1
ความเรียงเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้น

โครงสร้างนิยม (Structuralism)เป็นวิธีคิด
และวิธีการวิเคราะห์อันหนึ่ง
ซึ่งได้นำมาใช้ปฏิบัติกันในทางสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์ในคริสตศตวรรษที่ 20.
ในส่วนของระเบียบวิธี
ได้รับการนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ระบบขนาดใหญ่
่โดยการสำรวจถึงความสัมพันธ์
และหน้าที่ต่างๆของปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุด
ของระบบนั้นๆ ซึ่งเรียงลำดับจากภาษามนุษย์
และข้อปฏิบัติทางวัฒนธรรม
ไปจนกระทั่งถึงเรื่องเล่าตำนานพื้นบ้าน
และตำรับตำราทางวรรณคดี.

(ความยาวประมาณ 5 หน้ากระดาษ A4)

ในขอบเขตทางด้านภาษาสตร์ ที่เป็นงานทางด้านโครงสร้างนิยมของ Ferdinand de Saussure, เพิ่งจะทำขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1, ในฐานะที่เป็นแบบจำลองและความคิดอันหนึ่ง. ลักษณะเฉพาะของความคิดแบบโครงสร้างนิยม ในการสืบสาวทางภาษาศาสตร์ของ Saussure ได้รับการวางแกนลงไปไม่ใช่เพียงในตัวคำพูดเท่านั้น แต่เจาะลงไปที่แกนกลางของกฎเกณฑ์ที่อยู่ข้างใต้และขนบจารีตที่ทำให้ภาษาสามารถปฏิบัติการได้.

ในการวิเคราะห์นั้น จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ในเชิงสังคม หรือมิติองค์รวมของภาษามากกว่าคำพูดของปัจเจกบุคคล, Saussure ได้บุกเบิกและสนับสนุนการศึกษาทางด้านไวยากรณ์, สนับสนุนการศึกษาเรื่องกฎเกณฑ์ต่างๆมากกว่าการแสดงออก, สนับสนุนการศึกษาเรื่องของแบบจำลอง(models)มากกว่าข้อมูล(data), สนับสนุนการศึกษาเรื่องของภาษา(language)มากกว่าคำพูด(speech). Saussure ได้ให้ความสนใจในพื้นฐานโครงสร้างของภาษาอันเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานร่วมกันของบรรดาผู้พูด และนั่นเป็นการทำหน้าที่อยู่บนระดับของความไร้สำนึก.

การสืบสาวของเขาถูกนำไปผูกกับความเอาใจใส่ต่อโครงสร้างต่างๆในระดับลึก มากกว่าผิวหน้าของปรากฎการณ์ และไม่ได้มีการอ้างอิงถึงวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์. (ในระบบคำศัพท์ของโครงสร้างนิยม, มันเป็น "synchronic" หรือ "การพูดถึงภาษาที่ดำรงอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง, หรือดำรงอยู่ในปัจจุบัน", มากกว่าจะเป็น "diachronic" หรือ "ภาษาที่มีพัฒนาการมาในประวัติศาสตร์")

ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง
มานุษยวิทยาเชิงโครงสร้าง

ในขอบขตของการศึกษาทางด้านมานุษยวิทยาและปกรณัมโบราณ(myth), งานเหล่านี้ได้ถูกทำขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองมานี้เองโดย Claude Levi-Strauss ซึ่งเขาได้นำเสนอหลักการต่างๆของโครงสร้างนิยมต่อผู้อ่านอย่างกว้างขวาง. การดำเนินรอยตามไอเดียต่างๆของ Saussure และนักภาษาศาสตร์ชาวสลาฟ N. S. Trubetzkoy และ Roman Jakobson, Levi-Strauss ได้ระบุวิธีการพื้นฐาน 4 ประการลงไปในเรื่องของโครงสร้างนิยม คือ...

หลักการแรก, การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง จะสำรวจถึงพื้นฐานโครงสร้างอันไร้สำนึกของปรากฏการ์ทางวัฒนธรรม(structural analysis examines unconscious infrastructures of cultural phenomena)

หลักการที่สอง, การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง จะพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆของพื้นฐานโครงสร้างในฐานะที่เป็น"ความสัมพันธ์", ไม่ใช่ในฐานะแก่นแท้ที่เป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับอะไรทั้งปวง(it regards the elements of infrastructures as "relational," not as independent entities)

หลักการที่สาม, การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง จะให้ความสนใจต่อระบบอย่างมาก (it attends singlemindedly to system) และ

หลักการที่สี่, การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง จะเสนอกฎทั่วไปที่อธิบายถึงแบบแผนต่างๆที่เป็นระบบ ซึ่งอยู่ข้างใต้ของปรากฎการณ์(it propounds general laws accounting for the underlying organizing patterns of phenomena).

ในการศึกษาทางด้านมนุษยศาสตร์และวรรณคดี, โครงสร้างนิยมได้ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในขอบเขตของศาสตร์ที่เรียกว่า narratology (ศาสตร์แห่งการบรรยายหรือเล่าเรื่อง). สาขาวิชาใหม่นี้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการบรรยายเรื่องราวทั้งหมด, ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับภาษาหรือไม่ก็ตาม: เช่น ปกรณัมโบราณต่างๆและเรื่องเล่าตำนาน, นวนิยายและรายงานข่าว, ประวัติศาสตร์ต่างๆ, งานประติมากรรม และภาพเขียนสีบนกระจกบานหน้าต่าง, ละครใบ้, กรณีศึกษาทางจิตวิทยา เป็นต้น.

การใช้ระเบียบวิธีและหลักการทางโครงสร้างนิยม นักวิชาการ narratologists (ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการบรรยายเรื่องราวต่างๆ)ได้วิเคราะห์ถึงลักษณะเฉพาะของระบบ และหน้าที่ต่างๆของการบรรยายเรื่องราว, ซึ่งพยายามที่จะแยกแยะกฎเกณฑ์ชุดหนึ่ง เพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลการบรรยายเรื่องราวที่จริง และเป็นไปได้ที่มีอยู่อย่างมากมาย. การเริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960, นักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศส Roland Barthes และนักวิชาการเกี่ยวกับการบรรยายเรื่องราวชาวฝรั่งเศสคนอื่นๆอีกหลายคน ได้ทำให้ขอบเขตความรู้นี้แพร่หลายเป็นที่นิยม ซึ่งนับแต่นั้นมา มันได้กลายเป็นวิธีการที่สำคัญของการการวิเคราะห์ในสหรัฐอเมริกาด้วย.

เพราะ โครงสร้างนิยม ได้ให้คุณค่าความสำคัญถึงเรื่องโครงสร้างในระดับลึกยิ่งกว่าปรากฎการณ์อันผิวเผิน, ส่วนหนึ่งนั้น มันคู่ขนานกันไปกับทัศนะของ Marx และ Freud, ซึ่งทั้งคู่ได้ให้ความเอาใจใส่กับสาเหตุที่อยู่ข้างใต้, นั่นคือ พลังที่อยู่เหนือตัวบุคคล และแรงกระตุ้นต่างๆอันไร้สำนึก. ดังนั้น มันจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงความสนใจไปจากสำนึกและทางเลือกของมนุษย์ในฐานะปัจเจกชน.

โดยเหตุที่ โครงสร้างนิยม มีลักษณะคล้ายดั่ง Marxism และ Freudianism โครงสร้างนิยมจึงผลักดันให้การวิเคราะห์ไปไกลเกินกว่าการลดลงมาสู่ความเป็นปัจเจกอันเป็นแนวคิดแบบสมัยใหม่(modern), (ซึ่งได้พรรณาถึงเรื่องตัวตนเป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นตัวเหตุและผลที่ตามมาของระบบที่ไม่ใช่เรื่องของบุคคล). ด้วยเหตุดังนั้น ปัจเจกจึงไม่ได้ก่อให้เกิดและควบคุมกฎเกณฑ์และขนบประเพณีของการเป็นอยู่ของสังคมของพวกเขา, ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวกับชีวิตจิตใจ, หรือการมีอยู่ของภาษา. ผลก็คือ โครงสร้างนิยมได้สลายเรื่องของตัวบุคคล, หรือตัวตนลง. ดังนั้น โครงสร้างนิยมจึงได้รับการมองอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่เป็นแนวคิดที่"ต่อต้านมนุษยนิยม"(antihumanistic).

Saussure ได้มองเห็นสาขาวิชาใหม่อันหนึ่ง, นั่นคือ ศาสตร์ของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์(science of sign) และระบบต่างๆของเครื่องหมายและสัญลักษณ์(signs) ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อว่า semiology หรือ "สัญญวิทยา" (วิธีการทางเทคนิคซึ่งผู้คนสื่อสารโดยผ่านสัญลักษณ์และภาพต่างๆ), และสำหรับศาสตร์นั้น เขาเชื่อว่า ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างสามารถเปิดช่องให้กับระเบียบวิธีที่สำคัญอันหนึ่งขึ้นมาได้.

นักปรัชญาชาวอเมริกัน Charles Sanders Peirce, ซึ่งเป็นคนที่อยู่ในยุคสมัยเดียวกันกับ Saussure, ได้ร่างศาสตร์ที่คล้ายๆกันนี้ขึ้นมาและปิดป้ายฉลากว่า semiotics(สัญญศาสตร์).

ในปี 1961, Levi-Strauss ได้วาง"มานุษยวิทยาเชิงโครงสร้าง"ลงไปในอาณาจักรของ"สัญญวิทยา"(semiology). ยิ่งไปกว่านั้น, ศัพท์คำว่า semiology และ Semiotics ได้มากำหนดขอบเขตการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ระบบสัญลักษณ์, หลักเกณฑ์ต่างๆ, และขนบประเพณีทุกๆอย่าง, นับจากมนุษย์ไปจนกระทั่งถึงสัตว์ และภาษาสัญลักษณ์, จากภาษาเฉพาะเกี่ยวกับแฟชั่นไปจนถึงพจนานุกรมเกี่ยวกับอาหาร, จากกฎเกณฑ์ต่างๆของเรื่องเล่านิทานพื้นบ้านไปจนถึงระบบสัทศาสตร์(phonology), จากหลักการของสถาปัตยกรรมและเรื่องเกี่ยวกับยารักษาโรค จนถึง ขนบประเพณีเกี่ยวกับปกรณัมโบราณและวรรณคดี. ศัพท์คำว่า Semiotics (สัญญศาสตร์) จึงค่อยๆเข้ามาแทนที่ศัพท์คำว่า Structuralism (โครงสร้างนิยม), และการก่อตั้งสมาคมนานาชาติว่าด้วยการศึกษาเรื่องสัญญศาสตร์ (the International Association for Semiotic Studies) ในปี 1960 ได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับแนวโน้มพัฒนาการอันนี้.

กำเนิด Poststructuralism (แนวคิด หลังโครงสร้างนิยม")

ในช่วงเวลานั้น เมื่อ"ระเบียบวิธีโครงสร้างนิยม" กำลังแผ่ขยายไปสู่สาขาวิชาเกี่ยวกับสัญญศาสตร์(semiotics), ปฏิกริยาในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ได้เกิดขึ้น, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฝรั่งเศส, ซึ่งมันได้นำไปสู่โครงการที่เป็นความขัดแย้งในทางตรงข้ามและการแตกแยก อย่างเช่น schizoanalysis หรือ "การวิเคราะห์ทางจิตเภท" ของ Gilles Deleuze, Deconstruction หรือ "การรื้อโครงสร้าง" ของ Jacques Derrida, และ genealogy หรือ ยีนศาสตร์ (ว่าด้วยการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษในอดีต) ของ Michel Foucault, และ semanalysis หรือ "การวิเคราะห์ความหมายของคำศัพท์" ของ Julia Kristeva. สกุลทางความคิดที่สำคัญๆเหล่านี้ได้มีการรวมตัวกันและได้รับการปิดป้ายเป็น Poststructuralism ในสหรัฐอเมริกา.

แม้ว่าจะมีข้อวิพากษ์วิจารณ์อันหลากหลายเกี่ยวกับ โครงสร้างนิยม, แต่มันก็ได้ให้กำเนิดผลงานที่สำคัญขึ้นมาเป็นจำนวนมาก และให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการต่อไป.

เพื่อที่จะเข้าใจ Structuralism ได้ดีขึ้น, คำอธิบายโดยสังเขปต่อไปนี้จะช่วยให้เราได้เข้าใจมากขึ้น. โครงสร้างนิยม บ่อยครั้ง มีความเชื่อมโยงกันกับนักวิชาการ อย่างเช่น Culler, Saussure, Levi-Strauss. ตามข้อเท็จจริง, มันได้มีส่วนที่คล้ายคลึงกันกับปรัชญาของ Nietzsche และ Kant

1. ภาษาเป็นระบบหนึ่งของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์(signs)ที่แสดงความคิดออกมา
2. เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่างๆเป็นไปตามอำเภอใจ(ไร้เหตุผล) ยกตัวอย่างเช่น ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง signifier (ตัวบ่งชี้)(คือ "คำ"หรือ word) กับ signifed (สิ่งที่ถูกบ่งชี้)(วัตถุที่คำๆนั้นพยายามจะบ่งถึง)
3.
เพียง"ระบบ"เท่านั้น(ยกตัวอย่างเช่น กฎไวยากรณ์หรือโครงสร้างของภาษา)ได้ให้ความหมายต่างๆกับ"เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์(signs)" (ยกตัวอย่างเช่น คำเขียน คำพูด เสียง ภาพ ฯลฯ)
4. มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างความหมายโดยผ่านภาษา แต่ภาษาได้พูดกับมนุษย์
5. ภาษาได้สร้างหรือสถาปนาความจริงสำหรับมนุษย์
6. การใช้ประโยชน์ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างต่อวัฒนธรรม กระทำในฐานะที่เป็นส่วนทั้งหมด ท มนุษย์ - ภาษา - วัฒนธรรม
7. วัฒนธรรมเป็นระบบการบ่งชี้อันหนึ่งคล้ายภาษา, ยกตัวอย่างเช่น โลกเป็นเพียงตำราเล่มหนึ่ง, ความหมายของมันได้ถูกกำหนดโดยวัฒนธรรม

Kai H. Kwok
Mon Feb 16 12:09:48 EST 1998

หลักการบางอย่างเกี่ยวกับ Structuralism

แนวคิด Poststructuralism เป็นทัศนะอันหนึ่งเกี่ยวกับภาษา หรือ วิธีการเชิงวิพากษ์ ที่สัมพันธ์กันกับนักคิดทฤษฎี การื้อโครงสร้าง(deconstructionists) อย่างเช่น Derrida, Barthes, Lacan, Lyotard, ฯลฯ

1. ความหมายที่มาจากภาษาไม่ได้ถูกกำหนดชัดลงไป แต่ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดย เรื่องที่พูด(speaking subject) 2. มากกว่าการพูดถึงความจริง(telling the truth), ปรัชญาได้สร้างความหมายขึ้นมา โดยการปิดบังอำพราง, กีดกัน หรือ ทำให้มันเป็นชายขอบของคำศัพท์ต่างๆ
3. ดังนั้น เราจึงควรที่จะรื้อโครงสร้าง(deconstruct)ตำรับตำรา และการตีความหรือแปลความหมายที่นำมาใช้อย่างเท่าเทียมกัน
4. อำนาจได้ปฏิบัติการโดยผ่านโครงสร้างทางสังคมที่สลับซับซ้อน(power operates through complex social structures)
5. ความรู้และความจริงเป็นเพียงไอเดียหรือความคิดต่างๆ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างถึงราก(knowledge and truth are ideas that can change radically)
6.
ยกตัวอย่างเช่น, บรรดานักวิทยาศาสตร์อาจใช้สิ่งที่เรียกว่า ความจริงทางวิทยาศาสตร์ เพื่อกดขี่หรือบีบบังคับธรรมชาติ หรือศาสนาอาจใช้คำสอนเพื่อควบคุมผู้ศรัทธาหรือผู้มีความเชื่อทั้งหลาย
7. ภารกิจของนักรื้อโครงสร้าง(deconstructionist) ไม่ใช่ต้องการที่จะค้นหาสิ่งที่ "เนื้อหาข้อความ" หมายถึงในเชิงวัตถุวิสัย, แต่เพื่อที่จะเปิดเผยความขัดแย้งทางภาษาศาสตร์ และแสดงถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ หรือวาระทางการเมืองที่อยู่ข้างใต้มัน

Kai H. Kwok
Mon Feb 16 12:09:48 EST 1998
(Note: this article has been abstracted from the Grolier Encyclopedia)

อ่านต่อหน้าถัดไป

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หลักการบางอย่างเกี่ยวกับ Poststructuralism
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
Contents
member
back to home