Energy
Aristocracy

เราพบว่า การรวมศูนย์ที่ถูกสร้าง
ขึ้นของระบบไฟฟ้า ซึ่งเกิดขึ้นมาในช่วงนโยบายการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ มันได้สร้างอาณาจักรการผูกขาดของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมายาวนานถึง 30 ปี แล้วธุริกจอันนี้มันมีมูลค่ามหาศาล ก็คือปีหนึ่ง การไฟฟ้าจะมีรายได้จากการขายไฟฟ้ากว่าแสนล้านบาท แล้วการไฟฟ้าได้เติบโตมีเจ้าหน้าที่ถึง 3 หมื่นกว่าคน

ขณะนี้เริ่มมีการเปลี่ยน แต่การเปลี่ยนแปลตรงนี้ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า มันไม่ได้เปลี่ยนจากระบบผูกขาดหรือรวมศูนย์ที่นิยมโครงการขนาดใหญ่ๆ มันเพียงแค่เปลี่ยนมาให้เอกชน ธุริกจ กลุ่มทุนเอกชน ได้เข้ามามีส่วนแบ่งในธุรกิจ แต่โครงสร้างยังคงเหมือนเดิม โดยที่ไม่ได้มีการปรับปรุงอะไร

บทความถอดเทปจากชั้นเรียนมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ภายใต้หัวข้อ "พลังงานกับงานที่มีพลัง" ครั้งที่ 2 วันที่ 9 ก.พ. 2545 : พลังงานกับเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม
อ.นิธิ เรียกกลุ่มบุคคล ที่มีอำนาจ
ผูกขาดและการตัดสินใจ ในเรื่อง
พลังงานเหล่านี้ว่า
ขุนนางพลังงาน
พัฒนาการของ 3 กลุ่มหลักที่เกี่ยวข้องการไฟฟ้า

กลุ่มแรกคือ กลุ่มของรัฐบาล โดยรูปธรรมก็คือ ไฟฟ้าที่พัฒนาโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจนถึงปัจจุบัน
กลุ่มที่สองคือ กลุ่มของธุรกิจไฟฟ้าของเอกชน ที่เข้าไปมีบทบาทในระยะหลังมานี้ และ
กลุ่มที่สามคือ ภาคประชาชน พัฒนาการของภาคประชาชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องของการถกเถียง ทั้งในเชิงนโยบายและปัญหารูปธรรมโดยเฉพาะซึ่งไปเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

H
home
"ประวัติพัฒนาการของระบบไฟฟ้าไทย" บรรยายโดย วิทูร เพิ่มพงศาเจริญ
2545 -
2525 -
2503 -
090445
release date
ภาพประกอบดัดแปลง (ภาพเขียน โดย Doug Bowles เทคนิคสี Pastel จากหนังสือ Illustraion : Society of Illustraors of Los angeles ภาพที่ 290 นำมาประกอบกับภาพถ่ายดาราภาพยนตร์ในเรื่อง The Godfather แสดงโดย Marlon Brando
บทความนี้ยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4 หากนักศึกษา สมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมาจะแก้ปัญหาได้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ที่สำคัญอีกอย่างคือ อันนี้เกิดขึ้นในยุคของรัฐบาลอานันท์ ก็คือ การตั้งกองทุนอนุรักษ์พลังงานเกิดขึ้น โดยเก็บจากราคาน้ำมันทุกลิตร 4 สตางค์ มาเป็นกองทุนอนุรักษ์พลังงาน และกองทุนนี้ก็จะนำเอารายได้ไปใช้กับการโฆษณาเพื่อการประหยัดพลังงาน และบริหารอาณาจักรของตัวเองมาโดยตลอด

ผู้เข้าร่วมสนทนา : คุณวิทูร พอจะเห็นจุดใดจุดหนึ่ง หรือในแง่กฎหมาย หรือในรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่ภาคประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับตรงนี้บ้างไหมครับ ?

วิทูร : ผมคิดว่าในขณะนี้ เรื่องรัฐธรรมนูญยังไม่เข้าไปมีบทบาทในภาคการไฟฟ้า ผลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคไฟฟ้าขณะนี้ เป็นผลมาจากการผลักดันของธนาคารโลกกับกลุ่มผลประโยชน์ พูดก็คือว่า ยังไม่มีการศึกษาหรือดูว่ารัฐธรรมนูญใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับภาคพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมายหรืออะไรควรจะเป็นอย่างไร

ในขณะเดียวกัน ตอนนี้กำลังมีการร่างกฎหมายฉบับหนึ่งขึ้นมา ซึ่งจะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งอันนี้จะเป็นกระแสของการค้าเสรีตลาดเสรีที่เข้ามา กฎหมายในขณะนี้ ผมคิดว่าสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้น ถ้าพวกเราอยากจะไปผลักดัน โดยเฉพาะใช้รัฐธรรมนูญก็คือว่า กฎหมายน่าจะให้สิทธิของประชาชนหรือกลุ่มสหกรณ์ ชุมชนอะไรต่างๆ สามารถที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ถ้าหากว่าอยากจะผลิตไฟฟ้าเอง โดยที่รัฐต้องให้การสนับสนุน หรือว่าระบบใหญ่ที่เรียกว่า Grid ควรจะให้การสนับสนุน ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าจะต้องคิดกัน คือขณะนี้มีศักยภาพที่ขนาดเล็กๆมันจะเกิดได้แต่ไม่มีกฎหมายรองรับ

สุชาดา จักรพิสุทธิ์ : คุณวิทูรช่วยเล่าถึงกฎหมายที่เปิดให้การลงทุนให้ต่างชาติ ให้เอกชน ว่ามันมีข้อกำหนดในเรื่องสัดส่วนอะไรไหม ทำไมบางโครงการมันถึงเป็นทุนจากต่างชาติเกือบทั้งหมด อันนี้เป็นคำถามที่หนึ่ง

คำถามที่สอง อยากให้คุณวิทูรช่วยเล่าถึงปัญหาของโรงไฟฟ้าบ้านกรูดและบ่อนอกว่า ถ้าไม่สร้างมันมีผลกระทบต่อความมั่นคงของพลังงานไฟฟ้าจริงอย่างที่มาเฟียพลังงานทั้งหลายออกมาขู่อยู่ตอนนี้หรือเปล่า

วิทูร : ความจริงเรื่องไฟฟ้าเกี่ยวกับเอกชน ในทางกฎหมายไม่ได้มีอะไรมาก เขาแก้เพียงแค่ว่า เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีข้อจำกัดในการที่จะหาเงินมาลงทุน ก็จึงเปิดให้เอกชนเข้ามารับสัมปทาน แต่แบบนั้น ผมอยากจะเปรียบเทียบ 2 กรณี คือเรื่องไฟฟ้ากับเรื่องโทรศัพท์

เรื่องโทรศัพท์ นั้นเข้าใช้แบบที่เรียกว่า BTO (Build Transfer Operate)คือหมายถึงเอกชนเป็นผู้ลงทุน(Build) แล้วหลังจากนั้นก็ Transfer คือว่า ลงทุนเสร็จ เอกชนต้องโอนสมบัตินั้นให้กับรัฐ แต่ว่าเอกชนได้สิทธิที่จะไป Operate หรือไปดำเนินการ เป็นในรูปเหมือนกับเป็นสัญญาเช่าสิทธิการใช้ จนกว่าจะครบกำหนด

แต่ของการไฟฟ้าจะเป็นในลักษณะที่เรียกว่า BOO (Build Own Operate)ก็คือว่าเอกชนไปลงทุนสร้าง แล้วหลังจากนั้นเขาก็จะเป็นเจ้าของ จนครบสัญญาก็ยังเป็นของตัวเองอยู่

ซึ่งทั้ง 2 ประเภท มันเป็นปะเภทที่คนละขั้ว ก็คือว่า สัญญาโทรศัพท์ ผมก็ไม่เข้าใจว่าเอกชนเขายอมเสี่ยงได้อย่างไร ที่ตัวเองลงทุนแล้วให้รัฐหมดเลย แล้วก็ได้แค่สิทธิไปใช้ พูดง่ายๆก็คือว่าถ้าเอกชนผู้ลงทุนทางด้านโทรศัพท์ ไม่มีอำนาจทางการเมือง เขาอาจจะถูกเล่นงานหรือเสียค่าโง่ได้ เพราะฉะนั้น นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมกลุ่มทุนโทรศัพท์ถึงเข้ามาเล่นการเมือง เพราะว่าเงื่อนไขสัญญาให้สิทธิแก่รัฐมากมาย หมายถึงว่าโดยกฎหมายเขาเกือบไม่ได้อะไร

ในขณะที่ไฟฟ้านั้นตรงกันข้าม ก็คือว่าผู้ลงทุนไฟฟ้าได้หมดเลย ผมขอยกตัวอย่างนะครับว่า ราคาที่รัฐให้ซึ่งเรียกว่า"ค่าพร้อมจ่าย"หรือที่เรียกว่า AP นั้น ก็คือราคาทุนที่เอกชนลงไป ผมยกตัวอย่างอันหนึ่งคือ ทุนที่ดิน ที่ดินมันไม่เสื่อมราคา ครบ 25 ปีแล้ว เผลอๆราคามันขึ้นด้วยซ้ำไป แต่เขากลับเอาทุนแบบนี้คือทุนที่ดินนี่มาอยู่ในค่าพร้อมจ่ายที่เราประชาชนจะต้องจ่ายให้เอกชนตลอดอายุสัญญา แล้วหลังจากนั้นยังเป็นของเขาอยู่ อันนี้ไม่มีใครที่ไหนในโลกเขาทำกัน

ความจริงแบบที่เขานิยมทำกันทั่วโลกเขาเรียกกันว่า BOOT (Build Own Operate Transfer) ก็คือว่า เอกชนลงทุน(build) แล้วก็เป็นเจ้าของ(own) ดำเนินการ(operate) แต่เมื่อครบสัญญา 25 ปี จะต้องคืนให้รัฐ(transfer) สมบัติอันนี้ต้องเป็นของรัฐทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ เขาจะต้องคิดว่าเงินซึ่งเขาลงทุนไปทั้งหมด 25 ปี เขาต้องคืน เพราะว่าหลังจาก 25 ปีเขาต้องสูญเลย ทุกอย่างจะตกเป็นของรัฐหมด สัญญารูปแบบอย่างนั้นจึงเป็นสัญญาที่เขาสามารถเอาเงินลงทุนทั้งหมดมาคิดเป็นราคาได้

แต่แบบที่เราใช้อยู่คือ BOO มันเป็นแบบที่เอกชนรับเละเลย คือ ทุกบาททุกสตางค์ที่คุณลงทุนไป แถมผลกำไรที่คุณจะได้อีก 19-20% แถมค่าโอกาสอะไรทั้งหลาย คุณเอามาให้หมดเลย แต่ว่าโครงการนั้นเป็นของคุณไปโดยตลอด แล้วในความเป็นจริงอย่างเช่นโรงไฟฟ้าหินกรูด-บ่อนอก โรงไฟฟ้าถ่านหิน 25 ปี เผลอๆถ้ามันอยากจะใช้ต่อ จะใช้ไปได้อีกเท่าตัว แต่ว่ามีการซ่อมบ้างอะไรบ้าง แล้วรวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างไปแล้วมันก็ได้ไป

เพราะฉะนั้น อันนี้ก็เป็นตัวอย่างว่า การที่รัฐได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในกิจการที่รัฐเคยผูกขาดในประเทศต่างๆ สังคมไทยในขณะนี้ไปเถียงกันในระดับว่า คุณไปสัญญากันเองที่เรียกว่าสัญญาทางแพ่ง อย่างไร ? ซึ่งจริงๆแล้วไม่ถูก

ความจริงมันมีสัญญาอยู่ 2 ส่วน คือสัญญาทางการปกครองกับสัญญาทางแพ่ง ทุกกิจการเหล่านี้ต้องไปดูว่ากฎหมายให้สิทธิ์เอาไว้อย่างไร ? ส่วนสัญญาทางแพ่งที่มาเขียนตกลงกัน มันจะต้องอยู่ภายใต้สิทธิตามกฎหมายปกครอง เขาไม่สามารถที่จะทำอะไรขัดกับตรงนั้นได้ ยกตัวอย่าง กรณีสัมปทานของโทรศัพท์ โดยเนื้อหาทางแพ่งมันคือสัญญาเช่าสิทธิการใช้ ถ้าหากว่าในรายละเอียดของสัญญาที่ 2 ฝ่ายเซ็นกัน เกิดไปเลยหรือละเมิดเรื่องกรรมสิทธิ์ เนื้อหาตรงนั้นก็ถือว่าเป็นโมฆะ เพราะว่ามันเกินสัญญาทางแพ่ง

ประเด็นนี้เราไม่ค่อยพูดกัน เราจึงไปเถียงกันว่า แล้วแต่คู่สัญญา เวลามีปัญหาก็บอกว่าแล้วแต่คู่สัญญา ซึ่งมันไม่พอ แล้วกรณีที่ผมว่าเมื่อสักครู่นี้ เรื่องของโรงไฟฟ้าหินกรูดและบ่อนอก เราจะต้องมาแจงประเด็นพวกนี้ว่า ที่เขาคิดในเรื่อง"ค่าความพร้อมจ่าย" อะไรที่เขามีสิทธิ์จะคิด อะไรที่เขาไม่มีสิทธิ์จะคิด โดยเฉพาะมาดูตรงที่เขาจะเป็นเจ้าของตลอดไป เพราะฉะนั้น เมื่อครบ 25 ปีแล้ว มูลค่าของมันยังคงเหลือเท่าไหร่ เขาจะต้องเอามูลค่าตรงนั้นมาหักออกจาก AP ที่เขาคำนวณไว้ เพราะเขายังได้ แต่ที่เขาคำนวณในปัจจุบัน เมื่อครบ 25 ปี เขาคืนทุนหมดเลย แล้วที่เหลือคือได้หมดเลย อย่างนี้เป็นต้น

ประเด็นอื่นๆที่เราเห็นก็เป็นเรื่องที่ว่า โรงไฟฟ้าหินกรูด-บ่อนอก เป็นโครงการซึ่งทำสัญญากันตั้งแต่ปีก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ(2540) หมายความว่ามีการคิดวางแผนเรื่องนี้ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ แต่เมื่อมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น จริงๆเขาไม่ควรเซ็นสัญญา แต่เขาก็เลือกที่จะเซ็น

คือตอนที่เขาวางแผน เขาไปคาดการณ์ว่าความต้องการไฟฟ้ามันจะเพิ่มขึ้น 5000 กว่าหน่วย ก็เลยเป็นที่มาว่าจะต้องมี ITP ทั้งๆที่การคาดการณ์ของเขาตรงนั้น มันเพื่อที่จะให้เกิดความชอบธรรมว่าต้องมี ITP แต่พอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว ความต้องการใช้ไฟฟ้ามันตก เขาก็คาดการณ์ว่ามันจะตก ตกมากกว่า 5000 เมกกาวัตต์ที่ต้องการจาก ITP อีก แต่แทนที่เขาจะเลิกไม่เซ็นสัญญา เขากลับไปเซ็น ทั้งๆที่เขารู้อยู่แล้วว่า ตัวเลขความต้องการ 5000 กว่านั้นมันหายไปแล้ว อันนี้คือจุดเริ่มต้น

แต่เขาก็ให้เหตุผลว่า ถ้าเขาไม่ทำอย่างนั้นมันจะกระทบขวัญกำลังใจของผู้ลงทุนต่างประเทศ คือพอเกิดวิกฤตแล้วจะซวนเซกันไปหมด เขาก็ให้เหตุผลแบบนี้ จากตรงนั้นมันก็เลยเป็นภาระจนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้ คือ ถ้าเขาเกิดสร้างตามเงื่อนไขสัญญาที่มันมีอยู่ มันก็กลายเป็นว่าไฟฟ้าที่จะเกิดจาก ITP ซึ่งเราไม่ต้องการ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ แต่เราต้องไปเสียค่าความพร้อมจ่ายที่เกิดขึ้น

อีกประเด็นก็คือว่า โรงไฟฟ้าพวกนี้มันเป็นโรงไฟฟ้าซึ่ง ถ้ามันเข้ามาในระบบ มันจะไปเบียดโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่มีอยู่แล้วให้หยุด เพราะว่าโรงไฟฟ้าประเภทนี้เป็นโรงไฟฟ้าที่เขาเรียกว่าเป็น base load คือโรงไฟฟ้าที่ต้องเดินเครื่องตลอดสำหรับไฟฐาน ซึ่งไฟฟ้าของเราขณะนี้ ทุกๆวันมันจะมีประมาณสัก 7000 เมกกาวัตต์ที่ต้องใช้ตลอดเวลา คือไม่ว่าจะเวลาหลังเที่ยงคืน คือจุดต่ำสุดมันประมาณ 7000 เมกกาวัตต์ ตรงนี้เขาเรียกว่าเป็น base load ก็คือจะต้องหาตัวเครื่องที่มันเดินได้ตลอด แล้วโรงไฟฟ้าถ่านหินของ ITP จะเข้ามาอยู่ตรงนี้

ในขณะนี้ base load ดังกล่าวมันมีอยู่แล้ว 7000 เมกกาวัตต์มันมีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่แล้ว แต่พอพวกนั้นเข้ามา มันก็จะไปเบียดพวกนี้ให้ว่างงาน เขาก็จะให้เหตุผลว่าอย่างนี้ คือถ้าใครฟังวิทยุเขาก็จะบอกว่า เทคโนโลยีอันนี้มันใหม่กว่า เพราะฉะนั้นจึงมีประสิทธิภาพกว่า ก็คือสมควรแล้วที่จะเข้ามาเบียดให้โรงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่มันเก่าแล้ว หยุดหรือว่างๆเสีย

แต่ประเด็นก็คือ มันไม่จำเป็น ทำไมเราจะต้องให้มันเข้ามาแล้วเราต้องจ่าย แต่ว่าจริงๆส่วนที่เขาพูดว่า กลัวไฟจะขาด... คือมันมี base load คือฐาน แล้วก็มีตรงกลางซึ่งเขาเรียกว่า intermediate load แล้วอีกตัวคือตรงยอดที่เรียกว่า peak load อันนี้เขาจะแบ่งเป็น 3 ส่วน. ส่วนซึ่งเป็นตัวปัญหาที่ทำให้เราเถียงกันมาโดยตลอดก็คือส่วนยอด ที่ว่ามั่นคงหรือไม่มั่นคง

ถ้าเกิดอยู่ดีๆ ความต้องการมันพุ่งปรู๊ดขึ้นไป มันต้องมีโรงไฟฟ้าที่ติดเครื่องง่าย คือเปิดปั๊บเดินเครื่องได้ หรือประเภทที่เป็นพวกแก๊สเธอร์ไบน์ เปิดกุญแจก็เดินเครื่องได้ แต่พวกถ่านหิน กว่าจะเดินเครื่องได้ต้องเผาเตาก่อน อย่างที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จะต้องติดเตา จะต้องเผาเตา ต้องใช้น้ำมันดีเซลเข้าไปเผาก่อน ใช้เวลาหลายชั่วโมงก่อนจะเดินเครื่องได้ แล้วเดินแค่วันสองวันแล้วก็หยุดไม่ได้ ต้องเดินไปตลอด ซึ่ง ITP ทั้งหมด เป็น base load กับเป็นตรงกลางทั้งหมด ไม่มีตัวที่เป็นตัว peak เลย

เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นประเด็นที่เวลาเราเถียงกัน เขาก็บิดเบี้ยวไม่ตรงประเด็น เขาก็พยายามจะบอกว่าไฟฟ้ามันจะขาด ไฟฟ้ามันจะอะไร ซึ่งเป็นเรื่อง peak ทั้งนั้นเลย

อีกส่วนก็คือผลกระทบในท้องถิ่น ซึ่งเราต่างรับรู้ผ่านหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับกันอยู่ อันนี้อยากจะโยงกลับมายังเรื่องที่ผมพูดถึงพัฒนาการสักนิดหนึ่ง เพราะมันเป็นตัวสะท้อนระบบแบบรวมศูนย์ การรวมศูนย์อย่างนี้มันจะเชื่อเรื่อง"ใหญ่แล้วดี" ที่เขาเรียกว่า economies of scale คือเชื่อว่าใหญ่แล้วมีประสิทธิภาพ แล้วก็ระบบตรงนี้ไปอยู่ตรงไหนก็ได้ แหล่งกำเนิดไปอยู่ตรงไหนก็ได้ แต่ว่าตัวความต้องการใช้มันอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นมันเป็นตัวอย่างของการไปแย่งชิงทรัพยากรในภูมิภาคอื่นเข้ามาป้อนให้กับศูนย์กลางด้วยระบบนี้

ในทางตรงข้าม ถ้าเป็นระบบกระจายก็จะเป็นคนละอย่าง คือว่า คุณต้องรับผิดชอบเอง เหมือนกับบอกว่า ถ้าคุณมีความต้องการจะใช้ คุณก็ต้องสร้างของคุณเอง แล้วผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม เขม่า ควัน อันนี้คุณรับผิดชอบของคุณเอง แต่ปัจจุบันคนกรุงเทพใช้ แต่ไปให้คนประจวบฯรับผลกระทบจากมลพิษ

ผู้ร่วมสนทนาในชั้นเรียน : ดูเหมือนว่าเรื่องความรู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า มันถูกสร้างให้เป็นความรู้ของผู้ชำนาญการ ตั้งแต่ศัพท์เทคนิคที่ใช้เรียก เช่น ITP, STP เมื่อสักประมาณครึ่งปีที่แล้วมา มีข่าวเรื่องเกี่ยวกับค่า FT เป็นต้น ชาวบ้านและชนชั้นกลางก็ไม่รู้เรื่อง ตรงนี้หรือเปล่าที่มันเป็นหลุมเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับผู้ชำนาญการเหล่านี้ เพราะว่าเวลาออกมาอธิบาย ออกมาเป็นข่าว มันฟังดูศักดิ์สิทธิ์ ไม่รู้หรอกว่ามันเป็นอะไร แต่มันต้องใช่แล้วล่ะ เดี๋ยวก็ขึ้นค่า FT เดี๋ยวก็ขึ้นค่า FT ทีนี้จะทำอย่างไรให้สังคมหรือชนชั้นกลางเข้าใจปัญหาเหล่านี้อย่างง่ายๆ ว่าถึงแม้ว่าคุณจะเปิดสวิทช์ปุ๊บไฟสว่าง แต่เงินในกระเป๋าคุณมันหายไปเพิ่มขึ้นเดือนหนึ่ง หนึ่งบาท สองบาท สามบาท รวมกันทั่วประเทศแล้วมันเป็นการคอรัปชั่นขนาดไหน ทำอย่างไรจะให้เรื่องเหล่านี้มันเข้าใจง่ายกว่านี้ มิฉะนั้นมันก็จะเป็นเรื่องของผู้ชำนาญการอยู่อย่างนี้

วิทูร : ความจริงแล้วเรื่องเหล่านี้ก็ไม่มีอะไรยาก เขาทำให้มันยากเอง อย่างเช่นสูตร FT เขาทำให้มันยาวเป็นบรรทัด ไม่ทราบว่ามีใครเคยเห็นไหม ตัวที่มาบวก มาลบ มาคูณกัน ยาวเป็นบรรทัดเลย ซึ่งจริงๆก็ไม่มีอะไร ตัวหลักๆก็มีอยู่ตัวสองตัวเท่านั้นแหละ ส่วนตัวอื่นๆใส่เข้ามาให้มันดูซับซ้อนเข้าใจยาก

ผมเห็นด้วยว่าเป็นอำนาจของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แต่ว่าอีกด้านหนึ่งนั้น เขาพยายามจะบอกว่าหลักการของการค้าเสรี หรือนักเศรษฐศาสตร์สายนีโอ-คลาสสิค ก็คือว่า จะต้องแยกส่วนต่างๆออกมา แล้วเขาเชื่อว่านั่นคือความโปร่งใส เขาเชื่อว่าถ้าสามารถแยกต้นทุน ภาระหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกมาได้ จะทำให้เกิดความชัดเจน

ผมคิดว่าประเด็นปัญหามันอยู่ตรงที่ว่านอกจากความรู้แล้ว มันมีปัญหาเรื่องของการได้มาของคนซึ่งจะไปกำกับความรู้ด้วย ก็คือว่า มันไม่มีความเป็นประชาธิปไตยทั้งในตัวความรู้และคนที่จะไปใช้หรือกำกับความรู้อันนั้น เขาผูกขาดหมด เพราะฉะนั้นมันก็เลยยิ่งดำมืดเข้าไปใหญ่

จริงๆถ้าเขายอมเอาชาวบ้านเข้าไปเป็นกรรมการด้วย เขาก็จะต้องใช้คำอะไรที่คนสามารถเข้าใจได้ แต่ปรากฎว่าอันนี้มันตรงกันข้าม ซึ่งเป็นเรื่องตลกมาก จากการรณรงค์เรื่องค่า FT ก็เลยทำให้เขายอมที่จะมีการเปิดให้มีอนุกรรมการของค่า FT คนหนึ่งมาจากผู้บริโภครายย่อย เขามีการประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์รับสมัครคนที่จะไปสมัครเป็นคณะอนุกรรมการ เขาก็เขียนคุณสมบัติซึ่งมีคนเอามาให้ผมดูว่า คุณสมบัติบางอย่างเวลาเขาเขียน เขามีหน้าคนเลยว่าต้องกันไอ้หมอนี่ออกไป ไม่ให้หมอนี่เข้ามา ใบสมัครนั้นเป็นข้อสอบที่จะทดสอบว่าคุณมีความรู้เรื่องไฟฟ้า หรือเทคนิคไฟฟ้ามากพอไหมที่จะไปเป็นอนุกรรมการเรื่องนี้ อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเขาถูกบีบ เขาก็ยังจะไปอย่างนี้ ซึ่งจริงๆมันไร้สาระ

คุณจะเอาผู้แทนของผู้บริโภครายย่อยเข้าไป แล้วยังสร้างเงื่อนไข คือแทนที่เขาจะเข้าใจว่าคนเหล่านั้นจะเข้าไปเป็นตัวแทนผลประโยชน์ว่า สิ่งที่คุณคำนวณออกมามันควรจะฟังเสียงเขาบ้าง คือคำนวณออกมาแล้วมันเอียงไปทางอุตสาหกรรมรายใหญ่เกินไปนะ ซึ่งมันเกิดตลอดเวลา อันนี้ต้องบอกตรงๆว่าทุกครั้งที่มีการออกนโยบายหรือมาตรการอะไรซึ่งเกี่ยวข้องกับค่าไฟฟ้า หรืออะไรต่างๆ ผู้ที่ได้ประโยชน์ตลอดเวลาคืออุตสาหกรรมรายใหญ่ เพราะเขามีคนของเขานั่งอยู่ในนั้น

ปัจจุบันเรามีผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ประมาณ 13 ล้านราย ซึ่งทั้งหมดนี้รวมทั้งทางด้านอุตสาหกรรม ทั้งครอบครัว และอะไรทั้งหมด. 9.4 ล้านรายใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 150 หน่วยต่อเดือน ก็คือเสียค่าไฟฟ้าต่ำกว่า 400-500 บาท แต่ไม่มีเสียงของคนตรงนี้เลยอยู่ในทุกๆระบบ แต่คนที่ใช้ไฟฟ้าเดือนละล้านหน่วยได้ไปนั่งอยู่ตรงนั้น แล้วราคาเวลาที่เขาคิดออกมาซึ่งปัจจุบันแยกย่อยออกไปเยอะเลย คิดราคาตามเวลา คิดตามโน่นตามนี่ ซึ่งผู้ได้ประโยชน์ก็คือพวกที่ใช้ไฟหน่วยสูงๆ เพราะว่าพวกที่ใช้ไฟ 150 หน่วย เขาใช้ไฟตามความจำเป็น ใช้เพราะว่ามันมืด กลับมาบ้านหุงข้าวกิน ตอนเย็นกลับมาบ้านก็ต้องเปิด จะไปเลือกเปิดหลังเที่ยงคืนได้อย่างไร

หรือว่ามาตรการประหยัด กำไรสองต่อ 9.4 ล้านรายนี่ไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะว่าพวกนี้ประหยัดอยู่แล้ว มันสุดๆอยู่แล้วไม่สามารถประหยัดได้มากกว่านี้อีก แต่ว่ากำไรสองต่อ คุณสามารถที่จะให้เดือนต่อไปของคุณมันต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ 3 เดือนที่แล้ว 20% คุณจึงจะได้ส่วนลดตรงนี้ แต่คนที่จะต้องใช้ไฟประจำเขาไม่สามารถจะลดไปกว่านั้นได้ เราจะเห็นว่ามาตรการไม่เคยตอบสนองเลย แต่มันก็เป็นอย่างนี้

เมื่อเร็วๆนี้ผมเข้าไปที่ทำเนียบ ผมก็ได้ชี้ประเด็นเรื่องดังกล่าวให้คุณพิทักษ์ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องของพลังงานว่า ถ้าจะรณรงค์ 1 อาทิตย์ของเดือนเมษา เพื่อไม่ให้ peak ขึ้นดีกว่า อันนี้ตรงเป้า จะได้ลดความจำเป็นในการลงทุนการผลิต เพราะว่า 80% ของค่าใช้จ่ายในการลงทุนการผลิต เรามารณรงค์ตัวนั้นดีกว่าอย่างจริงๆจัง เพราะต้องทำนานหรอก ทำแค่อาทิตย์หรือสองอาทิตย์เท่านั้น แล้วเราจะสามารถได้ผลจริงๆ เขาก็ไม่สนใจ

ตอนนี้จะออกมาอีกนะครับ ข่าวเมื่อวานลงว่าจะมีการขอเพิ่มภาษีน้ำมัน เพื่อที่จะไปกองทุนอนุรักษ์จาก 4% มาเป็น 13% แล้วจะใช้เงินกองทุนอนุรักษ์เพื่อการรณรงค์พวกนี้มากขึ้น ก็บริษัทโฆษณาเรื่องพวกนี้ก็จะได้ไป สบายเพิ่มขึ้น สิ่งที่ออกมาก็จะเป็นอย่างนี้ คือไม่ได้แก้ปัญหาจริง

สมเกียรติ ตั้งนโม : คำถามของผมก็คือ ในวงการสื่อที่กรุงเทพที่คุณวิทูรสัมผัส เขาเข้าใจเรื่องปัญหาพลังงานแค่ไหน แต่ก่อนที่คุณวิทูรจะตอบคำถาม ผมอยากจะเล่าเรื่องให้ฟังนิดหน่อย คือ วันที่ผมไปติดต่อให้สถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่มาบันทึกภาพ การแถลงข่าวของนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและนักวิชาการในเชียงใหม่ซึ่งร่วมลงชื่อเพื่อแถลงการณ์คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าหินกรูดและบ่อนอก เขาได้ให้ผมไปพบกับหัวหน้าฝ่ายข่าว หัวหน้าฝ่ายข่าวก็สนใจปัญหานี้มากเพราะว่าเคยทำข่าวที่แม่เมาะมาแล้ว

เขาถามผมว่า ที่หินกรูดและบ่อนอกลมพัดดีไหม หมายความว่าลมชายฝั่งดีไหม ผมสงสัยมากเลยแล้วก็ตอบว่า พัดดีซิ มันอยู่ชายทะเลมันก็มีลมบกลมทะเลมันพัดดี หัวหน้าฝ่ายข่าวก็เลยบอกว่า ถ้าลมพัดดีน่าจะทำปล่องควันสูง เพราะว่าที่ลำปาง ปัญหาก็คือมันถูกล้อมด้วยภูเขา ไม่คอยมีลมพัด ปล่องควันที่ปล่อยควันหรือมลพิษมันจึงไม่ไปไหน ก็เลยอยู่แถวแม่เมาะ ฉะนั้นถ้าที่หินกรูดและบ่อนอกทำปล่องควันสูงมันจะแก้ปัญหาได้เลย ปัญหาที่คุณรณรงค์เรื่องมลพิษก็จบ

ผมก็เลยคิดในใจว่า ผมจะทำให้เขาไปถ่ายและบันทึกภาพแถลงการณ์ของนักวิชาการได้อย่างไร เพราะว่านี่เป็นหนึ่งในปัญหาที่เราจะแถลงด้วย แต่เขาได้แก้ปัญหาให้ผมเรียบร้อยหมดแล้ว แต่ผมจะไม่พูดต่อไปว่าผมใช้วิธีชักจูงเขาอย่างไรนะครับ ผมอยากจะถามคุณวิทูรว่า ผู้สื่อข่าวทางด้านพลังงานในกรุงเทพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาพลังงานมากแค่ไหนครับ ?

วิทูร : ผมอยากจะพูดถึงหนังสือพิมพ์ก่อน ซึ่งมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่เป็นผู้สื่อข่าวประจำ พวกหน้าใน อย่างเช่นพวกสายพลังงาน สายเศรษฐกิจ สายสาธารณสุข สายการศึกษา กับอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวที่ทำข่าวหน้าหนึ่ง โดยปกติแล้ว ข่าวเกี่ยวกับพลังงานจะอยู่หน้าในซึ่งคุมโดยนักข่าวประจำสาย และพวกที่คุมข่าวประจำสาย เขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับส่วนราชการที่ทำเรื่องนั้นๆ เช่นถ้าเป็นสายธุรกิจ สายอุตสาหกรรม ก็ใกล้ชิดกับบริษัทหรือกระทรวงที่อยู่ในนั้น เพราะว่า วันๆเขาก็ต้องไปอยู่ที่กระทรวง อันนี้ก็เป็นธรรมดาที่เขาใกล้ชิดกัน แล้วเขาก็จะมีการพาไปดูงานบ้าง

อย่างเช่นเมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ทาง สพช. ก็พาผู้สื่อข่าวกลุ่มใหญ่ไปลาว เพื่อไปดูน้ำเทิน 2 ก็อยู่ด้วยกันไปด้วยกัน เขาก็เลี้ยงดูปูเสื่อ เพราะฉะนั้น สายพวกนี้แกะยาก บางคนมีความรู้ดีเพราะทำมานาน อย่างผมยกตัวอย่างนักข่าวสายพลังงานของหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษบางฉบับ เขารู้ดีเพราะทำมานานมาก คือคนธรรมดาแยกไม่ออกว่าเขาเป็นผู้สื่อข่าวหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้น เราพบว่าจะหวังพวกหน้าในยาก เพราะฉะนั้นในการรณรงค์เราจะต้องขยับออกมาหน้าหนึ่ง ไม่เช่นนั้นเราไม่มีทางเกิดเลย ข่าวจะไม่เป็นข่าวเลย...

เกรียงศักดิ์ พัฒนเชษฐวนิช : ผมอยากเรียนถามเรื่องของ centralize กับ decentralize ในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับเรื่องการไฟฟ้าในสังคมไทยว่า วิธีการรวมศูนย์ในการผลิตพลังงานมันก่อปัญหาขึ้นมากมาย รวมถึงมันไม่เป็นวิธีการประหยัดด้วย ที่ไม่ประหยัดก็เพราะว่า ราคาค่าไฟก็ดี หรือการโน้มไปให้คนทั้งหลายเร่งการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งมันก่อให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมและปัญหาเรื่องการเงินของประเทศเรามาก สิ่งที่ผมอยากจะถามก็คือ มันมีทางออกอย่างไรจากประสบการณ์ของคุณวิทูรที่ได้รับรู้มาจากที่อื่นๆ ว่าได้แก้ปัญหานี้อย่างไร ?

วิทูร : ความจริงแล้วระบบที่มันเคยมีอยู่ แล้วมันก็ยังมีอยู่มากก็คือระบบย่อยๆ เล็กๆ ซึ่งสามารถจะผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วก็ใช้ในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ คือมันมีทั้งในแง่ที่ว่าระบบย่อยๆที่ผลิตและใช้กับกลุ่มต่างๆ หรือระบบที่ใช้เชื่อมกันและใช้คู่กันก็มี

ผมขอยกตัวอย่างในประเทศนอร์เวย์ มีทั้งระบบย่อยและระบบใหญ่เชื่อมกัน เขามี transmission line ที่เป็น grid แล้วก็มีระบบย่อย ซึ่งกฎหมายเขาเอื้อให้สามารถทำได้ แล้วถ้าเกิดระบบย่อยมีปัญหา เขาก็สามารถใช้ระบบใหญ่เข้าไปเสริมได้ แล้วระบบย่อยก็สามารถขายไฟฟ้าให้กับระบบใหญ่ได้

ระบบแบบนี้ ข้อสำคัญก็คือว่า ระบบใหญ่จะต้องให้การสนับสนุนระบบย่อยให้ไปได้ แต่ว่าขณะนี้ระบบของไทยมันตรงกันข้าม ระบบย่อยอย่างของนอร์เวย์เชื้อเพลิงของเขามาได้หลายทาง เช่น อาจเป็นเขื่อนขนาดเล็ก micro hydro หรือใช้แก๊สเธอร์ไบน์ ซึ่งพัฒนาไปมาก มีตั้งแต่ขนาด 10 กิโลวัตต์ สามารถเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้

ส่วนของไทยนั้น หากจะทำไฟฟ้าระบบย่อยขึ้นมา เราอาจใช้วัสดุทางการเกษตร อย่างเช่น ฟางข้าว แกลบ ชานอ้อย มาเป็นเชื้อเพลิงที่จะให้ความร้อน อันนี้ก็ทำได้ ในเวียดนามก็มี micro hydro ขนาดเพียงแค่ครึ่งกิโลวัตต์ แล้วก็เคลื่อนย้ายไปไหนได้ด้วย ที่จีนก็มีเยอะ หรืออย่างที่เนปาล โดยภูมิประเทศไม่เอื้อให้มีระบบ grid ใหญ่ ก็จะมีระบบย่อยต่างๆ

หรืออย่างของไทย เช่น แม่ฮ่องสอน เป็นระบบย่อย แต่ว่าตอนนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็พยายามที่จะต่อเชื่อมเข้ากับ grid แทนที่จะให้แม่ฮ่องสอนได้พัฒนาตัวเองขึ้นมา ซึ่งถ้าหากว่าคนใช้ไฟฟ้ามีความรับผิดชอบต่อการผลิตไฟฟ้าด้วย มันจะทำให้เขาต้องรับผิดชอบ แล้วก็เห็นว่าเขาต้องการแบบไหน เช่นถ้าเขาไม่เห็นด้วยกับการผลิตที่ทำให้เกิดมลพิษ เขาก็จะเจอตรงๆเลย แต่ระบบการผลิตปัจจุบันมันไม่ใช่อย่างนั้น กล่าวคือ มันผลิตที่หินกรูด แล้วส่งมาให้ทางกรุงเทพใช้ หรือแม่เมาะก็ส่งมาให้กรุงเทพใช้ ซึ่งตรงนี้มันสะท้อนให้เห็นว่าระบบใหญ่มันผลักภาระให้คนอื่น คือคนใช้ไม่ต้องรับรู้ถึงเรื่องมลพิษอะไร

ที่แคลิฟอร์เนีย ก็มีตัวอย่างที่ประชาชนสามารถเข้าไปบริหารจัดการเรื่องไฟฟ้าได้ อย่างเช่น ที่ซาคราเมนโต้ เทศบาลเขาเคยมีปัญหากับเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เขาก็เลือกตัดสินใจโดยการซื้อกิจการของบริษัททั้งหมดมาเป็นของเทศบาล และหลังจากที่เขาซื้อเข้ามาแล้ว เขาปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้วเขาก็หันกลับมาบริหารระบบไฟฟ้าเอง หันมาเน้นว่าให้ผู้บริโภคทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงประสิทธิภาพและให้มีการประหยัดมากขึ้น และยังเข้าไปมีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาทุกส่วน ปรากฎว่าค่าไฟฟ้าลดลง เปรียบเทียบกับก่อนหน้าที่บริหารโดยบริษัท แล้วในช่วงซึ่งเกิดวิกฤตที่แคลิฟอร์เนีย ปรากฏว่าที่ซาคราเมนโต้ได้รับผลกระทบน้อย

เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่าจริงๆแล้ว ในขณะนี้ ถ้าหากว่าตัวกฎหมายหรือตัวระบบใหญ่จะเอื้อให้เกิดระบบย่อย ช่วงแรกนับว่ามีความจำเป็น เพราะว่าการเกิดขึ้นของระบบย่อย อย่างเช่นในเมืองไทยจำนวนมาก เขามีศักยภาพที่จะผลิต แต่คำถามก็คือว่า ในตอนที่เขาผลิตได้แล้วเกิดความต้องการของเขาไม่มาก เขาสามารถขายให้กับ grid ขายให้การไฟฟ้าได้ไหม ถ้าเขาขายได้ก็จะอยู่ได้ หรือในทางกลับกัน ในขณะที่ระบบเขามีปัญหา เขาสามารถขอจาก grid เข้ามาใช้ได้ไหม อย่างนี้เป็นต้น

 

กลับไปหน้าบทความถอดเทปเรื่อง"ประวัติและพัฒนาการมาเฟียพลังงาน"
(บทความลำดับที่ 169)

 

เรื่องแจ้งเพื่อทราบเกี่ยวกับกระดานข่าว (webboard)
เนื่องจากเจ้าของพื้นที่ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไปขอใช้เกิดขัดข้องชั่วคราว จึงขอให้นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน แสดงความคิดเห็นผ่าน webboard สำรอง โดยคลิกที่
webboard

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

 

 

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 169 / 2 เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ 5 เม.ย.2545

ประวัติและการพัฒนามาเฟียพลังงาน
พลังงานกับเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม

ผู้นำเสวนา : วิทูร เพิ่มพงศาเจริญ

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 / เวลา 14.30 น. ณ สวนอัญญา อ.เมือง จ. เชียงใหม่
(ช่วงสนทนาในชั้นเรียนมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : ผมมีคำถามนิดเดียวคือ คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติตามกฎหมาย แต่งตั้งขึ้นมาโดยใคร และคำถามที่สอง ในกระบวนการแต่งตั้งไปดึงใครเข้ามา

วิทูร เพิ่มพงศาเจริญ : คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติประกอบไปด้วย "คณะกรรมการ"กับ"สำนักงาน" คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นโดยตำแหน่ง ก็คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งตรงนี้ในทางปฏิบัติก็คือ ทางสำนักงานพลังงานแห่งชาติจะเป็นคนเลือกเข้ามา

ที่ผ่านมาเขาจะใช้ประธานสภาอุตสาหกรรมจะอยู่ตลอด แล้วจะมีนักวิชาการหรือขุนนางพลังงานที่ทำงานร่วมกับเขา แต่ตรงนี้ก็ไม่มีอะไรที่ชัดเจนนอกจากควบโดยตำแหน่ง ในทางปฏิบัติก็คือ สพช.เป็นผู้เสนอเข้าไป. ภายใต้คณะกรรมการนี้ จะมีคณะอนุกรรมการเต็มไปหมด เช่น อนุกรรมการคาดการณ์ไฟฟ้า, อนุกรรมการเรื่องของราคา หรืออะไรอย่างนี้ ซึ่งคณะกรรมการพวกนี้ถ้าไปดูจะมีรายชื่อซ้ำกันไปหมด เกือบทุกคนจะมีรายชื่ออยู่ด้วยกับทุกคณะอนุกรรมการฯ และส่วนของคณะอนุกรรมการฯ ก็คือ ทาง สพช.เป็นผู้เสนอให้ทางคณะกรรมการรับรอง

2