Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.

หากนักศึกษา และสมาชิกประสงค์ติดต่อ
หรือส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กรุณาส่ง email ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com

กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง
ภารกิจของมหาวิทยาลัยคือการค้นหาความจริง อธิบายความจริง ตีความความจริง และสืบค้นสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความจริง
บทความวิชาการทุกชิ้นของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงทางวิชาการ
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความทางวิชาการ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังเปิดรับงานแปลทุกสาขาวิชาความรู้ ในโครงการแปลตามอำเภอใจ และยังเปิดรับงานวิจัยทุกสาขาด้วยเช่นกัน ในโครงการจักรวาลงานวิจัยบนไซเบอร์สเปซ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน สนใจส่งผลงานแปลและงานวิจัยไปที่ midnightuniv(at)yahoo.com

The Midnight University

วิจารณ์ฮาเบอร์มาส กรณีพื้นที่สาธารณะ
ฮาเบอร์มาสและพื้นที่สาธารณะ: ข้อถกเถียงเชิงวิพากษ์(๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บทความที่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจนี้เรียบเรียงมาจาก
Habermas and the Public Sphere: Critical Debates
by Douglas Kellner
ซึ่งเป็นการวิเคราะห์งานเขียนของฮาเบอร์มาส ในเรื่องเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ
ในบทวิเคราะห์ได้ชี้ถึงการที่ฮาเบอร์มาสไม่ให้ความสำคัญกับสื่อใหม่บนไซเปอร์สเปซ
และการปรับปรุงงานเขียนของตัวเขาเองในเรื่องพื้นที่สาธารณะ
โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับภาษาและปรัชญา
ซึ่งกลับทำให้งานของฮาเบอร์มาสซับซ้อนมากขึ้น

midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1030
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 25.5 หน้ากระดาษ A4)





ฮาเบอร์มาสและพื้นที่สาธารณะ: ข้อถกเถียงเชิงวิพากษ์ (๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

การหันไปสู่เรื่องของภาษา (The Linguistic Turn)
ข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลของฮาเบอร์มาสคือว่า ภาษาในตัวมันเองได้บรรจุบรรทัดฐานต่างๆ เอาไว้ในการวิจารณ์อำนาจที่มาครอบงำและการกดขี่ และมันเป็นพลังอันหนึ่งซึ่งสามารถที่จะสร้างรากฐานและช่วยหนุนเสริมความเป็นประชาธิปไตยทางสังคมได้

ในความสามารถที่จะเข้าใจคำพูดของอีกคนหนึ่ง การยอมรับในพลังของข้อถกเถียงที่ดีกว่าและน้อมนำไปสู่ฉันทามติ ฮาเบอร์มาสพบว่า ความมีเหตุมีผลที่มีอยู่ภายในสิ่งซึ่งเขาเรียกว่า "ปฏิบัติการการสื่อสาร"(communicative action) นั้น สามารถให้กำเนิดบรรทัดฐานที่จะวิจารณ์ความบิดเบือนไปต่างๆ เกี่ยวกับการสื่อสารได้ ในกระบวนการเกี่ยวกับการครอบงำทางสังคมและการบังคับจัดการ และยังบ่มเพาะขบวนการเกี่ยวกับการสร้างเจตจำนงในเชิงเหตุผลทางอ้อม

การพัฒนาสิ่งซึ่งเขาเรียกว่า"สถานการณ์คำพูดในเชิงอุดมคติ"(ideal speech situation), ฮาเบอร์มาสได้บ่มเพาะ"รากฐานที่เสมือนว่ามีอยู่เหนือขึ้นไป"(quasi-transcendental grounds) สำหรับการวิพากษ์สังคม และเป็นแบบจำลองอันหนึ่งในการสื่อสารของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กัน [4]

ผลที่ตามมา ฮาเบอร์มาสได้แปรผันภาษาของเขา โดยการปรับเปลี่ยนไปสู่ภาษาและการสื่อสารในฐานะที่เป็นพื้นฐานหนึ่งสำหรับการวิจารณ์สังคม, การทำให้เป็นประชาธิปไตย, และสถาปนาทฤษฎีวิพากษ์บนรากฐานทางทฤษฎีที่แข็งแรงขึ้น เพื่อเอาชนะทางตันที่เขาเชื่อว่าแฟรงค์เฟริทสคูล ได้ติดอยู่ในหลุมพรางนั้น

กว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมา ฮาเบอร์มาสพยายามให้เหตุผลว่า ภาษาและการสื่อสารคือรูปแกนกลางหนึ่งของโลกชีวิตของมนุษย์ ซึ่งสามารถต่อต้านกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่เป็นระบบต่างๆ ของเงินตราและอำนาจได้ ซึ่งได้กัดเซาะทำลายโครงสร้างการสื่อสารต่างๆ. โครงการนี้ได้ให้กำเนิดความมั่งคั่งอันหนึ่งเกี่ยวกับการสนทนากันทางทฤษฎี และได้สร้างบรรทัดฐานในระดับรากฐานสำหรับการวิพากษ์สังคมและการทำให้เป็นประชาธิปไตย

ทฤษฎีปฏิบัติการเกี่ยวกับการสื่อสาร(communicative action)ของฮาเบอร์มาส, การแปรผันทางภาษา, และรากฐานที่เสมือนอยู่เหนือขึ้นไปต่างๆ ของภาษา ได้รับการแสดงความเห็นและวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ซึ่งในที่นี้เพียงจะพาดพิงถึงเท่านั้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยกันในเชิงวิพากษ์ต่อไป เกี่ยวกับแนวคิดต่างๆ ของเขาในเรื่องประชาธิปไตยและพื้นที่สาธารณะ

แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าไม่ต้องการเน้นถึงเรื่องดังกล่าวมากนัก ซึ่งบ่อยครั้งได้ถูกมองข้ามไป และมันไม่ใช่เพียงกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับในเชิงทฤษฎีและความเข้าใจต่างๆ ซึ่งน้อมนำฮาเบอร์มาสไปสู่ความสนใจของเขาเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสารเท่านั้น อย่างไรก็ตามเงื่อนตายที่ติดตันนี้ที่เขาและแฟรงค์เฟริทสคูลได้มาถึง ทำให้เขาต้องการรากฐานที่แข็งแกร่งมากกว่าเกี่ยวกับการวิจารณ์การเมือง-สังคม-และความเป็นประชาธิปไตย. เพราะฉะนั้น ดังที่ข้าพเจ้ากำลังจะให้เหตุผล มันมีความต่อเนื่องกันระหว่างการวิเคราะห์ในช่วงต้นๆ เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของฮาเบอร์มาส, และมันยังเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่สำคัญด้วยในทฤษฎีของเขา

สำหรับการเริ่มต้น ฮาเบอร์มาสได้เปลี่ยนจุดโฟกัสของเขาจากประวัติศาสตร์สังคม และฐานที่มั่นเชิงสถาบันของทฤษฎีวิพากษ์ในเรื่อง Structural Transformation ไปสู่รากฐานทางปรัชญามากขึ้นในผลงานต่างๆ เชิงปรัชญาของเขาช่วงหลังทศวรรษที่ 1970s. อันนี้เป็นสิ่งที่มีความหมายโดยนัยที่เกี่ยวข้องจริงๆ จังๆ ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อ สำหรับทฤษฎีเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสารของเขา

ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางประวัติศาสตร์และโครงสร้างนิยม(constructivism)ร่วมสมัยดังกล่าว บ่อยครั้ง ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า ความคิดความเชื่อของฮาเบอร์มาสเกี่ยวกับภาษา ค่อนข้างเป็นสิ่งสากลและไม่สนใจความสัมพันธ์เชิงประวัติศาสตร์เลย ซึ่งในทัศนะของโครงสร้างนิยมและประวัติศาสตร์ ภาษาในตัวของมันเองเป็นการประกอบสร้างทางประวัติศาสตร์ของสังคมอันหนึ่ง โดยมีกฎเกณฑ์ต่างๆ ของมัน เช่นขนบธรรมเนียม ประเพณีและประวัติศาสตร์. ความหมายทั้งหลายและการใช้ภาษาต่างๆ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะที่สังคมที่ต่างกันก็มีเกมส์ภาษาและรูปแบบต่างกันในเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสารของพวกเขาเอง ซึ่งตกอยู่ภายใต้ความหลากหลายของพลังทางสังคมที่ผันแปรและอำนาจที่ผันผวนต่างๆ [5]

อันที่จริง สำหรับทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมร่วมสมัย(contemporary poststructuralist theory) ภาษาและการสื่อสารถูกฝังตรึงอยู่ในอำนาจอย่างสมบูรณ์ ในระบบสังคมที่ดำรงอยู่อันหนึ่ง พวกมันทำหน้าที่รับใช้ผลประโยชน์ในลักษณะครอบงำ และจัดการควบคุมมากเท่าๆ กับการให้ความรู้ ความสว่าง และความเข้าใจ และตกอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอนเชิงประวัติศาสตร์และข้อจำกัดโดยเฉพาะ รวมไปถึงอคติทั้งหลาย

ดังนั้นในทัศนะนี้ ภาษาในสังคมร่วมสมัยจึงเป็นเรื่องของหน้าที่ในเชิงปฏิบัติ และถูกทำให้เป็นเรื่องของเหตุผล, ความหมายของมันและการใช้ประโยชน์ได้ถูกประกอบสร้างทางสังคม เพื่อทำหน้าที่รับใช้ผลประโยชน์ของอำนาจนำ(hegemonic interests), รวมถึงให้ความชอบธรรมและครอบงำพร้อมกันด้วย โดยเหตุนี้ ภาษาจึงไม่เคยเป็นเรื่องบริสุทธิ์และเป็นปรัชญา, มันไม่เคยเป็นสากล และอยู่พ้นไปจากเงื่อนไขทั้งหลายของสังคม

ขณะเดียวกันมันมีพันธสัญญาในลักษณะยูโธเปียหรืออุดมคติในภาษาและการสื่อสาร ที่ความคิดจิตใจสามารถพบได้ ซึ่งมีส่วนร่วมปันความเข้าใจและสามารถที่จะได้รับการสถาปนาหรือตั้งมั่นขึ้นมาได้ ที่ซึ่งความจริง(truth)สามารถได้รับการเปิดเผย และฉันทามติที่ปราศจากการบีบคั้นสามารถมีขึ้นมาได้ ซึ่งอันนี้เป็นเพียงอุดมคติแบบยูโธเปียอันหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ ในทัศนะหลังโครงสร้างนิยม(post-structuralist/constructivist) ภาษาจึงถูกทำให้สัมพันธ์กับอำนาจอย่างสมบูรณ์ และเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ของผลประโยชน์ทางสังคมโดยเฉพาะ ที่ได้สร้างวาทกรรมต่างๆ ขึ้นมา, รวมไปถึงขนบจารีตและปฏิบัติการต่างๆ, ขณะเดียวกันภาษาและการสื่อสารที่ตัวมันฝังตัวอยู่ในความไม่จริง(โกหก) และการมีอิทธิพลครอบงำ ทำให้มันเป็นแบบจำลองที่ไม่สมบูรณ์อันหนึ่ง สำหรับความมีเหตุผลและประชาธิปไตย

ในทัศนะของข้าพเจ้า ภาษาต้องทุกข์ทรมานกับความไม่ลงรอยกันต่างๆ เหล่านี้ มันถูกวางอยู่ในความขัดแย้งระหว่างความจริงและไม่จริง/โกหก(truth and untruth), ความเป็นสากลและสิ่งเฉพาะ, การสื่อสารและการจัดการควบคุม. จากทัศนียภาพอันนี้ รากฐานในเชิงปรัชญาเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสารของฮาเบอร์มาส จึงเป็นเรื่องที่ยังมีปัญหาและต้องการการเจาะจงลงไปในเชิงประวัติศาสตร์สังคมที่เป็นรูปธรรม

ภารกิจอันนี้ถูกทำให้สลับซับซ้อนจากภายในทฤษฎีของฮาเบอร์มาสเอง เนื่องมาจากหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความแตกต่างอันหนึ่งระหว่างระบบและโลกชีวิต(system and lifeworld) ได้มายืนอยู่ ณ จุดกึ่งกลางในงานของฮาเบอร์มาส [6]. สำหรับฮาเบอร์มาส สังคมร่วมสมัยทั้งหลายได้ถูกแบ่งแยกระหว่าง โลกชีวิต(lifeworld)อันหนึ่ง ซึ่งถูกควบคุมโดยบรรทัดฐานต่างๆ ของปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร กับ ระบบ(system)หนึ่งที่ถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ที่ชี้นำ(steering imperatives)ด้วยเงินและอำนาจ

ความแตกต่างอันนี้อยู่ตรงกลางระหว่างทฤษฎีระบบต่างๆ กับ การตีความทั้งหลาย(hermeneutics), โดยเหตุผลที่ว่า อันแรกไม่สามารถที่จะยึดจับปฏิบัติการการสื่อสารของชีวิตประจำวันได้ ขณะที่อย่างหลังก็เมินเฉยหรือไม่ให้ความเอาใจใส่อำนาจของระบบที่ได้มามีอิทธิพลครอบงำโลกชีวิตอันนั้น

สำหรับฮาเบอร์มาส "สื่อที่ชี้นำ"โดยเงินและอำนาจ(steering media of money and power) ทำให้ธุรกิจและรัฐ สามารถควบคุมกระบวนการต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้มากยิ่งกว่าที่เคยเป็น ดังนั้นมันจึงค่อยๆ ไปทำลายประชาธิปไตยและพื้นที่สาธารณะให้พังทลายลงที่ละน้อย รวมไปถึงเรื่องทางศีลธรรมและการปฏิสัมพันธ์ทางด้านการสื่อสาร และอุดมคติอย่างอื่นๆ ของฮาเบอร์มาสและแฟรงค์เฟริทสคูล

บ่อยทีเดียวมันได้รับการโต้เถียงในเชิงเหตุผลว่า ลักษณะแยกขั้วอันนี้เป็นเรื่องทวินิยมมากจนเกินไปและมีลักษณะเป็น Manichean (หมายถึงความคิดในลักษณะแยกเป็นสองขั้ว, ดูคำว่า Manichaeism ประกอบ), เป็นการการมองข้ามรัฐและอาณาเขตทางการเมืองซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในเชิงเมตตากรุณาและความก้าวหน้า ขณะที่โลกชีวิตสามารถที่จะเป็นสถานที่ของการกดขี่และการครอบงำทุกรูปแบบก็ได้

จากจุดยืนของการทำให้พื้นที่สาธารณะเป็นทฤษฎี ฮาเบอร์มาสยอมรับว่าจากช่วงของการพัฒนาความแตกต่างอันนี้ "ข้าพเจ้าพิจารณากลไกต่างๆ ของรัฐและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติที่มีการประสานกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประชาธิปไตยจากภายในได้ โดยไม่ทำความเสียหายต่อระบบตรรกะที่เหมาะสม และความสามารถในเชิงหน้าที่ของมัน" (Habermas 1992: 444)

นั่นคือ คล้ายกับเทคโนโลยีและการผลิต มันทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะแปรเปลี่ยนไปอย่างเป็นประชาธิปไตย. ทั้งหมดที่เราทำได้จากทัศนียภาพอันนี้ก็คือ ปกป้องพื้นที่สื่อสารต่างๆ ของโลกชีวิตจากการบุกรุกหรือการละลาบละล้วงโดยอำนาจต่างๆ ของเครื่องมือความมีเหตุผลและการปฏิบัติการ รวมถึงสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือเงินและอำนาจ เพื่อคุ้มครองปกป้องพื้นที่ของมนุษยชาติ, การสื่อสาร, ความมีศีลธรรม, และคุณค่าในปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน

นับจากช่วงเวลาที่ทฤษฎีดังกล่าวเกี่ยวกับปฏิบัติการการสื่อสาร และความขัดแย้งระหว่าง"ระบบ"กับ"โลกชีวิต"(system and lifeworld)ได้กลายเป็นศูนย์กลางในโครงการของเขา จุดเน้นของฮาเบอร์มาสจึงมุ่งไปที่เรื่องการก่อรูปเจตจำนงทางการเมือง โดยผ่านกระบวนการเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่มีการปรึกษาหารือหรืออภิปรายกัน(deliberative democracy), ซึ่งเข้าใจในฐานะที่เป็นกระบวนการต่างๆ ซึ่งบ่มเพาะความมีเหตุผลและประเด็นต่างๆ ทางศีลธรรมขึ้นมา โดยผ่านการครุ่นคิดและไตร่ตรอง, การถกเถียง, การใช้เหตุผลทางสังคม, และการนำมาซึ่งฉันทามติ [through reflection, argumentation, public reasoning, and reaching consensus] (Habermas 1992: 445f).

แต่อย่างไรก็ตาม การแบ่งแยกการสนทนากันทางการเมืองระหว่าง"การตัดสินใจ"และ"การกระทำ" จะโฟกัสไปยังตำแหน่งแหล่งที่ของการเมืองแบบฮาเบอร์มาเซียนอย่างเข้มงวดในการสนทนา และสิ่งที่เขาเรียกว่าทฤษฎีวาทกรรมอันหนึ่งของประชาธิปไตย. ในทางตรงข้าม ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตยที่เข้มแข็งได้วางปัจเจกชนทั้งหลายอย่างเป็นระบบ, ทำให้มีการปรึกษาหารือและการอภิปราย, สร้างการตัดสินใจต่างๆ, และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระตือรือร้นในสถาบันต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของพวกเขา, ฮาเบอร์มาสได้แปรเปลี่ยน"อำนาจอธิปไตยของปวงชน"

…นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากทัศนียภาพต่างๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างซึ่งฮาเบอร์มาสได้วาดเค้าโครงสถาบันต่างๆ และปฏิบัติการชุดหนึ่งขึ้นมา ซึ่งสามารถจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขอบเขตชีวิตสังคมทั้งมวลได้โดยตรง. ทั้งๆ ที่จะมีข้อสรุปในลักษณะมองโลกในแง่ร้ายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้พูดถึงความล่มสลายเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลางในยุคร่วมสมัย แต่ฮาเบอร์มาสก็ได้ยืนกรานเกี่ยวกับความหวังในเรื่องการทำให้เป็นประชาธิปไตยในเชิงสังคมของอาณาเขตสำคัญหลักๆ ทางการเมือง สังคม และชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เจาะจงลงไปเกี่ยวกับยุทธวิธี, หรือปฏิบัติการใดๆ โดยเฉพาะก็ตาม

อย่างไรก็ตาม มากกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา งานของเขาได้เกิดการผันแปรทางปรัชญา ซึ่งได้โฟกัสลงไปบนเงื่อนไขคำอธิบายเกี่ยวกับการสนทนากันในเชิงเหตุผล อันเป็นการทอดสมอลงในความสัมพันธ์ต่างๆ เกี่ยวกับการสื่อสารของชีวิตประจำวัน

ในงานชิ้นหลังของเขา ฮาเบอร์มาสได้หมกมุ่นกับลัทธิโรแมนติกเกี่ยวกับโลกชีวิต(lifeworld), ซึ่งดึงดูดสู่"ความเป็นมนุษย์ที่แท้" ที่ปฏิบัติการอยู่ในความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เป็นส่วนตัวกันและกัน โดยทึกทักว่า การสื่อสารแบบเผชิญหน้าเป็นแบบจำลองของเขาเกี่ยวกับการสื่อสารที่ไม่มีการบิดเบือน และเข้าแทนที่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างด้วยอุดมคติเกี่ยวกับการบ่มเพาะการสื่อสารอย่างมีเหตุผลของปัจเจกชนและกลุ่ม

การวิเคราะห์ของเขาคือทฤษฎีที่ได้มีการปรับปรุงคำอธิบาย และการพัฒนาคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม, ประชาธิปไตย, และกฎหมาย โดยวางรากฐานอยู่บนทฤษฎีหนึ่งของการสื่อสารเชิงปฏิบัติ. ขณะที่การวิเคราะห์เหล่านี้ได้ให้ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง ถึงอำนาจที่ทรงพลังมากบางอย่าง ในเงื่อนไขทั้งหลายเกี่ยวกับการอภิปรายและหารือกันในเชิงประชาธิปไตย(democratic deliberation) และการก่อเกิดฉันทามติ, ปฏิบัติการทางศีลธรรม และการพัฒนา, รวมถึงบทบาทเกี่ยวกับการสื่อสารในพื้นที่ต่างๆ ที่มีลำดับการจากเรื่องศีลธรรมสู่เรื่องของการเมืองและกฎหมาย การแบ่งแยกธรรมชาติของการดำรงอยู่ของพื้นที่การสื่อสารในเชิงปฏิบัติ / โลกชีวิต จากระบบที่เป็นปัญหา ดังการแบ่งแยกหมวดหมู่เฉพาะของเขาออกเป็นสองส่วนเกี่ยวกับระบบสังคม

ประเด็นสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของฮาเบอร์มาส คือว่า เขาค่อนข้างทำให้การแบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ระหว่าง"ระบบ"กับ"โลกชีวิต"(system and lifeworld)มันแข็งหรือตายตัวมากเกินไป โดยแต่ละส่วนนั้นประกอบสร้างขึ้นมาตามกฎเกณฑ์ของตัวมันเอง ด้วยเหตุดังนั้น จึงยักย้าย"ระบบ"(ตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจและรัฐ) ไปจากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประชาธิปไตย ขณะเดียวกับก็มีข้อจำกัดที่ทางของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของโลกชีวิต

อีกครั้งที่แนวคิดดังกล่าว ซึ่งสำหรับตัวของฮาเบอร์มาสเองตระหนักว่า "โลกชีวิต"กำลังตกอยู่ภายใต้"ระบบ"เพิ่มขึ้น แต่นั่นอยู่ในยุคปัจจุบันของการปฏิวัติเทคโนโลยี, การปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารได้แสดงบทบาทที่สำคัญเพิ่มมากขึ้นในทางเศรษฐกิจ และการทางเมืองการปกครอง ซึ่งฮาเบอร์มาสได้ติดป้ายฉลากมันว่า"ระบบ"

ยิ่งไปกว่านั้น ในที่นี้ใครเสนอแนะว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความวุ่นวายสับสนของการเปลี่ยนแปลงร่วมสมัย ซึ่งพวกเรากำลังเผชิญอยู่ ได้สร้างกระบวนการขัดแย้งขึ้นมาอันหนึ่ง ซึ่งโลกชีวิตกำลังประสบกับการคุกคามอย่างใหม่จากระบบ - โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ่านพื้นที่ทั้งหลายของการทำให้เป็นอาณานิคมโดยสื่อต่างๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ฮาเบอร์มาสไม่ได้ทำให้เป็นทฤษฎีอย่างเป็นระบบ - ขณะเดียวกันมันมีความขัดแย้งใหม่เกิดขึ้นและกำลังเปิดกว้างอยู่ในเศรษฐกิจและการเมือง สำหรับการแทรกแซงและการเปลี่ยนผ่านเกี่ยวกับประชาธิปไตย

ในช่วงแรกๆ ฮาเบอร์มาสได้สร้างความแตกต่างที่แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ในทำนองเดียวกันนี้ ระหว่าง"การผลิต"และ"การมีปฏิสัมพันธ์"(production and interaction) โดยให้เหตุผลว่า อย่างแรก(การผลิต)(รวมถึงเทคโนโลยี)ถูกควบคุมโดยตรรกะเกี่ยวกับปฏิบัติการของเครื่องมือ และไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงได้, ขณะที่อย่างหลัง(การปฏิสัมพันธ์หรือการสื่อสาร)ถูกเชื่อว่า เป็นสนามหรือพื้นที่ของวาทกรรมเหตุผล, พัฒนาการทางศีลธรรม, การก่อรูปเจตจำนงในทางประชาธิปไตย

ในสิ่งที่คั่งค้างอยู่ในการศึกษาของผู้เขียน ต้องการให้เหตุผลว่า ในยุคของการปฏิวัติเทคโนโลยี ซึ่งบรรดาเทคโนโลยีใหม่ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงไปและซึมแทรกแผ่ซ่านไปทั่วทุกๆ แง่มุมของสิ่งซึ่งฮาเบอร์มาสพูดถึงในฐานะ"ระบบ"กับ"โลกชีวิต", หรือ"การผลิต"กับ"การปฏิสัมพันธ์"ในช่วงต้น และลักษณะที่เป็นทวินิยมและการแบ่งแยกหมวดหมู่เสมือน ซึ่งมันจะไม่สามารถถูกธำรงรักษาไว้ได้อีกต่อไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทวินิยม "ระบบ / โลกชีวิต" ของฮาเบอร์มาส และการลดทอนเกี่ยวกับสื่อชี้นำ/ควบคุมภายในระบบไปสู่เงินและอำนาจ ไม่ได้ให้ความเอาใจใส่บทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่างๆ ของสื่อในการสื่อสาร และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในโครงสร้างและกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมร่วมสมัย และจำกัดทางเลือกต่างๆ ทางการเมืองของฮาเบอร์มาสอย่างไม่จำเป็น

Andrew Feenberg ได้พัฒนาข้อถกเถียงอันนี้ขึ้นมาในเรื่องราวเกี่ยวกับความต้องการที่จะทำให้เทคโนโลยี ในฐานะที่เป็นสื่อชี้นำที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของสังคมร่วมสมัยเป็นทฤษฎีขึ้น และเพื่อแปรเปลี่ยนเทคโนโลยีโดยทำให้มันเป็นพลังอำนาจหนึ่ง และเป็นสนามของการทำให้สังคมเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการโฟกัสลงไปในที่นี้ในฐานะหน่วยย่อยของความสนใจดังกล่าว บนความสำคัญของสื่อและเทคโนโลยีในการสื่อสาร สำหรับกระบวนการเกี่ยวกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย และการประกอบสร้างพื้นที่สาธารณะขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ในหนังสือของข้าพเจ้าเรื่อง Television and the Crisis of Democracy (1990), [โทรทัศน์และวิกฤตของประชาธิปไตย] ได้ยืนยันว่า สื่อ, รัฐ, และธุรกิจ คืออำนาจเชิงสถาบันที่สำคัญของสังคมทุนนิยมร่วมสมัยต่างๆ ซึ่งสื่อได้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างรัฐ, ธุรกิจ, และชีวิตสังคม, และสื่อกระแสหลักที่เผยแพร่อยู่นั้น ไม่ได้ส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไตยหรือรับใช้ผลประโยชน์สาธารณชนแต่อย่างใด และด้วยเหตุดังนั้น มันจึงกำลังทำให้ความสำคัญเชิงโครงสร้างที่จำเป็นในการสร้างสังคมประชาธิปไตยถูกริบเอาไป

เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า สื่อที่ใช้ในการสื่อสาร คือบางสิ่งบางอย่างคล้ายๆ กับสิ่งซึ่งฮาเบอร์มาสเรียกว่า"สื่อชี้นำ"(steering media) ดังที่จะเสนอต่อไปว่า มันมีบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่สำคัญยิ่งในระเบียบแบบแผนทางสังคมประชาธิปไตย และพวกมันกำลังล้มเหลวในความท้าทายที่จะให้การสนับสนุนประชาธิปไตยในหลายทศวรรษหลังมานี้ ด้วยเหตุข้างต้น มันจึงกำลังผลิตวิกฤตการณ์อย่างหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับประชาธิปไตย

ในส่วนที่เหลือของบทความนี้ ข้าพเจ้าจะพูดถึงสถานการณ์ดังกล่าว และนำเสนอวิธีการแก้ไขต่างๆ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนผลงานช่วงต้นของฮาเบอร์มาส และคนรุ่นแรกของทฤษฎีวิพากษ์

ในทัศนะของข้าพเจ้า ฮาเบอร์มาสไม่ได้ทำให้บทบาทหน้าที่ทางสังคมและธรรมชาติของสื่อร่วมสมัยในการสื่อสารและข้อมูลข่าวสารเป็นทฤษฎีขึ้นมา สำหรับสื่อต่างๆ สำหรับเขาแล้วเป็นเพียงกลไกในการสื่อหรือถ่ายทอดสารต่างๆ เท่านั้น เป็นเพียงเครื่องมือที่ไม่ได้มีส่วนสำคัญของเศรษฐกิจและการเมืองในแบบแผนของเขา และเกี่ยวกับความสำคัญในระดับอนุพันธ์สำหรับประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ กับกระบวนการทั้งหลายของการถกเถียงเชิงเหตุผลและฉันทามติในโลกชีวิต

ในบทสรุปของเรื่อง "Further Reflections on the Public Sphere" (การไตร่ตรองเพิ่มขึ้นในเรื่องพื้นที่สาธารณะ)ของเขา, ฮาเบอร์มาสได้สร้างความแตกต่างระหว่าง "กำเนิดการสื่อสารเกี่ยวกับพลังความชอบธรรมในด้านหนึ่ง" กับ "การวางตำแหน่งให้เหมาะกับการจัดการควบคุมเกี่ยวกับพลังอำนาจสื่อ เพื่อนำมาซึ่งความซื่อสัตย์หรือจงรักภักดีของมวลชน, ความต้องการของผู้บริโภค, และการยินยอมอ่อนข้อให้กับกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่เป็นระบบในอีกดานหนึ่ง(1992: 452). ความแตกต่างดังกล่าวสามารถได้รับการสร้างขึ้นในเชิงวิเคราะห์ และวางตำแหน่งที่เหมาะสมในเชิงยุทธศาสตร์

แต่ในการใช้ประโยชน์ของฮาเบอร์มาส กล่าวอย่างกระชับ สื่อได้ถูกกันออกไปจากอาณาเขตของประชาธิปไตย และความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย นับจากที่พวกมันได้ถูกจำกัดโดยนิยามความหมายในสายตาของเขา สู่กฎข้อบังคับที่เป็นระบบของการจัดการซึ่งถูกควบคุมโดยเงินและอำนาจ, และด้วยเหตุนี้ มันจึงถูกแยกออกไปจากความเป็นไปได้ในการส่งเสริมสนับสนุนการเมืองเกี่ยวกับประชาธิปไตยทางสังคมที่กว้างขวาง[7]

เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว ฮาเบอร์มาสไม่เคยกำหนดบทบาทบาทหน้าที่ในเชิงบวก และที่จริงหน้าที่ต่างๆ อันจำเป็นของสื่อในทางประชาธิปไตย และไม่สามารถที่จะทำเช่นนั้นได้ อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้ายังคงยึดถือเกี่ยวกับการจำแนกความแตกต่างที่เป็นหมวดหมู่ของเขาไว้

ในการเปลี่ยนผ่านต่างๆ เขาได้เสก็ตภาพความเสื่อมหรือถดถอยของสื่อ จาก"นิตยสาร"ที่มีพื้นฐานอยู่บนการพิมพ์ ไปสู่"สื่ออิเล็กทรอนิก"ของคริสตศตวรรษที่ 20. ในการวิเคราะห์ของเขา เขาได้วิจารณ์ว่า มันมีแนวโน้มสู่การทำให้สื่อสิ่งพิมพ์จำพวกวารสารและหนังสือพิมพ์ในช่วงต้น ที่เป็นอุดมคติภายในพื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นประชาธิปไตยอันหนึ่ง ซึ่งขัดแย้งหรือตรงข้ามกับภาพร่างในเชิงลบมากเกินไปของสื่ออิเล็กทรอนิกในช่วงหลัง และการบริโภคในพื้นที่สาธารณะที่ถูกลดทอนคุณค่าลงมาโดยลัทธิทุนนิยมร่วมสมัย

แบบจำลองอย่างเดียวกันนี้ของสื่อและพื้นที่สาธารณะ ยังคงเป็นปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องในงานประพันธ์ขนาดใหญ่เมื่อไม่นานมานี้ของเขา คือเรื่อง Between Facts and Norms [ระหว่างข้อเท็จจริงและบรรทัดฐานต่างๆ](1998), ซึ่งฮาเบอร์มาสได้สนทนาถึงลำดับการอันกว้างขวางเกี่ยวกับทฤษฎีทางกฎหมายและประชาธิปไตย ตลอดรวมถึงการสนทนาอย่างยืดยาวเกี่ยวกับสื่อและพื้นที่สาธารณะ แต่เขาไม่ได้พูดถึงคุณลักษณ์อันเป็นบรรทัดฐานของสื่อในการสื่อสารที่เป็นประชาธิปไตย หรือเสนอแนะเรื่องสื่อการเมืองที่ก้าวหน้าว่าสามารถวิวัฒนาการได้อย่างไรบ้าง

ข้าพเจ้าคิดว่า ส่วนหนึ่งของปัญหาคือความคิดความเชื่อของฮาเบอร์มาสเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์อยู่ในยุคของสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งดังที่ McLuhan และ Gouldner ได้ให้เหตุผลว่า เป็นรูปแบบหรือวิธีการที่สนับสนุนเกี่ยวกับการถกเถียงกันเชิงเหตุผล ซึ่งมันถูกทำให้มีคุณลักษณ์ดังกล่าวโดยความมีเหตุผลเชิงเส้น ความเป็นภววิสัย และความเห็นของคนส่วนใหญ่[8]

ฮาเบอร์มาสเป็นปัญญาชนสาธารณะที่น่ายกย่อง และได้มีการสอดแทรกเข้าไปในพื้นที่สาธารณะในประเด็นปัญหาสำคัญมากมายในหลายทศวรรษที่ผ่านมา งานเขียนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองร่วมสมัยต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เขาเห็นในฐานะรูปแบบเกี่ยวกับอันตรายร่วมสมัย ของลัทธิอนุรักษ์นิยมและความไร้เหตุผลต่างๆ และในการต่อสู้ทั่วๆไป ถือเป็นเรื่องที่ดีซึ่งได้สร้างตัวเขาเองขึ้นมาในฐานะที่เป็นปัญญาชนสาธารณะที่สำคัญคนหนึ่งของวันเวลา เช่นเดียวกับนักปรัชญาระดับโลก และนักทฤษฎีทางสังคมคนอื่นๆ

นับแต่ที่งานเขียนเป็นสื่อกลางของเขาเกี่ยวกับทางเลือก และสื่อสิ่งพิมพ์เป็นทำเลพิเศษของเขาของการสอดแทรก ข้าพเจ้าจินตนาการต่อไปว่า ฮาเบอร์มาสจึงไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดสัญญาน ไม่ว่าจะเป็นวิทยุหรือโทรทัศน์และการสื่อสารอื่นๆ มากนัก รวมถึงอินเตอร์เน็ตและพื้นที่ใหม่ของการถกเถียงทางสังคม และพื้นที่สาธารณะทางเลือกที่หลากหลายซึ่งมีมากกว่าในอดีต ทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้มีส่วนร่วมในสื่อและพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้ด้วยตัวของเขานั่นเอง

และส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ดังที่ข้าพเจ้าใคร่นำเสนอ ความแตกต่างเป็นหมวดหมู่ในทฤษฎีของเขาค่อนข้างดูถูกอาณาบริเวณทั้งหลายเหล่านี้ ในทางตรงข้ามกับขอบเขตต่างๆ ของปฏิบัติการทางการสื่อสาร และโลกชีวิต. แต่อย่างไรก็ตาม จุดบอดเหล่านี้และข้อจำกัดทั้งหลายทางแนวคิด ข้าพเจ้าเชื่อว่า จะไปตัดรอนการสนทนาต่างๆ ของฮาเบอร์มาสเกี่ยวกับประชาธิปไตย และจะไปขุดเซาะทำลายเจตจำนงที่แจ่มชัดของเขาทีละน้อย เกี่ยวกับการสนับสนุนความเป็นประชาธิปไตยในตัวเขาเอง

เพราะฉะนั้น แม้ว่าจะมีการสนทนากันในรายละเอียดมากมาย เกี่ยวกับประชาธิปไตยในเรื่อง Between Facts and Norms, แต่ในทัศนะของข้าพเจ้า ฮาเบอร์มาสก็ยังคงล้มเหลวที่จะพัฒนาหรืออธิบายบทบาทหน้าที่ในเชิงสถาบัน และบรรทัดฐานที่แจ่มชัดของสื่อและพื้นที่สาธารณะไปในประชาธิปไตยที่มีการประกอบสร้างขึ้นมาอย่างเหมาะสม

ดังที่เข้าใจโดย Montesquieu ในเรื่อง Spirit of the Laws (จิตวิญญานของกฎหมาย) และดังที่ได้สาธยายอย่างละเอียด ในการปฏิวัติอเมริกันและต่อมาการปฏิวัติฝรั่งเศสช่วงคริสตศตวรรษที่ 18, ระเบียบสังคมประชาธิปไตยต้องการการแบ่งแยกอันหนึ่งเกี่ยวกับอำนาจ เพื่อว่าจะไม่มีสถาบันหรืออำนาจทางสังคมหนึ่งใดครอบงำหรือมีอิทธิพลทางการเมืองเพียงลำพัง. ประชาธิปไตยในโลกตะวันตกส่วนใหญ่ได้แบ่งแยกระบบทางการเมืองเป็นอำนาจประธานาธิบดี(อำนาจบริหาร), อำนาจสภาคองเกรส(นิติบัญญัติ), และอำนาจศาล(ตุลาการ) เพื่อว่าจะได้แบ่งสรรอำนาจและถ่วงดุลย์กันและกัน ระหว่างสถาบันหลักทางการเมืองเหล่านี้

สิ่งพิมพ์หรือสื่อต่างๆ ได้ถูกสร้างขึ้นมาในระบบนี้ในฐานะที่เป็นฐานันดรสี่(fourth estate)และมีเสรีภาพในการพิมพ์ ซึ่งได้ถูกตระเตรียมขึ้นมาโดยประชาธิปไตยในโลกตะวันตกส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และในฐานะที่เป็นสถาบันสำคัญอันหนึ่งภายในระเบียบที่สถาปนาขึ้นมาบนการแบ่งแยกอำนาจทั้งสามข้างต้น ซึ่งสื่อจะทำหน้าที่ในฐานะเป็นผู้คอยตรวจสอบการกระทำทุจริต การประพฤติมิชอบ การคอรัปชั่น และการการใช้อำนาจมากเกินไปสำหรับสถาบันที่ทรงอำนาจทั้งหลาย

แต่ทฤษฎีประชาธิปไตย ยังได้พัฒนาความคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพลเมืองขึ้นมาอย่างเข้มแข็งด้วย หรือสิ่งซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในฐานะประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ในทฤษฎีต่างๆ อย่างเช่น Rousseau, Marx, และ Dewey. ในแนวความคิดนี้ ได้รับการแสดงออกอย่างเป็นทีโจษขานโดย Abraham Lincoln, ประชาธิปไตยคือการปกครองโดยประชาชน, ของประชาชน, และเพื่อประชาชน

สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบมูลฐาน(radical democracy)นั้น ที่สร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง พลเมืองทั้งหลายจะต้องได้รับการให้ข่าวสารข้อมูล พวกเขาจะต้องมีความสามารถในการถกเถียงอย่างมีเหตุผลและการมีส่วนร่วม และพวกเขาจะต้องกระตือรือร้นและรวมตัวกันเพื่อกลายเป็นอำนาจทางการเมือง ที่เปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย

ฮาเบอร์มาส ดังที่พวกเราเห็น ได้จำกัดการวิเคราะห์ต่างๆ ของเขาเกี่ยวกับประชาธิปไตยเชิงปฏิบัติหรือประชาธิปไตยแบบอภิปราย/ปรึกษาหารือ เพื่อกำหนดคุณค่าเกี่ยวกับกระบวนการของการถกเถียงกันเชิงเหตุผล และนำไปสู่ฉันทามติหรือมติของคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแก่นแท้สำคัญที่ยอมรับกันของประชาธิปไตยที่แท้จริง

ไม่เพียงเท่านั้น เขายังจำกัดประชาธิปไตยลงบนพื้นที่ของการสนทนาภายในโลกชีวิตและประชาสังคมด้วย และยังข้ามผ่านสมมุติฐานอันจำเป็นสำหรับการถกเถียงและการอธิปรายเกี่ยวกับประชาธิปไตย - อันเป็นพลเมืองที่มีประสบการณ์ทางสติปัญญาและได้รับข้อมูลเพียงพอ. ในที่นี้การโฟกัสควรจะมุ่งไปที่การศึกษาและสื่อต่างๆ สำหรับการเรียนการสอนในโรงเรียน และสื่อต่างๆถือว่ามีบทบาทอย่างสำคัญในการทำให้ปัจเจกชนทั้งหลายสามารถเข้าถึงข้อมูล, ถูกสอนให้รู้จักการแสวงหาข่าวสาร และถ้าหากได้รับการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ก็สามารถทำให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ และประเมินคุณค่าเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารนั้นๆได้ เพื่อแปรเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นไปเป็นความรู้และความเข้าใจ และด้วยเหตุนี้จึงทำให้พลเมืองมีความสามารถที่จะมีส่วนร่วมในการสนทนาแบบประชาธิปไตยและอภิปรายกัน

จากทัศนียภาพหรือมุมมองนี้ สื่อต่างๆ จึงเป็นส่วนหนึ่งของดุลยภาพของอำนาจที่ประกอบสร้างขึ้นมา มันเป็นการตรวจสอบและถ่วงดุลต่อพื้นที่ทางการเมืองอื่นๆ และควรมีบทบาทหน้าที่สำคัญยิ่งเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสาร และบ่มเพาะพลเมืองให้มีความสามารถเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการเมืองแบบประชาธิปไตย

ถ้าหากว่าสื่อต่างๆไม่มีลักษณะตื่นตัวหรือกระฉับกระเฉงในการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องการทุจริตหรือการใช้อำนาจมากเกินไป (ของบริษัทต่างๆ, รัฐ, และระบบกฎหมาย ฯลฯ) และถ้าเผื่อว่าสื่อทั้งหลายไม่ได้ให้ข้อมูลข่าวสารมากเพียงพอแก่ผู้รับสาร หากเป็นเช่นนั้น พวกมันก็กำลังไม่ทำหน้าที่หรือแสดงบทบาทในทางประชาธิปไตย และเราทั้งหลายก็จะต้องเจ็บปวดและทุกข์ทนกับวิกฤตของประชาธิปไตย

การวิเคราะห์ที่หลายหลากของฮาเบอร์มาส ในงานของเขาซึ่งปัจจุบันค่อนข้างแพร่หลายและเป็นดั่งอนุสาวรีย์ไปแล้วอย่างน่าประหลาด ยอมรับสองด้านของประชาธิปไตยนี้ แต่ไม่ได้พรรณาถึงคุณลักษณ์ที่เป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับสื่อในระบอบประชาธิปไตยมากพอ และไม่ได้พัฒนาความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยขั้นมูลฐาน ซึ่งแต่ละปัจเจกบุคคลมารวมตัวกันเพื่อเปลี่ยนแปลงสื่อ, เทคโนโลยี, และสถาบันต่างๆ ของชีวิตสังคมอย่างเป็นประชาธิปไตย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาไม่ได้ทำให้สื่อและพื้นที่สาธารณะเป็นทฤษฎีขึ้นมา ในฐานะส่วนหนึ่งของระเบียบแบบแผนการประกอบสร้างประชาธิปไตย แต่กลับกลายเป็นพื้นที่หนึ่งของประชาสังคมมากกว่า นั่นคือ ตัวสะท้อนหรือกังวานเสียงเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่จะต้องถูกปฏิบัติหรือจัดการโดยระบบการเมือง

สำหรับขอบเขตอันนี้ พื้นที่สาธารณะจึงเป็นระบบเตือนภัยอันหนึ่งด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญานต่างๆ ซึ่งผ่านความไม่เชี่ยวชาญ, ผ่านความอ่อนไหวทุกส่วนของสังคม ยิ่งไปกว่านั้น จากมุมมองของทฤษฎีประชาธิปไตย พื้นที่สาธารณะจะต้องขยายแรงกดดันของปัญหาต่างๆ มากขึ้น นั่นคือ ไม่เพียงทำให้มันเป็นประเด็นสาธารณะขึ้นมาเท่านั้น แต่จะต้องหาทางออกที่เป็นไปได้ต่างๆสำหรับมันด้วย และทำให้มันเร้าใจในหนทางที่มันได้ถูกหยิบยกขึ้นมา และถูกทำให้เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่างๆ ของรัฐสภา

นอกจากบทบาทหน้าที่ในการส่งสัญญานแล้ว มันจะต้องเป็นตัวที่ทำให้เกิดเป็นปัญหาที่มีประสิทธิภาพด้วย สมรรถภาพหรือความสามารถของพื้นที่สาธารณะในการแก้ปัญหาต่างๆ ในตัวมันเองนั้นได้ถูกจำกัดจำเขี่ย แต่ความสามารถอันนี้จะต้องถูกใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อที่จะควบคุมตรวจตราการเยียวยาปัญหาต่างๆ ต่อไป ซึ่งเกิดขึ้นภายในระบบการเมือง(1998: 359)

ตามแนวความคิดของฮาเบอร์มาส สื่อและพื้นที่สาธารณะมีบทบาทหน้าที่นอกเหนือไปจากระบบสถาบันทางการเมืองจริง ส่วนใหญ่แล้วมันมีบทบาทในฐานะที่เป็นพื้นที่หนึ่งของการสนทนา แต่ไม่ใช่ที่ทางอันหนึ่งขององค์กรทางการเมือง พื้นที่การต่อสู้ และการเปลี่ยนแปลงใดๆ. อย่างไรก็ตามในข้อเท็จจริง ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ขณะที่สื่อต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตยตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเป็นแบบจำลองที่มีอิทธิพลในโลกที่เป็นโลกาภิวัตน์ มันได้ถูกสานเข้าไปในรัฐและเศรษฐกิจ ในวิธีการต่างๆ ที่ฮาเบอร์มาสไม่ยอมรับ กระนั้นก็ตามสื่อที่กระจายข่าวหรือเผยแพร่ในเชิงตรงข้ามและเทคโนโลยีสื่อใหม่ๆ อย่างเช่น อินเตอร์เน็ต ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป กำลังทำหน้าที่รับใช้ในฐานะที่เป็นพื้นฐานใหม่อันหนึ่ง สำหรับการเมืองประชาธิปไตยในลักษณะการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม

โดยในทางตรงข้ามที่เป็นความเห็นแย้ง ฮาเบอร์มาสล้มเหลวที่จะรับรู้ว่า กระบวนการทางสังคมใหม่ๆ และกลุ่มที่มีแนวคิดขัดแย้งหรือตรงข้าม และปัจเจกชนทั้งหลายได้ใช้ประโยชน์การสื่อสารทั้งในส่วนของการศึกษาและการรวมกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ และด้วยเหตุนี้ มันจึงขยับขยายพื้นที่สนามของการเมืองประชาธิปไตยออกไปอย่างกว้างขวาง

ฮาเบอร์มาส ตัวเขาเองไม่ได้จำแนกระหว่างความแตกต่างทั้งหลายในพื้นที่สาธารณะ ภายใต้การครอบงำของสื่อยักษ์ใหญ่กับองค์กรกระจายข่าวสารข้อมูลของรัฐในยุโรป ซึ่งตรงข้ามกับบริษัทและสื่อยักษ์ใหญ่ในระบบการพาณิชย์ที่ครอบงำอยู่ในสหรัฐอเมริกา

- ในระบบของยุโรปเกี่ยวกับการถ่ายทอดสัญญานหรือการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลซึ่งควบคุมโดยรัฐ เป็นการหลอมละลายกันอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นระหว่างพื้นที่ทางการเมืองกับพื้นที่สาธารณะ ที่รัฐเป็นผู้ให้ทุนและบ่อยครั้งควบคุมองค์กรกระจายข่าวและการการถ่ายทอดต่างๆ ซึ่งพยายามที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมประจำชาติขึ้นมา และในบางกรณีเพื่อให้ข้อมูลและให้การศึกษาพลเมืองของตน

- ในทางตรงข้าม สำหรับสหรัฐอเมริกา สื่อเป็นบริษัทขนาดยักษ์ ซึ่งได้เข้ามาครอบครองพื้นที่สาธารณะในลักษณะอาณานิคม, การเข้าแทนที่ความบันเทิงของผู้คนสำหรับการแสดงออกต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมประจำชาติ, การศึกษา, และข่าวสารข้อมูล

ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตรงข้ามกับยุโรปและประเทศส่วนใหญ่ของโลก การถ่ายทอดและเผยแพร่สาธารณะ ไม่เคยปรากฏตัวขึ้นมาในฐานะที่เป็นพลังวัฒนธรรมหลักหรือพลังทางการเมือง และไม่เคยทำหน้าที่ในฐานะเครื่องมือของรัฐแต่อย่างใด - แม้ว่าบรรดานักวิจารณ์แนวอนุรักษ์นิยมจะโจมตีด้วยการมีอคติต่อแนวคิดเสรีนิยมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บรรดานักวิจารณ์เสรีสุดขั้วทั้งหลายก็โจมตีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม และผู้ที่มีความคิดที่เป็นกลางๆ ของรายการต่างๆ และมีการกีดกันมุมมองและทัศนะที่สุดขั้วต่างๆ ออกไป

ความแตกต่างระหว่างระบบกระจายข่าวสารข้อมูลสาธารณะที่ถูกควบคุมโดยรัฐ กับ แบบจำลองที่เป็นภาพในเชิงพาณิชย์มากกว่า แน่นอน มีความล้มเหลวของตัวมันเองในยุคของโลกาภิวัตน์ ที่ซึ่งเคเบิลทีวีที่มีพื้นฐานในเชิงพาณิชย์ ได้ทำให้การกระจายข่าวสารข้อมูลสาธารณะกลายเป็นชายขอบไปในหลายประเทศส่วนใหญ่ และที่ซึ่งในสภาพแวดล้อมสื่อที่มีการแข่งขันสูง เท่าๆกันกับบริษัทกระจายข่าวสารข้อมูลสาธารณะต่างๆ ได้มีการนำเข้ารายการยอดนิยมซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการบันเทิงของอเมริกันเข้ามา และได้ถูกปรับไปสู่เรื่องของ rating (หรือเรื่องของปริมาณผู้รับสาร) มากกว่าเรื่องของปลูกฝังความเชื่อ หรือการให้ความรู้แจ้งเห็นจริงต่างๆ

อย่างไรก็ตาม การกระจายข่าวสารข้อมูลสาธารณะยังคงนำเสนออุดมคติอันหนึ่ง เกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องราวผลประโยชน์ของสังคมอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ถูกปรับแปลงไปสู่ความดีงามของชุมชน และบางทีในเชิงที่แย้งกับความจริงหรือเย้ยหยัน การแพร่ขยายของสื่อใหม่ๆ รวมถึงอินเตอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไป ได้เพิ่มพูนข่าวสารข้อมูลและการสนทนาประเภทหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ยอมรับกัน และด้วยเหตุนี้จึงได้ช่วยเพิ่มศักยภาพกับพลเมืองให้มีข่าวสารข้อมูลมากขึ้น และการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง

แต่กระนั้นก็ตาม การได้รับข่าวสารอย่างผิดๆ ที่ไหลเวียนอยู่บนอินเตอร์เน็ต ก็ได้ไปทำลายข่าวสารข้อมูลและการสนทนาประชาธิปไตยทีละน้อยเช่นกัน ซึ่งอันนี้ได้นำไปสู่การโต้เถียงและขัดแย้งกันอย่างแหลมคมภายในระบบสื่อที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ฮาเบอร์มาสไม่ได้ให้ความเอาใจใส่ที่จะโฟกัสอย่างเข้มข้นลงไปบนความผันแปรของสื่อต่างๆ เหล่านี้ โดยกันเอาการทำให้เป็นประชาธิปไตยของสื่อออกไปจากขอบเขตพื้นที่ของการเมืองประชาธิปไตย และไม่ได้มองว่าสื่อใหม่ๆ และเทคโนโลยีต่างๆ สามารถที่จะน้อมนำไปสู่การแผ่ขยายและฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะที่เป็นประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ให้มีชีวิตชีวาได้อย่างไร

ตามข้อเท็จจริง และอันนี้คือประเด็นสำคัญเกี่ยวกับข้อวิจารณ์ของข้าพเจ้าเกี่ยวกับตำแหน่งหรือฐานที่มั่นทั้งหลายของเขา -, ฮาเบอร์มาส ไม่ได้ทำให้บทบาทหน้าที่ต่างๆ ของสื่อเป็นทฤษฎีขึ้นมาเลยภายในพื้นที่สาธารณะร่วมสมัย สิ่งที่ได้มาจากแบบจำลองของเขาส่วนใหญ่มาจากการสื่อสารแบบเผชิญหน้ากันและการพูดคุยกัน มากกว่าที่จะมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อหรือด้วยวิธีการสื่อสารที่มีสื่อกลางคือสื่อและเทคโนโลยี

ในส่วนต่อไป ข้าพเจ้าจะให้เหตุผลว่า พัฒนาการของพื้นที่สาธารณะในแบบโลกาภิวัตน์ใหม่นั้นเป็นอย่างไร โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีมัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งเรียกร้องต้องการพัฒนาการที่ยิ่งๆ ขึ้นไปเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะในทุกวันนี้ และผลสะท้อนเกี่ยวกับความสำคัญที่เกิดขึ้นมาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ในระบอบประชาธิปไตย

โลกาภิวัตน์, เทคโนโลยีทันสมัย, และพื้นที่สาธารณะอย่างใหม่
ในส่วนของบทสรุปนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้เหตุผลว่า ในสังคมไฮเทคร่วมสมัยกำลังก่อให้เกิดการแพร่ขยายที่มีนัยสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งได้ทำให้เกิดการให้นิยามใหม่ๆ ขึ้นมาเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ - ดังที่ข้าพเจ้ากำลังเข้าใจมัน ซึ่งจะไปพ้นจากความคิดของฮาเบอร์มาส เพื่อทำความเข้าใจถึงพื้นที่สาธารณะบนไซเบอร์สเปซในฐานะที่เป็นที่ทางอันหนึ่งของข้อมูลข่าวสาร, การสนทนา, การโต้เถียง, การต่อสู้กันทางการเมือง, และที่รวมของสื่อต่างๆ ซึ่งได้ทำหน้าที่การกระจายข่าวสารข้อมูล เช่นเดียวกับการปฏิสัมพันธ์กันแบบเผชิญหน้าของชีวิตทุกวันนี้

พัฒนาการทั้งหลายข้างต้น แรกเริ่มเดิมทีเชื่อมโยงกับมัลติมีเดียและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, ซึ่งเรียกร้องการวางหลักการใหม่ๆ และการขยับขยายแนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะออกไป - เช่นเดียวกับความคิดความเชื่อของพวกเราเกี่ยวกับการวิพากษ์ และความนึกคิดเกี่ยวกับปัญญาชนสาธารณะ (see Kellner 1995b for an expansion of this argument)

- ในราวช่วงต้นของศตวรรษที่ 20, John Dewey มองว่าพัฒนาการของหนังสือพิมพ์นั้นจะถ่ายทอด"ข่าวสารเชิงความคิด"(thought news)ได้, อันจะนำเอาไอเดียต่างๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, และโลกทางสติปัญญาไปสู่สาธารณชนทั้งหลาย ซึ่งหนังสือพิมพ์จะให้การส่งเสริมประชาธิปไตย(see the discussion of this project in Czitrom 1982: 104ff)

- นอกจากนี้ Bertolt Brecht และ Walter Benjamin (1969) เห็นว่า ศักยภาพในการปฏิวัติของเทคโนโลยีใหม่ อย่างเช่น ภาพยนตร์และวิทยุ จะกระตุ้นและผลักดันปัญญาชนทั้งหลายให้ฉวยเอาพลังใหม่ๆ เหล่านี้เกี่ยวกับการผลิต เพื่อฟื้นฟูบทบาทหน้าที่มันขึ้นมาใหม่ และเปลี่ยนแปลงมันไปสู่การเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะทำให้สังคมเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และทำให้สังคมก่อเกิดการปฏิวัติ

- Jean-Paul Sartre เช่นกันที่ทำงานเกี่ยวกับวิทยุและโทรทัศน์เป็นชุดๆ และยืนยันว่า "บรรดานักเขียนทั้งหลายที่มีพันธะจะต้องเข้าประจำตำแหน่งสถานีถ่ายทอดเหล่านี้ รวมถึงศิลปะต่างๆ ของภาพยนตร์และวิทยุ" (1974: 177; for discussion of his Les temps modernes radio series, see 177-180)

ก่อนหน้านี้ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกต่างๆ เกี่ยวกับการสื่อสารมีแนวโน้มถูกปิดตายต่อเสียงของการวิพากษ์วิจารณ์ และสุ้มเสียงจากฝ่ายตรงข้าม ทั้งระบบซึ่งถูกควบคุมโดยรัฐและโดยบริษัทเอกชนทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม วิทยุของสาธารณชนที่เข้าถึงได้ และโทรทัศน์ที่มีกำลังส่งต่ำ รวมถึงช่องทางอย่างวิทยุกองโจร เทคโนโลยีเหล่านี้ได้เปิดทางให้เกิดการแทรกแซงและถูกใช้โดยปัญญาชนที่ถนัดในทางวิพากษ์วิจารณ์

หลายปีมาแล้วกระทั่งปัจจุบัน ข้าพเจ้าได้ให้การสนับสนุนความก้าวหน้าต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการสื่อสารอย่างใหม่ในสื่อ เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสาร((Kellner 1979; 1985; 1990; 1992) และตามข้อเท็จจริง มันได้ถูกนำไปเกี่ยวพันกับช่องทางการเข้าถึงสื่อของสาธารณชน. ในรายการโทรทัศน์ที่ออสติน, รัฐเท็กซัส นับจากปี ค.ศ.1978 เป็นต้นมา ได้ผลิตรายการต่างๆถึง 600 รายการ และได้รับรางวัล George Stoney Award ในด้านที่เกี่ยวกับโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราวและปัญหาของสาธารณชน

เหตุผลของข้าพเจ้าก็คือว่า วิทยุ โทรทัศน์ และวิธีการสื่อสารอีเล็กทรอนิกต่างๆ นั้น กำลังสร้างพื้นที่สาธารณะอย่างใหม่ในการถกเถียงขึ้นมา มันเปิดให้มีการสนทนาพูดคุย และกระจายข้อมูลข่าวสาร; ดังนั้นบรรดานักกิจกรรมและปัญญาชนทั้งหลาย ซึ่งต้องการเข้าไปสอดแทรกในเรื่องราวหรือปัญหาสาธารณชนในสังคมของพวกเขา ควรจะใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ และพัฒนาการสื่อสารในทางการเมืองและโครงการสื่อใหม่ต่างๆ ขึ้นมา

การเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต ได้ขยับขยายขอบเขตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการถกเถียงในระบอบประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น และได้สร้างพื้นที่สาธารณะอย่างใหม่ขึ้นมาสำหรับการเข้าไปเกี่ยวข้องทางการเมือง. ข้ออ้างในเชิงเหตุผลของข้าพเจ้าคือว่า สื่อกระจายเสียงและข่าวสารอย่างวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งปัจจุบันคือคอมพิวเตอร์ ได้สร้างพื้นที่สาธารณะอย่างใหม่และพื้นที่ต่างๆ สำหรับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การถกเถียง และการมีส่วนร่วม ซึ่งมันได้บรรจุเอาศักยภาพที่จะเสริมเพิ่มพลังประชาธิปไตย และเพิ่มพูนการแพร่กระจายของความคิดในเชิงวิพากษ์ รวมถึงความคิดที่ก้าวหน้าออกไป - เช่นเดียวกับความเป็นไปได้ใหม่ๆ สำหรับการปรับและจัดการ, การควบคุมทางสังคม, การเสริมส่งสนับสนุนสถานะต่างๆ ในเชิงอนุรักษ์นิยม, และการทำให้ความแตกต่างเข้มข้นรุนแรงมากขึ้นระหว่างการมีและการไม่มี

แต่การมีส่วนร่วมในพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ เหล่านี้ - กระดานข่าวหรือคำประกาศแถลงการณ์ทั้งหลายทางคอมพิวเตอร์ และกลุ่มสนทนา, วิทยุและโทรทัศน์ที่พูดคุยกันได้, รวมไปถึงพื้นที่ซึ่งปรากฏตัวขึ้นมาของสิ่งที่ข้าพเจ้าเรียกว่า"ประชาธิปไตยบนไซเบอร์สเปซ" เรียกร้องปัญญาชนที่ถนัดในการวิพากษ์วิจารณ์ ในการบรรลุถึงหรือได้มาซึ่งทักษะทางเทคนิคใหม่ๆ เพื่อควบคุมเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ (see Kellner 1995b and 1997 for expansion of this argument)

แน่นอน อินเตอร์เน็ตเป็นภูมิประเทศใหม่อันหนึ่ง ซึ่งถูกใช้โดยฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา และพวกกลางๆ เพื่อเสริมส่งสนับสนุนแนวคิดแผนการณ์และผลประโยชน์ทั้งหลายของพวกเขา. การทำสงครามทางการเมืองในอนาคต บางทีอาจต่อสู่กันตามท้องถนน, โรงงาน, รัฐสภา, และที่ทางอื่นๆ ของความขัดแย้งเช่นเกี่ยวกับในอดีต แต่การเมืองในทุกวันนี้มีพื้นที่อยู่บนสื่อไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล และจะเพิ่มขึ้นมากในอนาคต. คนเหล่านั้นให้ความสนใจในเรื่องการเมืองและวัฒนธรรมของอนาคต โดยเหตุนี้มันจึงควรมีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของพื้นที่สาธารณะอย่างใหม่ และการเข้าไปสอดแทรกหรือมีส่วนร่วมอันนั้น

ด้วยเหตุนี้ การเมืองประชาธิปไตยใหม่จึงถูกนำไปเกี่ยวข้องกับสื่อใหม่และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เพื่อทำหน้าที่รับใช้ผลประโยชน์ต่างๆ ของผู้คน ไม่ใช่ของพวกชนชั้นสูงต่างๆ เพียงเท่านั้น. การเมืองประชาธิปไตยพยายามมุ่งมั่นที่จะมองว่า คอมพิวเตอร์และสื่อกระจายข่าวสารข้อมูล ได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้ข้อมูลและให้ความรู้กับปัจเจกบุคคลทั้งหลาย มากกว่าที่จะไปควบคุมจัดการมัน. การเมืองประชาธิปไตยจะสอนปัจเจกชนทั้งหลายว่า จะใช้เทคโนโลยีใหม่พวกนี้อย่างไร เพื่อเชื่อมต่อประสบการณ์และผลประโยชน์ต่างๆ ของพวกเขาด้วยกันเอง และเพื่อส่งเสริมการถกเถียงกันอย่างเป็นประชาธิปไตยอย่างหลากหลาย มันยินยอมให้สุ้มเสียงต่างๆ และความคิดจำนวนมากกลายเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยบนไซเบอร์ของอนาคต

ปัจจุบันมากกว่าที่เคย ข้อถกเถียงสาธารณะบนเรื่องการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ค่อนข้างสำคัญมากต่ออนาคตของประชาธิปไตย. ใครก็ตามที่ควบคุมสื่อและเทคโนโลยีของอนาคต และข้อถกเถียงทั้งหลายในการเข้าถึงสื่อของสาธารณชน ความรับผิดชอบเกี่ยวกับสื่อ การให้ทุนสื่อและการมีกฎเกณฑ์ รวมถึงอะไรก็ตามเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ดีที่สุดสำหรับการบ่มเพาะอิสรภาพของปัจเจกชน, ประชาธิปไตย, และความสุขของมนุษย์ รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี จะเป็นผู้ได้เปรียบและกลายเป็นสิ่งสำคัญเพิ่มขึ้นในอนาคต

ความแพร่หลายของวัฒนธรรมสื่อและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้เพ่งความสนใจลงไปที่ความสำคัญของเทคโนโลยีใหม่ และความต้องการสำหรับการเข้ามาเกี่ยวข้องของสาธารณชนในการพูดคุยถกเถียงกันต่างๆ เกี่ยวกับอนาคตของวัฒนธรรมสื่อ และการสื่อสารบนทางด่วนข่าวสารข้อมูลและความบันเทิงของอนาคต ด้วยเหตุนี้ การปฏิวัติเทคโนโลยีในยุคของพวกเราจึงเกี่ยวพันกับการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะใหม่ๆ และความต้องการสำหรับยุทธวิธีทางประชาธิปไตยเพื่อส่งเสริมโครงการเกี่ยวกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย และเพื่อจัดหาวิธีการเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น เพื่อเข้าไปเกี่ยวพันกับประเด็นปัญหาทางการเมืองและการต่อสู้ เพื่อว่าประชาธิปไตยจะได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในสหัศวรรษใหม่

ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคของโลกาภิวัตน์และการปฏิวัติเทคโนโลยี ความสามารถที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลข่าวสาร, เทคโนโลยี, และเครื่องมืออัตโนมัติในทางเศรษฐกิจ ได้ตั้งคำถามกับทฤษฎีแรงงานของ Karl Marx เกี่ยวกับเรื่องมูลค่า ซึ่งงานในช่วงต้นๆ ของแฟรงค์เฟริทสคูลมีรากฐานอยู่บนสิ่งเหล่านั้น เช่นเดียวกับการเกิดข้อสงสัยในการจำแนกของฮาเบอร์มาส ระหว่าง"การผลิต"กับ "การปฏิสัมพันธ์/การสื่อสาร" ในฐานะที่เป็นข้อแตกต่างเบื้องต้นในการทำความเข้าใจ การตีความ และวิพากษ์สังคมร่วมสมัยต่างๆ

แน่นอน บ่อยทีเดียวฮาเบอร์มาสให้เหตุผลกับตนเองว่า บทบาทหน้าที่ซึ่งขยายออกไปของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต มันได้ไปทำลายทฤษฎีแรงงานเกี่ยวกับมูลค่าของ Marx ทีละเล็กทีละน้อย(see Habermas 1973: 226ff.). การแผ่ขยายข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลนี้ ข้าพเจ้ายืนยันว่า มันเพิ่มความเข้มข้นเกี่ยวกับการปฏิวัติเทคโนโลยีในยุคสมัยของเรา ซึ่งได้ค่อยๆไปทำลายการจำแนกความแตกต่างเบื้องต้นระหว่าง"การผลิต"และ"การมีปฏิสัมพันธ์"ของฮาเบอร์มาสทีละน้อย, นับจากที่การผลิตได้ถูกสร้างอย่างชัดเจนโดยข้อมูลข่าวสารและเครือข่ายการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นต่างๆ ขณะเดียวกัน อย่างหลังนี้ได้ถูกทำให้เกิดขึ้นและได้รับการสรรค์สร้างเพิ่มขึ้นโดยเทคโนโลยี

ดังนั้น สิ่งซึ่งฮาเบอร์มาสเคยให้เหตุผลในช่วงแรกๆ(1973, 1979, 1984, และ 1997) และยังคงให้เหตุผลอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่ว่าการผลิตถูกควบคุมโดยตรรกะของปฏิบัติการทางด้านเครื่องมือ, ในทางตรงข้าม ความสัมพันธ์ต่างๆ ในโลกชีวิต(lifeworld)ได้ถูกควบคุมโดยตรรกะเกี่ยวกับปฏิบัติการสื่อสาร(communicative action), ปัจจุบัน ปฏิบัติการสื่อสารกำลังแสดงบทบาทโดยตรงมากขึ้นในการผลิต, ดังเช่นเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล, การสื่อสารต่างๆ, และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มันได้สร้างพื้นที่หรือสนามของแรงงานขึ้นมา, และวิธีการทั้งหลายเกี่ยวกับปฏิบัติการของเครื่องมือ ซึ่งได้กลายเป็นแง่มุมต่างๆ ในการประกอบสร้างของชีวิตประจำวัน

ด้วยเหตุนี้ ดังเหตุผลที่กล่าวมา โครงการของฮาเบอร์มาสได้ค่อยๆ ถูกทำลายลงทีละน้อยโดยการจำแนกหมวดหมู่ที่เข้มงวดเกินไประหว่าง "พื้นที่สาธารณะที่มีเสรีแบบคลาสสิก" กับ "พื้นที่สาธารณะร่วมสมัย", ระหว่าง"ระบบ"กับ"โลกชีวิต" และระหว่าง"การผลิต"กับ"การปฏิสัมพันธ์". แนวความคิดในแบบทวินิยมนั้น ในตัวของมันเองค่อนข้างกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา ดังที่ข้าพเจ้าให้เหตุผล แต่โดยการปฏิวัติเทคโนโลยี ซึ่งสื่อต่างๆ และเทคโนโลยีได้แสดงบทบาทที่สำคัญทั้งสองด้านของการแบ่งแยกหมวดหมู่ของฮาเบอร์มาส, ทำให้การแบ่งออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจนของเขาถูกโค่นหรือลดความสำคัญลง

ข้าพเจ้าเชื่อว่า การจำแนกดังกล่าวยังไปขัดขวางความพยายามทั้งหลาย ที่จะเปลี่ยนแปลงการจำแนกความแตกต่างของฮาเบอร์มาสเองด้วย ซึ่งเขาพิจารณาว่าไม่ไปรบกวนหรือสร้างความสะเทือนต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตย หรือบรรทัดฐานเกี่ยวกับปฏิบัติการการสื่อสาร. มุมมองของข้าพเจ้าในทางตรงข้าม มันกลับเป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมทั้งหมด สู่การเปลี่ยนแปลงและการประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เรียงลำดับจากเศรษฐกิจและเทคโนโลยีไปจนถึงสื่อและการศึกษา

กระนั้นก็ตาม มันเป็นคุณความดีของการวิเคราะห์ของฮาเบอร์มาส ที่ได้ให้ความเอาใจใส่และความสนใจไปยังธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ และบทบาทหน้าที่ทั้งหลายของมันภายในสังคมร่วมสมัย. การวิเคราะห์ของข้าพเจ้าเสนอว่า เราควรที่จะขยับขยายการวิเคราะห์นี้ไปสู่การตระหนักถึงการปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยี และการสร้างโลกขึ้นมาใหม่ของลัทธิทุนนิยม ซึ่งปัจจุบันมันกำลังเกิดขึ้น และคิดใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์สังคมและการเมืองแบบประชาธิปไตยในความเป็นจริงของการพัฒนาของสิ่งเหล่านี้

ผ่านการร่วมกันคิดในเรื่องความผันแปรทางเศรษฐกิจ, การเมืองการปกครอง, เทคโนโลยี, วัฒนธรรม, และชีวิตประจำวัน, แฟรงค์เฟริทสคูลได้ตระเตรียมทฤษฎีต่างๆ อันทรงคุณค่าที่จะเผชิญกับภารกิจทั้งหลายที่สำคัญยิ่งเกี่ยวกับยุคร่วมสมัยเหล่านี้ให้กับเรา. ในการศึกษานี้ ข้าพเจ้าได้เสนอหนทางบางอย่าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของฮาเบอร์มาสเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ ได้เป็นจุดเริ่มต้นที่ค่อนข้างมีความหวังสำหรับทฤษฎีวิพากษ์ และประชาธิปไตยมูลฐาน(radical democracy) มากกว่าปรัชญาในช่วงหลังของเขาเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร และเสนอว่า การคิดโดยผ่านการสนับสนุนและข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับงานของเขา สามารถที่จะส่งให้โครงการดังกล่าวเกี่ยวกับความเข้าใจสังคมร่วมสมัย ที่กำลังเปลี่ยนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ได้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดังที่เราได้เคลื่อนคล้อยเข้าไปสู่สหัศวรรษใหม่, พื้นที่สาธารณะอันหนึ่งได้รับการขยับขยายขึ้น และได้สร้างความท้าทายใหม่ๆ และการคุกคามต่อประชาธิปไตย ซึ่งได้ทำให้งานของฮาเบอร์มาสเป็นส่วนประกอบอันจะขาดเสียมิได้เกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์ใหม่ ซึ่งอย่างไรก็ตาม เราจะต้องไปพ้นจากตำแหน่งต่างๆ ของเขาในหนทางที่แบ่งข้างแยกขั้วอย่างชัดเจน

+++++++++++++++++++++++++++++++++

Notes - เชิงอรรถ


[4]. Habermas has been developing these positions since the 1970s; see, among others, Habermas 1970, 1979, 1984, and 1987a.

[5]. In a sense, Habermas and poststructuralism articulate the opposing poles of language: while Habermas argues that language and communication involve a relation to meaning, truth, recognition, and universality, post-structuralism stresses its embeddedness in power and its potential for untruth, distortion, and domination (for Habermas's own critiques of poststructuralist conceptions, see Habermas 1987b). I will argue below that both sides are one-sided and express contradictions of language and communication that must be worked through and mediated in order to develop more comprehensive theories.

[6]. Habermas indicates how problems in his 1960s work led him to develop this distinction in the 1970s (1992: 443f), a framework articulated most systematically in Theory of Communicative Action (1984 and 1987a), but crucial to all of Habermas's post-1970s works.

[7]. One exception in Habermas is a reference to the role of communication media in promoting the overthrow of state socialism: "The transformation occurring in the German Democratic Republic, in Czechoslovakia, and in Roumania formed a chain of events properly considered not merely as a historical process that happened to be shown on television but one whose very mode of occurrence was televisual" (Habermas 1992: 456). Habermas cites this example to indicate "the ambivalent nature of the democratic potential of a public sphere" and to suggest contradictory functions of electronic media, but he does not theorize in any systematic way how communication media and technology could be democratized and serve the ends of democratic transformation, and thus has no democratic media politics, a project that I outline below. I should perhaps also note here that there are ambiguities in Habermas's choice of the term "media" for steering-mechanisms of money and power, whereas mass media of communication are seen from his perspective as domianted by the "media" of money and power, and thus are not given independent status as an important societal force. While I do not deny that money and power, corporations and the state, control the media of communications in the current situation, I am claiming that communications media have a normative role in democratic theory and that without a democratizing of the media, more expansive and inclusive societal democratization is not foreseeable.

[8]. See McLuhan 1961 and 1964 for arguments that print media were a fundamental constituent of modernity, helping produce individualism, secularism, nationalism, democracy, capitalism, and other key features of the modern world. Gouldner (1976), while avoiding McLuhan's excessive technological determinism, sets out some of the ways that print media fostered rationality, objectivity, political participation, and consensus.

++++++++++++++++++++++++++++

References - บรรณานุกรม

Antonio, Robert J. and Douglas Kellner (1992) "Communication, Democratization, and Modernity: Critical Reflections on Habermas and Dewey," Habermas, Pragmatism, and Critical Theory, special section of Symbolic Interaction, Vol. 15, Nr. 3 (Fall 1992), 277-298.

Adorno, T.W., et. al., (1976) The Positivist Dispute in German Sociology, London, Heinemann.

Beard, Charles (1998) An Economic Interpretation of the Constitution of the United States. New York: Transaction Press.

Benjamin, Walter (1969) Illuminations. New York: Schocken Books.

Bronner, Stephen Eric and Douglas Kellner, eds. (1989) Critical Theory and Society. A Reader. New York: Routledge.

Bryan, Mary Lynn McCree and Allen F. Davis (1969) Years at Hull-House. Bloomington: Indiana University Press.

Calhoun, Craig (1992), ed. Habermas and the Public Sphere. Cambridge: The MIT Press.

Calhoun, Craig (1992), "Introduction: Habermas and the Public Sphere" in Calhoun 1992: 1-48.

Castells, Manuel (1996) The Rise of the Network Society. Oxford: Blackwell.

_______________ (1997) The Power of Identity. Oxford: Blackwell.

_______________ (1998) End of Millennium. Oxford: Blackwell.

Czitrom, Daniel (1982) Media and the American Mind. Chapel Hill, N.C.: North Carolina University Press.

Downing, John (1984) Radical Media. Boston: South End Press.

Fiske, John (1994) Media Matters. Minneapolis, Minn.: University of Minnesota Press.

Fromm, Erich (1989) The Working Class in Weimar Germany : A Psychological and Sociological Study. Cambridge, Mass.: Harvard University Press.

Gitlin, Todd (1987) The Sixties. Years of Hope, Days of Rage. New York: Doubleday.

G๖rtzen, R. (1981) J. Habermas: Eine Bibliographie seiner Schriften und der Sekundไrliteratur, 1952-1981. Frankfurt.

Gouldner, Alvin W. (1976) The Dialectic of Ideology and Technology. New York: Seabury.

Habermas, Jurgen (1962) Strukturwandel der Offentlichkeit. Neuwied and Berlin: Luchterhand.

_______________ (1970) "Toward a Theory of Communicative Competence," in Hans Peter Dreitzel, ed. Recent Sociology No. 2. New York: Macmillan: 1970: 114-148.

__________________ (1973) Theory and Practice (Boston: Beacon Press.

________________ (1979) Communication and the Evolution of Society. Boston: Beacon Press.

______________ (1983 and 1987) Theory of Communicative Action, Volume 1 and 2. Boston: Beacon Press.

_____________ (1987) The Philosophical Discourse of Modernity. Cambridge, Mass: MIT Press.

____________ (1989a) Structural Transformation of the Public Sphere. Cambridge, Mass: MIT Press.

------------ (1989b) "The Public Sphere: An Encyclopedia Article," in Bronner and Kellner 1989: 136-142.

______________ (1992), "Further Reflections on the Public Sphere" in Calhoun 1992: 421-461.

_____________ (1998) Between Facts and Norms. Cambridge, Mass: MIT Press.

Habermas, Jurgen et. al., (1961) Student und Politik. Berlin: Neuwied.

Hammer, Rhonda and Douglas Kellner (1999) "Multimedia Pedagogical Curriculum for the New Millennium," Journal of Adolescent & Adult Literacy, Vol. 42, Nr. 7 (April): 522-526 and longer version forthcoming in Journal of Religious Education, 1999.

Hohendahl, Peter (1979) "Critical Theory, Public Sphere and Culture: Habermas and His Critics," New German Critique 16 (Winter): 89-118.

Kellner, Douglas (1979) "TV, Ideology, and Emancipatory Popular Culture," Socialist Review 45 (May-June): 13-53.

____________ (1985) "Public Access Television: Alternative Views," Radical Science Journal 16, Making Waves: 79-92.

_________ (1989) Critical Theory, Marxism and Modernity. Cambridge and Baltimore: Polity Press and John Hopkins University Press.

_______________ (1990) Television and the Crisis of Democracy. Boulder: Westview Press.

_______________ (1992) The Persian Gulf TV War. Boulder: Westview Press.

_______________ (1995a) Media Culture. London and New York: Routledge.

_______________ (1995b) "Intellectuals and New Technologies," Media, Culture, and Society, Vol. 17: 201-217.

_______________ (1997) "Intellectuals, the New Public Spheres, and Technopolitics," New Political Science 41-42 (Fall): 169-188.

____________ (1998) "Multiple Literacies and Critical Pedagogy in a Multicultural Society." Educational Theory, Vol. 48, Nr. 1: 103-122.

McLuhan, Marshall (1962) The Gutenberg Galaxy. New York: Signet Books.

________________ (1964) Understanding Media: The Extensions of Man. New York: Signet Books.

Miller, James (1994) 'Democracy Is in the Streets': From Port Huron to the Siege of Chicago. Cambridge: Harvard University Press.

Mills, C. Wright (1951) White Collar. Boston: Beacon Press.

______________ (1956) The Power Elite. Boston: Beacon Press.

_________________ (1963) "IBM Plus Reality Plus Humanism=Sociology," in Power, Politics, and People. Boston: Beacon Press.

Pollock, Friedrich (1955), ed. Gruppenexperiment. Frankfurt: Institut fur Sozialforschung.

Ryan, Mary (1992), "Gender and Public Access: Women's Politics in Nineteenth Century America," in Calhoun 1992: 259-288.

Sale, Kirkpatrick (1974) SDS. New York: Vintage.

Sartre, Jean-Paul (1974) The Writings of Jean-Paul Sartre, edited by Michel Contat and Michel Rybalka. Evanston, Ill.: Northwestern University Press.

Wiggershaus, Rolf (1996) The Frankfurt School. Cambridge: MIT Press.

Zinn, Howard (1995) A People's History of the United States: 1492 to Present. New York: Harperperennial.

++++++++++++++++++++++++++++++++++

คลิกกลับไปทบทวน : วิจารณ์ฮาเบอร์มาส กรณีพื้นที่สาธารณะ (1)

 




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 



090949
release date
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนรวบรวมบทความทุกสาขาวิชาความรู้ เพื่อเป็นฐานทรัพยากรทางความคิดในการส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาไปสู่สังคมที่ยั่งยืน มั่นคง และเป็นธรรม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตแผ่นซีดี-รอม เพื่อการค้นคว้าที่ประหยัดให้กับผู้สนใจทุกท่านนำไปใช้เพื่อการศึกษา ทบทวน และอ้างอิง สนใจดูรายละเอียดท้ายสุดของบทความนี้




นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน สามารถ
คลิกอ่านบทความก่อนหน้านี้ได้ที่ภาพ
หากสนใจดูรายชื่อบทความ ๒๐๐ เรื่อง
ที่ผ่านมากรุณาคลิกที่แถบสีน้ำเงิน
A collection of selected literary passages from the Midnightuniv' s article. (all right copyleft by author)
Quotation : - Histories make men wise; poet witty; the mathematics subtile; natural philosophy deep; moral grave; logic and rhetoric able to contend.... There is no stond or impediment in the wit, but may be wrought out by fit studies: like as diseases of the body may have appropriate exercise. Bacon, of studies
ประวัติศาสตร์ทำให้เราฉลาด; บทกวีทำให้เรามีไหวพริบ; คณิตศาสตร์ทำให้เราละเอียด; ปรัชญาธรรมชาติทำให้เราลึกซึ้ง; ศีลธรรมทำให้เราเคร่งขรึม; ตรรกะและวาทศิลป์ทำให้เราถกเถียงได้… ไม่มีอะไรสามารถต้านทานสติปัญญา แต่จะต้องสร้างขึ้นด้วยการศึกษาที่เหมาะสม เช่นดังโรคต่างๆของร่างกาย ที่ต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง
สารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จัดทำขึ้นเพื่อการค้นหาความรู้ โดยสามารถสืบค้นได้จากหัวเรื่องที่สนใจ เช่น สนใจเรื่องเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ให้คลิกที่อักษร G และหาคำว่า globalization จะพบบทความต่างๆตามหัวเรื่องดังกล่าวจำนวนหนึ่ง
The Midnight University
the alternative higher education
บทวิจารณ์แนวความคิดพื้นที่สาธารณะ
บทความลำดับที่ ๑๐๓๐ เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๙
H
home
back home
R
related

ข้อความบางส่วนจากบทความ
ขณะที่แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะและประชาธิปไตย ได้พูดถึงเกี่ยวกับเสรีภาพและความชื่นชอบของประชาชนในความหลากหลาย ความอดทนอดกลั้น การถกเถียง และการนำมาซึ่งฉันทามติ, แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่า พื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลางได้ถูกครอบงำโดยคนผิวขาว, และผู้ชายซึ่งเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สมบัติต่างๆ. ดังที่บรรดาผู้วิจารณ์ฮาเบอร์มาสได้แสดงหลักฐานว่า พื้นที่สาธารณะของชนชั้นแรงงาน, ของสามัญชน, และของผู้หญิงได้พัฒนาขึ้นมาเคียงข้างพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลาง เพื่อเป็นตัวแทนสุ้มเสียงและผลประโยชน์ที่ได้ถูกกีดกันออกไปจากวงสนทนาและการอภิปรายเหล่านี้
Oskar Negt และ Alexander Kluge ได้วิจารณ์ฮาเบอร์มาส สำหรับการไม่ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของสามัญชนและของชนชั้นกรรมาชีพ ในการไตร่ตรองของฮาเบอร์มาส ดังที่พวกเขาเขียนว่า มาถึงตอนนี้เขาได้ตระหนักแล้วว่า "จากการเริ่มต้นขึ้นมาเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะของชนชั้นกลาง ที่มีอิทธิพลครอบงำต่อสามัญชนนั้น ได้แสดงให้เห็นว่าเขาได้ประเมินความสำคัญของพื้นที่สาธารณะที่ไม่ใช่ของชนชั้นกลาง หรือฝ่ายตรงข้ามต่ำจนเกินไป

ในยุคของการปฏิวัติประชาธิปไตย พื้นที่สาธารณะอันหนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งสำหรับในระยะแรกนั้น พลเมืองสามารถจะมีส่วนร่วมในการสนทนาและถกเถียงกันทางการเมืองได้ พวกเขาสามารถที่จะรวมกลุ่มจัดตั้งและต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ในพัฒนาการต่อมาภายหลังของสังคมตะวันตกต่างๆ คำอธิบายของฮาเบอร์มาสเกี่ยวกับการแปรรูปไปเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ, แม้ว่าจะมีข้อจำกัดของมัน, แต่เขายังชี้ด้วยว่า บทบาทหน้าที่ต่างๆ อันสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของสื่อในทางการเมืองและชีวิตประจำวัน และวิธีการทั้งหลายที่ผลประโยชน์บริษัทได้เข้ามาครอบครอง สิ่งเหล่านี้ ได้ไปเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณะนี้ให้กลายเป็นเหมือนอาณานิคม โดยมีการใช้ประโยชน์จากสื่อและวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนผลประโยชน์ทั้งหลายของพวกเขาเอง