บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๑๑๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙
28-12-2549

 

 

 

 

 

 

H
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น



Mass culture & Popular culture
The Midnight University

วิพากษ์วัฒนธรรมมวลชนและวัฒนธรรมประชานิยม
ถอดหน้ากากวัฒนธรรมมวลชน เปลือยอุตสาหกรรมวัฒนธรรม
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการชิ้นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิพากษ์วัฒนธรรมมวลชน และวัฒนธรรมประชานิยม
โดยการกลับไปสำรวจถึงข้อเท็จจริงของป้ายฉลากวัฒนธรรมเหล่านี้ที่อ้างอิงมวลชน
อันที่จริงวัฒนธรรมดังกล่าวได้รับการสร้างโดยนักเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญ คนที่ครอบงำวัฒนธรรม
และมันได้ไปทำลายวัฒนธรรมอื่นเช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน รวมถึงผลงานทางศิลปะ
เหล่านี้คืออุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดยอาศัยการผลิตแบบมวลรวมและสูตรสำเร็จ
ซึ่งไป เบียดขับทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นไปได้ในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้หมดพื้นที่ลง
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๑๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖ หน้ากระดาษ A4)



ถอดหน้ากากวัฒนธรรมมวลชน เปลือยอุตสาหกรรมวัฒนธรรม
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Mass culture and popular culture
วัฒนธรรมมวลชน และวัฒนธรรมประชานิยม

Mass culture and mass society
The mass culture debates
Mass culture and Americanization
Americanization and Critique of Mass culture theory
A critique of mass culture theory


นัยสำคัญทางสังคม
เรื่องของวัฒนธรรมสมัยนิยม/ประชานิยม(popular culture)ในยุคใหม่ สามารถที่จะได้รับการทำแผนภูมิโดยวิธีการแยกแยะมันออกมาจากความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)ได้ การปรากฏตัวขึ้นมาของสื่อสารมวลชนและการทำให้สื่อต่างๆ เป็นเรื่องเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นของวัฒนธรรม ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาต่างๆ ซึ่งมีทั้งความน่าสนใจและก่อให้เกิดข้อถกเถียงขึ้นมากมาย ซึ่งยังคงอยู่กับเราจนกระทั่งทุกวันนี้

ความเจริญเติบโตของความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) มีหลักฐานที่ชัดเจนนับจากทศวรรษ 1920s และ 1930s เป็นต้นมา มันสามารถถูกมองได้ว่าเป็นหนึ่งในต้นตอทางประวัติศาสตร์ของแนวเรื่องและทัศนียภาพต่างๆ ของวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ซึ่งบทความชิ้นนี้จะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ข้อสังเกตประการแรกของบทความนี้ ไม่ได้ต้องการที่จะโต้แย้งในเรื่องวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)ว่าเป็นตัวแทนบางสิ่งบางอย่างที่ใหม่ ยกตัวอย่างเช่น Lowenthal ได้ตามรอยข้อถกเถียงต่างๆ ของเรื่องดังกล่าว ย้อนกลับไปถึงงานเขียนหลายชิ้นของ Pascal และ Montaigne ในคริสตศตวรรษที่ 16-17, และเชื่อมโยงการปรากฏตัวขึ้นมาของมัน จนกระทั่งการถือกำเนิดขึ้นของเศรษฐกิจแบบการตลาด ส่วนคนอื่นๆ ได้ให้เหตุผลว่า วัฒนธรรมมวลชนมักจะอยู่กับเราเสมอ โดยชี้ไปถึงบทบาทหน้าที่ของขนมปังและสนามกีฬารูปวงกลม(bread and circuses)(การบริโภคและความบันเทิง)ของ popular culture ในจักรวรรดิโรมัน

ความมั่นใจมากไปกว่านั้น, Burke ได้เสนอว่า ความคิดสมัยใหม่ของวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ได้ถูกทำให้สัมพันธ์กับรูปแบบต่างๆ ที่เบ่งบานเกี่ยวกับสำนึกของความเป็นชาติในปลายคริสตศตวรรษที่ 18, และดำรงอยู่อย่างถาวรในความพยายามโดยผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย, ยกตัวอย่างเช่น บรรดานักกวี, ที่ได้สร้าง popular culture ขึ้นมาในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมชาติ. แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่าง popular culture และ high or learned culture (วัฒนธรรมประชานิยมและวัฒนธรรมชั้นสูงหรือวัฒนธรรมของผู้มีความรู้) นั้น มีความแตกต่างกัน ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า

ส่วนนัยยะที่ขัดแย้ง ซึ่งสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ได้ถูกบันทึกอย่างชัดแจ้งโดย Williams. เป็นการอ้างอิงถึง "การเปลี่ยนแปลงในทัศนียภาพ" ระหว่างช่วงคริสตศตวรรษที่ 18-19, ซึ่งเขาได้เขียนเอาไว้ว่า:

Popular (ประชานิยม-สมัยนิยม) ได้รับการมองมาจากแง่คิดหรือทัศนะของประชาชนมากกว่าที่จะมาจากผู้คนเหล่านั้นที่แสวงหาความชื่นชอบหรือพลังของมัน กระนั้นก็ตาม ความรู้สึกดังกล่าวในช่วงต้นๆ มันยังไม่ตาย อันที่จริงความเป็นวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ไม่ได้ถูกแยกแยะโดยประชาชน และมันยังคงหอบหิ้วเอาความรู้สึกเก่าๆ 2 ประการมาด้วย: นั่นคือ

- Popular culture เป็นงานประเภทที่ด้อยกว่าหรือต่ำกว่า High culture (วัฒนธรรมประชานิยม ได้แก่ วรรณกรรมสมัยนิยม(popular literature), สิ่งพิมพ์ประชานิยม(popular press), อันเป็นงานวรรณกรรมและสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนซึ่งแตกต่างไปจาก quality press หรือวรรณกรรมคุณภาพ)

- แต่อย่างไรก็ตาม popular culture ก็เป็นผลงานที่ได้ประกาศถึงชัยชนะในความนิยม (popular journalism - วารสารแนวป๊อปที่นิยมกันแพร่หลาย หรือ popular entertainment ความบันเทิงแนวป๊อป) เช่นเดียวกับความรู้สึกสมัยใหม่กว่าอันหนึ่งเกี่ยวกับการเป็นที่ชื่นชอบกันมากในหมู่ประชาชนทั้งหลาย ซึ่งแน่นอนว่าในหลายต่อหลายกรณี ความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้มันทับซ้อนกันอยู่

ความรู้สึกเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ได้กลายเป็นเป็นวัฒนธรรมที่แท้จริง ซึ่งมันได้รับการสร้างขึ้นมาโดยประชาชนเพื่อตัวของพวกเขาเอง และ บ่อยครั้งมันได้เข้าแทนที่วัฒนธรรมในอดีต อย่างเช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน(folk culture) และมันยังเป็นการเน้นที่สำคัญของสมัยใหม่อันหนึ่งด้วย
(Willainms: 1976; p.199)

พัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ได้ถูกนำไปผูกติดกับการต่อสู้แข่งขันเพื่อช่วงชิงความหมายและการตีความซึ่งมีมาก่อนแล้ว และได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญในการโต้แย้งกันต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน(mass culture). โดยเฉพาะ, เรื่องราวหรือข้อถกเถียงที่สัมพันธ์กัน 3 ประการ ที่สามารถค้นพบได้ในผลงานที่อ้างถึงข้างต้น, ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ในคริสตศตวรรษที่ 20

ประการแรก เกี่ยวโยงกับเรื่องที่ว่าใคร หรืออะไรที่มาเป็นตัวกำหนดตัดสิน popular culture. popular culture มาจากไหน ? มันเกิดขึ้นมาจากตัวของประชาชนเองในฐานะที่เป็นการแสดงออกโดยอัตโนมัติเกี่ยวกับความสนใจ และคุณลักษณะของพวกเขาเองใช่หรือไม่? หรือว่ามันได้ถูกยัดเยียดจากข้างบนลงล่าง โดยตำแหน่งต่างๆ ที่มีอำนาจเหนือกว่าในฐานะที่เป็นแบบฉบับของการควบคุมทางสังคมและวัฒนธรรมใช่ไหม? คำถามต่อมาคือ, popular culture เกิดขึ้นมาจากผู้คนในระดับล่าง, หรือว่ามันมาจากชนชั้นหัวกระทิที่อยู่สูงกว่า?

ประการที่สอง เกี่ยวพันกับเรื่องของอิทธิพลในเชิงพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่มีต่อวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture). การปรากฏตัวขึ้นมาของวัฒนธรรมในในรูปแบบของสินค้าต่างๆ นำมาซึ่งบรรทัดฐานเกี่ยวกับการทำกำไร และการนำออกวางตลาด ที่มาก่อนเรื่องคุณภาพและศิลปะ, ซึ่งหมายถึงความสมบูรณ์แบบและความท้าทายชวนชมใช่หรือไม่? หรือการขยายตัวของตลาดสากลสำหรับ popular culture ได้ทำให้เกิดความมั่นใจว่า จริงๆแล้ว มัน popular ก็เพราะมันทำให้เกิดสินค้าต่างๆ ขึ้นมา ที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริงใช่ไหม? อะไรคือชัยชนะเมื่อ popular culture ได้รับการผลิตขึ้นมาในเชิงอุตสาหกรรม และถูกนำออกวางจำหน่ายตามบรรทัดฐานของความเป็นไปของตลาด และผลกำไร - ด้วยเหตุนี้จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า มันเป็นเรื่องเชิงพาณิชย์หรือเรื่องเชิงคุณภาพกันแน่ ?

ประการที่สาม เกี่ยวโยงกับบทบาทอันเป็นอุดมคติของ popular culture. Popular culture หรือวัฒนธรรมประชานิยมนั้น ต้องการที่จะปลูกฝังความเชื่อให้กับผู้คน เพื่อให้เกิดการยอมรับมันและยึดมั่นในความคิดและคุณค่าต่างๆ โดยมีความมั่นใจว่ามันจะมีอิทธิพลครอบงำผู้คนทั้งหลายต่อไปในตำแหน่งที่ได้เปรียบกว่า และใครเล่าซึ่งเป็นเป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือมัน? หรือมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการกบฎและความขัดแย้งต่อระเบียบกฎเกณฑ์ที่แพร่หลายอยู่ในสังคม? มันได้แสดงออกถึง, แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อย, ในความละเอียดอ่อนและเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้นใช่ไหม ซึ่งมันยังห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบ. วัฒนธรรมประชานิยมเป็นการต่อต้านผู้คนทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจ, และพยายามที่จะโค่นล้มความเด่นตระหง่านทางความคิดและการกระทำเหล่านั้นใช่หรือไม่ ?

ประเด็นข้อถกเถียงกันต่างๆ เหล่านี้ ยังคงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่มากในการศึกษาเกี่ยวกับ popular culture หรือวัฒนธรรมประชานิยมในทุกวันนี้ แต่พวกมันก็เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ คือ ได้รับความสนใจในเชิงระบบและในเชิงแก่นสารเพิ่มขึ้น ในการถกเถียงกันต่างๆ ท่ามกลางเรื่องของวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ซึ่งเริ่มก้าวมารวมตัวกันนับจากทศวรรษที่ 1920s เป็นต้นมา

ในทศวรรษ 1920s และ 1930s เป็นช่วงที่สำคัญซึ่งได้มีการหวนกลับไปสู่การศึกษาและประเมินคุณค่าเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture). การมาถึงของภาพยนตร์ และวิทยุ, ผลิตภัณฑ์มวลรวมซึ่งผลิตขึ้นทีละมากๆ(mass production), และการบริโภคทางวัฒนธรรม, การก่อเกิดเกี่ยวกับลัทธิ fascism (ลัทธิชาตินิยมของรัฐบาลเผด็จการ) และความสุกงอมของเสรีประชาธิปไตยในบางสังคมของโลกตะวันตก ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการก่อตัวขึ้นของข้อโต้แย้งต่างๆ ในเรื่องวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)

ข้อเท็จจริงคือ วัฒนธรรมได้กลายมาเป็นสิ่งที่จำลอง คัดลอก จนเกือบไม่มีขอบเขต เนื่องจากพัฒนาการเกี่ยวกับเทคนิคของการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งได้กำหนดหรือวางปัญหาต่างๆ ที่น่าพิจารณาเกี่ยวกับความคิดในแบบขนบประเพณี ที่สัมพันธ์กับบทบาทของวัฒนธรรมและศิลปะในสังคมขึ้นมา(Benjamin: 1973). ผลิตผลทางวัฒนธรรม อย่างเช่น ภาพยนตร์, แน่นอนในช่วงแรกๆ ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นทีละจำนวนมากๆ เหมือนกับการผลิตรถยนต์ ทั้งนี้เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่อง มีการทำสำเนาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งก็เพียงพอแล้วสำหรับการที่จะกระจายไปให้ทั่วถึงในหมู่ผู้ชมทั้งหลาย

แต่อย่างไรก็ตาม ผลิตผลต่างๆ ทางด้านอุตสาหกรรมวัฒนธรรม อย่างเช่นภาพยนตร์, ไม่อาจเป็นศิลปะขึ้นมาได้ หากมองในทัศนะของ Walter Benjamin เพราะ มันไม่ได้ครอบครองสิ่งที่เรียกว่า the aura of authentic หรือรัศมีแห่งความเป็นของจริง (authentic - จะต้องมีความคิดริเริ่ม อันเป็นต้นตอของคุณค่า) และผลงานทางศิลปะที่เป็นของแท้; และมันก็ไม่เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้าน(folk culture)ด้วย ทั้งนี้เพราะมันไม่ได้มาจากประชาชน, และด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจที่จะสะท้อนหรือให้ความพึงพอใจ หรือมาทดแทนประสบการณ์และความสนใจต่างๆ ของพวกเขาได้

นอกจากสิ่งพิมพ์ popular แล้ว, ภาพยนตร์และวิทยุในยุคนั้น ต่างก็เป็นสื่อสารมวลชนยุคใหม่อันเป็นแม่แบบหรือรากเดิมที่ปรากฏตัวขึ้นมา ซึ่งในขณะเดียวกัน พวกมันก็กระตุ้นความกลัวในหมู่ผู้คนทั้งหลายที่มีวิจารณญานเกี่ยวกับการทำให้เป็นเรื่องเชิงพาณิชย์ของอุตสาหกรรมวัฒนธรรม, ในเชิงที่เท่าๆ กัน พวกมันยังมีศูนย์กลางที่เกี่ยวโยงกับศักยภาพหรือความเป็นไปได้ที่จะพยายามจะไปให้ถึงระบบการปกครองต่างๆ ทางการเมือง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปกครองแบบเผด็จการอย่างใดอย่างหนึ่ง) สำหรับการรับใช้การโฆษณาชวนเชื่อมวลชน(mass propaganda)

การมีประสิทธิภาพสูงในการเข้าถึงประชาชนเป็นจำนวนมาก ในสังคมที่มีระบบการเมืองต่างๆ ที่รวมศูนย์, ระบบการเมืองแบบเผด็จการ, ได้รับการมองโดยผู้คนจำนวนมากในฐานะที่เป็นอีกวิธีการหนึ่งในเชิงบีบบังคับ และการเกลี้ยกล่อม, ซึ่งมันรุกล้ำต่อระบบต่างๆ และทางเลือกอื่นๆ ในลักษณะที่เป็นการทำลายประชาธิปไตย

สื่อสารมวลชนก็คล้ายๆ กับวิทยุและภาพยนตร์ กล่าวคือ ได้ส่งผ่านและพร่ำสอนอุดมคติหรือวาทกรรมที่เป็นทางการของชนชั้นปกครอง ทั้งนี้เพราะพวกมันสามารถที่จะถูกควบคุมได้จากศูนย์กลาง และแพร่กระจาย(ด้านเดียว)ไปสู่ประชาชนจำนวนมาก. การไม่ปรากฏตัวขององค์กรต่างๆ ที่มีพลังอำนาจทางการเมืองในเชิงต่อต้านหรือคัดค้านในสังคมแบบเผด็จการ ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับดุลยภาพดังต่อไปนี้คือ:

- "สื่อสารมวลชน"(mass media) เท่ากับ "การโฆษณาชวนเชื่อมวลชน"(mass propaganda) และ
- "สื่อมวลชน" เท่ากับ "การควบคุมมวลชน"(mass repression).

ศักยภาพอันนี้ยังได้รับการสังเกตด้วยว่า ในทางการเมือง ได้มีความพยายามอย่างมีสำนึกและสุขุมรอบคอบโดยพรรคนาซีในเยอรมนี ในช่วงทศวรรษ 1930s เพื่อสถาปนาอุดมการณ์ที่เป็นทางการของพรรคนาซีขึ้นมา ในพื้นที่หรือขอบเขตทั้งหมดของวัฒนธรรมและศิลปะ, และได้มีการกำจัดและทำลายอุดมคติทางการเมืองและสุนทรียภาพที่เป็นทางเลือกอื่นๆ ทิ้งไป. ทั้งนี้มันได้ขอความร่วมมือจากปัญญาชน, นักเขียน, นักแต่งนวนิยาย, กวี, จิตรกร, ประติมากร, นักดนตรี, นักวิชาการ, สถาปนิก, และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ มาช่วยเหลือ, เพื่อที่จะทำให้มั่นใจว่าอุดมการณ์ของพรรคนาซีนั้น จะแพร่หลายในฐานะที่เป็นสุนทรียศาสตร์แบบนาซี(Nazi aesthetics)

บรรดาสังคมแบบเผด็จการและสังคมเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย ได้รับการมองว่าเป็นแบบฉบับต่างๆ ของสังคมมวลชน(mass society). แนวความคิดเกี่ยวกับสังคมมวลชน ได้มีการสร้างทัศนียภาพและความหวังที่สำคัญอันหนึ่งขึ้นมาบนบทบาทของสื่อสารมวลชน และวัฒนธรรมมวลชนในบรรดาสังคมทุนนิยมสมัยใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม มันกลับเป็นความกลัวและความกระวนกระวายใจต่างๆ ของปัญญาชนทั้งหลาย ในหลายๆ สังคมอย่างเช่น อังกฤษและอเมริกัน, บนการเกิดขึ้นมาของสิ่งที่พวกเขาได้เห็น ในฐานะที่เป็น mass society(สังคมมวลชน)อันหนึ่ง และ mass culture (วัฒนธรรมมวลชน) และได้มีการรวบรวมและให้ข้อมูลโต้แย้งต่างๆ บนการพัฒนาเหล่านี้

Mass culture and mass society
วัฒนธรรมมวลชน และสังคมมวลชน

แม้ว่าสิ่งที่ตามมาอาจมองดูแล้วเป็นบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายกับภาพที่เรียกว่า identikit picture (เป็นภาพของส่วนประกอบของใบหน้าที่ตำรวจนำมาประกอบกัน เพื่อสร้างภาพใบหน้าของคนร้ายตามคำบอกเล่าของพยาน คำนี้เปรียบเทียบได้กับ photofit) ซึ่งไม่มีใครสามารถถูกแยกแยะได้, ในที่นี้ต้องการที่จะเลือกจุดสำคัญหลักๆ ที่ได้รับการเสนอโดยทฤษฎีสังคมมวลชนต่างๆ เพื่อที่จะแสดงภาพประกอบที่สอดคล้องกันของมันขึ้นมา เพื่อถกเถียงถึงธรรมชาติของวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)

คำยืนยันหลักของทฤษฎีสังคมมวลชน(mass society theory) อ้างถึงผลลัพธ์ที่ตามมา เกี่ยวกับการแตกตัวเป็นชิ้นๆ ของกระบวนการเกี่ยวกับ"การทำให้เป็นอุตสาหกรรม"และ"การทำให้เป็นเมือง"(industrialization and urbanization)ต่างๆ ปริวรรตหรือความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงอย่างถึงรากซึ่งสัมพันธ์กับการกำเนิดขึ้นของสเกลขนาดมหึมา และแบบฉบับต่างๆ ในเชิงกลไกของผลิตผลทางด้านอุตสาหกรรม รวมถึงการเจริญเติบโตขึ้นของเมืองที่มีประชากรอยู่รวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นและเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ ในฐานะที่เป็นรูปแบบที่ผู้คนมาทำงานและมาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้ถูกนำมาให้เหตุผลเพื่อล้มล้างและกัดกร่อนโครงสร้างทางสังคม และคุณค่าก่อนหน้านั้นซึ่งทำให้ผู้คนผนึกตัวเข้าด้วยกัน

การถอนรากถอนโคนเกี่ยวกับงานพื้นฐานทางด้านเกษตรกรรมที่ผูกพันอยู่กับที่ดิน, การทำลายชุมชนหมู่บ้านที่เหนียวแน่น, ความเสื่อมทรามลงของศาสนา, และการทำให้เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา(secularity) กลายมาเป็นเรื่องทางโลกของสังคมต่างๆ สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตขึ้นมาของความรู้แบบวิทยาศาสตร์, การแผ่ขยายของเครื่องจักรกล, งานโรงงานที่แปลกแยกน่าเบื่อและซ้ำซาก, การสถาปนาขึ้นมาเกี่ยวกับแบบแผนของความเป็นอยู่ในเมืองใหญ่ต่างๆ ที่ผิดปกติ(large anomic cities)ที่พำนักพักพิงอยู่โดยฝูงชนที่ไม่รู้จักกัน, การที่ค่อนข้างจะไม่มีการรวมตัวหรือประสานกันทางศีลธรรม (บางสิ่งบางอย่างที่ตกทอดสู่ทฤษฎีสังคมมวลชน โดยกระบวนการเกี่ยวกับการทำให้เป็นอุตสาหกรรมและเป็นเมือง) นอนเนื่องอยู่เบื้องหลังการปรากฏตัวขึ้นมาของสังคมมวลชน(mass society) และวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)

การนิยามอย่างถูกต้องว่า อะไรที่ได้รับการหมายถึงโดย"แนวความคิดเกี่ยวกับสังคมมวลชน", ทางด้านทฤษฎีได้ให้เหตุผลว่า การทำให้เป็นอุตสาหกรรมและการทำให้เป็นเมืองมารับใช้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า atomization (การทำให้เป็นอนุภาคหรืออะตอม). จริงๆแล้วอันนี้หมายความว่า สังคมมวลชนประกอบด้วยผู้คนซึ่งสามารถที่จะสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ได้ เพียงแต่ว่ามันดูคล้ายๆ กับอะตอมต่างๆ ในเชิงฟิสิกส์หรือสารประกอบทางเคมีเท่านั้น

สังคมมวลชนประกอบขึ้นมาด้วยผู้คนที่มีลักษณะลดทอนลงเหมือนกับอะตอม, ผู้คนซึ่งขาดเสียซึ่งความหมายใดๆ หรือความสัมพันธ์ที่สอดคล้องในทางศีลธรรมกับคนอื่นๆ แต่ละคน. ผู้คนเหล่านี้ แน่นอน ไม่ได้มีความนึกคิดที่บริสุทธิ์และธรรมดาง่ายๆ ดังกับอะตอมที่แยกตัวอยู่ต่างๆ แต่ความเชื่อมโยงระหว่างพวกเขาได้รับการกล่าวว่า เป็นการเชื่อมโยงกันตามสัญญา(ข้อตกลงที่เป็นทางการ)อันบริสุทธิ์, มีความเหินห่าง, และเป็นครั้งคราว ค่อนข้างมากกว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของระบบชุมชนซึ่งมีการรวมตัวกันเป็นอย่างดี

ลักษณะปัจเจกในสังคมมวลชนดังกล่าว ได้ละทิ้งกลไกความสามารถของเขาและเธอมากขึ้นเรื่อยๆ, ชุมชนหรือสถาบันต่างๆ ที่ซึ่งอยากจะค้นหาเอกลักษณ์หรือคุณค่าต่างๆ เกี่ยวกับการดำรงอยู่ ดูเหมือนว่าจะน้อยลงทุกที และมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องความเหมาะสมทางศีลธรรมลดลงมากขึ้นตามลำดับในการดำรงชีวิต ทั้งนี้เพราะสังคมมวลชน เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ที่ให้กำเนิดมันขึ้นมา ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและพอเพียงต่อปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้นั่นเอง

ศูนย์กลางกระบวนการนี้ ของ "การทำให้เป็นอนุภาคหรืออะตอม"(atomization) คือความเสื่อมถอยขององค์กรต่างๆ ในเชิงประนีประนอมทางสังคม ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการทำให้เป็นอุตสาหกรรมและเป็นเมืองขึ้นมานั่นเอง. ศูนย์กลางเหล่านี้คือองค์กรต่างๆ, คล้ายๆ กับหมู่บ้าน, ครอบครัว, และโบสถ์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความมีเอกลักษณ์ในทางจิตวิทยา, และมีการชักนำทางสังคมและภาวะที่แน่นอนทางศีลธรรมสำหรับปัจเจกชน. แต่ในเชิงตรงข้าม การทำให้เป็นอุตสาหกรรมและเป็นเมือง สิ่งที่เป็นคู่สำเนาของศูนย์กลางแบบเก่า ในโลกสมัยใหม่ของพวกเขา เช่น เมือง, ศูนย์การค้า, หรือสถาบันทางวิทยาศาสตร์ มิได้ทำงานในหนทางเดียวกันนี้ กล่าวคือ พวกมันไม่สามารถที่จะสนับสนุนให้เกิดเอกลักษณ์อย่างหนึ่งอย่างใดได้ และไม่อาจจะนิยามความประพฤติและความมีศีลธรรมต่างๆ ขึ้นมาได้

ตามทฤษฎี, ผู้คนในสังคมมวลชนได้ถูกทำให้เป็นอะตอมทั้งทางด้านสังคมและศีลธรรม. ไม่เพียงการติดต่อระหว่างผู้คนที่เป็นทางการอย่างเดียว และเป็นการการผูกพันกันในรูปของสัญญาเท่านั้น แต่พวกเขายังขาดเสียซึ่งความรู้สึกอันลึกล้ำเกี่ยวกับการยึดมั่นในคุณธรรมหรือศีลธรรมด้วย นับแต่กฎเกณฑ์ทางศีลธรรมได้เสื่อมทรามลงไปในสังคมแบบมวลชน

จุดสำคัญในที่นี้คือ ถ้าหากไม่มีกรอบหรือเค้าโครงที่เหมาะสมเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมที่กำลังจะมีมา, ถ้าหากว่าผู้คนไม่มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเกี่ยวกับคุณค่าทางจริยธรรม, แน่นอนว่า กฎเกณฑ์ปลอมๆ และไม่เป็นที่พอใจหรือไร้ประสิทธิผลจะปรากฏตัวขึ้นมาแทน และผู้คนก็จะหันไปสู่สิ่งที่ทดแทนอันนั้นซึ่งเป็นศีลธรรมจอมปลอม(หรือจริยธรรมจำแลง). ด้วยเหตุนี้ มันจึงรุนแรงและหนักข้อขึ้นมาก ยิ่งกว่าจะแยกสลายหรือละลายวิกฤติกาลทางศีลธรรมของสังคมมวลชน

วัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ได้แสดงบทบาทอันหนึ่งในที่นี้ กล่าวคือ มันได้รับการมองว่าเป็นหนึ่งในแหล่งต้นตอหลักต่างๆ ของตัวแทนอันหนึ่ง และเป็นศีลธรรมอันไร้ประสิทธิภาพ. ปราศจากองค์กรต่างๆ ที่เหมาะสมในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอม, ปัจเจกบุคคลทั้งหลายจึงเปราะบางและอ่อนแอที่จะถูกปฏิบัติและจัดการ นอกจากนี้พวกเขายังถูกใช้เพื่อหาประโยชน์โดยสถาบันต่างๆ ที่เป็นแกนหลัก อย่างเช่น สื่อสารมวลชนและวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) มันไม่มีกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมที่ปกป้องการบังเกิดขึ้นอันนี้

ความแน่นอนเกี่ยวกับศาสนา และหลักการที่เป็นจริงเกี่ยวกับชุมชนที่เสื่อมถอย ยินยอมให้กับความใกล้ชิดอันไร้ศีลธรรมของลัทธิปัจเจกนิยมเชิงเหตุผล(rational individualism) และภาวะผิดปกติของเรื่องทางโลก(secular anomie)แทรกตัวเข้ามา ซึ่งสัมพันธ์กับการกำเนิดขึ้นมาของลัทธิบริโภคนิยมหรือการบริโภคมวลชน(mass consumption) และวัฒนธรรมมวลชน(mass culture), ซึ่งมันเป็นยาหลอกทางศีลธรรม(moral placebos)ของสังคมอย่างหนึ่งนั่นเอง

แม้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีทั้งหมดมันจะไม่สมบูรณ์ถ้วนทั่ว แต่มันเป็นที่ชัดเจนว่า ทฤษฎีวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) สามารถที่จะโอนอ่อนผ่อนตามความคิดที่ว่า "ประชาธิปไตย"และ"การศึกษา"เป็นการพัฒนาต่างๆ ที่อันตราย ทั้งนี้เพราะมันได้ให้การสนับสนุนต่อการก่อตัวขึ้นมาเกี่ยวกับความผิดปกติของสังคมมวลชนอันหนึ่งนั่นเอง. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดนี้เป็นสิ่งซึ่งสอดคล้องกับข้อโต้แย้งที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับการทำให้เป็นอเมริกัน (Americanization) ซึ่งจะพูดถึงต่อไป

ข้อเท็จจริงของความกลัวที่แท้นั้น เกี่ยวกับการทำให้เป็นอเมริกันในคริสตศตวรรษที่ 20 เกี่ยวพันกับผลกระทบที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ในการเลิกล้มการแบ่งชนชั้นและรสนิยมตามลำดับสูงต่ำแบบขนบประเพณี, มีการยินยอมให้"มวลชน"(mass)หรือ"ฝูงชนอลหม่าน"(mob)กำหนดการตัดสินใจต่างๆ ทางการเมืองได้, ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในระบบการปกครองและวัฒนธรรม ที่มีความสำนึกที่เชื่อกันโดยทั่วไปในการปกครอง"แบบกดขี่ของผู้คนส่วนใหญ่" ซึ่งไม่สนใจใยดีต่อการบ่มเพาะเกี่ยวกับรสนิยมของคนส่วนน้อย, และมีความมั่นใจในการลดทอนเกี่ยวกับคำถามทั้งหมดของช่วงขณะนั้น ลงสู่สิ่งที่มีลักษณะร่วมกันในระดับต่ำสุด, ซึ่งเสนอว่า "ประชาธิปไตย"และ"การศึกษา"คือ ภาพประกอบที่น่าสนใจเป็นการเฉพาะอันหนึ่งเกี่ยวกับจุดสำคัญอันนี้

จากความคิดเห็นดังกล่าว, ประชาธิปไตยหมายความว่า ไม่เพียงเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนขนานนามต่อความเป็นพลเมืองอย่างบริบูรณ์ทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความชื่นชอบทั่วๆ ไปทางวัฒนธรรมของทุกผู้ทุกคนซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และควรค่าต่อการได้รับความเคารพและบรรลุถึง เช่นเดียวกับสิ่งเหล่านั้นอันเป็นขนบประเพณีของพวกหัวกระทิต่างๆ ด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น "การศึกษา" ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการทำให้เป็นประชาธิปไตย(democratization), หมายความว่า ความสามารถหรือสมรรถนะดังกล่าวสามารถผูกพันอย่างเต็มที่ในกิจกรรมต่างๆ ทางวัฒนธรรม - ความสามารถต่างๆ ที่จะอ่าน, เขียน, วินิจฉัย, เรียกร้อง, รู้, และเข้าใจ - กลายเป็นเรื่องที่หามาได้มากยิ่งขึ้น อย่างน้อยที่สุด ต่อประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ

เทียบกับมวลชนหรือประชาชนส่วนใหญ่ ที่เริ่มถูกพบเห็นว่าเป็นปัจจัยสำคัญของระบบการปกครองและการตัดสินใจต่างๆ ซึ่งมันมาถึงในฐานะที่เป็นผลลัพธ์อันหนึ่งของการแผ่ขยายเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของความเป็นพลเมืองในทางการเมือง, ดังนั้น การแสดงออกต่อมาเกี่ยวกับแนวโน้มอันนี้ในปริมณฑลของวัฒนธรรม, รวมกับผลกระทบต่างๆ ของการศึกษาที่เป็นสากลขั้นพื้นฐาน จึงได้รับการกล่าวว่า เป็นผลอันเนื่องมาจากการกำหนดตัดสินใจของประชาชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมของสังคมมวลชนต่างๆ นั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม อันนี้ต้องไม่ถูกประเมินคุณค่าในลักษณะที่เป็นไปในเชิงบวก. แน่นอนทีเดียว วัฒนธรรมในปัจจุบันนี้ได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นสิ่งที่เปิดกว้าง แต่ก็กำลังตกต่ำและถูกทำให้เป็นเรื่องหยุมหยิม ทั้งนี้เพราะมวลชนทั้งหลายขาดเสียซึ่งรสนิยมและการแยกแยะอย่างฉลาดนั่นเอง. ถ้าหากว่ารสนิยมของพวกเขาต่างได้รับความพึงพอใจ, ทุกๆ สิ่งจะต้องถูกลดทอนลงสู่ลักษณะที่ร่วมกันในระดับต่ำสุดของผู้คนโดยเฉลี่ย

ผู้คนจะต้องมีวัฒนธรรมอันหนึ่งเกี่ยวกับพวกเขาเอง ซึ่งสะท้อนสถานภาพและรสนิยมของพวกเขาในฐานะที่เป็นมวลชนหนึ่ง. อย่างน้อยที่สุดจริงๆ, "ประชาธิปไตย"และ"การศึกษา"ในปัจจุบัน นำมาซึ่งความล้มเหลวเกี่ยวกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่าง"ศิลปะ" กับ "วัฒนธรรมท้องถิ่น"ในแง่หนึ่ง, และ"วัฒนธรรมมวลชน"(mass culture) ในอีกแง่หนึ่ง, ซึ่งเทียบแล้ว คล้ายกันมากกับ"การทำให้เป็นอุตสาหกรรม" กับ "การทำให้เป็นเมือง" ที่นำมาซึ่ง "ความล้มเหลวหรือการแตกสลายของขนบประเพณีของชุมชน" และ "ความมีศีลธรรม". ความกลัวต่างๆ เหล่านี้ยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดคริสตศตวรรษที่ 20, และอันที่จริงยังได้รับการถกเถียงมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ในรูปแบบที่แตกต่างอย่างชัดแจ้ง ในประเด็นที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ทางวัฒนธรรม

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะคิดว่า ทฤษฎีสังคมมวลชนนั้นยึดถือทฤษฎี populist หรือปรัชญาทางการเมืองที่สนับสนุนสิทธิและอำนาจของประชาชน ในการต่อสู้ของพวกเขาต่ออภิสิทธิ์ชน-กลุ่มอิทธิพล, หรือทฤษฎีประชาธิปไตย. ตามข้อเท็จจริง มันมีแนวโน้มที่จะให้เหตุผลว่า ผลที่ตามมาเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ที่มันอธิบาย จะต้องมีการลงทุนในเรื่องอำนาจในสถาบันต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางของสังคม, อย่างเช่น อุตสาหกรรมต่างๆ ในเชิงพาณิชย์, รัฐ, และสื่อสารมวลชน

วิพากษ์ทฤษฎีสังคมมวลชน และวัฒนธรรมมวลชน
"ทฤษฎีสังคมมวลชน" เป็นทฤษฎีหนึ่งที่พยายามจะชี้แนะถึงศักยภาพที่เปิดสำหรับการโฆษณาชวนเชื่อต่อมวลชน, ศักยภาพสำหรับชนชั้นหัวกระทิที่จะใช้สื่อสารมวลชนเพื่อหลอกลวง, ชักชวน, จัดการควบคุมช่องทางต่างๆ มากกว่าที่เคยเป็นไปได้มาก่อนหน้านี้. สิ่งที่บังเกิดขึ้นก็คือว่า ผู้คนเหล่านั้นผู้ซึ่งควบคุมสถาบันเชิงอำนาจต่างๆ ที่ชักนำรสนิยมทั้งหลายของมวลชนไปในทางที่เสื่อมเพื่อที่จะควบคุมพวกเขา

ถ้าหากว่ากรอบทางศีลธรรมและกรอบของชุมชนแบบขนบประเพณี ยินยอมอนุโลมในลักษณะที่เห็นชอบร่วมกันต่อลำดับชั้นสูงต่ำของชนชั้น และสถานภาพที่กำลังล่มสลายลง, และมันไม่มีสถาบันใดที่ถูกทิ้งเอาไว้เพื่อไกล่เกลี่ยความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นปัจเจกที่ลดทอนลงเป็นอะตอม และอำนาจต่างๆ จากศูนย์กลางของสังคมมวลชน, ปัจเจกบุคคลจะเปิดไปสู่สิ่งล่อใจ, โดยสิ่งที่มาจัดการควบคุมและพลังอำนาจของการบีบบังคับและการเกลี้ยกล่อม ซึ่งปฏิบัติการโดยการเชื่อมต่อกับอำนาจของลัทธิทุนนิยม, รัฐ, และสื่อสารมวลชน

อีกด้านหนึ่งนั้น ถ้าหากว่าความผันแปรที่มีลักษณะเฉพาะของทฤษฎีนี้ คร่ำครวญถึงการกำเนิดขึ้นมาของประชาธิปไตยทางการเมืองและวัฒนธรรม เพราะพวกมันกำลังทำงานอยู่, และวิพากษ์วิจารณ์บรรทัดฐานต่างๆ ของชนชั้นหัวกระทิเกี่ยวกับรสนิยมและการแยกแยะ, ว่า นั่นมันเป็นพลังอำนาจของมวลชน, ไม่ใช่การไร้ซึ่งอำนาจ, และควรได้รับการเน้นย้ำ, ซึ่งอันที่จริงแล้วในที่นี้ มันไม่ได้รับการต้อนรับหรือยกย่องสรรเสริญเลย

ก่อนที่จะก้าวไปสู่การมองตรงไปยังทฤษฎีวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ที่เป็นจุดสำคัญเกี่ยวกับการนิยาม เราจะต้องชัดเจนเสียก่อนในเรื่องเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง"วัฒนธรรมของชนชั้นหัวกระทิหรือศิลปะ" (elite culture or art), กับ"วัฒนธรรมประชานิยม"(popular culture) หรือ"วัฒนธรรมพื้นบ้าน"(folk culture), และ"วัฒนธรรมมวลชน"(mass culture)

อันนี้เกิดขึ้นจากวิธีที่ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับ"สังคมมวลชน"(mass society) และ"วัฒนธรรมมวลชน"(mass culture) ซึ่งปรกติแล้ว นอนสงบอย่างปลอดภัยอยู่บนการแบ่งแยกที่ชัดเจนระหว่าง"อดีต"และ"ปัจจุบัน". ปรกติแล้ว การแบ่งแยกได้อ้างถึงกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งถูกคิดว่า เป็นการส่งผ่านอันหนึ่ง"จากอดีตที่ดีกว่าหรือเป็นที่ชื่นชอบมากกว่า" สู่ "ปัจจุบันและอนาคตซึ่งไม่เป็นที่ต้อนรับและเสื่อมทราม"

สังคมก่อนสังคมมวลชน ได้รับการมองว่าเป็นทั้งหมดของระบบชุมชนอันหนึ่ง ซึ่งผู้คนต่างยอมรับและปฏิบัติตามโดยการมีส่วนร่วมและเห็นพ้องต้องกันกับคุณค่าชุดหนึ่ง ที่คอยดูแลการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนอย่างมีประสิทธิภาพของคนในชุมชน, และมีการยอมรับในความแตกต่างและลำดับชั้นสูงต่ำ. มันเป็นที่ทางอันหนึ่งสำหรับศิลปะ, วัฒนธรรมของชนชั้นหัวกระทิ, และที่ทางอันหนึ่งสำหรับวัฒนธรรมพื้นบ้านของประชาชนอย่างแท้จริง ที่เกิดขึ้นมาจากรากหญ้าเลยทีเดียว, มันเป็นการสร้างสรรค์ส่วนตัว(self-created) และเป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งสะท้อนถ่ายความเป็นอยู่และประสบการณ์ของผู้คนโดยตรง. วัฒนธรรมพื้นบ้าน(folk culture)ของประชาชนที่แท้จริง มันเป็นตัวของมันเองและไม่เคยทะเยอทะยานสู่ความเป็นศิลปะ, และในความแตกต่างของมันนั้น ได้รับการยอมรับและได้รับการเคารพเสมอ

ด้วยการทำให้เป็นอุตสาหกรรมและการทำให้เป็นเมือง สถานการณ์เช่นนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป. ชุมชนและศีลธรรมได้ล่มสลายลง, ปัจเจกชนทั้งหลายกลายเป็นคนที่แยกตัวหรือปลีกตัวออกไปต่างหาก, แปลกแยกและผิดปกติ, ความสัมพันธ์เพียงอย่างเดียวที่เปิดสู่พวกเขาคือสิ่งเหล่านั้น ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการเงิน, และความผูกพันกันด้วยสัญญา

พวกเขาได้ถูกดูดกลืนสู่ความเป็นมวลชนที่ไม่มีใครรู้จักชื่อเสียงเรียงนามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ, และได้ถูกจัดการควบคุมโดยตัวแทนชุมชนและศีลธรรมอันหนึ่งเท่าที่จะหาได้สำหรับพวกเขา, นั่นคือ "สื่อสารมวลชน"นั่นเอง. ในโลกใบนี้, วัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ได้แผ่กระจายคล้ายกับอีเทอร์หรืออากาศธาตุที่ตายแล้ว ซึ่งได้ทำให้วัฒนธรรมพื้นบ้าน(folk culture)หายใจไม่ออก และกำลังคุกคามบีบคอบีบจมูกต่อความสมบูรณ์ของศิลปะให้หายใจไม่ออกเช่นเดียวกัน

เพื่อชี้ถึงความสอดคล้องต้องกันดังกล่าวต่อแนวเรื่องข้างต้น บางที มันจะมีคุณค่าที่จะยกเอาข้อความซึ่งเป็นของนักทฤษฎีชั้นนำคนหนึ่งของวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ขึ้นมาในสาระของย่อหน้านี้:

ศิลปะพื้นบ้าน(folk art)เติบโตขึ้นมาจากข้างล่าง มันเป็นไปเองโดยธรรมชาติ เป็นการแสดงออกที่มาจากแหล่งกำเนิดท้องถิ่นของผู้คน ถูกก่อรูปขึ้นมาโดยพวกเขากันเอง สวยงามมากโดยปราศจากความสนใจในวัฒนธรรมชั้นสูง(high culture), มันเหมาะสมกับความต้องการของพวกเขาเอง

วัฒนธรรมมวลชน(mass culture)ได้ถูกยัดเยียดหรือโยนลงมาจากเบื้องบน มันได้รับการประดิษฐ์คิดค้นโดยบรรดานักเทคนิค ที่ว่าจ้างโดยนายทุนและบรรดานักธุรกิจ ผู้ดูผู้ชมของมันต่างก็เป็นนักบริโภคที่ยอมจำนน การมีส่วนร่วมของพวกเขาจำกัดอยู่แค่การเลือกระหว่าง "การซื้อ" และ "การไม่ซื้อ" เท่านั้น...

ศิลปะพื้นบ้านเป็นสถาบันของประชาชนเอง มันเป็นสวนเล็กๆ ส่วนตัวที่กั้นกำแพงแยกขาดจากสวนสาธารณะที่เป็นทางการขนาดใหญ่ของวัฒนธรรมชั้นสูงของผู้เชี่ยวชาญ. แต่วัฒนธรรมมวลชน (mass culture)ได้ทำลายกำแพงดังกล่าวลง ทำการรวมเอามวลชนทั้งหลายสู่รูปแบบที่เสื่อมทรามอันหนึ่งของวัฒนธรรมชั้นสูง และด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของการครอบงำทางการเมือง
(MacDonald: 1957; p.60)

ข้อความข้างต้นได้ให้ข้อสรุปที่สั้นกระทัดรัด เกี่ยวกับทัศนียภาพดังกล่าว ในการมองความแตกต่างระหว่าง"วัฒนธรรมของชนชั้นหัวกระทิ", "วัฒนธรรมพื้นบ้าน"(folk culture) และ"วัฒนธรรมมวลชน"(mass culture) อย่างไรก็ตาม มาถึงตรงนี้ เราจะต้องพิจารณากันถึงความเกี่ยวพันกันต่างๆของความแตกต่างเหล่านี้ให้สมบูรณ์มากขึ้น รวมไปถึงความหมายเกี่ยวกับความคิดวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)

The mass culture debate
ข้อโต้เถียงกันเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน

เพื่อที่จะทำให้มันง่ายเท่าที่เราสามารถทำได้, เราอาจจะกล่าวว่า วัฒนธรรมมวลชน(mass culture) เป็นวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ซึ่งได้ถูกผลิตขึ้นมาโดยเทคนิคทางด้านอุตสาหกรรมที่สร้างผลผลิตขึ้นมาทีละมากๆ (mass production industrial techniques) และได้ถูกนำออกสู่ตลาด สู่สาธารณชนทั้งหลายซึ่งเป็นผู้บริโภค เพื่อสร้างผลกำไร. มันเป็นวัฒนธรรมในเชิงพาณิชย์, ผลผลิตมวลชนเพื่อตลาดมวลชน(mass producted for mass market) การเจริญเติบโตของมัน หมายความว่ามันเหลือที่ว่างน้อยมากสำหรับวัฒนธรรมอื่นๆ ซึ่งจะเบียดแทรกเข้ามาได้ หรือสร้างเงินตรา, อย่างเช่น ศิลปะ, และวัฒนธรรมพื้นบ้าน

แม้ว่าจะเป็นการกล่าวที่ค่อนข้างหยาบอยู่สักหน่อย แต่ภาพข้างต้นนี้ก็น่าที่จะเป็นตัวแทนที่เที่ยงตรงภาพหนึ่ง ถ้าหากว่ามันจะเป็นการย่นย่อจนเกินไปในการอธิบายเกี่ยวกับข้ออ้างต่างๆ ที่ครอบคลุมในบทความนี้ ยิ่งไปกว่านั้น มันได้ชี้แนะว่าทฤษฎีวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) เป็นการขานรับต่อการทำให้เป็นอุตสาหกรรม และการทำให้เป็นไปเรื่องเชิงพาณิชย์ของวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture)

ในสเกลหรือสัดส่วนขนาดใหญ่ เราจะเห็นถึงกระบวนการอันหนึ่งซึ่งเริ่มรวบรวมแรงกระตุ้นเข้าด้วยกันในช่วงทศวรรษที่ 1920s และ 1930s. อันนี้เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและความเกี่ยวพันต่างๆ ของมัน ซึ่งต้องการที่จะถูกสร้างขึ้นมาให้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้นก่อนที่จะดำเนินต่อไป เพื่อพยายามแสดงให้เห็นว่า มันได้ถูกนำเข้าไปมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการทำให้เป็นอเมริกันอย่างไร อันนี้จะนำไปสู่การตรวจสอบที่สำคัญอย่างยิ่งอันหนึ่ง เกี่ยวกับข้ออ้างหรือคำยืนยันต่างๆ

ก่อนอื่นใดทั้งหมด เราสามารถจะบันทึกลงไปได้ว่า การทำให้เป็นอุตสาหกรรมและเป็นเมืองนั้น ได้ให้กำเนิดมวลชนแบบอะตอมและมวลชนที่ไม่ระบุชื่อ(anonymous mass)ขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่สุกงอมและพร้อมสำหรับการถูกจัดการควบคุม, ตลาดมวลชนสำหรับสื่อสารมวลชนที่สามารถ จะได้รับการจัดการบริการหรือให้ความบันเทิงได้โดยรูปแบบต่างๆ ของวัฒนธรรมมวลชน(mass culture). กระบวนการต่างๆ เหล่านี้ ได้นำมาซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตแบบทีละมากๆ และตลาดมวลชน ซึ่งทั้งคู่ต่างส่งเสริมให้เกิดการแผ่ขยายของวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)

สำหรับวิธีการอันนี้ ปัจจัยหรือตัวกำหนดหลักของวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ก็คือ "ผลกำไรจากผลผลิต"และ"การตลาด" ซึ่งสามารถสร้างขึ้นมาได้จากศักยภาพหรือความเป็นไปได้ของตลาดมวลชนที่ปราศจากวิจารณญนั่นเอง. ถ้าหากว่ามันไม่สามารถทำเงินได้ มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับการผลิตขึ้นมาเป็นจำนวนมาก

การใช้เทคนิคต่างๆ ในการผลิตทีละมากๆ ได้ถูกมองว่ามีอันตรายและเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมทรามลง ซึ่งมีอิทธิพลอันหนึ่งต่อวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นในสังคมมวลชนที่ทำให้เป็นอุตสาหกรรม เท่าๆ กันกับความจำเป็นเชิงบังคับของผลกำไรในเชิงพาณิชย์. มันได้รับการถกว่า แง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตทีละจำนวนมากๆ อย่างเช่น การผลิตแบบสายพานที่ประกอบสินค้าขึ้น, การแบ่งแยกความเชี่ยวชาญระดับสูงของแรงงาน, การทำให้แยกส่วนและความเข้มงวดของขั้นตอนในแต่ละขั้นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการผลิต, ปริมาณมหาศาลซึ่งสามารถได้รับการผลิตและอื่นๆ (ซึ่งอาจได้รับการกล่าวว่ามันปรากฏชัดขึ้นมาในระบบสตูดิโอของฮอล์ลีวูด ระหว่างการมาถึงของเสียง(ประกอบภาพยนตร์) ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920s กับการคลายตัวของการผลิต, การแพร่กระจายและการแสดงออก ตามด้วยความตกต่ำของผู้ดูในปลายทศวรรษ 1940s และ 1950s) ได้ประทับตราวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ด้วยคุณลักษณ์ต่างๆ ซึ่งถูกทำให้สัมพันธ์กับผลผลิตต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตทีละจำนวนมากๆ

จากทัศนะหรือความคิดเห็นอันนี้ จึงไม่มีความแตกต่างอย่างแท้จริงระหว่างผลิตผลทางวัตถุและวัฒนธรรม, ระหว่างการผลิตรถยนต์ และการผลิตภาพยนตร์ต่างๆ. ผลิตผลที่ทำให้ได้มาตรฐาน, ทำไปตามสูตรและทำซ้ำๆ ของวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) เป็นผลลัพธ์อันเนื่องมาจากการผลิตเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ทางวัฒนธรรม โดยอิงอาศัยวิธีการหรือระเบียบที่ทำเป็นประจำ, ความเชี่ยวชาญ, การแยกออกเป็นชิ้นๆ, การรวมเข้าด้วยกันในรูปลักษณ์ของสายพานการผลิต

ยกตัวตัวอย่าง ศิลปะ, ไม่สามารถที่จะผลิตขึ้นมาได้ในวิธีการอันนี้. ความสลับซับซ้อนของสุนทรียภาพในงานศิลปะที่แท้, ความคิดสร้างสรรค์ของมัน, ประสบการณ์ต่างๆ, ความท้าทายทางสติปัญญา, สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถที่จะบรรลุถึงได้ โดยเทคนิคต่างๆ ซึ่งเป็นการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม หรือลักษณะวัฒนธรรมมวลชน(mass culture). มันค่อนข้างต้องพึ่งพาสิ่งที่ตรงกันข้ามกันเลยทีเดียวกับการผลิตแบบทีละจำนวนมากๆ หรือวิธีการแบบ mass production,

อัจฉริยภาพที่มีแรงดลใจของปัจเจกศิลปิน ทำงานนอกเหนือไปจากข้อจำกัดเกี่ยวกับตลาดในเชิงพาณิชย์, และสูตรสำเร็จต่างๆ ที่เชื่อถือได้และรสนิยม รวมทั้งเทคนิคต่างๆ ซึ่งได้มาตรฐานของการประกอบกันขึ้นมา. ในเชิงที่เท่าๆ กัน วัฒนธรรมพื้นบ้าน(folk culture) จะได้รับการสร้างขึ้นมาโดยชุมชนที่รวมตัวประสานกัน ซึ่งรู้ถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่, มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคนิคต่างๆ ของการผลิต, และสามารถที่จะประกันถึงความเป็นของแท้ ที่มีความคิดริเริ่มและคุณค่าเกี่ยวกับผลผลิตของชิ้นงาน

สิ่งซึ่งสัมพันธ์กับข้อถกเถียงและการให้เหตุผลข้างต้นก็คือ แนวความคิดที่จำเพาะเจาะจงอันหนึ่งเกี่ยวกับผู้ดูผู้ชมวัฒนธรรมมวลชน(mass culture), มวลชนหรือสาธารณชนซึ่งบริโภคผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาครั้งละมากๆ และบริโภคผลผลิตต่างๆ ทางวัฒนธรรม ผู้ดูผู้ชมได้รับการเข้าใจว่า เป็นมวลชนหรือผู้บริโภคที่มีลักษณะยอมจำนน(passive consumers), มีแนวโน้มหรือความเอนเอียงต่อการชักจูงที่มาควบคุมของสื่อสารมวลชน, ยอมจำนนต่อความดึงดูดใจและยอมซื้อสินค้าอันเป็นผลผลิตดังกล่าวที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยวัฒนธรรมมวลชน(mass culture), เฉื่อยชาต่อความพึงพอใจอย่างผิดๆ เกี่ยวกับการบริโภคดังกล่าว, และเปิดรับการตักตวงผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ซึ่งกระตุ้นวัฒนธรรมมวลชน(mass culture). ภาพที่เกี่ยวกับมวลชนซึ่งเกือบจะปราศจากความคิด, ปราศจากการสะท้อนกลับ, ไม่มีวิจารณญาน, ละทิ้งความหวังที่สำคัญทั้งหมด, กลายเป็นหุ้นส่วนของวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) และการบริโภคแบบมวลชน(mass consumption)

สรุป
เนื่องมาจากการปรากฏตัวขึ้นของสังคมมวลชน(mass society) และวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) จึงทำให้ขาดเสียซึ่งทรัพยากรทางด้านสติปัญญาและศีลธรรมที่จะทำอีกอย่างหนึ่ง. มันไม่สามารถที่จะคิดถึงทางเลือก"อีกทางเลือกหนึ่ง"ได้

ความเป็นสากลทางวัฒนธรรม(cultural universe) คุณค่าต่างๆ ได้ถูกลดทอนลงสู่มวลชนที่ร่วมกันอันหนึ่ง. ศิลปะอยู่พ้นไปจากความทะเยอทะยานของมัน, ผู้คนในระดับรากหญ้าได้สูญเสียวัฒนธรรมพื้นบ้านพวกเขาเองไปเรียบร้อยแล้ว. วัฒนธรรมกลายเป็นผลผลิตที่ถูกผลิตขึ้นมาทีละมากๆ สำหรับผู้ดูและผู้ชมเหล่านี้เพื่อที่จะได้มาซึ่งผลกำไร

เพื่อจะขายสินค้าบริโภคมวลชนอันนี้แก่สาธารณชน ยี่ห้อหรือตรา, และสูตรมาตรฐานของวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)ได้ถูกพัฒนาขึ้น ทั้งนี้เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่ดึงดูดใจมวลชนได้ทุกๆ เมื่อ

+++++++++++++++++++++++++++

เรียบเรียงจากหนังสือเรื่อง High Culture, Popular culture ในหัวเรื่อง
Mass culture and Popular culture เขียนโดย Peter Goodall

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

 

การทำให้เป็นอุตสาหกรรมและการทำให้เป็นเมืองมารับใช้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า atomization (การทำให้เป็นอนุภาคหรืออะตอม). จริงๆแล้วอันนี้หมายความว่า สังคมมวลชนประกอบด้วยผู้คนซึ่งสามารถที่จะสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ได้ เพียงแต่ว่ามันดูคล้ายๆ กับอะตอมต่างๆ ในเชิงฟิสิกส์หรือสารประกอบทางเคมีเท่านั้น สังคมมวลชนประกอบขึ้นมาด้วยผู้คนที่มีลักษณะลดทอนลงเหมือนกับอะตอม, ผู้คนซึ่งขาดเสียซึ่งความหมายใดๆ หรือความสัมพันธ์ที่สอดคล้องในทางศีลธรรมกับคนอื่นๆ แต่ละคน. ผู้คนเหล่านี้ แน่นอน ไม่ได้มีความนึกคิดที่บริสุทธิ์และธรรมดาง่ายๆ ดังกับอะตอมที่แยกตัวอยู่ต่างๆ แต่ความเชื่อมโยงระหว่างพวกเขาได้รับการกล่าวว่า เป็นการเชื่อมโยงกันตามสัญญา(ข้อตกลงที่เป็นทางการ)อันบริสุทธิ์, มีความเหินห่าง, และเป็นครั้งคราว ค่อนข้างมากกว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของระบบชุมชนซึ่งมีการรวมตัวกันเป็นอย่างดี