โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update: 1 June 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๒๖๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ (June, 01, 06,.2007)
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ตนรู้จัก พ.ต.ท. ทักษิณฯ ตั้งแต่บิดาของตนดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย ...สิ่งที่ทำให้ตนและ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ขัดแย้งกันคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการประกาศสงครามกับยาเสพติดในปี 2544 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่รัฐบาลทักษิณสนับสนุนให้มีการฆ่าตัดตอน โดย พ.ต.ท. ทักษิณฯ ประกาศอยู่เสมอว่า มีสถานที่สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 2 แห่ง คือ คุก และโลงศพ และมีการนับจำนวนผู้ตายจากสงครามยาเสพติด โดย 15 วันแรก พ.ต.ท. ทักษิณฯ ประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตจากนโยบายดังกล่าว 518 ศพ และเพิ่มเป็นราว 2,800 ภายใน 3 เดือน
01-06-2550

Propaganda
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

เรียนรู้อย่างใช้วิจารณญาน สนับสนุนพลังของการตรวจสอบ
รายงานสรุปการโฆษณาของนักวิชาการให้รัฐบาลและ คปค (ตอนที่ ๑)

กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ขอขอบคุณสื่อมวลชน ซึ่งส่งรายงานฉบับนี้มาให้

รายงานสรุปฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งได้เดินทางไปต่างประเทศ ราวปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ความจำเป็นในการทำรัฐประหาร และการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว หลังโค่นอำนาจรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เปิดพื้นที่สาธารณะนี้ขึ้นเพื่อการตรวจสอบ
บนพื้นฐานของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy)
หากผู้อ่านมีความคิดเห็นเป็นอื่นใดในเชิงโต้แย้งรายงานสรุปฉบับนี้
และต้องการพื้นที่ในการนำเสนอความเห็นของตน สามารถส่งมาเผยแพร่ได้ที่
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับ
เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงทุกประการ ในการนำไปใช้อ้างอิงได้ทางวิชาการ

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๒๖๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++

เรียนรู้อย่างใช้วิจารณญาน สนับสนุนพลังของการตรวจสอบ
รายงานสรุปการโฆษณาของนักวิชาการให้รัฐบาลและ คปค (ตอนที่ ๑)

กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม

(๑) สรุปผลการอภิปรายกับชุมชนชาวไทยของผู้ทรงคุณวุฒิ
ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เมืองชตุทท์การ์ต ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
กล่าวนำโดย ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ. สุรัตน์ โหราชัยกุล การเยือนของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผลจากความไม่ถูกต้องของข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ในช่วงหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2550 รัฐบาลชุดที่แล้วแทรกแซงองค์กรอิสระ ใช้อำนาจรัฐบาลเสียงข้างมาก ซึ่งนำไปสู่ระบบทรราชย์ ระบบกลไกตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ มีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง อาทิ การฆ่าตัดตอน (ซึ่งมีข้อมูลระบุว่าผู้เสียชีวิต 1800 ราย จาก 2300 รายอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด), ปัญหาตากใบ, กรือเซะ, ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐานในการชุมนุมโดยสงบ, การขายบริษัท Shin Corp, การทุจริตเลือกตั้งโดยการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเพิ่ม, การแทรกแซงสื่อ และริดรอนเสรีภาพสื่อ, การสร้างหนี้สินครัวเรือนโดยนโยบายกองทุนหมู่บ้าน, การข่มขวัญผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล

นายสุรสีห์ โกศลนาวิน (กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) ในช่วงสมัยรัฐบาลที่แล้ว องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ไทยอธิบายข้อกล่าวหาในการละเมิดสิทธิมนุษยชน (รวม 26 คดี) ในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี พตท.ทักษิณ ชินวัตร โดยนายสุรสีห์ฯ ได้เน้นหนักว่า ปัญหาร้ายแรงที่สุดในประเด็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคของ ทักษิณฯ คือ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย หรือปัญหาด้านหลักนิติธรรม (rule of law) อาทิ การฆ่าตัดตอนโดยการขึ้นบัญชีดำผู้ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมและใช้เป็นเครื่องมือสนองนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจของตำรวจ การใช้ พรก.บริหารราชการแผ่นดินในยามฉุกเฉิน ซึ่งทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม เนื่องจากเป็นนโยบายที่สนับสนุนความรุนแรง เหตุการณ์กรือเซะ และตากใบ การเปิดสวนสัตว์ไนต์ซาฟารีที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการบุกรุกป่าสงวน

ศ.ดร. จรัส สุวรรณมาลา (คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ การให้อำนาจวุฒิสภาในการแต่งตั้งผู้แทนองค์กรอิสระ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาฝ่ายรัฐบาลแต่งตั้งผู้แทนที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐบาล จึงทำให้รัฐบาลแข็งแกร่งเพราะมีเสียงข้างมากในสภาฯ และมีองค์กรอิสระที่เอื้อประโยชน์ต่อตน ทำให้เกิดรัฐบาลทรราชย์ที่มาจากการเลือกตั้ง และมีการตั้งงบประมาณกลางที่สูงผิดปกติถึง 2 เท่า และนำไปใช้เป็นเครื่องมือหาเสียง การสร้างภาระหนี้โดยไม่ให้ปรากฏในบัญชีของรัฐ

ทางออกที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ การให้อิสระแก่ สส., การนำกลไกของสถาบันตุลาการมาแก้ไขปัญหาทางการเมือง เพื่อให้การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็งขึ้น การทำให้รัฐธรรมนูญปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และให้ประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริงได้โดยไม่ต้องบัญญัติกฎหมายลูก

ผศ.ดร. พิรงรอง รามสูต (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ) ข้อเปรียบเทียบระหว่างการแทรกแซงและใช้สื่อของรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลชุดปัจจุบัน คือ รัฐบาลทักษิณ ใช้กลไกที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการควบคุมสื่อ อาทิ การสร้างความกลัวโดยการใช้กระบวนการยุติธรรม (เช่น ฟ้องสื่อและบุคคลที่วิจารณ์รัฐบาลทักษิณฯ) และองค์กรอิสระต่างๆ โจมตีสื่อ รวมถึงการลงโฆษณาแก่สื่อที่เอื้อประโยชน์ให้ตน

การกระทำโดยแนบเนียน คือ ใช้อำนาจทุนที่มีซื้อและควบคุมสื่อ และการเล่นงานสื่อมวลชนที่วิจารณ์รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มีรายการวิทยุโทรทัศน์เป็นของตนเอง และมีการเบี่ยงเบนความสนใจของข่าวจากเรื่องร้ายเป็นเรื่องดี เช่น การสร้างกระแสข่าวว่าประเทศไทยจะซื้อทีมฟุตบอลลิเวอร์พูล การคุกคามสื่อโดยใช้พันธมิตรทางการเมือง เช่น แท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง โดยยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นครั้งแรกที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ทางการเมือง

หลังจากการรัฐประหาร คมช. และรัฐบาล เป็นผู้ใช้อำนาจในการปิดกั้นสื่อ แต่ต่างจากยุครัฐบาลทักษิณคือ การควบคุมสื่อเป็นไปอย่างเปิดเผย โดยเป็นการขอร้องไม่ใช่การปิดกั้น และสื่อส่วนใหญ่มักเซ็นเซอร์ตัวเอง (self-censored) จากการเสนอข่าวที่มีความอ่อนไหวสูง (sensitivity)

ดร. ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ (อดีตสมาชิกวุฒิสภา) สิทธิของชาวไทยโพ้นทะเลในการแสดงออกทางการเมืองเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง รัฐบาลทักษิณไม่เคยปรึกษาตนและไม่ฟังคำแนะนำของผู้ใดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกเลิกนโยบายกดดันพม่า และมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง. นอกจากนี้การมีความสัมพันธ์และการให้กู้เงินจาก ธนาคารเพื่อการส่งออก (Exim Bank) แก่พม่าเป็นจำนวน 4000 ล้านบาท เป็นการส่งเสริมให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และเป็นการสร้างปัญหาให้ชาวพม่าอพยพเข้ามาไทยมากขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือรัฐบาลทักษิณสนับสนุนระบอบเผด็จการทหารพม่าอย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยแลกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าที่ฝ่ายเผด็จการทหารพม่าหยิบยื่นให้ทักษิณและพรรคพวก แต่ประเทศไทยไม่ได้อะไรเลย

รัฐบาลทักษิณแทรกแซงกลไกการตรวจสอบของรัฐสภา โดยไม่อนุญาตให้มีการอภิปรายในเรื่องที่มีผลกระทบในทางลบกับรัฐบาล การฆ่าตัดตอนในระหว่างการประกาศสงครามต่อต้านยาเสพย์ติด ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและผู้ที่ขัดขวางนโยบายรัฐบาล รัฐบาลปัจจุบันมีภาระในการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลทักษิณ อาทิ ผลกระทบจากการทำ FTA กับประเทศต่างๆ และการนำพาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตย

ช่วงถาม-ตอบ

1. เห็นด้วยหรือไม่กับการที่รัฐบาลจะจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย


ผศ.ดร. พิรงรอง
- การปฎิรูปสื่อให้มีความเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า

ผศ. สุรัตน์ - ในสถานการณ์ปัจจุบันที่การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องยาก อาจมีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ อย่างไรก็ดี ต้องระวังไม่ให้เป็นการเปิดสงครามสื่อกับ พ.ต.ท. ทักษิณฯ เพราะจะเป็นการเข้าไปติดกับดักทางการเมืองของทักษิณ

2. จะทำอย่างไรเพื่อให้ชุมชนและประชาชนมีภูมิคุ้มกันในตนเอง และจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้การศึกษาตกอยู่ภายใต้การเมือง

ศ.ดร.จรัส - การจัดบริการสาธารณะเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาล อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่ต้องการให้มีการแยกการจัดบริการสาธารณะโดยไม่อ้างอิงนโยบายรัฐบาล

3. โอกาสที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะผ่านการลงคะแนนประชามติมีมากเพียงใด หากไม่ผ่าน รัฐธรรมนูญฉบับใดที่จะถูกนำมาใช้ ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นพื้นฐานในการร่าง และแก้ไขเฉพาะบางบท เพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว

ศ.ดร. จรัส - จากการเดินสายทำประชาพิจารณ์ของตน มีแนวโน้มสูงที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะผ่าน การลงประชามติ หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่าน รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 จะถูกนำมาแก้ไขในบางมาตราแล้วประกาศใช้ เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีพื้นฐานอยู่บนร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มากกว่าครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายน 2550 และจะมีการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมอย่างแน่นอน

4. การให้สิทธิ ส.ส. ละเมิดมติพรรค เป็นการเปิดโอกาสให้มีการซื้อเสียงหรือไม่ และเป็นการทำให้มติพรรคหมดความหมายลงไปหรือไม่

ศ.ดร. จรัสฯ - จุดประสงค์คือการให้ ส.ส. มีอิสระในการไตร่ตรองเรื่องต่างๆ เพื่อประโยชน์ของชาติ
อย่างแท้จริง และไม่โดนผูกติดกับมติพรรคและเป็นเพียงตรายางให้พรรคเท่านั้น

5. ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส.ว. มีอำนาจอย่างไรบ้าง มีการคัดสรรอย่างไร?

ศ.ดร. จรัสฯ - ประชาชนหวังที่จะได้ สว. ที่ปลอดจากอิทธิพลของพรรคการเมือง มีข้อเสนอให้มีการสรรหา แต่เสียงประชาชนส่วนใหญ่คือต้องการให้มีการเลือกตั้ง

ดร. ไกรศักดิ์ฯ - ปัญหาของการคัดสรร สว. คือการซื้อเสียง ทางออกคือการตรวจสอบ กกต. และการให้ประชาชนเข้าถึงข่าวสาร

6. ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีอำนาจเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร?

ศ.ดร. จรัสฯ - ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อนุญาตให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเป็นโจทก์ฟ้องร้องในเรื่องต่างๆ สู่ศาลได้เอง

7. จุดประสงค์ของคณะผู้ทรงคุณวุฒิที่เดินทางมาคืออะไร การบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นอย่างไร และแนวทางการบริหารในอนาคตเป็นอย่างไร?

ผศ. สุรัตน์ฯ - การมาของผู้ทรงคุณวุฒิมีจุดประสงค์เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยโดยให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

ศ.ดร. จรัสฯ - สิ่งที่รัฐบาลรักษาการทุกชุดมีหน้าที่ต้องทำคือ เตรียมปูพื้นฐานให้กับรัฐบาลใหม่ และ ไม่เสนอนโยบายใหม่ สิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ต้องทำคือแก้ไขปัญหาที่เกิดจากรัฐบาลชุดที่แล้ว

8. คนไทยในประเทศไทยเข้าใจสิทธิของตนเองมากแค่ไหน

นายสุรสีห์ฯ - สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนได้รับการรับรองในกฎหมายต่างๆ อาทิ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง และกฎหมายอื่นๆ ปัญหาอยู่ที่การบังคับใช้กฎหมาย

9. อธิบายวิธีการโกงของรัฐบาลทักษิณ

ศ.ดร. จรัสฯ - เป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงในเชิงนโยบาย โดยการออกกฎหมายและกฎระเบียบที่อำนวยประโยชน์แก่ธุรกิจและพวกพ้องของตน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีหมวดว่าด้วยเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

10. ในอนาคตจะมีการสืบทอดอำนาจโดย คมช. หรือไม่
ผศ. สุรัตน์ฯ - เชื่อว่าไม่มี แต่หากมีการสืบทอดอำนาจ ก็เท่ากับเป็นการฆ่าตัวตาย ไม่ทราบว่ามีความตั้งใจที่จะสืบทอดอำนาจในบางส่วนของ คมช. หรือไม่


(๒) สรุปผลการอภิปรายกับชุมชนชาวไทยของผู้ทรงคุณวุฒิ
ณ วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี


วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ - ๑๘.๐๐ น.
กล่าวนำโดย ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผศ. สุรัตน์ฯ โหราชัยกุล การเยือนของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผลจากความไม่ถูกต้องของข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ในช่วงหลังการรัฐประหาร รัฐบาลชุดที่แล้วแทรกแซงองค์กรอิสระ ใช้อำนาจรัฐบาลเสียงข้างมาก ซึ่งนำไป สู่ระบบทรราชย์ ระบบกลไกตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ มีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง อาทิ การฆ่าตัดตอน (ซึ่งมีข้อมูลระบุว่าผู้เสียชีวิต 1800 ราย จาก 2300 รายอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด) ปัญหาตากใบ กรือเซะ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐานในการชุมนุม โดยสงบ การขายบริษัท Shin Corp การทุจริตเลือกตั้งโดยการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเพิ่ม การแทรกแซงสื่อ และริดรอนเสรีภาพสื่อ การสร้างหนี้สินครัวเรือนโดยนโยบายกองทุนหมู่บ้าน การข่มขวัญผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล

นายสุรสีห์ โกศลนาวิน (กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) ในช่วงสมัยรัฐบาลที่แล้ว องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ไทยอธิบายข้อกล่าวหาในการละเมิดสิทธิมนุษยชน (รวม 26 คดี) ในสมัยอดีต นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยนายสุรสีห์ฯ ได้เน้นหนักว่า ปัญหาร้ายแรงที่สุดในประเด็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคของ ทักษิณฯ คือ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย หรือปัญหาด้านหลักนิติธรรม (rule of law) อาทิ การฆ่าตัดตอนโดยการขึ้นบัญชีดำผู้ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมและใช้เป็นเครื่องมือสนองนโยบายของรัฐบาล และการกำจัดหัวคะแนนของนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจของตำรวจ การใช้ พรก.บริหารราชการแผ่นดินในยามฉุกเฉินซึ่งทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม เนื่องจากเป็นนโยบายที่สนับสนุนความรุนแรง เหตุการณ์กรือเซะ และตากใบ การเปิดสวนสัตว์ไนท์ซาฟารี ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการบุกรุกป่าสงวน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ออกแถลงการณ์ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุครัฐบาลทักษิณ ซึ่งเทียบเท่ากับการปกครองในรัฐบาลทหารในอดีต

ศ.ดร. จรัส สุวรรณมาลา (คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) - รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ การให้อำนาจวุฒิสภาในการแต่งตั้งผู้แทนองค์กรอิสระ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาฝ่ายรัฐบาลแต่งตั้งผู้แทนที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐบาล จึงทำให้รัฐบาลแข็งแกร่งเพราะมีเสียงข้างมากในสภาฯ และมีองค์กรอิสระที่เอื้อประโยชน์ต่อตน ทำให้เกิดรัฐบาลทรราชย์ที่มาจากการเลือกตั้ง และมีการตั้งงบประมาณกลางที่สูงผิดปกติถึงสองเท่า และนำไปใช้เป็นเครื่องมือหาเสียง การสร้างภาระหนี้โดยไม่ให้ปรากฏในบัญชีของรัฐ ทางออกที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ การให้อิสระแก่ สส. การนำกลไกของสถาบันตุลาการมาแก้ไขปัญหาทางการเมือง เพื่อให้การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็งขึ้น การทำให้รัฐธรรมนูญปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และให้ประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริงได้โดยไม่ต้องบัญญัติกฎหมายลูก

ผศ.ดร. พิรงรอง รามสูต (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) รัฐบาลทักษิณใช้นโยบายในการครอบงำสื่อ โดยการยึดครองสื่อผ่านทางอำนาจทุน กรณี ITV เป็นกรณีศึกษาที่ดี. ITV เกิดขึ้นในยุครัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ในปี 2539 หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างทหารและประชาชน โดยมีข้อบังคับคือ

1) ห้ามมิให้ผู้ถือหุ้น ITV เกี่ยวข้องกับการเมือง
2) ไม่ให้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ไม่เกินร้อยละ 10)
3) นำเสนอเนื้อหาสาระร้อยละ 70 และบันเทิงร้อยละ 30 โดยบังคับให้มีรายการข่าว / รายการที่มีเนื้อหาสาระในช่วง prime time

อย่างไรก็ดี ITV มีจุดเปลี่ยนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 จึงต้องมีการระดมทุนเพิ่ม รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในขณะนั้นอนุญาตให้ธนาคารไทยพาณิชย์ยกเลิกกฎห้ามการมีผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบตามที่ร้องขอ โดยในที่สุดบริษัท Shin Corp เป็นผู้ถือครองกิจการของ ITV และต้องการกำหนดทิศทางการทำงานของกองบรรณาธิการ ซึ่งนำโดยนายสุทธิชัย หยุ่น และทีมงาน The Nation เป็นผลให้บุคคลดังกล่าวออกจาก ITV และมีการดึงนายไตรภพ ลิมปพัทธ์ เข้ามาร่วมทุนทำให้ ITV กลายเป็นช่องที่เน้นรายการบันเทิงมากขึ้น

บริษัท Shin Corp ขออำนาจจากอนุญาโตตุลาการ ในการแก้ไขข้อบังคับของ ITV ให้มีการผลิตรายการบันเทิงในสัดส่วนที่มากขึ้น โดยอนุญาโตตุลาการมีความเห็นให้สัดส่วนรายการที่ให้สาระความรู้/บันเทิงอยู่ที่ร้อยละห้าสิบของรายการทั้งหมดเท่ากัน ลดค่าสัมปทานลงร้อยละ 6.5 และยกเลิกข้อกำหนดการห้ามออกอากาศรายการบันเทิงช่วง prime time. ตนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกในการรับรู้ข่าวสาร และทำให้หน้าที่ของสื่อในการตรวจสอบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ และทำให้ประชาชนไม่รู้เท่าทันรัฐบาล

ในเดือนพฤษภาคมปี 2550 ศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการเรื่องข้อบังคับของ ITV เป็นโมฆะ และให้ ITV จ่ายค่าสัมปทานที่ค้างอยู่พร้อมค่าปรับ เมื่อ ITV ไม่สามารถปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล คลื่นความถี่ UHF จึงตกเป็นของรัฐบาลผู้เป็นเจ้าของคลื่นดั้งเดิม

ในปัจจุบัน รัฐบาลกำลังจะออกพระราชบัญญัติซึ่งจะมีผลให้ ITV กลายเป็นสื่อสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้งบประมาณที่ได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิต. มีการตั้งข้อสังเกตว่า การกระทำดังกล่าวจะเป็นไปได้ยากในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเนื่องจากจะมีการแทรกแซงจากกลุ่มทุน จึงมีคำกล่าวที่ว่า บางทีเสรีภาพอาจได้มาจากปลายกระบอกปืน

ดร. ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ (อดีตสมาชิกวุฒิสภา) ตนรู้จัก พ.ต.ท. ทักษิณฯ ตั้งแต่บิดาของตนดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย และ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ได้ขอเข้ามาร่วมเล่นการเมือง สิ่งที่ทำให้ตนและ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ขัดแย้งกันคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะการประกาศสงครามกับยาเสพติดในปี 2544 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของนโยบายที่รัฐบาลทักษิณสนับสนุนให้มีการฆ่าตัดตอน โดย พ.ต.ท. ทักษิณฯ ประกาศอยู่เสมอว่า มีสถานที่สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 2 แห่ง คือ คุก และโลงศพ และมีการนับจำนวนผู้ตายจากสงครามยาเสพติด โดย 15 วันแรก พ.ต.ท. ทักษิณฯ ประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตจากนโยบายดังกล่าว 518 ศพ และเพิ่มเป็นราว 2,800 ภายใน 3 เดือน โดยมีการทำบัญชีดำของชื่อผู้ที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมค้ายาเสพติด โดยให้ชาวบ้านและผู้คนทั่วไปหย่อนบัตรเขียนชื่อคนที่อยู่ในข่ายต้องสงสัย จึงเป็นช่องว่างให้เกิดการกลั่นแกล้ง รวมถึงการสังหารคู่แข่งทางการเมือง โดยกระทรวงยุติธรรมได้ระบุว่า กว่าร้อยละ 40 ของคดีฆ่าตัดตอนไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

- ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตนเคยดำรงตำแหน่งเป็น ส.ว. นั้น มีคนที่ตนรู้จัก และสนิทคุ้นเคย รวมถึงคนในพื้นที่เสียชีวิตไปกว่า 200 ศพ ภายในช่วงแรกของการประกาศสงครามยาเสพติด โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตเป็นบุตรชายของครูใหญ๋ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งถูกสังหารหลังจากการไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

- ภายใต้ระบอบทักษิณยังเกิดปรากฏการณ์รัฐตำรวจ คือการที่ตำรวจใช้อำนาจข่มขู่ประชาชน และดำเนินคดีกับประชาชนที่บริสุทธิ์ โดยในปัจจุบันอธิบดีกรมราชทัณท์เปิดเผยว่า จากผู้ที่ถูกจำคุกอยู่กว่า 200,000 คน, มี 7,000 คนที่รับสารภาพว่ากระทำผิดเพราะถูกทรมานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

- แม้ว่าจะมีการประกาศสงครามกับยาเสพติด แต่ปัจจุบันกลับมีจำนวนยาเสพติดเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40
ในประเทศไทย

- สถานการณ์ในภาคใต้ ภาพที่ตนเคยเห็นเกี่ยวกับภาคใต้คือ ความสมานฉันท์ปรองดองระหว่างชาวไทยพุทธและมุสลิม. ก่อนช่วงปี 2545 ยอดคดีฆาตกรรมในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 คดี แต่หลังจากที่ พ.ต.ท. ทักษิณ มีมาตรการขจัดปัญหาในภาคใต้ ยอดผู้เสียชีวิตจากคดีฆาตกรรมเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2,000 คดีต่อปี

- ในหลักการ ตนไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจรัฐประหาร แต่เห็นว่าครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็น และเมื่อเปรียบเทียบกับ ครั้งที่บิดาตนถูกยึดทรัพย์ จะเห็นว่ามีทรัพย์สินมูลค่าเพียง 100 ล้านบาท ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ มีทรัพย์สินมูลค่าเกือบ 200,000 ล้านบาทที่อาจถูกยึด

- ช่วงเหตุการณ์ตากใบมีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ศพ ซึ่งตนได้รับโทรศัพท์จากญาติพี่น้องของชาวมุสลิมที่เสียชีวิตหลายรายร้องขอความเป็นธรรม. ในช่วงเหตุการณ์ตากใบ ตน พร้อมทั้งนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และคณะ ส.ว. อีกกว่า 10 คน ได้ไปดูที่เกิดเหตุโดยภาพที่เห็นคือ ศพที่นอนเรียงทับกันเป็นที่น่าสังเวช และมีการจงใจที่จะฆาตกรรมผู้ชุมนุมประท้วงโดยการให้นอนซ้อนกันในรถบัส เพื่อให้หายใจไม่ออก และใช้เวลาในการเดินทางเป็นระยะเวลานาน โดยจากการข้อมูลของตนระยะเวลาในการเดินทางจาก อ. ตากใบไปยังค่ายทหารฯ ที่ใช้เป็นที่คุมขัง ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง แต่รถบัสที่ขนย้ายผู้ประท้วงบางคันใช้เวลาเดินทางถึงสี่ชั่วโมง

- ด้วยเหตุผลข้างต้น ตนจึงไม่แปลกใจที่องค์กรสหประชาชาติเชิญประเทศไทยไปชี้แจงเกี่ยวกับการละเมิด
สิทธิมนุษยชน โดยมีข้อกล่าวหา 26 ข้อ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน

ช่วงถาม-ตอบ

1. ในช่วงรัฐบาลทักษิณมีการให้ทุนการศึกษาช่วยเหลือนักเรียนต่างจังหวัดรายเดือน รัฐบาลต่อไปจะมีหรือไม่

ผศ. สุรัตน์ - เงินให้ความช่วยเหลือมีหลายรูปแบบ โครงการ 1 ตำบล 1 ทุน ซึ่งส่งนักเรียนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศขณะนี้ถูกยกเลิก และเป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะกำหนดนโยบายของพรรคเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

2. มีหลักฐานใดที่คณะผู้ทรงคุณวุฒิใช้กล่าวอ้างว่า พ.ต.ท. ทักษิณฯ ไม่บริสุทธิ์ และมีความผิดจริงตามข้อกล่าวหา

ผศ. สุรัตน์ - ขณะนี้ คตส. กำลังรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความผิดในหลายกรณี อาทิ การจัดซื้อเครื่องตรวจฯ CTX, ปัญหาการ corruption ในการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ, การซื้อที่ดินรัชดาฯ, โครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะ, และโครงการเพาะเลี้ยงต้นกล้ายาง, ซึ่งคาดว่าจะมีการสรุปผลการรวบรวมภายในวันที่ 30 พ.ค. ศกนี้ อย่างไรก็ดี ความแตกต่างระหว่าง รสช. กับ คมช. และรัฐบาลชุดปัจจุบัน คือ รสช. ใช้อำนาจยึดทรัพย์ทันที ในขณะที่ คมช. และรัฐบาลชุดปัจจุบันปล่อยให้การยึดทรัพย์เป็นไปตามกระบวนการศาลยุติธรรม

3. ไม่เคยมีรัฐบาลชุดใดที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหายาเสพติดก่อนหน้ารัฐบาลทักษิณ หากผู้ที่เป็นญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตเห็นว่า ผู้ที่เสียชีวิตในระหว่างการประกาศสงครามยาเสพติด เป็นผู้บริสุทธิ์ควรฟ้องร้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐเอง


ดร. ไกรศักดิ์ฯ - กฎหมายในยุคปัจจุบันแทบไม่มีช่องว่างให้ประชาชนดำเนินการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐในฐานละเมิด ตนได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และขณะนี้ DSI กำลังดำเนินการสอบสวนคดีผู้เสียชีวิตที่ถูกฆ่าตัดตอนในช่วงรัฐบาลทักษิณ 5 คดี จากทั้งหมด 40 คดีที่ตนเสนอ

4. เมื่อใดจึงจะมีการจัดการเลือกตั้ง เมื่อใดจึงจะคืนอำนาจให้ประชาชน

ศ.ดร. จรัสฯ - จะมีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค. 2550 และคืนอำนาจให้แก่ประชาชนอย่างแน่นอน

5. รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น และปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในยุคข้าวยากหมากแพง

ศ.ดร. จรัสฯ - จริงที่รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อย่างไรก็ดี การสืบทอดต่อจากรัฐบาลที่ใช้งบเกินดุลปีละสองแสนล้านบาท เป็นเวลากว่าสี่ปีติดกัน และซ่อนเงินดังกล่าวไม่ให้ปรากฏบนบัญชีรายจ่ายของรัฐบาล โดยการเลี่ยงให้หน่วยงานด้านเศรษฐกิจของรัฐเป็นผู้ให้เงินกู้แก่ประชาชน และทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อ ซึ่งมีโอกาสเป็นหนี้สูญนั้น เท่ากับเป็นการใช้จ่ายเงินซึ่งไม่แน่ว่าจะได้รับในอนาคตหรือไม่ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันจะไม่ดำเนินมาตรการเดียวกัน

รัฐบาลปัจจุบันตั้งงบในวงเงินที่เท่าที่จะหาได้ แม้จะมีการตั้งงบเกินดุลไปบ้าง โดยปัจจุบันรัฐบาลต้องมีวินัยทางการคลัง เพื่อตั้งงบประมาณจ่ายหนี้สูญที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลที่แล้ว

ผศ. สุรัตน์ - ค่าเฉลี่ยหนี้ครัวเรือนก่อนยุครัฐบาลทักษิณอยู่ที่ 6 หมื่นบาท ในขณะที่หลังจากรัฐบาลทักษิณอยู่ที่ 1.4 แสนบาท

6. อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีประกันสังคมแก่ชาวบ้าน และอยากให้มีการบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

ศ.ดร. จรัสฯ - นโยบายการประกันสังคมเป็นหนึ่งในหมวดสิทธิ และหมวดนโยบายสาธารณะขั้นพื้นฐาน
ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีการบรรจุไว้มาก

- กว่าร้อยละแปดสิบของประชากรทั่วประเทศ ที่เข้าร่วมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ไม่เห็นด้วยที่จะบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยมีส่วนหนึ่งที่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสถานการณ์ในภาคใต้

7. จะเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงได้อย่างไร

ศ.ดร. จรัสฯ - มีการพิมพ์แจกจ่าย การตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ และผ่านทางเว็บไซต์

8. ประชาชนในต่างประเทศมีสิทธิในการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญหรือไม่

ศ.ดร. จรัสฯ - ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง

9. การร่างรัฐธรรมนูญแต่ละครั้งใช้เงินและเวลาเท่าใด

ศ.ดร. จรัสฯ - รัฐธรรมนูญปัจจุบันมีกรอบเวลาในการร่าง 9 เดือน และใช้งบประมาณทั้งหมดเกือบ 2000 ล้านบาท โดยร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบันยึดต้นแบบตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่เกินร้อยละ 40

10. เกิดอะไรขึ้นกับการปิดกั้นเว็บไซต์ YouTube และ manusaya.com เพราะอะไรจึงมีการปิดกั้น และจะจัดการอย่างไร

ผศ. พิรงรอง - เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตนสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออก แต่การกระทำในเว็บไซต์ดังกล่าวไม่คำนึงถึงความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม (cultural sensitivity) และเข้าข่ายการแสดงออกถึงการกระทำที่เกลียดชัง (hate speech) และแม้ในเยอรมนีเองก็มีการปิดกั้นเว็บไซต์ที่มี link ไปสู่เว็บไซต์ neo-Nazism และเห็นว่าต่างชาติไม่มีสิทธิที่จะนำกฎเกณท์ความเชื่อของตนมาบังคับใช้กับไทย

11. ตอนนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ อยู่ในต่างประเทศ หากมีความผิดจริงเหตุใดจึงเอาผิดไม่ได้

ผศ. สุรัตน์ - หากผลการสรุปของ คตส. ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 30 พ.ค. ศกนี้ พบว่ามีความผิดจริง ไทยและสหราชอาณาจักรมีความตกลงในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

12. รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการศึกษามากเพียงใด

ศ.ดร. จรัสฯ - ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้มีการจัดการการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 12 ปีเช่นเดิม แต่เพิ่มข้อบังคับที่ให้รัฐบาลมีแผนในการส่งเสริมนโยบายสาธารณะขั้นพื้นฐาน

13. มีการพูดกันมากเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย คนไทยเข้าใจประชาธิปไตยดีแค่ไหน และจะมีการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างไร

อ. สุรสีห์ฯ - สิทธิมนุษยชนได้รับการคุ้มครองในกฎหมายพื้นฐานทุกชนิด ปัญหาคือการเลือกปฎิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของประชาชน อย่างไรก็ดี สังคมไทยมีสิ่งที่ไปไกลกว่าสิทธิมนุษยชนคือการเกื้อกูลกันและกัน

14.คนไทยมีความเข้าใจประชาธิปไตยมากเท่าใด

ศ.ดร. จรัสฯ - ประชากรไทยมีความเข้าใจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการเมืองในขั้นพื้นฐาน คือตนจะได้รับประโยชน์อะไรจากประชาธิปไตย อาทิ จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลหรือไม่ โดยส่วนหนึ่งเป็นอานิสงจากพรรคไทยรักไทยที่ทำให้ประชาชนเลิกยึดติดกับตัวบุคคล แล้วหันมาสนใจนโยบายพรรคอย่างจริงจัง

- ประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ตายก่อนที่จะมีการกระทำรัฐประหารแล้วหนึ่งปี โดยการควบคุมกลไกตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญทั้งหมดของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ การทำรัฐประหารเป็นแค่การหยุดการหลอกลวงว่ามีประชาธิปไตย

ผศ. พิรงรอง - จากมุมมองของสื่อ คนมีความเข้าใจและเลือกรับข่าวสารที่จะทำให้ตนมีความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย และรู้เท่าทันรัฐบาลน้อย


คลิกไปอ่านรายงานสรุปฉบับนี้ ตอนที่ ๒


บทความที่เกี่ยวเนื่อง ๖๓๑
ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
26 คำถาม"ยูเอ็น" ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยนชนในไทย

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com