ร่วมแถลงการณ์โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, ฉลาดชาย รมิตานนท์ (ภาคเหนือ) สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ (ภาคอีสาน) ประสาท มีแต้ม (ภาคใต)้ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล (ปXป)

แถลงการณ์กรณีการชุมนุมของเกษตรกรคนจนผู้ไร้อำนาจ กับการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง เพื่อความเป็นธรรมและความยั่งยืนของสังคมไทย

จากการระดมความคิดเห็นระหว่างวันที่ 6-7 เมษายน 2545 นี้ ณ ห้องประชุมใหญ่ตึก 3 ชั้น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

GO
homepage

"การบิดเบือน" ของรัฐยังเห็นได้จากนโยบายของรัฐหลายประการ นับตั้งแต่โครงสร้างการจัดเก็บภาษี ที่มีสัดส่วนการเก็บภาษีทางอ้อม มากกว่าภาษีทางตรง

โดยภาษีทางอ้อมจะเก็บจากสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อ นับตั้งแต่สินค้าอุปโภค บริโภค ค่าบริการไฟฟ้า ประปา รวมทั้งพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น

ด้วยวิธีการนี้ชาวชนบทและคนจนในเมืองซึ่งเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่สุด จึงเป็นผู้จ่ายภาษีให้รัฐมากที่สุด และหากเปรียบเทียบอัตราการเสียภาษี กับอัตรารายได้ก็จะพบว่า ชาวชนบทและคนจนในเมืองซึ่งมีรายได้น้อย ก็จะเสียภาษีในอัตราเท่ากับผู้มีรายได้มาก ซึ่งมีรายได้สูงกว่าหลายเท่าตัว (เพราะซื้อสินค้าและบริการที่บวกภาษีในอัตราเดียวกัน)

ในกรณีการจัดเก็บภาษีทางตรงในประเทศไทย นอกจากจะจัดเก็บในสัดส่วนน้อยแล้ว ยังมีปัญหาในเรื่องหลักการลดช่องว่างทางสังคม เพราะในประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้า การเก็บภาษีจะใช้อัตราก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นภาษีรายได้ของบุคคล หรือนิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ฯลฯ เพราะถือว่ากลุ่มผู้มีรายได้มาก เป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาสังคมมาก จึงสมควรจะเสียภาษีมากกว่ากลุ่มอื่นๆเพื่อนำเงินกลับมาดูแลสังคม

QUOTATION
090445
release date
ภาพประกอบดัดแปลง ผลงานภาพเขียนของ Julio Galan จากนิตยสาร Art in America ฉบับ April 1998 ประกอบกับผลงานภาพถ่ายจากหนังสือ Angkor the serenity of buddhism หน้า 60-61 ของ Marc Riboud

ความยาวของแถลงการณ์ ประมาณ 5 หน้ากระดาษ A4

หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมา จะแก้ปัญหาได้

W
webboard
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : ทางเลือกเพื่ออุดมศึกษาไท : กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ : เผยแพร่เดือนเมษายน 2545

1. ปัญหาเชิงโครงสร้างในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ที่ดิน และน้ำ เป็นปัญหาของอำนาจในการ จัดการที่ถูกผูกขาดและรวมศูนย์โดยรัฐ ซึ่งเกิดจากมายาคติที่ว่า รัฐ คือองค์กรที่เป็นกลาง และสามารถจัดการทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้อำนาจการจัดการเบ็ดเสร็จ ได้มีการบัญญัติกฎหมายตามหลักการและวิธีการของรัฐ เพื่อควบคุมและกำกับการจัดการทรัพยากร มีการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลทรัพยากรแต่ละประเภท ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์เกื้อกูลกัน ถูกแบ่งแยกอยู่ภายใต้สังกัดหน่วยงานในระบบราชการที่แยกส่วนไม่ประสานเชื่อมโยงกัน

การผูกขาดและรวมศูนย์อำนาจของรัฐในการจัดการทรัพยากร ในขณะที่สังคมไทยมีชุมชนท้องถิ่นดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาธรรมชาติมาเป็นเวลายาวนาน จึงเท่ากับเป็นการกีดกันสิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ทั้งนี้กระบวนการยึดอำนาจการจัดการของชุมชนมาสู่รัฐ เกิดขึ้นอย่างเป็นขบวนการ นับจากการใช้กฎหมายเป็นคเรื่องมืออาญาสิทธิ์ต่อการจัดการทรัพยากรของรัฐ ได้เข้าแทนที่การจัดการทรัพยากรตามหลักประเพณีของชุมชน ยึดมั่น"ความรู้แบบวิทยาศาสตร์" ที่ถือว่าเป็นความรู้ที่เป็นกลางและถูกต้องที่สุดเพียงอย่างเดียว เป็นแนวคิดหลักในการจัดการทรัพยากรทั้งมวล

ความรู้พื้นบ้านถูกทำให้กลายเป็นความงมงาย จนกระทั่งหน่วยงานรัฐในการจัดการทรัพยากร ได้เข้าแทนที่สถาบันชุมชนจนหมดความสำคัญในที่สุด ในภาวะเช่นนี้ชุมชนท้องถิ่นจึงถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงการดำรงชีวิตโดยพึ่งพาธรรมชาติตามปกติสุข

ในขั้นที่รุนแรงกว่านั้นก็คือรัฐได้ปฏิเสธการมีตัวตนของชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำรงวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ รวมทั้งการสร้างความเป็นอื่นให้กับคนไทยบนพื้นที่สูง โดยการปฏิเสธสิทธิความเป็นพลเมืองไทย ซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งกับหน่วยงานรัฐที่อ้างความเป็นเจ้าของทรัพยากรอย่างไม่รู้จบสิ้น

ภายใต้สิทธิขาดของรัฐในการจัดการทรัพยากรยังปรากฏว่า รัฐได้ใช้แนวคิดในการจัดการที่มีลักษณะยึดมั่นอยู่กับหลักการจัดการแบบสองขั้วอย่างตายตัว โดยด้านหนึ่งให้ความสำคัญกับ การควบคุมและจัดการโดยรัฐ (STATE CONTROL) อีกด้านหนึ่งก็ให้ความสำคัญกับ การควบคุมและจัดการโดยเอกชน (PRIVATE CONTROL) ภายใต้หลักการควบคุมและจัดการโดยรัฐ เราจึงพบว่าการจัดการทรัพยากรแท้ที่จริงแล้วเป็นการขยายพื้นที่อาณาเขตดินแดนของรัฐ ดังที่ผ่านมามีการประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ พื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ รวมทั้งที่ดินนอกพื้นที่อนุรักษ์ก็เป็นการควบคุมโดยรัฐเช่นกัน

ส่วนในกรณีการควบคุมและจัดการทรัพยากรโดยเอกชน ก็พบว่ารัฐได้รับรองสิทธิการควบคุมและจัดการของเอกชนอย่างไร้การควบคุม ดังนั้นในบริบทของการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ทรัพยากรจึงกลายเป็น "สินค้า" อย่างสมบูรณ์แบบ ปัญหานี้เห็นได้ชัดเจนในกรณีที่ดิน ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดกระบวนการค้าที่ดินทั้งที่กระทำโดยชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ที่ดินหลุดจากมือเกษตรกร ไปกระจุกอยู่ในมือของนักลงทุนที่หวังผลเก็งกำไรโดยการปั่นราคาที่ดินให้สูง มากกว่าเป็นการใช้ที่ดินทำการผลิตให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

การยึดมั่นในหลักการจัดการแบบสองขั้วอย่างตายตัว โดยมองเห็นแต่การจัดการโดยรัฐ และเอกชน แต่กลับมองข้ามการจัดการโดยชุมชน ยังนำไปสู่แนวคิด การจัดการทรัพยากรโดยกลไกตลาด แนวคิดนี้กำลังจะถูกนำมาใช้ในการจัดการน้ำ โดยรัฐมีความคิดว่า น้ำเป็นทรัพยากรที่เข้าถึงได้อย่างเสรี (open access) หรือเป็นของฟรี ที่ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแล ทำให้การใช้น้ำไม่มีประสิทธิภาพ (ทั้งที่ในภาคเหนือมีการจัดการน้ำในระบบเหมืองฝายของราษฎรแทบทุกท้องถิ่น) ดังนั้นรัฐจึงมีแนวคิดที่จะเข้ามาควบคุมน้ำ และจะใช้ระบบตลาดในการจัดการ โดยให้ผู้ใช้ต้องจ่ายค่าน้ำ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งที่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ได้พบว่าการใช้เงินเป็นปัจจัยในการเข้าถึงทรัพยากร ก็เท่ากับเป็นการกีดกันสิทธิของชาวบ้าน และให้สิทธิแก่ผู้มีเงินและมีอำนาจ ดังในกรณีการจัดการป่าและที่ดินนั่นเอง

2. ปัญหาเชิงโครงสร้างในการจัดการทรัพยากรสภาพแวดล้อม
ในบริบทการเร่งรัดพัฒนาประเทศในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการลงทุน การสนับสนุนการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ ตลอดจนการเติบโตของชุมชนเมือง การผูกขาดและรวมศูนย์อำนาจของรัฐในการจัดการทรัพยากรสภาพแวดล้อม โดยปฏิเสธการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของชุมชนท้องถิ่น ได้ทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งในสังคมสูงขึ้น เพราะในขณะที่การพัฒนามีผลเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น แต่ชุมชนท้องถิ่นกลับไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อโครงการที่จะก่อผลกระทบหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของตน

ในทางตรงกันข้ามเมื่อได้รับผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่แล้ว กลับไม่ได้รับการดูแลหรือชดเชยอย่างเป็นธรรมต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นหลายกรณีปัญหา อาทิเช่น กรณีชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง กรณีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง กรณีเขื่อนราษีไศล จ.ศรีษะเกษ กรณีเขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี กรณีแม่น้ำพองเน่า จ.ขอนแก่น เป็นต้น

รวมทั้งประเด็นล่าสุดที่รัฐบาลยังไม่ตัดสินใจ รัฐบาลกลับได้ใช้กลยุทธ์ซื้อเวลาถ่วงเวลาอีกต่อไป ขณะที่ประชาชนคนท้องถิ่นได้คัดค้านโครงการ รวมทั้งมติมหาชนก็เห็นร่วมกันว่าได้ไม่คุ้มเสียเป็นการเสียค่าโง่มากกว่า คือ กรณีโรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด การสร้างท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นต้น

การจัดการทรัพยากรสภาพแวดล้อมของรัฐในแนวทางกลไกตลาด ได้สะท้อนให้เห็นวิธีคิดต่อทรัพยากรที่แตกต่างกับชุมชนท้องถิ่นของไทยอย่างสิ้นเชิง สำหรับชุมชนท้องถิ่น ทรัพยากร (ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีฐานะเป็น "ทุนทางสังคม" ซึ่งหมายถึงทรัพยากรที่เกื้อหนุนการมีชีวิตอย่างสันติสุข โดยถือหลักการจัดการอย่างมีส่วนร่วม ภายใต้หลักการนี้ การใช้ทรัพยากรจึงต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อคนในชุมชน และคำนึงถึงการมีทรัพยากรไว้ใช้อย่างยั่งยืนในเวลาเดียวกัน

แต่สำหรับการจัดการของรัฐ จะมองเห็นคุณค่าทรัพยากรแต่ในแง่เศรษฐกิจ โดยคิดว่าทรัพยากรมีไว้สำหรับตอบสนองการเติบโตทางเศรษฐกิจตามแนวที่รัฐกำหนด รัฐจึงเข้ามาควบคุมและจัดการ โดยไม่สนใจว่าชุมชนจะได้รับผลกระทบจากการใช้ทรัพยากร จึงอาจเรียกได้ว่า การจัดการของรัฐได้ทำให้ทรัพยากรในฐานะทุนทางสังคมของชุมชน กลายเป็น "ทุนทางเศรษฐกิจ" ที่คำนึงถึงแต่การเติบโตของเศรษฐกิจ โดยขาดมิติการมีส่วนร่วมในการจัดการ และความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากร กับทั้งยังเปิดโอกาสให้ทรัพยากรของประเทศถูกซื้อและนำไปจัดการโดยทุนระดับโลกอีกด้วย

3. ปัญหาเชิงโครงสร้างในการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคม
การกำหนดแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มชนชั้นนำทั้งผ่านระบบราชการและนักเลือกตั้ง โดยถูกกำหนดให้เดินตามแนวเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี ด้วยการขยายการลงทุนของรัฐ และส่งเสริมการลงทุนของเอกชน เพื่อสร้างความเติบโตและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ปัญหาสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมาคือ การใช้ยุทธศาสตร์ "การพัฒนาแบบไม่สมดุลย์" โดยให้ความสำคัญกับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม และการบริการ ด้วยการใช้ภาคเกษตรกรรม หรือภาคชนบท เป็นฐานค้ำจุนการเติบโต

ภายใต้ยุทธศาสตร์เช่นนี้จึงทำให้เกิดแผนการ โครงการ ตลอดจนระบบกฎหมาย ซึ่งเป็นการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติจากชนบทโดยตรง (ดังการวิเคราะห์ใน 2 ประเด็นที่กล่าวมาแล้ว) ขณะเดียวกันก็มีเป็นการแย่งชิงทรัพยากร ในลักษณะที่ไม่อาจมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่เป็นการจัดการที่มีลักษณะของการโยกย้ายประโยชน์ที่ควรจะได้รับของภาคเกษตรกรรม/ชนบทไปสู่ภาคเศรษฐกิจอื่นๆ

"การบิดเบือน" ของรัฐยังเห็นได้จากนโยบายของรัฐหลายประการ นับตั้งแต่โครงสร้างการจัดเก็บภาษี ที่มีสัดส่วนการเก็บภาษีทางอ้อม มากกว่าภาษีทางตรง โดยภาษีทางอ้อมจะเก็บจากสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อ นับตั้งแต่สินค้าอุปโภค บริโภค ค่าบริการไฟฟ้า ประปา รวมทั้งพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น ด้วยวิธีการนี้ชาวชนบทและคนจนในเมืองซึ่งเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่สุด จึงเป็นผู้จ่ายภาษีให้รัฐมากที่สุด และหากเปรียบเทียบอัตราการเสียภาษี กับอัตรารายได้ก็จะพบว่า ชาวชนบทและคนจนในเมืองซึ่งมีรายได้น้อย ก็จะเสียภาษีในอัตราเท่ากับผู้มีรายได้มาก ซึ่งมีรายได้สูงกว่าหลายเท่าตัว (เพราะซื้อสินค้าและบริการที่บวกภาษีในอัตราเดียวกัน)

ในกรณีการจัดเก็บภาษีทางตรงในประเทศไทย นอกจากจะจัดเก็บในสัดส่วนน้อยแล้ว ยังมีปัญหาในเรื่องหลักการลดช่องว่างทางสังคม เพราะในประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้า การเก็บภาษีจะใช้อัตราก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นภาษีรายได้ของบุคคล หรือนิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ฯลฯ เพราะถือว่ากลุ่มผู้มีรายได้มาก เป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาสังคมมาก จึงสมควรจะเสียภาษีมากกว่ากลุ่มอื่นๆเพื่อนำเงินกลับมาดูแลสังคม วิธีการนี้เป็นการลดช่องว่างของรายได้ทางสังคม ขณะเดียวกันก็เป็นการจูงใจไม่ให้กลุ่มคนรวยสะสมที่ดิน ทรัพย์สิน หรือมรดกมากเกินความจำเป็น (เพราะยิ่งมีทรัพย์มากก็ยิ่งต้องเสียภาษีมาก) สำหรับประเทศไทย ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาไม่เคยมีแนวคิดในการจัดเก็บภาษีเช่นนี้ ประเทศไทยจึงเป็นประเทศหนึ่งที่มีความแตกต่างของการถือครองรายได้ ทรัพย์สิน และทรัพยากร ระหว่างกลุ่มคนในสังคมสูงมาก

ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ยังเห็นได้จากตัวอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ ในการจัดเก็บพรีเมี่ยมข้าว หรือค่าธรรมเนียมพิเศษในการส่งออกข้าว (พ.ศ. 2497 - 2527) การจัดเก็บภาษีถูกใช้เป็นมาตรการในการควบคุมปริมาณการส่งออก เพื่อให้มีข้าวพอเพียงและมีราคาถูกสำหรับการบริโภคในประเทศ การเก็บภาษีซึ่งมีปริมาณสูง ได้ทำให้ผู้ส่งออกผลักภาระการสูญเสียรายได้ไปสู่ชาวนา โดยกดราคารับซื้อผลผลิตจากชาวนา ทำให้ขายข้าวได้ในราคาต่ำกว่าที่ควรจะได้รับ มีการศึกษาพบว่าการเก็บพรีเมี่ยมข้าว มีส่วนสำคัญทำให้เกษตรกรเป็นหนี้สินมากขึ้น เกษตรกรจำนวนมากสูญเสียที่ดิน และกลายเป็นผู้ขายแรงงานที่ไร้ทรัพยากรพึ่งพิง

การส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม และการบริการ เป็นอีกนโยบายหนึ่งที่สะท้อนการพัฒนาที่ไม่สมดุลย์อย่างชัดเจน ในขณะที่รัฐกำหนดให้ภาคเกษตรกรรม/ชนบทเป็นเบี้ยล่างของการพัฒนา เมื่อเกษตรกรเรียกร้องให้มีการปกป้องและสนับสนุนภาคเกษตร ก็อ้างหลักการ"การค้าเสรี" แต่สำหรับภาคอุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม และการบริการ รัฐกลับใช้นโยบายปกป้องและส่งเสริม (subsidize) อย่างเข้มข้น ซึ่งจะเห็นได้จากนโยบายหลายประการ นับตั้งแต่การส่งเสริมการลงทุน ด้วยมาตรการพิเศษหลายประการ เช่น การลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ ลดภาษีส่งออก ลดภาษีรายได้ ส่งเสริมการส่งออก สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ย การไม่ควบคุมราคาสินค้าของกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน การไม่จัดตั้งกิจการของรัฐในธุรกิจประเภทเดียวกันมาแข่งขัน ฯลฯ

การส่งเสริมการลงทุนยังรวมไปถึงการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ไฟฟ้า ถนน ประปา การจัดตั้งเขตอุตสาหกรรม การเพิกเฉยต่อการก่อมลภาวะของโรงงานโดยไร้ซึ่งความรับผิดชอบ การยึดมั่นปกป้องกฎหมายแรงงานที่ล้าหลังไม่สอดคล้องกับยุคสมัย ในลักษณะปิดกั้นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงาน การไม่มีหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน สวัสดิภาพและสวัสดิการที่เหมาะสม

ขณะเดียวกัน รัฐได้มีข้อตกลงกับเงื่อนไขขององค์กรทุนข้ามชาติ (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลก องค์การค้าโลก) ยิ่งเป็นการตอกย้ำ นโยบายกำหนดให้ชนบทแบกรับภาระต่อการพัฒนา และปกป้องสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและภาคเมือง นับตั้งแต่การกู้เงินมาใช้หนี้แทนสถาบันการเงิน แล้วยกภาระหนี้ให้เป็นของสาธารณะ การรับเงื่อนไขแปรรูปบริการสาธารณะให้เป็นของเอกชน ได้แก่ การไฟฟ้า การประปา การรักษาพยาบาล การศึกษา เป็นต้น เป็นผลทำให้ชาวชนบทและคนจนในเมืองทั้งชายและหญิง ซึ่งมีรายได้น้อยต้องใช้จ่ายเงินมากขึ้น

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ชี้ให้เห็นว่าปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรคนจนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ดังนั้นถ้ารัฐบาลทักษิณ คิดใหม่ ทำใหม่ ด้วยความจริงจังและจริงใจ ก็ต้องแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างเท่านั้น จึงจะบรรลุล่วงเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน โดยยึดหลักการให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกระดับ สร้างความสมดุลระหว่างภาคเกษตรกับภาคอื่นๆ ระหว่างเมืองกับชนบท มีมาตราการเก็บภาษีที่ก้าวหน้า ต้องกระจายอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง มิใช่ใช้นโยบายลำเอียง นโยบายตีสองหน้า หรือนโยบายเพียงแค่บรรเทาทุกข์อย่างที่เป็นอยู่

ผู้ลงนามแถลงการณ์

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน
ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน(ปXป )
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
สำนักข่าวประชาธรรม โครงการพื้นที่ทางสังคมและสื่อทางเลือก
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพฯ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเพื่อนประชาชน คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)
สำนักงานเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชนภาคเหนือ

แถลงการณ์กรณีการชุมนุมของเกษตรกรคนจนผู้ไร้อำนาจ กับการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง
เพื่อความเป็นธรรมและความยั่งยืนของสังคมไทย

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

 

 

 

การชุมนุมของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) สมัชชาคนจน และกลุ่มประชาชนที่คัดค้านโครงการของรัฐ เช่น
โรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด ท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย เขื่อนแก่งเสือเต้น ฯลฯ ในช่วงระยะเวลานี้ เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึง
ความพิกลพิการในหลายด้านของสังคมไทย ท่ามกลางการพัฒนาประเทศสู่ทุนนิยมอุตสาหกรรม ที่สำคัญ ปัญหาของ
ประชาชนคนยากจนล้วนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่รากเหง้า เพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง

จากการระดมความคิดเห็นระหว่างวันที่ 6-7 เมษายน 2545 นี้ ณ ห้องประชุมใหญ่ตึก 3 ชั้น คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สรุปได้ว่า สาเหตุของปัญหาทั้งหมดเกิดจาก "ปัญหาเชิงโครงสร้างในการจัดการทรัพยากร"
ซึ่งอาจจำแนกมิติของปัญหาได้เป็น 3 ประการคือ