Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.

หากนักศึกษา และสมาชิกประสงค์ติดต่อ
หรือส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กรุณาส่ง email ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com

กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง
ภารกิจของมหาวิทยาลัยคือการค้นหาความจริง อธิบายความจริง ตีความความจริง และสืบค้นสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความจริง
บทความวิชาการทุกชิ้นของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงทางวิชาการ
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความทางวิชาการ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังเปิดรับงานแปลทุกสาขาวิชาความรู้ ในโครงการแปลตามอำเภอใจ และยังเปิดรับงานวิจัยทุกสาขาด้วยเช่นกัน ในโครงการจักรวาลงานวิจัยบนไซเบอร์สเปซ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน สนใจส่งผลงานแปลและงานวิจัยไปที่ midnightuniv(at)yahoo.com

The Midnight University

วิจารณ์ฮาเบอร์มาส กรณีพื้นที่สาธารณะ
ฮาเบอร์มาสและพื้นที่สาธารณะ: ข้อถกเถียงเชิงวิพากษ์(๑)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บทความที่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจนี้เรียบเรียงมาจาก
Habermas and the Public Sphere: Critical Debates
by Douglas Kellner
ซึ่งเป็นการวิเคราะห์งานเขียนของฮาเบอร์มาส ในเรื่องเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ
ในบทวิเคราะห์ได้ชี้ถึงการที่ฮาเบอร์มาสไม่ให้ความสำคัญกับสื่อใหม่บนไซเปอร์สเปซ
และการปรับปรุงงานเขียนของตัวเขาเองในเรื่องพื้นที่สาธารณะ
โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับภาษาและปรัชญา
ซึ่งกลับทำให้งานของฮาเบอร์มาสซับซ้อนมากขึ้น

midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1029
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 14.5 หน้ากระดาษ A4)





ฮาเบอร์มาสและพื้นที่สาธารณะ: ข้อถกเถียงเชิงวิพากษ์ (๑)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

Habermas and the Public Sphere: Critical Debates
(วิจารณ์ฮาเบอร์มาส กรณีพื้นที่สาธารณะ)
การศึกษาของฮาเบอร์มาสเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่สาธารณะยังคงอยู่ภายใต้การถกเถียงเชิงวิพากษ์อย่างเร่าร้อน ซึ่งได้ทำให้ฐานะตำแหน่งหรือที่มั่นในช่วงต้นๆ ของเขาชัดเจนขึ้น ซึ่งอันนี้ได้น้อมนำไปสู่การปรับแก้งานเขียนในชิ้นต่อๆ มา และได้สนับสนุนให้มีการวิจัยในเชิงแนวคิดและประวัติศาสตร์อย่างเข้มข้นในเรื่องของพื้นที่สาธารณะ[1]

ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีหนังสืออยู่เพียงไม่กี่เล่มเท่านั้นที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาสนทนากันอย่างเป็นระบบ และได้ถูกนำขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์และถกเถียงกัน นอกจากนี้มันยังก่อให้เกิดแรงบันดาลใจต่อการวิเคราะห์ในเชิงทฤษฎีและประวัติศาสตร์ด้วย ผลลัพธ์ที่ตามมาเชื่อได้ว่า เป็นการทำความเข้าใจอย่างชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับมิติต่างๆ ของพื้นที่สาธารณะ และประชาธิปไตยในตัวมันเองอย่างหลากหลาย

บรรดาผู้วิจารณ์งานของฮาเบอร์มาส ได้ให้เหตุผลว่า เขาได้ทำให้พื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลางในช่วงต้นกลายเป็นอุดมคติ โดยการนำเสนอพื้นที่ดังกล่าวในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนาและถกเถียงกันอย่างมีเหตุผล ซึ่งอันที่จริงนั้น กลุ่มคนบางกลุ่มได้ถูกกันหรือเบียดขับออกไป และด้วยเหตุนี้การมีส่วนร่วมในพื้นที่ดังกล่าวจึงถูกจำกัด

ฮาเบอร์มาสยอมรับว่า เขาได้นำเสนอภาพที่ไม่เป็นจริงเท่าใดนัก เกี่ยวกับองค์ประกอบที่เป็นอิสระและมีเสรีภาพของพื้นที่สาธารณะชนชั้นกลาง" (Habermas 1989a: xix), และควรที่จะทำให้มันกระจ่างชัดขึ้นด้วยว่า เขากำลังสถาปนา"แบบฉบับที่เป็นอุดมคติ"อันหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่บรรทัดฐานอุดมคติที่ได้รับการฟื้นฟูหรือเอากลับคืนมาสู่ชีวิต (Habermas 1992: 422f)

อันที่จริงเป็นที่ชัดเจนว่า การทำให้เป็นพื้นที่สาธารณะเป็นอุดมคติดังกล่าวที่ได้รับการนำเสนอในหนังสือของฮาเบอร์มาส ข้าพเจ้าเชื่อว่านี่เป็นการอธิบายและการรับรองถึงพื้นที่สาธารณะในเชิงบวก แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ถูกวิจารณ์ค่อนข้างมาก. ในด้านที่เกี่ยวกับการตอบรับและเห็นพ้องนั้น แน่นอน รัศมีแห่งมาตรฐานของหนังสือดังกล่าวได้ให้แรงบันดาลใจต่อผู้คนเป็นจำนวนไม่น้อย ในการจินตนาการและบ่มเพาะพื้นที่และวงสนทนา(forum)ดังกล่าวขึ้นมา ซึ่งเป็นประชาธิปไตย, มีความเสมอภาคของมวลมนุษย์, และค่อนข้างกว้างขวางครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ส่วนบางคนก็ได้รับแรงกระตุ้นที่จะตระหนักถึงพื้นที่ประชาธิปไตยในด้านตรงข้ามต่างๆ ในฐานะที่เป็นสถานที่ซึ่งให้การพัฒนาเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางเลือกทั้งหลาย เพื่อสถาปนาสถาบันและพื้นที่ต่างๆ ขึ้นมา

ด้วยเหตุดังนั้น ฮาเบอร์มาสจึงได้ทำให้เกิดแรงกระตุ้นและแรงหนุนเสริมอันมั่นคงสำหรับการสนทนากัน อันเกี่ยวพันกับการทำให้เป็นประชาธิปไตยของพื้นที่สาธารณะและประชาสังคม รวมถึงมิติที่เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งไปช่วยทำให้เกิดการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างมีประสิทธิภาพ ของพื้นที่สาธารณะและความเป็นประชาธิปไตย

กระนั้นก็ตาม การทำให้เป็นอุดมคติเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลางช่วงต้นๆ ในงานของฮาเบอร์มาส ในฐานะที่เป็นพื้นที่หนึ่งของการสนทนากันอย่างมีเหตุผล และก่อให้เกิดฉันทามติ (consensus - ประชามติ) ก็ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแหลมคมด้วยเช่นกัน. มันเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความลังเลสงสัยว่า ถ้าเผื่อการเมืองแบบประชาธิปไตยได้รับการกระตุ้นหรือเติมเชื้อมาตลอด โดยบรรทัดฐานต่างๆ เกี่ยวกับความมีเหตุมีผล หรือความเห็นสาธารณะที่ได้รับการก่อรูปขึ้นมาโดยการถกเถียงกันเชิงเหตุผล และนำมาซึ่งฉันทามติ แล้วทำไมพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลางตามแนวคิดของฮาเบอร์มาสจึงเป็นเรื่องที่ไม่จริง

การเมืองตลอดยุคสมัยใหม่ได้ถูกทำให้เป็นเรื่องของผลประโยชน์และอำนาจ เช่นเดียวกับการสนทนาและถกเถียงกันต่างๆ [2]. น่าจะเป็นไปได้ที่ว่า มีเพียงสังคมชนชั้นกลางของตะวันตกอยู่ไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่ได้พัฒนาพื้นที่สาธารณะแบบนี้ขึ้นมาในความหมายทั้งหมดของฮาเบอร์มาส และขณะเดียวกันมันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างแบบจำลองต่างๆ ของสังคมที่ดี ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการตระหนักและการเห็นพ้องต้องกัน ในคุณค่าของประชาธิปไตยและความเสมอภาคของมนุษยชาติ. แต่อย่างไรก็ตาม จะเป็นเรื่องที่ผิดพลาดเลยทีเดียว ในการทำให้พื้นที่สาธารณะเช่นนี้เป็นเรื่องอุดมคติและเป็นสากลกับพื้นที่สาธารณะบางแห่งเป็นการเฉพาะมากเกินไป เช่นดังในคำอธิบายของฮาเบอร์มาส

ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะและประชาธิปไตย ได้ทึกทักเกี่ยวกับเสรีภาพและความชื่นชอบของประชาชนในความหลากหลาย ความอดทนอดกลั้น การถกเถียง และการนำมาซึ่งฉันทามติ, แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่า พื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลางได้ถูกครอบงำโดยคนผิวขาว, และผู้ชายซึ่งเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สมบัติต่างๆ. ดังที่บรรดาผู้วิจารณ์ฮาเบอร์มาสได้แสดงหลักฐานว่า พื้นที่สาธารณะของชนชั้นแรงงาน, ของสามัญชน, และของผู้หญิงได้พัฒนาขึ้นมาเคียงข้างพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลาง เพื่อเป็นตัวแทนสุ้มเสียงและผลประโยชน์ที่ได้ถูกกีดกันออกไปจากวงสนทนาและการอภิปรายเหล่านี้

Oskar Negt และ Alexander Kluge ได้วิจารณ์ฮาเบอร์มาส สำหรับการไม่ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของสามัญชนและของชนชั้นกรรมาชีพ (1972 [1996)] ในการไตร่ตรองของฮาเบอร์มาส ดังที่พวกเขาเขียนว่า มาถึงตอนนี้เขาได้ตระหนักแล้วว่า "จากการเริ่มต้นขึ้นมาเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลาง ที่มีอิทธิพลครอบงำต่อสามัญชนนั้น ได้แสดงให้เห็นว่าเขาได้ประเมินความสำคัญของพื้นที่สาธารณะที่ไม่ใช่ของชนชั้นกลาง หรือฝ่ายตรงข้ามต่ำจนเกินไป (1992: 430)

ตั้งแต่นี้ไป ความนึกคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะที่เป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพ มันจะมีประโยชน์และประสิทธิภาพกว่า หากจะทำให้ความหลากหลายของพื้นที่สาธารณะเป็นทฤษฎีขึ้นมา บางครั้งมันเหลื่อมซ้อนกันและบางคราวก็ขัดแย้งกันด้วย. สิ่งเหล่านี้รวมถึงพื้นที่สาธารณะของกลุ่มต่างๆ ที่ถูกกีดกันออกไปทั้งหลาย เช่นเดียวกับโครงร่างทั้งหลายของรูปแบบกระแสหลัก. มากยิ่งไปกว่านั้นดังที่จะให้เหตุผลต่อไปข้างหน้า พื้นที่สาธารณะในตัวของมันเองได้แปรเปลี่ยนไปโดยการเกิดขึ้นมาของความเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ๆ การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และพื้นที่อย่างใหม่ของการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารสาธารณะ

Mary Ryan ได้บันทึกในเชิงเสียดสีว่า ฮาเบอร์มาสไม่เพียงไม่สนใจพื้นที่สาธารณะของผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมทรามของพื้นที่สาธารณะดังกล่าวอย่างชัดถ้อยชัดคำ ในช่วงที่ผู้หญิงกำลังเริ่มเข้ามามีอำนาจทางการเมือง และกลายเป็นผู้แสดงหรือมีบทบาทต่างๆ(1992: 259ff) อันที่จริง the 1999 PbS (Public Sphere) โดย Ken Burns, Not For Ourselves Alone ได้แสดงให้เห็นถึงพลังความสามารถอย่างชัดเจนเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของผู้หญิงในคริสตศตวรรษที่ 19 ในอเมริกา โดยมีหลักฐานถึงความพยายามในการจัดตั้งอย่างไม่น่าเชื่อของ Susan B. Anthony, Elizabeth Cary Stanton, และคนอื่นๆ นับจากทศวรรษที่ 1840s เป็นต้นมา จนเข้าสู่คริสตศตวรรษที่ 20 ในการต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนักแน่นเพื่อสิทธิของผู้หญิงและการมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง

การเยี่ยมชม the Hull House ในชิคาโก ได้เผยให้เห็นถึงการสอดแทรกที่น่าทึ่งและน่าพิศวงสู่พื้นที่สาธารณะของ Jane Adam และเพื่อนร่วมงานของเธอหลายคน ในการพัฒนารูปแบบต่างๆ และบรรทัดฐานของการเคหะฯ, สถานที่ดูแลสุขภาพ, สถานศึกษา, สวัสดิการสาธารณะต่างๆ, สิทธิและการปฏิรูปในทางกฎหมายและระบบการลงโทษ, รวมไปถึงงานศิลปะสาธารณะ (ผู้สนใจขอให้ดูงานเขียนต่างๆ ของ Bryan and Davis 1969). กลุ่มของผู้หญิงเหล่านี้และผู้หญิงกลุ่มอื่นๆ ที่นำมาสนทนาในงานของ Ryan (1992) เป็นองค์ประกอบสำคัญและค่อนข้างมีศักยภาพมากในเรื่องพื้นที่สาธารณะของผู้หญิงอันเต็มไปด้วยชีวิตชีวา

อันที่จริง, ในหนังสือเรื่อง People's History of the United States (1995) ของ Howard Zinn และเรื่อง The Populist Movement (19xx) ของ Lawrence Goodwin ได้ให้หลักฐานของการมีอยู่เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวในทางตรงข้าม และเรื่องของพื้นที่สาธารณะตลอดประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งถึงภาพสะท้อนทั้งหลายที่ดำรงอยู่ในเรื่องขบวนการสิทธิพลเมืองในสหรัฐฯ, ขบวนการเคลื่อนไหวในช่วงทศวรรษที่ 1960s และความต่อเนื่องเกี่ยวกับ "ขบวนการเคลื่อนไหวใหม่ๆ ทางสังคม"จนถึงทศวรรษที่ 1970s และถัดจากนั้นได้เสนอว่า การวิเคราะห์ของฮาเบอร์มาส ไม่ได้เน้นหรือให้ความสำคัญความอุดมสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง และความมีพลังของพื้นที่สาธารณะที่ได้ก้าวมาสู่คริสตศตวรรษที่ 20
(ในส่วนบทสรุป ข้าพเจ้าจะนำเสนอว่า ทำไมกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ บนไซเบอร์สเปซ จึงทำให้พื้นที่สาธารณะขยายตัวออกไปมากขึ้น และมันเป็นที่ทางใหม่สำหรับการเมืองประชาธิปไตยของเราอย่างไร)

แม้ว่าจะมีข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเขา ฮาเบอร์มาสก็มีสิทธิ์ที่ว่า ในยุคของการปฏิวัติประชาธิปไตย พื้นที่สาธารณะอันหนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งสำหรับในระยะแรกนั้นตามประวัติศาสตร์ พลเมืองธรรมดาสามารถจะมีส่วนร่วมในการสนทนาและถกเถียงกันทางการเมืองได้ พวกเขาสามารถที่จะรวมกลุ่มจัดตั้งและต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ขณะเดียวกันก็มีการตอบโต้และคัดค้านสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และพื้นที่นี้ได้ถูกทำให้เป็นสถาบันขึ้นมา แม้ว่ามันจะไม่สมบูรณ์นักก็ตาม

ในพัฒนาการต่อมาภายหลังของสังคมตะวันตกต่างๆ คำอธิบายของฮาเบอร์มาสเกี่ยวกับการแปรรูปไปเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ, แม้ว่าจะมีข้อจำกัดของมัน, แต่เขายังชี้ด้วยว่า บทบาทหน้าที่ต่างๆ อันสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของสื่อในทางการเมืองและชีวิตประจำวัน และวิธีการทั้งหลายที่ผลประโยชน์บริษัทได้เข้ามาครอบครอง สิ่งเหล่านี้ได้ไปเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณะนี้ให้กลายเป็นเหมือนอาณานิคม โดยมีการใช้ประโยชน์จากสื่อและวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนผลประโยชน์ทั้งหลายของพวกเขาเอง

กระนั้นก็ตามในการย้อนรำลึกอดีต การวิเคราะห์ของฮาเบอร์มาส อันที่จริงได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาที่ค่อนข้างลึกซึ้งของ Horkheimer และ Adorno เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ใน Dialectic of Enlightenment (วิภาษวิธีของยุคสว่าง) และทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับสังคมมวลชน ซึ่งได้กลายเป็นกระบวนทัศน์ที่มีอิทธิพลครอบงำอย่างมากในทศวรรษที่ 1950s. ดังที่บันทึกไว้ คำอรรถาธิบายของฮาเบอร์มาส ได้ทึกทักถึงความมีเหตุผลของการวิเคราะห์เชิงสถาบันเกี่ยวกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ซึ่งบรรษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ ได้เข้ามายึดครองและแทนที่พื้นที่สาธารณะ พร้อมกันนั้นก็ได้แปรเปลี่ยนมันจากพื้นที่หนึ่งของการถกเถียงกันด้วยเหตุผล ไปสู่พื้นที่การบริโภคที่มีการจัดการควบคุมและเป็นไปอย่างยอมจำนน

ยิ่งไปกว่านั้น คล้ายๆกับ Horkheimer และ Adorno ซึ่งได้มองย้อนกลับไปอย่างโหยหาสู่รูปแบบต่างๆ ในเชิงอุดมคติก่อนหน้าเกี่ยวกับครอบครัว ดังการเปลี่ยนผ่านต่างๆ ของฮาเบอร์มาส ที่กระทำกับพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลางในเชิงอุดมคติเอามากๆ - ทั้งๆ ที่มีข้อจำกัดของมัน และความหน่วงเหนี่ยวต่างๆ ซึ่งได้รับการชี้ให้เห็นโดยบรรดานักวิจารณ์เขาอยู่บ่อยๆ

อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงเพื่อนร่วมงานของเขา Horkheimer และ Adorno ซึ่งได้มีอิทธิพลต่อแนวความคิดนี้เท่านั้น อันที่จริงยังมีผู้มีส่วนร่วมคนอื่นๆ อีกในการถกเถียงกันเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชนและการสื่อสารต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษที่ 1950s และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง C. Wright Mills. แม้ว่าฮาเบอร์มาสจะสรุปถึง การเปลี่ยนผ่านต่างๆ ด้วยข้ออ้างทั้งหลายในลักษณะครอบคลุมจากงานของ Mill เรื่อง Power Elite ในการแปรสภาพหรือรูปร่างไปของความเป็นสาธารณะดังกล่าว สู่มวลชนในสังคมบริโภคและสังคมสื่อร่วมสมัย, แต่ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถค้นพบในกองงานขนาดใหญ่ในแนวคิดของฮาเบอร์มาสเกี่ยวกับการสนทนาเรื่องพื้นที่สาธารณะ เกี่ยวกับการมีนัยสำคัญในงานของ Mill สำหรับการวิเคราะห์ของฮาเบอร์มาสในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ [3]

C. Wright Mills ตัวเขาเอง มีแนวโน้มที่จะใช้แบบจำลองทั้งหลายทางด้านสื่อให้เป็นประโยชน์ ในฐานะตัวแทนต่างๆ ของการจัดการและการควบคุมทางสังคม แม้ว่าบางครั้งเขาจะมองว่า พลังอำนาจของสื่อมีคุณสมบัติโดยตรงในการจัดการควบคุมสาธารณชนทั้งหลาย ในลักษณะที่ทำให้เกิดความเห็นสอดคล้องกัน. ในเรื่อง White Collar, Mill (1951)ได้เน้นถึงบทบาทที่สำคัญยิ่งของสื่อสารมวลชนในการทำให้พฤติกรรมของปัจเจกชนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา และยังได้ชักพาให้เกิดความปรอดองกันสู่คุณค่าต่างๆ ของชนชั้นกลางด้วย

เขาให้เหตุผลว่า สื่อได้ทำหน้าที่ก่อรูปก่อร่างความปรารถนาและพฤติกรรมของปัจเจกชนเพิ่มขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือการส่งเสริมคุณค่าต่างๆ เกี่ยวกับ"ความสำเร็จของปัจเจกบุคคล"(individual success). โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขายังเชื่อต่อไปว่า สื่อความบันเทิงเป็นเครื่องมีที่มีพลังอำนาจในการควบคุมสังคม เพราะ"วัฒนธรรมประชานิยม"(popular culture)มิได้ติดป้ายในฐานะ"การโฆษณาชวนเชื่อ" แต่มันเป็นความบันเทิง; บ่อยครั้งผู้คนถูกเผยหรือแสดงตัวออกมากับมัน ช่วงที่คนส่วนใหญ่ผ่อนคลายจากความเหนื่อยอ่อนทางด้านจิตใจและร่างกาย; และตัวละครทั้งหลายก็นำเสนอเป้าหมายง่ายๆ ของตัวนักแสดง, คำตอบง่ายๆ เกี่ยวกับปัญหาส่วนตัวที่มีลักษณะเหมารวมแบบตายตัว (ibid, p. 336)

Mills วิเคราะห์ความซ้ำซากน่าเบื่อของการเมืองในสื่อ โดยผ่านสิ่งซึ่งสื่อสารมวลชนได้เผยแพร่โฆษณาสัญลักษณ์ทางการเมืองการปกครองและบุคลิกภาพต่างๆ การรับรู้ในเชิงคู่ขนานระหว่างสินค้าต่างๆ ทางการตลาด และการเร่ขายนักการเมือง, Mills ได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มต่างๆ ที่มุ่งไปสู่การทำการเมืองให้เป็นสินค้า. และในเรื่อง The Power Elite, เขาได้โฟกัสไปยังบทบาทหน้าที่ต่างๆ ของสื่อที่มีการจัดการควบคุมในการทำให้ความเห็นสาธารณะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา และทำให้พลังของชนชั้นสูงหรือพวกหัวกะทิ ซึ่งมีลักษณะครอบงำแข็งแกร่งยิ่งขึ้น(Mills 1956)

ในการวิเคราะห์นั้น เป็นการทำมาก่อนหน้าทฤษฎีของฮาเบอร์มาส, Mills ได้สนทนาถึงการเปลี่ยนผ่านจากระเบียบสังคมอันหนึ่งที่ประกอบด้วยชุมชน สาธารณชน ซึ่งแต่ละปัจเจกบุคคลต่างมีส่วนร่วมในการถกเถียงทางการเมือง-สังคม-และการกระทำ ไปสู่สังคมมวลชน(mass society) ที่ได้รับการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาโดย"การเปลี่ยนผ่านของสาธารณชนไปสู่ความเป็นมหาชน" [transformation of public into mass (298ff.)]

ผลกระทบของสื่อสารมวลชนจึงสำคัญอย่างยิ่งใน"การเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่นี้" สำหรับการที่มันได้ผันเปลี่ยน "อัตราส่วนของการเป็นผู้ให้ความคิดเห็นต่างๆ ไปสู่การเป็นผู้รับ"(the ratio of givers of opinion to the receivers) ซึ่งยอมรับคนชั้นสูงกลุ่มเล็กๆ ที่ควบคุมหรือเข้าถึงสื่อต่างๆ

มากยิ่งไปกว่านั้น สื่อสารมวลชนยังผูกพันกับการสื่อสารทางเดียว ที่ไม่ยินยอมให้มีการโต้กลับ ดังนั้นมันจึงไปขจัดลักษณะหรือรูปแบบอีกอันหนึ่งของพื้นที่สาธารณะที่เป็นประชาธิปไตยทิ้งไป. ยิ่งกว่านั้น สื่อทั้งหลายแทบจะไม่เคยกระตุ้นหรือให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการกระทำทางสังคมหรือในเชิงสาธารณะเอาเลย. ด้วยวิธีการทั้งหลายเหล่านี้ พวกมันจึงอุ้มชูสนับสนุนความเป็นผู้ยอมจำนนของสังคม และการแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ของพื้นที่สาธารณะ สู่การเป็นผู้บริโภคทั้งหลายเป็นคนๆ ไป

เมื่อตอนที่ข้าพเจ้าเสนอการตีความนี้เกี่ยวกับแนวคิดของฮาเบอร์มาส ในเรื่องของพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลางในการประชุมครั้งหนึ่งที่ Starnberg ในปี 1981 (see Kellner 1983), เขายอมรับว่า อันที่จริงนั้นแนวความคิดทั้งหลายของ Horkheimer, Adorno และ C. Wright Mills มีอิทธิพลต่อการวิเคราะห์ของเขา และชี้ว่าเขามองงานของตนเองในฐานะที่เป็นการนำเสนอพื้นฐานทางประวัติศาสตร์สำหรับทฤษฎีของ Horkheimer และ Adorno เกี่ยวกับเรื่องอุตสาหกรรมวัฒนธรรม, ส่วนสำหรับ Mills นั้น เป็นผู้ที่ได้ให้เหตุผลที่ค่อนข้างทันสมัยร่วมยุคร่วมสมัยเกี่ยวกับแบบจำลองสถาบันดังกล่าว

กระนั้นก็ตามในกรณีต่างๆ เกี่ยวกับการค้นหาทั้งจุดยืนและยุทธศาสตร์ของการวิจารณ์ เช่นเดียวกับการเมืองในเชิงปฏิบัติเพื่อทำให้ประชาธิปไตยฟื้นคืนกลับมา การวิเคราะห์ของ Horkheimer, Adorno, และฮาเบอร์มาสในช่วงต้นๆ ได้น้อมนำไปสู่หนทางที่ตีบตันอันหนึ่ง(a cul-de-sac). ในการวิเคราะห์ต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและพื้นที่สาธารณะในงานของ Horkheimer and Adorno เรื่อง "Dialectic of Enlightenment" และงานของฮาเบอร์มาส เรื่อง "Structural Transformation" ยุทธศาสตร์เชิงสถาบันเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ภายใน ไม่ได้ถูกนำมาใช้แต่อย่างใด

ไม่มีพื้นฐานเชิงสถาบันที่ส่งเสริมการทำให้เป็นประชาธิปไตย และไม่มีคุณลักษณ์ต่างๆ ทางสังคมที่ช่วยประสานความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ และเพื่อทำให้ขบวนการทั้งหลายทางสังคมประชาธิปไตยและการเปลี่ยนผ่านเข้มแข็งขึ้น เพราะฉะนั้น ทฤษฎีวิพากษ์จึงได้มาถึงจุดที่อ่อนแอไร้กำลังวังชา ที่จะเป็นบรรทัดฐานสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์ หรือพลังบีบคั้นทางสังคมที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสังคมที่เป็นอยู่

ในช่วงทศวรรษ 1930s สถาบันดังกล่าวได้ใช้วิธีการวิพากษ์วิจารณ์ภายใน ซึ่งพวกเขาวิจารณ์สังคมฟาสซิสท์และสังคมเผด็จการ จากจุดยืนเกี่ยวกับแนวคิดประชาธิปไตยของยุคสว่าง, สิทธิมนุษยชน, อิสรภาพของปัจเจกชนและสังคม, และความมีเหตุผล. ในหนทางนี้"แฟรงค์เฟริทสคูล"ได้ใช้มาตรฐาน"ภายใน"กับสังคมชนชั้นกลาง เพื่อวิจารณ์การบิดผันหรือเบี่ยงเบนไปในการพัฒนาต่อมาภายหลังของมันในลัทธิฟาสซิสม์

แต่งานของ Horkheimer และ Adorno เรื่อง Dialectic of Enlightenment ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1940s และได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1947 ได้แสดงให้เห็นว่า บรรทัดฐานของยุคสว่าง มันได้เปลี่ยนไปสู่ทิศทางในด้านตรงข้ามได้อย่างไร และทำไมประชาธิปไตยถึงได้สร้างลัทธิฟาสซิสม์ขึ้นมา, ทำไมเหตุผลจึงผลิตความไร้เหตุผลขึ้นมา, สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้อย่างไร?

ดังที่ความมีเหตุมีผลซึ่งเป็นเครื่องมือได้สร้างกลไกต่างๆ ทางด้านการทหารและสรรค์สร้างค่ายมรณะต่างๆ ขึ้น และอุตสาหกรรมวัฒนธรรมกำลังเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์อันหนึ่งของ Bildung (การศึกษา/วัฒนธรรม) และความรู้ที่สว่างไสว(enlightenment) -> ไปสู่การเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์อันหนึ่งของการจัดการควบคุมและการครอบงำ (see the discussion in Kellner 1989, Chapter 4) ในสถานการณ์เช่นนี้ มันเป็นขบวนการเกี่ยวกับการใช้"อุดมคติต่างๆ ของชนชั้นกลางในฐานะบรรทัดฐานของการวิพากษ์วิจารณ์"

เมื่ออุดมคติชนชั้นกลางเหล่านี้ถูกเปลี่ยนเป็นเงินสด เมื่อความสำนึกแปรไปสู่ลัทธิซีนิกที่เยาะเย้ยถากถางโลก ความผูกมัดต่อบรรทัดฐานและการปรับเปลี่ยนคุณค่าที่การวิจารณ์เกี่ยวกับอุดมคติจะต้องคาดการณ์ถึงลักษณะที่ดึงดูดของมัน และพยายามค้นหาสุ้มเสียงที่ได้ยินอันหนึ่งซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ตายจากไป โดยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเสนอว่า รากฐานอันเป็นบรรทัดฐานทั้งหลายของทฤษฎีวิพากษ์เกี่ยวกับสังคมควรน้อมนำไปสู่ระดับที่ลึกกว่าอันหนึ่ง ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารในเชิงปฏิบัติมีเจตนาที่จะนำไปสู่การเปิดรับศักยภาพภายในที่มีเหตุผล ในปฏิบัติการเกี่ยวกับสื่อสารทั้งหลายในชีวิตประจำวัน(1992: 442)

เหมือนกับ Horkheimer และ Adorno ใน Dialectic of Enlightenment, ฮาเบอร์มาสได้สร้างคำอธิบายชุดหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลาง ซึ่งได้เปลี่ยนไปสู่พื้นที่สาธารณะในทางตรงข้ามได้อย่างไร ความสำนึกที่ว่าการใช้รูปแบบแรกขององค์กรทางสังคมเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ความเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ไปภายหลังของมัน เป็นเรื่องที่โหยหาถึงอดีต ฮาเบอร์มาสเรียกร้องการทำให้สถาบันและพื้นที่ทางสังคมต่างๆ เป็นประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ในช่วงสุดท้ายของหนังสือเรื่อง Structural Transformation (1989: 248ff), แต่อันนี้เป็นเพียงความพึงพอใจทางศีลธรรมซึ่งไม่มีรากฐานเชิงสถาบันที่มองเห็นได้ หรือขบวนการทางสังคมใดๆ ตระหนักถึงการเรียกร้องนี้

ดังนั้น เพื่อมองไปยังจุดยืนใหม่สำหรับการวิจารณ์ เพื่อนำเสนอรากฐานทางปรัชญาใหม่สำหรับทฤษฎีวิพากษ์ และเพื่อสนับสนุนพลังอย่างใหม่ๆ สำหรับความเป็นประชาธิปไตย ฮาเบอร์มาสได้หันไปสู่พื้นที่ทางภาษาและการสื่อสาร เพื่อค้นหาบรรทัดฐานต่างๆ สำหรับการวิจารณ์ และรากฐานทางมานุษยวิทยา เพื่อส่งเสริมข้อเรียกร้องต่างๆ ของเขาสำหรับการทำให้เป็นประชาธิปไตย

++++++++++++++++++++++++

Notes - เชิงอรรถ

[1]. For a discussion of the initial critiques of Habermas's Offentlichkeit, see Hohendahl 1979; for a bibliography of writings on the topic, see G๖rtzen 1981; and for a set of contemporary English-language discussions of the work, after it was finally translated in 1989, see Calhoun 1992. To get a sense of the astonishingly productive impact of the work in encouraging research and reflection on the public sphere, see the studies in Calhoun 1992 and Habermas's "Further Reflections on the Public Sphere" that cite a striking number of criticisms or developments of his study.

[2]. One example relevant to Habermas's time frame: the framing of the U.S. constitution as analyzed in Beard 19xx who demonstrates that the U.S. form of constitutional government was decisively formed through compromises between competing Northern and Southern elites rather than through rational argumentation and consensus concerning common interests.

[3]. There is no mention, for instance, of C. Wright Mills in the index of the collection of articles on Habermas and the public sphere in Calhoun 1992. Mills himself was influenced by the works of the Institute for Social Research and paid explicit homage to the Institute in a 1954 article where he described the dominant types of social research as those of the Scientists (quantitative empiricists), the Grand Theorists (structural-functionalists like Talcott Parsons), and those genuine Sociologists who inquire into: "

(1) What is the meaning of this -- whatever we are examining -- for our society as a whole, and what is this social world like?

(2) What is the meaning of this for the types of men and women that prevail in this society? and

(3) how does this fit into the historical trend of our times, and in what direction does this main drift seem to be carrying us?" (Mills 1963: 572).

He then comments: "I know of no better way to become acquainted with this endeavor in a high form of modern expression than to read the periodical, Studies in Philosophy and Social Sciences, published by The Institute of Social Research. Unfortunately, it is available only in the morgues of university libraries, and to the great loss of American social studies, several of the Institute's leading members, among them Max Horkheimer and Theodore Adorno, have returned to Germany. That there is now no periodical that bears comparison with this one testifies to the ascendancy of the Higher Statisticians and the Grand Theorists over the Sociologists. It is difficult to understand why some publisher does not get out a volume or two of selections from this great periodical" (ibid).

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

References - บรรณานุกรม

Antonio, Robert J. and Douglas Kellner (1992) "Communication, Democratization, and Modernity: Critical Reflections on Habermas and Dewey," Habermas, Pragmatism, and Critical Theory, special section of Symbolic Interaction, Vol. 15, Nr. 3 (Fall 1992), 277-298.

Adorno, T.W., et. al., (1976) The Positivist Dispute in German Sociology, London, Heinemann.

Beard, Charles (1998) An Economic Interpretation of the Constitution of the United States. New York: Transaction Press.

Benjamin, Walter (1969) Illuminations. New York: Schocken Books.

Bronner, Stephen Eric and Douglas Kellner, eds. (1989) Critical Theory and Society. A Reader. New York: Routledge.

Bryan, Mary Lynn McCree and Allen F. Davis (1969) Years at Hull-House. Bloomington: Indiana University Press.

Calhoun, Craig (1992), ed. Habermas and the Public Sphere. Cambridge: The MIT Press.

Calhoun, Craig (1992), "Introduction: Habermas and the Public Sphere" in Calhoun 1992: 1-48.

Castells, Manuel (1996) The Rise of the Network Society. Oxford: Blackwell.

_______________ (1997) The Power of Identity. Oxford: Blackwell.

_______________ (1998) End of Millennium. Oxford: Blackwell.

Czitrom, Daniel (1982) Media and the American Mind. Chapel Hill, N.C.: North Carolina University Press.

Downing, John (1984) Radical Media. Boston: South End Press.

Fiske, John (1994) Media Matters. Minneapolis, Minn.: University of Minnesota Press.

Fromm, Erich (1989) The Working Class in Weimar Germany : A Psychological and Sociological Study. Cambridge, Mass.: Harvard University Press.

Gitlin, Todd (1987) The Sixties. Years of Hope, Days of Rage. New York: Doubleday.

G๖rtzen, R. (1981) J. Habermas: Eine Bibliographie seiner Schriften und der Sekundไrliteratur, 1952-1981. Frankfurt.

Gouldner, Alvin W. (1976) The Dialectic of Ideology and Technology. New York: Seabury.

Habermas, Jurgen (1962) Strukturwandel der Offentlichkeit. Neuwied and Berlin: Luchterhand.

_______________ (1970) "Toward a Theory of Communicative Competence," in Hans Peter Dreitzel, ed. Recent Sociology No. 2. New York: Macmillan: 1970: 114-148.

__________________ (1973) Theory and Practice (Boston: Beacon Press.

________________ (1979) Communication and the Evolution of Society. Boston: Beacon Press.

______________ (1983 and 1987) Theory of Communicative Action, Volume 1 and 2. Boston: Beacon Press.

_____________ (1987) The Philosophical Discourse of Modernity. Cambridge, Mass: MIT Press.

____________ (1989a) Structural Transformation of the Public Sphere. Cambridge, Mass: MIT Press.

------------ (1989b) "The Public Sphere: An Encyclopedia Article," in Bronner and Kellner 1989: 136-142.

______________ (1992), "Further Reflections on the Public Sphere" in Calhoun 1992: 421-461.

_____________ (1998) Between Facts and Norms. Cambridge, Mass: MIT Press.

Habermas, Jurgen et. al., (1961) Student und Politik. Berlin: Neuwied.

Hammer, Rhonda and Douglas Kellner (1999) "Multimedia Pedagogical Curriculum for the New Millennium," Journal of Adolescent & Adult Literacy, Vol. 42, Nr. 7 (April): 522-526 and longer version forthcoming in Journal of Religious Education, 1999.

Hohendahl, Peter (1979) "Critical Theory, Public Sphere and Culture: Habermas and His Critics," New German Critique 16 (Winter): 89-118.

Kellner, Douglas (1979) "TV, Ideology, and Emancipatory Popular Culture," Socialist Review 45 (May-June): 13-53.

____________ (1985) "Public Access Television: Alternative Views," Radical Science Journal 16, Making Waves: 79-92.

_________ (1989) Critical Theory, Marxism and Modernity. Cambridge and Baltimore: Polity Press and John Hopkins University Press.

_______________ (1990) Television and the Crisis of Democracy. Boulder: Westview Press.

_______________ (1992) The Persian Gulf TV War. Boulder: Westview Press.

_______________ (1995a) Media Culture. London and New York: Routledge.

_______________ (1995b) "Intellectuals and New Technologies," Media, Culture, and Society, Vol. 17: 201-217.

_______________ (1997) "Intellectuals, the New Public Spheres, and Technopolitics," New Political Science 41-42 (Fall): 169-188.

____________ (1998) "Multiple Literacies and Critical Pedagogy in a Multicultural Society." Educational Theory, Vol. 48, Nr. 1: 103-122.

McLuhan, Marshall (1962) The Gutenberg Galaxy. New York: Signet Books.

________________ (1964) Understanding Media: The Extensions of Man. New York: Signet Books.

Miller, James (1994) 'Democracy Is in the Streets': From Port Huron to the Siege of Chicago. Cambridge: Harvard University Press.

Mills, C. Wright (1951) White Collar. Boston: Beacon Press.

______________ (1956) The Power Elite. Boston: Beacon Press.

_________________ (1963) "IBM Plus Reality Plus Humanism=Sociology," in Power, Politics, and People. Boston: Beacon Press.

Pollock, Friedrich (1955), ed. Gruppenexperiment. Frankfurt: Institut fur Sozialforschung.

Ryan, Mary (1992), "Gender and Public Access: Women's Politics in Nineteenth Century America," in Calhoun 1992: 259-288.

Sale, Kirkpatrick (1974) SDS. New York: Vintage.

Sartre, Jean-Paul (1974) The Writings of Jean-Paul Sartre, edited by Michel Contat and Michel Rybalka. Evanston, Ill.: Northwestern University Press.

Wiggershaus, Rolf (1996) The Frankfurt School. Cambridge: MIT Press.

Zinn, Howard (1995) A People's History of the United States: 1492 to Present. New York: Harperperennial.

++++++++++++++++++++++++++++++++++

คลิกกลับไปอ่านต่อ : วิจารณ์ฮาเบอร์มาส กรณีพื้นที่สาธารณะ (2)

 




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 



080949
release date
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนรวบรวมบทความทุกสาขาวิชาความรู้ เพื่อเป็นฐานทรัพยากรทางความคิดในการส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาไปสู่สังคมที่ยั่งยืน มั่นคง และเป็นธรรม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตแผ่นซีดี-รอม เพื่อการค้นคว้าที่ประหยัดให้กับผู้สนใจทุกท่านนำไปใช้เพื่อการศึกษา ทบทวน และอ้างอิง สนใจดูรายละเอียดท้ายสุดของบทความนี้




นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน สามารถ
คลิกอ่านบทความก่อนหน้านี้ได้ที่ภาพ
หากสนใจดูรายชื่อบทความ ๒๐๐ เรื่อง
ที่ผ่านมากรุณาคลิกที่แถบสีน้ำเงิน
A collection of selected literary passages from the Midnightuniv' s article. (all right copyleft by author)
Quotation : - Histories make men wise; poet witty; the mathematics subtile; natural philosophy deep; moral grave; logic and rhetoric able to contend.... There is no stond or impediment in the wit, but may be wrought out by fit studies: like as diseases of the body may have appropriate exercise. Bacon, of studies
ประวัติศาสตร์ทำให้เราฉลาด; บทกวีทำให้เรามีไหวพริบ; คณิตศาสตร์ทำให้เราละเอียด; ปรัชญาธรรมชาติทำให้เราลึกซึ้ง; ศีลธรรมทำให้เราเคร่งขรึม; ตรรกะและวาทศิลป์ทำให้เราถกเถียงได้… ไม่มีอะไรสามารถต้านทานสติปัญญา แต่จะต้องสร้างขึ้นด้วยการศึกษาที่เหมาะสม เช่นดังโรคต่างๆของร่างกาย ที่ต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง
สารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จัดทำขึ้นเพื่อการค้นหาความรู้ โดยสามารถสืบค้นได้จากหัวเรื่องที่สนใจ เช่น สนใจเรื่องเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ให้คลิกที่อักษร G และหาคำว่า globalization จะพบบทความต่างๆตามหัวเรื่องดังกล่าวจำนวนหนึ่ง
The Midnight University
the alternative higher education
บทวิจารณ์แนวความคิดพื้นที่สาธารณะ
บทความลำดับที่ ๑๐๒๙ เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙
H
home
back home
R
related

ข้อความบางส่วนจากบทความ
ขณะที่แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะและประชาธิปไตย ได้พูดถึงเกี่ยวกับเสรีภาพและความชื่นชอบของประชาชนในความหลากหลาย ความอดทนอดกลั้น การถกเถียง และการนำมาซึ่งฉันทามติ, แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่า พื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลางได้ถูกครอบงำโดยคนผิวขาว, และผู้ชายซึ่งเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สมบัติต่างๆ. ดังที่บรรดาผู้วิจารณ์ฮาเบอร์มาสได้แสดงหลักฐานว่า พื้นที่สาธารณะของชนชั้นแรงงาน, ของสามัญชน, และของผู้หญิงได้พัฒนาขึ้นมาเคียงข้างพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลาง เพื่อเป็นตัวแทนสุ้มเสียงและผลประโยชน์ที่ได้ถูกกีดกันออกไปจากวงสนทนาและการอภิปรายเหล่านี้
Oskar Negt และ Alexander Kluge ได้วิจารณ์ฮาเบอร์มาส สำหรับการไม่ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของสามัญชนและของชนชั้นกรรมาชีพ ในการไตร่ตรองของฮาเบอร์มาส ดังที่พวกเขาเขียนว่า มาถึงตอนนี้เขาได้ตระหนักแล้วว่า "จากการเริ่มต้นขึ้นมาเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลาง ที่มีอิทธิพลครอบงำต่อสามัญชนนั้น ได้แสดงให้เห็นว่าเขาได้ประเมินความสำคัญของพื้นที่สาธารณะที่ไม่ใช่ของชนชั้นกลาง หรือฝ่ายตรงข้ามต่ำจนเกินไป

ในยุคของการปฏิวัติประชาธิปไตย พื้นที่สาธารณะอันหนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งสำหรับในระยะแรกนั้น พลเมืองสามารถจะมีส่วนร่วมในการสนทนาและถกเถียงกันทางการเมืองได้ พวกเขาสามารถที่จะรวมกลุ่มจัดตั้งและต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ในพัฒนาการต่อมาภายหลังของสังคมตะวันตกต่างๆ คำอธิบายของฮาเบอร์มาสเกี่ยวกับการแปรรูปไปเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ, แม้ว่าจะมีข้อจำกัดของมัน, แต่เขายังชี้ด้วยว่า บทบาทหน้าที่ต่างๆ อันสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของสื่อในทางการเมืองและชีวิตประจำวัน และวิธีการทั้งหลายที่ผลประโยชน์บริษัทได้เข้ามาครอบครอง สิ่งเหล่านี้ ได้ไปเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณะนี้ให้กลายเป็นเหมือนอาณานิคม โดยมีการใช้ประโยชน์จากสื่อและวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนผลประโยชน์ทั้งหลายของพวกเขาเอง