เว็บไซต์ที่บอกไม่ได้ว่ามีคุณภาพหรือไม่
เพราะคุณต้องตัดสินใจเอาเองว่าจะใช้คำคุณศัพท์ที่เหมาะสมกับเว็บนี้อย่างไร?
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำความรู้ที่นำเสนอไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการและสังคม
หากนำเอางานวิชาการไปใช้ประโยชน์
กรุณาแจ้งให้ทราบที่
midnight2545(at)yahoo.com
หรือ midnightuniv(at)gmail.com
Free Documentation
License
Copyleft : 2006,
2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies
of this license document, but changing it is not allowed.
ลิขซ้าย
2548, 2549, 2550 : สมเกียรติ ตั้งนโม
ผู้ที่นำข้อมูลสารานุกรมฟรีไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ เผยแพร่ หรืออ้างอิง
โดยต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ
สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุไว้ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
โดยระบุถึงเว็บไซต์ และ URL มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org
แถลงการณ์
ร่วมกันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง
ปฏิรูปการเมืองเป็นคำตอบที่สังคมไทยร่วมกันค้นพบกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว เพื่อตอบปัญหาที่รุมเร้าประเทศไทยในหลายด้าน
ส่วนหนึ่งของคำตอบเชิงสถาบันคือรัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๕๔๐ อันเป็นรัฐธรรมนูญที่สังคมไทยมีส่วนร่วมในการสร้างขึ้นมากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา
โดยอาศัยกระบวนการร่างที่มุ่งจะฟังเสียงประชาชนมาแต่แรก จึงจัดให้มีการเลือกตั้ง
ส.ส.ร.ขึ้น อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวในภาคประชาชนอย่างแข็งขัน เพื่อผลักดันข้อเสนอของตนเข้าไปในรัฐธรรมนูญ
"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" จึงมีความพยายามจะเสนอการปฏิรูปการเมืองในเชิงสถาบันไว้หลายประการ
และได้มีโอกาสใช้งานจริงเกือบ ๑๐ ปี ทำให้สังคมเห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของรัฐธรรมนูญ
ก่อนหน้าการรัฐประหารในวันที่ ๑๙ ก.ย. ๒๕๔๙ สังคมไทยเห็นพ้องต้องกันว่า จำเป็นต้องแก้ไขข้ออ่อนของรัฐธรรมนูญ
โดยอาศัยกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน
แต่การรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
ได้ทำลายพัฒนาการทางการเมืองโดยหลักนิติธรรมลงไป และบัดนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้อำนาจเผด็จการหลังรัฐประหาร
ก็กำลังได้รับการเสนอเพื่อการลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้สังคมไทยหันกลับไปสู่การเมืองยุคเก่า
ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำให้สังคมไทยอ่อนแอจนไม่สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงนานาชนิดที่ถาโถมเข้าสู่ประเทศของเราได้
และแน่นอนว่าทำให้การปฏิรูปการเมืองโดยผ่านกระบวนการร่วมกันของสังคมไทยต้องยุติลงอย่างสิ้นเชิง
บุคคลและองค์กรที่ลงนามข้างล่างนี้จึงขอเสนอแก่สังคมไทยว่า เราควรร่วมมือกันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยผ่านการลงประชามติหากมีการจัดขึ้นในภายหน้า
ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า พลังที่ผลักดันให้การปฏิรูปการเมืองสัมฤทธิ์ผลได้นั้นมีอยู่
2 ประการ คือพลังทางสังคมและพลังที่เกิดจากการจัดระบบการเมืองที่ตรวจสอบได้,
ต้องรับผิด, และอยู่ในความควบคุมและถ่วงดุลของอำนาจที่หลากหลายและเป็นอิสระต่อกันพอสมควร
แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้กลับสวนกระแสของพลังปฏิรูปการเมืองดังกล่าวนี้
แม้ดูเหมือนมีการขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มากกว่ารัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งเท่ากับเพิ่มพลังของสังคมในการตรวจสอบและควบคุมถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ
หากทว่าประสบการณ์ที่ได้ใช้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ มาเกือบ ๑๐ ปี พบว่าสิทธิเสรีภาพเหล่านี้มีแต่บนกระดาษ
ไม่สามารถนำไปเป็นหลักประกันในด้านปฏิบัติได้เลย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ,
การมีสื่อที่เป็นของประชาชน, การรวมกลุ่มเพื่อการต่อรอง, หลักประกันสวัสดิการพื้นฐาน,
ฯลฯ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง
ปฏิรูปการเมืองต้องหมายถึงสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้เป็นจริงในทางปฏิบัติ
มิฉะนั้นสังคมจะมีพลังกำกับควบคุมให้ระบบการเมืองดำเนินไปอย่างถูกทำนองคลองธรรมได้อย่างไร
ในด้านระบบการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ไว้วางใจประชาชนเจ้าของประเทศ
จึงริบสิทธิเลือกตั้งองค์กรทางการเมืองไปจากประชาชน พร้อมกันกับทำให้ระบบการแต่งตั้งองค์กรอิสระทั้งหลายไม่ยึดโยงกับพลังทางสังคม
แต่ไปผูกติดกับระบบราชการ ระบบเลือกตั้งมุ่งแต่จะไม่ให้เกิดพรรคใหญ่โดยไม่สนใจว่าจะทำลายความเป็นตัวแทนประชาชนของนักการเมืองลงไปมากสักเพียงใด
การใช้อำนาจอธิปไตยก็เต็มไปด้วยความสับสน เพราะมีการก้าวก่ายอำนาจกันระหว่างฝ่ายต่างๆ
ที่ใช้อำนาจอธิปไตย โดยเฉพาะจากฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร ในทางปฏิบัตินักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจะอ่อนแอจนไม่สามารถริเริ่มนโยบายใหม่ใดๆ
ได้ จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบของระบบราชการเสียก่อน จึงสมกับที่ถูกเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับขุนนางที่มุ่งจะรื้อฟื้นระบอบอำมาตยาธิปไตยกลับขึ้นมาใหม่
พวกเราดังมีรายนามข้างล่างนี้จึงมีความเห็นว่า
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะนำประเทศไทยถอยหลังกลับไปหลายสิบปี อำนาจและสิทธิของประชาชนที่ได้มาด้วยการต่อสู้จนสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อไปนับไม่ถ้วน
จะต้องถูกริบไปจนไร้ความหมาย จึงไม่ควรนำมาใช้กำหนดความสัมพันธ์ในรัฐของเรา ควรร่วมมือกันไม่รับรองร่างรัฐธรรมนูญโดยผ่านการลงประชามติ
และเรียกร้องให้นำเอารัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กลับมาใช้ใหม่ โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงสองประเด็นคือ
๑) ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน ๖๐ วัน
๒) รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยกระบวนการที่นักการ
เมืองไม่มีอำนาจเข้ามากำกับควบคุมการแก้ไข แต่ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.เพื่อการนี้โดยเฉพาะ
แท้จริงแล้ว ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดในโลกที่เป็นเอกสารสมบูรณ์พร้อมและสถิตสถาพรโดยไม่เปลี่ยนแปลง
แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่โดยกระบวนการทางสังคม นั่นคือเกิดสำนึกใหม่ในสิทธิเสรีภาพบางประการหรือบางมิติ
จนทำให้ต้องมีการจัดความสัมพันธ์ในองค์กรทางการเมืองใหม่ สังคมที่เสรีคือเครื่องมือสำคัญที่ขาดไม่ได้ของกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและปฏิรูปการเมือง
ไม่มีอำนาจ"บริสุทธิ์"ของทหารหรือการรัฐประหารใดๆ จะทำหน้าที่นี้แทนสังคมเสรีได้
การนำเอารัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กลับมาใช้ใหม่จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปการเมืองเดินหน้าต่อไปได้
โดยวิธีนี้เท่านั้นที่จะนำสังคมไทยกลับไปสู่ความสงบเรียบร้อย
และกู้คืนเกียรติภูมิที่สูญเสียไปจากการรัฐประหารกลับมาได้อย่างถาวร โดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อดังเหตุการณ์ที่ผ่านมาอีก
พวกเราที่มีชื่อข้างท้ายนี้จึงใคร่ขอให้พี่น้องร่วมมือกันรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในการลงประชามติ
เพื่อผลักดันให้นำเอา"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน"กลับมาแก้ไขปรับปรุง ด้วยกระบวนการประชาธิปไตยในภายหน้า
โดยการใช้สีเขียวตองอ่อนเป็นสัญลักษณ์ร่วมกัน ท่านอาจติดแถบริบบิ้นสีเขียวตองอ่อนที่พาหนะของท่าน
ติดแถบเขียวตองอ่อนกับเครื่องแต่งกาย ใช้แถบข้อมือสีเขียวตองอ่อน ติดธงเขียวตองอ่อน
หรือวิธีอื่นใดที่ท่านอาจคิดขึ้นเองเพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ร่วมกันดังกล่าว ทั้งนี้นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จนกว่าเราจะได้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กลับคืนมา พร้อมทั้งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย
76 นักวิชาการทั่วประเทศ
(๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐)
รายชื่อนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
1. นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2. จิตราภรณ์
ตันรัตนกุล 3. อรรถจักร สัตนานุรักษ์ 4. วารุณี ภูริสินสิทธิ์ 5. สมเกียรติ ตั้งนโม
6. สายชล สัตยานุรักษ์ 7. สมชาย ปรีชาศิลปกุล 8. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช 9.
ชัชวาล ปุญปัน 10. สุชาดา จักรพิสูทธิ์ 11. ไพสิฐ พาณิชย์กุล 12. นัทมน คงเจริญ
13. พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ 14. วัลลภ แม่นยำ 15. อำพล วงศ์จำรัส 16. พรภิมล ตั้งชัยสิน
17. อรณิชา ตั้งนโม 18. ปราณี วงศ์จำรัส 19. นงเยาว์ เนาวรัตน์ 20. ชำนาญ จันทร์เรือง
21. ชาญกิจ คันฉ่อง 22. คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช
รายชื่อนักวิชาการจากทั่วประเทศ
23. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 24. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 25. เกษียร เตชะพีระ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 26. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 27. อรศรี งามวิทยาพงศ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 28. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 29. อัครพงษ์ ค่ำคูณ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 30. อภิชาติ สถิตนิรามัย (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 31. ปกป้อง จันวิทย์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 32. วิภา ดาวมณี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 33. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 34. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 35. ประภาส ปิ่นตกแต่ง (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 36. ราณี สหัสรังษี (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 37. สุวิมล รุ่งเจริญ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 38. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 39. วรศักดิ์ มหัทธโนบล (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 40. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 41. จิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 42. วิระดา สมสวัสดิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 43. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
44. วรวิทย์ เจริญเลิศ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
45. ทพ. วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 46. ทัศนัย เศรษฐเสรี
(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 47. ท.พญ. ศศิธร ไชยประสิทธิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
48. จันจุฑา สุขขี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 49. กัญญณัฏฐา อิทธินิติวุฒิ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
50. อุษามาศ เสียมภักดี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
51. สุชาติ เศรษฐมาลินี (มหาวิทยาลัยพายัพ) 52. สฤณี อาชวานันทกุล (นักวิชาการอิสระ)
53. วรดุลย์ ตุลารักษ์ (นักวิจัย TDRI) 54. กฤตยา อาชวนิจกุล (มหาวิทยาลัยมหิดล)
55. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว (มหาวิทยาลัยมหิดล) 56. ศรีประภา เพชรมีศรี (มหาวิทยาลัยมหิดล)
57. วราภรณ์ แช่มสนิท (มหาวิทยาลัยมหิดล) 58. โสฬส ศิริไสย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
59. สุภิญญา กลางณรงค์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) 60. บุณยสฤษฏิ อเนกสุข (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
61. พฤกษ์ เถาถวิล (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) 62. ธัญญา สังขพันธานนท์ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
63. กุลจิรพัส บุษกลธนาวรัตน์ (มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี) 64. วสันต์ ลิมป์เฉลิม (สถาบันราชภัฎธนบุรี) 65. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (มหาวิทยาลัยฮาวาย) 66. ธนศักดิ์ สายจำปา (มหาวิทยาลัยเกริก) 67. ธนศักดิ์ วรธรรมดุษฎี (มหาวิทยาลัยเกริก) 68. เชษฐา พวงหัตถ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 69. นฤมิตร สอดศุข (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 70. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 71. พิพัฒน์ สุยะ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 72. นาตยา อยู่คง (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 73. สุนัย ครองยุทธ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 74. โกวิท แก้วสุวรรณ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 75. บาหยัน อิ่มสำราญ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 76. สุวิดา ธรรมณีวงศ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
รายชื่อเพิ่มเติมหลังแถลงการณ์
จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์). ปิยบุตร แสงกนกกุล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), กตัญญู แก้วหานาม (มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์), เอกกมล เอมระดี (นิติศาสตร์บัณฑิต รุ่น 27 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล), ชาตรี ประกิตนนทการ (มหาวิทยาลัยศิลปากร), มาลินี คุ้มสุภา (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), อานนท์ อุณหะสูต (นักศึกษาโครงการปริญญาโท สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มธ.), พรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความประสงค์ขอร่วมลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ ดังรายชื่อต่อไปนี้ นายนนท์ กาศโอสถ, นางสาวนันทนัช จีระสุวรรณ, นายพิษณุ ก๋าวิตา, นายปิยะเวศน์ กองสอน. ว่าที่ ร.ต.สุรัตน์ หงษ์จันทร์ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ), พร้อมพงศ์ วานิชสมบัติ (นศ.สัตว์แพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่),
วรงค์ หลูไพบูลย์ (ประชาชน), สุชาติ โฮ (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทพลีลา), สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์ (คณะศิลปศาสตร์ สาขารัฐศาตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา), นายชาญ พนารัตน์ (อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา), นายธนิต ขมสนิท (กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น), ปรัชญ บุญส่ง (นศ.ปโท มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสถาปัตยกรรม ภาควิชาวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม), สุขทวี สุวรรณชัยรบ (อาจารย์วิชาสันติภาพและการแก้ไขข้อขัดแย้ง, มหาวิทยาลัยอเมริกานา, ประเทศนิคารากัว), สมศักดิ์ เข็มเพชร, อนุสรณ์ งอมสงัด (อาจารย์ประจำวิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด), นักศึกษาภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย ๓ คนคือ ๑.นายทศพล ศรีนุช, ๒.นายอานนท์ ตันติวิวัฒน์, ๓.นายอนุพงษ์ อิ่มลาภ.
ทรงยศ วีระทวีมาศ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น), ผศ.อัจฉริยา เนตรเชย อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร, งามศุกร์ รัตนเสถียร (จากมหาวิทยาลัยมหิดล), ดร. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช), บูรณ์เชน สุขคุ้ม (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม), สุรชาติ ไตรสูงเนิน (เศรษฐศาสตรบัญฑิต รุ่น 6 มหาวิทยาลัยขอนแก่น), เสกรินทร์ บุญชูสวัสดิ์ (บุคคลทั่วไป), เรวัตร บูรณธนิต (บุคคลทั่วไป), พรนภา ทัศนพงษ์ (อดีตนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์), สุชาติ ธาตุบุรมย์ (บุคคลทั่วไป), ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ (มหาวิทยาลัยมหิดล), Anirudh Chaiworaporn (Bachelor Degree (Political Science) Thammasat University, ลลิตา สุทัศน์วัฒนะ(นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), วิจา ตินตะโมระ (สจล.- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าสเจ้าคุณทหารลาดกระบัง). ผมไม่เชื่อว่า รัฐธรรมนูญ ที่เกิดอย่างผิดกระบวนการธรรมชาติของสังคมเช่นนี้ จะนำพาสังคมไปสู่ดุลยภาพ ไปสู่ความอยู่รอดใน สังคมโลกอันยากลำบากยุคสมัยนี้ได้ เช่นนี้แล้ว ผมไม่อาจรับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 อันมีกำเนิดที่พิกลพิการนี้ได้ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่เปิดช่องทางให้ร่วมแสดงความคิดเห็น (พีระ เอมศรีกุล).
นางน้อมจิตต์ พึ่งพินิจ, นายจำรูญศักดิ์ พึ่งพินิจ, น.ส.นิชนันท์ พึ่งพินิจ (บุคคลทั่วไป). ประเสริฐ ลิ้มประสงค์ (รัฐศาสตร์บัณฑิต รุ่น 27 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). เจเรมีย์ ปรมัตถ์ กังสดาลอำไพ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. รต. ธีรพล ไชยคำ (นักพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน). ดร.วโรดม ตู้จินดา (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์). รศ.ดร.ประพันธ์ เศวตนันทน์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ). นายปริชัย ดาวอุดม ในนามบุคคลทั่วไป ขอร่วมคัดค้านไม่รับรองรัฐธรรมนูญ 2550. นายอานนท์ จึงลักขณานนท์ นิติศาสตร์บัณฑิตรามคำแหงขอลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของ กบถครับ. นายธีระชัย ไชยกุล นาง นุชจรินทร์ ไชยกุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้รุ่น 54. ลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปวัฒน์ชัย กมราช (Producer อิสระ).
นายกุศล บุญเสมอ อาย ุ57 ปี บัตรประชาชน 310170111xxxx ขอคัดค้านการร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยคมช. หรือแต่งตั้งโดย คมช.เอง. อาจารย์กรัณย์ ปัญโญ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ขอร่วมต้านรัฐธรรมนูญ ที่มาจากการกุมอำนาจของเผด็จการ. Phimporn.S ไม่ขอรับรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการค่ะ. นายพงษ์พันธ์ โตเนียม ID Code 36606002XXXXX อาชีพ วิศวกรอิสระ. เรียกร้องให้นำเอารัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กลับมาใช้ใหม่โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงสองประเด็นดัง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเสนอ. เวชยันต์ ธราวิศิษฏ์ ประชาชน. ธีรพล คำแสน (น.ศ.ปริญญาโท MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ที่อยู่ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น *แล้วผมอยู่ขอนแก่นจะสามารถไปร่วมชุมนุมได้ที่ไหนครับ. Mr.SATHAPORN JONGKHETGAN. บุญส่ง ทิพย์มณีมงคล ในนามบุคคลทั่วไป ไม่รับร่างรํฐธรรมนูญ 50 ครับ ช่วยรวบรวมเป็นข้อมูลด้วย. ขอแสดงตนคัดค้านรัฐธรรมนูญทหาร และเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาบังคับใช้โดยทันที ลงชื่อ สุรชัย กิตติกุลวโดรม รัฐศาสตร์จุฬา 27. นางสาวนงเยาว์ บุญโนนยาง พนักงานบริษัทเอกชน ขอร่วมลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550.
ต้องขอบพระคุณคณาจารย์ที่ออกมาแสดงจุดยืนครั้งนี้ เพราะไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะถอยหลังอย่างมากๆครับ ขอให้ท่านทำการประชาสัมพันธ์มากๆครับ โดยด่วนนะครับ จากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยที่สุดคนหนึ่ง นายทนงศักดิ์ ทองเปรม หมายเลขบัตรประชาชน 320060116XXXX. ชุมพล หงษ์ทอง เมื่อได้อ่านข้อความบางข้อทำให้รู้สึกว่า รัฐธรรมนูญไม่เป็นไปเพื่อประชาชนโดยมีเนื้อหาในการรักษาหรือคงอำนาจไว้ ในลักษณะของขุนนาง ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าสิทธิเสรีภาพมีอยู่แต่ในกระดาษ ไม่เป็นหลักที่จะประกันให้ประชาชนรู้สึกถึงประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งแตกต่างกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งประชาชนมีสิทธิอย่างแท้จริงมากกว่า. ถึง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, ตามเนื้อหา เรื่อง ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง ข้าพเจ้า นายกรุงธน สกลภาพ ได้ตระหนักถึงว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช.นี้ได้ร่างมาอย่างผิดหลักการของประชาธิปไตยหลายอย่าง และเล็งเห็นถึงปัญหาหากมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นจริงในวันข้างหน้า จึงขอร่วมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับคมช. สมชาย เอกสมบูรณ์ อยู่ Berkeley, CA. USA. อนุสรสวิระสฤษดิ์ ที่อยู่สามเสน ดุสิต กทม 10300. วิโรจน์ ธิมา 33415015XXXXX ศรีสะเกษ อาชีพรับราชการ. ผมขอร่วมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คมช ด้วยคน รศ. ทวีพงษ์ กลิ่นหอม. วรวัฒน์ ธานุ พนักงาน บริษัทดิจิตอล โอเอ จำกัด.
สื่อมวลชนวิทยุ และ อินเตอร์เน็ตค่ะต่างจังหวัด และ ต่างประเทศค่ะ วลัยพร รัตน์ถานู, คุณากร รัตน์ถานู, ศรชัย รัตน์ถานู, บัวลอยรัตน์ถานู, เนาวรัตน์ เทพสกุล, เทิดศักด์ เทพสกุล, อุไร สิบโท, ณัฐณิชา นามอำนาจ. ไม่เอา รธน.50 ชื่อนายนิคม รัตนจันทร์ อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ข้าพเจ้าเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ที่ได้มาจากการร่างหรือจัดทำขึ้นโดยคณะรัฐประหารหรือผู้ที่ถูกคัดเลือกโดยคณะรัฐประหาร ถึงแม้จะพิสูจน์ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในโลกก็ตาม เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่า รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ต้องร่างหรือจัดทำขึ้นในบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอเข้าชื่อในการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ บรรเจิด แสงจันทร์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) ปัจจุบันกำลังศึกษา ปริญญาเอก ณ สถาบัน AIT. ขอร่วมต่อต้านรัฐธรรมนุญฉบับเผด็จการทหาร 2550 1. นายสุชาติ บาปุยะวาทย์ 2. นางจันทนา บาปุยะวาทย์ หากมีกิจกรรมใดที่ทำเพื่อต่อต้าน คมช. โปรดแจ้งให้พวกเราทราบด้วย และขอชื่นชมอาจารย์ที่ออกมาช่วยกันแก้ปัญหา สังคมอธรรม มาณ.โอกาสนี้ด้วย. นายสมบูรณ์ วัฒนะ (Ph.D.) อาจารย์ ลงชื่อในมส่วนตัว. นางวริศรา อึ้งประภา ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150 ขอร่วมลงชื่อคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 เพราะรัฐธรรมนูญฉบับร่างร่างขึ้นในยุคที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย (เผด็จการครองเมือง) ใช้อำนาจบังคับ ข่มขู่ หน่วงเหนี่ยวประชาชน. ดิฉันเห็นด้วยที่จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่หมกเม็ดนี้ค่ะ ศิวพร จงพิพัฒนากูล. ยอดดอย ดวงเนตร.
๑ น.ส. วันรัก สุวรรณวัฒนา
นักศึกษาระดับป.เอก มหาวิทยาลับปารีส ๔-ซอร์บอนน์ ๒ นาย เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิธขจร
นักศึกษาระดับป.เอก
มหาวิทยาลัยปารีส ๒. เอารัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กลับมาแก้ไขปรับปรุง ด้วยกระบวนการประชาธิปไตย
ประวิทย์ ขันเดช ธัญบุรี ปทุมธานี 12130. ผมขอร่วมลงชื่อต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ
ผศ.ฐาปกรณ์ แก้วเงิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อ.เมือง จ.ลพบุรี. นาย นคร เพ็งแจ่ม
(วิศวกรไม่เอาเผด็จการ). นายกรรณธน ประกันศรี ( นักศึกษาปริญญาโท) ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ.
ดำเกิง โถทอง อาจารย์ วิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
ขอร่วมไม่รับร่างรํฐธรรมนูญ ๒๕๕๐. สุชาติ จันทร์จรมานิตย์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่). นายสุเนตร บุญมา หมายเลขบัตรประชาชน
340990084XXXX องค์กร : ประชาชนทั่วไป. จตุพงศ์ เลิศศิลป์จิรดา หมายเลขบัตรประชาชน
5 1002 9902XXXX
ผศ. ดร. พงศ์ราม รามสูต จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ขอร่วมลงนามไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550. Please put my name with your group "No more coup" in Thailand and around the world. My name is Pusadee Chochee Berreman, San Francisco, U.S.A., Accountant at UC Of Office President, California, U.S.A นายวิศรุต ทิพย์โสดา นักศึกษาระดับปริญญาโทร คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ขอแสดงเจตจำนงค์สนับสนุนแถลงการณ์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนด้วยความเคารพยิ่ง. ขอร่วมต่อต้านเผด็จการ สนับสนุนประชาธิปไตย ในนาม www.yakyaipost.com เที่ยงตรง ยุติธรรม ขอเเสดงความนับถือ ทีมงานยักษ์ใหญ่โพสต์. ณัฐ ศรสำราญ (ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ขอร่วมลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ อ. ถนัด บุญชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300. นพ. สุเทพ ทักษิณาเจนกิจ แพทย์ประจำศูนย์หัวใจสิริกิติ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอร่วมลงนามคัดค้านรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 เผด็จการนี้ ด้วยครับ. ขอร่วมลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการในฐานะนักวิชาการครับ นายชัชวนันท์ สันธิเดช (อาจารย์) คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค). นายอุเทน เตรียมธนะ เลขที่บัตรประชาชน 357030059XXXX เชียงราย ไม่ขอรับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550. ต้องการที่จะลงชื่อต่อต้านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ นายชัยวัฒน์ วาชิตพล, นางอารีรัตน์ วาชิตพล, น.ส. จุฑามาศ วาชิตพล, นายกนกศักดิ์ วาชิตพล, นายเบญจพล วาชิตพล, นายโสภณ คล่องบุญจิต, น.ส. จุฬาภรณ์ คล่องบุญจิต. ขอร่วมโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับปี2550 อย่างแน่นอน นาย วาสิต อร่ามวงศ์ (ธุรกิจส่วนตัว ศิษย์เก่าม.เกษตรศาสตร์ รุ่นที่ 39 , ศิษย์เก่า)(สถาบันนิด้า โครงการMPPMรุ่นที่ 5.). ผมร่วมลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญทหารฉบับนี้ด้วยครับ วรพจน์ พิทักษ์ ราษฎรไทย อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000. นายวิรัช วิสาขศาสตร์ (นิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ).
ลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ ดร.นิคม นครเรียบ พนักงานวิชาการ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สนธยา สังข์บุญนาค,สุนัดดา สังข์บุญนาค,สุธิดา สังข์บุญนาค,สุวิชา สังข์บุญนาค,สุปัญญา สังข์บุญนาค,นิตยา สังข์บุญนาค,สุรัตน์ สังข์บุญนาค,บังอร ตงบุญชัย,อินตอง ตงบุญชัย,วินัย ตงบุญชัย,สาคร ตงบุญชัย,สมสมัย ตงบุญชัย,เพ็ญพร ตงบุญชัย,ลือไท ตงบุญชัย,พณิตา สวนงาม,ณรงค์ มาอุ๋น,ประคอง มาอุ่น,เพิ่ม มาอุ่น,นาวี มาอุ่น,วันเพ็ญ มาอุ่น,พงเทพ มาอุ่น, สายชล อาจสาริกา,ชาคริต อาจสาริกา,ปิยะราช วงษ์ศิริ. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง ดร.สายสวาท ปัจวิทย์(ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). อวยไชย อินทรสมบัติ ไม่ขอรับร่างรัฐธรรมนูญปี ๕๐ เนื่องจากที่มาของคณะบุคคลที่ร่างก็คือ คนที่มีส่วนในการฉีกรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนโดยแท้จริง. นายนิติ ชัยปัญญา ผมขอร่วมลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับเผด็จการนี้ครับ (บุคคลทั่วไป). ดร. วิษณุ โคตรจรัส จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอลงชื่อด้วยครับ. Anantachai Pothikham (กลุ่มดินแดง ม.ขอนแก่น ขอร่วมไม่เอา รธน. 50 ครับ). นายคมกริช สุรชน (นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ชั้นปีที่ 4). ศศิพันธุ์ เอียดเอื้อ (mpa 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ประกอบการธุกิจเอกชน) ขอร่วมลงชื่อไม่รับร่าง รัฐธรรมนูญปี 50 (ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง) .
วิราว์ วัฒนกิจ (กลุ่มตรังเคเสวนา จังหวัดตรังไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปิศาจ). นางสาววชิราภรณ์ บุญประดับ (MA. Fashion Marketing Northumbria University, Newcastle, UK). ดร.สุนีย์ เตชเถกิง (พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง อาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่). นายวิษณุ อาณารัตน์ (นิสิต วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). นายสยาม ปานจุไร (พนักงานบริษัท/วิศวกร. ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบันนี้ (2550). ขอร่วมลงชื่อคัดค้างรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับอำมาตยาธิปไตย อ.พุทธิชาติ วานิชทัตต์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วข.อุเทนถวาย). นายเจริญศักดิ์ สลีสองสม (ขอร่วมลงชื่อในการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เลขที่บัตร 357010048xxxx จากเชียงราย อาชีพเกษตรกร). นายกฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ (นักวิชาการศึกษา สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น). พรชัย ปานบ้านแพ้ว (บุคคลทั่วไป บัตรประชาชนเลขที่ 3-1201-01398-xxx - อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี). ขอลงชื่อไม่รับร่าง " หมออนามัย" เอนกสรร วงค์สาย. เภสัชกร ราชัน คงชุม (Rachan Kongchum B.Sc.(Pharm) Customer Protection Group Phattalung Province Public Heath Thailand). นายปิยะ แสงแก้ว ผู้สื่อข่าวหนังสือเสียงใต้ รายวัน (ขอเสนอชื่อร่วมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550). ไพโรจน์ รุ่งจันเหนือ นักศึกษา ป.โท ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ Sr System Analyst บริษัท Progress Software ขอร่วมลงชื่อ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50 ด้วยคนครับ.
นายรุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน
หัวหน้าภาควิชา รัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
นายยุทธพงษ ลีลากิจไพศาล อาจารย์ประจำภาควิชา รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
นายอิทธิพล มะเสน นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นางสาวกมลทิพย์ อ่อนคำมา นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นายณัฐพล ยิ่งยง นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. นางสาวรุ่งตะวัน
นินทระ นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. นางสาวชฎาริน ชินวงศ์
นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. มนตรา พงษ์นิล ขอร่วมแสดงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ในนามบุคคลทั่วไป สาขาพัฒนาสังคม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา.
ปูริดา กล้าประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. กระผม นายนิตินันท์ ศรีเมฆ นักศึกษาชั้นปีที่
4 คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอร่วมลงชื่อ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550. ร่วมลงชื่อ
2 คนไม่รับร่าง โดยประชาชนทั่วไป ปกรณ์ อุ่นเรือนและ สุนิพพา อุ่นเรือน
ลาดพร้าว กทม. นายพิเชษฐ ถูกจิตร นักศึกษาปริญญาโท สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ไม่ขอรับร่างรัฐธรรมนูญ. นายพิสิษฐิกุล แก้วงาม น.ศ. ปริญญาโท สาขาการปกครอง
คณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์. ขอสนับสนุนที่จะไม่รับ constitutional 50 เพราะแหล่งที่มาไม่ถูกต้อง
โดยธรรมเนียมที่ว่า "ประเทศไทยปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย" ลงชื่อ Googai
Tuyta.
นพ. ดิเรก บรรณจักร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สุดาพร บรรณจักร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รายชื่อเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1. ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์, 2. รศ.ดร.บุญยงค์ เกศเทศ, 3. ดร.พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, 4. ผศ.สมชาย นิลาธิ, 5. ผศ.สมชาติ มณีโชติ, 6. อ.กีรติ ธนะไชย, 7. อ.ลาวัณย์ สังขพันธานนท์, 8. อ.อุษณา อารี, 9. อ.รัญชนีย์ ศรีสมาน, 10. อ.ภาคภูมิ หรรนภา, 11. อ.ทม เกตวงศา, 12. อ.ลลิตา หิงคานนท์, 13. อ.อัครา มะเสนา, 14. อ.บัญญัติ สาลี, 15. ภาคภูมิ หรรนภา, 16. อธิปัตย์ วงษ์ยิ้ม, 17. โตมร โสตะภา, 18. ชวรา ฤทธาพรหม, 19. อนัญญา ภาโนชิต, 20. บัญญัติ สาลี, 21. ธนัญญา ธัญญะประกอบ, 22. ณัฐกรณ์ หิรัญชาติ, 23. ณัฐริกา อภิมติรัตน์, 24. ชูศักดิ์ ภานุวัตร์, 25. อัครครา มะเสนา, 26. ช่อนิภา ทวีโคตร, 27. นารีรัตน์ บุญประเสริฐ, 28. สมชาย นิลลาธิ(ชื่อซ้ำ), 29. บุญเลิศ สดสุชาติ, 30. วราภรณ์ จรรยา, 31. ญาณิกา แสนสุริวงค์, 32. บุษกร โยธาฤทธิ์, 33. ศิริพร ทูลคำรักษ์, 34. ศุภวัฒน์ มาตย์ภูมี, 35. อลิษา พุทธิศักดิ์แสง, 36. ณัฐิดา กุลศรี, 37.ดร. พุฒิพงศ์ สัตยวงค์ทิพย์, 38. อุษาวดี มาลีวงค์, 39. ณัฐนิชา ไพบูลย์โรจน์รุ่ง, 40. ทม เกตุวงศา, 41. กรีติ ธนะไชย, 42. อุษณา อารี, 43. อธิป วัดเวียงคำ, 44. บรรจง บุรินประโคน,
รายชื่อเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐)
เมื่ออำนาจอธรรมครอบครองประเทศ ทุกขงเขตไร้เสรีที่โหยหา
อ้างหลากหลายเพื่อชอบธรรมการบีฑา ก็ไม่ต่างที่ผ่านมาทุกครั้งไป
อำนาจมาจากปากกระบอกปืน สิทธิถูกข่มขืนและผลักไส
ลากออกมาก็ไม่ต่างที่จากไป ยิ่งเลวร้ายทำลายอย่างเมามัน
รัฐธรรมนูญยกร่างจึงกร่างนัก ใครจะน้อมยอมรับไม่เสกสันต์
สูตรสำเร็จเผด็จการถ้วนหน้ากัน ใครจะยอมจำนรรจ์ก็เชิญเลย
จึงขอร่วมคัดค้านไม่ขอรับ รัฐธรรมนูญฉบับอันฉ้อฉล
เกิดจากเผด็จการฤาใช่เสรีชน จะยอมตนรับเอาได้อย่างไร
จึงขอคัดค้านถึงที่สุด ตระหนักนึกมโนทัศน์ไร้ผลักไส
เผด็จการสูตรสำเร็จทุกครั้งไป จะไม่ยอมให้ประเทศไทยบรรลัยกัน
ขอเชิญชวนสำนึกแห่งเสรี ร่วมกันในดิถีเพื่อสร้างสรรค์
คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญพร้อมใจกัน มติมั่นร่วมกันอย่างยั่งยืนวรรณศักดิ์พิจิตร บุญเสริม
รายชื่อร่วมคัดค้านจากสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1. นายวรรณศักดิ์พิจิตร บุญเสริม (อาจารย์)
2. นักวิจัย - ท่านหนึ่งที่ขอถอนชื่อ (12 กรกฎาคม 50)
3. นายกวีสิปปวิชญ์ เมืองจันทร์ (นักวิชาการ)
4. นายกระสิน อนุอัน (ลูกจ้างประจำ)
5. นายสิทธิศักดิ์ จำปาแดง(นักวิจัย)
6. นายสถิตย์ เจ๊กมา (นักวิชาการ)
7. นายมนตรี ศรีราชเลา(อาจารย์)
กลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามไม่เอารัฐธรรมนูญ
1. นายพรรคพงศ์ โสมาเกตุ(คณะวิทยาศาสตร์)
2. นายสุรวุฒิ แสงเนตร(คณะวิทยาการสารสนเทศ)
3. นายอัษฎายุธ พุทโธ (คณะวิทยาการสารสนเทศ)
4. นายสัตยา ธานีวรรณ (คณะวิทยาการสารสนเทศ)
5. นายพายุ ตอลบรัมย์(คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์)
6. นายภูริต สินภักดี(คณะเทคโนโลยี)
7. นายเกริก นวลรักษา (คณะเทคโนโลยี)
8. นายจารุวัฒน์ กวนเมืองใต้(คณะสัตว์แพทย์และสัตว์ศาสตร์)
9. นายอรรฐพร คลังทอง (คณะสัตว์แพทย์และสัตว์ศาสตร์)
10. นายรัฐสิทธิ์ ศักดิ์ศรี(วิทยาลัยการเมืองการปกครอง)
11. นายสุบรรเจิด รัตนศรี(วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง)
12. นายพัฒรพี พาที (วิทยาลัยการเมืองการปกครอง)
13. นายอิสระภาพ จันทศิลป์ (สาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง)
14. นายณัชยพล มหาชาติ(คณะเภสัชศาสตร์)
15. นายตฤณ แสงสุวรรณ(คณะเภสัชศาสตร์)
16. นายสยามพงศ์ ไชยจันทร์(คณะเภสัชศาสตร์)
17. นายศักรินทร์ ศรแผลง (คณะเทคโนโลยี)
18. นายภาณุพงศ์ เทียบโฮม(คณะวิศวกรรมศาสตร์)
องค์กรที่ประกาศตัวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ถึง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ตามเนื้อหาที่ 1260 เรื่อง ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง
เครือข่ายพลเมืองเพื่อการมีส่วนร่วม (คพส.) ได้ประชุมเครือสมาชิกเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ว่ารัฐธรรมนูญ
ฉบับ คมช. มีปัญหาหลายประเด็น ไม่เป็นไปตามประชาธิปไตย ตั้งแต่การยกร่าง การทำประชาวิจารณ์
และการซ่อนเงื่อนปมในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งไม่สมควรรับเป็นอย่างยิ่ง จึงขอร่วมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง มา ณ โอกาสนี้ด้วย.
นายโอภาส ภาสบุตร
ประธานเครือข่ายพลเมืองเพื่อการมีส่วนร่วม (คพส.)
(หมายเหตุ : รายชื่อที่นำเสนอนี้
หากมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับชื่อซ้ำ หรือความเข้าใจผิดใดๆ กรุณาแจ้งให้ กองบรรณาธิการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทราบโดยด่วนที่ midnightuniv(at)gmail.com เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้องที่สุด)
สำหรับผู้ที่สนใจลงชื่อเพิ่มเติม
ทั้งนักวิชาการ, สื่อมวลชน, ประชาชนทั่วไป, สามารถส่งชื่อของท่านไปที่
midnightuniv(at)gmail.com พร้อมแจ้งชื่อสถาบัน องค์กร หรือในนามบุคคลทั่วไป