บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๐๖๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙
12-11-2549



Law and Politics
The Midnight University

การจัดการงานนอกสั่ง หรือกระทรวงไอซีทีผิดกฎหมายเอง
MICT = Ministry of Internet and Censorship Technology (Yes)
MICT = Ministry of information and communication technology (No)

รวบรวมโดย กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
จากอีเมล์จำนวนมากที่ส่งมาถึงกองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้รับมาจากเพื่อนนักวิชาการจำนวนมาก
ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีที ที่อาจเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายเสียเอง
ขณะนี้กระทรวงดังกล่าวมีกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเว็บไซต์ต่างๆ ที่เข้าข่ายความผิดที่คิดขึ้นมาเอง
ซึ่งกำลังเป็นที่แน่ใจมากขึ้นว่าได้ละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร อยู่ในขณะนี้
บทความยาวประมาณ ๑๕ หน้าต่อไปนี้ จะชี้ให้เห็นมาตรการที่น่าสงสัยทั้งหลาย
ที่ทางกระทรวงใช้เป็นข้ออ้างการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูล ความรู้
และเสรีภาพในการสื่อสารอย่างละเอียด

midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1067
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 14.5 หน้ากระดาษ A4)

 

MICT กับการตัดเส้นทางของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
รวบรวมโดยกองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

MICT = Ministry of Internet Censorship Technology (Yes)
MICT = Ministry of information and communication technology (No)


สำหรับเผยแพร่

FREEDOM FROM CENSORSHIP THAILAND--NOW!
ในวันนี้กลุ่มคณะของเหล่านักวิชาการ สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์เจ้าของธุรกิจ และผู้ปกครองได้รวมกันจัดตั้งกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (Freedom Against Censorship Thailand (FACT) เพื่อที่จะนำเรื่องเรียกร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย เพื่อให้ยุติการเซ็นเซอร์อย่างสิ้นเชิงในไทย

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 หลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มการเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์มากกว่า 35,000 เว็บไซต์ได้ถูกบล็อก โดยทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ทำการบล็อกเว็บไซต์กว่า 2,500 เว็บไซต์ และทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ทำการบล็อกอีก 32,500 เว็บไซต์ และยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถรู้ได้จากการบล็อกของการสื่อสารแห่งประเทศไทย

เนื่องจากไม่มีกฎหมายไทยฉบับใดที่อนุญาตให้สามารถทำการบล็อกอินเตอร์เน็ต การกระทำเหล่านี้จึงทำในลักษณะเชิงที่เป็นความลับ จริงๆ แล้วรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 ได้รับรองเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ให้ทุนวิจัยแก่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อที่จะทำการศึกษาหากฎหมายที่มีอยู่ในขณะนี้ ที่สามารถรองรับการใช้อำนาจอันขัดต่อหลักกฎหมายที่รัฐธรรมนูญรองรับ

รัฐบาลได้ปกปิดภาวะซ้อนเร้นโดยอ้างการปิดเว็บไซต์ลามก ซึ่งเป็นเว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่ถูกบล็อก โดยอย่างน้อยร้อยละ 11 ของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกนั้นเกี่ยวข้องกับการวิพากษ์วิจารณ์อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยของเขา รวมถึงเรื่องมาตรการของรัฐที่เกี่ยวกับปัญหาภาคใต้และเรื่องรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

ในการที่จะปิดรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกเป็นความลับ หน่วยงานของรัฐบาลไทยจึงไม่ยอมเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้ในการบล็อกเว็บไซต์ หรือบอกว่าบุคคลใดมีอำนาจในการตัดสิน อีกทั้งยังไม่อธิบายหรือให้คำจำกัดความคำว่า"มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ" การไร้ซึ่งความโปร่งใสต่อสาธารณะถือว่าเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของรัฐ พ.ศ. 2540

ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยังได้ทำการบล็อกกระดานแสดงความคิดเห็นที่มีความเห็นและความเห็นตอบจากสาธารณะแสดงอยู่ ไม่ว่ากระดานแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นจะมีการตรวจสอบเบื้องต้นหรือไม่ก็ตาม เช่น ประชาไทย พันธุ์ทิพย์ แล มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้นำเรื่องนี้สู่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเรียบร้อยแล้ว เฉกเช่นเดียวกับการนำเรื่องสู่ศาลปกครอง โดยทางศาลปกครองได้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวโดยให้ทำการปลดการบล็อกเว็บไซต์ดังกล่าวก่อน ในช่วงขณะที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาขั้นสุดท้ายของศาล (1)

ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังได้ทำการบล็อก Anonymous proxy server ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทยใช้ในการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ถูกบล็อก ทางกระทรวงฯยังร้องขอต่อ Google Thailand และ Google USA ให้ทำการบล็อกการเข้าชม Cached web page ในไทยที่ทำให้สามารถเข้าชมหน้าของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกไว้ เช่นเดียวกับกรณีการบล็อกการค้นหาโดยการใช้คำที่สำคัญ (Keyword) วิธีการทั้งสองวิธีนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในการที่จะปราบปรามการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในประเทศจีน

ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เว็บไซต์ของ BBC1, BBC2, CNN, Yahoo News, Seattle Post-Intelligencer, The Age, Amazon.com, Amazon UK และ Yale University Press ที่มีบทความเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และทักษิณ ต่างถูกบล็อกโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

การบล็อกเว็บไซต์ หรือแท้ที่จริงแล้วคือ การเซ็นเซอร์เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยปกติแล้วเป็นวิธีการที่รัฐบาลที่รู้สึกไม่มั่นคงจนต้องพยายามที่จะครอบงำและควบคุมประชาชนของตน โดยปกติการเซ็นเซอร์จะใช้กับความคิดเห็นที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นการต่อต้านและไม่เหมาะสม หรือก็อาจจะส่งผลต่อฐานอำนาจของตน ดังที่ใช้กันในประเทศพม่าหรือจีนหรือเกาหลีเหนือ หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา แต่ในรูปแบบของพระราชบัญญัติรักชาติ (PATRIOT Act) ประเทศไทยไม่ใช่พม่าหรือจีนหรือเกาหลีเหนือ (อย่างน้อยก็ในขณะนี้)

บางทีคำพูดของอองซานซูจีที่เคยกล่าวไว้น่าจะเหมาะสมที่สุดในการอธิบายสถานการณ์นี้ "เราไม่มีสิ่งใดที่ต้องกลัว เว้นแต่ตัวความกลัวเอง" ("We have nothing to fear but fear itself.")

มีการประเมินแล้วว่ามีเว็บไซต์ในโลกมากกว่าสองพันล้านเว็บไซต์ ซึ่งในนี้มีเว็บไซต์ภาพลามกอย่างต่ำกว่าสิบล้านเว็บไซต์ แต่การที่จะบล็อกเว็บไซต์นับล้านนั้นอยู่ในความสามารถที่จะทำได้ของรัฐบาลไทยหรือ และค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลที่จะต้องใช้ในการนี้มันคุ้มค่าจริงๆ หรือ หรือว่านี่เป็นแค่การสร้างกระแสเพื่อกลบเกลื่อนภาระซ่อนเร้นอันชั่วร้ายของรัฐบาลต่างหาก

การเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตส่งผลกระทบต่อการศึกษาวิจัย การแข่งขันทางธุรกิจ เสรีภาพสื่อ และการศึกษาของแต่ละครอบครัว และยังรวมถึงสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอื่นๆ เราประเมินพบว่าอย่างน้อยร้อยละ 40 ของบัณฑิตไทย จะไม่สามารถพัฒนาความคิดได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ส่งผลกระทบต่อการทำวิทยานิพนธ์ และรายงานทางวิชาการเพราะผลจากการบล็อกเว็บไซต์ นี่หมายความว่าบัณฑิตของไทยจะไม่สามารถที่จะไปแข่งขันกับบัณฑิตในต่างประเทศได้

เราควรที่จะรับรู้ว่าประเทศของเรานั้น ห้องสมุดขาดแคลนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด สำหรับหลายคนนั้นอินเตอร์เน็ตเป็นหนทางเดียวสำหรับการค้นหาข้อมูลและข่าวสาร อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเป็นที่เดียวที่ความเห็นต่างๆ นั้นเท่าเทียมกัน เป็นกลาง และปราศจากผลประโยชน์เชิงธุรกิจ จึงเป็นการสมควรแล้วหรือที่จะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาตัดสินว่าความคิดเห็นไหนไม่สมควรเพื่อประโยชน์ของพวกเขา

ดังนั้นทางเราจึงไม่เชื่อว่าอินเตอร์เน็ตนั้นสมควรที่จะถูกควบคุม ตรวจสอบ หรือถูกจัดการในทุกรูปแบบ

ทางกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย เป็นภาคีของกลุ่มสนับสนุนเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ตของโลก (Global Internet Liberty Campaign (GILC) และได้รับแถลงการณ์สนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 70 องค์กรซึ่งรวมถึงมูลนิธิ Electronic Frontier Foundation (EFF) ที่เว็บไซต์ของมูลนิธิเองก็ถูกบล็อกโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ขณะนี้โลกกำลังจับตามองประเทศไทยอยู่ การเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมควร น่าขยะแขยงและผิดกฎหมายในประเทศไทยอันเป็นรัฐประชาธิปไตย

ติดต่อ Supinya Klangnarong (<[email protected]>) โทร 086-788-9322 (ภาษาไทย)
CJ Hinke (<[email protected]>), ([email protected]) โทร 087-976-1880 (ภาษาอังกฤษ)

(1) ศาลได้ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2549 เนื่องจากการปิดกั้นเว็บไซต์โดยกระทรวง ICT ได้ยุติลงตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2549 [รวมเวลาปิดกี้นเว็บไซต์ 20 ชั่วโมง] ทำให้ความเสียหายได้บรรเทาลงแล้ว แต่ได้กำชับให้กระทรวง ICT ไปแจ้งให้ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต)ทุกรายในประเทศไทยยุติการปิดกั้นตามคำขอของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน แล้วทำหนังสือแจ้งมายังศาลปกครองทราบอย่างเป็นทางการ


คำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดตั้งขึ้นในปี 2546
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่ทางกระทรวงฯเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณชน ทางกระทรวงฯ ได้ทำการใช้อำนาจรัฐในการปิดเว็บไซต์ ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม มีภาพลามกหรือข้อมูลที่ผิดกฎหมาย โดยในเดือนมกราคม 2547 ทางกระทรวงได้ทำการปิดเว็บไซต์ถึง 1,247 แห่ง โดย Uniform Record Locator (URL) หรือ Internet Protocol (IP) address

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่มีความสามารถทางเทคนิคในการที่จะไปปิดกั้นการเข้าสู่เว็บไซต์ ดังนั้นวิธีการที่ทางกระทรวงฯทำคือ การส่งจดหมายเวียนอย่างไม่เป็นทางการไปตาม Internet Service Provider (ISP) ของไทยและหน่วยงาน Server อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องภายในสถาบันการศึกษาต่างๆ

โดยภายใต้ใบอนุญาตการประกอบกิจการของ ISP ที่ออกโดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม ISP จะต้องทำตามที่กระทรวงร้องขอ โดยมีมาตรการลงโทษในการไม่ปฏิบัติตามที่ร้องขอคือ การจำกัด Bandwidth ซึ่งส่งผลสู่การจำกัดรายได้ของ ISP หรืออาจจะถูกยกเลิกใบอนุญาต

การสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลเรื่องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของไทยกับโลกภายนอก ก็ดูเหมือนว่าจะเข้าร่วมมือการปิดกั้นการเข้าสู่เว็บไซต์ รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย อย่างไรก็ดีเนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างใด ทำให้เราไม่แน่ใจนักในเรื่องกระบวนการ

ถึงแม้ว่าทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะได้ให้ข่าวในบทความ ThaiDay ในหนังสือพิมพ์ The International Herald Tribune เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 ว่าทางกระทรวงฯมีแผนที่จะปิดเว็บไซต์เพิ่มเติมอีกกว่า 10,000 แห่ง ที่เข้าข่ายเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร แต่ว่าข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุว่าเว็บไซต์ 32,467 แห่ง ได้ถูกปิดเนื่องจากเป็นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย นับแต่การเซ็นเซอร์เริ่มขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนเมษายน 2545 โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดหมวดหมู่และระบุว่า มากกว่าครึ่งของเว็บไซต์ที่ถูกปิดเป็นเรื่องภาพลามก และอีก 3,571 เว็บไซต์หรือร้อยละ 11 ถูกจัดอยู่ในเรื่องกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

ในขณะที่มากกว่าร้อยละ 76 ของเว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้นนั้นอยู่ในประเภทของภาพลามกอนาจาร หรือที่เกี่ยวกับธุรกิจโสเภณีและการขายบริการทางเพศ เราในฐานะประชาชนควรได้รับการชี้แจงที่เต็มรูปแบบอย่างชัดเจนและโปร่งใสจากทางกระทรวงฯ โดยเฉพาะในเรื่องเว็บไซต์ที่ถูกปิดจำนวนที่เหลือที่ว่ากระทบต่อความมั่นคงนั้นกระทบต่อความมั่นคงถึงขนาดในระดับที่รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยคุ้มครองประชาชนจากสิ่งนั้นหรือ

เป็นที่ชัดเจนกับประชาชนว่าเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกประกาศว่าปิดนั้น ไม่ได้ถูกปิดแต่ประการใด ในขณะที่เว็บไซต์จำนวนมากไม่ได้อยู่ในรายการที่ถูกสั่งปิดกลับถูกปิด

นอกจากนี้ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ทางกระทรวงฯได้ทำการปิดกระดานแสดงความคิดเห็น ไม่ว่ากระดานนั้นจะมีข้อความที่รุนแรงกระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ก็ตาม เช่น ประชาไท, พันธุ์ทิพย์ และ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เราเห็นว่าการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นเรื่องที่น่าเย้ยหยันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการกระทำของกระทรวงแห่งข้อมูลข่าวสาร ทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้นำเรื่องการปิดเว็บไซต์ร้องต่อศาล (คดีหมายเลขที่1811/2549) และทางศาลได้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวบังคับให้ทางกระทรวงฯหยุดการปิดเว็บไซต์ดังกล่าว (1) ต่อมาปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายไกรสร พรสุธี ผู้มีบทบาทสำคัญในการปิดเว็บไซต์ได้รับการแต่งตั้งเข้าร่วมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ทางกระทรวงฯได้ประกาศว่า เว็บไซต์ที่จะถูกพิจารณาสั่งปิดจะถูกจัดออกเป็น 9 ประเภท จากการตรวจสอบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 รายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกสั่งปิดนั้นไม่ได้เปิดเผยโดยทางกระทรวงฯ แต่โดยทาง ISP รายหนึ่ง โดยให้ข้อมูลว่า ไม่มีเว็บไซต์ใดเข้าประเภท 1-3 แต่ว่ามีเว็บไซต์สองสามแห่งที่เข้าประเภท 4 และ 5 อย่างไรก็ดีการจัดประเภทดังกล่าวก็ยังไม่ชัดเจน โดยก่อนวันที่ 13 ตุลาคม นั้นการจัดประเภทนั้นค่อนข้างที่จะชัดเจน แต่ปัจจุบันเกิดกรณีการทับซ้อนขึ้น ทำให้เว็บไซต์ที่ถูกพิจารณาจะถูกนำไปจัดเข้าประเภทไหนก็ได้

และเป็นตามที่คาดการณ์ว่าประเภทที่ใหญ่สุดนั้นคือ ประเภทที่ 6 ที่เกี่ยวกับเรื่องลามกอนาจารและสิ่งล่อลวงอื่นๆ ภาพลามกนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย แต่ว่าการเผยแพร่ภาพดังกล่าวนั้นปรากฏในทุกห้างสรรพสินค้าและถนนหนทาง ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

กระบวนวิธีการที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้อยู่นั้น คือการส่งเรื่องไปยังหน่วยงานตำรวจสากล เพื่อที่จะให้ไปดำเนินการเอาส่วนที่ผิดกฎหมายออกจากเว็บไซต์ในต่างประเทศที่ตัว Server ตั้งอยู่ ซึ่งวิธีการนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแต่อย่างใด ส่วนวิธีการที่ทางกระทรวงฯใช้ในปัจจุบันไม่สามารถที่จะไปหยุดการเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในประเทศไทยหรือที่ไหนๆ ก็ตาม เพราะว่าในขณะนี้มีเว็บไซต์มากกว่าสองพันล้านเว็บไซต์ และมีเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับภาพอนาจารอย่างต่ำกว่าสิบล้านเว็บไซต์ จึงมีคำถามว่า

ก). การที่จะไปปิดกั้นเว็บไซต์นับล้านนั้น ทางกระทรวงมีความสามารถที่จะทำได้หรือ
ข).มันคุ้มค่ากับจำนวนค่าใช้จ่ายมากมายที่จะเสียไปหรือ
ค).หรือเป็นแค่การสร้างกระแสเพื่อปกปิดความเลวร้ายด้านการเมือง

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ทางกระทรวงฯ (โดยนางมณีรัตน์ ผลิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงฯ) กล่าวว่าประเทศไทยนั้นติดอยู่อันดับ 1 ใน 5 ของประเทศที่มีเว็บไซต์ภาพลามกมากที่สุด แต่ไม่สามารถที่จะให้ข้อมูลทางสถิติหรือรายละเอียดของคำกล่าวอ้างนั้น นอกจากนี้ทางกระทรวงฯยังได้สรุปออกมาว่าวิธีการแก้ไขคือ จะต้องมีการออกกฎหมายและกฎกระทรวงมากยิ่งขึ้น

ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ทางกระทรวงฯ (โดยนายสุชัย เจริญรัตนกุล รักษาการรัฐมนตรี) ได้แสดงความกังวลในเรื่องที่อินเตอร์เน็ตเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมแก่เยาวชนที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมได้

เราคงจะต้องยอมรับความจริงที่ว่าการพนันก็เป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย โดยทางกระทรวงฯ ได้จัดให้เว็บไซต์เหล่านี้อยู่ในรายการที่ต้องถูกสั่งปิดในประเภทที่ 6 ที่ออกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549

ในประเภทที่ 7 ใช้กับ Proxy Server ที่ไม่เปิดเผยตัว ซึ่งมาตรการนี้ใช้ได้ผลเป็นอย่างมากในประเทศจีน และประเทศอื่นๆ ในการที่จะเลี่ยงการเซ็นเซอร์เว็บไซต์ประเภทเดียวกันกับที่เราเห็นจากกระทรวงฯ มาตรการเหล่านี้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นนโยบายสังคมที่ขัดแย้งกับมาตรา 37 (บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกัน โดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย) ของรัฐธรรมนูญปี 2540 และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม

เมื่อเร็วๆนี้คือในเดือนตุลาคม 2549 ทางกระทรวงฯ ได้ร้องขอให้ Google ในไทย และ Google ในสหรัฐอเมริกาทำการเซ็นเซอร์ด้วยตนเอง โดยในขณะนี้ทาง Google ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อดูว่าการปิดกั้นนั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดกับหน้าเว็บแบบ cached จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทย ทาง Google ได้นำเสนอแก่กระทรวงฯว่า ทางบริษัทจะทำการปิดกั้นเว็บไซต์ที่ค้นหาโดยการใช้คำสำคัญ ซึ่งเป็นวิธีการที่บริษัทใช้อยู่กับกรณีการปราบปรามความเห็นทางการเมืองในประเทศจีน

ในประเภทที่ 8 เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ที่ว่าด้วยการเมืองไทย โดยจะเน้นในเรื่องปัญหาทางภาคใต้ โดยเฉพาะกรณีที่องค์กรปลดปล่อยปัตตานี หรือ พูโล. คำถามคือ ถึงแม้ว่าพูโลจะเป็นองค์กรที่ผิดกฎหมาย แต่เป็นการถูกกฎหมายหรือที่จะไปปิดช่องทางการเรียกร้องของพูโลต่อสหประชาชาติ นี่จึงเป็นนโยบายสาธารณะที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างชัดเจน และยังละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 37 และพระราชบัญญัติกิจการโทรคมนาคมอีกด้วย

ประเภทที่ 9 เป็นเว็บไซต์ที่มีข้อความเกี่ยวกับราชวงศ์ไทย เนื่องจากเราไม่สามารถที่จะเข้าไปดูข้อความในเว็บไซต์เหล่านั้น เราอาจจะดูจากการกระทำของกระทรวงฯที่เคยสั่งปิดเว็บไซต์ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเยล โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เนื่องจากไม่ปรากฎว่ามีข้อความหมิ่นต่อพระราชวงศ์แต่อย่างใด อีกทั้งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และมีพระราชวงศ์ไทยเป็นจำนวนมากเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแห่งนี้

เป็นที่น่าสนใจว่าจากเว็บไซต์ทั้งหมด 50 แห่งในประเภท 8 และ 9 มีเพียง 7 เว็บไซต์เท่านั้นที่ยังเปิดอยู่ โดยเว็บไซต์เหล่านี้ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ไทย แต่เป็นเรื่องการวิจารณ์อดีตรัฐบาลไทยรักไทยและอดีตรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับสถานการณ์นองเลือดในสี่จังหวัดชายแดนใต้ และข้อความที่เกี่ยวกับการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ทางกระทรวงได้กล่าวอ้างว่าทางหน่วยงานได้ทำการปิดกั้นน้อยกว่า 20 เว็บไซต์โดยคำสั่งที่ 5/2549 ใครในรัฐบาลขณะนี้ที่ออกคำสั่งให้ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำการปิดกั้นเว็บไซต์เหล่านั้น

โดยปกติเมื่อผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตในไทยพยายามที่จะเข้าเว็บไซต์ที่ถูกปิดนั้น คำสั่งดังกล่าวจะถูกส่งมายังหน่วยงานตรวจสอบไซเบอร์ / ไซเบอร์คลีน ของกระทรวงไอซีที ทางกระทรวงไอซีทีอ้างว่าการปิดกั้นไม่ได้ทำเป็นความลับเพราะผู้ใช้จะเห็นประกาศการปิดกั้นเมื่อพยายามค้นหาเว็บไซต์ที่ถูกปิด หลังจากที่อ้างว่าการปิดกั้นไม่ได้ทำเป็นความลับ ทางกระทรวงฯยังปฏิเสธที่จะให้รายชื่อของเว็บไซต์ที่ถูกปิด โดยอ้างว่ารายชื่อดังกล่าว อาจถูกนำมาใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เราขอยืนยันว่าถ้าทางกระทรวงฯไม่เปิดเผยรายชื่อเว็บไซต์ทั้งหมดแก่สาธารณชนที่ทางกระทรวงได้ร้องขอให้ทาง ISP ปิดกั้นนั้น เท่ากับว่าจริงๆ แล้ว มันก็คือความลับนั่นเอง

อย่างไรก็ดี วิธีการของทางกระทรวงฯ ที่ไม่ใช่การกระทำโดยตรงเหมือนวิธีการของวันที่ 13 ตุลาคม 2549 ผู้ใช้จะได้รับข้อความการปฏิเสธการให้บริการเมื่อมีการพยายามที่จะเข้าเว็บไซต์ที่ถูกปิดนี้ รวมถึง Access Denied (policy_denied) (improper/obscene website), Network Error (tcp_error) (Operation timed out) และข้อความ Browser error เช่น Can't find the server, Can't open the page (กรณีที่ Serverไม่ดี) และ Can't open the page (ในกรณีที่ Server หยุดการส่งข้อมูลกลับ) ข้อความเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้เชื่อว่าปัญหานั้นเกิดจาก ISP หรือ Browser มากกว่าที่จะเป็นการปิดเว็บไซต์

คำถามสำคัญที่ยังไม่ได้รับคำตอบมีดังต่อไปนี้

(1). กรอบแห่งกฎหมาย กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือคำสั่งทางปกครองของไทยฉบับใดที่ให้อำนาจกระทรวงฯในการที่ปิดเว็บไซต์ในประเทศไทย

ถ้าไม่มีกรอบกฎหมายดังกล่าว ถือว่ากระทรวงฯได้กระทำการละเมิดต่อมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญไทยปี 2540 ซึ่งระบุอย่างชัดเจนว่าห้ามกระทำการใดๆ ที่ไปขัดขวางการติดต่อสื่อสาร "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ... สิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อกัน จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเป็นการเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน"

ทางกระทรวงได้ทำการว่าจ้างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อทำการวิจัยหาวิธีการที่จะใช้กฎหมายที่มีอยู่ในการบังคับการปิดเว็บไซต์ ความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษานั้น ทางกระทรวงฯ ให้เหตุผลว่าเนื่องจากกฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นไม่เคยได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล การสื่อสารเสรีนั้นได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญไทยปี 2540 อันเป็นกฎหมายหลักพื้นฐาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังพยายามที่จะกลับและทำลายหลักการดังกล่าวโดยมิชอบ

(2). กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ปฏิเสธที่จะเปิดเผยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการปิดกั้นเว็บไซต์ ดังนั้นใครคือบุคคลที่ทำการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว

(3). กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังปฏิเสธที่จะอธิบายคำจำกัดความ เช่น "ไม่เหมาะสม", "ลามก" หรือ "ผิดกฎหมาย" คำว่า "ไม่เหมาะสม" นั้นเป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับการจำกัดความของแต่ละบุคคล ส่วนคำว่า"ลามก" ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของสังคมนั้นๆ เช่น เป็นเวลาหลายปีที่ภาพของสะดือเคยถูกพิจารณาว่าเป็นภาพลามกในญี่ปุ่น คำว่า "ผิดกฎหมาย" เป็นคำกล่าวอ้างที่รุนแรงที่จะประกาศว่าข้อความในเว็บผิดกฎหมาย ทางกระทรวงฯจะต้องสามารถที่จะแสดงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสียก่อนที่จะถือว่าสิ่งนั้นละเมิดกฎหมาย ส่วนคำว่า "ไม่สมควร" นั้นไม่มีผลในทางกฎหมาย

(4). บุคคลใดในกระทรวงฯ ที่มีอำนาจในการพิจารณาว่าเว็บไซต์ไหนควรจะปิด

(5). การพิจารณาว่าเว็บไซต์ไหนควรปิดหรือไม่นั้น ทำโดยบุคคลๆ เดียวหรือเป็นการพิจารณาโดยคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตรวจสอบพิจารณา และกำหนดนโยบาย

(6). บุคคลใดในกระทรวงฯที่มีอำนาจเหนือบุคคลหรือคณะกรรมการ และมีอำนาจตัดสินเป็นครั้งสุดท้ายว่าเว็บไซต์ไหนควรถูกปิด

(7). และบุคคลใดจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในกระทรวงฯ สำหรับการตรวจตราเว็บไซต์ต่างๆ นี้

(8). การปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลที่ถามข้างต้นของกระทรวงฯ จะเป็นการชัดเจนว่าขัดต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของรัฐ พ.ศ.2540

ตัวอย่างที่ดีคือกรณี IPIED Internet Server ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แม้ว่าสัญญาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทำกับสามารถจะระบุชัดเจนว่าห้ามการปิดกั้นเว็บไซต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ทางบริษัทสามารถได้ติดต่อกับทาง IPIED ว่าจะทำการปิดกั้นเว็บไซต์ตามคำขอของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นำมาซึ่งการละเมิดข้อสัญญากับมหาวิทยาลัย

(9). กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยังปฏิเสธที่จะระบุเจาะจงตำรวจไทยและตำรวจระหว่างประเทศ กฎเกณฑ์และหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนร่วมในการปิดกั้นเว็บไซต์และรูปแบบของการร่วมมือดังกล่าว

มีเว็บไซต์แบบไม่มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่อนุญาตให้ใครๆ ก็ได้เอาข้อมูลมาแสดงไว้โดยไม่มีข้อจำกัด เช่น เว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษจำพวก Angelfire, Geocities และอื่นๆ ที่ให้บริการลักษณะนี้ ซึ่งรองรับ web page นับล้าน ซึ่งแต่ละอันสามารถเข้าไปชมได้ด้วย URL และ IP address ส่วนตัว การที่จะทำการปิดกั้นโดเมนเหล่านี้ทั้งหมดเท่ากับว่าเป็นการปิดระบบอินเตอร์เน็ตทั้งหมดของไทย

วิธีการของกระทรวงฯ คือปิดโดเมนทั้งหมดเพื่อที่จะปิด web page ที่มีปัญหาอันเดียว กระทรวงจะต้องทำการพิจารณาอย่างมีสติว่า จะอนุญาตให้คนไทยตัดสินว่าสิ่งใด ไม่ดี สำหรับพวกเขาในระดับไหน

(10). กระทรวงฯ จะต้องแยกเหตุผลการปิดกั้นอินเตอร์เน็ตพวกกระดานแสดงความคิดเห็น โดยต้องระบุอย่างชัดเจนถึงเหตุผลในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของสาธารณะ

(11). เนื่องจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลอย่าง Google กำลังถูกร้องขอให้ปิดกั้นเว็บไซต์โดยการใช้คำสำคัญ จะต้องระบุให้ชัดว่า คำสำคัญเหล่านั้นมีอะไรบ้าง

กระบวนการเหล่านี้มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่จะมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด และการใช้อำนาจในทางที่ผิดดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วในขณะนี้ ยกตัวอย่างเช่น มีบริษัทจำนวนมากที่อาจจะต้องการที่จะทำการกีดกันคู่แข่งทางธุรกิจบางราย หรือบุคคลใดบางคนในสาธารณะด้วยความริษยา เป็นการง่ายดายอย่างมากที่จะร้องต่อทางกระทรวงฯ ให้ทำการปิดกั้นเว็บไซต์ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ จะเป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ในการที่จะมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด เนื่องจากการร้องขอเช่นนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการเปิดเผยตัวตนแต่อย่างใด

เป็นเวลานานแล้วที่ทางไซเบอร์คลีน / ไซเบอร์อินสเป็กเตอร์ ไม่เปิดโอกาสให้มีการร้องขอต่อทางกระทรวงฯ ให้ถอนการปิดกั้นเว็บไซต์ อย่างไรก็ตามในขณะนี้ บุคคลทั่วไปสามารถที่จะร้องขอให้มีการถอนการปิดกั้นแต่ว่ากระบวนการดังกล่าวนั้นก็ช่างยากเย็นนักที่จะทำ นอกจากนี้ผู้ร้องขอให้เปิดเวปไซต์ยังจำเป็นที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและอีเมล์ด้วย ส่งผลให้การปิดกั้นทำได้ง่ายในขณะที่การเพิกถอนการปิดกั้นนั้นทำได้ลำบากมาก

เราคาดว่าอย่างน้อยร้อยละ 40 ของนักศึกษาไทยที่จะไม่สามารถค้นคว้าข้อมูลเพื่อทำวิทยานิพนธ์หรือรายงานทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพเพราะผลจากการปิดกั้นเว็บไซต์ นี่หมายความว่าบัณฑิตเหล่านี้จะไม่สามารถที่จะไปแข่งขันกับบัณฑิตต่างชาติได้ เราควรจะรับรู้ว่าประเทศไทยนั้นขาดแคลนห้องสมุดเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด อินเตอร์เน็ตสำหรับหลายคนจึงเป็นช่องทางเดียวในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อทำการวิจัย

ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนในไทยต้องเผชิญกับปัญหาเว็บไซต์นับร้อยถูกปิดโดยไม่มีเหตุผลอธิบายที่แน่ชัด สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการ การแข่งขันทางธุรกิจ และเสรีภาพสื่อมวลชน รวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพ ผลโดยตรงที่เกิดขึ้นคือสาธารณชนไม่มีช่องทางที่จะได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์จากมุมมองของโลกภายนอก

ทางกระทรวงได้ทำการปิดกั้นเว็บไซต์ของสองมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา คือ Yale และ Tufts ดูเหมือนว่าเว็บไซต์ของทางมหาวิทยาลัย Yale จะถูกถอดจากการปิดกั้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถที่จะถือได้ว่าเป็นคุณประโยชน์แก่สังคมไทย นักเรียน และนักศึกษา ในการที่ไปปิดกั้นเว็บไซต์ของหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกที่มีสมาชิกในราชวงศ์เป็นศิษย์เก่า

ถ้าทางกระทรวงฯเชื่อว่ากระบวนการเหล่านี้เป็นเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนชาวไทย ที่เว็บไซต์บางแห่งจำเป็นที่จะต้องถูกปิดกั้นไม่ให้คนไทยได้เห็น ทั้งๆ ที่เว็บไซต์เหล่านี้สามารถเข้าชมได้อย่างง่ายดายจากต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนั้นทางกระทรวงฯจะต้องทำให้วิธีการเหล่านี้โปร่งใสและสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย โดย 1) เปิดเผยว่าใช้กฎหมายอะไร 2) เปิดเผยว่าใช้เหตุผลอะไร 3) เปิดเผยรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดของนโยบายการเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือการปิดเว็บไซต์ที่มีข้อความดูหมิ่นพระราชวงศ์ เป็นที่แน่แท้ว่าพวกเรานั้นมีความเคารพรักต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดีจากการศึกษาการจัดประเภทเว็บไซต์ของกระทรวงฯ ไม่มีเว็บไซต์ไหนเลยในประเภท 9 ที่ยังเปิดให้บริการอยู่ แต่ขอถามว่าข้อความในเว็บไซต์เหล่านี้จะส่งผลต่อความจงรักภักดีของเราต่อราชวงศ์จริงหรือ

ข้อแก้ตัวอันดับที่สองที่ทางกระทรวงฯใช้ในการเซ็นเซอร์คือเรื่อง ภาพลามกอนาจาร แต่เราคิดว่าในขณะนี้ประเทศไทยมีกฎหมายที่ครอบคลุมและทางตำรวจก็มีอำนาจที่จะจัดการเรื่องเหล่านี้ โดยใช้กฎหมายเป็นหลักทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เรารู้สึกว่าทางที่ดีสังคมไทยควรได้รับการบอกกล่าวว่าเรื่องปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องของทางกฎหมายและปัญหาทางสังคม ไม่ใช่เรื่องการเซ็นเซอร์ปิดกั้นอินเตอร์เน็ต

ถ้าเราสามารถขจัดเหตุผลทั้งสองอันที่นำมาอ้างใช้ในการเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ต เหตุผลเดียวที่ยังเหลืออยู่คือ การปิดกั้นโดยเหตุผลเรื่องการเมือง เราถือว่าเหตุผลทั้งสองที่กล่าวอ้างข้างต้นนั้น จริงๆแล้วเปรียบเสมือนการสร้างกระแสปกปิดเรื่องการควบคุมการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั่นเอง

เราจึงต้องการที่จะสามารถที่จะได้รับข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนอย่างมีอิสระทางความคิดและความคิดเห็น

การปิดกั้นเว็บไซต์หรือในทางที่จริงแล้วคือการที่รัฐบาลทำการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งปกติจะเป็นวิธีการที่ใช้โดยรัฐบาลที่รู้สึกว่าตนไม่มั่นคงในการที่จะพยายามควบคุมประชาชน โดยปกติแล้ววิธีการเซ็นเซอร์เช่นนี้จะใช้กับความคิดเห็นที่ต่อต้านรัฐบาลหรืออาจส่งผลกระทบต่อฐานอำนาจ เฉกเช่นที่ใช้ใน พม่า หรือ จีน หรือ เกาหลีเหนือ ซึ่งที่จริงแล้วก็คือสิ่งเดียวกับที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา แต่อยู่ในรูปที่เรียกว่า พระราชบัญญัติรักชาติ หรือ Patriot Act ประเทศไทยไม่ใช่พม่า หรือ จีน หรือ เกาหลีเหนือ (ตอนนี้) บางทีคำกล่าวของอองซาน ซูจี ดูจะเหมาะสมกับเรื่องนี้มากที่สุด "เราไม่มีสิ่งใดที่จะต้องกลัว เว้นแต่ตัวความกลัวเอง"

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานเพื่อประชาชน และบุคลากรก็เป็นผู้ที่ทำงานให้ประชาชน ประชาชนคนไทยเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของกระทรวงฯ ดังนั้นเราจึงมีสิทธิพื้นฐานที่จะรู้

ถ้าเรายอมให้สิ่งที่ดูเหมือนเล็กน้อยเหล่านี้มาค่อยๆ ลดทอนสิทธิเสรีภาพของเราโดยการเซ็นเซอร์ปิดกั้นอินเตอร์เน็ต ในที่สุดเสรีภาพอื่นๆ ของเราก็อาจจะถูกลดทอนลงไปด้วยในที่สุด เราเชื่อว่าการเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตเป็นการพยายามที่น่าหวาดหวั่นของพวกเหล่าข้าราชการที่รับใช้นักการเมือง ในการที่จะทำลายเสรีภาพทางความคิดและความเห็นของเรา

ประเทศไทยอยู่ในจุดที่เป็นทางแยกที่สำคัญของประวัติศาสตร์ เราสามารถที่จะเลือกเสรีภาพและการสร้างสรรค์ หรือเราจะเลือกการปกปิดและการกดขี่

อินเตอร์เน็ตในขณะนี้เป็นที่เดียวที่ความเห็นทั้งหมดต่างเท่าเทียมกัน จึงเป็นการสมควรหรือที่จะมีบุคคลใดมาตัดสินความเห็นเหล่านี้ เราไม่เชื่อว่าอินเตอร์เน็ตสมควรที่จะมีการปกปิด ปิดกั้น หรือจัดการในทุกรูปแบบ การเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ไม่สมควร น่ารังเกียจ และผิดกฎหมายในประทศไทยอันเป็นประชาธิปไตย

เราขอร้องให้ท่านเข้ามาทำหน้าที่ และ ตรวจสอบการทำลายสิทธิมนุษยชนขึ้นพื้นฐานและเสรีภาพของประชาชนในประเทศไทยอย่างชัดเจนครั้งนี้ อย่างละเอียดถี่ถ้วนและสมบรูณ์ที่สุด

ขอบคุณ
ติดต่อ Supinya Klangnarong (<[email protected]>) โทร 086-788-9322 (ภาษาไทย)
CJ Hinke (<[email protected]>), ([email protected]) โทร 087-976-1880 (ภาษาอังกฤษ)


(1) ศาลได้ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2549 เนื่องจากการปิดกั้นเว็บไซต์โดยกระทรวง ICT ได้ยุติลงตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2549 [รวมเวลาปิดกี้นเว็บไซต์ 20 ชั่วโมง] ทำให้ความเสียหายได้บรรเทาลงแล้ว แต่ได้กำชับให้กระทรวง ICT ไปแจ้งให้ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต)ทุกรายในประเทศไทยยุติการปิดกั้นตามคำขอของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน แล้วทำหนังสือแจ้งมายังศาลปกครองทราบอย่างเป็นทางการ

บทวิเคราะห์รายชื่อของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกโดยทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ของวันที่ 13 ตุลาคม 2549

เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดในรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกบล็อก ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวม 2,475 เว็บไซต์ (เว็บไซต์บางแห่งอาจจะถูกปลดการบล็อกแล้ว เนื่องจากยอดที่ทางกระทรวงฯแสดงมีการเปลี่ยนแปลง) ไม่มีเว็บไซต์ไหนเข้าประเภทที่ 1-3 ในขณะที่มีเว็บไซต์เพียงจำนวนน้อยที่เข้าประเภทที่ 4 และ 5 แต่เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าเพราะเหตุใดที่ทำให้เว็บไซต์นั้นจำต้องถูกบล็อก

ส่วนกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่คาดเดาได้คือ ในประเภทที่ 6 ซึ่งเกี่ยวกับภาพลามกและสิ่งยั่วยวนอื่นๆ ภาพลามกนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในไทย โดยวิธีการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำคือ การส่งเรื่องไปยังตำรวจสากลให้ไปดำเนินการเอาสิ่งที่ผิดกฎหมายนั้นออกจาก Server ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ แต่วิธีการที่ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใช้ในปัจจุบันนั้น ไม่มีทางที่จะสามารถไปหยุดการเผยแพร่ภาพลามกในประเทศไทยหรือที่ไหนๆ ได้ เพราะว่ามีเว็บไซต์ประเภทนี้มากกว่าสิบล้านเว็บไซต์

จากการวิเคราะห์ที่ผ่านมาจากรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกของกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 ประเภทที่ 7 นั้นดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับ anonymous proxy server ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลเป็นอย่างดีในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ที่ต้องการเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ต วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในเชิงนโยบายสังคม และยังละเมิดต่อมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติว่าด้วยโทรคมนาคม

ประเภทที่ 8 เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ว่าด้วยการเมืองไทยที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปลดปล่อยปัตตานี ซึ่งเท่าที่รู้องค์กรดังกล่าวไม่ใช่องค์กรต้องห้ามในไทยแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าจะเป็นองค์กรต้องห้าม แต่ถูกต้องแล้วหรือที่จะไปปิดเว็บไซต์ของพูโลในการเรียกร้องขอความยุติธรรมกับสหประชาชาติ นี่ก็เช่นกันเป็นนโยบายเชิงสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและละเมิดมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติว่าด้วยโทรคมนาคม

ประเภทที่ 9 เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับราชวงศ์ไทย เนื่องจากเราไม่สามารถที่จะไปอ่านข้อความในเว็บไซต์เหล่านั้น เราจึงต้องศึกษาจากพฤติกรรมของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เคยทำคือ การปิดเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย Yale ทั้งหมด ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและมีสมาชิกในพระราชวงศ์จำนวนหนึ่งเป็นศิษย์เก่า

อย่างไรก็ตามในรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 ปรากฏว่าไม่มีจัดประเภทแต่อย่างใด ในขณะที่การจัดประเภทยังมีอยู่ และประเภทที่ 6 ก็เต็มไปด้วยเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ภาพลามก แต่ประเภทนี้ก็ถูกนำมาใช้ปนกับเรื่อง anonymous proxy server และข้อความที่เกี่ยวกับการเมืองไทย และยังเป็นครั้งแรกที่ในรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกในประเภทนี้มีเว็บไซต์การพนันบนอินเตอร์เน็ตด้วย

ประเภทที่ 7 แม้จะยังเกี่ยวกับ anonymous proxy server เป็นหลัก แต่ก็ถูกนำไปใช้กับเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการเมืองไทยและสถานการณ์นองเลือดในภาคใต้

ประเภทที่ 8 โดยพื้นฐานแล้วเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่มีข้อความเกี่ยวกับการเมืองไทย แต่ปัจจุบันถูกนำไปใช้กับ anonymous proxy server เว็บไซต์ของ BBC 1, BBC 2, CNN, Yahoo News, Seattle P-I, The Age, Amazon.com, Amazon UK และ Yale University Press ที่มีบทความเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และทักษิณ

ประเภทที่ 9 ปัจจุบันใช้กับเว็บไซต์ที่ต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ของไทย รวมถึงเว็บไซต์ที่มีบทความวิเคราะห์การเมืองไทยและ anonymous proxy server บางอัน

ในเดือนกันยายน ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เริ่มการบล็อกการเข้าชม Cached web pages ผ่านทางเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล เช่น Google และ Yahoo เป็นครั้งแรก

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนใช้ IP ร่วมกับเว็บไซต์อื่นๆอีก 30 เว็บไซต์ที่ thaiis.com โดยทาง thaiis.com ได้ถูกบล็อก IP ดังกล่าวหลังจากได้รับการร้องขอทางโทรศัพท์จากหน่วยงาน Cyber Inspector ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในวันที่ 29 กันยายน และนี่เป็นสาเหตุให้เว็บไซต์อีก 30 แห่งโดนบล็อกไปด้วย และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ ในรายชื่อของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 ของกระทรวงฯ ไม่ปรากฏ URL หรือ IP ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนแต่อย่างใด

โดยนี่ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการปิดเว็บไซต์และกระดานแสดงความคิดเห็นของไทยโดยตรง โดยทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเลือกที่จะร้องขอต่อศาล และส่งเรื่องเรียกร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และได้รับการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในการปลดบล็อกจากกระทรวงฯ โดยทางศาลได้ออกคำสั่งอย่างชัดเจนว่า "ตำรวจนั้นไม่มีอำนาจที่จะไปบล็อกเว็บไซต์หรือร้องขอต่อศาลให้ทำการบล็อกเว็บไซต์เพราะว่าไม่มีกฎหมายรองรับเรื่องจำพวกนี้" ส่วนเว็บไซต์อื่นๆเช่น ประชาไท และพันธุ์ทิพย์ ได้เลือกวิธีที่จะเซ็นเซอร์ตัวเองในกรณีที่ผู้ใช้แสดงความคิดเห็นที่อาจจะเข้าข่ายต้องห้าม

เว็บไซต์บางแห่งที่มี URL (Uniform Record locator หรือ web address) หลายแห่ง แต่ใช้หมายเลข IP (Internet Protocol) เหมือนกัน นี่ย่อมหมายถึงมีข้อความที่เหมือนกันแต่ตกอยู่ในประเภทแตกต่างกัน

ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังคงที่จะใช้การจัดประเภทเช่นเดิม แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏคือ การจัดประเภทนั้นมีลักษณะที่เป็นการสุ่มเลือกมากกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นความสับสนและไร้ระเบียบจัดการในกระทรวงฯ หรืออาจจะต้องการให้สาธารณะชนสับสนเอง

รายชื่อของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกในปัจจุบันสามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ http://i-am-thai.com หรือที่แท้จริงคือ http://cyberinspector.org/ict/modules/viewisp/login.php การเข้าชมเว็บไซต์จะนำผู้ใช้ไปยังหน้า login ที่มีปุ่มให้ลงทะเบียน แต่ว่าเมื่อผู้ใช้พยายามที่จะ login และใส่ password หรือลงทะเบียนใหม่ หน้าจอจะปรากฏข้อความคำว่า "User Already Exists" เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ต้องการให้สาธารณะชนเข้าไปชม ข้าพเจ้าสงสัยว่าทางกระทรวงฯได้ทำอะไรบางสิ่งบางอย่างที่นอกเหนือไปจากการร้องขอต่อ ISP ไทยให้บล็อกเว็บไซต์ใหม่ และข้าพเจ้าคาดว่าทางตัว ISP เองคงจะเข้าไปดูเว็บไซต์นี้ และทำการบล็อกเว็บไซต์ตามที่ระบุไว้ในรายชื่อเอง

หน้าจอสีเขียวของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้หายไป สำหรับเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกในรายชื่อของวันที่ 29 พฤษภาคมของกระทรวงฯ เมื่อผู้ใช้พยายามจะเข้าไปชมเว็บไซต์เหล่านี้ หน้าจอของผู้ใช้จะปรากฏหน้าจอสีเขียวของทางหน่วยงาน CyberClean/CyberInspector ของกระทรวงฯ แทน แต่ในปัจจุบันผู้ใช้จะได้รับหน้าจอที่แสดงข้อความปฏิเสธการให้บริการเช่น Access Denied (policy_denied) (improper/obscene website), Network Error (tcp_error) และข้อความ browser error เช่น Can't find the server, Can't open the page (bad server response), Can't open the page (server stopped responding) ผู้ใช้ถูกทำให้เชื่อว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่เกิดจาก ISP หรือจาก Web browser มากกว่าจะเป็นฝีมือของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

นอกจากนี้ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังได้ร้องขอต่อ Google Thailand และ Google USA ให้ทำการเซ็นเซอร์ตัวเอง โดยทาง Google นั้นได้กำลังทำการศึกษาหาวิธีการที่จะทำการบล็อก cached web page อย่างสมบูรณ์จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไทย

Google ยังได้เสนอแนะให้ทางกระทรวงฯ ว่าทางบริษัทจะทำการบล็อกการค้นหาโดยการใช้คำสำคัญ (Keyword searches) ที่เป็นวิธีการที่ใช้ในการปิดกั้นความคิดเห็นทางการเมืองในจีน แต่คำถามใหญ่ที่สำคัญคือ คำสำคัญนั้นมีอะไรบ้าง???


 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

H

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังปฏิเสธที่จะอธิบายคำจำกัดความ เช่น "ไม่เหมาะสม", "ลามก" หรือ "ผิดกฎหมาย" คำว่า "ไม่เหมาะสม" นั้นเป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับการจำกัดความของแต่ละบุคคล ส่วนคำว่า"ลามก" ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของสังคมนั้นๆ เช่น เป็นเวลาหลายปีที่ภาพของสะดือเคยถูกพิจารณาว่าเป็นภาพลามกในญี่ปุ่น คำว่า "ผิดกฎหมาย" เป็นคำกล่าวอ้างที่รุนแรงที่จะประกาศว่าข้อความในเว็บผิดกฎหมาย ทางกระทรวงฯจะต้องสามารถที่จะแสดงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสียก่อนที่จะถือว่าสิ่งนั้นละเมิดกฎหมาย ส่วนคำว่า "ไม่สมควร" นั้นไม่มีผลในทางกฎหมาย

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น