Webpage
หน้านี้ ประกอบด้วย แถลงข่าวกลุ่มนักวิชาการ 1371 คน และประกาศพื้นที่สีเขียวภาคประชาชน
74 แห่ง
ส่วนรายชื่อนักวิชาการทั่วประเทศที่ร่วมลงชื่อครั้งนี้กรุณาคลิกไปอ่านได้ที่
../miduniv888/newpage19.html
'1,384'นักวิชาการลงชื่อ
ต้าน'ท่อก๊าซ'
มากเป็นประวัติศาสตร์ สุดทนรบ.ผิดซ้ำซาก
1,384
นักวิชาการผนึกกำลังต้านท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ส่งตัวแทนเปิดแถลงพร้อมกัน 4 ภาค
ลงชื่อแนบท้ายแถลงการณ์ส่งถึง "ทักษิณ" ยก 6 ประเด็นขวางโครงการ
ระบุมีอาจารย์มาร่วมมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพิกเฉยอาจเป็น "แทนทาลัม 2"
ตัวแทนนักวิชาการ และตัวแทนภาคประชาชนทั้ง 4 ภาคนัดแถลงข่าวพร้อมกัน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พร้อมแจกจ่ายแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย โดยยกเหตุผลมาสนับสนุน 6 ประเด็นหลัก แถลงการณ์ดังกล่าวมีนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 1,384 คนร่วมลงนามสนับสนุน นอกจากนี้ ยังประกาศ "พื้นที่สีเขียวโดยประชาชน" ในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการรัฐทั่วประเทศจำนวน 74 จุด
เริ่มจากเวลา 10.50 น.ที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นแกนนำนักวิชาการภาคเหนือ และตัวแทนประชาชน จำนวน 50 คน ร่วมแถลงข่าว นายนิธิกล่าวว่า การนำการกระทำจากฝ่ายอำนาจรัฐที่ถูกสะท้อนโดยสื่อไปยังสังคมไม่ใช่ของง่าย คาดไม่ถูกเหมือนกันว่ารัฐบาลจะให้ความสนใจแค่ไหน แต่สิ่งที่คาดหวังไม่ใช่การที่รัฐบาลสนใจแค่ไหนเท่ากับว่าสังคมจะสนใจแค่ไหน อยากจะกระตุ้นสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่างๆ มากกว่า สังคมมีหน้าที่ในการชี้นำวิธีการให้แก่รัฐบาล ไม่ใช่อยู่เฉยๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้นในคำแถลงข่าวพูดถึงพี่น้องประชาชนชาวไทยไม่ใช่นายกรัฐมนตรี
นายนิธิกล่าวต่อไปว่า การออกมาเคลื่อนไหวในช่วงนี้เพราะได้เตรียมการมานาน ไม่เกี่ยวกับที่รัฐบาลมีข่าวคอร์รัปชั่นมาก หรือรัฐบาลกำลังอ่อนแอ จึงออกเคลื่อนไหว แต่พวกตนรู้สึกว่าช่วงนี้ความสนใจเกี่ยวกับการวางท่อก๊าซในสังคมไทยลดลงไป ทั้งที่ข้อมูลจำนวนมากไม่ได้เผยแพร่ออกไปยังสังคม จึงน่าจะพยายามผลักดันข้อมูลของอีกฝ่ายหนึ่งขยายไปยังสังคมในวงกว้างบ้าง
"ที่เลือกนักวิชาการ ไม่ใช่ว่า นักวิชาการเป็นเทวดา และคนอื่นไม่ใช่ แต่ต้องการทำให้เห็นว่า คนอีกกลุ่มมีความเห็นคัดค้านท่อก๊าซนี้เหมือนชาวบ้าน อ.จะนะ จ.สงขลา ไม่ว่าจะเป็นช่างตัดผมหรือใครก็ทำได้ หากอยากจะทำและน่าจะทำ เพราะสังคมยังไม่เข้าใจเรื่องนี้เพียงพอจากการถูกปิดกั้นข้อมูลจากฝ่ายอำนาจผ่านสื่อในรูปแบบการซื้อโฆษณาเพียงฝ่ายเดียว" นายนิธิกล่าว
ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการประกาศพื้นที่สีเขียวจะมีการรณรงค์ในเรื่องต่างๆ ในพื้นที่ เช่น โครงการปากมูล รณรงค์เรื่องการฟื้นฟูแม่น้ำมูล เครือข่ายเหล้าพื้นบ้านก็รณรงค์เรื่องสิทธิในการใช้ภูมิปัญญาในการใช้ทำมาหากิน เป็นต้น ประชาชนในพื้นที่เหล่านี้ขอสิทธิในการเลือกแนวทางการพัฒนาที่ดินของตนเองก็คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนสมดุลและเป็นธรรม ไม่ใช่ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)หรือเทวดาเพียงจำนวนหนึ่งที่อยู่ใน สศช.เป็นคนเลือกวางไว้ให้ เพราะว่าแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้อง ต้องมาจากการตกลงยินยอมของทุกฝ่ายในสังคมทั้งฝ่ายธุรกิจได้ประโยชน์ ประชาชนที่ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ไปริบเอาทรัพยากรประชาชนไปบำเรอนักธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว
ในเวลาไล่เลี่ยกัน ที่ห้องประชุมเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มนักวิชาการอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ นำโดย นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสุริชัย หวันแก้ว น.ส.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ม.ล.วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธ์ อดีตกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ เลขาธิการมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ และตัวแทนจากภาคประชาชน ร่วมกันแถลงข่าวเช่นเดียวกัน
นายเกษียรกล่าวว่า ขณะนี้จำนวนนักวิชาการทั่วประเทศ ทั้งจากมหาวิทยาลัยของรัฐบาล มหาวิทยาลัยเอกชน และปัญญาชนสาธารณะร่วมลงชื่อมากถึง 1,384 คน ถือว่ามากที่สุดเท่าที่สุดเคยมีมา สาเหตุของการรวมตัวกันเกิดขึ้นจากสภาพปัญหาของชาวจะนะที่อยู่ในสภาพที่ถูกโดดเดี่ยว ถูกปิดล้อมทั้งจากสื่อมวลชน และจากการที่รัฐบาลประกาศเดินหน้าโครงการ ในขณะที่กระบวนการตัดสินใจผิดพลาดมาโดยตลอด ผิดทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผิดทั้งการพัฒนาที่ไม่คุ้มทุน ในฐานะนักวิชาการที่มีหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับสังคม เห็นว่ารัฐบาลกำลังจะทำผิดซ้ำซาก ซึ่งจะนำไปสู่การเผชิญหน้าและความรุนแรง
ด้านนายวิฑูรย์กล่าวว่า อยากให้สังคมหันมาจับตาดูเรื่องนี้ เพราะรัฐดำเนินการอย่างไม่โปร่งใส ทำไมรัฐบาลจึงต้องรีบผลักดันโครงการนี้หรือว่ามีผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลมีผลประโยชน์อะไรกับก๊าซ แต่รัฐยังคงตัดสินใจอย่างนี้ สังคมไทยเราคงต้องแบกรับค่าโง่เรื่องก๊าซกันต่อไป
ขณะที่ ม.ล.วัลย์วิภากล่าวว่า โครงการใดก็ตามหากกระบวนการอีไอเอไม่ผ่านจะไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งโครงการนี้คณะกรรมการผู้ชำนาญการไม่ไห้ผ่าน แต่ สผ.กลับบอกว่าโครงการนี้ผ่าน ถือว่าผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมปี 2535 ในฐานะกรรมการผู้ชำนาญจึงต้องออกมาทักท้วง และขอร้องให้รัฐทบทวนโครงการนี้
สำหรับเนื้อหาในแถลงการณ์โดยสรุป แจกแจง 6 ประเด็นสำคัญซึ่งใช้เป็นเหตุผลคัดค้านโครงการท่อก๊าซ ได้แก่ 1.ความไม่ชอบธรรมไม่ชอบมาพากลและไม่ชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการตัดสินใจที่นำมาสู่โครงการนี้ 2.ประเด็นเรื่องพลังงาน 3.ความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ 4.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 5.ทิศทางการพัฒนาภาคใต้ 6.สันติวิธี พร้อมกันนั้น ได้เรียกร้องให้สังคมไทยช่วยกันผลักดันรัฐให้หยุดการดำเนินการใดๆ และทบทวนโครงการนี้ โดยเริ่มกระบวนการใหม่ตั้งแต่แรก และสนับสนุนให้แสดงความเห็นและข้อมูลเหตุผลกันโดยไม่ขวางกั้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และดำเนินการตามข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดที่ได้มา โดยไม่มีการตัดสินใจล่วงหน้าไว้ก่อนแล้วดังเช่นที่ผ่านมา
ทางด้านภาคใต้ เวลา 09.30 น.ตัวแทนชาวบ้านเครือข่ายคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซฯ โรงแยกก๊าซฯและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 100 คน ร่วมกันขึ้นป้ายประกาศเขตพื้นที่สีเขียวที่ริมถนนสายจะนะ-ปัตตานี ระบุว่า "พื้นที่สีเขียว การพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุลและเป็นธรรม" ประกาศให้รัฐบาลและสาธารณชนทราบว่า อ.จะนะ เป็นพื้นที่สีเขียว ปลอดอุตสาหกรรม
นายสุไลมาน
หมัดยูโซ๊ะ แกนนำชาวบ้าน อ.จะนะ กล่าวว่า ในช่วงเดือนรอมฎอนหรือช่วงเดือนถือศีลอด
คงจะต้องยุติการเคลื่อนไหวเอาไว้ชั่วคราว แต่เมื่อละศีลอดแล้วจะมีการเคลื่อนไหวใหญ่แสดงพลังในการคัดค้านโครงการท่อก๊าซฯอีกครั้ง
(จากมติชนรายวัน ฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน 2545)
1,384นักวิชาการ
ต้านท่อก๊าซใต้
แถลงพร้อมทั่วประเทศ
ตั้ง 75 พื้นที่สีเขียว
นักวิชาการเปิดแถลงพร้อมกันทั่วประเทศ จี้รัฐบาลสั่งทบทวนโครงการอื้อฉาวท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย แฉ 6 ประเด็นคาใจ โครงการไม่ชอบธรรม ชี้ไทยได้ใช้ก๊าซเพียง 12 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก 88 ส่งให้มาเลย์ 'อีไอเอ' ก็ยังไม่ผ่าน ด้านพลังงานก็ไม่คุ้มมีทั้งก๊าซและไฟฟ้าเหลือเฟือ อีกทั้งการลงทุนเสียเปรียบ มาเลย์ฟันกำไร 8 หมื่นล้าน ส่วนปตท.รับแค่ 3 หมื่นล้าน รวมทั้งยังส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แนะควรพัฒนาภาคใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า แถมใช้อำนาจรัฐกดดันกลุ่มค้านสารพัด เรียกร้องสังคมไทยกดดันรัฐทบทวนด่วน ขณะที่ชาวบ้านกรูด จะนะ ขึ้นป้ายพรึบพร้อมกันทั่วประเทศ ประกาศพื้นที่สีเขียว 75 แห่ง ตั้งแต่เหนือจรดใต้
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 24 พ.ย. ที่ห้องประชุมเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มนักวิชาการและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ นำโดยนายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายสุริชัย หวั่นแก้ว, ม.ล.วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธ์ อดีตกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอ โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย, น.ส.นฤมล ทับจุมพล, นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ เลขาธิการมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ, และตัวแทนจากภาคประชาชน ร่วมกันแถลงข่าวเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย พร้อมทั้งประกาศเขตต่อสู้พื้นที่สีเขียวของภาคประชาชนทั่วประเทศทั้งหมด 75 พื้นที่ ซึ่งการแถลงข่าวครั้งนี้กลุ่มนักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศ ยังร่วมลงชื่อมากถึง 1,384 คน ถือว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
นายเกษียรกล่าวว่า การแถลงข่าวครั้งนี้เพื่อแสดงจุดยืนของนักวิชาการ โดยจะแถลงพร้อมกันทั่วประเทศ 4 ภาค ในเวลาเดียวกันพร้อมๆ กัน สาเหตุของการรวมตัวกันเกิดขึ้นจากสภาพปัญหาของชาว อ.จะนะ จ.สงขลา ที่อยู่ในสภาพถูกโดดเดี่ยว ถูกปิดล้อมทั้งจากสื่อมวลชน และจากการที่รัฐบาลประกาศเดินหน้าโครงการท่อก๊าซ ในขณะที่กระบวนการตัดสินใจผิดพลาดมาโดยตลอด ทั้งรัฐธรรมนูญ ทั้งการพัฒนาที่ไม่คุ้มทุน ในฐานะนักวิชาการที่มีหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับสังคม พวกเราเห็นว่ารัฐบาลกำลังจะทำผิดซ้ำซาก ซึ่งจะนำไปสู่การเผชิญหน้าและความรุนแรง เพราะฉะนั้นชาวจะนะควรจะได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียมกับประชาชนกลุ่มอื่นๆ ในสังคม ดังนั้น เราจึงมีคำถามคาใจที่ต้องการให้รัฐบาลตอบ 6 ประเด็น
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวต่อว่า สิ่งแรกที่อยากถามรัฐบาลคือ การวางแผนที่ปรับเปลี่ยนการวางท่อแนวท่อก๊าซตามแผนการดำเนินการของประเทศมาเลเซีย ที่จากเดิมไม่ต้องวางท่อผ่านประเทศใดเลย แต่แผนของมาเลเซียให้วางท่อก๊าซผ่านมายังประเทศไทย ซึ่งไทยจะได้ใช้ก๊าซเพียงร้อยละ 1-12 เท่านั้น ขณะที่มาเลเซียได้ประโยชน์จากก๊าซจำนวนร้อยละ 88 สิ่งที่ 2 คือการที่โครงการนี้ตัดสินใจโดยที่ยังไม่ผ่านรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ผ่าน และพยายามสร้างกระแสให้ประชาชนเข้าใจว่าอีไอเอผ่านแล้ว และการที่เข้าใจว่าอีไอเอผ่านนั้น เกิดขึ้นจากการรวบรัดให้ผ่านอย่างผิดกฎหมายของหน่วยงานที่ดูแล
"โครงการนี้จัดทำประชาพิจารณ์แบบไวไวควิก คือจัดรับฟังความคิดเห็นไม่ถึงครึ่งชั่วโมง และเป็นการประชาพิจารณ์ประเทศเดียวในโลกที่สร้างรั้วลวดหนามกั้น ไม่ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น อีกทั้งการตัดสินใจของรัฐบาลไม่ฟังการทักท้วงจากหน่วยงาน หรือองค์กรอิสระหลายหน่วยงาน อาทิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน วุฒิสภา คณะศึกษาวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ล้วนเสนอให้ทบทวนโครงการทั้งสิ้น และยังพยายามใช้สื่อมวลชนปิดบังความจริงที่จะเกิดขึ้นไม่ให้ชาวบ้านได้รับรู้" นายเกษียรกล่าว
นายเกษียรกล่าวอีกว่า โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ถือว่าเป็นโครงการที่ไม่คุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ เพราะขุดก๊าซขึ้นมาแล้วอีก 10 ปี ก็ยังไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์ เนื่องจากในขณะนี้พลังงานก๊าซในประเทศยังมีใช้อยู่อย่างเพียงพอ รวมทั้งค่าตอบแทนที่จะได้จากโครงการก็มีจำนวนน้อยมาก เพราะรัฐต้องลงทุนไป 40,000 ล้านบาท แต่เมื่อเฉลี่ยผลกำไรได้เพียงร้อยละ 6 สลึงเท่านั้น เพราะฉะนั้นนำเงิน 40,000 ล้านบาทไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยคุ้มกว่ากันมาก เพราะก๊าซที่ขุดมาได้จากโครงการนี้ก็ยังเป็นราคาก๊าซที่แพงกว่าหลุมอื่นๆ ที่เคยขุดมาแล้วในประเทศไทย
"ผมคิดว่านอกจากโครงการไม่คุ้มทุนแล้ว ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นก็มีจำนวนมาก ที่ชัดเจนคือผลผลิตจากท้องทะเลจะลดลงถึงขั้นร่อยหรอ ส่วนที่เหลือก็จะเป็นอาหารทะเลปนเปื้อนสารปรอท และสุดท้ายนกเขาซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจของชาวบ้านในบริเวณนั้นก็จะไม่ขัน สิ่งเหล่านี้เป็นความวิตกกังวลของชาวบ้านภาคใต้ต่อโครงการนี้ พบว่าร้อยละ 80 ระบุว่าโครงการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 59 ระบุว่ามีผลต่อวิถีชีวิต และร้อยละ 89 เรียกร้องให้มีการยุติโครงการ เพราะชาวบ้านพึงพอใจต่อวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเศรษฐกิจชุมชนที่พอเพียงของตนเอง ไม่ต้องการพัฒนาใดๆ จากรัฐอีก" นักวิชาการชื่อดังกล่าว
นายเกษียรกล่าวว่า พวกเราซึ่งร่วมลงรายชื่อขอเรียกร้องต่อสังคมไทย ให้ช่วยกันผลักดันให้รัฐหยุดการดำเนินการโครงการนี้และทบทวนโครงการ โดยเริ่มต้นกระบวนการใหม่ตั้งแต่แรก ต้องเสนอโครงการพร้อมทั้งข้อเท็จจริง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อทุกฝ่าย โดยเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจนมากที่สุด ซึ่งการเรียกร้องในครั้งนี้เราขอเรียกร้องต่อคนในสังคมไทย เพราะไม่เชื่อว่ารัฐจะฟังในสิ่งที่เราเรียกร้อง เมื่อดูจากท่าทีที่รัฐบาลแสดงออกในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่เราเรียกร้องสังคมไทยให้ช่วยกันกดดันรัฐบาล เพื่อรัฐบาลจะได้รับฟังและทบทวนโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
ด้านนายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ เลขาธิการมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวว่า หากพิจารณาจากตัวเลขปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติ ที่ประเทศไทยทำสัญญาจากแหล่งซื้อขายจากแหล่งต่างๆ เช่น เยตากุน ยานาดา ที่เราซื้อจากพม่า จะพบว่ามีปริมาณก๊าซเหลือใช้ โดยที่เรายังต้องจ่ายค่าก๊าซตามสัญญา แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ก๊าซเราก็ต้องจ่ายเงินค่าก๊าซไปนานถึง 10 ปี โดยที่ไม่ต้องมีโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย จึงเป็นเรื่องที่น่าตั้งข้อสังเกตมากว่ารัฐบาลจ่ายค่าโง่ในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องค่าปรับก๊าซมากถึงปีละ 30,000 ล้านบาท กับโครงการท่อก๊าซไทย-พม่า แต่รัฐกลับยังพยายามที่จะผลักดันโครงการใหม่ โดยไม่ยอมนำก๊าซในส่วนที่เหลือใช้ ทั้งที่เราต้องจ่ายค่าปรับไปอย่างสูญเปล่าในแต่ละปี
"ผมอยากให้สังคมหันมาจับตาดูเรื่องนี้ เพราะรัฐบาลดำเนินการอย่างไม่โปร่งใส ทำไมรัฐบาลจึงต้องรีบผลักดันโครงการนี้ หรือว่ามีผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลมีผลประโยชน์อะไรกับก๊าซ แต่รัฐยังคงตัดสินใจอย่างนี้ สังคมไทยเราคงต้องแบกรับค่าโง่เรื่องก๊าซกันต่อไป" นายวิฑูรย์กล่าว
ขณะที่นายสุริชัย หวั่นแก้ว กล่าวว่า การประกาศตัวของนักวิชาการและองค์กรประชาชนในครั้งนี้ ถือเป็นปฏิกิริยาที่บอกไปยังรัฐบาลว่า การแสดงอำนาจแบบเก่านั้นใช้ไม่ได้แล้ว เพราะโครงการต่างๆ ที่รัฐตัดสินใจ ต้องให้เกิดกระบวนการตัดสินใจร่วมของประชาชน พร้อมทั้งกระบวนการตัดสินใจจะต้องโปร่งใสมากกว่าที่เป็นมาในอดีต จึงน่าเป็นห่วงว่าหากสถานการณ์และวิธีการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลยังเป็นแบบเดิม จะทำให้ชาวบ้านจะสิ้นศรัทธาต่อรัฐบาลในที่สุด
ม.ล.วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธ์ อดีตกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอ โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย กล่าวว่า โครงการใดก็ตามหากกระบวนการอีไอเอไม่ผ่านจะไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียนั้น ทางคณะกรรมการผู้ชำนาญการไม่ไห้ผ่าน แต่สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กลับบอกว่าโครงการนี้ผ่าน ถือว่าผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมปี 2535 เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐทำความผิดให้กลายเป็นความชอบธรรม และการที่ลงนามไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยอ้างกรรมการผู้ชำนาญการ ถือว่าเป็นความผิดที่ส่งข้อมูลอันเป็นเท็จให้หน่วยงานราชการ
"ในเมื่อรัฐพยายามออกมาบอกกับชาวบ้านว่าอีไอเอผ่าน ดิฉันในฐานะกรรมการผู้ชำนาญจึงต้องออกมาทักท้วง และขอร้องให้รัฐทบทวนโครงการนี้ เพราะมิฉะนั้นแล้วในอนาคตอาจมีการละเมิดประชาชนที่มากกว่านี้" ม.ล.วัลย์วิภากล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากการร่วมกันลงรายชื่อเพื่อประกาศจุดยืนของนักวิชาการและกลุ่มองค์กรประชาชนต่อโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียแล้ว ยังประกาศเขตพื้นที่สีเขียวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนจำนวน 75 พื้นที่ทั่วประเทศ โดยนายเกษียรกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การประกาศพื้นที่สีเขียวของชาวบ้านในครั้งนี้ ไม่ใช่การประกาศรัฐอิสระแต่อย่างใด หากเป็นการประกาศพื้นที่การต่อสู้ของชาวบ้านภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และการต่อสู้อย่างถูกกฎหมายด้วยวิธีการสันติวิถี เพื่อการพัฒนาอย่างพอเพียงและยั่งยืนของตนเอง ถือเป็นการรณรงค์ต่อสู้เพื่อการอนุรักษ์ท้องถิ่นของตนเองอย่างสันติวิธีและสงบ
ส่วนที่จ.สงขลา เมื่อเวลา 08.00 น. ที่บริเวณหอนาฬิกา อ.จะนะ จ.สงขลา กลุ่มคัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย รวมตัวกันและขึ้นป้ายขนาดใหญ่ประกาศพื้นที่สีเขียว และภายหลังการขึ้นป้าย นายสุริยา หวะหลำ แกนนำชาวบ้าน อ่านแถลงการณ์สรุปว่า ข้อเสนอให้รัฐบาลชะลอและทบทวนโครงการท่อก๊าซ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของรัฐบาลได้ รัฐยังคงเดินหน้าโครงการตามข้อเสนอของทีมที่ปรึกษา 53 นายพล โดยมีเนื้อหาเพียง 4 บรรทัดครึ่ง และไม่มีเหตุผลใดๆ ชี้แจงต่อประชาชน รัฐบาลรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจของนักการเมือง และนายทุนเพียงบางกลุ่ม จึงไม่สามารถเป็นที่คาดหวังของประชาชนได้อีกต่อไป ในขณะเดียวกันกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนกลับพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นายสุริยาอ่านแถลงการณ์ต่อว่า วันนี้จึงมีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้น เมื่อนักวิชาการทั่วประเทศกว่า 1,300 คน ผนึกกำลังกันร่วมลงชื่อ เพื่อเรียกร้องให้สังคมไทยช่วยกันผลักดันรัฐบาลให้หยุดการดำเนินการใดๆ และทบทวนโครงการนี้ โดยเปิดเผยข้อมูลกันอย่างจะแจ้ง และไม่มีการตัดสินใจล่วงหน้าดังเช่นที่ผ่านมา และในวันเดียวกันนี้ พี่น้องชุมชนชาวบ้าน 75 พื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้ง เครือข่ายโครงการคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ร่วมประกาศเป็นพื้นที่สีเขียวภาคประชาชนในพื้นที่ของตนเอง เพื่อแสดงเจตนารมณ์แห่งความรักสามัคคี ในอันที่จะผนึกแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม ไม่ยอมให้ภาครัฐกำหนดแนวทางการพัฒนาโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอีกต่อไป
ด้านนายเจ๊ะเด็น อนันติพงศ์ หนึ่งในแกนนำชาวบ้าน กล่าวว่า ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่มีนักวิชาการจำนวนมากลงชื่อเพื่อยืนยันสิ่งที่ชาวบ้านคิด ตนอายุ 70 กว่าปีแล้วตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเห็นว่ามีนักวิชาการจำนวนมากขนาดนี้ที่ออกมายืนยันหรือเห็นด้วยกับสิ่งที่ชาวบ้านคิด หากรัฐบาลยังไม่รับฟังไม่สนใจการทักท้วงจากลุ่มนักวิชาการ ก็ถือว่าเป็นกรรมของสังคมไทย และเป็นความเศร้าใจของคนแก่อย่างตน ที่อยากจะเห็นสิ่งที่ชาวบ้านและนักวิชาการทำถูกต้อง ได้รับความสนใจจากผู้บริหารบ้านเมือง ที่ประกาศตนเองว่าจะทำสิ่งที่ผิดพลาดแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น
ต่อมาเวลา 10.30 น. ที่สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา นายประสาท อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ นายสมบูรณ์ พรพิเนตรพงศ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ และนายเริงชัย ตันสกุล อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกันแถลงข่าว โดยนักวิชาการที่ร่วมแถลงครั้งนี้ ชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการทั้งหมด 6 ประเด็นสำคัญ คือ 1.ความไม่ชอบธรรม ไม่ชอบมาพากล และไม่ชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการตัดสินใจที่นำมาสู่โครงการนี้ เพราะหากโครงการเสร็จสิ้นไทยจะได้ใช้ก๊าซเพียงแค่ 12 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือ 88 เปอร์เซ็นต์ ต้องส่งตามท่อไปยังฝั่งตะวันตกของมาเลเซีย แม้กระนั้นไทยกลับยินยอมร่วมลงทุนในโครงการนี้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ยังไม่ผ่าน
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า 2.ในเรื่องของพลังงาน เนื่องจากในขณะนี้ไทยยังมีก๊าซและไฟฟ้าเหลือเฟือ อีกทั้งยังมีก๊าซจากพม่าที่ยังไม่ได้ใช้ 3.เรื่องความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสัญญาขุดเจาะก๊าซที่ทำกับมาเลเซียนั้นสร้างความเสียเปรียบแก่ฝ่ายบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด หรือ ปตท.สผ. อย่างมาก คือบริษัทปิโตรนาสของมาเลย์จะได้กำไรร้อยละ 10 ส่วนปตท.สผ.จะได้รับเพียงร้อยละ 3.9 คิดเป็นเงินคือมาเลย์ได้ 80,000 กว่าล้านบาท ในขณะที่ปตท.สผ.จะได้เพียง 30,000 กว่าล้านบาท 4.ด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งประมงอันอุดมสมบูรณ์ เพราะอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจากโรงแยกก๊าซ รวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้แย่งใช้น้ำจืดจากลุ่มน้ำอู่ตะเภา จะทำให้น้ำจืดขาดแคลนขยายเป็นวงกว้าง รวมถึงตัวเมืองหาดใหญ่ด้วย ขณะที่การแยกก๊าซส่งผลต่อคุณภาพของอากาศ ทำให้ชาวบ้านประชาชนแถบอ.จะนะ ซึ่งมีอาชีพในการเลี้ยงนกเขา มีความวิตกกังวล
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า 5.ทิศทางการพัฒนาภาคใต้ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการโครงการท่อก๊าซ เพราะมีวิถีชีวิตในเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งตนเองได้ มีการทำประมงชายฝั่งท่ามกลางระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ จึงน่าพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 2 ฝั่ง ในด้านการท่องเที่ยวมากกว่า แทนที่จะใช้เป็นพื้นที่วางท่อก๊าซ ซึ่งไทยก็แทบไม่ได้ใช้ ซ้ำกลับเป็นผู้รับผลกระทบในทางลบเสียเองเป็นอันมาก และ 6.เรื่องสันติวิธี เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลบิดเบือนความจริง ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน มีการใช้สัญลักษณ์แห่งอำนาจ เช่น คนในเครื่องแบบ จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้สันติวิธีที่แท้จริงในการแก้ไขความขัดแย้งครั้งนี้
ขณะเดียวกัน ที่บ้านกรูด อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเวลา 10.00 น. ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ประมาณ 200 คน ร่วมกันขึ้นป้ายขนาดใหญ่ที่ริมถนนเพชรเกษม ทั้งฝั่งขาขึ้นและขาล่องใต้ บริเวณทางแยกเข้าตลาดบ้านกรูด บริเวณชายหาดบ้านกรูด และที่บริเวณหน้าหมู่บ้านแก้วปะการัง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านตั้งชื่อขึ้นมาบนที่ดินสาธารณะที่เป็นถนนและลำห้วย กลางที่ตั้งโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าหินกรูด ของบริษัทยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด โดยป้ายดังกล่าวมีข้อความว่า "พื้นที่สีเขียว การพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุลและเป็นธรรม" และด้านบนของป้ายมีสัญลักษณ์สีเขียวและดวงอาทิตย์
นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แกนนำคัดค้านโรงไฟฟ้าหินกรูด กล่าวว่า ร่วมกับนักวิชาการทั่วประเทศร่วมกันประกาศให้วันที่ 24 พ.ย.นี้ เป็นวันพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ การพัฒนาที่ผ่านมามักนำไปสู่การล่มสลายของวิถีชีวิตชุมชน และความสมดุลของธรรมชาติ โดยที่บ้านกรูดเป็นจุดหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐและนายทุน ป้ายที่ติดนี้บอกถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม การพัฒนาอะไรจะต้องมองดูถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน ชุมชนจะต้องไม่ถูกเปลี่ยน ธรรมชาติไม่ถูกเปลี่ยน และมีความเป็นธรรมกับชาวบ้าน ดังนั้น การพัฒนาที่เกิดขึ้นชาวบ้านต้องอยู่ได้ ไม่ใช่พัฒนาแล้วสังคมล่มสลาย
วันเดียวกัน เวลา 11.00 น. ที่ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฏนครราชสีมา นายปรีชา อุยตระกูล ผอ.ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา พร้อมด้วยนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายวรชัย ยงพิทยาพงศ์ และนายอารีย์ ศรีอำนวย อาจารย์สถาบันราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกันแถลงข่าวเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งทบทวนโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย โดยชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริง และข้อเสียของโครงการท่อก๊าซอื้อฉาวนี้ พร้อมทั้งร่วมประกาศพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ 75 แห่ง โดยนายปรีชากล่าวว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนว่า หากดำเนินโครงการท่อก๊าซไปแล้วคุ้มค่าหรือไม่ และมีความยุติธรรมหรือไม่ หากไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนควรจะยุติโครงการนี้เสีย และควรรับฟังความคิดเห็นของนักวิชาการ เพราะนักวิชาการไม่ใช่เพียงแค่จิ้งจก หรือตุ๊กแก ที่ผ่านมาเคยออกมาเตือนตลอดว่าจะเกิดความรุนแรงเกินกว่าที่คาดคิด แต่รัฐบาลก็ไม่ฟัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพื้นสีเขียวที่องค์กรภาคประชาชนพร้อมใจกันประกาศในวันที่ 24 พ.ย.นี้ มีทั้งหมด 75 แห่ง โดยแบ่งเป็นภาคใต้ 38 แห่ง ครอบคลุมในพื้นที่ จ.สงขลา จ.สุราษฎร์ธานี จ.ชุมพร จ.กระบี่ จ.สตูล จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง จ.ตรัง ที่สำคัญคือพื้นที่ก่อสร้างโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ในอ.จะนะ และอ.นาหม่อม จ.สงขลา รวมถึงโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ต.บ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ และโรงไฟฟ้าหินกรูด อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
ส่วนพื้นที่สีเขียวในภาคเหนือมีทั้งหมด
25 แห่ง ครอบคลุม จ.แพร่ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำพูน โดยเฉพาะพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ พื้นที่ระเบิดแก่งในแม่น้ำโขง จ.เชียงราย รวมทั้งพื้นที่ของเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านแห่งประเทศไทยในเขตจ.เชียงใหม่
และจ.ลำพูน สำหรับภาคอีสานประกาศพื้นที่สีเขียว 5 แห่ง คือ เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี,
เขื่อนราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี, เขื่อนลำคันฉู จ.ชัยภูมิ
และกรณีเหมืองแร่โพแทช กิ่งอ.ประจักษ์ และอ.เมือง จ.อุดรธานี ขณะที่ภาคกลางประกาศพื้นที่สีเขียว
7 แห่ง ที่สำคัญคือ ชุมชนบ้านครัว เขตราชเทวี กทม., กรณีท่อก๊าซไทย-พม่า จ.กาญจนบุรี,
และโรงงานบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ
(ข่าวสด ฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน 2545)
แถลงข่าวของกลุ่มนักวิชาการ
1371 คน
เรียกร้องให้ทบทวนโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
(English version below)
เรียน พี่น้องประชาชนชาวไทย
โครงการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซียซึ่งเป็นปัญหาขัดแย้งอยู่ในเวลานี้ ได้ผ่านกระบวนการตัดสินใจที่ไม่โปร่งใสตามระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทั้งในพื้นที่โครงการและสังคมโดยรวมไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะข้อมูลจำนวนมากไม่เปิดเผยแก่สาธารณชน ข้อมูลที่ได้เปิดเผยแล้วก่อให้เกิดคำถามจำนวนมากซึ่งไม่เคยได้รับคำตอบ มีการใช้คนในเครื่องแบบเข้าไปปฏิบัติการทางจิตวิทยาในลักษณะที่ชาวบ้านเจ้าของพื้นที่เห็นว่าเป็นการคุกคาม ไม่ได้มีการฟังความเห็นและเหตุผลของทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อกล่าวโดยรวมท่าทีของฝ่ายรัฐในกรณีนี้คือการใช้ความรุนแรงในลักษณะหนึ่ง จึงไม่เป็นไปในวิถีทางสันติแต่อย่างใด
มีข้อเท็จจริงอยู่ ๖ ประเด็นที่พวกเราซึ่งลงนามข้างท้ายนี้ ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลได้ชี้แจงด้วยเหตุผลข้อเท็จจริงแก่สังคมไทยโดยรวม เพื่อให้สังคมสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโครงการขนาดใหญ่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑) ความไม่ชอบธรรม ไม่ชอบมาพากล
และไม่ชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการตัดสินใจที่นำมาสู่โครงการนี้
ในข้อตกลงเดิมพ.ศ.๒๕๓๙ ทั้งฝ่ายไทยและมาเลเซียจะวางท่อนำก๊าซจากแหล่งนี้ไปใช้โดยตรง
ไม่ต้องวางท่อผ่านประเทศใดเลย ในส่วนของไทยจะวางท่อขึ้นทางเหนือของอ่าวไทยไปอีกเพียง
๕๐ ก.ม. เพื่อเชื่อมต่อกับระบบท่อที่มีอยู่แล้ว จนถึงปัจจุบัน เมื่อแผนวางท่อก๊าซได้เปลี่ยนไปแล้ว
โครงการวางท่อขึ้นเหนือนี้ก็ยังอยู่ ฉะนั้นไม่ว่าโครงการวางท่อก๊าซใหม่โดยผ่านจังหวัดสงขลาจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม
ไทยก็ยังได้ใช้ก๊าซจากหลุมที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันนี้อยู่นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แผนของมาเลเซียที่จะวางท่อขึ้นฝั่งประเทศของตนได้เปลี่ยนไปในพ.ศ.๒๕๔๐ โดยทางฝ่ายไทยให้ความร่วมมืออย่างกระตือรือร้น ทั้งๆ ที่การนำเอาก๊าซขึ้นฝั่งไทยตามโครงการนี้ ไทยจะได้ใช้ก๊าซมากที่สุดเพียง ๑๒% ส่วนที่เหลือ ๘๘% ต้องส่งตามท่อไปยังฝั่งตะวันตกของมาเลเซีย แม้กระนั้นไทยกลับยินยอมร่วมลงทุนในโครงการนี้ถึง ๕๐%
แผนใหม่ที่จะนำก๊าซขึ้นฝั่งไทยนั้นมาพร้อมกับแผนของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่จะใช้ก๊าซเป็นแหล่งพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) ในพื้นที่ และใช้ป้อนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่สองโรง แต่เมื่อประชาชนพากันคัดค้านโครงการเพราะเกรงผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งจะทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนดังที่ได้เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ท่านนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรก็ประกาศว่าโครงการนี้จะมีเพียงโรงแยกก๊าซเท่านั้น ไม่มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องแต่อย่างใด หากเป็นไปจริงตามคำประกาศของท่านนายกรัฐมนตรี ไทยจะได้ใช้ก๊าซจากโครงการนี้เพียง ๑% เท่านั้น
โครงการนี้ตัดสินใจทำโดยการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ยังไม่ผ่าน จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ผ่าน รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้รับการรับรองอย่างรวบรัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(สผ.) ไม่ใช่โดยคณะกรรมการซึ่งสผ.แต่งตั้งขึ้น อันเป็นการรับรองที่ผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมปี ๒๕๓๕ ในขณะเดียวกันก็เป็นการกระทำทางการปกครองที่ผิดอีกเช่นกัน โดยรัฐอ้างว่าหากดำเนินการล่าช้าประเทศไทยต้องเสียค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" แต่จากเอกสารของปตท.ที่มีถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ที่๕๒๐/๑๑/๔๖๔) ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าไทยไม่ต้องเสียค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" อันเนื่องจากการอนุมัติอีไอเอล่าช้า ได้มีประชาชนจำนวนมากคัดค้านโครงการนี้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างโปร่งใส ขั้นตอนประชาพิจารณ์ก็ไม่เป็นกลางและรวบรัดตัดสินใจโดยใช้เวลาทำประชาพิจารณ์เพียง ๒๕ นาที วุฒิสภาและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติศึกษาโครงการนี้และเสนอให้รัฐทบทวนโครงการ ผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งรัฐแต่งตั้งขึ้นเองก็เรียกร้องให้รัฐทบทวนโครงการ
ในขณะที่มีข้อสงสัยและความเห็นแย้งโครงการจากหลายแหล่งเช่นนี้ กลับมีการปิดกั้นสื่อด้วยอำนาจการซื้อโฆษณาและซื้อพื้นที่ในสื่อเพื่อสนับสนุนโครงการอย่างหนัก ฉะนั้นสังคมไทยจึงตกอยู่ในความมืด ถึงจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับโครงการก็ทำไปโดยปราศจากข้อมูลและข้อเท็จจริงจำนวนมาก
๒) ประเด็นเรื่องพลังงาน
ภาพรวมของพลังงานในประเทศไทยขณะนี้ พลังงานก๊าซล้นเหลือ พลังงานไฟฟ้าก็ล้นเหลือ
เวลานี้เรายังต้องจ่ายเงินค่าก๊าซที่นำจากพม่าโดยไม่ได้ใช้อยู่ทุกวัน ซึ่งในที่สุดก็เป็นต้นทุนเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้ามารวมอยู่ในค่า
FT ให้ประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจแบกภาระ ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าไทยแพงขึ้น
ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกต่ำลง ฉะนั้นโครงการนี้จึงไม่ได้มีความจำเป็นในแง่พลังงานของประเทศในยามนี้
ในช่วงที่เรายังมีพลังงานล้นเหลือเช่นนี้ รัฐน่าจะนำเอาเงินที่จะลงทุนในโครงการนี้มาลงทุนกับพลังงานทางเลือกแทน
ซึ่งน่าจะเป็นอนาคตของพลังงานของชาติมากที่สุด
๓) ความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ
สัญญาขุดเจาะก๊าซที่ทำกับมาเลเซียนั้นสร้างความเสียเปรียบแก่ฝ่ายบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด(ปตท.สผ.)อย่างมาก
โดยเปรียบเทียบแล้วบริษัทเปอโตรนัสจะได้กำไรร้อยละ ๑๐ ส่วนปตท.สผ.จะได้รับเพียงร้อยละ
๓.๙ หากประมาณเป็นเงินคือบริษัทมาเลเซียจะได้ ๘ หมื่นกว่าล้านบาท ในขณะที่ปตท.สผ.จะได้เพียง
๓ หมื่นกว่าล้านบาท เนื่องจากในแปลงที่มีก๊าซมากที่สุด(คือA-๑๘ ซึ่งมีก๊าซถึง๗๒%ของพื้นที่ร่วมเจดีเอ)
ปตท.สผ.ไม่มีส่วนในการขุดเจาะจึงไม่ได้รับส่วนแบ่งกำไร ในขณะที่มาเลเซียเป็นผู้ขุดเจาะจะได้กำไรร้อยละ๑๐
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เคยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความคุ้มทุนของโครงการนี้ที่น่าสนใจอยู่สามประการคือ
ก) นับแต่เมื่อโครงการนี้เริ่มมีผล (๒๕๔๔) ต่อไปอีก ๑๐ ปี เศรษฐกิจไทยยังไม่อยู่ในภาวะที่จะใช้ประโยชน์จากก๊าซที่เจาะมาได้มากนัก เปรียบเทียบกับมาเลเซียแล้ว เขาจะสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากระยะเริ่มต้น
ข) ค่าผลตอบแทนของโครงการเมื่อคำนวณตลอดอายุโครงการ ๒๗ ปี เทียบกับผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการทดแทนการนำเข้าน้ำมันเตา จะมีค่าเท่ากับ ๑.๔% เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
ค) ราคาก๊าซปากหลุมที่ไทยต้องจ่ายในกรณีนี้มีราคาสูงกว่าแหล่งก๊าซในอ่าวไทยส่วนใหญ่ ยิ่งถ้าคิดจากราคาที่ผู้ใช้ปลายทางต้องจ่ายที่สงขลาและมาบตาพุดแล้ว ก็จะยิ่งมีราคาสูงขึ้นไปอีกมาก
๔) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ในระยะสั้นโรงงานแยกก๊าซ
และอาจรวมถึงโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งไม่ชัดเจนนักว่าจะเกิดตามมาหรือไม่
จะทิ้งน้ำหล่อเย็นลงสู่ทะเล เป็นผลให้สูญเสียลูกกุ้งลูกปลาในทะเลซึ่งเป็นแหล่งประมงอันอุดมสมบูรณ์เพราะอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น
การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องก็ต้องแย่งกันใช้น้ำจืดจากลุ่มน้ำอู่ตะเภา ในขณะเดียวกันก็อาจสร้างเขื่อนหรือเก็บกักน้ำจืดที่จะไหลลงทะเลสาบสงขลา จะทำให้น้ำจืดขาดแคลนขยายเป็นวงกว้าง รวมถึงตัวเมืองหาดใหญ่ด้วย ในขณะเดียวกันก็จะทำให้น้ำในทะเลสาบเค็มมากขึ้น
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ละเอียดพอ เช่นไม่ทราบปริมาณสารปรอทที่อาจเกิดขึ้นจากหลุมเจาะ มีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการปนเปื้อนของสารปรอทในอ่าวไทยพบว่า สารปรอทเพิ่มขึ้นสูงอย่างมีนัยสำคัญในสัตว์ทะเลบริเวณแท่นเจาะก๊าซกลางอ่าวไทยเป็นต้น นอกจากนี้การวางท่อยังก่อให้เกิดตะกอนซึ่งกระทบต่อวงจรชีวิตสัตว์และพืชในทะเลและบนบก ส่วนปัจจัยด้านความปลอดภัยก็มีความสำคัญ ในรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยแนวท่อก๊าซอย่างไร โครงการนี้จะมีผลกระทบอย่างไรด้านสังคมต่อชุมชนทั้งในจุดที่ท่อก๊าซขึ้นฝั่งและแนวท่อก๊าซก็ยังไม่มีการศึกษา
การแยกก๊าซมีผลต่อคุณภาพของอากาศในบริเวณนั้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ จะมากน้อยเพียงใดยังไม่มีการศึกษาที่ระบุได้ละเอียด ก่อให้เกิดความกังวลแก่ประชาชนแถบจะนะซึ่งมีอาชีพในการเลี้ยงนกเขา
๕) ทิศทางการพัฒนาภาคใต้
จากการสำรวจความเห็นของประชาชนสงขลาปรากฏในรายงานการศึกษาผลกระทบสังคมและสิ่งแวดล้อมระบุว่า
๘๐% ของประชาชนเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นผลลบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน ๕๙% ต้องการให้โครงการนี้ยุติลงเสีย
๘๙% มีความพอใจกับสภาพชีวิตของตนเองอยู่แล้ว ชี้ให้เห็นว่าโครงการวางท่อก๊าซนี้ไม่ว่าจะมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม
ไม่ใช่แนวทางการพัฒนาที่ประชาชนเลือก
ประชาชนจำนวนมากในพื้นที่มีวิถีชีวิตในเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งตนเองได้ ทำประมงชายฝั่งท่ามกลางระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ (มีเรือประมงกว่า ๓,๐๐๐ ลำ) เพราะเป็นทำเลห่วงโซ่อาหารที่อุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนอีกส่วนหนึ่งทำอาชีพเกษตรกรรมซึ่งให้ผลผลิตพอเลี้ยงตัวได้โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น
นอกจากนี้ภาคใต้ทั้งสองฝั่งยังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวซึ่งสามารถพัฒนาไปได้อีกไกล ฉะนั้นจึงน่าจะทะนุถนอมให้มีโอกาสเติบโตไปในทิศทางที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน แทนที่จะใช้เป็นพื้นที่วางท่อก๊าซซึ่งไทยก็แทบไม่ได้ใช้ ซ้ำกลับเป็นผู้รับผลกระทบในทางลบเสียเองเป็นอันมาก
๖) สันติวิธี
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีย่อมเป็นสิ่งที่อารยชนทั่วไปต้องการ แต่เราควรมองสันติวิธีให้กว้างกว่าความรุนแรงที่มุ่งจะกระทำต่อวัตถุ
และครอบคลุมถึงความรุนแรงที่กระทำต่อชีวิตจิตใจและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คน
การบิดเบือนความจริง หรือแม้แต่การปิดบังความจริงก็ตาม การไม่เปิดโอกาสอันเท่าเทียมกันให้แก่ทุกฝ่ายในการถกเถียงกันด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงก็ตาม
การใช้สัญลักษณ์แห่งอำนาจ (เช่นคนในเครื่องแบบ) เพื่อข่มขู่คุกคามก็ตาม ล้วนเป็นการละเมิดต่อสันติวิธีทั้งสิ้น
หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการใช้ความรุนแรงในรูปแบบหนึ่งนั่นเอง ฉะนั้นเราจึงใคร่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้สันติวิธีที่แท้จริงในการแก้ไขความขัดแย้งครั้งนี้
นั่นคือไม่ใช้อำนาจบังคับข่มเหงชีวิตจิตใจผู้คน โดยเคารพสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน
การประกาศของนายกทักษิณเพียงว่า "ผมคิดดีแล้ว" ไม่เพียงพอที่จะสร้างความชอบธรรมแก่โครงการที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนและสิ่งแวดล้อมอย่างมากมายเช่นนี้ได้ มีเพียงการศึกษาที่จริงจัง โปร่งใส และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเท่านั้นจึงจะนำมาซึ่งทางออกที่เหมาะสม
พวกเราซึ่งลงชื่อข้างท้ายนี้จึงใคร่เรียกร้องให้สังคมไทยช่วยกันผลักดันรัฐให้หยุดการดำเนินการใด ๆ และทบทวนโครงการนี้ โดยเริ่มกระบวนการใหม่ตั้งแต่แรก คือเสนอโครงการพร้อมทั้งข้อเท็จจริงและเหตุผลเข้าสู่การไตร่ตรอง โต้แย้ง และเสนอทิศทางอื่นจากทุกฝ่าย โดยเปิดเผยข้อมูลกันอย่างจะแจ้งที่สุด และสนับสนุนให้แสดงความเห็นและข้อมูลเหตุผลกันโดยไม่ขวางกั้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และดำเนินการตามข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดที่ได้มา โดยไม่มีการตัดสินใจล่วงหน้าไว้ก่อนแล้วดังเช่นที่ผ่านมา
มีแต่เช่นนี้จึงจะประกันได้ว่าชาติไทยเราจะได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรล้ำค่าชนิดต่าง ๆ ของเราทั้งก๊าซธรรมชาติ ประมง ชายทะเลและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เต็มเม็ดเต็มหน่วยและคุ้มค่า โดยสามารถถนอมรักษาสันติภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสามัคคีธรรมในชาติและชุมชนไว้ได้ในเวลาเดียวกัน
พร้อมกันไปกับการแถลงข่าวทั่วประเทศของกลุ่มนักวิชาการครั้งนี้ ชุมชนชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ๗๓ พื้นที่ ได้ร่วมกันถือเอาวันนี้เป็นวันประกาศพื้นที่สีเขียวภาคประชาชนในพื้นที่ของตนเอง เพื่อแสดงเจตนารมณ์แห่งความรักความสามัคคีในอันที่จะผนึกประสานเครือข่ายที่มั่นเศรษฐกิจชุมชนของชาวบ้านเข้าด้วยกัน และเลือกแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน,สมดุล และเป็นธรรมในพื้นที่ของตนเอง ดังปรากฏรายนามของพื้นที่สีเขียวภาคประชาชนท้ายคำแถลงข่าวนี้ด้วย
PRESS RELEASE
Academics appeal to the Thai society
to urge the government to review
the Thai-Malaysia Gas Pipeline project
The government's decision-making process of the current controversial Thai-Malaysia Gas Pipeline project was made without democratic transparency. None of the people living in the project area and the general public took any part in the decision because most of the information about the project was not open to the public. And the information made available to the public has raised numerous questions that have never been answered. Men in uniforms were sent, disguised as a psychological warfare unit, to the project site where local villagers considered this move as a threat. There was no equal opportunity for both proponents and opponents of the project to make their opinions and arguments heard. Overall, the government's manner in this case is of a form of violence that will, in no way, lead to peace at all.
We, the undersigned, would like the government and concerned agencies to clarify the following six questionable issues. Only reasonable facts will provide the general Thai society with a rightful opportunity to take part in the decision making of such a massive project effectively.
1. The illegitimacy and malpractice
of official decision-making process leading to this project
According to the 1996 agreement initially made between Thailand and Malaysia,
the pipelining of the gas would be done directly to each destination country
without any trans-border pipeline transport. Thailand would, however, have
to further construct its pipeline 50 km north of the Gulf of Thailand to link
up the new pipeline with existing system. Until now, even with changes in
the gas pipeline project plan, the northbound pipelining scheme still exists.
Therefore, Thailand is definitely entitled to use the gas produced from the
fields co-owned with Malaysia regardless of whether the new pipeline construction
project in Songkhla province is materialized or not.
In 1997, Malaysia with very active cooperation from Thailand decided to change its pipeline direction. All the gas would be transported to Thailand via offshore pipeline before being purified into gas and further piped to link to the pipeline in Malaysia. According to this re-routing, a fraction of the total gas produced-12% at the most-would be left for Thailand to use while the majority share would be piped to a gas utilization unit in Western Malaysia. But the Thai government still agreed to invest in this project on a 50:50 basis!
Notably, the redirection of the gas pipeline scheme emerged with the announcement of the National Economic and Social Development Board to promote gas as an energy supply for complimentary industries (including petrochemicals) in local areas and two big power plants. But the widespread opposition of local villagers-- whose main fear has been the project's potential negative impacts on their quality of life similar to those already taking place in Thailand's Eastern Seaboard industrial area--prompted Prime Minister Thaksin Chinawatr to sidestep the issue. He said the project would involve only a gas separation plant; no complimentary industries would be allowed there. Provided that the prime minister's statement was true, Thailand's share of use of the gas from this project would plunge down to merely 1%.
This project had been approved while its environmental impact assessment was not completed then and is still not finished now. Apparently, the EIA report was abruptly approved by the Office of Environmental Policy and Planning (OEPP) and not by the authorized expert panel appointed by the OEPP. Such approval violated the 1992 Environment Act and was also an administrative misconduct. The authorities argued that any government's delay would result in Thailand's paying damage compensation, included in the contract's take-or-pay provision. On the contrary, a document (numbered 520/11/464) from the Petroleum Authority of Thailand (PTT) to the Stock Exchange of Thailand (SET) clearly indicated that there was no need for Thailand to pay such compensation owing to the delayed EIA approval.
A large number of people are against this project, but their voices have not been democratically heard. The public hearing procedures were obviously biased and ended in only 25 minutes. After scrutinizing the project, the Senate and the National Human Rights Commission suggested the government review it. Similar appeals came from the study reports of Chulalongkorn and Burapa Universities researchers, both commissioned by the government.
To counteract critical questions and opposition from various sources, the project resorted to heavy propaganda campaign by buying up media space for its PR and advertisement operation. Thus, Thai society has been kept in the dark. Both opponents and proponents to the project have carried on their campaigns without adequate information and facts required to support their arguments.
2. Energy need
Put into perspective, Thailand's energy supply is in surplus. Gas and electricity
is more than enough. Yet we have to pay for the sales gas from the Burmese
Yadana pipeline that so far has never been delivered. The expense has finally
been incorporated as a fuel cost--added to the FT cost (the current fuel adjustment
cost that is a variable cost component in the power tariff pricing)-and further
imposed on the public and business operators, hence higher-priced products
from Thailand leading to their lower competitiveness. With existing surplus
energy reserve, the project is not necessary as far as Thailand's current
energy is concerned. The government should use this project's investment capital
to explore for alternative energy sources that could become Thailand's most
potential energy for the future.
3. Economic cost-effectivenss
The exploration deal Thailand made with Malaysia brings on many disadvantages
to the PTT Exploration and Production Co, Ltd. Comparatively, Malaysia's Petronas
firm will get 10% of the profit while Thailand's PTT Exploration and Production
will get only 3.9%. In terms of money, Malaysia will reap more than 80 billion
baht or US$1,860 million (approximately US$1 = 43 baht) whereas only 30 billion
baht or US$697 million will come to Thailand. This is because the PTT Exploration
and Production will not involve in the production of the biggest gas field
(Block A-18, which will account for 72% of the Joint Development Area (JDA)
of the gas reserves located offshore in the Gulf of Thailand. Malaysia, as
the gas producer of the block, will reap a 10-percent profit from it.
The NESDB made three interesting remarks on the project's cost-effectiveness, as follows:
a) Between 2001 when the project first implemented and the next decade, Thailand's economy compared with that of Malaysia will not be in the position to make maximum use of the gas produced in the first phase.
b) Comparing with the benefits received from an import of fuel oil, the project's return--throughout its 27-year period-will be 1.4%, which is not a cost-effective investment.
c) Compared with platform prices of most of the gas from the Gulf of Thailand, the project's price is higher. And the price will be much higher for the buyers to pay at the destination areas in Songkhla in the South and the eastern location in Mab Ta Pud
4. Environmental impacts
The short-tern concerns of the locals are environmental impacts caused by
the gas separation plants, power plants and complimentary industries-which
have not been made clear if they will follow. Wastewater from the gas separation
plant released into the sea and the heat would destroy marine fingerling and
harm the locals' rich fishing grounds.
Fresh water supply from the Ou Taphao River Basin could be taken away by the development of complimentary industries. The construction of new dams to store fresh water from Songkhla Lake could spread water shortages as far as Hat Yai, Songkhla's city center. Not to mention the higher salinity of the water in the lake.
The project's approved EIA study report is seriously insufficient. There is not mention of the quantity of mercury that the drilling could emanate. A research on mercury contamination in the Gulf of Thailand showed that the amount of the substance found on marine animals living around the gas rigs in the middle of the gulf went up significantly. In addition, the pipelining also brings about sediment that will negatively affect life cycle of both animals and plants living in the sea and on land. Safety is also of significance. There is no clear indication in the questionable EIA report of what safety measures will be employed to keep the pipeline route safe. And no study has been done to see what social impacts will there be on local communities, at the areas where the gas pipeline will land and along the pipeline route.
Undeniably, the gas separation will, more or less, adversely affect the area's air quality. Neither has there been any adequate study of the matter. And that has also worried the local villagers in Chana district, whose main occupation is raising the famed cooing doves. 00000000000 5. Southern Thailand's development direction
An opinion poll of the people of Songkhla, included in the social and environmental impact study (of the project) revealed that 80% of the people believed the project would negatively affect their livelihood; 59% wanted the project scrapped; and 89% was already satisfied with their current way of living. This clearly indicates that the gas pipeline project-to be followed by complimentary industries or not-is not the development approach chosen by the people.
Many of the local villagers live a self-sufficient life. Surrounded by ecologically rich environment, these locals (with more than 3,000 small-scale fishing boats) can rely on coastal fishing. A number of them are involved in self-reliant farming, principally for household consumption
Furthermore, the two coasts of the South have so high potential for promising tourism that their resources should be nurtured for sustainable development, rather than being exploited as a pipelining route of the gas-which will not only be virtually useless to Thailand but also bring on many adverse effects to the country.
6. Non-violence
A non-violent solution to a conflict is often welcome by civilized society.
But we should look beyond a violent action done to material only. Violence
can be done to people's feelings and dignity too. A breach of non-violence
principle also includes a distortion of truth; a concealment of facts; an
unequal opportunity for concerned parties to have their facts and arguments
discussed; and a threatening use of authoritarian signs (such as men in uniforms).
In other words, these actions can be described as a form of violence. Therefore,
we would like to appeal to all parties to adhere to non-violence in its real
sense to solve this dispute. That is to stop intimidating and forcefully imposing
on the villagers' lives. Instead, their liberty and human dignity should be
recognized and respected.
Prime Minister Thaksin's simple statement that "I've thought it out properly" does not sufficiently justify the project, which will bring on massive impacts on the villagers' way of life and their environment. Only a proper study, based on transparency and maximum benefits for the majority people, will produce an appropriate solution to the conflict.
We, the undersigned, therefore appeal to the Thai society to urge the government to stop any of its operation and reconsider this project. Its first step should begin with the presentation of project's facts and rationale so that a deliberation, discussion and proposals from all concerned parties can be done. The project's information must be unmistakably revealed while active expression and reasoning must not be barred directly or indirectly. Any decision on the project must be based on the most accurate information available, and not on a premeditated decision, as done in the past. Such means will ensure that the Thai nation will be able to make use of our precious resources-natural gas, coastal fisheries and the ecosystem-in a sustainable, utmost and most beneficial way while national peace and unity, as well as human dignity and community cohesion can also be maintained.
With this nationwide press release of the academic group, village communities in 76 areas throughout Thailand will take today to announce a Green Area of the People's Sector in each of their communities. The announcement aims at showing the villagers' will to link their solidarity and community business networks together so that they can choose a sustainable, balanced and just development direction for their areas. The list of the Green Areas of the People's Sector appears at the end of this press release.
ต้องการตรวจสอบรายชื่อนักวิชาการ 1371 คน กรุณาคลิกที่นี่
รายชื่อประกาศพื้นที่สีเขียวภาคประชาชน ภาคใต้ ( 38 พื้นที่)
เครือข่ายคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย
1. พื้นที่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
2. พื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งฆ้อ ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
3. กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าลำภูรา พื้นที่ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
4. กลุ่มคัดค้านโรงโม่หินถ้ำแรด พื้นที่ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
5. ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านศรีบ่อยา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ (กรณีเจ้าหน้าที่รัฐเผาที่พัก ชาวประมงพื้นบ้านเกาะไผ่)
กลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกบ้านทุ่งพอ (พื้นที่ในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลิกไนต์ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
6. พื้นที่ บ้านทุ่งพอ ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ลุ่มน้ำหลังสวน
7. พื้นที่ ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
8. พื้นที่ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
9. พื้นที่ ตำบลปังหวาน ตำบลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
กลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกบ้านบางจำ
10. พื้นที่บ้านบางจำ ตำบลตะกุกเหนือ กิ่งอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองคราม
11. พื้นที่ ตำบลปากแพรก อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
12. พื้นที่ ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำบ้านสองแพรก
13. พื้นที่ บ้านสองแพรก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กลุ่มเกษตรอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังตอนบน 2
14. พื้นที่ ตำบลเขาพระทอง ตำบลควนหนองหงษ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
15. พื้นที่ ตำบล ควนมุด อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มเกษตรทางเลือกบ้านทรายขาว
16. พื้นที่ บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราชกลุ่มเกษตรทางเลือกบ้านท่าพุด
17. พื้นที่ บ้านพุด ตำบลนาเหรง กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแพรกหา
18. พื้นที่ บ้านแพรกหา ตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงกลุ่มสัจจะพัฒนาเพื่อเกษตรยั่งยืนบ้านในวัง
19. พื้นที่ บ้านในวัง ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุงกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตรตำบลพนางตุง
20. พื้นที่ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
กลุ่มสังคมวนเกษตรตำบลบ้านนา - ชุมพล
21. พื้นที่ ตำบลบ้านนา กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
22. พื้นที่ ตำบลชุมพล กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุงกลุ่มธนาคารหมู่บ้านตำบลตำนาน
23. พื้นที่ ตำบลตำนาน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงกลุ่มเกษตรกรตำบลร่มเมือง - นาโหนด
24. พื้นที่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
25. พื้นที่ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงกลุ่มรักเทือกเขาบรรทัด
26. พื้นที่ บ้านบางเหรียง ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุงกลุ่มผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ,กลุ่มป่าชุมชนตำบลทุ่งนุ้ย, กลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกบ้านค่าย
27. พื้นที่ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูลกลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกบ้านวังประจัน
28. พื้นที่ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านเหมก
29. พื้นที่ บ้านเหมก ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรังกลุ่มสหกรณ์นิคมหน้าเขา
30. พื้นที่ นิคมหน้าเขา ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กลุ่มออมทรัพย์บ้านหินเพิง
31. พื้นที่ บ้านหินเพิง ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กลุ่มออมทรัพย์บ้านบางเตียว
32. พื้นที่บ้านบางเตียว ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กลุ่มออมทรัพย์บ้านบางคราม
33. พื้นที่ บ้านบางคราม ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
กลุ่มฟาร์กาดออมทรัพย์บ้านควน
34. พื้นที่ บ้านควน ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลากลุ่มผักพื้นบ้านหูแร่
35. พื้นที่ บ้านหูแร่ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลากลุ่มเกษตรกรรมชุมชนบ้านห้วยโอน
36. พื้นที่ บ้านห้วยโอน ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา37. กรณีโรงไฟฟ้าบ้านกรูด ต.ธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบตีรีขันธ์
38. กรณีโรงไฟฟ้าบ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
รายชื่อประกาศพื้นที่สีเขียว
ภาคเหนือ ( 25 พื้นที่ )
39. พื้นที่เขื่อนแก่งเสือเต้น ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่
40. พื้นที่บ้านเวียงแก้ว อ.เชียงของ จ.เชียงราย กรณีระเบิดแก่งน้ำโขง
41. พื้นที่บ้านปากอิง ต.ศรีดอนไชย จ.เชียงราย กรณีระเบิดแก่งน้ำโขง
42. ชุมชนริมคลองแม่ข่าและลำคูไหว 5 พื้นที่ เขตเทศบาลเมือง จ.เชียงใหม่
43. พื้นที่โรงโม่หินแม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่เครือข่ายเหล้าพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
44. บ้านดอนปิน ต.แช่ช้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
45. บ้านห้วยไซ ต.ห้วยหยาบ อ.บ้านธิ จ.เชียงใหม่
46. บ้านปง ต.บ้านกาด อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
47. บ้านหนองไคร้ ต. หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
48. บ้านหัวดง ต.ขัวมุง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
49. บ้านสหกรณ์ ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
50. บ้านกลางทุ่ง ต.ช้างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่
51. บ้านเด่นสารภี ต.บ้านตาล อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
52. บ้านสอยหลวง ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
53. บ้านแม่จ่อง ต.ตลาดใหญ่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
54. บ้านห้วยทราย ต.แม่ทา กิ่งอำเภอแม่ออน จ.เชียงใหม่
55. บ้านหนองครอบ ต.แม่ก๊า อ. แม่แตง จ.เชียงใหม่
56. บ้านสบเริม ต. ต้นเปา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
57. บ้านห้วยมะเฟือง ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
58. บ้านแม่สูนต้นซ้าน ต.แม่สูน อ.ฦาง จ.เชรยงใหม่
59. บ้านเชียงหมั่น ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่
60. บ้านหนองยางฟ้า ต.ทาห่อหลวง อ.แม่ทา จ.ลำพูน
61. บ้านศรีบังริน ต.ริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน
62. บ้านห้วยปันจ้อย ต.หนองยวง กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จ.ลำพูน
63. บ้านไร่ดง ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
รายชื่อประกาศพื้นที่สีเขียว ภาคอิสาน ( 5 พื้นที่ )
64. เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี
65. เขื่อนราษีไศล จ.ศรีษะเกษ
66. เขื่อนสิรินธร จ. อุบลราชธานี
67. เขื่อนลำคันฉู จ.ชัยภูมิ
68. กรณีเหมืองแร่โปแตซ กิ่งอำเภอประจักษ์และอำเภอเมือง จ.อุดรธานี
รายชี่อประกาศพื้นที่สีเขียวภาคกลาง
( 7 พื้นที่ )
69. บ้านครัว เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
70. กรณีท่อก๊าซไทย-พม่า (ท่อก๊าซเมืองกาญจน์ ) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
71. โรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
72. กลุ่มอนุรักษ์พิทักษ์ทะเลบ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
73. กรณีมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่อำเภอปลวกแดง จ.ระยอง
74. กรณีโรงกำจัดกากพิษ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรีรายชื่อประกาศพื้นที่สีเขียวภาคตะวันออก
ชุมชนร่วมประกาศพื้นที่สีเขียวภาคตะวันออก และจังหวัดเพชรบุรี (ภาคตะวันออกประกอบด้วย 5 จังหวัด
คือ สมุทรปราการ, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา) รวมทั้งหมด 11 พื้นที่75. ชุมชนคลองด่าน อ. บางบ่อ จ. สมุทรปราการ
76. ชุมชนบ้านแหลมฉบัง อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี
77. ชุมชนหนองใหญ่ ชุมชนห้างสูง ชุมชนคลองพลู ชุมชนเขาซก ชุมชนหนองเสือช้าง อ. หนองใหญ่ จ. ชลบุรี
78. ชุมชนปลวกแดง ต. ตาสิทธิ์ และ ต. ปลวกแดง อ. ปลวกแดง จ. ระยองชุมชนมาบตาพุด เทศบาลเมืองมาบตาพุด อ. เมือง จ. ระยอง ชุมชนที่พร้อมประกาศได้แก่
79. ชุมชนเกาะกก-หนองแตงเม, ชุมชนกรอกยายชา, ชุมชนคลองน้ำหู
80. กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น - ตลาดมาบตาพุด
81. โครงการบ้านปลา, เรือนดนตรี หาดแม่รำพึง ต. ตะพง อ. เมือง จ. ระยอง
82. ชุมชนบ้านหนองบัว ต.หนองบัว อ. บ้านค่าย จ. ระยอง (ชมรมรักษ์ระยอง)
83. ชุมชนซุนนะห์ ต. ปากน้ำ อ. เมือง จ. ระยองเครือข่ายประชาคมจันทบูร จ. จันทบุรี ประกอบด้วย
84. กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์จันทบุรี อ. เมือง
85. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ชีวภาพบ้านแตงโม อ. มะขาม
86. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพบ้านเกวียนหัก อ. ขลุง
87. กลุ่มกองทุนปุ๋ยชีวภาพตำบลรำพัน อ. ท่าใหม่
88. กลุ่มชีวภาพทรายขาว อ. ลอยดาว
89. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพหนองตาคง อ. โป่งน้ำร้อน
90. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพบ้านพวา อ. แก่งหางแมว
91. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพบ้านคลองตาอิน กิ่ง อ. เขาคิชฌกูฎเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภูมินิเวศ จ. ฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย
92. ชุมชนห้วยน้ำใส ต. ลาดกระทิง อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา
93. ชุมชนบ้านหนองคล้า ต. คู้ยายหมี อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา
94. ชุมชนบ้านบางพะเนียง ต. คู้ยายหมี อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา
95. ชุมชนบ้านหนองแสง ต. ลาดกระทิง อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา
96. ชุมชนบ้านวังไทร ต. คู้ยายหมี อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา
97. ชุมชนบ้านยางแดง ต.คู้ยายหมี อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา
98. ชุมชนบ้านห้วยกบ ต. คู้ยายหมี อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา
99. ชุมชนบ้านจ่างหลง ต. คู้ยายหมี อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา
100. ชุมชนบ้านท่าม่วง ต. คู้ยายหมี อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา
101. กลุ่มครูเพื่อเด็กเพื่อชุมชนภาคตะวันออก จ. ฉะเชิงเทรา
102. กลุ่มอนุรักษ์พิทักษ์ทะเลบ้านแหลม อ. บ้านแหลม จ. เพชรบุรี
ต้องการตรวจสอบรายชื่อนักวิชาการ 1371 คน กรุณาคลิกที่นี่
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)