ภาพประกอบดัดแปลง เพื่อประกอบบทความ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน 1) ภาพบินลาเดน จาก Newsweek ฉบับ ธันวาคม 98 - มกราคม 99. 2) ภาพการ์ตูน Samuel L. Jackson จากนิตยสาร Time ฉบับ กันยายน 2000. 3) ภาพ After September 11: Image from Ground Zero ภาพถ่ายโดย Joel Meyerowitz
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 218 โดย : ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ([email protected])

Ernest Gellner ซึ่งเห็นว่าศาสนาอิสลามอย่างที่เป็นอยู่ในโลก ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถืออิสลามในขณะนี้ ไม่ได้มีอะไรผิดแผกไปจากวิถีทางของอิสลามเมื่อหลายร้อยปีที่แล้วมา เพียงแต่ความเฟื่องฟูของอิสลาม แบบที่เน้นการหวนกลับไปหาหลักการมูลฐาน - หรือที่เรียกว่า Islamic Fundamentalism นั้น - ไม่ได้เป็นวิถีทางของอิสลามมาตั้งแต่ต้นแต่อย่างใด หากเป็นผลผลิตของความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งเกิดแก่โลกอิสลาม อันเนื่องมาจากการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาวะสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงหลังจากการรุกรานของชาติตะวันตก ในคริสตศตวรรษที่ 18-20 เป็นต้นมา

โดยที่คุณลักษณะของความเป็นอิสลาม แบบที่เน้นการหวนกลับไปหาหลักการมูลฐานนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเป็นขบวนการซึ่งมุ่งคัดค้านการพิจารณาหลักคำสอนว่า เป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมย ที่จำเป็นต้องตีความให้เข้ากับจิตวิญญาณสมัยใหม่ แต่คือการทำลายการแบ่งแยกระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูง กับวัฒนธรรมชั้นต่ำ (High Cultures / Low Cultures) ที่ดำรงอยู่ในสังคมอิสลามยุคก่อนสมัยใหม่ลงไป
(คัดมาจากบางส่วนจากบทความ)

QUOTATION
release date
021045
หากสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลงมาให้เหลือขนาด medium จะแก้ปัญหาได้ / webpage นี้ออกแบบให้แสดงผลได้ดีที่สุดกับการใช้ Microsoft Internet Explorer
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท - บทความทางวิชาการผ่านระบบเครือข่ายทางไกล เพื่อนักศึกษาและสมาชิกทุกท่านสามารถเข้าถึงได้

มายาคติไม่ใช่ความจริง และมายาคติ
เรื่อง ภัยคุกคามจากอิสลามก็เป็นแนวการ
มองโลกอิสลามที่สัมพันธ์กับความซึ่งไม่จริง
หลายอย่าง

ตัวอย่างเช่น การมองอิสลามว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับ fundamentalism ก็ไม่สอดคล้องกับรูปธรรมที่ก็ปรากฎขบวนการ fundamentalism ขึ้นในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม ไม่ว่าจะเป็นฮินดูในอินเดีย หรือคริสตศาสนาแบบ fundamentalism ในสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นที่การใช้คำว่า fundamentalism เพื่ออธิบายถึงการเมืองที่อยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น มีกำเนิดมาจากสังคม
อเมริกาเองในช่วงปี 1910-1915 ด้วยซ้ำไป
ส่วนความเข้าใจว่าอิสลามเป็นขบวนการทางศาสนาที่เป็นเอกภาพนั้นก็มองไม่เห็นลักษณะทางประวัติศาสตร์ของอิสลามที่หลักคำสอนจำนวนมากถูกตีความแตกต่างกันไปโดยนิกายต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่แตกต่างกัน(multi-vocal interpretation) จนกระทั่งนอกจากอิสลามในประเทศที่เป็นชายขอบของความเป็นอิสลาม อย่างเช่น จีน, รัสเซีย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย ฯลฯ จะแตกต่างจากอิสลามในประเทศที่เป็นศูนย์กลางแล้ว อิสลามในประเทศศูนย์กลางเองก็ยังมีความผิดแผกจากกันด้วย

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

อิสลามและประชาธิปไตย
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ([email protected])

โดยปกติแล้วสถานีวิทยุบีบีซีของประเทศอังกฤษจะมีการจัดปาฐกถาซึ่งมีชื่อว่า Reith Lectures อยู่เป็นประจำทุกปี รูปแบบของปาฐกถานี้ใช้วิธีการบันทึกเสียงของผู้บรรยายแล้วนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะในภายหลัง วิธีการนี้เปลี่ยนไปในปี 1998 เมื่อนักประวัติศาสตร์สงครามอย่าง John Keegan เริ่มเชิญบุคคลภายนอกเข้าไปรับฟังคำบรรยายและซักถามคำถามต่างๆ ในขณะบันทึกเสียง และเมื่อมาถึงปี 1999 องค์ปาฐกซึ่งได้แก่ Anthony Giddens ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ London School of Economics อยู่ในขณะนั้น ก็ได้ปรับปรุงการปาฐกถาครั้งสุดท้ายในคริสตศตวรรษที่ 20 ด้วยการแบ่งหัวข้อบรรยายออกเป็น 5 ส่วน แล้วทำการบรรยายต่อหน้าผู้ฟังตามภูมิภาคที่แตกต่างกัน หัวข้อแรกและหัวข้อสุดท้ายซึ่งพูดถึงโลกาภิวัตน์และประชาธิปไตยนั้นบรรยายที่กรุงลอนดอน ส่วนหัวข้ออันดับถัดมาอย่างภาวะเสี่ยงภัย, ประเพณี และครอบครัว ก็บรรยายที่เกาะฮ่องกง, กรุงเดลฮี และนครวอชิงตันตามลำดับ โดยหัวข้อซึ่งมีเนื้อหาที่แหวกแนวและน่าสนใจกว่าหัวข้ออื่นๆ ก็คือเรื่องของจารีตและประเพณี

Giddens เสนอความเห็นเอาไว้ในการบรรยายหัวข้อนี้ว่าความคิดแบบยุคสมัยใหม่ที่ต้องการจะขจัดพลังของประเพณีออกไปนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม ประเพณีคือสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับสร้างความต่อเนื่องให้เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน เพียงแต่ต้องเข้าใจว่าประเพณีต่างๆ นั้นไม่ได้เป็นเรื่องของความเที่ยงแท้ (genuine) แต่คือสิ่งที่มีข้อจำกัดซึ่งต้องถูกท้าทายและเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะจากคำถามใหม่ๆ ซึ่งไม่ได้มีลักษณะทางประเพณี (รายละเอียด)

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)

 

 

บทความใหม่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 219 เรื่อง "ความพร่องของอิสรภาพ" นำมาจากหนังสือ The History of Lack เขียนโดย David R. Loy มิ.ย. 2000
The History of Lack : A Buddhist Perspective on the West / David R. Loy

อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอิสรภาพ ได้บรรจุเอาความขัดแย้งไว้มากพอที่จะทำให้เราสดุดลง. มันเป็นเรื่องที่สำคัญเท่าๆกันกับในสมัยเรอเนสซองค์ ซึ่งเป็นไปเพื่อการพัฒนาเกี่ยวกับอิสรภาพของบุคคล พวกเรายังเห็นถึงรากเหง้าของปัญหาต่างๆของมันด้วย ซึ่งได้สิงสู่อยู่กับเราในทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิปัจเจกนิยมอย่างสุดขั้ว ที่ได้ปลดปล่อยหรือระบายความโลภออกมา ในฐานะที่เป็นเครื่องจักรของพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และธุรกิจเสรี ที่ยังคงทำให้การทำลายล้างความผูกพันต่างๆของชุมชนเป็นไปอย่างมีเหตุผลและต่อเนื่อง

พุทธศาสนาให้เหตุผลว่า การสร้างอิสรภาพให้เป็นคุณค่าที่สำคัญที่สุดของเรา เป็นเรื่องที่อันตราย, สำหรับ"อิสรภาพ"มันถูกนึกคิดหรือเข้าใจโดยเอกเทศ ในมุมมองแบบทางโลกหรือในเทอมต่างๆของมนุษยเท่านั้น ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว จะก่อเกิดช่องว่างหรือเกิดรอยร้าว เพราะว่ามันไม่สามารถให้สิ่งที่เราแสวงหาจากมันได้อย่างแท้จริงนั่นเอง (รายละเอียด)

QUOTATION
The University should be a place of light, of liberty, and of learning. Benjamin Disraeli 1804-1881 - speech in House of Commons
N
next
HOST@THAIIS