังหนีห่างจากด้านที่เป็นเงามืดของตัวมัน และในฐานะการสร้างข้อเรียกร้องอันหนึ่งซึ่งเราต้องเผชิญหน้ากับเงามืดนี้อย่างเต็มที่

ความเข้าใจอย่างซาบซึ้งในแบบของ Jungian เกี่ยวกับระดับของความรุนแรงและเรื่องทางเพศในภาพยนตร์ร่วมสมัยทั้งหลาย เป็นวิธีการที่แตกต่างอย่างสมบูรณ์อันหนึ่งกับวิธีการเซ็นเซอร์ มันเชื่อมโยงกับความคิดของฟรอยด์เกี่ยวกับการหวนคืนกลับไปสู่การข่มระงับ(the return of the repress) ศัพท์ทางด้านจิตวิเคราะห์อีกคำหนึ่งที่สอดคล้องกับประเด็นต่างๆเกี่ยวกับการเซนเซอร์

ฟรอยด์ได้ให้เหตุผลว่า สิ่งใดๆก็ตามที่ถูกข่มระงับหรือควบคุม(repressed) มันจะไม่หายไปหรือสูญสลาย ในทางตรงข้าม มันจะย้อนกลับมา แต่จะเป็นไปในรูปของการรบกวนและรุนแรงยิ่งกว่า

อันนี้คือพื้นฐานอันหนึ่งสำหรับการอ่านภาพยนตร์สยองขวัญต่างๆของ Robin Wood ในฐานะที่เป็นการสำรวจเกี่ยวกับ"การหวนกลับมาของสิ่งที่ถูกข่มระงับหรือกดทับ(the return of the repressed)(Wood 1986) ความปรารถนาที่ถูกกดข่มหรือเรื่องเพศ เป็นตัวอย่าง (ลักษณะร่วมอันหนึ่งของสังคมตะวันตก) อาจหวนกลับมาในรูปแบบความรุนแรงที่มากขึ้นบางอย่าง

ในภาพยนตร์เรื่อง American History X ตัวเอกในเรื่อง, Derex มีแรงกระตุ้นของความรุนแรงและอาชญากรรม ซึ่งเขาไม่ยอมรับ ไม่ยอมเข้าใจ หรือรับสารภาพ เขาฉายฉานความเกลียดชังและความกลัวของเขาเกี่ยวกับการรบกวนนี้ออกไปยังผู้อื่นแทน ซึ่งอันนี้เป็นส่วนหนึ่งของตัวเขาที่ยากจะเข้าใจ เขาเห็นว่าคนซึ่งไม่ใช่คนขาวเป็นอาชญากรที่รุนแรง และเขาเกลียดชังและกลัวเกรงคนเหล่านี้

เพียงหลังจากการเผชิญหน้าและรับผิดชอบต่อความรุนแรงและการก่ออาชญากรรมของเขาเอง และพัฒนาความเข้าใจอันหนึ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆที่เจ็บปวดซึ่งมันเกิดขึ้นมา นั่นเองที่ทำให้ Derex สามารถมองคนอื่นในฐานะปัจเจก และตัดสินพวกเขาบนคุณความดีของพวกเขาเองโดยปราศจากการฉายความกลัว, ความเดือดดาล ความรุนแรง และมีอคติต่างๆของเขาออกมายังผู้อื่น

ในการมองเห็นตัวของเขาเองอย่างชัดเจน ทำให้เขาสามารถกลายเป็นคนที่มองคนอื่นๆอย่างที่คนพวกนั้นเป็นจริงๆ มากกว่ารับรู้ถึงคนเหล่านั้นในฐานะที่เป็นข้อสรุปเกี่ยวกับภาพฉายต่างๆของตัวเขา

ส่วนที่เป็นหญิงในความเป็นชาย และส่วนที่เป็นชายในความเป็นหญิง
The Anima and animus
แนวความคิดต่างๆข้างต้น (ความเป็นปัจเจก, แม่แบบ, เงามืด, และภาพฉาย)นับวาเป็นประโยชน์มากสำหรับการวิเคราะห์การเล่าเรื่องหรือการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ แต่การวิจารณ์ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆของ Jung ก็คือ ระบบของเขาที่ใช้กรอบโครงสร้างการครอบงำแบบชาย(male-dominated), ความรักแบบต่างเพศ, และกรอบของเรื่องแก่นแท้(essentialist framework)มาอธิบาย

ทฤษฎีแก่นแท้ต่างๆ(essentialist theories)คือทฤษฎีที่ถือว่า ผู้คนได้ถูกนิยามโดยชีววิทยาของเขา. ทฤษฎีของ Jungian ได้ถูกเรียกว่า"แก่นแท้"(essentialist) เพราะว่าเพศในเชิงชีววิทยาของผู้คน (ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นหญิงหรือเป็นชายก็ตาม) ได้รับการพูดในฐานะที่เป็นการนิยามว่า พวกเขาเป็นใคร: มันได้มากำหนดอัตลักษณ์ต่างๆของพวกเขา(ความเป็นชายหรือความเป็นหญิง) และนับจากจุดนี้ มันได้มามีส่วนกำหนดบทบาททางสังคมของพวกเขา

Jung เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาเรื่องเพศสภาพโดยผ่านแนวความคิดของเขาเกี่ยวกับ anima / animus (ส่วนของความเป็นหญิงในผู้ชาย / ส่วนของความเป็นชายในผู้หญิง). คำศัพท์ทั้งสองคำนี้ถูกนำมาใช้อธิบายถึงจิตวิญญานของความเป็นหญิง(anima) หรือจิตวิญญานของความเป็นชาย(animus)ซึ่งเราแต่ละเพศต่างครอบครองอยู่

ชายมี anima, ส่วนผู้หญิงมี animus. จิตไร้สำนึกของทุกๆคนมีแง่มุมต่างๆของเพศสภาพในเชิงตรงข้ามบรรจุอยู่ในตัวของพวกเขา ในแบบจำลองพัฒนาการทางด้านจิตใจของ Jung ขั้นตอนต่อเนื่องของกระบวนการเกี่ยวกับความเป็นปัจเจก ภายหลังจากการรวมตัวกันกับเงามืดซึ่งเกี่ยวพันกับผู้ชายทั้งหลายก็คือ การค้นพบ anima หรือความเป็นหญิงที่มีอยู่ภายในของพวกเขา และผู้หญิงได้ค้นพบ animus หรือความเป็นชายที่มีอยู่ภายในของพวกเธอ

Jung บันทึกเอาไว้ว่า กระบวนการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นมาหลังจากวัยกลางคน อันนี้ตรงข้ามกับกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนวัยกลางคน ช่วงระหว่างเวลาที่ผู้ชายและผู้หญิงแสวงหาความตรงข้ามของพวกเขาและเธอ และไม่มีคุณลักษณ์ของเพศสภาพภายนอกตัวของพวกเขาเองในหุ้นส่วนที่มาเติมเต็ม หลังจากวัยกลางคนแล้ว ผู้ชายและผู้หญิงจะเริ่มแสวงหาคุณลักษณะเหล่านี้ภายในตัวของพวกเขาเอง

การยืนยันในความเป็นหนึ่งของธาตุแท้ความเป็นชายและความเป็นหญิง สามารถพบเห็นได้ในฐานะที่เป็นความต้องการเพศตรงข้ามที่มากำหนด ซึ่งมันถูกวางอยู่บนพื้นฐานความแตกต่างกันโดยสาระ ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง. มันเป็นเรื่องจริงที่ว่า Jung ได้วางคุณสมบัติต่างๆของความเป็นชายและความเป็นหญิงเอาไว้ แต่:

- สิ่งเหล่านี้คือลักษณะของการเติมเต็ม(complementary) ไม่ใช่ลักษณะที่เป็นปรปักษ์หรือตรงกันข้าม(antagonistic) และการรวมตัวกันระหว่างทั้งสองที่น่าปรารถนา - พวกเขาจะสร้างดุลยภาพให้กันและกัน และคนๆหนึ่งที่ปราศจากคนอีกคนหนึ่งจะสร้างความไม่สมดุลขึ้นมา. อันที่จริงอันนี้คือสิ่งที่เป็นเรื่องของกระบวนการเกี่ยวกับการบูรณาการ(การประสานรวมตัวกัน)ระหว่าง anima / animus

- ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ผู้ชายและผู้หญิงต่างก็มีคุณสมบัตของความเป็นชายและความเป็นหญิงทั้งคู่ภายในตัวของพวกเขาเอง ด้านที่เป็นชายและเป็นหญิงอยู่ภายใน ด้วยเหตุนี้ ผู้ชายจึงสามารถมีลักษณะที่เป็นหญิงได้ และผู้หญิงสามารถที่จะเป็นชายได้ ผลที่ตามมา ดุลยภาพของความเป็นชายและความเป็นหญิงจึงไม่เกี่ยวกับการรวมตัวกันกับคนอีกคนหนึ่ง(คู่ที่มีเพศต่างกัน) แต่เป็นภาวะดุลยภาพภายในอันหนึ่งที่บรรลุถึงได้โดยปัจเจกบุคคล

ถ้าหากว่าเราพิจารณากันอีกครั้งเกี่ยวกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ซึ่งโฟกัสอย่างต่อเนื่องลงไปที่"การสร้างคู่"ในช่วงตอนจบของการดำเนินเรื่อง เราสามารถที่จะพิจารณาถึงคำศัพท์ต่างๆของ Jungian ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวกันภายในของความเป็นชายและความเป็นหญิงของปัจเจกชนคนหนึ่ง. อันนี้ยังสัมพันธ์กับการแยกสลายหรือละลายเกี่ยวกับความตรงข้ามลงด้วย

- ด้วยเหตุดังนั้น ลักษณะเฉพาะต่างๆเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องราวเฉพาะเกี่ยวกับเพศสภาพ; มันอาจได้รับการการถกว่า การปิดป้ายพวกเขาในฐานะความเป็นชายและความเป็นหญิงเป็นระบบธรรมดาระบบหนึ่ง และอันนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงพวกเขากับผู้ชายและผู้หญิงจริงๆ

การวิจารณ์ต่อมาเกี่ยวกับเรื่องของแม่แบบต่างๆ(archetypes) ก็คือ มันชื่นชมแบบฉบับต่างๆของผู้ชาย แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ได้หมายความว่า แบบฉบับเหล่านี้จะเป็นเรื่องแต่เพียงสำหรับผู้ชายเท่านั้นด้วย

Jean Shinoda Bolen ได้ทำการสำรวจถึงความคิดความเชื่อเกี่ยวกับแม่แบบเทพเจ้าที่เป็นชาย(เทพปิตา) และเทพเจ้าที่เป็นหญิง(เทพมาตา) เขาเขียนว่า "วิหารอันศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้ากรีกทั้งหลาย เทพปิตาและเทพมาตา ดำรงอยู่ในฐานะแม่แบบในพวกเราทั้งหมด แม้ว่าเทพปิตาทั้งหลาย ปกติแล้วจะเข้มแข็งที่สุด และเป็นตัวการกำหนดซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อบุคลิกภาพของผู้ชาย เช่นเดียวกับเทพมาตาทั้งหลายก็มาเป็นตัวกำหนดที่สำคัญมากที่สุดสำหรับผู้หญิง (Bolen 1989)

Bolen กำลังให้เหตุผลว่า แม่แบบของผู้ชายและผู้หญิงได้ถูกนำมาเชื่อมโยงอย่างแข็งขันมากที่สุดกับเพศเดียวกันกับพวกเขา แต่ในเวลาเดียวกันแม่แบบเหล่านี้มีอยู่ในทั้งผู้ชายและผู้หญิง. ดังนั้น ผู้หญิงทั้งหลายจึงมีแม่แบบของความเป็นกษัตริย์และนักรบ สำหรับการสำรวจเทียบกันกับผู้ชายทั้งหลาย ที่มีคุณสมบัติของแม่แบบความเป็นหญิงในเรื่องของการทะนุถนอมและความเอาใจใส่

การใช้ความคิดเกี่ยวกับ anima / animus (ความเป็นหญิงที่อยู่ในผู้ชาย / ความเป็นชายที่มีอยู่ในผู้หญิง) อาจเผยให้เห็นแง่มุมต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับสื่อ การนำเสนอของสื่อทั้งหลายส่วนใหญ่คือ ภาพฉายของผู้ชายซึ่งถูกผลิตขึ้นมาโดยผู้ชายเพื่อผู้ชาย และจำนวนมากของสิ่งเหล่านี้ก็โฟกัสลงบนการนำเสนอต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิงและความเป็นหญิง

ถ้าหากว่าเรายอมรับข้อสันนิษฐานของ Jung ก็จะดูเหมือนว่า การนำเสนอต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น Marilyn Monroe - ผู้ซึ่งดูเหมือนจะเป็นแก่นแท้ของความเป็นหญิง และเป็นการค้านหรือตรงข้าม(antithesis)กับความเป็นชาย - ซึ่งที่จริงแล้ว เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตของผู้ชาย มันคือภาพฉายเกี่ยวกับความเป็นหญิงที่มีอยู่ภายในของผู้ชายออกมานั่นเอง

ความเป็นปัจเจก อาจนำมาซึ่งการทำให้ผู้ชายยอมรับอัตลักษณ์ความเป็นหญิงเหล่านี้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขาเอง อันนี้เป็นที่ชัดเจนว่า มันคือการก้าวไปข้างหน้า จากความคิดเกี่ยวกับผู้หญิงในฐานะที่เป็น"คนอื่น" ที่มักจะอยู่ในด้านตรงข้ามกับความเป็นชายเสมอ

การวิเคราะห์สื่อสามารถถามถึงการสะท้อนตัวตนของผู้ชาย เมื่อพวกเขาจ้องมองไปที่การนำเสนอต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิง และการมองดูตัวแทนต่างๆเหล่านี้ในฐานะที่เป็นภาพฉายเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆของตัวพวกเขาเอง และพัฒนาไปสู่คำถามที่ว่า พวกเขาเกี่ยวข้องกับความเป็นหญิงภายในของพวกเขาเองกันอย่างไร ในทำนองเดียวกัน การวิเคราะห์สื่อสามารถที่จะถามผู้หญิงเกี่ยวกับการรับรู้ถึงการสะท้อนตัวตนของผู้หญิง เมื่อพวกเธอได้ดูการนำเสนอต่างๆของผู้ชาย

แต่อย่างไรก็ตาม อย่างแรกอาจเป็นสิ่งสำคัญกว่าในทุกวันนี้ นับจากการที่มันจะช่วยรื้อสร้าง(deconstruct)รูปแบบต่างๆของความเป็นชาย ที่ที่มีอำนาจเหนือกว่าในระบบที่ผู้ชายเป็นใหญ่ซึ่งแพร่หลายเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปอยู่ในทุกวันนี้

ส่วนที่สำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับความคิดในเชิงวิพากษ์ก็คือ การตระหนักหรือรับรู้เกี่ยวกับหลักฐานข้อสนับสนุน หรือข้อสันนิษฐานที่หนุนอยู่ข้างใต้วิธีการศึกษาที่แตกต่างกัน ในแบบจำลองของ Jung เกี่ยวกับเรื่องจิต เราอาจจะต้องบันทึกลงไปว่า มันถูกสันนิษฐานว่า รูปแบบของการเติมเต็มที่ทำให้เกิดความสมบูรณ์ของเพศที่ต่างกันเป็นเรื่องธรรมชาติ ภาวะที่ทำให้สุขภาพดี ซึ่งเราทั้งหมดได้ก้าวหน้าไปสู่สิ่งนั้น

ยกตัวอย่างเช่น ปัจเจกชนคนหนึ่ง ด้วยลักษณะเฉพาะของความเป็นชายที่มีอิทธิพล จะแสวงหาภาวะสมดุลไปจนตลอดชีวิตบนเส้นทางดังกล่าว อันดับแรก โดยการเสาะหาหุ้นส่วนของความเป็นหญิง(ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้หญิง) และต่อจากนั้นโดยการพัฒนา anima (ความเป็นหญิงในผู้ชาย)ภายในตัวของพวกเขาเอง

สุดท้าย มันไม่มีความหมายนักกับการที่ตัวของ Jung เองนั้น ซึ่งยอมรับการปฏิเสธเกี่ยวกับความเป็นหญิงในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ หรือการให้คุณค่ากับความเป็นผู้ชายมากเกินไป. แต่เขายังเห็นถึงแง่มุมในเชิงบวกด้วยถึงการปรากฏตัวขึ้นมาของแม่แบบของความเป็นหญิงในลัทธิพิธีรายรอบการนับถือ Virgin Mary (การบูชาพระแม่มารี) ซึ่งวิวัฒน์ขึ้นมาภายนอกโบสถ์คาธอลิค อันนี้คือสถาบันอันหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางควบคู่กับปิตาธิปไตย

ผลงานเกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวของผู้หญิง กลุ่มเกย์ และเลสเบี้ยน, และแบบแผนที่กำลังเปลี่ยนไปเกี่ยวกับบทบาทของ ชาย / หญิง ร่วมสมัย และการเป็นตัวแทนต่างๆ สามารถได้รับการมองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการปรากฏตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งของความเป็นหญิง การได้รับการติดอาวุธด้วยความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเกี่ยวกับทฤษฎี anima / animus มันทำให้เราทั้งหลายสามารถที่จะมองดูสิ่งนี้ ไม่ใช่ในฐานะของการต่อสู้อันหนึ่งกับความเป็นชาย (แม้ว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้กับปิตาธิปไตย) แต่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการของความเป็นชายและความเป็นหญิง, ทั้งภายนอกและภายใน กล่าวคือในส่วนภายนอก อย่างเช่นกรณีต่างๆของความเสมอภาคระหว่างเพศ และในส่วนภายในคือ เรื่องทางจิตใจของผู้ชายและผู้หญิง

Kay Turner ได้วิจัยเกี่ยวกับความฝันต่างๆที่ผู้หญิงมีเกี่ยวกับนักร้องและนักแสดง Madonna. Turner ได้อ้างถึงนักจิตวิทยา Karen Signell ว่า: "Signell เสนอว่าผู้หญิงกำลังแสดงให้เห็นแม่แบบใหม่ๆในความความฝันของพวกเธออย่างแพร่หลาย. Signell พบว่า หนึ่งในแม่แบบอันนั้นคือความเป็นเพื่อนที่เหมือนพี่สาวหรือน้องสาว ผู้ที่จะมารับใช้หรือให้บริการในฐานะผู้ช่วยคนหนึ่งจากจิตไร้สำนึก"(Turner 1993, p.15). Turner มอง Madonna ในฐานะการมาเติมบทบาทที่เป็นแม่แบบของพี่สาวหรือน้องสาวสำหรับผู้หญิง

การประนีประนอม / ดุลยภาพความตรงข้าม, และคู่ตรงข้าม
Reconciling / balancing opposites, and binary oppositions

หนึ่งในความคิดเบื้องต้นของ Jung เกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ เขาได้อ้างเหตุผลว่า พวกเราทั้งหมดต่างบรรจุเอาคุณสมบัติในทางตรงข้ามเอาไว้ ซึ่งเป็นแรงขับหรือความปรารถนา ยกตัวอย่างเช่น ความตรงข้ามระหว่างแนวโน้มที่เป็นคนเปิดเผยและเก็บตัว(extravert and introvert tendencies)

เขาเสนอว่า คุณลักษณ์ต่างๆในทางตรงข้ามอาจถูกพบได้ในท่าทีหรือทัศนคติในระดับจิตสำนึกและจิตไร้สำนึกของผู้คน บ่อยครั้ง มันนำเสนออยู่ในความแตกต่างระหว่าง ด้านที่เปิดเผยและด้านที่เป็นเงามืด(persona and shadow). The Dr. Jekyll / Mr. Hyde Duo - ด้านที่เป็นหมอที่ดี ตรงข้ามกับ ด้านที่เป็นเหมือนกับสัตว์ป่าที่ดุร้าย - เป็นการแสดงให้เห็นภาพที่สมบูรณ์แบบเกี่ยวกับความคิดตรงกันข้ามนี้ - อุปนิสัยอันเป็นคุณสมบัติชุดหนึ่งได้ถูกปิดบังหรือปฏิเสธ

ใจกลางส่วนหนึ่งของกระบวนการเกี่ยวกับการเจริญเติบโตขึ้นมา มีความเป็นปัจเจกภาพและความงอกงามทางจิตใจก็คือ การตระหนักหรือสำนึกเกี่ยวกับความตรงข้ามเหล่านี้ และถัดจากนั้นก็ประนีประนอมหรือปรับมันให้เกิดดุลภาพ ยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่สุภาพเรียบร้อยมากๆคนหนึ่ง อาจมีความฝันต่างๆเกี่ยวกับความรุนแรงและความโกรธเกรี้ยว และค่อยๆที่จะยินยอมต่อพลังงานที่เป็นพลวัตอันนี้มากขึ้น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพและชีวิตที่มีสำนึก

Daryl Sharp ซึ่งมีความคิดแบบ Jungian ได้เสนอว่า
จิตในระดับสำนึกนั้นอยู่บนสุด ส่วนเงามืดฝังอยู่ข้างใต้ และคล้ายๆกับสูงคร่ำครวญหาต่ำ และร้อนคร่ำครวญหาเย็นเสมอ ดังนั้น ความสำนึกทั้งมวล, บางทีโดยไม่ได้ตระหนักรู้เกี่ยวกับมัน, ได้แสวงหาความตรงข้ามที่ไร้สำนึกของมัน, การขาดเสียซึ่งสิ่งนี้มันเป็นภาวะชะงักงันและความหายนะ, ทำให้อึดอัด และการทำให้หยุดนิ่ง. ชีวิตถูกทำให้เกิดมาจากประกายของความตรงข้าม (Sharp 1996, p.32)

Joseph Cambell เสนอว่า "พวกเราทั้งหลายมักจะคิดในเทอมต่างๆของความตรงข้าม แต่พระผู้เป็นเจ้าผู้อยู่สูงสุด ไปพ้นจากคู่ของความตรงข้าม นั่นคือ"ทั้งหมด". และเมื่อถามว่าทำไมเราทั้งหลายจึงคิดในเทอมต่างๆของความตรงข้าม เขาตอบว่า "ก็เพราะเราไม่สามารถคิดในแบบอื่นได้… อันนี้คือธรรมชาติของประสบการณ์เราเกี่ยวกับความเป็นจริง [ผู้ชาย-ผู้หญิง, ชีวิต-ความตาย, ความดี-ความชั่ว] ผมและคุณ, อันนี้และอันนั้น, จริงและไม่จริง, - ทุกๆอย่างของพวกมันมีความตรงข้ามของมันอยู่

แต่ปกรณัมโบราณเสนอว่า เบื้องหลังความเป็นทวิลักษณ์ มีความเป็นหนึ่งเดียวอยู่ ซึ่งอันนี้คล้ายๆกับเกมส์เงามืดอันหนึ่ง (Cambell 1988a, p.49). ดังนั้น Cambell จึงมองการลงเอยสุดท้ายหรือดุลยภาพของความตรงข้าม ในฐานะที่เป็นการอยู่เหนืออันน่าปรารถนาของความเป็นทวิลักษณ์

แนวความคิดอันนี้เกี่ยวกับความตรงข้ามทางจิตต่างๆ(psychic opposites) และความต้องการที่จะปรับสมดุลมัน ขนานกันอย่างเหมาะเจาะกับแนวความคิดเรื่องคู่ตรงข้ามต่างๆ(binary oppositions)ในเรื่องเล่าทั้งหลาย

จุดมุ่งหมายประการแรกเกี่ยวกับเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งก็คือ การสร้างความขัดแย้งขึ้นมา ระหว่างตัวละครที่ตรงข้าม และชุดของคุณค่าต่างๆที่ไม่ลงรอยกัน ถัดจากนั้น เรื่องราวจะดำเนินไป และสิ่งเหล่านี้สามารถประนีประนอมและลงเอยกันได้ในช่วงตอนท้ายของเรื่องเล่านั้น

เราสามารถที่จะมองในแง่มุมนี้จากทัศนียภาพของ Jungian เกี่ยวกับเรื่องที่แต่งขึ้นและเรื่องเล่าต่างๆ: การดำเนินเรื่องจะขับเคลื่อนไปสู่การลงเอยหรือทางออก ซึ่งเป็นพัฒนาการที่จำเป็นของความงอกงามทางจิตใจ เช่นดังที่มันแสวงหาการประนีประนอม หรือการไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับความตรงข้ามทั้งหลาย

ตามข้อคิดเห็นท้ายสุดในการวิเคราะห์แนว Jungian เกี่ยวกับการดำเนินเรื่อง นับว่าเป็นประโยชน์ที่จะมาพิจารณากันถึงว่า Jung ได้วิเคราะห์ความฝันอย่างไร ในความฝัน ทุกๆแง่มุมเกี่ยวกับความฝัน - ตัวละครต่างๆ, สัตว์, วัตถุ, ฉาก, และอื่นๆ - ทั้งหมดนี้สามารถได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นส่วนทั้งหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปภายในจิตใจหรืออัตลักษณ์ส่วนตัวของผู้ฝัน

การตีความตามแนวคิดของ Jungian จะเชิญชวนให้ผู้ฝันให้มองดูสิ่งที่ต่างกันเหล่านี้ในฐานะส่วนต่างๆซึ่งมีศักยภาพของตัวพวกเขาเอง และถัดจากนั้นก็สะท้อนสิ่งที่อาจมีความหมายสำหรับพวกเขา

Clarissa Pinkola Estes, นักวิจารณ์คนหนึ่งซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎี Jungain เพื่อศึกษาเทพนิยายทั้งหลาย ได้ให้เหตุผลว่า "ในจิตวิทยาแบบ Jungian เมื่อเราเล่าขานถึงเทพนิยายเรื่องหนึ่ง เรากำลังพิจารณาส่วนต่างๆทั้งหมด โดยที่ตัวละครทั้งหลายในเรื่องทุกๆตัวในเทพนิยาย ล้วนแล้วแต่มีจิตใจหนึ่งเดียวกันทั้งหมด (Pinkola Ester 1997)

วิธีการทำนองเดียวกันนี้อาจนำมาใช้ทำความเข้าใจอย่างชัดแจ้งบางอย่างในเรื่องราวของภาพยนตร์และโทรทัศน์ มันอาจเป็นไปได้ที่จะดูถึงแก่นแท้ของภาพยนตร์ที่อยู่รายรอบตัวเอกในเรื่อง - ตั้งแต่ฉาก, ตัวละครต่างๆ และอื่นๆ - ในฐานะที่เป็นแง่มุมทั้งหลายของตัวละครซึ่งต้องการบูรณาการและทำให้ลงรอยกัน

วิธีการอันนั้นได้ให้ความสว่างแก่ภาพยนตร์เรื่อง Fight Club: ตัวละครต่างๆอย่างเช่น Tyler Durden และ Marla สามารถถูกมองในฐานะที่เป็นด้านที่เป็นเงามืดและเป็น anima (ส่วนที่เป็นผู้หญิง)ของ Edward Norton. ในทำนองเดียวกัน ตัวละครตัวอื่นๆและฉากทั้งหลาย สามารถถูกมองในฐานะที่เป็นส่วนต่างๆอันหลายหลาก เกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่สับสนซึ่งมีมาแต่เดิมของเขา

ดังนั้น ทั้งหมดของภาพยนตร์สามารถได้รับการอ่านในฐานะการแสดงออกของความฝัน มันคือความขัดแย้งต่างๆทางจิตที่ยินยอมให้ Norton สำรวจถึงประเด็นปัญหาต่างๆเหล่านี้

วิธีการศึกษานั้น สามารถได้รับการนำไปประยุกต์ใช้กับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง The Matrix, Blade Runner, The Mask, Dead Poet's Society - ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงเข้าใจเรื่องเล่าทั้งหลายในฐานะที่เป็นตัวแทนต่างๆ ของภาวะจิตใจที่วุ่นวายสับสนอยู่ภายในของตัวละครที่สำคัญๆ ความยุ่งเหยิงที่ทำงานโดยผ่านกระบวนการอันหนึ่งของการเล่าเรื่อง

ในฐานะผู้ดู เราอาจรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตัวละครหลักๆ และมีความเป็นห่วงต่างๆ ซึ่งมันขนานไปกับความห่วงกังวลทางจิตใจของเรา: ทางออกหรือการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ในภาพยนตร์ จะช่วยให้เราเข้าใจตัวของเราเองและประเด็นปัญหาทางจิตของตัวเรา อันนี้อาจเป็นหนึ่งในความพึงพอใจที่สำคัญที่ถูกค้นพบในการไปดูและในการอ่านเรื่องราวต่างๆ

สรุป
ผลงานของ Cambell ค่อนข้างจะแตกต่างไปมากจากวิธีการวิเคราะห์สื่อของนักคิดคนอื่นๆ วิธีการศึกษาเหล่านี้ทั้งหมดนับว่าเป็นประโยชน์ในหลายๆทาง ไม่ว่าพวกมันจะสามารถได้รับการประนีประนอมทำให้เข้ากันหรือไม่ก็ตาม ซึ่งอันนี้คือคำถามที่น่าสนใจคำถามหนึ่ง

วิธีการต่างๆที่ได้สนทนากันมาก่อนหน้าจนมาถึงปฏิบัติการในผลงานของ Cambell ต่างมองธรรมชาติของมนุษย์ในฐานะที่เป็นการสร้างอย่างหนึ่ง และได้ให้เหตุผลว่า หนทางที่สื่อได้สร้างความหมายเกี่ยวกับโลก มันทำให้เราเป็นสังคมขึ้นมา และมันได้มากำหนดทัศนะและความเชื่อต่างๆของเราด้วย

ส่วนวิธีการศึกษาอื่นๆ มองธรรมชาติของมนุษย์ในฐานะที่เป็นลักษณะสากล กล่าวคือมันเหมือนๆกันมาโดยตลอดทั้งทางด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ - ทัศนะของแก่นแท้อันหนึ่ง(an essentialist view) - และสื่อทั้งหลายถูกคิดว่ากำลังสะท้อนธรรมชาติซึ่งเป็นแก่นแท้อันนี้ออกมา คำถามคือว่า คุณจะประนีประนอมวิธีการทั้งสองกลุ่มนี้อย่างไร?

กรอบโครงร่างของ Cambell ได้รวมเอาการวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างการเล่าเรื่อง และคู่ตรงข้าม(narrative structure and binary opposition)เข้าด้วยกัน และทำให้ลำดับการอันหนึ่งของระเบียบวิธีมีความสมบูรณ์ขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลสื่อต่างๆ

ภาพประกอบข้างล่างนี้สัมพันธ์กับภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise. ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำทางและเป็นมาตรการในการตรวจสอบสำหรับการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลต่างๆที่คุณกำลังทำอยู่ นอกจากนี้ มันยังชี้ไปถึงความสำคัญเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงอุดมคติและการวิเคราะห์เชิงครอบงำ(hegemonic analysis) ซึ่งจะได้พูดถึงต่อไป

 


เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อความ กรุณาอ่านต่อบทความลำดับที่ 388 คลิกไปอ่านได้จากที่นี่

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

"ภาพเงามืด ปกติแล้ว ปรากฏตัวขึ้นมาครั้งแรกในฐานะที่ไม่ใช่มนุษย์: ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์ต่างดาวจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง, เป็นพวกแวมไพร์หรือผีดูดเลือด, ซอมบิหรือผิดิบที่ฟื้นคืนชีพ, ภาพของสัตว์ประหลาดครึ่งคนครึ่งสัตว์ ฯลฯ. พวกมันจะมาเผชิญหน้ากับพวกเราโดยที่ไม่มีใครต้องการ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และมันมีอยู่ อันนี้คือภาษาของภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก

บทความในเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับสื่อกับสังคม เพื่อความเข้าใจสื่อที่มีผลกระทบต่อสังคมและจิตวิทยาที่เป็นสากล
H

ทฤษฎีแก่นแท้ต่างๆ(essentialist theories)คือทฤษฎีที่ถือว่า ผู้คนได้ถูกนิยามโดยชีววิทยาของเขา. ทฤษฎีของ Jungian ได้ถูกเรียกว่า"แก่นแท้"(essentialist) เพราะว่าเพศในเชิงชีววิทยาของผู้คน (ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นหญิงหรือเป็นชายก็ตาม) ได้รับการพูดในฐานะที่เป็นการนิยามว่า พวกเขาเป็นใคร: มันได้มากำหนดอัตลักษณ์ต่างๆของพวกเขา(ความเป็นชายหรือความเป็นหญิง) และนับจากจุดนี้ มันได้มามีส่วนกำหนดบทบาททางสังคมของพวกเขา

Jung เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาเรื่องเพศสภาพโดยผ่านแนวความคิดของเขาเกี่ยวกับ anima / animus (ส่วนของความเป็นหญิงในผู้ชาย/ ส่วนของความเป็นชายในผู้หญิง). คำศัพท์ทั้งสองคำนี้ถูกนำมาใช้อธิบายถึงจิตวิญญานของความเป็นหญิง(anima) หรือจิตวิญญานของความเป็นชาย(animus)ซึ่งเราแต่ละเพศต่างครอบครองอยู่...
ชายมี anima, ส่วนผู้หญิงมี animus. จิตไร้สำนึกของทุกๆคนมีแง่มุมต่างๆของเพศสภาพในเชิงตรงข้ามบรรจุอยู่ในตัวของพวกเขา
(คัดมาจากบทความ)

Joseph Cambell เสนอว่า "พวกเราทั้งหลายมักจะคิดในเทอมต่างๆของความตรงข้าม แต่พระผู้เป็นเจ้าผู้อยู่สูงสุด ไปพ้นจากคู่ของความตรงข้าม นั่นคือ"ทั้งหมด". และเมื่อถามว่าทำไมเราทั้งหลายจึงคิดในเทอมต่างๆของความตรงข้าม เขาตอบว่า "ก็เพราะเราไม่สามารถคิดในแบบอื่นได้… อันนี้คือธรรมชาติของประสบการณ์เราเกี่ยวกับความเป็นจริง [ผู้ชาย-ผู้หญิง, ชีวิต-ความตาย, ความดี-ความชั่ว] ผมและคุณ, อันนี้และอันนั้น, จริงและไม่จริง, - ทุกๆอย่างของพวกมันมีความตรงข้ามของมันอยู่ แต่ปกรณัมโบราณเสนอว่า เบื้องหลังความเป็นทวิลักษณ์ มีความเป็นหนึ่งเดียวอยู่