บทความทางด้านปรัชญาศิลปะของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรื่อง ผลงานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำเชิงกลไก / บทความใหม่เดือน พฤศจิกายน 2544
H
home
His
Walter Benjamin, born on July 15, 1892, studied philosophy in Freiburg, Munich, Berlin and Bern. Earning a degree with his Concept of Criticism in German Romanticism, he was not successful in his attempt to become a university professor.

ประวัติของ Walter Benjamin เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1892 เขาได้ศึกษาปรัชญาใน Freiburg, Munich, Berlin และ Bern. และได้รับปริญญาด้วยการเสนอ แนวคิดเกี่ยวกับการ วิจารณ์ ลัทธิโรแมนติคเยอรมัน, เขาไม่ประสบความสำเร็จ ในการพยายามที่จะเข้ารับตำแหน่งศาสตราจารย์ ในมหาวิทยาลัย

ผลงาน Habilitationsschrift , On the Origins of the German Trauerspiel, ของเขาได้ถูกปฏิเสธโดยมหาวิทยาลัยแฟรงค์ เฟริท แต่ได้รับการประกาศว่าเป็นคัมภีร์คลาสสิค ที่ยิ่งใหญ่ แห่งศตวรรษที่ 20 ในฐานะงานวิจารณ์ทางวรรณคดี

 

midnight's history
ภาพประกอบจากหนังสือ The Photography Book : Walter Benjamin 1938 ถ่ายโดย Gisele Freund / C-type print
มนุษย์ผู้สร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มักจะถูกลอกเลียนโดยมนุษย์ด้วยกันเสมอ
Contents Page
Member Page
Webboard
นักศึกษา สมาชิก
และผู้สนใจทุกท่าน
หากประสบปัญหา
ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน
กรุณาลดขนาดของ font
ลงมา จะแก้ปัญหาได้
The Midnight University
Somkiat Tangnamo : Faculty of Fine Arts, Chiangmai University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)

อาจารย์สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200
02.11.44

นักแสดงภาพยนตร์ยังขาดเสียซึ่งโอกาสบางอย่างของนักแสดงบนเวทีมี นั่นคือ โอกาสที่นักแสดงสามารถที่จะปรับตัวกับผู้ดูในช่วงระหว่างที่กำลังนำเสนอ, ทั้งนี้เพราะ นักแสดงภาพยนตร์ไม่ได้เสนอการแสดงของเขาต่อหน้าผู้ดูในฐานะบุคคล. อันนี้ทำให้ผู้ชมอยู่ในตำแหน่งของนักวิจารณ์คนหนึ่ง, โดยไม่มีประสบการณ์เชื่อมโยงในลักษณะบุคคลใดๆกับตัวนักแสดงภาพยนตร์เลย. การเข้าถึงหรือเข้าอกเข้าใจของผู้ชมต่อตัวนักแสดงภาพยนตร์ จริงๆแล้วเป็นการรู้สึกเข้าใจโดยผ่านกล้อง. ผลที่ตามมา ผู้ดูอยู่ในตำแหน่งของกล้องบันทึกภาพนั่นเอง ซึ่งได้ผ่านการทดสอบแล้ว. อันนี้ไม่ใช่การเข้าถึงคุณค่าที่แท้จริงที่แสดงออก

9.
สำหรับภาพยนตร์, สิ่งที่เป็นสาระอันดับแรกคือ นักแสดงได้แสดงตัวของเขาเองต่อสาธารณชนโดยกระทำต่อหน้ากล้องบันทึกภาพ มากกว่าที่จะแสดงต่อหน้าผู้คนทั้งหลาย. หนึ่งในคนแรกๆที่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสมบูรณ์ของนักแสดงโดยรูปแบบอันนี้ของการทดสอบก็คือ Pirandello. แม้ว่าข้อสังเกตของเขาต่อประเด็นนี้ในนวนิยายเรื่อง Si Gira จะจำกัดอยู่กับแง่มุมต่างๆในเชิงนิเสธเกี่ยวกับคำถาม และจำกัดอยู่กับภาพยนตร์เงียบเพียงเท่านั้นก็ตาม, แต่อันนี้ก็ไม่ได้ไปทำลายหรือลดคุณค่าความสมบูรณ์แข็งแรงของพวกมันลงไปเลย

สำหรับในข้อคำนึงอันนี้, ภาพยนตร์เสียงมิได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญใดๆไป. สิ่งที่เป็นสาระก็คือ บทพูดที่แสดงออกมา ไม่ใช่เพื่อผู้ดู แต่เพื่อสิ่งประดิษฐ์เชิงกลอันหนึ่ง(กล้องบันทึกภาพ) - ในกรณีของภาพยนตร์เสียง, สำหรับการสนทนากันสองคนของพวกเขา. Pirandello เขียน,

"นักแสดงภาพยนตร์ รู้สึกราวกับว่าถูกเนรเทศ - ถูกเนรเทศ ไม่เพียงจากเวทีเท่านั้น แต่จากตัวของเขาเองด้วย. ด้วยความรู้สึกที่คลุมเครือเกี่ยวกับความลำบาก เขารู้สึกว่างเปล่าซึ่งอธิบายไม่ได้: ร่างกายของเขาสูญเสียคุณสมบัติในเชิงกายภาพของตัวเองไป, มันระเหยเป็นไอ, มันถูกถอดถอนหรือกันออกไปจากความจริง, ชีวิต, เสียง, และสำเนียงรบกวนที่ถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยการเคลื่อนไหวของตัวเขา, เพื่อที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาพที่ไม่มีเสียง, แสงวูบวาบเพียงชั่วประเดี๋ยวบนจอภาพยนตร์, หลังจากนั้นก็อันตรธานไปสู่ความเงียบ.... เครื่องฉายภาพยนตร์จะเล่นกับเงาร่างของนักแสดงต่อหน้าสาธารณชน, และตัวเขาเองนั้นจะต้องพึงพอใจกับการแสดงต่อหน้ากล้องบันทึกภาพ".

สถานการณ์ดังกล่าวอาจแสดงคุณลักษณะดังต่อไปนี้ อันดับแรกสุด - และอันนี้เป็นผลของภาพยนตร์ - มนุษย์จะต้องปฏิบัติการทั้งหมดในฐานะบุคคลที่มีชีวิต กระนั้นก็ต้องยอมสละรัศมี(aura)ของตัวเองทิ้งไป สำหรับรัศมี(aura)ได้ไปผูกกับการมีอยู่ของเขา และรัศมีนั้นมันไม่สามารถที่จะจำลองขึ้นมาได้. รัศมี(aura)บนเวที มันกระจายออกมาจาก Macbeth ซึ่งอันนี้ไม่สามารถที่จะแยกผู้ดูทั้งหลายจากตัวนักแสดงได้. แต่อย่างไรก็ตาม ช็อทหรือภาพโดดๆในสตูดิโอนั้น กล้องบันทึกภาพได้เข้ามาแทนที่สาธารณชน. ผลที่ตามมา รัศมี(aura)ซึ่งหุ้มห่อนักแสดงเอาไว้ มันได้อันตรธานหายไปหมด

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ควรจะมีนักเขียนบทละครอย่าง Pirandello ซึ่งได้อธิบายถึงลักษณะเฉพาะบางอย่างของภาพยนตร์ และได้สะท้อนให้เห็นผลกระทบที่สำคัญและวิกฤตดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเราเห็นเมื่อไปดูละคร. การศึกษาอย่างละเอียดได้พิสูจน์ว่า อันที่จริงมันไม่ได้มีความขัดแย้งที่ใหญ่เกินไปกว่าละครเวทีกับงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่เกี่ยวกับเรื่องนี้

บรรดาผู้เชี่ยวชาญยอมรับกันมานมนานแล้วว่า, ในภาพยนตร์ "อิทธิพลเกี่ยวกับเรื่องของการแสดงนั้น จะถือว่าเป็นความยิ่งใหญ่หรือความสามารถล้วนๆของนักแสดง ดูไม่ค่อยถูกต้องนักและไม่เป็นความจริงสักเท่าใด…". ในปี ค.ศ.1932 Rudolf Arnheim มองเห็นแนวโน้มดังกล่าว ในการปฏิบัติการของนักแสดงภาพยนตร์ในฐานะที่เป็นตัวสนับสนุนเวที ซึ่งได้รับการเลือกสรรสำหรับลักษณะเฉพาะอันนี้. การแสดงที่มาประกอบกันขึ้นเป็นตอนๆหนึ่ง สามารถที่จะแทรกการแสดงที่ได้รับการถ่ายทำมาดีที่สุดลงไป"ในระหว่าง"ตอนให้มีความเหมาะสมที่สุดได้". ด้วยไอเดียอันนี้ บางสิ่งบางอย่างได้ถูกนำมาเชื่อมโยงปะติดปะต่อเข้าเป็นเหตุการณ์ในลักษณะต่อเนื่องกัน. การสร้างสรรค์เกี่ยวกับงานภาพยนตร์ ทั้งหมดไม่ได้เป็นงานชิ้นเดียว แต่มันได้ถูกประพันธ์หรือสร้างขึ้นจากการแสดงที่แยกๆออกจากกันจำนวนมาก จากนั้นได้นำมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน.

นอกจากนั้นยังมีข้อพิจารณาบางอย่างผนวกเข้าไปด้วย อย่างเช่น ต้นทุนของสตูดิโอ, คุณสมบัติตามที่ต้องการของเพื่อนนักแสดง, d-cor (การตกแต่ง), ฯลฯ ที่ร่วมกันอยู่ในฉาก เป็นต้น., นั่นคือความจำเป็นพื้นฐานต่างๆของกระบวนการผลิต ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ และตัวประกอบอื่นๆ ที่มาแบ่งเบาและแยกผลงานของนักแสดง ประกอบกันเข้าไปในฉากหรือบทที่เตรียมไว้ชุดหนึ่ง. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดแสดงและการติดตั้งสิ่งเหล่านี้ เพื่อต้องการที่จะนำเสนอเกี่ยวกับเหตุการณ์ๆหนึ่งบนจอภาพยนตร์ ที่ปรากฏออกมาพร้อมกันเป็นฉากที่รวดเร็วและเป็นหน่วยเดียว มีลำดับการที่ต่อเนื่องไหลเลื่อนเคลื่อนไปอันหนึ่งของการถ่ายทำที่แยกๆกัน ซึ่งอาจใช้เวลาหลายชั่วโมงที่สตูดิโอ แต่ปรากฏผลออกมาเป็นภาพยนตร์เพียงไม่กี่วินาที

ด้วยเหตุนี้ การกระโดดจากหน้าต่าง สามารถที่จะได้รับการถ่ายทำในสตูดิโอ ในฐานะที่เป็นการกระโดดออกมาจากนั่งร้านแห่งหนึ่ง, และการถลาร่อนลงมาอย่างปลอดภัย, ถ้าหากต้องการให้เป็นเช่นนั้น สามารถที่จะถูกถ่ายทำในอีกหลายสัปดาห์ต่อมาก็ได้ เมื่อฉากข้างนอกได้ถูกทำเสร็จ.

กรณีที่ดูจะผกผันหรือขัดแย้งต่อความรู้สึกทั่วไปยิ่งกว่านั้น สามารถได้รับการอธิบายได้ง่ายๆ. ให้เราลองสมมุติว่า นักแสดงคนหนึ่งได้รับการสมมุติว่าถูกทำให้สะดุ้งตกใจโดยการที่มีคนมาเคาะประตูขณะที่เขาไม่ทันระวังตัว. ถ้าเผื่อว่าปฏิกริยาของเขาไม่เป็นที่น่าพอใจ, ผู้กำกับสามารถใช้วิธีการที่สะดวกมากอีกวิธีหนึ่ง คือ ตอนที่นักแสดงคนนี้ปรากฏตัวที่สตูดิโออีกครั้ง เขาจะถูกถ่ายทำโดยไม่ให้รู้ตัว โดยที่เขาไม่ได้รับการเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้. ด้วยการกระทำดังกล่าว ปฏิกริยาของการตกใจสามารถถูกถ่ายทำได้แล้ว และมันก็จะได้รับการตัดเข้าสู่เรื่องราวบนจอทันที.

ไม่มีอะไรที่แสดงออกมาให้เห็นเป็นที่น่าประทับใจมากไปกว่านี้ ที่ว่า ศิลปะได้ทอดทิ้งอาณาจักรของ"ลักษณะรูปโฉมภายนอกที่งดงามของมันไปแล้ว" ซึ่ง, เรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้, มันได้ถูกทำให้เป็นเพียงอาณาเขตหรือปริมณฑลหนึ่ง ที่ศิลปะสามารถงอกงามและเฟื่องฟูขึ้นมาได้.

10.
ความรู้สึกประหลาดๆ ไม่เคยชิน ที่ครอบคลุมนักแสดงเมื่ออยู่ต่อหน้ากล้องบันทึกภาพ, ดังที่ Pirandello ได้อธิบายนั้น โดยพื้นฐานแล้ว เป็นชนิดเดียวกันกับความห่างเหินที่รู้สึกเมื่อภาพของคนผู้นั้นปรากฏในกระจกเงานั่นเอง. แต่ปัจจุบันนี้ ภาพที่ถูกสะท้อนกลายเป็นสิ่งแยกขาดจากกันได้, สามารถเคลื่อนย้ายออกไปได้. และที่ไหนกันล่ะที่มันได้ถูกเคลื่อนย้ายออกไป ? คำตอบคือ ไปอยู่ต่อหน้าผู้ดูหรือสาธารณชนนั่นเอง.

ไม่เคยเลยสักชั่วขณะที่นักแสดงภาพยนตร์จะหยุดสำนึกเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอันนี้ ขณะที่อยู่ต่อหน้าล้องบันทึกภาพ เขารู้ว่า ในที่สุดแล้วเขาจะเผชิญหน้ากับสาธารณชน, อันเป็นผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้สร้างตลาดขึ้นมา. ตลาดอันนี้, ที่ซึ่งผู้ดูไม่ได้ให้เพียงแรงงานของเขาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตัวตนของเขาเองทั้งหมด, หัวใจและวิญญาน, นอกเหนือจากแค่ไปดูเท่านั้น. ในช่วงระหว่างที่มีการถ่ายทำ นักแสดงได้มีการติดต่อกับผู้ดูเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่นดังกับสินค้าที่ได้รับการผลิตขึ้นในโรงงาน. อันนี้ ตามความคิดของ Pirandello อาจไปเสริมสร้างความกังวลใจใหม่ๆ ที่กล้องบันทึกภาพได้จับภาพนักแสดงเอาไว้ตรงหน้าโดยไม่มีผู้คนที่ปฏิสัมพันธ์กับเขาจริงๆ

ภาพยนตร์ตอบสนองต่อการหดตัวของรัศมี(aura) ด้วยการสร้างสิ่งเทียมขึ้นมาเกี่ยวกับบุคลิกภาพของนักแสดงภายนอกสตูดิโอ. ลัทธิบูชาหรือความคลั่งไคล้ในดาราภาพยนตร์, ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูโดยเงินทุนของอุตสาหกรรมภาพยนตร์, มันปกปักรักษาไม่เพียงรัศมีในลักษณะที่พิเศษของตัวบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสะกดหรือครอบงำเกี่ยวกับบุคลิกภาพด้วย"

มันเป็นการสะกดหรือครอบงำแบบเก๊ๆของสินค้าชิ้นหนึ่ง. เงินทุนของบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ที่ได้มาจัดการเรื่องแฟชั่น เรื่องการโฆษณา ในฐานะที่เป็นกฎอันหนึ่ง อันนี้มันไม่มีคุณสมบัติในลักษณะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงใดๆที่ได้รับความเชื่อถือหรือรับรองเกี่ยวกับภาพยนตร์ในทุกวันนี้ ยิ่งไปกว่าการสนับสนุนเกี่ยวกับการวิจารณ์ในลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในเรื่องแนวคิดขนบประเพณีของศิลปะ

เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในบางกรณี ภาพยนตร์ทุกวันนี้สามารถที่จะส่งเสริมการวิจารณ์แบบปฏิวัติวงการเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆทางสังคมด้วย, เท่าๆกับโอกาสในการกระจายทรัพย์สิน. แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปัจจุบันของเรา ไม่ได้ไปเกี่ยวโยงกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ยิ่งไปกว่าการสร้างภาพยนตร์ของยุโรปตะวันตก

มันเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในด้านเทคนิคของภาพยนตร์ เช่นเดียวกับที่มันมีอยู่ในการกีฬา ที่ทุกๆคนสามารถจะมีส่วนร่วมในการเป็นพยานแห่งความสำเร็จของมันที่ค่อนข้างจะเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์. อันนี้เป็นที่แจ่มชัดสำหรับใครๆก็ตามที่ได้ยินเด็กส่งหนังสือพิมพ์กลุ่มหนึ่งที่เอียงตัวมาคุยกันบนรถจักรยานของพวกเขา เกี่ยวกับผลที่ปรากฎออกมาในการแข่งขันรถจักรยาน. มันไม่ใช่สิ่งที่ไร้ความหมายหรือไม่สำคัญที่ว่า เจ้าของโรงพิมพ์ได้จัดให้มีการแข่งขันรถจักรยานสำหรับพวกเด็กส่งหนังสือพิมพ์ของพวกเขา. สิ่งเหล่านี้ได้กระตุ้นความสนใจอย่างมากท่ามกลางคนที่มีส่วนร่วม, และสำหรับผู้มีชัยชนะในการแข่งขันรถจักรยาน เขาอาจจะมีโอกาสเติบโตขึ้นจากเด็กส่งหนังสือพิมพ์ไปสู่การเป็นนักแข่งมืออาชีพ ซึ่งเท่ากับเป็นการกระจายโอกาสในเรื่องทรัพย์สิน

ในทำนองเดียวกัน ภาพยนตร์ข่าวก็เปิดโอกาสให้กับทุกๆคนที่จะเติบโตจากความบังเอิญหรือประจวบเหมาะอันนี้สู่การเป็นนักแสดงมืออาชีพ. ในช่องทางนี้ ใครบางคนอาจค้นพบตัวเองมีส่วนเกี่ยวกับผลงานทางด้านศิลปะ, ในฐานะพยาน Three Songs About Lenin ของ Vertofl หรือ Borinage ของ Iven. ทุกวันนี้ใครก็ได้สามารถที่จะอวดอ้างว่าได้รับการถ่ายภาพยนตร์. คำอ้างอันนี้สามารถได้รับการอธิบายได้ดีที่สุด โดยการเปรียบเทียบดูกับสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวรรรณกรรมร่วมสมัย.

เป็นเวลานับศตวรรษๆมาแล้ว บรรดานักเขียนจำนวนไม่มากนักได้เผชิญหน้ากับผู้อ่านจำนวนเป็นพันๆคน. อันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อปลายของศตวรรษที่แล้ว ด้วยการขยายตัวเพิ่มขึ้นของการพิมพ์ ซึ่งได้วางแนวทางการเมืองใหม่, ศาสนา, วิทยาศาสตร์, การอาชีพ, และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นต่างๆลงตรงหน้าผู้อ่านทั้งหลาย การเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ่านกลายเป็นโอกาสของบรรดาผู้เขียนอันดับแรก มันเริ่มต้นขึ้นด้วยสิ่งพิมพ์ที่ออกมาทุกๆวันที่เปิดตัวสู่บรรดาผู้อ่านจำนวนมาก หน้ากระดาษสำหรับ"จดหมายถึงบรรณาธิการ". และทุกวันนี้แทบจะไม่มีชาวยุโรปคนใดที่ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ไม่สามารถค้นพบโอกาสที่จะพิมพ์งานที่ใดที่หนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นหรือคำวิจารณ์ใดๆของเขา, ความคับข้องใจ, รายงานต่างๆในภาคเอกสาร, หรืออะไรทำนองนั้น.

ด้วยเหตุนี้, ความแตกต่างหรือการแยกแยะระหว่างผู้เขียนและสาธารณชนซึ่งเป็นคนอ่านจวนเจียนที่จะสูญเสียคุณลักษณะเฉพาะพื้นฐานของมันไป. ความแตกต่างกลายเป็นเพียงหน้าที่เท่านั้น นั่นคือ มันอาจแปรผันหรือเปลี่ยนแปลงเป็นกรณีๆไป. ณ ช่วงเวลาใดก็ตาม ผู้อ่านก็พร้อมที่จะเปลี่ยนไปสู่การเป็นผู้เขียน. (ผู้อ่าน)ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ, ซึ่งเขาต้องกลายเป็นคนซึ่งไม่มีทางเลือกในกระบวนการเกี่ยวกับงานที่พิเศษสุดอันนี้, แม้ว่าเพียงในบางแง่มุมที่ไม่ค่อยสำคัญ, ผู้อ่านสามารถจะก้าวเข้าไปสู่การเป็นนักเขียนได้. ด้วยการเสนอมันออกมาเป็นถ้อยคำ เป็นส่วนหนึ่งของความสามารถของมนุษย์ที่จะปฏิบัติเช่นนั้น. ใบอนุญาตเกี่ยวกับการประพันธ์ ปัจจุบันนี้ถูกค้นพบได้ในโรงเรียนโปลีเทคนิค ค่อนข้างมากกว่าการฝึกฝนมาเป็นการเฉพาะ และด้วยเหตุนี้มันจึงกลายเป็นทรัพย์สินร่วมกันหรือสมบัติสาธารณะ

ทั้งหมดนี้ สามารถถูกนำไปประยุกต์ได้อย่างง่ายๆกับภาพยนตร์, ที่ที่การส่งผ่านซึ่งเกิดขึ้นในงานวรรณกรรมต้องใช้เวลานับศตวรรษๆ มันเกิดขึ้นในชั่วทศวรรษเดียว. ในปฏิบัติการทางภาพยนตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัสเซีย, การเปลี่ยนผ่านอันนี้ บางส่วน กลายเป็นที่ยอมรับในความเป็นจริง. ผู้เล่นบางคนผู้ซึ่งเราพบในภาพยนตร์รัสเซียไม่ใช่บรรดานักแสดงในความหมายของเรา แต่เป็นผู้คนซึ่งแสดงตัวของพวกเขาเอง ในกระบวนการทำงานของพวกเขาเองเป็นปกติ.

11.
การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาพยนตร์เสียง จะสร้างภาพที่ปรากฎออกมาซึ่งผู้ดูไม่อาจจะจินตนาการอะไรได้เลยไม่ว่าในเวลาใดที่อยู่ต่อหน้าภาพยนตร์นั้นๆ. อันนี้เป็นการนำเสนอกระบวนการอันหนึ่ง ซึ่งมีความแน่นอนของภาพที่จะปรากฏต่อหน้าสาธารณชนในมุมมองหนึ่ง ซึ่งจะกันสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากฉาก อย่างเช่น องค์ประกอบภายนอกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้องบันทึกภาพ, โคมไฟที่ให้แสงสว่าง, สต๊าฟผู้ช่วยงานทั้งหลาย, ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะถูกกันออกไปจากจอภาพ และเราต้องใช้สายตาของเราจับจ้องภาพขนานไปกันกับเลนส์

ในโรงละครเราต่างทราบกันดีว่า สถานที่แห่งนั้นที่ใช้แสดงละคร เราไม่สามารถพบเห็นภาพลวงตาใดๆแบบทันทีทันใดได้. แต่สำหรับภาพยนตร์แล้ว ต่างออกไปทีเดียวในกระบวนการถ่ายทำ. ธรรมชาติเกี่ยวกับการลวงตาของมันคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนที่สอง, นั่นคือเป็นผลอันเนื่องมาจากการตัดต่อ

กล่าวคือ, ในสตูดิโอ เครื่องมือกลไกได้แทงทะลุลึกลงไปสู่ความเป็นจริง อันเป็นผลลัพธ์ของขั้นตอนวิธีการที่พิเศษอันหนึ่ง นั่นคือ การถ่ายทำหรือยิงภาพโดยกล้องที่มีการปรับปรุงเป็นพิเศษ และการต่อภาพที่มาจากการยิงภาพอันนั้นเข้าด้วยกันกับชุดภาพอื่นๆที่สอดคล้องกัน. การจัดการดังกล่าว ในที่นี้กลายเป็นจุดสุดยอดของเล่ห์เหลี่ยมความชำนาญ ; ภาพที่เห็นเกี่ยวกับความเป็นจริง, ฉับพลันนั้น, ได้กลายเป็นกล้วยไม้ดอกหนึ่งในดินแดนแห่งเทคโนโลยี

ยิ่งไปกว่านั้น การเผยตัวออกมาที่เป็นการเปรียบเทียบกันของสภาวการณ์เหล่านี้ มันแตกต่างไปมากจากสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงละคร, และกับสถานการณ์ในงานจิตรกรรม. คำถามในที่นีก็คือว่า: ช่างกล้อง(cameraman)เมื่อเปรียบเทียบกับจิตรกรแล้วแตกต่างกันอย่างไร ? เพื่อจะตอบปัญหานี้ เราต้องหันไปพึ่งพาอาศัยต่อการอุปมาอุปมัยที่คล้ายคลึงกันอันหนึ่งกับเรื่องของศัลยแพทย์ กับนักไสยเวทย์.

ศัลยแพทย์เป็นตัวแทนในขั้วที่ตรงข้ามกันกับนักไสยเวทย์. นักไสยเวทย์จะรักษาคนป่วยด้วยการวางมือลงไป; ส่วนศัลยแพทย์จะผ่าลงไปในร่างกายของคนป่วย. นักไสยเวทย์จะธำรงรักษาระยะห่างทางธรรมชาติระหว่างผู้ป่วยกับตัวของเขา แม้ว่าเขาจะลดมันลงด้วยความแผ่วเบาอย่างที่สุดโดยการวางมือลงไป, แต่ก็เพิ่มพลังมันอย่างมากโดยคุณสมบัติเกี่ยวกับอำนาจที่มีในมือของเขา. ศัลยแพทย์จะทำในสิ่งที่กลับกันเลยทีเดียว; เขาจะลดระยะห่างดังกล่าวอย่างมากระหว่างตัวเขาเองกับคนไข้ โดยกการผ่าเข้าไปในร่างกายของคนไข้ และเพิ่มมากขึ้นทีละน้อยด้วยความระมัดระวังและคอยเตือนตัวเองว่า มือของเขาได้เคลื่อนเข้าไปในท่ามกลางอวัยวะของคน

โดยสรุป ในทางตรงข้ามกับนักไสยเวทย์ ซึ่งซ่อนเร้นตัวเองอยู่ในฐานะนักปฏิบัติการทางการแพทย์ - ศัลยแพทย์ ณ ช่วงขณะที่แน่นอน จะละเว้นการเผชิญหน้ากับผู้ป่วยตัวต่อตัว; ยิ่งไปกว่านั้น ในทางตรงข้าม โดยผ่านการผ่าตัด เขาได้แทรกเข้าไปในร่างของผู้ป่วยเลยทีเดียว

นักไสยเวทย์และแพทย์ผ่าตัด เปรียบเทียบกับ จิตรกรและช่างกล้อง(cameraman). จิตรกรจะรักษาระยะห่างทางธรรมชาติจากความเป็นจริงเอาไว้, ในขณะที่ช่างกล้องจะเจาะทะลุลึกลงไปในข่ายใยของธรรมชาติ. มันมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างภาพที่พวกเขาผลิตออกมา. สำหรับภาพที่จิตรกรวาดขึ้น รูปที่ปรากฏกับสายตาจะเป็นทั้งหมด ส่วนของช่างกล้องจะประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆน้อยๆอันหลากหลาย ซึ่งถูกนำมาผสมรวมกันภายใต้กฎใหม่กฎหนึ่ง.

ด้วยเหตุนี้, สำหรับผู้คนร่วมสมัย การเป็นตัวแทนของความจริงโดยภาพยนตร์เป็นสิ่งที่มีนัยสำคัญมากอย่างไม่อาจเปรียบเทียบได้กับงานจิตรกรรม, เมื่อเป็นเช่นนี้, แน่นอน เนื่องมาจากการซึมแทรกอย่างสมบูรณ์ของความจริงด้วยเครื่องมือทางกลไก ด้วยเหตุดังนั้น โดยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ แง่มุมของความเป็นจริงจึงได้รับการปลดปล่อยออกมาให้เป็นอิสระ. และนั่นคือสิ่งหนึ่งที่ถูกตั้งคำถามจากผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง

12.
การผลิตซ้ำเชิงกลเกี่ยวกับศิลปะได้มีผลเปลี่ยนแปลงต่อปฏิกริยาของผู้คนซึ่งมีกับงานศิลปะ. ท่าทีในเชิงปฏิกริยาดังกล่าวที่มีต่อผลงานจิตรกรรมของ Picasso ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ปฏิกริยาที่ก้าวหน้าไปถึงภาพยนตร์ของ Chaplin. ปฏิกริยาก้าวหน้านี้ได้ถูกทำให้เป็นคุณลักษณะเฉพาะโดยการหลอมละลายโดยตรง และลึกซึ้งเกี่ยวกับความบันเทิงทางสายตาและอารมณ์ด้วยการปรับทิศทางของผู้เชี่ยวชาญ. การหลอมละลายอันนั้นมันมีนัยที่สำคัญทางสังคมอันยิ่งใหญ่. การลดทอนลงมากเกี่ยวกับนัยสำคัญทางสังคมของรูปแบบทางศิลปะ(art form) ความแตกต่างที่แหลมคมกว่าระหว่างการวิจารณ์และความบันเทิงโดยสาธารณชน ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆได้ถูกทำให้เป็นที่สนุกสนานโดยไม่ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์ แต่สิ่งที่ใหม่จริงๆได้รับการวิจารณ์ด้วยความรังเกียจ

โดยการจ้องมองไปยังจอภาพยนตร์, ท่าทีวิพากษ์วิจารณ์และการเต็มใจรับของสาธารณชนเกิดขึ้นพร้อมๆกัน. เหตุผลที่ชัดเจนสำหรับอันนี้ก็คือว่า ปฏิกริยาต่างๆของปัจเจกชนได้รับการตัดสินล่วงหน้าแล้วโดยการขานรับของมวลชนผู้ดู ซึ่งมวลชนเหล่านั้นจวนเจียนจะทำให้เกิดขึ้นอยู่แล้ว และอันนี้จึงไม่มีที่ใดที่จะได้รับการเปล่งเสียงได้มากไปกว่าในโรงภาพยนตร์. ช่วงขณะของการขานรับเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า พวกเขาควบคุมกันและกัน

อีกครั้ง การเปรียบเทียบกับงานทางด้านจิตรกรรมจะทำใเห็นภาพชัด. งานจิตรกรรมชิ้นหนึ่งมักจะมีโอกาสอันดีเลิศที่จะถูกจ้องดูโดยคนเพียงคนเดียวหรือโดยคนเพียงไม่กี่คน. การพิจารณาใคร่ครวญแบบพร้อมๆกันเกี่ยวกับงานจิตรกรรมหลายๆชิ้นโดยสาธารณชนจำนวนมาก อย่างเช่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในคริสตศวรรษที่สิบเก้า ถือว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ในช่วงแรกของวิกฤตการณ์ของงานจิตรกรรม วิกฤตการณ์อันหนึ่งซึ่งไม่ได้ถูกทำให้เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะโดยภาพถ่ายแต่อย่างใด แต่ตรงข้าม ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องมาจากวิธีการอันค่อนข้างอิสระโดยความดึงดูดใจของผลงานศิลปะต่างๆที่มีต่อมวลชน

โดยจริงๆแล้ว งานจิตรกรรมไม่อยู่ในฐานะตำแหน่งที่จะเสนอวัตถุชิ้นหนึ่งสำหรับประสบการณ์ของคนจำนวนมากพร้อมๆกัน ดังที่มันเป็นไปได้สำหรับงานทางด้านสถาปัตยกรรมมาโดยตลอด หรือสำหรับสำหรับบทกวีมหากาพย์ที่ขับขานในอดีต, และสำหรับภาพยนตร์ในทุกวันนี้. ถึงแม้ว่าสภาวการณ์ดังกล่าวในตัวมันเอง ไม่ควรน้อมนำใครคนหนึ่งไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับบทบาททางสังคมของงานจิตรกรรม แต่มันก็ได้ก่อให้เกิดการคุกคามที่จริงจังอันหนึ่งขึ้นมาในทันทีต่องานจิตรกรรม ภายใต้เงื่อนไขต่างๆที่พิเศษและดังที่มันเป็น สวนกันกับธรรมชาติอันนั้นที่เผชิญหน้ากับมวลชนโดยตรง.

ในโบสถ์และวัดวาอารามสมัยกลาง และ ณ ราชสำนักต่างๆอันหรูหราเท่าๆกับตอนปลายคริสตศตวรรษที่สิบแปด, การต้อนรับโดยกลุ่มคนเกี่ยวกับงานจิตรกรรมทั้งหลายยังไม่ได้เกิดขึ้นมาในช่วงนั้น แต่โดยลักษณะที่เป็นไปอย่างช้าๆและสูงขึ้นโดยลำดับ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้น เป็นการแสดงออกอันหนึ่งของความขัดแย้งกันโดยเฉพาะ ซึ่งงานจิตรกรรมได้ถูกนำไปเกี่ยวพันกับการผลิตซ้ำเชิงกลต่างๆ.

ถึงแม้ว่างานจิตรกรรมจะเริ่มถูกนำออกแสดงในรูปของนิทรรศการต่อสาธารณชนตามแกลลอรี่แสดงภาพ และห้องแสดงนิทรรศการศิลปะทั้งหลาย, แต่ก็ไม่มีที่ทางสำหรับมวลชนที่จะมารวมตัวกันในการต้อนรับการแสดงเหล่านั้นกันอย่างดาษดื่น. เมื่อหันมาพิจารณาเกี่ยวกับภาพยนตร์ สาธารณชนต่างมีโอกาสขานรับต่อภาพยนตร์ที่ผิดแผกไป มันเป็นไปในลักษณะล้ำหน้าและสร้างความประหลาดใจ ซึ่งแน่นอนเป็นการขานรับหรือโต้ตอบกับภาพยนตร์ในลักษณะท่าทีหรือปฏิกริยาคล้ายคลึงกับงานศิลปะในลัทธิเหนือจริง (surrealism).

13. 2
คุณลักษณะเฉพาะของภาพยนตร์ไม่ได้วางอยู่บนวิธีการที่มนุษย์นำเสนอตัวของเขาเองต่อเครื่องมือทางกลไกเท่านั้น แต่ยังวางอยู่บนวิธีการที่, โดยอาศัยอุปกรณ์นี้, มนุษย์สามารถเป็นตัวแทนหรือแสดงให้เห็นสภาพแวดล้อมของเขาด้วย. หากเราชำเลืองมองไปที่พื้นที่ที่จิตวิทยาครอบครองอยู่ มันจะให้ภาพหรืออธิบายถึงความสามารถในการทำงานของเครื่องมือ. วิธีการทางจิตวิเคราะห์ ได้นำเสนอภาพของมันในมุมมองที่แตกต่างและค่อนข้างชัดเจน

ภาพยนตร์ได้เพิ่มเติมเสริมสนามเกี่ยวกับการรับรู้ของเราด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งสามารถให้ภาพกับเราได้โดยทฤษฎีฟรอยเดียน. 50 ปีมาแล้ว การพลั้งปากหรืออย่างที่เรารู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า a slip of the tongue ไม่ค่อยเป็นที่สังเกตหรือให้ความสำคัญมากเเท่าใดนัก. ยกเว้นแต่เพียงบางครั้งที่การพลั้งเผลอดังกล่าวอาจเผยให้เห็นถึงมิติของความลึกล้ำในการสนทนา ซึ่งดูเหมือนว่ากำลังนำเอาแนวคิดของมันขึ้นมาบนผิวหน้า.

นับตั้งแต่ที่วิชาว่าสุขภาพจิตเกี่ยวกับสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันได้เปลี่ยนแปลงไป หนังสือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวได้เผยแพร่สู่สังคมมากขึ้น และมันได้นำเสนอแง่มุมเกี่ยวกับการวิเคราะห์แยกแยะสิ่งต่างๆ ซึ่งก่อนหน้า สิ่งต่างๆเหล่านี้ลอยไปลอยมาโดยไม่มีใครสังเกตหรือให้ความสำคัญในกระแสธารกว้างๆของการรับรู้ของสังคม. สำหรับแนวคิดหรือไอเดียทั้งหมดเกี่ยวกับการมองดู, และมาปัจจุบันรวมถึงการได้ยินเสียง, การรับรู้ภาพยนตร์ก่อให้เกิดความลึกล้ำคล้ายๆกันอันหนึ่งเกี่ยวกับขบวนความเข้าใจอันนี้มากขึ้น

เป็นอีกแง่หนึ่งของข้อเท็จจริงที่พฤติกรรมแต่ละอย่างที่แสดงให้เห็นในภาพยนตร์ สามารถถูกนำมาวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำมาก และจากมุมมองความคิดเห็นซึ่งมากกว่าสิ่งเหล่านั้นที่นำเสนอในงานจิตรกรรมต่างๆหรือบนเวทีละคร. ในการเปรียบเทียบกับงานจิตรกรรม, พฤติกรรมที่ถูกแสดงบนแผ่นฟิล์มได้เสนอตัวมันเองอย่างสะดวกง่ายดายต่อการวิเคราะห์ เนื่องมาจากถ้อยแถลงที่แม่นยำมากอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ของสถานการณ์นั้นๆ. ในการเปรียบเทียบกับฉากบนเวที, รายงานพฤติกรรมบนแผ่นฟิล์มได้เสนอตัวของมันเองอย่างรวดเร็วต่อการวิเคราะห์ เพราะมันสามารถถูกแยกออกมาได้ง่ายมากนั่นเอง

สภาวการณ์อันนี้ที่มีความสำคัญยิ่งของภาพยนตร์ ได้มาจากแนวโน้มบางอย่างของตัวเอง ที่ส่งเสริมการซึมแทรกเข้าหากันระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์. อันที่จริง, เกี่ยวกับรายงานพฤติกรรมบนจอภาพยนตร์ ซึ่งถูกทำให้ปรากฏหรือเปิดเผยอย่างเกลี้ยงเกลาออกมาในสถานการณ์ที่แน่นอนอันหนึ่ง, คล้ายเป็นกล้ามเนื้อของร่างกายคน

มันยากที่จะกล่าวว่า อันนี้เป็นสิ่งที่มีเสน่ห์มาก คุณค่าทางศิลปะหรือคุณค่าของมันสำหรับวิทยาศาสตร์ที่แสดงอัตลักษณ์ของประโยชน์ในเชิงศิลปะและวิทยาศาสตร์ของการถ่ายภาพ ซึ่งก่อนหน้านั้น ปกติแล้วถูกกีดกันออกไป แต่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นหนึ่งในบทบาทหน้าที่ที่เปลี่ยนไปอย่างขนานใหญ่ของภาพยนตร์

โดยการเคลื่อนเข้าไปใกล้ๆกับสิ่งต่างๆที่อยู่รายรอบตัวเรา, โดยการโฟกัสลงบนรายละเอียดที่ซ่อนเร้นของวัตถุต่างๆที่คุ้นเคย, โดยสำรวจสถานที่ธรรมดาของสิ่งแวดล้อมต่างๆภายใต้การนำทางอันปราดเปรียวของกล้องบันทึกภาพ, ภาพยนตร์ในด้านหนึ่ง, ได้ขยับขยายความเข้าใจของพวกเราเกี่ยวกับความจำเป็นต่างๆซึ่งวางกฎหรือมาควบคุมการดำรงชีวิตของเรา ; ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น, มันได้มาสร้างความมั่นใจให้เราเกี่ยวกับความใหญ่โตมโหฬารอันหนึ่ง และขอบเขตที่ไม่เคยคาดหวังมาก่อนของการกระทำและการปฏิบัติ

ร้านเหล้าเล็กๆ และถนนสายหลักต่างๆของเรา, ที่ทำงานและห้องหับที่มีการตกแต่งประดับประดา, สถานีรถไฟและโรงงานของพวกเราปรากฏว่ามันได้มากักขังเราคล้ายอยู่ในคุกอย่างสิ้นหวัง. ต่อมาเมื่อภาพยนตร์ได้พัฒนาขึ้น และระเบิดโลกแห่งคุก(prison-world)อันนี้ทิ้งไป แยกมันออกเป็นชิ้นๆโดยไดนาไมท์หรือดินระเบิดออกเป็นสิบส่วนในชั่ววินาที ดังนั้นตอนนี้ ในใจกลางของความพินาศที่แผ่กระจายไปทั่วและซากปรักหักพัง, พวกเรากำลังท่องไปอย่างสงบและด้วยความรู้สึกประหลาดใจ.

ด้วยการเข้าไปใกล้ หรือ close-up, พื้นที่ว่างได้ขยายออก; ด้วยการทำภาพช้า, ช่วงเวลาได้ถูกยืดให้ยาวออกไป. ภาพขยายของการบันทึกภาพอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงปฏิบัติการได้อย่างแม่นยำกว่าการมองเห็นด้วยตาเปล่าในกรณีต่างๆ, แม้ว่าจะไม่คมชัด แต่มันได้เผยให้เห็นโครงสร้างใหม่ทั้งหมดของเรื่องราว. ดังนั้น, เช่นเดียวกัน, ภาพช้าจึงไม่เพียงนำเสนอคุณสมบัติของความเคลื่อนไหวที่คุ้นเคยเท่านั้น แต่มันยังเผยให้เห็นสิ่งซึ่งไม่เป็นที่รู้จักเลย ที่ซึ่งไกลห่างจากการมองเห็น คล้ายกับมาหน่วงเหนี่ยวการเคลื่อนไหวอันรวดเร็วเอาไว้, มันให้ผลเกี่ยวกับการลื่นไหลอย่างยอดเยี่ยม, ล่องลอย, และมีลักษณะเป็นความเคลื่อนไหวที่เหนือธรรมชาติ

โดยพยานหลักฐาน ธรรมชาติที่แตกต่างอันหนึ่งได้เปิดเผยตัวของมันเองออกมาต่อหน้ากล้องยิ่งกว่าเปิดเผยตัวมันออกมาผ่านดวงตาอันเปลือยเปล่า เพราะพื้นที่ว่างที่ถูกเจาะทะลุเข้าไปอย่างไร้สำนึก ถูกแทนด้วยพื้นที่ว่างอันหนึ่งที่ได้รับการสำรวจอย่างมีสำนึกโดยมนุษย์. แม้ว่าใครคนหนึ่งจะมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิธีที่ผู้คนเดิน, แต่เขาไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับท่าทางของบุคคลในช่วงระหว่างเศษเสี้ยวของวินาทีของการก้าวเท้าหนึ่ง

การกระทำเช่น การคว้าไฟแช็ค หรือการหยิบช้อนจากจานอาหารขึ้นมาเป็นงานประจำที่คุ้นเคย, กระนั้นก็ตาม เราเกือบจะไม่รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆเลยในช่วงระหว่างที่มือเอื้อมไปยังวัตถุเหล่านั้น, ไม่ต้องกล่าวเลยว่า นี่มันได้แปรเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกของเราไปเช่นไร. ในที่นี้ กล้องบันทึกภาพได้เข้ามาแทรกแซงต้นตอต่างๆเกี่ยวกับการลดมือลงไปหยิบไฟแช็ค และการยกมือที่กำช้อนขึ้น, การเข้ามาขัดจังหวะต่างๆของมันและการแยกออกไป, การยืดขยายและการเร่งของมัน, การขยายภาพและย่อภาพลงมา. กล้องบันทึกภาพได้นำเสนอแง่มุมการมองที่ไร้สำนึกกับเรา ดังที่วิธีการทางจิตวิเคราะห์กระทำกับแรงกระตุ้นอันไร้สำนึกของเรานั่นเอง.

14.
หนึ่งในภารกิจแรกสุดของศิลปะ ก็คือการสร้างสรรค์ความต้องการอันหนึ่ง ซึ่งสามารถเป็นที่พึงพอใจได้อย่างเต็มที่และเป็นเช่นนั้นเรื่อยมา. ประวัติศาสตร์ของรูปแบบทางศิลปะทุกชนิดได้แสดงให้เห็นยุคสมัยหรือเหตุการณ์ที่สำคัญ ซึ่งรูปแบบศิลปะนั้นต้องการที่จะให้มีผลต่างๆ ซึ่งอาจถูกรับไปอย่างเต็มที่ด้วยมาตรฐานทางเทคนิคที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ ในรูปแบบงานศิลปะชนิดใหม่อันหนึ่ง

ความฟุ่มเฟือยต่างๆและความดิบของศิลปะซึ่งปรากฏออกมานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่เสื่อมโทรมต่างๆ, อันที่จริงเกิดขึ้นมาจากแก่นกลางของพลังงานอันหลากหลายที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในประวัติศาสตร์. ในช่วงไม่นานมานี้ ความป่าเถื่อนดังกล่าวต่างมีอย่างล้นเหลือในลัทธิ Dadaism. เพียงปัจจุบันนี้เท่านั้นที่แรงกระตุ้นของมันได้กลายเป็นสิงที่มองเห็นได้: ลัทธิ Dadaism พยายามที่จะสร้างสรรค์ลักษณะวิธีการของภาพและตัวหนังสือ ผลหรืออิทธิพลดังกล่าว อันเป็นสิ่งที่สาธารณชนในทุกวันนี้ค้นหาได้ในภาพยนตร์ [Dadaism : ประมาณปี ค.ศ.1919 / เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางศิลปะและวรรณกรรมสกุลหนึ่ง ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความไร้เหตุผลโดยการจงใจ และปฏิเสธเกี่ยวกับคุณค่าทางศิลปะแบบจารีต] (a movement in art and literature based on deliberate irrationality and negation of traditional artistic values)

รากฐานสิ่งใหม่ทุกๆอย่าง, การสร้างสรรค์ในลักษณะเป็นการบุกเบิกเกี่ยวกับความต้องการทั้งหลาย มันจะนำเราให้ไปพ้นจากเป้าหมายบางประการ. Dadaism กระทำเช่นนั้นสู่ขอบเขตที่มันสังเวยคุณค่าตลาดซึ่งเป็นคุณลักษณ์เฉพาะของภาพยนตร์ที่สนับสนุนความทะยานอยากให้สูงขึ้น - แน่นอน แม้ว่ามันจะไม่ได้สำนึกเกี่ยวกับเจตนาดังกล่าวก็ตาม อย่างที่ได้อธิบายในที่นี้. โดยไม่ต้องกล่าวถึงความสำคัญของศิลปิน dadaists ศิลปินกลุ่มนี้มีการยึดติดน้อยมากกับคุณค่าการขายเกี่ยวกับผลงานของพวกเขา และยังไม่ผูกพันกับความมีประโยชน์ในการมีใจจดจ่อกับการครุ่นคิดเมื่อพิจารณางานศิลปะ. การลดความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุของศิลปินกลุ่มนี้ อย่างน้อย ไม่ใช่วิธีการของพวกเขาที่นำไปสู่ความไร้ประโยชน์หรือคุณค่าแต่อย่างใด

บทกวีต่างๆของพวกเขาคือ"สลัดคำพูด"(word salad)ที่บรรจุคำลามกต่างๆ และผลผลิตของภาษาเลวๆทั้งหมดเท่าที่จะจินตนาการได้ลงไป. ความจริงอย่างเดียวกันนี้มีอยู่ในงานจิตรกรรมของพวกเขา ซึ่งพวกเขากลัดไว้ที่กระดุมและที่ฉลากต่างๆ. สิ่งที่ศิลปินตั้งใจและได้รับคือการทำลายโดยไม่ปรานีกับรัศมี(aura)เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ของพวกเขา, ซึ่งพวกเขาติดป้ายในฐานะที่เป็นการผลิตซ้ำหรือจำลองขึ้นมาใหม่ด้วยวิธีการที่แท้จริงของการผลิต

ต่อหน้างานจิตรกรรมชิ้นหนึ่งของ Arp (Jean Arp 1887-1966 ศิลปินและนักกวีชาวฝรั่งเศส) หรือต่อหน้าบทกวีของ August Stramm มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะใช้เวลาสำหรับการพินิจพิจารณา และการประเมินคุณค่า ดังที่ใครคนหนึ่งจะทำเช่นนั้นต่อหน้างานจิตรกรรบนผืนผ้าใบของ Derain (Andre Derain 1881-1945 จิตรกรชาวฝรั่งเศส) หรือบทกวีของ Rilke (Rainer Maria Rilke 1875-1926 นักกวีชาวเยอรมัน).

ในการเสื่อมสลายของสังคมชนชั้นกลาง, การพินิจพิจารณากลายเป็นสกุลหนึ่งสำหรับพฤติกรรมที่เก็บตัวและไม่สังคมกับใคร(asocial behavior); มันได้รับการต่อต้านโดยความต้องการหย่อนใจ หรือภาวะจิตใจวอกแวก ในฐานะที่เป็นความผันแปรไปอันหนึ่งของความประพฤติทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง

อันที่จริง กิจกรรมต่างๆแบบ Dadaistic ได้มารับรองหรือยืนยันถึงภาวะจิตใจวอกแวกที่ค่อนข้างรุนแรง โดยการสร้างผลงานต่างๆเกี่ยวกับศิลปะอันเป็นศูนย์กลางของความอัปยศฉาวโฉ่. ความต้องการของศิลปินกลุ่มนี้ แรกสุดเลยนั้น ต้องการที่จะสร้างและสะท้อนความเจ็บแค้นต่อสาธารณชน

จากการปรากฏตัวที่จูงใจ หรือโครงสร้างที่โน้มน้าวใจของเสียง ผลงานศิลปะของศิลปิน dadaists ได้กลายมาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของลักษณะการเคลื่อนไหวแบบกระสุนปืน. มันเจาะเข้าไปในตัวผู้ดูคล้ายกับลูกกระสุน มันเกิดขึ้นกับเขา ด้วยเหตุนี้มันจึงเข้ายึดครองคุณสมบัติที่สัมผัสแตะต้องได้. มันได้ไปสนับสนุนความต้องการอันหนึ่งสำหรับภาพยนตร์ ปัจจัยหรือองค์ประกอบของความบันเทิงของสิ่งซึ่งเป็นที่สัมผัสจับต้องได้มาแต่แรก ที่ได้รับการวางอยู่บนความเปลี่ยนแปลงต่างๆของสถานที่และโฟกัส ที่เข้าโจมตีผู้ดูเป็นระยะๆ. อันนี้ยอมให้เราเปรียบเทียบจอภาพยนตร์ที่ใช้นำเสนอภาพยนตร์ออกมา กับผืนผ้าใบของงานจิตรกรรม

งานจิตรกรรมมันเชื้อเชิญผู้ดูให้ครุ่นคิดพิจารณา; เมื่ออยู่ต่อหน้างานจิตรกรรม ผู้ดูสามารถละทิ้งตัวของเขาเองไปสู่ความสัมพันธ์ต่างๆของเขากับงานศิลปะ. เมื่ออยู่ต่อหน้าจอภาพยนตร์เขาไม่สามารถที่จะทำเช่นนั้นได้. พอดวงตาของเขาจับจ้องมองไปที่ฉาก มันก็ถูกเปลี่ยนไปแล้ว. มันไม่สามารถที่จะถูกไข่วคว้าหรือยึดกุมอะไรเอาไว้ได้.

Duhamel, ผู้ซึ่งไม่ชอบภาพยนตร์ และไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับนัยสำคัญของมัน, แม้กระทั่งบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับโครงสร้างของมัน ได้บันทึกสภาวการณ์อันนี้เอาไว้ดังต่อไปนี้: "ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะคิดคำนึงถึงสิ่งข้าพเจ้าต้องการจะคิด. ความคิดต่างๆของข้าพเจ้าได้ถูกแทนที่โดยภาพที่เคลื่อนไหว"

กระบวนการของผู้ดูเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชื่อมโยงในการดูภาพต่างๆเหล่านี้ อันที่จริงได้ถูกขัดจังหวะโดยความต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน. อันนี้ได้ก่อให้เกิดผลของอาการช็อคเกี่ยวกับภาพยตร์ ซึ่งก็เหมือนอาการช็อคอื่นๆทั้งหมด ที่ควรจะได้รับการบรรเทาลงมาโดยการเพิ่มเติมจิตใจให้หนักแน่นมากขึ้น. โดยอาศัยโครงสร้างทางเทคนิคของมัน ภาพยนตร์มีผลต่อการช็อคทางกายภาพด้วยสิ่งที่มาห่อหุ้มต่างๆอย่างที่ลัทธิ Dada มี และอย่างที่มันเป็น

15.
มวลชนคือศูนย์กลางหรือบ่อเกิดอันหนึ่ง จากสิ่งที่เป็นพฤติกรรมตามจารีตไปสู่ผลงานศิลปะต่างๆที่ผุดออกมาทุกวันนี้ในรูปแบบใหม่. ปริมาณได้รับการเปลี่ยนรูปไปสู่คุณภาพ. มวลชนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในการมีส่วนร่วมได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิธีการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมอันหนึ่งขึ้นมา. ข้อเท็จจริงคือ วิธีการใหม่ของการมีส่วนร่วม ปรากฏขึ้นมาครั้งแรกในรูปแบบของชื่อเสียงที่ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งจะต้องไม่ทำให้ผู้ชมสับสน.

กระนั้น คนบางคนได้เริ่มโจมตีอย่างห้าวหาญต่อแง่มุมอันผิวเผินอันนี้โดยตรง. ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ Duhamel ได้แสดงออกด้วยตัวของเขาเองในวิธีการที่รุนแรงที่สุด. สิ่งซึ่งเขาคัดค้านมากที่สุดก็คือ เรื่องเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมซึ่งภาพยนตร์ล้วงออกมาจากมวลชนทั้งหลาย. Duhamel เรียกภาพยนตร์ว่า "ความบันเทิงสำหรับพวกที่ตกเป็นทาส(a pastime for helots), การพักผ่อนหย่อนใจของคนที่ไร้การศึกษา, คนที่น่าเวทนา, คนที่เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย ซึ่งถูกกัดกินโดยความกังวลใจของเขาในภาพที่ปรากฎ ซึ่งไม่ต้องการการใส่ใจจริงจัง และไม่ได้คาดหวังเรื่องสติปัญญา มันไม่ได้เติมเชื้อไฟใดๆให้กับหัวใจของผู้คน และไม่ได้ปลุกเร้าความหวังใดๆขึ้นมา นอกจากเรื่องไร้สาระ ซึ่งสักวันหนึ่งจะได้เป็นดาราที่ลอสแองเจลิส".

อย่างชัดเจน, อันนี้เป็นพื้นฐานใต้สุดของความน่าเศร้าอย่างเดียวกันนับแต่อดีต ที่มวลชนพยายามแสวงหาสิ่งที่ให้ความพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งในทางตรงข้ามกับที่ศิลปะเรียกร้องการให้ความเอาใจใส่อย่างจริงจังจากผู้ดู. อันนั้นคือคำพูดซ้ำซากๆ แต่คำถามก็ยังคงอยู่ ไม่ว่ามันจะให้แท่นฐานอันหนึ่งเพื่อการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาพยนตร์หรือไม่ก็ตาม.

การเข้าไปมองดูใกล้ๆเป็นที่ต้องการในที่นี้. "การต้องการพักผ่อนหย่อนใจ" และ "การใส่ใจอย่างจริงจัง"ได้สร้างขั้วตรงข้ามขึ้นมา ซึ่งอาจได้รับการกล่าวดังต่อไปนี้ : คนที่มองด้วยความเอาใจใส่ต่อหน้าผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง เขาได้ถูกดูดซับหรือกลืนกินเข้าไปในผลงานศิลปะชิ้นนั้น. เขาได้ล่วงเข้าไปในผลงานดังกล่าว ดังที่ตำนานเก่าแก่เคยเล่าเอาไว้ถึงจิตรกรชาวจีนทั้งหลาย เมื่อตอนที่พวกเขามองดูงานจิตรกรรมของตนเองที่ได้ทำเสร็จลงแล้ว.

อาคารสิ่งก่อสร้างคือเพื่อนของมนุษย์มานับแต่ยุคดึกดำบรรพ์. รูปแบบงานศิลปะต่างๆจำนวนมากได้พัฒนาขึ้นมาและแตกสลายไป เช่น โศกนาฎกรรมเริ่มต้นขึ้นโดยชาวกรีก, และได้ถูกดับลงด้วยพวกเขาเช่นกัน และหลังจากนั้นต่อมาหลายศตวรรษ กฎเกณฑ์ต่างๆของเรื่องโศกนาฏกรรม มันเพียงได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่เท่านั้น. บทกวีมหากาพย์ ซึ่งการถือกำเนิดขึ้นมาของมันในช่วงเยาว์วัยของประชาชาติต่างๆ มันได้สินสูญไปในยุโรปในช่วงสิ้นสุดของยุคเรอเนสซองค์. ภาพเขียนสีบนแผ่นไม้(panel painting)ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ของยุคกลาง, ไม่มีสิ่งใดมารองรับถึงการดำรงอยู่ของมันต่อมาอย่างไม่ขาดสาย. ทั้งหมดเหล่านี้ต่างเกิดขึ้นและดับไป แต่ความต้องการของมนุษย์สำหรับที่กำบังพักพิงกาย(สถาปัตยกรรม)เป็นสิ่งที่ทนทานยืนหยัดมาโดยตลอด

สถาปัตยกรรมไม่เคยอยู่ว่างหรือเสียเวลาไปเปล่าๆ. ประวัติศาสตร์ของมันเก่าแก่โบร่ำโบราณมายิ่งกว่าศิลปะประเภทอื่นทั้งหมด, และข้ออ้างของมัน ในการเป็นสิ่งบีบบังคับของการเป็นอยู่มีนัยสำคัญในความพยายามทั้งปวงเพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ของมวลชนทั้งหลายกับศิลปะ

สิ่งก่อสร้างต่างๆถูกทำให้เหมาะสมในสองประการ : โดยการใช้ประโยชน์ และโดยการรับรู้(by use and by perception) - หรือโดยการสัมผัสและโดยการมองดู(by touch and sight).

ในด้านที่สัมผัสจับต้องได้ มันไม่มีอะไรที่คล้ายคลึงกับด้านการมองด้วยการครุ่นคิดพิจารณา. ความเหมาะสมในการสัมผัสจับต้องหรือการอยู่อาศัยได้รับการทำให้สำเร็จ โดยไม่ไปเกี่ยวกับเรื่องของความสนใจ มากเกินไปกว่าการเป็นที่พักอาศัย. สำหรับสถาปัตยกรรม, การพักอาศัยได้กำหนดขอบเขตที่กว้างใหญ่อันหนึ่งเท่าๆกับเรื่องการตอบสนองต่อการมอง. อันหลังนี้, เช่นกัน, เกิดขึ้นมาโดยผ่านความสนใจอย่างใจจดใจจ่อไม่น้อยไปกว่าการคำนึงถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของวิธีที่มันเกิดขึ้นมา.

แบบอันนี้ของความเหมาะสม, พัฒนาขึ้นมาโดยการอ้างอิงถึงสถาปัตยกรรม, ในสภาวการณ์บางอย่างที่มันได้เข้ายึดครองตามความเหมาะสม. สำหรับภารกิจต่างๆซึ่งเผชิญหน้ากับเครื่องไม้เครื่องมือของมนุษย์เกี่ยวกับการรับรู้ ณ จุดเปลี่ยนผันของประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยวิธีการมองเพื่อให้เป็นที่พอใจของสายตาเท่านั้น หรือโดยการครุ่นคิดพิจารณาเพียงลำพัง. สถาปัตยกรรมจะต้องเชื่อฟังเจ้านายของตนอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเจ้านายของมันก็คือบทบาทหน้าที่ของการพักอาศัย, ภายใต้การชี้นำของความเหมาะสมเกี่ยวกับการสัมผัสจับต้อง(tactile appropriation).

ทุกวันนี้ มันทำเช่นนั้นอยู่ในภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก. การต้อนรับภาวะจิตใจที่ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งมีอยู่ในงานศิลปะทุกประเภท มันเพิ่มพูนขึ้นอย่างน่าสังเกต และเป็นเครื่องแสดงของการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ลึกซึ้งในขบวนการเข้าใจ ที่เราสามารถพบได้ในภาพยนตร์. ภาพยนตร์กับผลที่ทำให้เกิดอาการช็อคของมันได้พบกับวิธีการนี้เกี่ยวกับการขานรับ

ภาพยนตร์ได้ทำให้คุณค่าพิธีกรรมความเชื่อ(cult value)ถอยห่างออกไปทุกทีจนไปแอบอยู่เบื้องหลัง [เช่นเดียวกับภาพถ่าย มันเชิดชูการดูหรือการแสดงออก(exhibition value) - ผู้แปล] ซึ่งในเวลาเดียวกันก็วางสาธารณชนลงในตำแหน่งของนักวิจารณ์ด้วย แต่โดยข้อเท็จจริง ณ โรงภาพยนตร์ ตำแหน่งอันนี้ไม่เป็นที่สนใจสักเท่าใด. เพราะ แม้ว่าสาธารณชนจะเป็นผู้ตรวจสอบ เป็นผู้ดูที่คอยวิพากษ์วิจารณ์ แต่ก็เป็นคนที่ไม่มีความคิดแต่อย่างใด

บทส่งท้าย (EPILOGUE)

การเจริญเติบโตขึ้นมาของชนชั้นล่างของผู้คนสมัยใหม่ และการก่อกำเนิดขึ้นมาของมวลชนเป็นจำนวนมาก คือแง่มุมสองประการของกระบวนการเดียวกัน. ลัทธิฟาสซิสม์พยายามที่จะรวบรวมมวลชนชั้นล่างที่ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่ โดยไม่ไปกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งมวลชนทั้งหลายพยายามมุ่งมั่นที่จะขจัดมันออกไป

มวลชนมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางด้านทรัพย์สิน; ลัทธิฟาสซิสม์แสวงหาหนทางที่จะให้การแสดงออกอันหนึ่งกับพวกเขา ขณะที่ยังคงรักษาทรัพย์สินเอาไว้. ผลของตรรกะดังกล่าวของลัทธิฟาสซิสม์ คือ การนำเสนอสุนทรียภาพเข้าสู่ชีวิตทางการเมือง... ความพยายามทั้งหมดในปฏิบัติการทางสุนทรีย์เกี่ยวกับการเมืองได้บรรลุถึงจุดสุดยอดอยู่สิ่งหนึ่ง : นั่นคือ สงคราม. สงครามเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่สามารถที่จะวางเป้าหมายเพื่อการเคลื่อนไหวมวลชนในสัดส่วนที่ใหญ่โตมากที่สุด ขณะเดียวกันก็นับถือและเอาใจใส่ต่อระบบทรัพย์สินตามขนบประเพณี. อันนี้คือสูตรทางการเมืองสำหรับสถานการณ์ดังกล่าว

สูตรของเทคโนโลยีอาจได้รับการกล่าวถึงดังต่อไปนี้ : เพียงสงครามเท่านั้นที่ทำให้มันเป็นไปได้ที่จะเคลื่อนหรือระดมทรัพยากรทางเทคนิคในทุกวันนี้ได้ ขณะเดียวกันก็ธำรงรักษาระบบทรัพย์สินเอาไว้. มันดำเนินไปโดยไม่ต้องกล่าวว่า การยกย่องสรรเสริญของฟาสซิสท์เกี่ยวกับสงคราม ไม่ได้ใช้ข้ออ้างเหตุผลต่างๆอันนั้น. แม้กระนั้น Marinetti ได้กล่าวเอาในแถลงการณ์ของเขา ในสงครามอาณานิคมเอธิโอเปียเอาไว้ว่า :

"สำหรับเวลา 27 ปี พวกเราเหล่าบรรดานัก Futurists (หมายถึงศิลปินแนวหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุโรปที่สนับสนุนลัทธิฟาสซิสท์) .... ตามที่กล่าวไว้ : ... สงครามเป็นความงดงาม เพราะว่ามันได้สถาปนาอำนาจของมนุษย์ขึ้นมา... โดยอาศัยหน้ากากกันแก๊สพิษ, การโฆษณาด้วยกระบอกแตรที่น่ากลัว, คนขว้างระเบิด, และรถถังขนาดเล็ก. สงครามคือความงดงาม เพราะมันริเริ่มน้อมนำความฝันเก่าๆเกี่ยวกับการทำให้เรือนร่างของมนุษย์ให้กลายเป็นเหล็ก. สงครามเป็นสิ่งงดงามเพราะมันได้เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับทุ่งหญ้าดอกไม้ ด้วยกล้วยไม้ที่ลุกเป็นไฟออกมาจากปากกระบอกของปืนกล".

"สงครามคือความงดงามเพราะมันได้รวมห่ากระสุนปืน, การระดมยิงด้วยปืนใหญ่, การหยุดยิง, กลิ่นสาบต่างๆ, และกลิ่นเหม็นของความเน่าเปื่อยเข้าไปสู่วงดนตรีซิมโฟนีวงใหญ่. สงครามเป็นความงดงามเพราะมันสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ๆ, คล้ายกับถังใบใหญ่ๆขึ้นมา, การก่อตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วของสถาปัตยฯในรูปทรงเรขาคณิต, ควันที่ม้วนตัวเป็นรูปก้นหอย จากกองเพลิงที่กำลังเผาผลาญหมู่บ้าน, และอะไรอื่นๆอีกมาก.... นักกวีและศิลปินของลัทธิ Futurism! ... จดจำได้ถึงหลักการต่างๆเหล่านี้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์อันหนึ่งของสงคราม ดังนั้น การต่อสู้ดิ้นรนของคุณเพื่อวรรณคดีใหม่ และงานกราฟิคใหม่ๆ, อาจได้รับการทำให้สว่างไสวขึ้นมาได้โดยพวกมัน!"

แถลงการณ์อันนี้มีความน่าชื่นชมในเรื่องของความชัดเจน. หลักการต่างๆของมันสมควรเป็นที่ยอมรับโดยบรรดานักวิภาษวิธี. สุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับสงครามในปัจจุบันปรากฎออกมาดังต่อไปนี้ : ถ้าประโยชน์ของธรรมชาติของอำนาจการผลิตได้ถูกขัดขวางโดยระบบทรัพย์สิน, การเพิ่มขึ้นในด้านสิ่งประดิษฐ์ทางเทคนิค, ในด้านความเร็ว, และในเรื่องต้นตอของพลังงาน จะไปบีบคั้นและกดดันสำหรับประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ และอันนี้ถูกพบได้ในสงคราม

การทำลายล้างของสงครามได้ให้ข้อพิสูจน์หรือหลักฐานยืนยันว่า สังคมไม่สุกงอมเพียงพอที่จะรวมเอาเทคโนโลยีเข้ามาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะของมัน เทคโนโลยีไม่ได้รับการพัฒนาพอที่จะจัดการกับอำนาจพื้นฐานของสังคม. ลักษณะท่าทีที่น่ากลัวของสงครามจักรวรรดิ์เป็นสิ่งที่เนื่องมาจากความไม่ลงรอยกัน ระหว่างวิธีการอันมากมายของการผลิต และการได้ประโยชน์จากมันอย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยในกระบวนการผลิต - ในอีกด้านหนึ่งก็คือ, การไม่มีงานทำและการขาดตลาดสำหรับระบายสินค้า

สงครามจักรวรรดิ์นิยมเป็นการกบฎอันหนึ่งของเทคโนโลยีซึ่งได้สั่งสมขึ้นมา, ในรูปเกี่ยวกับวัตถุปัจจัยของมนุษย์, ข้อเรียกร้องต่างๆซึ่งสังคมปฏิเสธวัตถุปัจจัยทางธรรมชาติของมัน. แทนที่จะระบายแม่น้ำสายต่างๆออกไปตามคูคลอง, สังคมกลับไปกำกับกระแสธารมนุษย์เข้าไปสู่ที่ฐานแห่งคูคลองของสนามเพลาะ; แทนที่จะหยอดเมล็ดพันธุ์จากเครื่องบินลงในไร่นา, กลับไปหย่อนระเบิดที่ลุกเป็นเพลิงลงเหนือเมืองใหญ่ต่างๆ; และโดยผ่านสงครามแก๊สพิษ รัศมีดังกล่าวได้ถูกลบล้างลงไปในหนทางใหม่อันหนึ่ง.

"Fiat ars--pereat mundus," กล่าวออกมาโดยลัทธิฟาสซิสม์, และ, ดังที่ Marinetti รับสารภาพ, หวังให้สงครามมาแทนหรือชดเชยความปลื้มปิติทางศิลปะ ของผัสสะการรับรู้ที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปโดยเทคโนโลยี. อันนี้คือการบรรลุถึงจุดสุดยอดในทางหลักฐานเกี่ยวกับ "l'art pour l'art"(ศิลปะเพื่อศิลปะ).

มนุษยชาติ, ซึ่งในยุคสมัยของ Homer คือวัตถุชิ้นหนึ่งของการครุ่นคิดไตร่ตรองสำหรับเทพเจ้าต่างๆแห่ง Olympion, มาถึงตอนนี้คือหนึ่งในตัวของตัวเอง. ความแปลกแยกของตัวตนได้นำไปสู่ระดับหนึ่งซึ่งมันได้ประสบกับการทำลายล้างของตัวมันเอง ในฐานะที่เป็นความพอใจทางสุนทรีย์ของระเบียบแบบแผนอันดับแรก. อันนี้คือสถานการณ์เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งลัทธิฟาสซิลสม์กำลังปฏิบัติการทางสุนทรีย์. ส่วนลัทธิคอมมิวนิสม์ขานรับโดยศิลปะเกี่ยวกับการเมือง

Walter Benjamin 1935

 

คลิกไปกลับไปหน้าแรกของบทความนี้

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

 

 

ต่อจากหน้าที่แล้ว (คลิกกับไปหน้าแรกของบทความนี้)

8.
นาฎกรรมหรือการแสดงทางศิลปะ(artistic performance)ของนักแสดงบนเวทีได้ถูกนำเสนอโดยปราศจากคำถาม หรือข้อสงสัยสู่สาธารณชนโดยตัวนักแสดงที่เป็นบุคคล แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับนักแสดงบนจอภาพยนตร์ จะถูกนำเสนอโดยผ่านกล้อง โดยจะมีผลตามมาคือ

กล้องที่นำเสนอการแสดงของนักแสดงภาพยนตร์ ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงการแสดงในฐานะที่เป็นภาพรวมๆทั้งหมด. ด้วยการถูกนำเสนอโดยผู้ถ่ายทำ, กล้องจะทำการเปลี่ยนตำแหน่งของตัวนักแสดงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพิจารณาถึงการแสดง. ลำดับต่อเนื่องของมุมมองในตำแหน่งต่างๆซึ่งผู้ตัดต่อประพันธ์ขึ้นจากเนื้อหาเรื่องราว ซึ่งช่วยให้เขาสร้างภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ขึ้นมา. มันประกอบด้วยปัจจัยบางอย่างของการเคลื่อนไหว ซึ่งอยู่ในความจริงเหล่านั้นของกล้องบันทึกภาพ, อันนี้มิได้พูดถึงมุมกล้องพิเศษ เช่น ภาพระยะใกล้ หรืออะไรต่างๆ ฯลฯ แต่อย่างใด

จากเหตุผลหรือข้อเท็จจริงอันนี้, การแสดงของนักแสดงจึงถูกควบคุมโดยการทดสอบภาพชุดหนึ่ง. อันนี้คือผลที่ตามมาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า การแสดงของนักแสดงได้ถูกนำเสนอโดยเครื่องมือหรือวิธีการของกล้องบันทึกภาพ