นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

วิกฤตในการจัดการทรัพยากร ๓ จังหวัดภาคใต้
เฮาะออแรฆามา พื้นที่สาธารณะที่ถูกเหยียบย่ำ
นุกูล รัตนดากุล

นักวิชาการ มอ.ปัตตานี

โครงการตลาดวิชามหาวิทยาลัยชาวบ้าน ครั้งที่ ๑
วันเสาร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๘

เรื่อง วิกฤตในการจัดการทรัพยากร ๓ จังหวัดภาคใต้
ห้องประชุม ศศ.๒๐๑ อดุลวิเชียรเจริญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดย
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์,
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
สนับสนุนโดย สสส.

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 723
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 5.5 หน้ากระดาษ A4)




ภาคบ่าย
แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างนักวิชาการและนักนโยบาย
อมรา พงศาพิชญ์ : ผู้ดำเนินรายการ
ในภาคบ่ายนี้จะเป็นการนำเสนอในมุมมองของนักวิชาการ ซึ่งมาทั้งจากส่วนกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และยังมีทหาร ข้าราชการเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ขอเริ่มที่อาจารย์นุกูล รัตนดากุล ท่านเป็นนักวิชาการจาก มอ. ปัตตานี และตามด้วยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อาจารย์ชยันต์ วรรธนะภูติ ท่านพลตรีบุญชู เกิดโชค และคุณจินตวดี พิทยเมธากูล ตามลำดับต่อไป

นุกูล รัตนดากุล : นักวิชาการ มอ.ปัตตานี
เรื่อง "ประสบการณ์กับชาวบ้านเมื่อเผชิญวิกฤตการจัดการทรัพยากร"
ในภาคบ่ายนี้ผมพยายามจะรวบรวมความรู้ทั้งหลายที่ท่านวิทยากรช่วงเช้าผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินได้นำเสนอมา และผมจะพยายามพูดอีกแง่มุมหนึ่ง ผมเริ่มจากการเป็นนักวิจัยเรื่องนก และนกก็พาไปให้ผมรู้จักชาวบ้าน และค้นพบระบบความเชื่อและเรื่องราวของอ่าวปัตตานี และผมได้มีโอกาสพบกำนันท่านหนึ่งซึ่งเปลี่ยนความคิดของผม และเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ของผม ท่านชื่อว่ากำนันแลยิด สาแน ท่านเป็นมุสลิมเหมือนคนทั่วไป แต่ที่สร้างความประทับใจคือ ท่านบอกผมว่า "นกไม่มีวันหมดจากฟ้า ปลาไม่มีวันหมดจากน้ำ"

ผมขัดแย้งกับคำพูดนี้เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีจำกัด แต่ทรัพยากรมีจำกัด มันจะไม่หมดได้อย่างไร แต่ท่านก็ให้กุญแจสำคัญอันหนึ่งกับผมว่า "ถ้ามนุษย์ศรัทธาและเชื่อในพระเจ้า" ท่านว่าผมศึกษาเรื่องนกแต่ไม่เข้าใจเรื่องนก ให้สังเกตว่านกมันไม่เคยกังวลในการหากินเลย กินพออิ่มแล้วกลับมาที่รัง ผิดกับมนุษย์มีสติปัญญาแต่กังวลเรื่องชีวิต เอาแต่สะสมเพื่อความอยู่รอดของตนเอง และต้องเบียดเบียนผู้อื่นตลอดเวลา เพราะเราไม่ไว้วางใจในพระเจ้า

ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก หากเราใช้ทรัพยากรไม่ยั้งด้วยความโลภ สุดท้ายความจุของระบบก็รองรับไม่ได้ ล่มสลายไปในที่สุด ทำให้ผมได้รู้ว่า ปัญหาทั้งหมดใน ๓ จังหวัดภาคใต้คือ อยู่ที่เราไปพัฒนาจนฐานทรัพยากรของเขาพัง จนกระทบกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ทำให้สะสมความเกลียดชังขึ้นมา จนเป็นเงื่อนไขให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นมาได้

มีความเชื่ออย่างหนึ่งของมุสลิม เป็นหลักชีวิตของมุสลิมคือ

๑. ต้องเชื่อมโยงกับพระเจ้า
๒. เชื่อมโยงกับเพื่อนมนุษย์
๓. เชื่อมโยงกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ท่านกำนันแลยิด สาแน ท่านบอกผมว่า "จงรักเพื่อนบ้านให้เหมือนกับรักตนเอง" เพื่อนบ้านในความคิดของท่านคือ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ท่านกำนันแลยิด สาแน เป็นเหมือนปราชญ์ที่มองเห็นควันไฟ และพยายามบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ท่านได้เตือนว่ามันจะมีเรืออวนรุนอวนลากเข้ามา มันจะมีการเลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี และจะมีอีกหลายอย่างตามเข้ามา สิ่งเหล่านี้จะเป็นความเสียหายเป็นอันตราย

และกว่าที่เราจะเชื่อท่านสิ่งเหล่านี้ก็เข้ามาฝังรากลึกแล้ว ทำให้เกิดการสะสมความเครียดมาเป็นเวลานาน ถ้าเราเข้าใจตั้งแต่ตอนนั้นและป้องกันก่อน สถานการณ์แบบนี้คงไม่เกิดขึ้น มีปราชญ์มุสลิมท่านหนึ่งได้บอกว่า เมื่อ ๓๐-๔๐ ปีก่อนนั้น เราได้ปลูกกระท้อน และเมื่อมันมีผลขึ้นมา มันก็ย่อมเป็นกระท้อน มันจะมีผลเป็นอื่นไปไม่ได้

อ่าวปัตตานี พรุลานควายเหล่านี้ เป็นสิทธิของชุมชน คนมุสลิมเรียกว่า "เฮาะออแรฆามา" หมายถึงเป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นพื้นที่ของชุมชน เป็นที่พึ่งของคนจน เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ คำว่า เฮาะออแรฆามา แปลว่าสมบัติส่วนรวม สมบัติชุมชน พื้นที่สาธารณะ มีความหมายเป็นโลกของความศักดิ์สิทธิ์ มีจิตวิญญาณแฝงอยู่ อันนี้เป็นงานวิจัยของ ดร.วัฒนา สุขรังสี ที่ลงไปสำรวจพื้นที่อ่าวปัตตานี

ความคิดนี้อาจถือเป็นแผนที่วัฒนธรรมที่อยู่ในสมอง อยู่ในความคิดของคนทุกคนที่เป็นชาวประมงในอ่าว มันมีประวัติศาสตร์ มีตำนาน มีความสำคัญอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ อาจารย์วัฒนาเรียกว่า มันเป็นจารีต เป็นกฎเกณฑ์ทางสังคมของชุมชนที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อจัดสรรพื้นที่ให้คนได้ลงไปทำมาหากิน มีการแบ่งประเภทการใช้เครื่องมือให้สอดคล้องและไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทุกคนจะมีหลักเกณฑ์ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความยั่งยืนและสันติสุข ชาวบ้านที่นี่จะไม่หวงแผ่นดิน ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่ต้องเคารพสิทธิของเขา เขาพร้อมที่จะแบ่งปัน

ถ้าใครลงไปในอ่าวปัตตานีตอนเช้าประมาณตีสี่ เราจะเห็นเรือประมงเล็กเป็นจำนวนมากนับสามถึงสี่ ร้อยลำลอยอยู่กลางทะเล และมีการจัดสรรกันหากินเป็นช่วง ๆ พอตอนเที่ยงก็มาอีก ตอนเย็นก็มีมาอีก ตอนค่ำก็มาอีก แบ่งกันใช้ประโยชน์ นี่คือจารีตที่ใช้กันเรื่อยมา ทุกพื้นที่มีพระเจ้า เทวดา และคนในท้องถิ่นเป็นเจ้าของร่วมกัน

คนปัตตานีเป็นเหมือนม้าอารีในนิทานอีสป วันหนึ่งมี พ.ร.บ.ประมงออกมาว่า ในอ่าวปัตตานีเป็นพื้นที่สาธารณะ ดังนั้นใครจากที่ไหนก็มีสิทธิที่จะมาใช้อ่าวปัตตานีนี้ได้ ดูเหมือนคล้ายกันแต่ความหมายมันต่างจากแผนที่ทางความคิดของคนในอ่าวปัตตานีเป็นอย่างมาก มันเป็นการเปิดโอกาสให้เรืออวนรุนอวนลาก หรือใครก็ได้เข้าไปร่วมใช้ประโยชน์ โดยที่ไม่รู้ว่าเขาได้เข้าไปบุกรุกพื้นที่ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น มันเป็นความเจ็บปวด เหยียบย่ำความรู้สึกของชาวบ้าน

ความจริงแล้วต้นทุนทางสังคมของคนในพื้นที่มีสูงมาก เขามีเครือข่าย มีกลุ่มความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันมากมาย ถ้ามาใช้ ในทางบวก ก็จะเป็นบวก ถ้ามาใช้ในทางลบ มันก็จะเป็นลบ ถ้าเราไม่เข้าใจและไม่รู้ว่ามีทุนสำคัญนี้อยู่ มันก็จะเป็น ๒ ด้าน โชคดีที่เครือข่ายของผมได้มีโอกาสเปิดเผยบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ แต่ยังมีเครือข่ายอื่นอีกเยอะแยะที่ไม่มีโอกาส มันทำให้เขาไม่มีทางเลือก นำไปสู่ทางเลือกที่เขาไม่ต้องการ

พรุลานควายก็เช่นกัน พรุเป็นพื้นที่สำคัญมาก ๆ ของชาวบ้าน ชาวบ้านเปรียบว่าเป็นเหมือนมดลูกของแม่น้ำ ดังเช่นที่อ่าวปัตตานีเป็นมดลูกของทะเล ชาวบ้านแถวพรุร่ำรวยทรัพยากร แต่เรามองความร่ำรวยกันคนละแบบ ชาวบ้านถือว่าเขาไม่ต้องมีเงินก็อยู่ได้เพราะมีทรัพยากรมากมาย แต่เรามองความร่ำรวยเป็นตัวเงิน

การวัดความจนความรวยก็แตกต่างกันแล้ว ที่พรุลานควายมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะมีภูเขาล้อมรอบ มีลำธารและสายคลองไหลไปรวมกันที่พรุ พอน้ำล้นพรุ มันก็จะระบายไปสู่แม่น้ำสายบุรี เวลาน้ำล้นแม่น้ำสายบุรี มันก็จะระบายลงในพรุ ที่นี่จะเป็นที่วางไข่และดูแลตัวอ่อนของสัตว์น้ำ อาจจะเรียกว่าเป็นแก้มลิงก็ได้ เป็นพื้นที่ที่ป้องกันน้ำท่วมได้อย่างดี

ผมทำวิจัยเรื่อง "ควายหาย เดินตามหาควาย" ควายพาผมเดินไปรอบ ๆ พรุ ทำให้ผมได้ค้นพบว่าทุกตารางนิ้วของพื้นที่พรุ ล้วนมีชื่อกำกับเหมือนในอ่าวปัตตานี และแต่ละพื้นที่ก็มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ควายออกลูก พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ควายนอนพักผ่อน พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ควายหากิน พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ควายพักในฤดูน้ำหลาก เป็นต้น

ทั้งหมดล้วนมีชื่อ มีประวัติ มีตำนานซับซ้อนมาก มันเป็นความผูกพัน แต่คนข้างนอกที่เข้ามาไม่เข้าใจ มองไปว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ จะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจโดยเฉพาะโครงการของรัฐที่ส่งเจ้าหน้าที่ช่างของรัฐมาสร้างโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่สาธารณะนี้ เปรียบเหมือนนายช่างหนูมาซ่อมฟักทองตามคำพังเพยโบราณ หมายความว่า หนูมันเคยถูกสอนให้รู้จักแต่ลูกแตงโม พอมาเห็นลูกฟักทองที่มีผิวขรุขระ จึงใช้ฟันกัดแทะจนลูกฟักทองเป็นรู และไม่นานมันก็เริ่มเน่าไปหมดทั้งลูก

เหมือนกับที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของภาครัฐ จนชาวบ้านได้รับความเสียหายและต้องมาแก้ปัญหากันเอง พยายามสร้างอาชีพใหม่เพื่อหาเลี้ยงตนเอง ทำได้ไม่นาน ผลกระทบอย่างใหม่ก็เกิดขึ้นอีก ก็ต้องเปลี่ยนอาชีพใหม่อีกเช่นนี้เรื่อยไป จนไม่รู้ว่าจะแก้ไขกันทันได้อย่างไร ถ้านโยบายของภาครัฐไม่มีการปรับเปลี่ยน

ปัจจุบันการสร้างเขื่อนกั้นน้ำก็สร้างความเสียหายให้กับมดลูกของทะเลไปแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปนี้เราไม่ทราบว่าจะแก้ให้มันฟื้นคืนมาได้อย่างไร ต่อคำถามที่ว่า ผมสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวอะไรบ้างหรือไม่ สิ่งที่ผมเป็นห่วงตอนนี้ก็คือ นโยบายการพัฒนาที่ท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีการร่วมมือร่วมใจกันจริงแต่ก็ยังเข้าไม่ถึงและไม่เข้าใจชาวบ้าน

ผลจากการเข้าไปพัฒนาโดยขาดความเข้าใจมันได้เข้าไปทำลายวัฒนธรรมและจารีตที่ดีงามซึ่งเป็นการจัดการทรัพยากรแบบยั่งยืนของชาวบ้าน เป็นภูมิปัญญาที่ลึกซึ้งมาก ทุกวันนี้ฐานทรัพยากรได้เสื่อมโทรมไปมาก ความจุของระบบก็ได้ลดน้อยถอยลงไปด้วย เมื่อฐานทรัพยากรเสื่อม ทรัพยากรก็ลดน้อยลง อาชีพก็หายไป ทางออกของชาวบ้านก็มีทางเลือกไม่มากนัก

ทางเลือกแรก ก็คือหนีไปหาฐานทรัพยากรยังแหล่งอื่นที่พอพึ่งพาได้ เช่น ไปประเทศมาเลเซีย หรือไปที่ไหนก็ได้ที่ทำให้เขายังสามารถรักษาศักดิ์ศรีของตนเองและเคารพนับถือตนเองอยู่ มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ก็ยังพอมีความสุขอยู่บ้าง

ทางเลือกที่สอง คือทนอยู่ต่อไปแต่ต้องปรับตัว การปรับตัวทำหลายแบบ เช่น ปรับพฤติกรรม ปรับบทบาท แต่ต้องยอมเสียศักดิ์ศรี เมื่อก่อนเราจะเคยได้ยินคำเปรียบเปรยว่า ผู้ชายมุสลิมนั่งร้านน้ำชา บ้านกเขา เดี๋ยวนี้ต้องเติมว่า เมายูบีซี เมื่อมีโอกาสเข้าไปสัมผัสลึกๆนานนับ ๑๐ ปีจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมของทรัพยากรมันมีผลทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้

จากงานวิจัยของ ดร.สโรชา เฝ้าสังเกตผู้หญิงมุสลิมที่ทำงานในโรงงาน ผู้ชายมุสลิมต่างก็รู้สึกอับอายขายหน้าที่เขาไม่สามารถปกป้องศักดิ์ศรีของเขา และผู้หญิงของเขาได้ แต่ก็ไม่มีทางเลือกเพราะทรัพยากรมันไม่เหลือ การมีอาชีพเช่นทำประมง เคยออกทะเลไปจับปลามาได้ และกลับบ้านมาอย่างภาคภูมิใจ แต่ทุกวันนี้มันไม่ใช่ จึงเลือกทางอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีทางอื่น เช่น การเล่นนกเขา บางครั้งอาจจะได้จักรยานสักคันหนึ่งกลับมาบ้าน อย่างน้อยก็ได้รับการยอมรับนับถือกับครอบครัว การอยู่ร้านน้ำชาก็ทำให้เขาได้มีโอกาสพูดคุยเป็นความสุขไปวัน ๆ ดังนั้นการที่จะฟื้นฟูศักดิ์ศรีตรงนี้กลับคืนมาได้ก็คือการฟื้นฟูทรัพยากร

ทางเลือกที่สาม คือการฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมขึ้นมาเพื่อสร้างความสุขให้กับชีวิต ชดเชยกับวิถีชีวิตแบบปัจจุบันที่สะดวกสบาย แต่ไร้ความสุข

ทางเลือกที่สี่ คืออยู่แบบต้นหญ้า อาจต้องลงไปอยู่ในรูก็ได้เพราะกระแสการเมือง และ

ทางเลือกสุดท้าย ก็คือสงครามแย่งชิงทรัพยากร

เคยจัดเวทีเพื่อทิศทางของภาคใต้โดยเชิญคนรากหญ้าประมาณ ๔๐ กรณีทั่วภาคใต้ ตั้งแต่ภูเขา พรุ ชายฝั่งมาคุยกัน ต่างก็เห็นสอดคล้องกันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมันเป็นปัญหานำเข้า มันเป็นปัญหาของการพัฒนา 3D
D1 เขื่อน เพื่อกั้นน้ำ คนมุสลิมถือว่า แม่น้ำเป็นของศักดิ์สิทธ์ เป็นอำนาจของพระเจ้า การกั้นน้ำย่อมกระทบกับแหล่งอื่นด้วย

D2 การขุดลอก ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับแผ่นดิน ตามความเชื่อของชาวบ้านแล้ว สายน้ำก็คือแหล่งอาหาร ไม่ใช่เพียงแค่สายน้ำตามสายตาของนักพัฒนา

D3 การถมดิน การเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำและสิ่งต่าง ๆ ที่ทำมาล้วนกระทบต่อแผ่นดิน ซึ่งรวมถึงไปกระทบความเชื่อต่าง ๆ และจิตวิญญาณของแผ่นดินด้วย

เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความคับแค้น ความเกลียดชัง ซึ่งสะสมมาอย่างยาวนาน จนปะทุมาเกิดผลดังเช่นปัจจุบันนี้ ดังเช่นที่ว่าเมื่อปลูกกระท้อน ผลออกมาก็ย่อมเป็นกระท้อน ความเกลียดชังเหล่านี้เป็นเหมือนกับใบไม้แห้ง ถ้าใครมาจุดมันก็จะลาม ดับได้ยาก


สิ่งที่ผมเล่ามาทั้งหมด อย่างน้อยก็ปรารถนาให้เราได้เข้าใจชุมชนชาวบ้านทางภาคใต้มากขึ้น ปัญหาของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาของประเทศไทยจริง ๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจ มีปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่งที่เรียกว่า อายิดอาแว อยู่บ้านปาปู อยู่ในพรุ อยู่บนภูเขา เคยเป็นโจรมาก่อน ปัจจุบันกลับใจแล้ว ขอเป็นตัวแทนชาวบ้านทางภาคใต้มาบอกว่า ถ้าจะให้ประเทศพัฒนา จงหยุดพัฒนา ฟื้นฟูศาสนาและวัฒนธรรม

อาจารย์อมรา พงศาพิชญ์
อาจารย์นุกูลให้ภาพที่ชัดเจนมากเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ใน ๓ จังหวัดภาคใต้และผลกระทบต่อชุมชน สังคม และทางออกที่อาจารย์นำเสนอก็มีอยู่ ๕ ทาง แต่ละทางมีปัญหา และแม้เส้นทางสุดท้ายที่เสนอมาก็มิใช่ว่าจะทำกันได้ง่าย ๆ ก็คงเป็นเรื่องที่พวกเราคงจะต้องขบคิดกัน ประโยคสุดท้ายที่เสนอว่าถ้าจะให้ประเทศพัฒนาจงหยุดพัฒนานั้น ก็ทำไม่ได้ง่าย ๆ เช่นกัน เราคงต้องพูดกับคนอีกทั้งประเทศให้เข้าใจ

ภาคบ่าย (ต่อ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม)

 

 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีสำหรับนักศึกษา จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจศึกษาสามารถ เข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

อ่าวปัตตานี พรุลานควายเหล่านี้ เป็นสิทธิของชุมชน คนมุสลิมเรียกว่า "เฮาะออแรฆามา" หมายถึงเป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นพื้นที่ของชุมชน เป็นที่พึ่งของคนจน เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ คำว่า เฮาะออแรฆามา แปลว่าสมบัติส่วนรวม สมบัติชุมชน พื้นที่สาธารณะ มีความหมายเป็นโลกของความศักดิ์สิทธิ์ มีจิตวิญญาณแฝงอยู่ อันนี้เป็นงานวิจัยของ ดร.วัฒนา สุขรังสี ที่ลงไปสำรวจพื้นที่อ่าวปัตตานี

ความคิดนี้อาจถือเป็นแผนที่วัฒนธรรมที่อยู่ในสมอง อยู่ในความคิดของคนทุกคนที่เป็นชาวประมงในอ่าว มันมีประวัติศาสตร์ มีตำนาน มีความสำคัญอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ อาจารย์วัฒนาเรียกว่า มันเป็นจารีต เป็นกฎเกณฑ์ทางสังคมของชุมชนที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อจัดสรรพื้นที่ให้คนได้ลงไปทำมาหากิน

R
related topic
021148
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้

อุดมศึกษาบนเว็ปไซต์ เพียงคลิกก็พลิกผันความรู้ ทำให้เข้าใจและเรียนรู้โลกมากขึ้น
สนใจค้นหาความรู้ในสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีน้ำเงิน
สนใจเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีแดง