มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ความคิดและจิตวิเคราะห์ของลากอง
Lacan and psychoanalysis เขียนโดย Madan Sarup
จากหนังสือ An Introductory Guide to Post-structuralism and Postmodernism
แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
[บทความนี้ยาวประมาณ 21 หน้ากระดาษ A4]
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า เรื่องธรรมาธิษฐานของฝ่ายพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่ยาก คนโบราณจึงพยายามแปลเรื่องธรรมธิษฐานนั้นให้เป็นบุคคลาธิษฐาน หรือทำให้เรื่องธรรมมะเป็นรูปธรรมขึ้นมา และเข้าใจง่ายขึ้น
เก่าไปกว่านั้น คือศาสนา-ปรัชญาในยุคบุพกาล การอธิบายเกี่ยวกับการกำเนิดโลก และการกำเนิดชีวิต ก็สร้างให้เป็นตัวตนบุคคลขึ้นมา(personalization) โดยยกให้เป็นเรื่องของทวยเทพ ระหว่างเทพปิตาและเทพมาตาเป็นผู้สร้าง โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการให้ภาพในเชิงเปรียบเทียบที่เห็นกันชัดเจนในตัวอย่างของมนุษย์
สำหรับบทความเรื่อง"ความคิดจิตวิเคราะห์ของลากอง" ไม่มีอะไรเช่นนั้น ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้โดยผ่านตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมอันชัดเจนอย่างปกรณัมหรือตำนานธรรมข้างต้น ด้วยเหตุนี้ บทความที่เราจะอ่านกันต่อไปจึงยาก และซับซ้อน และไม่เหมาะที่จะเป็นเรื่องอ่านกันเพลินๆ
สำหรับผู้สนใจในปัญหาเชิง"ปรัชญา-จิตวิเคราะห์" ซึ่งเคยติดตามงานของ Freud และสานุศิษย์ของเขามาอย่างใส่ใจ เรื่องนี้อาจเป็นการเพิ่มเติมบรรทัดที่เขียนจบไปแล้วโดย Freud แต่มันยังเป็นเพียงการเริ่มต้นที่ Lacan จะมาต่อเติมเพิ่มความสมบูรณ์ต่อกระบวนการศึกษาจิตวิเคราะห์ในประวัติศาสตร์อีกย่อหน้าหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะอ่านบทความนี้ ผู้แปลและเรียบเรียงขออนุญาตเสนอแนะว่า ผู้สนใจศึกษาควรเริ่มต้นที่บทความ"ลากองและจิตวิเคราะห์"ก่อน อันเป็นบทความลำดับที่ 211 ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หลังจากนั้นจึงกลับมาอ่านงานชิ้นนี้ อย่างช้าๆ และตั้งใจ (ข้อแนะนำเพิ่มเติมให้ผู้อ่าน อ่านกวาดไปรอบหนึ่งก่อน แล้วกลับมาอ่านซ้ำอีกครั้งในภายหลัง)
หลังจากจบบทความชิ้นนี้แล้ว ผู้อ่านจะพบว่า คำอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการของชีวิตมนุษย์เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเพียงใด และการสร้างตัวตนของมนุษย์ขึ้นมาเป็นเรื่องที่พิศดารมากน้อยแค่ไหน นับจากวัยทารกจนกระทั่งตาย เราแสวงหาหรือปรารถนาเพื่อความสมบูรณ์กันอย่างไร
และท้ายที่สุด หากเรามีมุมมองหรือมิติความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตัวตนในพุทธศาสนา คำอธิบายของลากองที่เป็นมาโดยตลอดซึ่งวิวัฒน์มาจากแบบแผนความคิดตะวันตก อาจเป็นคนละเรื่องกับแบบแผนความคิดตะวันออก ซึ่งซับซ้อนไม่แพ้กัน
หัวข้อสำคัญสำหรับบทความชิ้นนี้ประกอบด้วย "ตัวตนและภาษา (Self and Language)", "ตัวตนและเอกลักษณ์ (Self and identity)", "ฟรอยด์และลากอง (Freud และ Lacan)", "เฮเกลและลากอง (Hegel and Lacan)", นายกับทาส (Master and Slave), เอกลักษณ์และการปฏิเสธ (Identity and negativity), การมีลักษณะเฉพาะและความเป็นสากล (Particularity and universality), ความปรารถนาเพื่อความปรารถนา (The desire for desire), ความรู้สึกเกี่ยวกับการสูญเสีย (The sense of loss), เกี่ยวกับจินตนาการ, สัญลักษณ์ และความจริง (The Imaginary, the symbolic and the real), การวิจารณ์บางอย่างเกี่ยวกับลากอง (Some criticisms of Lacan), ข้อวิจารณ์ต่างๆของนักสิทธิสตรีเกี่ยวกับลากอง (Feminist criticisms of Lacan)
ตัวตนและภาษา (Self and
Language)
ทฤษฎีของ Lacan ไม่สามารถถูกนำเสนอได้อย่างสอดคล้องต้องกัน หากปราศจากการพูดถึงเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของภาษา.
เขามีทฤษฎีที่สมบูรณ์อันหนึ่งเกี่ยวกับภาษา ซึ่งได้นำไปเชื่อมโยงกันกับความมีตัวตน(subjectivity-อัตวิสัย)
เขาเชื่อว่ามันไม่สามารถที่จะมีตัวตนมนุษย์คนหนึ่งได้โดยปราศจากภาษา แต่ตัวตนนั้นก็ไม่สามารถที่จะถูกลดทอนลงไปให้เหลือเพียงภาษาได้เช่นกัน
อันนี้คือความสัมพันธ์ที่เป็นวงกลมอันหนึ่ง(ไม่ใช่ความเป็นไปทั้งสองอย่าง) ซึ่งภาษามีความพิเศษ. Lacan เขียน(ใน"The Mirror Stage")ว่า ภาษาสามารถที่จะกล่าวว่า มันจำแนกตัวตนที่เป็นอิสระ(subject)ออกมา. มันคือรูปการณ์อันนี้ที่ได้แยกสังคมออกมาจากโลกธรรมชาติ. ไม่มีตัวตนอิสระแยกออกจากภาษา
Lacan ค่อนข้างติเตียนและวิจารณ์คนเหล่านั้นที่พบปะกันเป็นกลุ่มบำบัด ซึ่งมีแนวโน้มปฏิเสธบทบาทและความสำคัญเกี่ยวกับภาษาพูด และบ่งนัยะว่า ร่างกายและอากัปกริยาต่างๆมีความตรงไปตรงมากกว่า
ในขณะที่ Saussure แสดงนัยะว่า ในบางครั้ง พวกเราสามารถมายืนอยู่นอกภาษาได้, Lacan กลับยืนยันว่า พวกเราทั้งหมดต่างจ่อมจมอยู่ในภาษาชีวิตประจำวัน และไม่สามารถหลุดออกมาจากมันได้. มันไม่มีอะไรอย่างนั้น metalanguage (เหนือภาษา). พวกเราทั้งหมดต้องแทนตัวของเราเองด้วยภาษา. อันที่จริงการเข้าหาคนอื่นๆของพวกเราทำได้เพียงผ่านภาษาเท่านั้น. (ตามความคิดของ Lacan คนป่วยโรคจิต คือบุคคลซึ่งไม่ได้เรียนรู้ว่าภาษาคืออะไร)
Saussure เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างคำบ่งชี้(signifier-word)และแนวความคิดเกี่ยวกับคำๆนั้น(signified-concept)มีเสถียรภาพและการคาดทำนายได้. เขาอ้างถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับคำบ่งชี้เฉพาะที่มีหลักยึดเหนี่ยวต่างๆ(anchoring particular signifiers-words) กับ แนวความคิดเกี่ยวกับคำบ่งชี้ที่ชี้เฉพาะ(particular signifieds-concepts)เพื่อที่จะสร้างเครื่องหมายต่างๆทางภาษาขึ้นมา
อีกด้านหนึ่งนั้น ในทัศนะของ Lacan ความหมายปรากฎตัวขึ้นมาโดยผ่านคำอธิบายเท่านั้น อันนี้เป็นผลที่ตามมาของการเข้าแทนที่ตามห่วงโซ่การบ่งชี้. คล้ายคลึงกับ Derrida, Lacan ยืนยันในความสามารถที่เปลี่ยนแปลงได้ของแนวความคิดบ่งชี้(signified-concept), ในความสามารถเกี่ยวกับแนวความคิดบ่งชี้ทุกอย่างถึงบทบาทหน้าที่ตามลำดับในฐานะคำบ่งชี้หนึ่ง(a signifier-word). แน่นอน ผลที่ตามมาเกี่ยวกับสถานะที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของภาษาก็คือว่า แนวความคิดบ่งชี้(signified-concept)มักจะเป็นสิ่งที่จัดหามาเสมอ
ในทัศนะ Lacanian เกี่ยวกับภาษา คำบ่งชี้(signifier-word) มักจะแสดงถึงคำบ่งชี้(signifier-word)อีกคำหนึ่ง; ไม่มีคำใดๆที่เป็นอิสระจากความสามารถอุปมาอุปมัยได้ (การอุปมาอุปมัยเป็นคำบ่งชี้หนึ่ง[signifier-word]ในที่ทางของอีกคำหนึ่ง)
Lacan พูดถึง Glissement (Slippage, slide - การลื่นไถล)ไปตามห่วงโซ่การบ่งชี้, จากคำบ่งชี้หนึ่ง(signifier-word)ไปสู่คำบ่งชี้อีกคำหนึ่ง(signifier-word). เมื่อคำบ่งชี้(signifier-word)ทุกๆคำสามารถรับการบ่งชี้ในลักษณะย้อนกลับได้, ข้างหลังข้อเท็จจริง, ด้วยเหตุนี้มันจึงไม่มีการบ่งชี้ใดๆที่ถูกปิดไปตลอด หรือเป็นที่พึงพอใจไปตลอด แต่ละคำเป็นเพียงสิ่งที่สามารถบัญญัติขึ้นมาได้ในเทอมต่างๆของคำอื่นๆ
ยิ่งไปกว่านั้น แต่ละคำที่เปล่งออกมา มันได้สร้างความหมายที่สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อประโยคได้ถูกทำให้จบลงเท่านั้น; และบางที เป็นเพียงคำสุดท้ายจริงๆเท่านั้นที่เปล่งออกมา ซึ่งได้สร้างความหมายหรือความเข้าใจที่บริบูรณ์ของคำแต่ละคำที่มาก่อนในลักษณะย้อนกลับ
จากทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกพูดออกมา มันไม่สามารถที่จะได้รับการคาดเดาได้ว่า อะไรที่กำลังถูกพูดออกมา. "ประโยค"ใดๆก็ตามสามารถที่จะได้รับการผนวกเข้าไปเสมอ. ไม่มีประโยคใดที่ได้รับการทำให้อิ่มตัวอย่างสมบูรณ์
มันไม่มีความเชื่อมโยงโดยธรรมชาติระหว่างคำบ่งชี้(signifier-word) กับ แนวความคิดบ่งชี้(signified-concept). ในทางจิตวิทยา, เป็นตัวอย่าง, คำบ่งชี้คำหนึ่ง(signifier-word)จะเป็นตัวแทนหรือสับเปลี่ยนสำหรับอีกคำหนึ่ง. คำบ่งชี้เก่าๆ(old signifier-word) และสิ่งที่มันบ่งชี้ถึงจะถูกผลักลงไปสู่ระดับจิตไร้สำนึก
ในเส้นทางของช่วงชีวิตหนึ่ง ปัจเจกชนแต่ละคนได้สร้างห่วงโซ่เกี่ยวกับการบ่งชี้ขึ้นมามากมาย, มักจะเป็นสิ่งแทนศัพท์ใหม่ๆสำหรับคำศัพท์เก่าๆ และมักจะเพิ่มระยะห่างระหว่างคำบ่งชี้(signifier-word) ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าหาได้ง่ายและมองเห็นได้ และเหล่านั้นทั้งหมดคือจิตไร้สำนึก
เป็นความจริงที่ว่าในช่วงปลายชีวิตของเขา Lacan กลายเป็นคนที่ให้ความสนใจในความเป็นไปได้เกี่ยวกับ การแสดง"กฎของจิตไร้สำนึก"ออกมาในเทอมต่างๆของข้อความทางคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่า"mathemes"; คนบางคนเชื่อว่า อันนี้เป็นเพราะเขาเชื่อว่า โดยผ่านกระบวนการของการทำขึ้นมาให้เป็นรูปร่าง พวกเราอาจสามารถที่จะค้นพบสิ่งที่พวกเราไม่สามารถทำให้เป็นคณิตศาสตร์ได้
เพื่อแสดงให้เห็นภาพว่า มันไม่มีความหมายกำกวม, Lacan ได้ได้เล่าถึงเรื่องราวดังต่อไปนี้:
รถไฟขบวนหนึ่งได้แล่นมาเทียบชานชาลาสถานี. เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงซึ่งเป็นพี่น้องกัน นั่งอยู่ในห้องๆหนึ่งในตู้รถไฟลักษณะเผชิญหน้ากัน เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่างๆผ่านสิ่งซึ่งเป็นอาคารสิ่งก่อสร้างทั้งหลายที่ทอดไปตามชานชาลาสถานี อาคารเหล่านี้ถูกมองเห็นในลักษณะที่กำลังผ่านไป ขณะที่รถไฟกำลังถูกลากไปจอดยังจุดหมายปลายทาง. "มองดูซิ"พี่ชายบอก, "เรามาถึงที่แล้ว สุภาพสตรี"!;(we're at Ladies)(หมายถึงห้องน้ำผู้หญิง) "อีเดียท!" น้องสาวร้องตอบ, เธอไม่เห็นหรือ ที่เรามาหยุดมันเป็นสุภาพบุรุษ"(Can't you see we're at Gentlemen)(หมายถึงห้องน้ำผู้ชาย)
ในเรื่องเล่านี้ เด็กแต่ละคนสามารถมองเห็นเพียงหนึ่งในหลายห้องเท่านั้น; เด็กแต่ละคนมองเห็นสิ่งที่สอดคล้องกันของแต่ละคนเท่านั้น ระหว่างคำ(word)กับสิ่งที่เห็น(thing)" - วิธีการอันหนึ่งของความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง คำที่บ่งชี้(signifier-word) กับ แนวความคิดบ่งชี้(signified-concept) ทั้งหมดนั้นไม่เพียงพอ
หมายเหตุไว้ว่า สิ่งที่เด็กผู้หญิงมองเห็นนั่นคือ"สุภาพบุรุษ"(ห้องน้ำผู้ชาย) ส่วนเด็กผู้ชายมองเห็น"สุภาพสตรี"(ห้องน้ำผู้หญิง), ประหนึ่งว่า เด็กคนหนึ่งเห็นเพศนั้น อีกคนหนึ่งไม่เห็นเพศนั้น. โดยผ่านการกำหนดในทางชีววิทยาของการนั่งที่ด้านหนึ่งของห้อง หรืออีกด้านหนึ่ง แต่ละเพศถูกวางอยู่ในโครงสร้างหนึ่ง และอันนั้นทำให้ไม่สามารถที่จะเห็นโครงสร้างนั้นได้. Lacan ดูเหมือนจะกำลังกล่าวว่า: พวกเราทั้งหมดต่างกำลังนั่งอยู่ในด้านหนึ่งของห้องหรืออีกด้านหนึ่ง; พวกเราทั้งหมดต้องตกอยู่ในความมืดบอดที่กำหนดโดยที่นั่งต่างๆของพวกเราในห้อง; มันไม่มีหนทางอื่นของการอยู่บนขบวนรถไฟ(ห่วงโซ่)
ตัวตนและเอกลักษณ์ (Self
and identity)
ควรได้รับการเน้นว่า Lacan ใช้ไอเดียเกี่ยวกับเรื่องเด็กคนหนึ่งมาก่อนเรื่องกระจกเงา
ในฐานะที่เป็นการอุปมาอุปมัย. ความคิดเกี่ยวกับภาพสะท้อนเป็นความร่วมกันอันหนึ่ง(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในปรัชญาอุดมคตินิยมเยอรมัน) ที่กำเนิดมาจาก Hegel
ในปรัชญาของ Hegel นี้ ได้ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับคำถามต่างๆอย่างเช่น: อะไรคือความสำนึกของตัวตนๆหนึ่ง? เรารู้จักตัวตนได้อย่างไร? อะไรคือบางสิ่งอันนั้น ที่สะท้อนความสำนึกย้อนกลับไปในตัวของมันเอง? ในความสำนึกเกี่ยวกับตัวตน ตัวตนและวัตถุเป็นสิ่งเดียวกัน; แต่เราสามารถสะท้อนตัวตนนั้น และสะท้อนการสะท้อนนั้นได้ไหม? ตัวตน นั่นคือตัวตนของความสำนึก เราสามารถที่จะยึดจับตัวตนของความสำนึกได้ไหม? เมื่อเราเห็นตัวของเราเอง เราเห็นเพียงการมองครั้งหนึ่งเท่านั้น. เราไม่สามารถเข้าใกล้กว่าสิ่งที่เราเป็น. อันนี้ได้รับการเรียกว่า "ความไม่สิ้นสุดของการสะท้อน"
ความคิดแบบ Lacanian ที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือ"หลักวิภาษวิธีเกี่ยวกับการยอมรับ"(the dialectic of recognition). อันนี้อ้างอิงถึงไอเดียที่พวกเราได้ความรู้เกี่ยวกับพวกเราเป็นอะไรจาก คนอื่นๆตอบโต้กับเราอย่างไร. มันเป็นประโยชน์ในที่นี้ที่จะเปรียบเทียบการสนทนาของ D.W.Winnicott เกี่ยวกับบทบาทของกระจกเงากับทัศนะของ Lacan
Winnicott เสนอว่ากระจกเงาบานแรกคือใบหน้าของผู้เป็นแม่. เขาอ้างเหตุผลว่าผู้คนๆอื่นๆได้ให้ความมั่นคงเกี่ยวกับเอกลักษณ์ในตัวตนของเรา. บรรดานักสิทธิสตรีบางคนวิจารณ์เขา เพราะเขาได้โฟกัสลงไปบนบทบาทของแม่อย่างไม่มีการตั้งคำถาม. (ยิ่งไปกว่านั้น อะไรจะเกิดขึ้นถ้าหากว่าแม่ป่วย หรือถูกรบกวนทางจิต และไม่สามารถกลับมาให้เห็นเป็นภาพได้อีก?)
ในทางที่ตรงข้ามกันกับ Winnicott, Lacan กล่าวว่า พวกเราไม่เคยไปถึงภาพที่มั่นคงได้. เราพยายามตีความความสัมพันธ์ของเรากับคนอื่นๆ แต่มันมักจะเป็นไปได้ว่าจะเป็นการตีความผิดๆเสมอ. มักจะมีช่องว่างอันหนึ่งขึ้นมาอยู่เรื่อย และการรับรู้ผิดๆ. เราไม่เคยแน่ใจได้เลยสักครั้งเกี่ยวกับความหมายของคนอื่นที่โต้ตอบกับเรา. พวกเรามีไอเดียกันอันหนึ่งเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของเรา แต่นั่นมันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง; ภาพสะท้อนในกระจกเงาที่อยู่ข้างหลังมันพลิกกลับขึ้นมาอยู่ตรงหน้า
แนวความคิดของเราเกี่ยวกับตัวตน(self) คือตัวตนที่แยกออกมาต่างหากอันหนึ่ง ซึ่งในบางครั้งได้ไปเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับลัทธิปัจเจกชนนิยมของชนชั้นกลาง. (แต่อย่างไรก็ตาม Lacan ได้บอกใบ้ว่า นั่นมักจะเป็นเช่นนี้เสมอๆ)
Lacan ยังคงโจมตีบรรดานักจิตวิทยาชาวอเมริกันอย่างต่อเนื่อง (Erich Fromm และ Karen Horney) ซึ่งได้เน้นในเรื่องของอีโก้. ในทัศนะของเขา อีโก้ที่มั่นคงเป็นเพียงภาพลวงหรือมายาการ. พวกเราสามารถที่จะลอกคราบมายาการเหล่านี้ของอีโก้ได้เพียงในลักษณะ asymptotically (ในวิชาเรขาคณิต asymptote เป็นเส้นโค้งเส้นหนึ่งที่เข้าไปใกล้กับเส้นตรง แต่มันไม่เคยประชิดหรือแนบประกบกับเส้นตรงดังกล่าวได้เลย)เท่านั้น
Lacan ยืนยันว่า พวกเราไม่อาจที่จะกำหนดชุดของอัตลักษณ์ต่างๆให้แน่นอนตายตัวลงไปได้. อันนี้เป็นทัศนะซึ่ง Sartre ได้แสดงออกอย่างมากในเรื่อง Being and Nothingness. ในทฤษฎีของ Sartre ความสำนึกไม่เคยสามารถที่จะยึดจับตัวของมันเองได้. การสะท้อนกลับมักจะเปลี่ยนตัวตน(subject)ไปสู่การเป็นวัตถุ(object)เสมอ. Sartre ปฏิเสธไอเดียที่ว่า แรงขับต่างๆได้กำหนดความสำนึก. เขาเสนอว่า ขณะที่เรากล่าวว่า, "ฉันชอบอันนั้น - นั่นคือฉัน" เราได้ทำให้ตัวของเราเองกลายไปเป็นวัตถุ(object). พวกเรามักจะสร้างอัตลักษณ์ชุดหนึ่งขึ้นมาในลักษณะย้อนหลัง(retrospectively)
Sartre ยืนยันว่า พวกเราเป็นมากกว่าชุดของหมวดหมู่ที่กำหนดตายตัวอันหนึ่ง(a fix set of categories). เราไม่ควรคิดเกี่ยวกับตัวของเราเองในฐานะที่เป็นเพียงอัตลักษณ์ต่างๆชุดหนึ่งเท่านั้น. และไม่ควรที่จะไปยังอีกสุดขั้วหนึ่ง และนึกคิดหรือเชื่อว่า ตัวของพวกเรานั้นเป็น"สุญญตาอันบริสุทธิ์"(pure nothingness)
Lacan ให้เหตุผลว่า พวกเราไม่เคยมีความเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเราหรืออัตลักษณ์เลย. มันไม่เป็นความจริง ถ้าเผื่อความจริงมันหมายความว่า ปัจเจกบุคคลคนหนึ่งได้แสดงอัตลักษณ์ที่มีอยู่เดิมแต่กำเนิดของตนออกมา
สิ่งที่ชวนสงสัยเกี่ยวกับ"ความจริงที่อยู่ข้างใต้", เขาเขียน: "หากว่า"ความรู้ของมนุษย์"ที่ Freud นำมาไม่มีอะไรมากเกินไปกว่าความจริงที่ว่า มันคือสิ่งหนึ่งที่เป็นจริง, ถ้าเช่นนั้น ก็ไม่มีอะไรที่เป็นการค้นพบของ Freudian. Freud เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางของบรรดานักศีลธรรมนิยม
Lacan เน้นในจุดที่ว่า มันไม่มีตัวตนอิสระ(subject) เว้นแต่ในการเป็นตัวแทน แต่การเป็นตัวแทนนั้นไม่อาจยึดจับเราได้อย่างสมบูรณ์. ผมไม่สามารถนิยามทั้งหมดได้ และก็ไม่สามารถหลุดรอดการนิยามทั้งหมดไปได้เช่นกัน. ผมแสวงหาเพื่อตัวของผมเอง. Lacan เชื่อว่า พวกเรานำเสนอตัวของพวกเราเอง ซึ่งมักจะตกอยู่กับการตีความโดยคนอื่นๆ
อีกด้านหนึ่งนั้น ความพยายามใดๆที่จะรวบยอดใครคนใดคนหนึ่ง เพื่อจับคว้าคนๆนั้นอย่างสมบูรณ์ จะประสบกับความล้มเหลว - ไม่มีคำอธิบายใดที่จะไปกำหนดตัดสินคนอื่นๆได้. ยิ่งไปกว่านั้น คนๆหนึ่งสามารถเพียงเห็นตัวของคนๆนั้นเองเท่านั้น ดังเช่นที่ คนๆหนึ่งคิด คนอื่นๆมองเห็นคนๆนั้น
มีความเครียดที่มีอยู่แต่กำเนิดอันหนึ่ง นั่นคือ ความรู้สึกเกี่ยวกับการคุกคาม เนื่องจากเอกลักษณ์ของคนๆหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับการรู้จักหรือยอมรับโดยคนอื่น. อันนี้คือแนวคิดหลักของเกี่ยวกับเรื่อง Master and Slave ของ Hegel ซึ่งจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวภายหลัง
สำหรับช่วงนี้ มีความจำเป็นที่จะกล่าวว่า Hegel ได้ให้เหตุผลว่า ความสำนึกไม่สามารถที่จะคว้าจับตัวของมันเองได้โดยปราศจากการรู้จักหรือยอมรับโดยคนอื่นๆ. นาย(Master)เรียกร้องการยอมรับจากทาส(Slave) แต่อันนี้มันเป็นกระบวนการกำจัดหรือทำลายตัวตนอันหนึ่ง. เขารู้สึกถูกคุกคาม เพราะการยอมรับตัวของเขาเองนั้นขึ้นอยู่กับทาสโดยเฉพาะ
เพื่อวางหลักทั่วๆไปจาก เรื่องราวอันนี้ เราต้องลดทอนคนอื่นๆลงสู่การเป็นเครื่องมือ - นั่นคือ คนอื่นกลายเป็นกระจกเงาบานหนึ่ง. มันคือช่วงหนึ่งของการล่วงละเมิด เมื่อเราต้องการเอาชนะการอาศัยพึ่งพาของเรา. (บ่อยครั้ง เราได้ยินคนเขาพูดกันว่า: "ผมยืนยันในความเป็นอิสระของตัวผม")
แต่ทว่า มันเป็นเรื่องซึ่งเป็นไปได้เกี่ยวกับการยอมรับซึ่งกันและกันจริงหรือ ? Lacan เสนอว่า ความเป็นตัวตนระหว่างกันไม่สามารถที่จะบรรลุได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องเพราะเราไม่เคยสามารถเข้าไปในความสำนึกของอีกคนหนึ่งได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง
การยอมรับหรือรู้จักกันและกันอย่างเต็มที่เป็นเรื่องซึ่งเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากนัยะอันคลุมเครือของคำต่างๆ(signifiers). มันมีช่องว่างอันหนึ่งระหว่างการพูดและความหมาย. ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ชวนให้ระลึกถึง Sartre ซึ่งกล่าวว่า เมื่อเรารักคนๆหนึ่ง เราต้องการความรักของคนๆนั้น - และท่าทีอันนี้ทำให้ความรักเป็นเครื่องมือ
ในขณะที่คนๆหนึ่งเป็นประธาน อีกคนหนึ่งเป็นกรรม. Lacan สังกัดกับขนบจารีตที่เชื่อว่า ประธานและกรรมได้ถูกแยกออกจากกันอย่างไม่ประนีประนอม. โดยไม่ต้องสงสัย เขามีความคิดในเชิงภววิทยาอันหนึ่ง(ontology - ทฤษฎีที่ว่าด้วยความจริงในระดับเมตาฟิสิกส์): พวกเราทั้งหมดมีความต้องสำหรับความเป็นทั้งหมด ความต้องการอันหนึ่งสำหรับสถานะของความเป็นเอกภาพอันยืนยาว แต่การบรรลุผลความสมบูรณ์นั้น เป็นสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้ในเชิงตรรก
ฟรอยด์และลากอง (Freud
และ Lacan)
มีความแตกต่างกันมากมายระหว่าง Freud และ Lacan และในส่วนต่อไปนี้จะได้มีการสนทนากันถึงเรื่องดังกล่าวในบางประเด็น.
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะโฟกัสลงไปตรงที่แนวความคิดซึ่งแตกต่างกันในเรื่องเกี่ยวกับอีโก้(ego),
จิตไร้สำนึก (unconscious), ความฝัน(dream), และปมออดิปัส(Odipus complex)
ผลงานช่วงต้นๆของ Freud ในเรื่องอีโก้ถูกเชื่อมโยงกับหลักของความเป็นจริง(reality principle), และจิตไร้สำนึกถูกนำไปสัมพันธ์กับหลักของความพึงพอใจ(pleasure principle)
ต่อมาภายหลัง Freud ได้รื้อหลักการใหม่ในทฤษฎีของเขา: นั่นคือ อีโก้ได้ถูกสร้างตัวขึ้นมาโดยผ่านกระบวนการจำแนกหรือเอกลักษณ์อันหนึ่งโดยผู้เป็นพ่อและแม่. จุดสำคัญในที่นี้ซึ่งควรบันทึกไว้คือ Freud ไม่เคยบอกว่า อีโก้เป็นภาพลวงหรือมายาการเลย
ข้อถกเถียงของ Lacan เป็นไปตรงกันข้ามกับข้างต้น. เขาเชื่อว่ากระบวนการจำแนกหรือเอกลักษณ์ดังกล่าวทำให้ปัจเจกบุคคลมั่นคง แต่ในเวลาเดียวกันมันก็ทำให้เราห่างจากตัวของเราเองด้วย. เขากล่าวว่า Freud เริ่มต้นจากแรงขับต่างๆของปัจเจกชน และความพึงพอใจต่างๆของพวกเขา และนั่นทำให้เขาไม่สนใจมิติต่างๆทางสังคม. อย่างไรก็ตาม สำหรับ Lacan ความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนกับตัวตน(subject-to-subject relation), สิ่งที่เราเรียกว่าความเป็นตัวตนระหว่างกัน(intersubjectivity) เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วมาตั้งแต่ต้น
Freud เชื่อว่าเป้าหมายของการวิเคราะห์ ต้องการที่จะบูรณาการแรงขับรวมเข้ากันกับ"ความกลมกลืนของอีโก้". แน่นอน Lacan ไม่เคยใช้วลีดังกล่าวนี้เลย. ขณะที่ Freud เห็นจิตไร้สำนึกมีแง่มุมอันหนึ่งเกี่ยวกับการคุกคาม ในทัศนะของ Lacan มันคือตำแหน่งของความจริง(truth), ของความแท้จริง(authenticity). กระนั้นก็ตาม Lacan เชื่อว่า จิตไร้สำนึกไม่สามารถที่จะเป็นเนื้อหาอันหนึ่งของความรู้ได้; อีโก้ได้ฉายตัวของมันเอง และต่อมาก็ล้มเหลวที่จะรู้จักตัวของมันเอง. ความรู้เรื่องตัวตน(self-knowledge), ความคิดที่ว่าตัวตนสามารถสะท้อนตัวของมันเองได้ เป็นเรื่องซึ่งเป็นไปไม่ได้
ขณะที่ Freud ดูเหมือนจะมีความเชื่อในจิตไร้สำนึกในฐานะที่เป็นแนวความคิดที่มีแก่นแท้อันหนึ่ง สำหรับ Lacan "จิตไร้สำนึกไม่มีที่ทางที่แท้จริงของคำอธิบายอีกอันหนึ่ง". Lacan ประกาศว่า จิตไร้สำนึกไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งมีมาแต่แรกเริ่มและไม่ใช่สัญชาตญาน. จิตไร้สำนึกเป็นสิ่งที่มีนัยะ(ไม่ใช่แสดงออกตรงๆ)ในทุกๆสิ่งในสิ่งที่เราพูดและทำ
แต่อย่างไรก็ตาม ในการพยายามที่จะจับคว้าจิตไร้สำนึก เราจะไม่สามารถจับคว้ามันมาได้ - คล้ายกับ"Twice-lost Eurydice"(Eurydice - เป็นชื่อมเหสีของ Orpheus(นักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่)ในตำนานกรีกโบราณ เมื่อภรรยาของเขา Eurydice ถึงแก่กรรมลง เขาได้ไปหา Hades(ยมบาล)เพื่อทำให้ให้เธอฟื้นกลับมา แต่ก็ต้องพบกับความล้มเหลว). จิตไร้สำนึกคือสิ่งซึ่งเราไม่สามารถรู้จักได้ แต่อันนี้ไม่ได้หมายความว่า ความพยายามเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไร้ค่า
สองกระบวนการที่เป็นแกนกลางสำคัญในทฤษฎีของ Freudian คือ : กระบวนการแรกสุด ซึ่งได้ถูกนำไปสัมพันธ์กับจิตไร้สำนึก(ความคิดที่ปราศจากเหตุผล[irrational thought]), ส่วนกระบวนการอันที่สอง ได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับจิตสำนึก(ความคิดในเชิงตรรก[logical thought])
เมื่อวัตถุของความพึงพอใจได้ถูกปฏิเสธและชีวิตประสบกับความยุ่งยาก บ่อยทีเดียวที่เราจะถอนตัวจากความเป็นจริง และเอาชนะความคับข้องใจโดยการสร้างภาพหลอนที่ไม่มีอยู่จริงขึ้นมา. แต่หลังจากช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อที่จะทำให้เราอยู่รอด หลักของความเป็นจริงก็จะเข้ามามีบทบาท. อีโก้จะเข้ามาแทรกแซง แยกสิ่งต่างๆออกไปและทำให้ภาพหลอนหรืออาการเพ้อดังกล่าวยุติลง. กระบวนการขั้นที่สองนี้จะถูกขัดจังหวะอย่างต่อเนื่องโดยจิตไร้สำนึก
ความมีเหตุมีผลของมนุษย์เป็นสิ่งที่เปราะบาง แตกหักง่าย ซึ่งจิตไร้สำนึกจะทำให้มันแตกออกเป็นชิ้นๆ. อีกครั้งที่ Lacan ปฏิเสธทัศนะของ Freud. สำหรับเขาแล้ว จิตไร้สำนึกไม่ใช่สิ่งซึ่งมีมาแต่เดิมและไม่ใช่สัญชาตญาน; การบวนการขั้นที่สองดูเหมือนจะเป็นกระบวนการขั้นปฐมยิ่งกว่าความคิดของ Freud
ในความฝันของเรา เราสามารถเห็นการปฏิบัติการของกระบวนการขั้นที่หนึ่งอันนี้. ดังที่ Freud กล่าว, มันเป็นความฝัน ซึ่งนั่นคือ"หนทางชั้นเยี่ยมที่นำไปสู่จิตไร้สำนึก". สำหรับ Lacan ความฝันไม่ใช่การเป็นตัวแทนภาพอันหนึ่ง: ความคิดมันปรากฏตัวขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง อันที่จริงความฝันเป็นเพียงเนื้อความ(thought it happens to be an image, a dream is a text):
ความฝันก็คล้ายๆกันกับเกมกีฬาในร่ม(parlour game) ซึ่งคนๆหนึ่งได้ถูกสมมุติให้เป็นผู้ดู เพื่อเดาคำพูดที่รู้จักกันอย่างดีบางคำ หรือแปลมันโดยลำพังด้วยการแสดงละครใบ้. ความฝันนั้นใช้คำพูดหรือคำบรรยายที่ไม่มีความแตกต่าง แต่สำหรับจิตไร้สำนึก มันมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นในท่ามกลางปัจจัยอันหลากหลายของการเป็นตัวแทน. ที่แน่ชัด มันเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ทั้งเกมและความฝันมันวิ่งขึ้นสวนกับความพร่องหรือไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับส่วนประกอบในด้านไวยากรณ์ สำหรับการเป็นตัวแทนของการเชื่อมต่อในเชิงตรรกที่เป็นความสัมพันธ์ความเป็นเหตุเป็นผลกันและกัน ความขัดแย้ง สมมุติฐาน ฯลฯ. ซึ่งพิสูจน์ว่าพวกมันคือรูปแบบหนึ่งของงานเขียนมากกว่าละครใบ้
ในความฝันของเรา กระบวนการเกี่ยวกับ"การอัดตัวกันแน่น"(condensation) และ"การเข้าแทนที่"(displacement)ได้เกิดขึ้น. ตามความคิดของ Lacan ในการรวมตัวกันแน่น มันคือการยัดเยียดที่พิศดารของเครื่องหมายต่างๆ(signifiers) ซึ่งการอุปมาอุปมัยดังกล่าวมันสมมุติให้เป็นบางสิ่งในห้วงความฝันนั้น
โดยเหตุนี้ ภาพลักษณ์ธรรมดาภาพหนึ่งจึงสามารถมีความหมายต่างๆที่แผกออกไปได้. การเข้าแทนที่ อีกความหมายหนึ่ง ถูกนำมาใช้โดยจิตไร้สำนึกเพื่อสกัดกั้นการตรวจสอบ และมันได้ถูกนำไปสัมพันธ์กับการเปรียบเปรย(metonymy - การเปรียบเปรยเช่น สีกากี หมายถึงตำรวจ)
แม้ว่า Lacan จะเชื่อว่า ความปรารถนาของความฝันก็คือต้องการที่จะสื่อสาร แต่เขาก็ไม่เคยกล่าวกับคนที่เคยผ่านประสบการณ์จิตวิเคราะห์ "นี่คือสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ" หรือ "อันนี้คือสิ่งที่ความฝันของคุณหมายถึงจริงๆ". ถ้าหากว่าเขาทำ อันนี้จะเป็นความแปลกแยกอีกอันหนึ่งไปในทันที. ในทัศนะของเขา ตัวตน(subject)เป็นกระบวนการอันหนึ่ง และไม่สามารถถูกนิยามความหมายได้
Freud ให้ความสนใจมากในความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม และเน้นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่เหนือธรรมชาติ. Lacan ปฏิเสธความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติภายในของมนุษย์. ธรรมชาติ สำหรับ Lacan เป็นความจริงซึ่งอยู่ข้างนอก แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะจับคว้าได้ในสถานะที่บริสุทธิ์อันหนึ่ง ทั้งนี้เพราะมันมักจะถูกสื่อโดยผ่านภาษา
ในผลงานของ Freud คนๆหนึ่ง ซึ่งรู้สึกรู้ทราบเกี่ยวกับรากฐานเกี่ยวกับธาตุแท้ของความโศกเศร้าในธรรมชาติ - การแบ่งออกเป็นสองขั้วทางวัฒนธรรม(culture dichotomy). ในความคิดของ Lacan ความโศกเศร้า นอนเนื่องอยู่ในข้อเท็จจริงที่ว่า พวกเรามีความพร่องหรือความขาดที่ถาวรเกี่ยวกับความเป็นทั้งหมด
Freud และ Lacan มีทัศนะที่แตกต่างเกี่ยวกับเรื่องปมออดิปัสด้วย. ในทฤษฎีของ Freud ปมออดิปัสจะต้องถูกทำความเข้าใจในบริบททฤษฎีของเขาเกี่ยวกับจิตวิทยาทางเพศ(psychosexuality).
ในขั้นตอนแรก, เกี่ยวกับเรื่องเพศของทารก ขั้นตอนที่ใช้ปาก(oral stage) มันเป็นขั้นตอนของความเพ้อฝันต่างๆเกี่ยวกับการรวมเข้าไปและการกลืน(incorporating and devouring)
ขั้นตอนที่สอง, ทวารหนัก/การใช้ความรุนแรง(anal/sadistic) ถูกนำไปสัมพันธ์กับการยอมจำนนและการมีอิทธิพล
ในขั้นตอนที่สาม, ขั้นอวัยวะเพศชาย(phallic stage) เด็กผู้ชายต้องการแม่ในลักษณะผูกขาด เขาถูกคุกคามโดยการตอน(castration)และพัฒนาความกลัวในเรื่องการไร้สมรรถภาพทางเพศขึ้นมา มันเป็นขบวนการจิตไร้สำนึกที่รับเอาความคิดหรือทัศนคติมาจากคนอื่น ซึ่งก็คือการคุกคามของพ่อนั่นเอง และในท้ายที่สุด ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับปมซับซ้อนอันนั้น
Lacan พยายามที่จะให้เหตุผลข้อสรุปของ Freud ดังกล่าว โดยไม่นำเอาปมออดิปัสมาใช้ตามความหมายนั้น. ด้วยเหตุที่ "พ่อออดิปัส"(Oedipal Father)ของ Freud อาจถูกยอมรับว่าจริง, พ่อในเชิงชีววิทยา, สำหรับ Lacan แล้ว "ในนามของพ่อ"(Name-of-the-father)ปฏิบัติการในการบันทึกหรือขึ้นทะเบียนของภาษา
ในนามของพ่อ((Name-of-the-father)เป็นกฎ. การกำหนดให้เป็นกฎความชอบธรรมเกี่ยวกับนามของของพ่อ(father's name) ให้กับทารกหมายความถึง การชะงักหรือยุติความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของผู้เป็นพ่อ
Lacan ไม่ได้ละทิ้งไอเดียเกี่ยวกับการเพ่งความสนใจลงไปที่ขั้นตอนปาก, ทวารหนัก, และอวัยวะเพศชาย, แต่เขากล่าวว่า ขั้นตอนต่างๆเหล่านี้เป็นขั้นตอนความเป็นตัวตนระหว่างกัน(intersubjective). ทฤษฎีของ Freud อ้างอิงถึงเรื่องทางกายภาพ และไม่ใช่เรื่องของสัญลักษณ์. ในทัศนะของ Freud องคชาติเป็นหลักประกันอันหนึ่งของการรวมกันที่เป็นไปได้อันหนึ่งกับมารดา. แต่ Lacan ได้แปรสภาพทั้งหมดนี้ไปสู่ระดับของสัญลักษณ์. อันนี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมเขาจึงไม่เขียนเกี่ยวกับองคชาติ(penis) แต่เขียนเกี่ยวกับเครื่องเพศ(phallus - คำนี้หมายถึงองคชาติและคลิตอรีสของผู้หญิงด้วย - และยังมีนัยะหมายถึงความสมบูรณ์ด้วย)
บรรดา Lacanians ทั้งหลาย ได้แยกความคิดเรื่อง penis (องคชาติ)และ phallus (เครื่องเพศ)ออกจากกัน พวกเขาให้เหตุผลว่า ไม่มี phallus (เครื่องเพศ)ที่ไม่เสมอภาค-ยุติธรรม; นั่นคือ ไม่มีเพศใดที่เป็นเช่นนั้น หรือมีเครื่องเพศแต่ผู้เดียว สำหรับองคชาติ(penis)คือสิ่งที่ผู้ชายมีแต่ผู้หญิงไม่มี แต่เครื่องเพศ(phallus)เป็นคุณลักษณะของพลังอำนาจ ซึ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิงมี
Lacan เสนอว่า ความเพ้อฝันของพวกเราทั้งหมดคือการเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของความปรารถนาสำหรับความเป็นทั้งหมด(wholeness). พวกเรามีแนวโน้มที่จะคิดว่า ถ้าหากเราต่างมีเครื่องเพศ หรือมีเครื่องเพศของคนอื่น ด้วยเหตุผลบางประการ เราจะเป็นทั้งหมด(be whole)
พูดอีกอย่างหนึ่ง เครื่องเพศ(phallus)คือเครื่องหมายของต้นตอความปรารถนาสำหรับการรวมกันที่สมบูรณ์กับคนอื่น. เครื่องเพศอ้างอิงถึงความอุดมสมบูรณ์(plenitude); มันคือเครื่องหมายของความเป็นทั้งหมดที่เราขาด
ยังมีความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่าง Freud กับ Lacan กล่าวคือคนแรกถือว่า คำอธิบายที่มีเหตุผลคือสิ่งที่เป็นไปได้ แม้ว่าบ่อยครั้งจะถูกทำให้บิดเบือนไปโดยอำนาจของจิตไร้สำนึก สำหรับ Lacan แล้ว คำอธิบายต่างๆได้สถาปนาจิตไร้สำนึกขึ้นมา ภาษาและความปรารถนาถูกทำให้เชื่อมกัน
ในทัศนะของ Lacan ความปรารถนาเป็นเรื่องของภววิทยา(ontological - ทฤษฎีที่ว่าด้วยความจริงในระดับเมตาฟิสิกส์) เป็นการต่อสู้ดิ้นรนอันหนึ่งเพื่อความเป็นทั้งหมดมากกว่าพลังอำนาจทางเพศ. "ความปรารถนาเป็นการเปรียบเปรยของความปรารถนาที่ต้องการจะอยู่"(Desire is the metonymy of the desire to want to be)
ขณะที่ Freud พูดถึงสัญชาตญานต่างๆและแรงขับ Lacan กลับพูดเรื่องความปรารถนา - แนวความคิดหนึ่งซึ่งมาจากการบรรยายของ Kojeve เกี่ยวกับ Hegel. คำบรรยายต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ดังที่ Lacan, Sartre และคนอื่นๆได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากคำบรรยายชุดนี้
Kojeve ได้อรรถาธิบายถึงการพัฒนาของความสำนึกเรื่องตัวตน(self-consciousness). Hegel ยืนยันว่า ความสำนึกเรื่องตัวตนพัฒนาออกมาจากตัวตนทางชีววิทยา(biological self). ความสำนึกเรื่องตัวตนจะไม่อาจเป็นไปได้ ถ้าหากว่าไม่ขาดหรือเกิดความพร่องทางอวัยวะ
การขาดหรือการพร่อง("ฉันรู้สึกหิว")ทำให้เรารู้สึกรู้ทราบเกี่ยวกับตัวของเราเองขึ้นมาในฐานะการดำรงอยู่ที่ต้องการบางสิ่งบางอย่าง. Hegel ดำเนินต่อไปว่า สำหรับความปรารถนาที่พัฒนาขึ้นมาในตัวเรา เราต้องการที่จะโฟกัสลงบนวัตถุหนึ่งโดยเฉพาะ. เมื่อเราปรารถนาไม่ใช่สิ่งๆหนึ่ง แต่เป็นความปรารถนาอีกอันหนึ่ง เราจึงกลายเป็นคน. ยิ่งไปกว่านั้น ความปรารถนาเป็นสิ่งซึ่งเคลื่อนไหวไปมาได้, ไม่อยู่นิ่งอยู่กับที่; ความปรารถนาสามารถที่จะถูกปฏิเสธได้อย่างต่อเนื่อง แต่มันยังคงดำเนินต่อไป
เฮเกลและลากอง (Hegel
and Lacan)
ตามสิ่งที่ Lacan ตั้งใจให้เรื่องของ"ความปรารถนา"หมายถึงนั้น เป็นเรื่องที่ได้รับการดึงมาจากแนวคิดของ
Hegel ในที่นี้ต้องการที่จะบรรยายให้ฟังอีกครั้งสำหรับส่วนที่จะอ่านต่อไป ซึ่งจะขอเริ่มในส่วนของเรื่องราวในเชิงอุปมาอุปมัยเกี่ยวกับ"นายกับทาส"(the
Master and the Slave)ก่อน แล้วจะพยายามอธิบายถึงแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับความต้องการ(need),
การเรียกร้อง และความปรารถนา(demand and desire)แบบ Lacanian ให้ชัดเจนขึ้นภายหลัง
สิ่งที่ตามมา อาจดูเหมือนนอกประเด็น แต่การพูดย้อนหรืออ้อมไปถึง Hegel นับว่าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะแนวเรื่อง"นายกับทาส" ในส่วนของ Marxist และ Nietzschean, มันได้ปรากฏตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในความคิดร่วมสมัยทางสังคม
Hegel ให้ข้อคิดเห็นว่า พวกเราทั้งหมดต่างรู้ว่า บุคคลซึ่งไตร่ตรองใคร่ครวญถึงสิ่งๆหนึ่งอย่างเอาใจใส่ จะถูกดูดซับโดยสิ่งๆนั้น และหลงลืมตัวของเขาเองไป. บางที เขาอาจพูดถึงสิ่งๆหนึ่ง แต่เขาไม่เคยพูดถึงตัวของเขาเองเลย; ในคำอธิบายของเขาคำว่า"ฉัน"จะไม่ปรากฎขึ้น
สำหรับคำนี้ที่ปรากฎขึ้น, บางสิ่งบางอย่างไม่เหมือนหรือแตกต่างจาก"การพิจารณาใคร่ครวญในเชิงรับ"(passive contemplation)ซึ่งจะต้องได้รับการนำเสนอ. และสิ่งอื่นนี้, ตามความคิดของ Hegel, ก็คือ"ความปรารถนา"(Desire). อันที่จริง เมื่อมนุษย์ประสบกับความปรารถนา "เมื่อเขาหิว"เป็นตัวอย่าง และรู้สึกรู้ทราบกับมัน เขาจะรู้สึกถึงตัวของเขาเองขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้. ความปรารถนามักจะได้รับการเปิดเผยต่อปัจเจกบุคคลในฐานะที่เป็นความปรารถนาของเขา, และเพื่อแสดงออกถึงความปรารถนา เขาจะต้องใช้คำว่า"ฉัน"
ความปรารถนาได้สร้างความกังวลใจให้กับผู้ปรารถนา และผลักให้เขาไปสู่การกระทำ. การกระทำมีแนวโน้มเพื่อสนองความพึงพอใจแก่ความปรารถนา แต่ทว่าสามารถจะทำเช่นนั้นได้โดย"การปฏิเสธ"(negation), การทำลาย หรืออย่างน้อยที่สุดการแปรรูปของวัตถุที่ปรารถนา: ยกตัวอย่างเช่น เพื่อสนองความพึงพอใจในความหิว อาหารจะต้องถูกทำลาย หรือในกรณีอื่นๆมันแปรเปลี่ยนไป
ด้วยเหตุนี้ การกระทำทั้งหมดจึงเป็น"การปฏิเสธ". ภาวะของการกิน สร้างและสงวนรักษาความจริงของตัวมันโดยการเอาชนะความจริงอันหนึ่งที่ต่างไปจากตัวมันเอง, โดยการแปรรูปของความจริงที่แปลกแยก ไปสู่ความจริงของตัวมันเอง, โดยกระบวนการย่อยหรือดูดซึม, การทำให้เป็นเรื่องภายใน(internalization), เกี่ยวกับความจริงภายนอกอันหนึ่ง.
พูดกันโดยทั่วไป, "ฉัน"ของความปรารถนา คือความว่างเปล่าอันหนึ่งซึ่งรับเอาเนื้อหาความเป็นจริงในเชิงบวกมาโดยการกระทำในเชิงปฏิเสธ ซึ่งสนองความพึงพอใจความปรารถนาในลักษณะทำลาย, แปรเปลี่ยนและย่อยซึมความปรารถนานั้นโดยไม่มีฉัน
ความปรารถนา, เป็นการเปิดเผยของความว่างเปล่าอันหนึ่ง, การปรากฏตัวขึ้นมาของการไม่มีอยู่, คือบางสิ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ถูกปรารถนาโดยเนื้อหาสาระ. ความปรารถนาถูกนำไปสู่ความปรารถนาอีกอันหนึ่ง, ความว่างเปล่าที่อยากได้อีกอันหนึ่ง, "ฉัน"อีกคนหนึ่ง.
ความปรารถนาเป็นเรื่องของมนุษย์เท่านั้น ถ้าความปรารถนาของคนๆหนึ่งไม่ใช่ร่างกาย แต่เป็นความปรารถนาของอีกคนหนึ่ง; นั่นต้องการจะพูดว่า, ถ้าเผื่อคนๆหนึ่งต้องการเป็นที่ปรารถนา หรือมากกว่านั้น, เป็นที่รู้จักในคุณค่ามนุษย์ของอีกคนหนึ่ง. ความปรารถนาทั้งหมดเป็นความปรารถนาเพื่อคุณค่าอันหนึ่ง. ปรารถนาความปรารถนาของอีกคนหนึ่ง จริงๆแล้ว คือปรารถนาการรู้จักและการยอมรับนั่นเอง
นายกับทาส (Master and
Slave)
ถ้ามันมีความหลากหลายของความปรารถนา ที่แสวงหาการยอมรับหรือเป็นที่รู้จักในลักษณะสากล
ก็เป็นที่ชัดเจนว่า การกระทำอันนั้นเป็นการให้กำเนิดของความปรารถนาต่างๆเหล่านี้ซึ่ง
- อย่างน้อยที่สุดตั้งแต่เริ่มต้น - ไม่สามารถเป็นอะไรได้เลยเว้นแต่การมีชีวิต
- และ - การต่อสู้กับความตาย
มันได้รับการสมมุติว่าการต่อสู้จะสิ้นสุดลง ณ หนทางอันหนึ่ง ที่ซึ่งทั้งปรปักษ์หรือคู่ต่อสู้ยังคงมีชีวิตอยู่. ปัจจุบัน ถ้าอันนี้เกิดขึ้นมา, คนๆหนึ่งจะต้องทึกทักว่า หนึ่งในคู่ต่อสู้ทั้งหลาย ชอบที่จะมีชีวิตอยู่มากกว่าตาย ยอมแพ้ต่อคนอื่นและจำนนกับเขา ยอมรับเขาในฐานะที่เป็นนายโดยปราศจากการถูกยอมรับจากเขา. นาย(the Master), ไม่สามารถที่จะยอมรับคนอื่นซึ่งยอมรับเขาได้, ซึ่งค้นพบตัวของเขาเองในภาวะที่อับจน
นายทำให้ทาสทำงาน เพื่อที่จะสนองความปรารถนาต่างๆของตัวเขา. เพื่อสนองความปรารถนาต่างๆของผู้เป็นนาย ทาสจะต้องอดกลั้นและควบคุมสัญชาตญานต่างๆของตนเอง (ยกตัวอย่างเช่น ในการตระเตรียมอาหารเพื่อนาย ซึ่งเขาจะไม่ได้กิน) เพื่อปฏิเสธหรือเอาชนะตัวของเขาเอง.
ทาสอยู่เหนือหรือเอาชนะตัวของเขาเองโดยการทำงาน นั่นคือ เขาให้การศึกษากับตัวของเขาเอง. ในงานของเขา เขาแปรเปลี่ยนสิ่งต่างๆและแปรเปลี่ยนตัวของเขาเองไปด้วยในเวลาเดียวกัน. ในการกลายไปเป็นนายของธรรมชาติโดยการทำงาน ทาสได้ปลดปล่อยตัวของเขาเองให้เป็นอิสระจากธรรมชาติ จากธรรมชาติของตัวเขาเอง และจากนาย(Master)
เป็นเพราะงาน ซึ่งเป็นการกระทำในเชิงสร้างสรรค์ของตนเองที่สามารถยกระดับเขาขึ้นมาจากความเป็นทาสสู่อิสรภาพ. อนาคตและประวัติศาสตร์ ต่อแต่นี้ไปไม่ใช่เรื่องของสงครามกับ"นาย" แต่กับ"งานทาส". ทาสได้เปลี่ยนตัวของเขาเองโดยการเปลี่ยนโลก
กล่าวโดยสรุป ตามความคิดของ Hegel มันคือการต่อสู้อันหนึ่งกับความตาย เพื่อจุดประสงค์ของการยอมรับ ที่นำไปสู่ความสัมพันธ์อันหนึ่งระหว่างมนุษย์ที่เป็นอิสระคนหนึ่งกับคนที่ถูกทำให้เป็นทาส. ดังนั้น มนุษย์จึงไม่เป็นนายก็เป็นทาสอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
แต่ความแตกต่างระหว่างนายกับทาส สามารถที่จะถูกเอาชนะได้ในวิถีแห่งกาลเวลา. เพราะฉะนั้น นายกับทาสจึง ไม่ใช่สิ่งกำหนดหรือเป็นอัตลักษณ์ที่มีอยู่มาแต่กำเนิด. มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเป็นทาสหรือเป็นอิสระ แต่ได้สร้างตัวของเขาเองขึ้นมาเป็นคนๆหนึ่ง หรืออีกคนโดยผ่านการกระทำที่เป็นอิสระหรือโดยความสมัครใจ. กล่าวสั้นๆ อัตลักษณ์ของนายกับทาสที่ตรงข้ามกัน เป็นหลักของแรงกระตุ้นเกี่ยวกับกระบวนการทางประวัติศาสตร์
ทั้งหมดของประวัติศาสตร์ไม่มีอะไรเลย เว้นแต่การปฏิเสธในเชิงที่ก้าวหน้า(progressive negation)ของความเป็นทาสโดยทาส. ในท้ายที่สุด ข้อสรุปของความเป็นนาย และการต่อต้านข้อสรุป(antithesis)ของความเป็นทาสจึงเป็นชัยชนะในลักษณะวิภาษวิธี
เอกลักษณ์และการปฏิเสธ
(Identity and negativity)
ขอบคุณต่อเอกลักษณ์ที่ทุกๆชีวิตซึ่งดำรงอยู่
ยังคงมีชีวิตความเป็นอยู่เดิมๆ ลักษณะเอกลักษณ์อันนิรันดร์ของตัวเองและแตกต่างจากคนอื่น.
แต่ก็ต้องขอบคุณต่อการปฏิเสธ ที่ชีวิตซึ่งดำรงอยู่อย่างมีเอกลักษณ์สามารถที่จะปฏิเสธ
หรือเอาชนะเอกลักษณ์ของมันได้ด้วยตัวของมันเอง และกลายเป็นสิ่งที่ต่างไปจากที่มันเป็น
แม้กระทั่งสิ่งตรงข้ามตัวมัน
เอกลักษณ์และการปฏิเสธไม่ได้ดำรงอยู่ในสถานะที่แยกออกไปต่างหาก. นั่นคล้ายๆกับความเป็นทั้งหมด(totality)ของตัวมันเอง ซึ่งพวกมันเป็นเพียงลักษณะหรือแง่มุมส่วนประกอบที่เติมเต็ม(complementary aspects)ของความเป็นหนึ่ง และเป็นภาวะความเป็นจริงของสิ่งเดียวกัน
ข้อสรุป(thesis) อธิบายถึงเนื้อหาที่กำหนดซึ่งการกระทำจะถูกประยุกต์ใช้ ส่วนการต่อต้านข้อสรุป(antithesis)เปิดเผยให้เห็นการกระทำอันนี้ของตัวมันเอง เช่นเดียวกับความคิดซึ่งกระตุ้นมันให้เคลื่อนไหว ขณะที่การสังเคราะห์(synthesis)ได้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ของการกระทำ นั่นคือ ผลผลิตที่ถูกทำให้สมบูรณ์และเป็นจริงในเชิงภววิสัย
ผลผลิตใหม่ได้ถูกกำหนดและกลายเป็นข้อสรุป(thesis) และสามารถที่จะปลุกเร้าการกระทำในเชิงปฏิเสธได้ต่อไป(antithesis). มนุษย์มักจะปฏิเสธสิ่งที่กำหนดมาเสมอๆ. การปฏิเสธคือการปฏิเสธเกี่ยวกับเอกลักษณ์
มนุษย์จริงๆแล้วมีอิสระ หรือมนุษย์อันที่จริงเพียงแค่ปฏิเสธอย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับความจริงที่กำหนดให้เท่านั้น. เพราะฉะนั้น การปฏิเสธจึงไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากอิสรภาพของมนุษย์. อิสรภาพซึ่งถูกเข้าใจหรือสำนึก และถูกแสดงให้ประจักษ์ในฐานะที่เป็นการกระทำในลักษณะวิภาษวิธี หรือการกระทำในลักษณะปฏิเสธ(dialectical and negating action) ด้วยเหตุนี้โดยสาระ แล้วมันจึงเป็นการสร้างสรรค์อันหนึ่ง
สิ่งที่ถูกนำไปเกี่ยวโยงไม่ใช่การแทนที่สิ่งที่กำหนดให้มาอันหนึ่ง โดยการกำหนดขึ้นมาอีกอันหนึ่ง แต่คือการเอาชนะการกำหนดนั้น ที่สนับสนุน-ส่งเสริมสิ่งที่ยังไม่มีอยู่
กล่าวสรุปสั้นๆ มนุษย์นั้นไม่มีเอกลักษณ์หรือการปฏิเสธอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงลำพังอย่างเดียว แต่คือความเป็นทั้งหมดหนึ่งเดียวหรือการสังเคราะห์; นั่นคือ เขาเอาชนะตัวของเขาเอง ขณะเดียวกันก็ธำรงรักษาและทดเทิดตัวของเขาเองให้สูงส่งขึ้น
ในทัศนะของผู้เขียน การสนทนากันเรื่องนี้ เป็นการส่งผลโดยตรงอันหนึ่งต่อการศึกษา. การศึกษาทั้งหมดมีนัยะของการปฏิเสธในตัวเอง(auto-negation)ชุดหนึ่งที่ทำกันมายาวนาน มันถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยพวกเด็กๆ. ดังที่ Kojeve ว่าไว้:
มันเป็นเพราะการปฏิเสธในตัวเอง(auto-negations)ต่างๆเหล่านี้ [ที่มีต่อการควบคุม - repression - การข่ม-ระงับ] ซึ่งเด็กทุกคนที่ได้รับการศึกษา พวกเขาไม่ใช่เพียงแค่เป็นสัตว์ที่ถูกฝึกเท่านั้น (ซึ่งได้สร้างเอกลักษณ์ต่อตัวเองและในตัวเองขึ้นมา) แต่พวกเขาคือมนุษย์ที่แท้คนหนึ่งและสิ่งมีชีวิตซึ่งมีความสลับซับซ้อน; แม้ว่าในกรณีส่วนใหญ่ พวกเขาเป็นมนุษย์เพียงในขอบเขตที่เล็กมาก เมื่อ"การศึกษา"(นั่นคือ, การปฏิเสธในตัวเองต่างๆ)โดยทั่วไป ได้ยุติลงอย่างฉับพลัน
การมีลักษณะเฉพาะและความเป็นสากล
(Particularity and universality)
การมีลักษณะเฉพาะ พาดพิงถึงตัวแทนปัจเจกบุคคล. คนทุกคน สำหรับขอบเขตอันนั้น เขาคือ"มนุษย์"
ซึ่งในด้านหนึ่งนั้น ชอบที่จะแตกต่างไปจากคนอื่นๆทั้งหมด. แต่ในอีกด้านหนึ่ง
เขาก็ต้องการการยอมรับและการเป็นที่รู้จัก ในการมีลักษณะเฉพาะพิเศษของตัวเขาเอง
ซึ่งเป็นไปในคุณค่าเชิงบวก; และเขาต้องการการยอมรับอันนี้ที่ถูกนำเสนออกมาให้เห็นโดยผู้คนจำนวนมาก
มากเท่าที่จะมากได้
ส่วนความเป็นสากลอ้างอิงถึงลักษณะทางสังคมเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์. มันเป็นเพียงใน และโดยการยอมรับที่เป็นสากลเกี่ยวกับการมีลักษณะเฉพาะของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งการเป็นปัจเจกบุคคลได้ตระหนักหรือสำนึก และแสดงให้ประจักษ์ในตัวของมันเอง
ความเป็นปัจเจกบุคคลคือ "การสังเคราะห์กันอันหนึ่งระหว่างลักษณะเฉพาะและความเป็นสากล". ความเป็นสากลคือ "การปฏิเสธ(negation)หรือการต่อต้านข้อสรุป(antithesis)เกี่ยวกับการมีลักษณะเฉพาะ" ซึ่งเป็นข้อสรุป(thetical)ที่กำหนดมา, เอกลักษณ์ของตัวเอง.
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง การเป็นปัจเจกบุคคลคือความเป็นทั้งหมดอันหนึ่ง(totality) และการดำรงอยู่ซึ่งเป็นปัจเจกในลักษณะวิภาษวิธี, โดยข้อเท็จจริง จริงๆ คนคือ และดำรงอยู่เพียงในขอบเขตที่ว่า เขาได้เอาชนะตัวของเขาเองในลักษณะวิภาษวิธี (ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ธำรงรักษาก็ทำให้ตัวเองสูงส่งขึ้นไป)
"ความตรงข้ามของการมีลักษณะเฉพาะ"และ"ความเป็นสากล"ในทัศนะของ Hegel ก็คือลักษณะมูลฐาน(fundamental). ในความคิดของเขา ประวัติศาสต์จะพัฒนาโดยการก่อตัวขึ้นมาของสังคม, ของรัฐ, ซึ่งคุณค่าของลักษณะเฉพาะที่เข้มงวด, ความเป็นส่วนตัว, ความเป็นปัจเจกของแต่ละคนได้รับการยอมรับในคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ ในการมีลักษณะเฉพาะมากๆของมัน โดยทุกๆคน. การสังเคราะห์กันระหว่างการมีลักษณะเฉพาะและความเป็นสากลจะเป็นไปได้ก็เพียงหลังจาก"การเอาชนะ"ความตรงข้ามกัน ระหว่าง"นาย"กับ"ทาส", นับจากที่ การสังเคราะห์ของลักษณะเฉพาะและลักษณะเป็นสากลคือการสังเคราะห์ของความเป็นนายและความเป็นทาสด้วย
ความปรารถนาเพื่อความปรารถนา
(The desire for desire)
คำถามคือ Lacan ได้นำเอาความเข้าใจในเชิงประจักษ์ของ Hegelian เหล่านี้ไปใช้อะไร
? พวกเราทั้งหมดมีความต้องการทางกายภาพที่จะต้องสนอง. ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาของทารกในขั้นตอนปาก
ต้องการนมของมารดา. เขาได้สร้างความดึงดูดอันหนึ่งขึ้นมาต่อผู้เป็นแม่ เพื่อสนองความต้องการโดยนำสองสิ่งมาพบกัน
อันนี้เป็นการเปลี่ยนผ่านจาก"ความต้องการ"ไปสู่"การเรียกร้อง" แต่มันยังมี"ความปรารถนา"เพื่อความรัก และเพื่อการยอมรับด้วย. ด้วยเหตุนี้ "ความต้องการ"(need)จึงเป็นเรื่องของชีววิทยา. ในการเรียกร้อง เรื่องของชีววิทยาจะถูกนำมาเป็นสื่อกลาง; การเรียกร้องมักจะชี้เฉพาะเสมอ
ความปรารถนา(design) คือสิ่งที่ไม่สามารถได้รับการชี้เฉพาะได้โดยการเรียกร้อง. เด็กร้องไห้. แม่จะให้ช็อคโคแลทแท่งหนึ่ง; แต่เด็กไม่เคยรู้เลยว่า การกระทำอันนี้ถูกปฏิบัติเพื่อความพึงพอใจเกี่ยวกับความต้องการของเขา หรือเป็นการกระทำของความรัก. Lacan เชื่อว่า การขานรับเป็นความคลุมเครือที่มีอยู่. และเป็นเพราะว่าการตอบสนองดังกล่าวมันคลุมเครือ การเรียกร้องจึงถูกทำซ้ำขึ้น, ถูกทำซ้ำ...ad infinitum
ความต้องการ(need) การเรียกร้อง(demand) ความปรารถนา(desire) - ทั้งสามประเภทนี้มันได้รับการเชื่อมโยงกันและกันอย่างไร ?
เมื่อเด็กร้องไห้, สามารถใช้ความหิวในเชิงกายภาพมาเป็นพาหะอันหนึ่งสำหรับการสื่อสาร. บางครั้งอาหารสนองความต้องการทางกายภาพ แต่มันสามารถที่จะกลายเป็นการนำพาในเชิงสัญลักษณ์ได้ด้วย. มันสามารถที่จะแยกระหว่างความต้องการและความปรารถนาได้
ในเรื่องราวเกี่ยวกับการไม่อยากอาหาร(anorexia) Lacan กล่าวว่า หญิงสาวคนหนึ่งได้รับการให้อาหาร แต่ต้องการความรักอย่างไร. ความหมายของการเรียกร้อง ไม่ใช่สัญชาตญาน แต่ส่วนหนึ่งได้ถูกกำหนดโดยการขานรับโดยคนอื่นเพื่อการเรียกร้อง. แม้ว่าการเรียกร้องของเราเป็นเรื่องชี้เฉพาะ แต่เราไม่เคยแน่ใจเลยเกี่ยวกับการขานรับของคนอื่นที่มีต่อตัวเราเอง. ผลที่สุด คุณให้ความรักอย่างไร?
ผู้คนสามารถเรียกร้องได้อย่างต่อเนื่อง แต่พวกเขาไม่ต้องการที่จะสำนึกเกี่ยวกับมัน. "การเรียกร้องเป็นเครื่องมือ"ของ"ความปรารถนา"ที่เผยออกมา(a demand is the means of revealing desire) แต่มันไม่ได้ตรงไปตรงมา
ความปรารถนาคือความปรารถนาสำหรับคนอื่น แต่มันจะต้องถูกตีความ. Lacan กล่าวว่า ความต้องการถูกยกเลิกไปโดยการเรียกร้อง ซึ่งปรากฎตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งบนอีกด้านหนึ่งของความปรารถนา. บ่อยทีเดียวเราต้องการวัตถุชิ้นหนึ่ง ที่อาจถูกให้กับเราเท่านั้น แต่มันไม่มีวัตถุอันนั้น. การเรียกร้องเป็นไปเพื่อต้องการการขานรับอันหนึ่ง, แต่การตอบสนองนั้นไม่เคยเพียงพอเป็นการเฉพาะ. พวกเราไม่เคยแน่ใจเลยว่าที่คนอื่นๆที่รักเรา ซึ่งเป็นการเฉพาะพิเศษสำหรับเราเท่านั้นใช่ไหม
อาจกล่าวได้ว่าจะมีบางคนค่อนข้างมั่นใจว่าพวกเขาถูกรัก. Lacan เสนอว่า เอกลักษณ์ของพวกเขาอาจจะกลายเป็นการแข็งตัวมากเกินไปได้. และในเวลาเดียวกัน ก็อาจจะมีบางคนซึ่งขาดความมั่นใจเช่นนั้น. ความปรารถนาจะปรากฎตัวขึ้นมา เมื่อความพึงพอใจเกี่ยวกับความต้องการมันมีไม่เพียงพอ เมื่อเกิดข้อสงสัยหรือช่องว่างที่ไม่สามารถถูกปิดลงได้
ความปรารถนาเกิดขึ้นมาจากความพร่องหรือการขาดเสียซึ่งความพึงพอใจ และมันจะผลักให้เราไปสู่การเรียกร้องอีกอันหนึ่ง. กล่าวอีกอย่างก็คือ มันคือความไม่สมหวังของการเรียกร้อง นั่นคือพื้นฐานของการเจริญเติบโตของความปรารถนา
ความรู้สึกเกี่ยวกับการสูญเสีย
(The sense of loss)
3
ในส่วนนี้จะได้มีการพูดถึงเรื่องราวของ Lacan อีกครั้ง และจะโฟกัสลงไปที่ความรู้สึกเกี่ยวกับการสูญเสียหรือการขาดหายไปโดยเฉพาะที่ซึ่งตัวตนประสบ
เราจะสังเกตุเห็นว่า ทฤษฎีของ Lacan เกี่ยวกับเรื่องตัวตน(subject) อ่านแล้วคล้ายกับคำบรรยายคลาสสิค; มันเริ่มต้นมาตั้งแต่เกิดและต่อจากนั้นก็เคลื่อนคล้อยไปตามลำดับ ผ่านไปยังอาณาบริเวณของร่างกาย, ขั้นตอนภาพสะท้อนบนกระจกเงา, เข้าไปสู่เรื่องของภาษา และปมออดิปัส. แต่ละขั้นตอนของการบรรยายนี้ได้ถูกรับรู้หรือเข้าใจในเทอมต่างๆของการสูญเสียตัวตน(การขาดหายไปหรือความพร่องของตัวตน)บางอย่าง
Lacan ได้วางการสูญเสียหรือขาดหายไปครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของตัวตน ณ ช่วงเวลาของการกำเนิด. เพื่อให้เป็นที่แม่นยำเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น เขาได้กำหนดเวลามัน นับจากช่วงของการก่อเกิดความแตกต่างทางเพศที่อยู่ภายในมดลูกเลยทีเดียว; แต่มันไม่ได้รับการตระหนักจนกระทั่งการแยกของทารกจากมารดา ณ ช่วงการคลอด
การขาดหายอันนี้เป็นเรื่องทางเพศในนิยามความหมาย และเกี่ยวข้องกับความเป็นไปไม่ได้ของภาวะในทางสรีรวิทยาซึ่งเป็นทั้งชายและหญิง. ความคิดเกี่ยวกับความเป็นชายและหญิงในเวลาเดียวกันมาแต่เดิมอันหนึ่ง คือแกนกลางของข้อสรุปในเชิงเหตุผลของ Lacan. ตัวตนซึ่งได้รับการนิยามในฐานะที่เป็นการขาดหายไป เพราะมันถูกเชื่อว่าเป็น ชิ้นส่วนหนึ่งของบางสิ่งที่ใหญ่กว่าและดั้งเดิมกว่า
ขอให้เรามาทำความกระจ่างอย่างสั้นในที่นี้. บ่อยครั้ง Lacan ได้มีการอ้างอิงถึงนิทานปรัมปราเรื่องหนึ่งในเรื่องของความรักใน Symposium ของ Plato...
Aristophanes ได้พูดถึงชีวิตต่างๆว่า "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว", ชีวิตมันมีรูปทรงสัณฐานที่เป็นลูกกลมๆ ทั้งด้านข้างและด้านหลังก็มีรูปร่างกลมไปหมด มีสี่แขนและสี่ขาและมีใบหน้าสองหน้า. แข็งแรง มีพละกำลังและหยิ่งยะโส พวกเขาพยายามที่จะไต่ขึ้นไปบนความสูงของสรวงสวรรค์ และเข้าต่อกรกับเทพเจ้าต่างๆ. Zeus จึงตอบโต้การกระทำนั้น โดยการแยกร่างของพวกเขาออกครึ่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ แต่ละร่างจึงเหลือเพียงครึ่งเดียวและความเข้มแข็งก็ทอนลงมาเหลือเพียงแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้น
มาถึงตอนนี้ เมื่อผลงานเกี่ยวกับการแบ่งออกเป็นสองส่วน(bisection)เสร็จ มันก็ได้ทิ้งอีกครึ่งหนึ่งไป โดยทำให้แต่ละฝ่ายใฝ่ฝันหาสำหรับอีกครึ่งหนึ่งซึ่งขาดหายไปตลอดเวลา และทั้งคู่ก็ทำเช่นนั้นเหมือนกัน โดยการอ้าแขนของพวกเขาไปโอบรอบคอของกันและกัน พร้อมทั้งไม่เรียกร้องสิ่งอื่นใดมากไปกว่าที่จะหลอมรวมกันจนกลมเป็นหนึ่งอีกครั้ง จนกระทั่งถึงวันตายของพวกเขา
Zeus รู้สึกเสียใจต่อการกระทำของตนเอง ซึ่งได้ทำกับพวกเขามาก โดยเฉพาะที่เขาได้วางแผนการอีกอันหนึ่งขึ้น นั่นคือ เขาได้ย้ายอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งคู่มาอยู่ข้างหน้า และทำให้ทั้งสองเผยแพร่หรือแสดงมันออกมาท่ามกลางพวกเขากันเอง
เราจะเห็นว่า เรื่องเหล่านี้มันย้อนกลับไปไกลมากน้อยเพียงใด ที่เราสามารถจะตามรอยความรักภายในของเรากับคนอีกคนหนึ่ง และความรักอันนี้ มักจะพยายามอยู่เสมอที่จะหลอมรวมกันใหม่เช่นดังธรรมชาติเดิมอย่างไร เพื่อทำให้ทั้งสองรวมกันเป็นหนึ่ง และสร้างสะพานความห่างเหินขึ้นมาระหว่างมนุษย์คนหนึ่งกับมนุษย์อีกคนหนึ่ง
ความพร่องหรือความขาดไปที่ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างที่สองสำหรับตัวตน เกิดขึ้นมาหลังจากการถือกำเนิด แต่มันมาก่อนการได้มาซึ่งภาษา. ความพร่องที่กำลังพูดถึงได้รับการลงโทษโดยสิ่งที่อาจได้รับการเรียกว่า"pre-Oedipal territorialization"(ก่อนการเป็นพื้นที่ออดิปัส)ของร่างกายของตัวตน
สำหรับช่วงเวลาหนึ่งหลังจากการถือกำเนิดขึ้นมาของทารก ทารกไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างตัวของตัวเองกับมารดาผู้ซึ่งได้อุปถัมภ์ค้ำชูทารกให้เกิดความไว้วางใจ. ถัดจากนั้น ร่างกายของทารกก็จะประสบกับกระบวนการอันหนึ่งของการทำให้เกิดความแตกต่าง; พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวหรือไวต่อความรู้สึกทางเพศได้รับการจารึกลงไป และลิบิโดได้ถูกกระตุ้นสนับสนุนให้ดำเนินรอยตามเส้นทางที่สร้างขึ้นมาบางอย่าง. โดยชี้ถึงช่องทางต่างๆโดยผ่านสิ่งซึ่งลิบิโดสามารถกระตุ้นให้มารดาและผู้ช่วยพยาบาลเกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพลังงานที่ไม่สัมพันธ์กัน ไปสู่แรงขับต่างๆที่สอดคล้องซึ่งต่อมาสามารถได้รับการควบคุมดูแลได้ในเชิงวัฒนธรรม
แรงขับต่างๆครอบครองความสัมพันธ์กันอันหนึ่งซึ่งความต้องการต่างๆไม่มี, เพราะพวกมันถูกผูกติดกับพื้นที่ของร่างกายมนุษย์โดยเฉพาะ. ผลลัพธ์ของการผูกติดนี้ แรงขับต่างๆจะจัดหาหรือตระเตรียมการแสดงออกทางอ้อมอันหนึ่งของการไหลเลื่อนของลิบิโดเดิมไป. ดังนั้น ประวัติศาสตร์ของมันมาแต่ต้นเดิม ตัวตนได้สูญเสียการเชื่อมโยงที่ปราศจากความเป็นกลางไป โดยการไหลเลื่อนต่างๆของลิบิโด และยอมจำนนต่อการครอบงำเกี่ยวกับความประหยัดเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ในเชิงวัฒนธรรมของมัน
"จินตนาการ"เป็นศัพท์คำหนึ่งซึ่งถูกนำมาใช้โดย Lacan เพื่อระบุถึงแบบแผนเกี่ยวกับประสบการณ์ของตัวตน ที่ถูกครอบงำโดยการสร้างเอกลักษณ์และความเป็นทวิลักษณ์(duality). ภายในแผนผังแบบ Lacanian มันไม่เพียงมีมาก่อนแบบแผนของสัญลักษณ์เท่านั้น ซึ่งนำเสนอตัวตนสู่ภาษา และความเป็นสามเหลี่ยมของออดิปัส แต่ยังคงอยู่ร่วมกันๆต่อไปกับมันต่อมาภายหลัง. แบบแผนจินตนาการได้ถูกให้ตัวอย่างได้ดีที่สุดโดยขั้นตอนภาพสะท้อนในกระจกเงา
Lacan บอกกับเราว่า ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างอายุหกเดือนถึงสิบแปดเดือน ตัวตนได้มาเป็นที่เข้าใจของทั้งตัวทารกเองและคนอื่น - อันที่จริงเกี่ยวกับตัวของทารกในฐานะที่เป็นคนอื่น. การค้นพบอันนี้ได้รับความช่วยเหลือโดยการมองเห็นของทารก สำหรับครั้งแรก ภาพสะท้อนของตัวทารกเองในกระจกเงา. ภาพสะท้อนนั้นเป็นความสอดคล้องต้องกันกับตัวตนในตัวของทารกเองที่ขาดไป
แต่การรู้จักตัวเองอันนี้, Lacan ยืนยัน, เป็นการรู้จักที่ผิดพลาด. ขั้นตอนกระจกเงาเป็นช่วงเวลาหนึ่งของความแปลกแยก, เมื่อรู้จักตัวเองโดยผ่านภาพภายนอก ซึ่งถูกนิยามผ่านความแปลกแยกตัวตน(self-alienation). ต่อจากนั้น ตัวตนมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ไม่แน่ใจอย่างลึกซึ้งต่อภาพสะท้อนอันนั้น. ทารกรักในเอกลักษณ์ที่สอดคล้องซึ่งกระจกเงาให้หรือนำเสนอ. แต่อย่างไรก็ตาม เพราะภาพยังคงเป็นสิ่งภายนอกต่อทารกอยู่ ดังนั้นเขาจึงเกลียดภาพนั้นด้วย. ตัวตนได้ประสบกับความลังเลใจอย่างถึงราก ระหว่างอารมณ์ความรู้สึกต่างๆที่ตรงข้าม
Lacan เชื่อว่า เมื่อตัวตนได้เข้าไปสู่แบบแผนของสัญลักษณ์(ภาษา) ความต้องการทางชีววิทยาของมันก็จะผ่านไปสู่เครือข่ายที่แคบๆหรือช่องแคบของการมีนัยสำคัญ และถูกเปลี่ยนผ่านเข้าไปในหนทางหนึ่ง ซึ่งทำให้พวกเขา หลังจากนั้นเป็นไปต้นมา เป็นไปไม่ได้ที่จะพึงพอใจได้อีก. แรงขับๆต่างๆได้ให้การแสดงออกเพียงบางส่วน และเป็นไปทางอ้อมเกี่ยวกับความต้องการเหล่านั้น ภาษาได้พรากความสัมพันธ์ทั้งหมดนั้นไป
เกมหลอดด้าย หรือ fort/da game สามารถได้รับการมองในฐานะที่เป็นสายโซ่การบ่งชี้ครั้งแรกของทารก และต่อแต่นั้นเป็นต้นมาทารกจะเข้าสู่เรื่องของภาษา. ควรจะหมายเหตุลงไปว่า ในทางตรงข้าม Freud ได้อธิบายการกระทำต่างๆของทารกในเกมหลอดด้าย หรือ fort/da game ในฐานะที่เป็นความพยายามอันหนึ่งเพื่อลดความไม่พึงพอใจที่มีสาเหตุมาจากการที่แม่ของเขาไม่อยู่, Lacan ได้เน้นเรื่องความแปลกแยกของตัวตนขึ้นมาแทน ซึ่งการกระทำเหล่านั้นมันให้ความรู้สึกทึ่ง
Lacan ได้ชี้ถึงเกมหลอดด้ายซึ่งทารกนำมาเล่นว่าเป็น objet petit autre - ซึ่งสิ่งนั้น การขาดหายไปหรือความพร่อง มีผลลัพธ์ในความรู้สึกหนึ่งเกี่ยวกับภาวะที่ไม่สมบูรณ์หรือความพร่อง. ยกตัวอย่างเช่น เต้านม แน่นอน เป็นตัวแทนถึงส่วนหนึ่งของตัวเขาเองที่ปัจเจกชนได้สูญเสียไปขณะเกิด และมันอาจมารับใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์วัตถุที่สูญเสียไปอันลึกซึ้งที่สุด. (วัตถุอื่นๆที่ให้ความพอใจอันมีสถานะที่พิเศษดุจเดียวกันกับเต้านม รวมไปถึงการจ้องมองและน้ำเสียงของมารดา) ด้วยเหตุนี้ Lacan จึงตีความหรือแปลเรื่องราวดังกล่าวว่าเป็นภาวะเกี่ยวกับการสาบสูญของตัวตนมากกว่าเรื่องเกี่ยวกับแม่)
คล้ายๆกันกับ Freud, Lacan อ่านกรณีเกมหลอดด้าย หรือ fort/da game เป็นเรื่องราวแฝงคติเปรียบเทียบเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับการควบคุมหรือความเป็นนายภาษาของแรงขับต่างๆ. Lacan อรรถาธิบายความแตกแยกออกไปอย่างสมบูรณ์นี้ด้วยแรงขับต่างๆ ในฐานะที่เป็นการค่อยๆจางไปของภาวะของตัวตน, ในฐานะที่เป็น "aphanisis"(ความกลัวว่าตัวเองหมดสมรรถภาพทางเพศ). ด้วยเหตุนี้ ไม่เพียงตัวตนได้ถูกแยกออกไปหรือถูกแบ่งออกจากแรงขับของตัวเองเท่านั้น แต่มันยังถูกทำให้เป็นรองต่อแบบแผนของสัญลักษณ์ด้วย ซึ่งต่อไปภายหน้าจะมากำหนดเอกลักษณ์และความปรารถนาของทารกด้วย
การก่อตัวขึ้นมาของจิตไร้สำนึก การปรากฎตัวขึ้นมาของตัวตนสู่แบบแผนเชิงสัญลักษณ์ และการเริ่มต้นขึ้นของความปรารถนา ทั้งหมดได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด ความปรารถนาถูกกำกับหรือนำทางไปสู่การเป็นตัวแทนต่างๆในทางอุดมคติ ซึ่งยังคงอยู่เหนือการมาถึงของตัวตนตลอดไป
เมื่อคนอื่นๆจะถูกรัก ก็ต่อเมื่อพวกเขาถูกเชื่อว่าสามารถทำให้ตัวตนสมบูรณ์ขึ้นมาได้เท่านั้น, ด้วยเหตุนี้ ความปรารถนาก็จะต้องถูกเข้าใจ ในฐานะที่เป็นเรื่องการหลงรักในตัวเองโดยพื้นฐาน(fundamentally narcissistic). ความรักในตัววัตถุ ไม่มีอะไรมากเกินไปกว่าการแสวงหาอย่างต่อเนื่องต่อองค์ประกอบที่เติมเต็มซึ่งขาดหายหรือพร่องไป
Lacan ได้ทำให้ปมออดิปัสเป็นแนวคิดขึ้นมาในฐานะที่เป็นการจัดการทางด้านภาษา. เขาสนับสนุนข้ออ้างอันนี้โดยการชี้ให้เห็นว่า ข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์กันระหว่างพี่น้องท้องเดียวกันหรือเครือญาติ(incest taboo) สามารถพูดออกมาได้อย่างชัดเจนหรือมีความหมาย โดยผ่านความแตกต่างของสมาชิกทางวัฒนธรรมบางวัฒนธรรมจากคนอื่นเท่านั้น โดยอาศัยการจำแนกทางภาษาอย่าง"พ่อ"กับ"แม่". Lacan นิยามคำบ่งในเชิงแบบแผน(paternal signifier), สิ่งที่เขาเรียกว่า"นามของพ่อ"(Name-of-the-father), ที่เป็นความสำคัญทั้งหมดอันหนึ่ง ทั้งในทางประวัติศาสตร์ของตัวตน และในองค์ระบบของขอบเขตของสัญลักษณ์ที่ใหญ่กว่า
อันนี้หมายความว่า Lacan ได้ให้เรื่องราวเกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศกับเรา ซึ่งผิดแผกไปอย่างมากจากสิ่งที่ถูกนำเสนอโดย Freud, หนึ่งในนั้นก็คือ ศัพท์พิเศษที่จะไม่ใช้คำว่าองคชาติ(penis)อีกต่อไป แต่ได้ใช้คำว่าเครื่องเพศ(phallus)แทน. คำว่าเครื่องเพศ(phallus)ถูกนำมาใช้โดย Lacan เพื่ออ้างอิงถึงคุณค่าทั้งหมดเหล่านั้น ซึ่งถูกทำให้ตรงข้ามกันกับความพร่อง(lack) [ดังนั้น phallus จึงหมายถึง"ความสมบูรณ์"ด้วย]
ดูเหมือนจะแย่เต็มที ที่เขาได้เน้นถึงสถานภาพอันสับสนโดยให้เหตุผลต่างๆนาๆ(มากกว่ากายวิภาคของมัน) แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะมีความหมายที่แตกต่างกันสุดขั้วสองประการ
ในด้านหนึ่ง เครื่องเพศ(phallus-ความสมบูรณ์)คือคำบ่ง(signifier)อันหนึ่งสำหรับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งได้รับการแบ่งแยกจากตัวตน ในช่วงระหว่างขั้นตอนอันหลากหลายของการก่อตัวขึ้นมา และมันไม่เคยเลยที่จะได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาให้กับมัน
เครื่องเพศ(phallus)เป็นคำบ่ง(signifier)คำหนึ่ง สำหรับความจริงหรือความต้องการทางด้านอวัยวะ(ชีววิทยา) ซึ่งตัวตนได้ปลดปล่อยไปเพื่อที่จะบรรลุถึงความหมาย, เพื่อที่จะไปถึงซึ่งหนทางสู่การบันทึกเชิงสัญลักษณ์. มันบ่งว่าสิ่งซึ่งเขาสูญเสียได้เริ่มเปิดทางให้กับความปรารถนา
ในอีกด้านหนึ่ง เครื่องเพศ(phallus)เป็นคำบ่ง(signifier)คำหนึ่งสำหรับความพิเศษทางวัฒนธรรม และมีคุณค่าต่างๆในเชิงบวก ซึ่งได้นิยามความมีตัวตนของผู้ชายให้ดำรงอยู่ภายในสังคมปิตาธิปไตย(patriachal society) แต่จากอันนั้น ตัวตนของผู้หญิงยังคงโดดเดี่ยวหรือแยกตัวออกมา
เครื่องเพศ(phallus) อีกด้านหนึ่งนั้น เป็นคำบ่ง(signifier) ทั้งสำหรับสิ่งต่างๆซึ่งถูกทำให้พร่องไปของตัวตนผู้ชายที่เข้าไปสู่วัฒนธรรม และสำหรับสิ่งเหล่านั้นซึ่งได้ถูกทำให้ได้มา
Lacan เชื่อว่า วาทกรรมหรือคำอธิบายในสิ่งซึ่งตัวตนได้ค้นหาเอกลักษณ์ของมัน มักจะเป็นวาทกรรมหรือคำอธิบายของคนอื่น(the Other)เสมอ - ของแบบแผนเชิงสัญลักษณ์อันหนึ่งที่อยู่เหนือตัวตน และเป็นสิ่งที่ได้มีการวางแผนและกำกับประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมันอย่างซับซ้อน. ส่วนที่สำคัญอันหนึ่งถูกแสดงโดยความแตกต่างทางเพศภายในแบบแผนอันนั้น และนั่นทำให้เรารู้ถึงความเป็นศูนย์กลางของเครื่องเพศเกี่ยวกับการปฏิบัติต่างๆที่แพร่กระจายอยู่ในปัจจุบันของเรา
ทฤษฎีอันหนึ่งของ Lacanian ก็คือว่า ความมีตัวตนเป็นเรื่องของความสัมพัทธ์ทั้งหมด; มันได้เข้ามามีบทบาทโดยผ่านหลักการของความแตกต่าง โดยความตรงข้ามกับ"คนอื่น"หรือ"คุณ"กับ"ฉัน". อีกด้านหนึ่ง ความมีตัวตนไม่ได้เป็นแก่นสารอันหนึ่ง แต่เป็นชุดหนึ่งของความสัมพันธ์ต่างๆ. มันสามารถได้รับการชักนำไปได้โดยการกระตุ้นของระบบการบ่งชี้อันหนึ่งซึ่งมีอยู่ก่อนปัจเจกบุคคล และที่ได้มากำหนดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเขาหรือเธอ. เพราะฉะนั้น วาทกรรมหรือคำอธิบายจึงเป็นตัวแทน ซึ่งตัวตนได้รับการสร้างขึ้น และแบบแผนการดำรงอยู่ค้ำจุนมันเอาไว้
เกี่ยวกับจินตนาการ, สัญลักษณ์ และความจริง (The Imaginary, the symbolic and
the real)
มาถึงตอนนี้ จะได้พยายามนำเอาเรื่องต่อเนื่องบางอย่างมาพูดสั้นๆ
เกี่ยวกับสิ่งที่ Lacan หมายความถึงเรื่องจินตนาการ, สัญลักษณ์ และความจริง.
อันนี้จะทำให้เราสามารถสรุปประเด็นสำคัญบางอย่างได้ด้วย เกี่ยวกับบทความบทนี้
เป็นที่ชัดเจนว่าจินตนาการ - ขั้นตอนหนึ่งก่อนการใช้คำพูด ซึ่งตรรกะของขั้นตอนนี้ โดยสาระแล้วเป็นเรื่องของภาพ(visual) - ที่มาก่อนเรื่องของสัญลักษณ์ ในฐานะที่เป็นขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาของจิต(psyche). ช่วงเกี่ยวกับการก่อตัวของมันถูกตั้งชื่อว่า"ขั้นตอนกระจกเงา"(mirror stage)
ณ ขั้นตอนนี้ มันยังไม่มีการก่อตัวขึ้นมาของอีโก้ ซึ่งอนุญาตให้ทารกคนหนึ่งจำแนกตัวของเขาเองแยกออกจากคนอื่นๆ. ทารกผู้ซึ่งเอามือไปตีจะกล่าวว่าเขาถูกตี, ทารกผู้ซึ่งเห็นทารกอีกคนหนึ่งหกล้ม เริ่มร้องไห้เสียเอง. (มาจากจิตวิเคราะห์บุกเบิกของ Melanie Klein เกี่ยวกับทารกที่เป็นพื้นฐานรูปลักษณ์เกี่ยวกับจินตนาการแบบ Lacanian ได้ถูกบรรยาย)
แบบแผนจินตนาการ(The imaginary order)เป็นขั้นตอนก่อนปมออดิปัส. ตัวตนต้องการอย่างมากที่จะละลายไปกับสิ่งที่ถูกรับรู้ที่เป็นคนอื่น(Other). ทารกค่อนข้างจะสับสนกับคนอื่นๆโดยคิดว่าเป็นภาพสะท้อนในกระจกเงาของตัวเอง; และเมื่อตัวตนได้ถูกสร้างขึ้นจากองค์ประกอบหนึ่งของจิตไร้สำนึกที่รับเอามาจากคนอื่น ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการรับรู้ที่ผิดพลาดอันนั้น มันจึงยากมากที่จะสามารถสถาปนาบุคลิกภาพหน่วยหนึ่งขึ้นมา. อีกนัยหนึ่ง พวกเราประสบกับตัวตนที่ถูกแบ่งแยกอย่างลึกซึ้งนั่นเอง
Lacan เสนอว่า ความปรารถนาแรกสุดของทารกต่อผู้เป็นแม่ แสดงออกถึงความประสงค์ที่เป็นสิ่งที่แม่ปรารถนา(Desir de la mere อ้างถึงความปรารถนาต่อผู้เป็นแม่ และถึงความปรารถนาของแม่). ทารกต้องการทำให้แม่สมบูรณ์ นั่นคือการเป็นสิ่งที่เธอขาด - เครื่องเพศ(phallus-ความสมบูรณ์). ความสัมพันธ์ของทารกกับผู้เป็นมารดาเป็นเรื่องของการหลอมละลาย, เกี่ยวกับคู่และใกล้ชิดติดกัน. ต่อมา ความปราถนาของทารก เป็นความปรารถนาของแม่ของทารก จะหลีกทางให้กับการแสดงเอกลักษณ์อันหนึ่งโดยผู้เป็นพ่อ
ความสันโดษของทารก, ความสัมพันธ์ที่เป็นคู่และการหลอมรวมกับแม่ของทารกได้ถูกยกเลิกหรือปฏิเสธ สำหรับโลกของคำอธิบายเชิงสัญลักษณ์. พ่อกลายเป็นศัพท์คำที่สาม และทารกได้เข้าสู่แบบแผนเชิงสัญลักษณ์โดยการยอมรับชื่อของเขาและคำสั่งห้ามต่างๆ
ในขั้นตอนสัญลักษณ์ มันไม่มีความสอดคล้องลงรอยกันในแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ระหว่างสิ่งต่างๆกับสิ่งที่พวกมันถูกเรียก - สัญลักษณ์ได้ปลุกระบบของความหมายปลายเปิดที่ไม่มีขอบเขตแน่นอนอันหนึ่งขึ้นมา. การบ่งชี้หรือแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เป็นเรื่องสังคม(social), ไม่ใช่เรื่องของการรักตัวเอง(narcissistic). มันคือวิกฤตออดิปัสซึ่งได้เป็นเครื่องหมายของทารกในการเข้าไปสู่โลกของสัญลักษณ์. กฎเกณฑ์ต่างๆของภาษาและสังคมที่ได้มาพำนักอยู่กับทารก ดังที่เขายอมรับชื่อของพ่อและคำว่า"ไม่"ของผู้เป็นพ่อ
อย่างที่เคยกล่าวเอาไว้แล้วตั้งแต่ต้นว่า Lacan เข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับออดิปัสในเทอมต่างๆของภาษา ไม่ใช่ในเทอมของร่างกาย เป็นเพราะเขาเชื่อว่า ไม่มีสิ่งนั้นในฐานะของร่างกายที่มีมาก่อนภาษา. ชีววิทยามักจะถูกตีความโดยตัวตนมนุษย์เสมอ. แต่ไม่เพียงชีววิทยาเท่านั้น ประสบการณ์ต่างๆทั้งหมดถูกสื่อในเชิงสัญลักษณ์ และต้องได้รับการตีความ(ในบริบทของจารีตทางสังคม)
ความคิดแบบ Lacanian เกี่ยวกับแบบแผนสัญลักษณ์ เป็นความพยายามที่จะสร้างสรรค์สื่อกลางต่างๆขึ้นมาระหว่างการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับแรงขับทางเพศ(libidinal analysis)และหมวดหมู่ต่างๆทางด้านภาษา(linguistic categories) กล่าวอีกนัยหนึ่ง เพื่อจัดหาแบบแผนการข้ามผ่านทางระหัสที่ยินยอมให้เราพูดถึงทั้งเรื่องภายในโครงร่างหรือเค้าโครงแนวคิดร่วมกันอันหนึ่ง
ปมออดิปัส(the Oedipus complex)ได้ถูกแปลหรือถ่ายไปเป็นตัวอักษร(transliterated)โดย Lacan เข้าสู่ปรากฎการณ์ทางภาษา ซึ่งเขาระบุในฐานะที่เป็นการค้นพบโดยตัวตนของ"นามของพ่อ"(Name-of-the-father). Lacan รู้สึกว่าคนที่เรียนรู้เกี่ยวกับภาษา เป็นความแปลกแยกอันหนึ่งสำหรับจิต แต่เข้าตระหนักว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะหวนกลับไปสู่วันเวลาเก่าก่อน ขั้นตอนก่อนการรู้ภาษาของตัวจิตเอง
ในที่นี้เคยขีดเส้นใต้ไว้แล้วในประเด็นที่ว่า Lacan ได้วางการเน้นหนักอย่างมากลงบนพัฒนาการทางด้านภาษาของพวกเด็กๆ. เขาได้ให้เหตุผลว่า การได้มาเกี่ยวกับชื่อๆหนึ่ง เป็นผลลัพธ์ในการเปลี่ยนผ่านโดยสมบูรณ์เกี่ยวกับตำแหน่งของตัวตนในโลกวัตถุของเขา. มันเป็นการกำหนดอันหนึ่งของตัวตนโดยภาษา. จิตไร้สำนึกแบบ Freudian ถูกมองในเทอมต่างๆของภาษา: "จิตไร้สำนึกคือคำอธิบายเกี่ยวกับคนอื่น(the Other)" - ความคิดอันหนึ่งซึ่งโน้มเอียงที่จะสร้างความประหลาดใจคนเหล่านั้น ซึ่งเชื่อมโยงภาษากับความคิดและจิตสำนึก
ทฤษฎีของ Lacan ได้เป็นที่ดึงดูดความสนใจเป็นอย่างมากท่ามกลางนักสิทธิสตรีทั้งหลาย เพราะการเน้นในเรื่องการสร้างความเป็นตัวตนทางเพศโดยการบ่งชี้ (กระบวนการที่อาศัยความหมายที่ถูกสร้างขึ้นมาในเวลาเดียวกัน ดังเช่นตัวตนต่างๆได้ถูกประดิษฐ์และวางตำแหน่งในความสัมพันธ์ทางสังคม) ซึ่งแสดงนัยะว่า มันเป็นไปได้ที่จะหลุดรอดไปจากความเป็นรองของผู้หญิง ซึ่งมีอยู่ใน การต้องขอความช่วยเหลือต่อความแตกต่างทางชีววิทยาของ Freud
แต่อย่างไรก็ตาม ก็อาจได้รับการถกเถียงกลับมาว่า ในความพิเศษ เครื่องเพศ(phallus) เป็นเครื่องหมายความแตกต่างเท่าๆกับที่มันตรงข้ามกับองคชาติ, การวิเคราะห์ของ Lacan เป็นเรื่องของนิยัตินิยม(เรื่องของเหตุปัจจัย)ไม่น้อยไปกว่าการวิเคราะห์ของ Freud. อันนี้เป็นเพราะว่า Lacan ให้ความไว้วางใจอย่างหนักหน่วงต่อการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างของ Levi-Strauss เกี่ยวกับข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์กันในเครือญาติ ซึ่งได้รับการกล่าวว่า มันอยู่ข้างใต้สังคมมนุษย์ทั้งมวล
การใช้ข้อสรุปของ Levi-Strauss หมายความว่า เทอมต่างๆของการถกเถียงได้ถูกกำหนดตายตัวรายรอบ"กฎของพ่อ"(Law of the Father). เพราะทฤษฎีของ Levi-Strauss เป็นแนวคิดที่เป็นสากลอันหนึ่ง คำอธิบายของ Lacan มีแนวโน้มที่จะล้มล้างเรื่องราวหรือคำอธิบายเกี่ยวกับตัวตนที่เป็นสากล ผู้ซึ่งไม่ได้ถูกทำให้มีที่ทางอยู่ในประวัติศาสตร์
แบบแผนที่สามคือความจริง(real). "ความเป็นจริง"ซึ่งพวกเราไม่เคยสามารถจะรู้ได้คือ"ความจริง" - มันอยู่เหนือเรื่องของภาษา ความเป็นจริงที่พวกเราจักต้องสมมุติ แม้ว่าเราจะไม่สามารถรู้มันได้เลยก็ตาม. อันนี้ได้สร้างปัญหามากที่สุดในบรรดาแบบแผนทั้งสามที่กล่าวมา นับแต่การที่มันไม่เคยสามารถที่จะถูกประสบหรือพบได้อย่างทันที แต่จะถูกประสบพบได้ ก็แต่เพียงการเป็นสื่อกลางของแบบแผนทั้งสองที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น:
"ความจริง, หรือสิ่งที่ถูกรับรู้ว่าเป็นอย่างนั้น, คือสิ่งที่ต่อต้านความเป็นสัญลักษณ์อย่างเบ็ดเสร็จ". แต่อย่างไรก็ตาม Fredric Jameson คิดว่า มันไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากมากมายอะไรที่จะพูดถึง สิ่งซึ่งหมายความถึงความจริงในทัศนะของ Lacan ที่ว่า: "มันคือตัวประวัติศาสตร์เอง"(Jameson เชื่อว่า ทั้งจิตวิเคราะห์และลัทธิมาร์กซิสม์ โดยพื้นฐานแล้วได้อิงอาศัยประวัติศาสตร์และการเล่าเรื่อง)
การวิจารณ์บางอย่างเกี่ยวกับลากอง
(Some criticisms of Lacan)
เพื่อสรุปบทความข้างต้น ตอนนี้ขอให้เรามาดูข้อวิจารณ์บางประการเกี่ยวกับ Lacan
สักเล็กน้อย. บ่อยครั้งได้มีการพูดกันว่า เขาได้ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลายเป็นเรื่องของเหตุผล
และไม่พิจารณาเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ
ยกตัวอย่างเช่น เขาวิจารณ์เกี่ยวกับวิธีการของพวก Reichian (หมายถึงพวกนิยม Wilhelm Reich ซึ่งเป็นศาสดาของการปฏิวัติทางเพศ ที่ยืนยันว่า สุขภาพจิตเป็นสิ่งที่อิงอาศัยความสามารถในการประสบกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดทางเพศ และความป่วยไข้ทางจิต เป็นผลลัพธ์อันเนื่องมาจากการสะกัดกั้นความสามารถที่จะประสบกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดทางเพศนั่นเอง)อย่างมาก ซึ่งยืนยันว่า พวกเราสามารถเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆได้โดยตรง สำหรับ Lacan อารมณ์ความรู้สึกเป็นตัวบ่งอันหนึ่ง(emotion is a signifier); มันหมายถึงบางสิ่งบางอย่าง แต่สิ่งที่มันหมายถึงคือคำถามเปิด
ประการที่สอง ดังที่งานเขียนของเขาขาดเสียซึ่งเนื้อหาหรือส่วนประกอบทางด้านคลินิก มันจึงยุ่งยากที่จะเรียนรู้จากวิธีการของเขา หรือทดสอบความมีเหตุผลที่จะนำมาใช้ได้ของความรู้เหล่านั้น. ดูเหมือนว่าเขาจะสนใจมากในทฤษฎีพัฒนาการในมหาวิทยาลัยในเรื่องเกี่ยวกับปฏิบัติการทางคลินิก. (ในอีกด้านหนึ่งนั้น อาจได้รับการให้เหตุผลว่า Lacan ล้มเหลวที่จะจัดหากรณีศึกษาต่างๆ ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่หลุดออกมาจากปัญหา เพื่อตรวจสอบผลงานของบรรดาผู้ติดตามเขา ยกตัวอย่างเช่น บรรดานักจิตวิทยาเด็ก อย่างเช่น Francoise Dolto และ Maud Mannoni) ดังที่เขาเชื่อว่า ในการวิเคราะห์ ไม่มีสิ่งใดที่ควรจะเป็นงานประจำ หรือทำนายการบำบัดของเขาได้ว่า บางครั้ง มันใช้เวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น! เขาถกว่า วิธีการทางจิตวิเคราะห์ไม่ใช่เรื่องของจิตวิทยา
ถ้าหากว่ามันเป็นเรื่องของจิตวิทยา มันก็จะเหมือนๆกับ ethology (การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์) ; แต่ความแตกต่างอย่างโดดเด่นก็คือ เราไม่สามารถทำนายพฤติกรรมของมนุษย์ได้. ยิ่งไปกว่านั้น Lacan ยังถือว่า เพียงจิตแพทย์ที่ทำการวิเคราะห์เท่านั้น ที่สามารถจะให้อำนาจตัวของเขาเองในฐานะจิตแพทย์ที่ทำการวิเคราะห์คนหนึ่ง. แต่แน่นอน การทำให้มีอำนาจส่วนตัวได้น้อมนำไปสู่ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับมาตรฐานไม่ใช่หรือ ? มันเพียงพอไหมที่จะได้รับการกล่าวว่า การเป็นจิตแพทย์ที่ทำการวิเคราะห์ก็คล้ายๆกับการเป็นกวีคนหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์ใหม่ที่ใกล้ชิดกับภาษา ?
ข้อวิจารณ์ต่างๆของนักสิทธิสตรีเกี่ยวกับลากอง
(Feminist criticisms of Lacan)
Lacan ยังคงเป็นหนึ่งในบุคคลซึ่งเป็นที่โต้เถียงกันมากที่สุดอย่างต่อเนื่อง ในทฤษฎีสิทธิสตรีร่วมสมัย.
บรรดานักเรียกร้องสิทธิสตรีเป็นจำนวนมาก ได้ใช้งานของเขาเพื่อท้าทายความรู้ต่างๆที่ยึดถือเครื่องเพศชายเป็นศูนย์กลาง(phallocentric
knowledge); ส่วนนักสิทธิสตรีบางคนกลับเป็นปรปักษ์อย่างสุดๆกับงานของเขา ซึ่งมองมันในฐานะที่เป็นความรู้ของพวกชนชั้นสูง,
ถูกครอบงำโดยความคิดแบบผู้ชาย และตัวงานเหล่านั้นคือเครื่องเพศชายเป็นศูนย์กลางเสียเอง
พื้นที่สามพื้นที่ซึ่งสำคัญเกี่ยวกับงานของ Lacan เป็นที่สนใจอย่างลึกซึ้งสำหรับบรรดานักเรียกร้องสิทธิสตรี: อาณาบริเวณต่างๆที่ผูกกันไว้แน่นเกี่ยวกับเรื่องความเป็นตัวตน, เรื่องเพศ, และภาษา. การกระจายออกจากศูนย์กลางของเขาเกี่ยวกับเหตุผล, ตัวตนจิตสำนึก(จำแนกด้วยอีโก้), การขุดเซาะของเขาสมมุติฐานร่วมกันเกี่ยวกับการมีเจตนาหรือการมีจุดประสงค์เกี่ยวกับคำอธิบายต่างๆที่มีเหตุผลของเรื่องราวที่พูด และการทำให้เป็นปัญหาขึ้นมาของเขา เกี่ยวกับไอเดียในเรื่องเพศที่เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ได้ช่วยทำให้ทฤษฎีของนักสิทธิสตรีเป็นอิสระจากข้อจำกัดต่างๆของลัทธิมนุษยนิยม
ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ของนักสิทธิสตรีกับจิตวิเคราะห์จะตกอยู่ในสองประเภทกว้างๆ: ส่วนของผู้ซึ่งให้การวางใจต่องานของ Lacan มองมันในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการอธิบายความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบพ่อ(patriarchal power relations) และสำหรับพวกที่ปฏิเสธมันจากสถานะที่"ก่อน"หรือ"ไม่เกี่ยวกับ"จิตวิเคราะห์
ในส่วนของประเภทแรกสามารถรวมเอา Juliet Mitchell, Ellie Ragland-Sullivan, Julia Kristeva, Monique Plaza และ Catherine Clement เข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้. ในประเภทที่สองคือ Germaine Greer, Dale Spender และคนอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ก็มีบรรดานักสิทธิสตรีซึ่งไม่สังกัดอยู่ในประเภทใดเลยดังที่กล่าวมาข้างต้น. ในที่นี้สามารถรวมเอานักเรียกร้องสิทธิสตรีต่างๆ ผู้ซึ่งมีความคุ้นเคยและประทับใจกับงานของ Lacan ขณะเดียวกันก็ยังคงระยะห่างการวิพากษ์วิจารณ์เอาไว้: เช่น Jane Gallop, Jacqueline Rose, Sara Kafman, Luce Irigaray
ในนามของ Lacan สามารถถกด้วยเหตุผลได้ว่า
อันดับแรก ผลงานของเขาเป็นน้ำหนักถ่วงที่จำเป็นอันหนึ่งกับลัทธิมนุษยนิยม ซึ่งร่วมอยู่ในทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับความมีตัวตนของมนุษย์อย่างมากประการที่สอง ระยะห่างที่ชัดเจนของเขาจากจิตวิทยา-อีโก้(ego-psychology) และเรื่องราวความสัมพันธ์เชิงภววิสัยเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์ ทำให้ผลงานของ Freud เป็นประโยชน์อย่างมากต่อลัทธิสิทธิสตรีนิยม
และประการที่สาม การผสมผสานของเขาเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆทางด้านภาษา กับ ความคิดเรื่องเพศของ Freud และจิตไร้สำนึกนับว่าเป็นประโยชน์ต่อบรรดานักสิทธิสตรีในความหลากหลายที่กว้างขวางเกี่ยวกับสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งได้ตั้งคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับความมีตัวตนและความปรารถนา ที่ปกติแล้วถูกละเลยหรือเมินเฉย
อีกด้านหนึ่งนั้น นักสิทธิสตรีจำนวนมากได้วิพากษ์ Lacan และบ่อยครั้ง เขาถูกติเตียน ด่าว่าสำหรับแนวความคิดของเขาเกี่ยวกับผู้หญิง ในฐานะที่เป็นความพร่อง, เป็นคนอื่น, และถูกตัดลูกอัณฑะออกไป
ประการที่สอง Lacan ได้ถูกต่อว่าเกี่ยวกับ ความเป็นเพศชายที่พิเศษ(privileging masculinity) และการมีส่วนร่วมใน, และบางทีได้ช่วยพัฒนา, ลัทธิเครื่องเพศชายเป็นศูนย์กลาง(phallocentrism)ของ Freud
นักวิจารณ์ที่รุนแรงดุเดือดเกี่ยวกับ Lacan, Luce Irigaray เสนอว่าสิ่งที่งานของ Lacan ทำก็คือ ทำเรื่องที่คุ้นเคยเกี่ยวกับผู้หญิงในฐานะที่เป็นการสนับสนุน หรือการวางรากฐานเกี่ยวกับตัวตนผู้ชายขึ้นมาใหม่อีกครั้ง. หนึ่งในสิ่งที่ Irigaray คัดค้านคือการที่ Lacan นำเอาองค์ระบบคำอธิบายเชิงเหตุผลโดยเฉพาะมาใช้ในฐานะที่เป็นสิ่งซึ่งไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
ระบบแนวคิดแบบ Lacanian ได้เสนอความเป็นไปได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างถึงราก. มันมีนัยะอนุรักษ์นิยมทางสังคมที่ลึกซึ้งอันหนึ่ง ตราบเท่าที่สถานการณ์ของผู้หญิงได้ถูกนำมาเกี่ยวข้อง. ความคิดอนุรักษ์นิยมได้ถูกฝังตรึงอยู่ในแนวคิดเกี่ยวกับแบบแผนเชิงสัญลักษณ์แบบ Lacanian. นับตั้งแต่แบบแผนอันนี้เป็นเรื่องของการยึดเครื่องเพศชายเป็นศูนย์กลาง, และได้ถูกวางโครงสร้างไปตามกฎของผู้เป็นพ่อ มันระงับและควบคุมความเป็นหญิงอย่างแท้จริง นิยามความเป็นผู้หญิงในเทอมต่างๆของปิตาธิปไตย ในฐานะที่เป็นผลซึ่งตามมาอันหนึ่งของความพร่อง
Irigaray ให้เหตุผลว่า ระบบตะวันตกเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนให้สิทธิพิเศษแก่การมองเห็น; สิ่งที่สามารถถูกมองเห็นได้(เป็นสิ่งที่มีอยู่)ได้รับสิทธิพิเศษเหนือสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้(สิ่งที่ไม่มีอยู่) และให้การรับรองเกี่ยวกับการดำรงอยู่. สิ่งซึ่งไม่อาจมองเห็นได้มีค่าเท่ากับไม่มีอยู่. ไม่ได้ดำรงอยู่และไม่ใช่ของจริง. ในฐานะผลลัพธ์อันหนึ่ง, ภายในคำอธิบาย, ความเป็นหญิงจึงพบตัวเองถูกนิยามในฐานะที่เป็นความพร่อง, การขาดแคลน, หรือในฐานะที่เป็นการเลียนแบบและภาพเชิงนิเสธของตัวตน
Irigaray ได้ตรวจตราบทบาทของกระจกเงาในการสถาปนาเกี่ยวกับการมีตัวตนขึ้นมา. นำเอาเรื่องกระจกเงาของ Lacan มาใช้ในฐานะที่เป็นภาพๆหนึ่งของการเป็นตัวแทน เธอถามว่า ทำไมเขาจึงใช้กระจกเงาที่เรียบแบน, "ในการจกเงาที่แบนราบ ภาพสะท้อนส่วนใหญ่ของอวัยวะเพศของผู้หญิงเพียงเป็นช่องหรือโพรงๆหนึ่งเท่านั้น". การนำเสนอของมันในอีกหนทางหนึ่ง กระจกเงาที่แบนราบไม่สะท้อนถึงลักษณะเฉพาะทางเพศของผู้หญิง
สำหรับการสำรวจเกี่ยวกับความมีลักษณะเฉพาะทางเพศของผู้หญิง ลักษณะที่แตกต่างอันหนึ่งของกระจกเงาจะเป็นที่ต้องการ - ยกตัวอย่างเช่น กระจกเงาที่เรียกว่า speculum, กระจกเงาที่มีผิวเว้าเข้าข้างในซึ่งแพทย์ผู้ชำนาญโรคสตรีทั้งหลายใช้ในการตรวจสอบอย่างละเอียดเข้าไปในโพรงต่างๆของร่างกายผู้หญิง
ในการปกป้อง Lacan, Juliet Mitchell ได้สร้างประเด็นที่สำคัญบางอย่างขึ้นมา. เธออ้างว่า บรรดานักสิทธิสตรีทั้งหลายไม่เข้าใจฐานะตำแหน่งของ Lacan อย่างเพียงพอ และเธอเสนอแนะว่า เขาได้จัดหาคำอธิบายละเอียดละออและระมัดระวังอันหนึ่งขึ้นมา เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในลักษณะปิตาธิปไตย
ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังถกเถียงว่า บรรดานักสิทธิสตรีทั้งหลายไม่ได้เข้าใจอย่างเต็มที่คำอธิบายในเชิงจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับปิตาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ความสัมพันธ์อย่างง่ายๆธรรมดาระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งคู่มีต่อเครื่องเพศ(phallus-ความสมบูรณ์)
นักเขียนคนอื่นๆ อย่าง Elli Ragland-Sullivan ก็ปกป้อง Lacan และเน้นถึงความสำเร็จของเขาด้วย ในการสลัดหลุดจากทฤษฎีแบบ Freudian เกี่ยวกับลัทธิชีววิทยา(biologism). เธอได้ให้เหตุผลว่า นักวิจารณ์บางคนเกี่ยวกับ Lacan อย่าง Irigaray อ่านเขาอย่างถึงแก่น มากกว่าจะอ่านเขาในเชิงโครงสร้าง และด้วยเหตุนี้จึงมองเขาอย่างมีเงื่อนไข แทนที่การอธิบายและในเชิงวิเคราะห์
ในทัศนะของเธอ การประเมินของ Irigaray เกี่ยวกับ Lacan ในฐานะที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนเครื่องเพศชายเป็นสิ่งที่ผิดพลาด; เธอไม่ได้เข้าใจอย่างเต็มที่ถึงธรรมชาติของสัญลักษณ์เกี่ยวกับคำบ่งชี้เรื่องเครื่องเพศแบบ Lacanian ซึ่งเป็นกลาง(neutral)ในตัวของมันเอง
Elizabeth Grosz เชื่อว่า บรรดาผู้ที่ปกป้อง Lacan ต่างถูกต้องในสองกระทง
อันแรก, Lacan ได้เปลี่ยนพื้นฐานความเข้าใจของเราเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างๆเชิงอำนาจแบบปิตาธิปไตย และการผลิตซ้ำทางสังคมของมัน. นั่นคือกล่าวว่า ไม่ใช่ผู้ชายเองซึ่งก่อให้เกิดการกดขี่ผู้หญิง แต่ค่อนข้างจะเป็นเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคมและโครงสร้างทางภาษามากกว่า กระนั้น ในหลักการหรือวิธีคิดของเขาเกี่ยวกับโครงสร้างอันนี้เป็นกฎอันหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้, การครอบงำแบบปิตาธิปไตยไม่ได้ถูกท้าทายมากนักเท่ากับถูกแทนที่, จากชีววิทยา สู่กฎของภาษาเชิงสังคมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้เท่ากันเกี่ยวกับความเป็นพ่อ
อันที่สอง แม้ว่าตัวเขาเองไม่ได้ยอมรับโครงสร้างเกี่ยวกับการกดขี่แบบปิตาธิปไตย แต่ Lacan ก็ได้จัดหาปัจจัยที่สำคัญมากบางอย่างสำหรับการอธิบายและขยายความเกี่ยวกับส่วนประกอบทางจิตเกี่ยวกับการกดขี่ผู้หญิงขึ้นมา
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)