การเรียกร้องของ Lyotard
ก็คือ
เขาขอให้พวกเราปฏิเสธวาทกรรมหลัก
(grand narrative)[นั่นคือ, ทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากล]ของวัฒนธรรมตะวันตก
เพราะปัจจุบัน พวกมันได้สูญเสียสถานะความน่าเชื่อถือไปแล้วทั้งหมด ซึ่งอันนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นข้อสรุปของจิตวิญญานหรือแถลงการณ์ของลัทธิหลังสมัยใหม่
ด้วยการดูถูกเหยียดหยามต่ออำนาจในลักษณะภายนอก
มันไม่มีประเด็นผูกมัดใดๆอีกแล้วในการถกเถียง ยกตัวอย่างเช่น ลัทธิมาร์กซิสม์ ข้อโต้เถียงในเชิงเหตุผลดำเนินไป; แน่นอน เราควรจะเมินเฉยมันในฐานะสิ่งที่ไม่ตรงประเด็นต่อความเป็นอยู่ของเรา.
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
โครงการการเสวนาพิจารณ์เนื่องในวันสันติภาพไทย
เรื่อง "ท่อก๊าซไทย-มาเลย์:ปัญหาและทางออก "
(จากรัฐบาลรู้อย่างไร ประชาชนรู้อย่างนั้น ถึงรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร
ต้องมีคำอธิบายที่เข้าใจได้)
หลักการและเหตุผล
"สันติภาพ" อาจเกิดขึ้นได้จริงจาก "การร่วมสร้าง"
สังคมไทยในขณะนี้เกิดปรากฏการณ์ที่ยอมรับกันว่าโครงการพัฒนาทั้งหลายที่มีปัญหานำมาสู่ความรุนแรงนั้น เกิดขึ้นเพราะขาดการมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนานั้น ๆ เราจะมีส่วนร่วมสร้างไม่ให้เกิดความรุนแรงนั้นได้อย่างไร
ในเรื่องของท่อก๊าซไทย - มาเลย์ การที่รัฐบาลโดยสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "การพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย - มาเลย์ โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด รวมสามโครงการ" (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 ในส่วนของโครงการท่อก๊าซไทย - มาเลย์ มีรายละเอียดอยู่ 4 บรรทัด คือ
"รัฐบาลตกลงที่จะให้ดำเนินการต่อไปตามสัญญา และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชน ซึ่งให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เปลี่ยนจุดวางท่อขึ้นฝั่งจากจุดเดิมไปในรัศมีไม่เกิน 5 กม. ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใช้แล้ว แล้วให้ทำความเข้าใจกับราษฎร์ในพื้นที่ด้วย"
โดยข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่าแถลงการณ์ดังกล่าวไม่มีความชัดเจนแม้แต่น้อย โดยเฉพาะในประเด็นที่สำคัญ คือ ที่ตั้งของจุดวางท่อขึ้นฝั่งจุดเก่าและจุดใหม่ที่ระบุว่าได้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้ รวมทั้งไม่มีการระบุถึงแนวทางและรายละเอียดในการทำความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ ขณะที่ล่าสุดเครือข่ายประชาชนที่คัดค้านโครงการก็ยังยืนยันต่อสาธารณชนว่า จะคัดค้านโครงการต่อไปจนถึงที่สุด
เนื่องจากประเด็นการคัดค้านไม่ได้อยู่ที่ว่า ท่อก๊าซจะขึ้นฝั่งบริเวณใดในจังหวัดสงขลา แต่เหตุผลที่แท้จริงในการคัดค้านนี้ว่า คือ ความไม่โปร่งใส ความไม่สมเหตุสมผล ความไม่เป็นธรรมของสัญญา และที่สำคัญก็คือความไม่จำเป็นในการนำก๊าซขึ้นมาใช้ ในขณะที่ภาคใต้ตอนล่างยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เพียงพอต่อการรองรับ ซึ่งแท้จริงแล้วก็เป็นภาวะการณ์ที่ประชาชนในพื้นที่มีความพอใจอยู่แล้ว เพราะไม่ต้องการให้ภาครัฐหลงใหลวิถีการพัฒนาอุตสาหกรรมจนสิ้นจุดแข็งที่แท้จริงของประเทศ
นอกจากนี้ยังปรากฎว่ามีกรรมการผู้ชำนาญการ ซึ่งทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่อก๊าซไทย - มาเลย์ ได้ยืนยันว่า EIA โครงการนี้ยังไม่ผ่านความเห็นชอบในส่วนของผลกระทบด้านสังคม ดังนั้นการดำเนินการใด ๆ ในโครงการนี้จึงยังไม่สามารถกระทำได้ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 56
ด้วยเหตุนี้สังคมไทยจึงสับสนและไม่เข้าใจถึงสถานการณ์ที่แท้จริงของโครงการท่อก๊าซไทย - มาเลย์ ว่ามีข้อยุติหรือจะมีแนวโน้มอย่างไรกันแน่ แต่ถ้าหากภาครัฐยังตกลงใจจะให้ดำเนินการต่อไป ในขณะที่ภาคประชาชนพร้อมจะคัดค้านโครงการต่อไปจนถึงที่สุด ความรุนแรงสถานเดียวที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ประชาชนคนไทยไม่เคยมีโอกาสได้เรียนรู้หรือมีโอกาสเลือกที่จะกำหนดทางเลือกของตนเอง ความช่วยเหลือและการพึ่งตนเองโดยธรรมชาติ คือ แรงกายแรงใจ ซึ่งคนอื่นจะเห็นว่าเป็นเรื่อง "ความรุนแรง" คณะรัฐศาสตร์ในฐานะสถาบันการศึกษา น่าจะมีส่วนในการร่วมสร้างให้เกิดวิธีการโดยสันติในเรื่องนี้ได้ส่วนหนึ่ง คือ จัดให้มีเวทีเสวนาพิจารณ์ "ท่อก๊าซไทย - มาเลย์ : ปัญหาและทางออก" เพื่อตอบคำถามต่อสาธารณชน ในขณะที่ดูเหมือนไม่มีความชัดเจนที่น่าเชื่อถือได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐบาล และเพื่อให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบมีโอกาสในทางเลือกอื่น นอกจากการพึ่งตนเองด้วยกำลังแรง เช่น ทางเลือกตามครรลองของกฎหมายเป็นต้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสรุปข้อเท็จจริงและสถานการณ์ล่าสุดทางโครงการท่อก๊าชไทย-มาเลย์
2. เพื่อสรุปประเด็นปัญหาและทางออกของโครงการในความเห็นของผู้เกี่ยวข้อง
3. เพื่อผลักดันให้รัฐบาลตัดสินใจหรือดำเนินนโยบายต่อโครงการนี้ด้วยความถูกต้องชอบธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง
กำหนดการเสวนา
วันพฤหัสบดีที่
22 สิงหาคม 2545 : วันสันติภาพไทย เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมพระยาสุนทรพิพิธ
(ร.202) ชั้น 2 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
รูปแบบการดำเนินการ
จัดเวทีเสวนาให้วิทยากรอภิปรายข้อเท็จจริง และเสนอความคิดเห็นที่ชัดเจน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของสาธารณชน
และให้ผู้เข้าฟังการเสวนาได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสอบถามข้อเท็จจริง
ก่อนจะมีการแถลงสรุปผลการเสนอ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาดำเนินการทางรัฐบาลต่อไป
ผู้รับผิดชอบ
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
กำหนดการ
โครงการเสวนาพิจารณ์เนื่องในวันสันติภาพไทย
เรื่อง "ท่อก๊าซไทย - มาเลย์ : ปัญหาและทางออก"
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม
2545
เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องพระยาสุนทรพิพิธ (ร.202) ชั้น 2 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
08.45 ลงทะเบียนรับเอกสาร (สรุปความเป็นมาของโครงการและเอกสารประกอบ)
09.00 - 10.45 เสวนาเรื่อง "ท่อก๊าซไทย - มาเลย์ : ปัญหาและทางออก"* คุณกิตติภพ สุทธิสว่าง จากกลุ่มรักษ์จะนะ
* น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ จากคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วม วุฒิสภา
* ม.ล.วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ จากสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน EIA ท่อ ก๊าซ)
* คุณวสันต์ พานิช จากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
* คุณวรินทร์ เทียมจรัส จากสภาทนายความ
* คุณไพโรจน์ พลเพชร จากสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
* รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จากศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้ดำเนินรายการ)10.45 - 11.45 เปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมเสวนาสอบถามข้อเท็จจริงเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
(เช่น คปต. สมาพันธ์ประชาธิปไตยชมรมร่วมใจไทยกู้ชาติ, กลุ่มพิจารณาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนสงขลา, สภามหาวิทยาลัยลานหอยเสียบ)- กลุ่มอนุรักษ์กาญจน์, กลุ่มคัดค้าน พ.ร.บ. แร่ (อป.อพช.อีสาน), ชมรมทนายความเพื่อสิ่งแวดล้อม, ชมรมคนรักษ์สตึก, กลุ่มบ่อนอกรักษ์ถิ่น, ปxป, เป็นต้น)
11.45 - 12.00 รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสารสันติภาพ แถลงผลการเสวนาหาทางออกของปัญหา รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ กำหนดนโยบายการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 76)
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)
แนวคิดของ
Lyotard และคนดังหลังสมัยใหม่
( ลัทธิหลังสมัยใหม่และปรัชญา
: Postmodernism and Philosophy : Stuart Sim)
แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปรัชญา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจารีตปรัชญาฝรั่งเศสเมื่อไม่นานมานี้ นับว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการถกเถียงกันเรื่องลัทธิหลังสมัยใหม่ และเป็นแหล่งต้นตอข้อมูลของทฤษฎีจำนวนมากเกี่ยวกับสิ่งที่ก่อตัวขึ้นมาเป็นลัทธิหลังสมัยใหม่. เป็นไปได้ว่า บุคคลสำคัญซึ่งเป็นผู้นำในปรัชญานี้ก็คือ Jean-Francois Lyotard หนังสือของเขาที่ชื่อว่า The Postmodern Condition: A Report on Knowledge(1979) ได้รับการพิจารณาอย่างกว้างๆในฐานะที่เป็นการแสดงออกในเชิงทฤษฎีที่ทรงพลังเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่.
การเรียกร้องของ Lyotard ก็คือ เขาขอให้พวกเราปฏิเสธวาทกรรมหลัก(grand narrative)[นั่นคือ, ทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากล]ของวัฒนธรรมตะวันตก เพราะปัจจุบัน พวกมันได้สูญเสียสถานะความน่าเชื่อถือของมันทั้งหมดลงไปแล้ว (รายละเอียด)
คืนวันหนึ่งกับความว่างเปล่า
คืนวันหนึ่งกับความว่างเปล่า
ไร้ดาว ไร้เดือน ไร้เมฆ
กระดาษแผ่นหนึ่งกับความว่างเปล่า
ไร้ถ้อยคำ ไร้คำ ไร้ความหมาย
ใจดวงหนึ่งกับความว่างเปล่า
ไร้ทุกข์ ไร้สุข ไร้ปรารถนา
เครือมาศ วุฒิการณ์
๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๒
เมื่อแรกตั้งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเมื่อหลายปีก่อน อ.เครือมาศ ได้อนุญาตให้คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ใช้สถานที่ใต้ร่มไม้ใหญ่และเรือนไทลื้อ ภายในสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. เป็นที่เล่าเรียน และได้เข้ามามีส่วนร่วมกับคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเสมอๆ
พวกเราทุกคนรู้จัก อ.เครือมาศในฐานะ อาจารย์ติ่ง ผู้อยู่ในชุดของชาวล้านนาและชุดพื้นเมืองอันสมสง่า ที่มากยิ่งไปกว่านั้น รอยยิ้มและความงดงามในจริยวัตรพร้อมถ้อยคำสนทนา ล้วนเป็นความสวยสง่าอันน่าประทับใจ อาจารย์ติ่งดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย และดำรงตนอยู่ในขนบประเพณีของชาวล้านนาอย่างสมบูรณ์ยิ่ง
พวกเรามักทำกิจกรรมร่วมกันเสมอในวิถีของชาวพุทธ หลายต่อหลายครั้งเรามาร่วมงานที่อาจารย์ติ่งจัดขึ้นที่สำนักส่งเสริม ฟังอาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปกบ้าง ฟังอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์บ้าง ฟังสาวิกาของท่านติช นัท ฮันห์บ้างซึ่งอาจารย์ติ่งได้จัดขึ้น และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงาน"ธรรมคีตา"กับอาจารย์ที่เชียงใหม่
เราทุกคนระลึกถึงอาจารย์ติ่ง และรู้สึกถึงการจากไปอย่างรู้ตัวของอาจารย์ ด้วยความตกใจและเศร้าสลด เราไม่อาจปั้นถ้อยคำและความรู้สึกออกเป็นวลีที่งดงามได้เพราะในหมู่พวกเราไม่มีกวีที่สามารถ ด้วยเหตุนี้ เราจึงอัดอั้นตันใจ และโปรยยิ้มให้กับดวงดาวดวงนี้ เป็นสิ่งแทนแสดงความรู้สึกอย่างเดียวกับที่อาจารย์คาดหวัง ซึ่งเราคิดว่าอย่างนั้น